โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ดัชนี รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

382 ความสัมพันธ์: ชัวมอชัวฮูหยินชัวต๋งชัวโฮบังทองบังเต๊กชาวม่านบิสีบิฮองบิฮุยบิฮูหยินบิต๊กบุนทิวบุนเพ่งบุนเอ๋งบู๋อันก๊กชีสิวชีเซ่งพัวหองพัวโยยพัวเจี้ยงกบฏโพกผ้าเหลืองกวนลอกวนสกกวนหินกวนอูกวนไฮกวนเหล็งกวนเป๋งกองซุนก๋งกองซุนอวดกองซุนจ้านกองซุนของกองซุนตู้กองซุนเอี๋ยนกัวเต๋ากันหยงกาอุ้นกาเซี่ยงกำฮูหยินกำเหลงกิมสวนกิเหลงกุยกีกุยห้วยกุยฮิวจี๋กุยแกก๊กเสงก๋งเต๋าภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน...ภาษาอังกฤษภาษาจีนกลางภาษาไทยม้าอ้วนยี่ม้าต้ายม้าต๋งม้าเลี้ยงม้าเจ๊กม้าเท้งม้าเฉียวยำก๋งยุคสามก๊กยูสิดยีเอ๋งราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์จิ้นลกข้องลกซุนลิบองลิยูลิหลิงฉีลิห้อมลิอิ๋นลิคีลิต้ายลิฉุยลิซกลิโป้ลิเงียมลุดตัดกุดวรรณกรรมวุยก๊กสวินโถสะโมโขสามก๊กสิบขันทีสิบเกงสิมโพยสุมาสูสุมาอี้สุมาฮิวสุมาเอี๋ยนสุมาเต๊กโชหมันทองหวดเจ้งหวนจงหวนเตียวหองจอหองจูเหียบหองจูเปียนหันซุยหุยง่วนเสียวอองลองอองฮูอองของอองเป๋งอิกิ๋มอิเกียดอิเขงอุยกายอุยก๋วน (จ๊กก๊ก)อุยเอี๋ยนอุ๋ยซีอีเจี้ยอ้วนสุดอ้วนอุ๋ยอ้วนฮีอ้วนถำอ้วนซงอ้วนเสี้ยวอ้องอุ้นฮกเฮาฮองสีฮองฮูสงฮองตงฮัวหยงฮัวหิมฮัวโต๋ฮันฮกฮันต๋งฮันเหียนฮั่นต๋งฮุยโฮจกหยงจวนจ๋องจองอี้จักรพรรดิฮั่นหลิงจักรพรรดิฮั่นหฺวันจักรพรรดินีพานจักรพรรดิเว่ยหมิงจาง ชุนหัวจิวยี่จิวหองจิวท่ายจิวฉองจินปิดจูกัดกิ๋นจูกัดสูจูกัดสงจูกัดเก๊กจูกัดเหลียงจูกัดเอี๋ยนจูกัดเจี๋ยมจูล่งจูหวนจูอี้จูฮีจูตีจูเหียนจงฮิวจงป้าจงโฮยจ๊กก๊กขับเจ้งขงมอขงสิ้วขงหยงขงจีคว้อเก๋อคูเสงงออี้งอปั้นงักหลิมงักจิ้นงักจุ้นงันเหลียงงำเต๊กงิมหุนงุยซกง่อก๊กตังสิดตังสินตังไทฮอตังเจี๋ยวตันบูตันกุ๋ยตันกุ๋นตันก๋งตันหลิมตันอุ๋นตันฮกตันจิ๋นตันซิ่วตันเตาตันเต๋งตันเซ็กตั๋งห้องตั๋งโต๊ะต้านท่ายต๋วนกุยซัวหยงซัวเอี๋ยมซิหลงซินผีซินเป๋งซุนกวนซุนหลิมซุนฮกซุนฮิว (วุยก๊ก)ซุนฮิว (แก้ความกำกวม)ซุนฮูหยินซุนจุ๋นซุนของซุนโหซุนโฮซุนเกียวซุนเกี๋ยนซุนเสียวซุนเหลียงซุนเขียนซุนเต๋งซุนเซ็กซีหองซีเอ๋งซงเหียนประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์จีนประเทศจีนปอเฉียมแฮหัวหลิมแฮหัวหุยแฮหัวฮุยแฮหัวตุ้นแฮหัวซงแฮหัวป๋าแฮหัวโฮแฮหัวเอี๋ยนแฮหัวเทียนแปะเฉียโกกันโกลำโกะหยงโกซุ่นโกเสียงโลติดโลซกโฮอั๋นโฮจิ๋นโฮงีโฮเฮาโจมอโจวจื่อโจสิดโจหยินโจหองโจหิมโจหุ้นโจอั๋นบิ๋นโจฮวนโจฮองโจฮิวโจฮูโจผีโจจิ๋นโจจู๋โจงั่งโจฉองโจซองโจซุนโจป้าโจโฉโจเมาโจเฮาโจเจียงโต้สู้โตเกี๋ยมโปไฉไทสูจู้ไต้เกี้ยวเชียกงเบ้งฮิวเบ้งตัดเบ้งเฮ็กเบ้งเจียดเกียงอุยเกียนสิดเลียวฮัวเล่าชุนเล่ากี๋เล่าลีเล่าหัวเล่าหงีเล่าอิ้วเล่าฮองเล่าจ๋องเล่าต้ายเล่าปี่เล่าป๋าเล่าเพ็กเล่าเสี้ยนเล่าเอี๋ยนเล่าเจี้ยงเล่าเตาเล่าเปียวเล่งทองเล่งโฉเสียวเกี้ยวเหลียงซีเหาลำเห้หุยเอียวสิ้วเอียวหงีเอียวเก๋าเอียนสีเฮกเจียวเฮาเสงเฮาเฉียเฮียงทงเจาเจ้งเจียวอ้วนเจียวจิ๋วเจียวขิมเทาเจียดเทียบูเทียหยกเทียอ้วนจี้เทียเภาเขาฮิวเขาเฉียวเคาทูเคาเจ้งเงียมหงันเงียมแปะฮอเตาอี้เตียวก๊กเตียวล่อเตียวสิ้วเตียวสงเตียวหยิมเตียวหลำเตียวหุยเตียวหงีเตียวอุ๋นเตียวฮองเตียวฮ่องเตียวคับเตียวต๋งเตียวโป้ (โจรโพกผ้าเหลือง)เตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น)เตียวเมาเตียวเลี้ยวเตียวเสี้ยนเตียวเหยียงเตียวเหลียงเตียวเหลียง (โจรโพกผ้าเหลือง)เตียวเหียนเตียวเอี๋ยนเตียวเอ๊กเตียวเจ (ฮั่นตะวันออก)เตียวเจียวเตียวเค้าเตียวเปาเตียวเป๋าเตียนห้องเตียนอุยเตียนเอี๋ยงเตงหงีเตงฮองเตงจี๋เตงงายเตงต๋งเตงเมาเต๊งหงวนเต๊งไก๋เปาสิ้นเปาสูหยินเปาจิดเปาต๋งเปาเตียวเปียนสีเปี๋ยนฮีเป้า ซานเหนียง ขยายดัชนี (332 มากกว่า) »

ชัวมอ

ัวมอ (Cai Mao) เป็นขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นแม่ทัพเรือของเล่าเปียว และเป็นน้องชายของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียวด้วย ครั้งเมื่อเล่าปี่มาอาศัยอยู่กับเล่าเปียว ชัวมอก็กลัวจะถูกแย่งชิงอำนาจ จึงวางแผนจะฆ่าเล่าปี่เสียแต่เล่าปี่ก็หนีรอดไปได้ หลังจากเล่าเปียวถึงแก่กรรมก็ยึดครองอำนาจ แต่งตั้งเล่าจ๋องลูกของพี่สาวตัวเองเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป ต่อมาภายหลังจากโจโฉยึดครองเมืองเกงจิ๋ว ชัวมอ ได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ และได้รับตำแหน่งเนแม่ทัพเรือของโจโฉเพื่อยกทัพไปตีกังตั๋ง แต่ต่อมาจิวยี่ได้ใช้อุบายหลอกให้โจโฉหลงเชื่อว่าชัวมอคิดทรยศ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชัวมอ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชัวมอ · ดูเพิ่มเติม »

ชัวฮูหยิน

ัวฮูหยิน (Lady Cai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ภรรยาคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋ว มารดาของเล่าจ๋อง พี่สาวของชัวมอ ชัวฮูหยินและชัวมอมีความคิดที่จะกุมอำนาจทั้งหมดในเกงจิ๋ว จึงคิดที่จะพยายามทำให้เล่าจ๋องบุตรของเล่าเปียวและชัวฮูหยินเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเล่าเปียว และพยายามกำจัดเล่ากี๋ บุตรของเล่าเปียวและภรรยาคนแรก รวมถึงการคิดพยายามกำจัดเล่าปี่ ซึ่งสนับสนุนเล่าเปียวให้ตั้งเล่ากี๋เป็นผู้สืบทอด ทำให้เล่ากี๋ต้องหนีภัยโดยการขอเล่าเปียวให้ตั้งตนให้เป็นเจ้าเมืองกังแฮที่กำลังขาดเจ้าเมืองและไปรับตำแหน่งที่นั้น ส่วนเล่าปี่ก็เคยถูกตามล่าโดยชัวมอมาแล้วสองครั้ง แต่ก็หนีรอดได้ทุกครั้ง ต่อมา เล่าเปียวเสียชีวิต ชัวฮูหยินและชัวมอได้ปลอมแปลงพินัยกรรม โดยตั้งให้เล่าจ๋องขึ้นเป็นเจ้าเมือง หลังจากนั้นไม่นาน โจโฉได้นำทัพใหญ่บุกเกงจ๋ว เล่าจ๋องยอมจำนน โจโฉตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋วและให้เดินทางไปรับตำแหน่ง เล่าจ๋องเดินทางไปเฉงจิ๋วพร้อมกับชัวฮูหยิน ระหว่างทางอิกิ๋มซึ่งซุ่มอยู่ข้างทางได้บุกมาสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชัวฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

ชัวต๋ง

ัวต๋ง (Cai Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และพี่ชายของชัว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชัวต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ชัวโฮ

ัวโฮ (Cai He) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และน้อวชายของชัวต๋ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชัวโฮ · ดูเพิ่มเติม »

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบังทอง · ดูเพิ่มเติม »

บังเต๊ก

บังเต๊ก เป็นขุนพลที่มีฝีมือคนหนึ่งในสามก๊ก แต่แรกเริ่มอยู่รับใช้ม้าเฉียว ต่อมาม้าเฉียวไปเป็นทหารเตียวล่อแห่งฮันต๋ง บังเต๊กก็ได้เป็นทหารเตียวล่อในสังกัดของม้าเฉียว ในขณะที่ม้าเฉียวไปทำศึกกับเล่าปี่และถูกเกลี้ยกล่อมให้อยู่ด้วยกับเล่าปี่ ในขณะนั้นบังเต๊กไม่ได้ติดตามม้าเฉียวไปด้วยเพราะป่วยจึงพักรักษาตัวอยู่ที่ฮันต๋ง ต่อมา โจโฉยกทัพบุกฮันต๋งบังเต๊กอาสาเตียวล่อเป็นทัพหน้าไปรบกับโจโฉ แต่ถูกอุบายของกาเซี่ยงทำให้เตียวล่อกับบังเต๊กผิดใจกัน ทำให้โจโฉได้บังเต๊กร่วมกองทัพ ต่อมา กวนอูจะยกทัพตีเมืองอ้วนเสีย โจโฉได้ส่งกองทัพไปช่วยสลายวงล้อมอ้วนเสีย โดยให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่ บังเต๊กคุมทัพหน้า ในการรบบังเต๊กสามารถรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ในบางครั้งแม้บังเต๊กได้เปรียบกวนอู แต่อิกิ๋มริษยาว่าถ้าบังเต๊กชนะกวนอูต้องได้ความชอบใหญ่จึงสั่งให้ทหารตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้ง เมื่ออิกิ๋มได้ยกมาตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า กวนอูได้ให้ทหารสร้างเขื่อนกั้นน้ำรอให้น้ำหลาก จึงพังเขื่อนปล่อยน้ำท่วมทัพอิกิ๋ม อิกิ๋มและบังเต๊กถูกจับตัวได้ กวนอูสั่งให้ขังตัวอิกิ๋ม ส่วนบังเต๊กให้นำตัวไปประหาร หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่: วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบังเต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวม่าน

วม่าน (คำว่า "ม่าน" มีความหมายว่า "บ้าน") เป็นชนกลุ่มแรกที่อพยพมาทางหุบเขาตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ตั้งบ้านเรือนระยะห่างๆกัน ประมาณ 600-1,000 เมตร และแยกออกจากกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งจะสังเกตได้โดยเครื่องแต่งกายสตรี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชาวม่าน · ดูเพิ่มเติม »

บิสี

ี (Fei Shi, ? — ?) มีชื่อรองว่า กงจู เสนาบดีแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก บิสีมีบทบาทสำคัญเมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองขึ้นเป็น พระเจ้าเล่าปี่ จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กก็ได้มีพระบัญชาให้บิสีไปยังเกงจิ๋วเพื่ออัญเชิญตราตั้งแต่งตั้งให้ กวนอู เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบิสี · ดูเพิ่มเติม »

บิฮอง

บิฮอง (Mi Fang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเสนาธิการแห่งจ๊กก๊ก เป็นน้องชายของบิต๊ก ได้ติดตามรับราชการกับเล่าปี่พร้อมกับบิต๊กผู้เป็นพี่ชาย แต่ในเวลาต่อมา เมื่อกวนอูทำสงครามกับง่อก๊ก บิฮองและเปาสูหยินทำการผิดพลาดในการดูแลค่ายทหารจึงถูกกวนอูคาดโทษไว้ ทั้งคู่กลัวตายจึงหนีไปสวามิภักดิ์กับซุนกวน จนเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้กวนอูพ่ายแพ้และถูกประหารในเวลาต่อมา (และทำให้บิต๊กตรอมใจตายกับการสวามิภักดิ์ซุนกวนของบิฮอง) และเมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพใหญ่ไปตีง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กวนอู บิฮองและเปาสูหยินพยายามจะกลับมาสวามิภักดิ์ต่อก๊กเล่าปี่อีกครั้งด้วยการฆ่าแม่ทัพม้าต๋งของง่อก๊ก แต่เล่าปี่ไม่ยอมรับและสั่งให้กวนหิน ลูกชายกวนอู จับไปฆ่าทิ้งทั้งคู่เพื่อแก้แค้นให้กวนอู ส่วนประวัติในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว ภายหลังที่บิฮองไปอยู่กับง่อก๊ก ซุนกวนได้ให้เกียรติและไว้ใจบิฮองอย่างสูง แต่ก็มักจะถูกขุนนางบางส่วนอย่างยีหวน เหยียดหยามจากการหักหลังกวนอูไปอยู่กับซุนกวน ส่วนการตายก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าบิฮองเสียชีวิตด้วยเหตุใด หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบิฮอง · ดูเพิ่มเติม »

บิฮุย

(Fei Yi) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่าเหวินเหว่ย เป็นชาวตำบลหมิ่น เมืองกังแฮ มณฑลหูเป่ย เป็นคนซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ไม่กอบโกย มีสติปัญญาดีสามารถทำงานที่ขงเบ้งมอบหมายให้อย่างไม่มีที่ติ บิฮุยเคยเป็นทูตไปยังง่อก๊กหลายหน เมื่อขงเบ้งเสียเกเต๋งให้สุมาอี้ ขงเบ้งได้ทูลขอลดตำแหน่งจากพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าเสี้ยนไม่เห็นด้วย บิฮุยเป็นคนทูลให้พระองค์ทำตามคำขอของขงเบ้งเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ครั้นต่อมาขงเบ้งรบชนะ บิฮุยเป็นผู้นำรับสั่งของพระเจ้าเล่าเสี้ยนไปเลื่อนตำแหน่งให้ขงเบ้งถึงสนามรบ ในสายตาขงเบ้งเห็นว่าเขาเป็นคนมีสติปัญญายอดเยี่ยมสามารถบริหารประเทศชาติได้ เพียงรองจากเจียวอ้วนเท่านั้น ก่อนตาย ขงเบ้งได้สั่งเสียให้ตั้งบิฮุยเป็นสมุหนายกต่อจากเจียวอ้วน แต่ต่อมาบิฮุยถูกกวอเป่น ขุนนางวุยก๊กที่มาสวามิภักดิ์แทงต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบิฮุย · ดูเพิ่มเติม »

บิฮูหยิน

ูหยิน (Lady Mi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ภรรยาคนที่สองของเล่าปี่ เป็นน้องสาวของบิต๊กและบิฮอง ขุนนางของโตเกี๋ยม ซึ่งต่อมาก็ได้รับใช้เล่าปี่หลังจากโตเกี๋ยมเสียชีวิตแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบิฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

บิต๊ก

ต๊ก (Mi Zhu) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก เป็นทั้งที่ปรึกษาและพี่ภรรยาของเล่าปี่ เป็นพี่ชายของบิฮองซึ่งต่อมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสียชีวิตของกวนอู เดิมเป็นขุนนางของโตเกี๋ยม เจ้าเมืองชีจิ๋ว เมื่อโตเกี๋ยมตายจึงอยู่รับใช้เล่าปี่ต่อไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบิต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

บุนทิว

บุนทิว ตามสำเนียงกลาง (Wen Chou) เป็นแม่ทัพของอ้วนเสี้ยว เป็นหนึ่งในสองขุนพลของอ้วนเสี้ยวทีมีฝีมือเลื่องชื่อ แต่ก่อนได้รับฉายาว่าเจ้าแห่งทวนเพราะใช้ทวนเก่งมาก (ขุนพลของอ้วนเสี้ยวอีกคนคือ งันเหลียง) เคยประมือกับจูล่งถึง 60 เพลงก่อนหนีกลับค่ายไป และเมื่อรู้ว่างันเหลียงถูกฆ่าตายในสนามรบก็คิดจะออกไปแก้แค้น บุนทิวถูกฆ่าตายในการศึกกับทัพของโจโฉ เมื่อ ค.ศ. 200 ในสามก๊กของหลอกว้านจง เล่าว่าบุนทิวถูกกวนอูสังหาร แต่บางตำรากล่าวว่าบุนทิวถูกอาวุธของเตียวเลี้ยวขณะทำการรบติดพันจนเสียชีวิต หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบุนทิว · ดูเพิ่มเติม »

บุนเพ่ง

บุนเพ่ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เหวิน พิ่ง ตามสำเนียงกลาง บุคคลใน ยุคสามก๊ก เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก แต่เดิมรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อมาเมื่อ เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวซึ่งขึ้นครองเมืองเกงจิ๋วสืบต่อจากบิดาได้ยอมแพ้ต่อ โจโฉ ทำให้บุนเพ่งได้มารับใช้วุยก๊ก ซึ่งบุนเพ่งมีบทบาทสำคัญในการปกป้อง เมืองกังแฮ จากการรุกรานของ ซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบุนเพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

บุนเอ๋ง

นเอ๋ง (Wen Yang, ค.ศ. 238 — ค.ศ. 291) ชื่อรองว่า จื่อเฉียน (Ciqian) และมีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า เหวินฉู่ (Wen Chu) เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก และ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก เป็นบุตรชายของ บุนขิม ขุนศึกแห่งวุยก๊ก เมื่อบุนขิมผู้เป็นบิดาได้ก่อกบฏที่เมืองสิ่วชุ่นใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบุนเอ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

บู๋อันก๊ก

ู๋อันกํก (Wu Anguo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลของขงเล่ง (ขงหยง) เจ้าเมืองปักไฮ ใช้ขวานเป็นอาว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและบู๋อันก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ชีสิว

อสิว (JuShou) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กจอสิว เป็นชาวเมืองก่วนผิง มฑฑลเหอเป่ย มีความรู้ความคิดสูง ชำนาญในพิชัยสงคราม ซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยว เมื่ออ้วนเสี้ยวจะยกทัพไปรบกับโจโฉที่กัวต๋อ (กวนตู้) ซึ่งเป็นคราวปราชัยอย่างย่อยยับ จอสิวได้ทัดทานไว้เช่นเดียวกับเตียนฮอง และยังได้แนะนำให้อ้วนเสี้ยวใช้ยุทธวิธีถ่วงการรบ เพราะรู้ว่าเสบียงอาหารของกองทัพโจโฉมีน้อย อ้วยเสี้ยวโกรธ หาว่าจอสิวแนะนำไม่เข้าเรื่อง จึงให้เอาตัวจอสิวจำขังไว้ เสร็จศึกจะฆ่าพร้อมด้วยเตียนฮอง ระหว่างถูกขัง จอสิวเห็นดาววิปริต อันตรายจะเกิดแก่อ้วนเสี้ยว สู้ปลุกให้อ้วนเสี้ยวลุกขึ้นระวังคลังเสบียงที่อัวเจ๋า อ้วนเสี้ยวไม่เชื่อ สั่งให้เอาตัวผู้คุมไปประหารชีวิตฐานปล่อยจอสิวออกมาแล้วขังจอสิวไว้ต่อไป ครั้งอ้วนเสี้ยวแตกทัพกลับไปแล้ว โจโฉปลดปล่อยจอสิวออกมา และเกลี้ยกล่อมเอาไว้เป็นพวก จอสิวไม่ยอม ด่าโจโฉต่างๆนานา โจโฉไม่โกรธ ให้แต่งโต๊ะเลี้ยงจอสิวเป็นอันดี พอตกกลางคืน จอสิวลักม้าตัวหนึ่ง จะหนีไปหาอ้วนเสี้ยว ทหารโจโฉจับตัวได้ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชีวิต แล้วให้ฝังศพไว้ริมแม่น้ำเหลืองและให้จารึกบนศิลาสดุดีความซื่อตรงจงรัก ภักดีต่อนายขงจอสิวเป็นอันมาก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชีสิว · ดูเพิ่มเติม »

ชีเซ่ง

ชีเซ่ง (Xu Sheng) เป็นขุนพลแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองลงเสียมีนิสัยกล้าหาญ ซื่อสัตย์ ชำนาญการรบทางเรือ เข้มงวดในระเบียบวินัย มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับเตงฮอง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) ชีเซ่งออกศึกในบังคับบัญชาของซุนกวนหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดได้รับการแต่งตั้งให้แม่ทัพป้องกันการรุกรานของพระเจ้าโจผีที่เมืองน้ำฉี ในครั้งนั้น ชัเซ่งสั้งทหารให้เอาฟางมาผูกเป็นรูปหุ่น ใส่เสื้อสีต่างๆให้มาก แล้วปักธงทิว รายไปตั้งแต่เมือน้ำฉีไปถึงเซ็กเทา ทำให้เสร็จในค่ำวันนั้ ฝ่ายพระเจ้าโจผี ครันรุ่งเช้า หมอกลงหนัก เห็นค่ายคูผู้คนและธงทิวเต็มไปหมดก็ตกใจ พอดีเกิดพายุประจวบกับได้รับข่าวว่าจูล่งแห่งจ๊กก๊กเข้าตีวุยก๊กตามคำสั่งขงเบ้ง จึงยกทัพกลับไป หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและชีเซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

พัวหอง

ัวหอง (Pan Feng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลของฮันฮก เจ้าเมืองกิจิ๋ว ใช้ขวานใหญ่เป็นอาวุธ ออกไปดวลกับ ฮัวหยง ขุนพลของตั๋งโต๊ะ และถูกสังหาร รูปพัวหองจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและพัวหอง · ดูเพิ่มเติม »

พัวโยย

ัวโยย (Pan Jun, ? – ค.ศ. 239) ขุนนางแห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ในตำแหน่งเสนาธิการ พัวโยยเคยรับใช้ เล่าเปียว และ เล่าปี่ จนกระทั่งเกิด การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและพัวโยย · ดูเพิ่มเติม »

พัวเจี้ยง

พัวเจี้ยง (Pan Zhang) เป็นชาวเมืองตงฉวินฟาเซียนฉายาว่า อุยกุ๋ย เป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่ขี้โอ่ ยิ่งแก่ยิ่งขี้โอ่มาก รับราชการอยู่กับซุนกวนมีความชอบมาก ได้ยศมหารเป็นผิงเป่ยเจีบงจวิน (นายพล) ความชอบครั้งสำคัญคือ การรบที่ซอกเขาเจาสัน ซึ่งพัวเจี้ยงได่ขุดหลุมพลางไว้และจับกวนอูได้ที่นั่นพร้อมด้วยกวนเป๋ง(บุตรบุญธรรม) พัวเจี้ยงได้เอาง้าวของกวนอูมาเป็นอาวุธของตน เป็นผู้ออกรบลวงฮองตง ทหารเอกของพระเจ้าเล่าปี่ให้ตกเข้าไปในที่ล้อมหน้าเมืองอิเหลง แล้วให้ทหารระดมยิงเกาทัณฑ์ ถูกซอกคอฮองตงกลับไปตายที่ทัพหลวง ในที่สุดได้รบพุ่งกับกวนหินบุตรกวนอูตัวต่อตัว ถูกกวนหินฟันตาย กวนหินได้ง้าวของกวนอูจากพัวเจี้ยงคืนไป ตำแหน่งสุดท้ายของพัวเจี้ยง เป็นเจ้าเมืองเซียงหยัง (ซงหยง)และมียศทหารเป็นอิ้วเจียงจวิน (นายพล) พัวเจี้ยง พัวเจี้ยง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและพัวเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกบฏโพกผ้าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

กวนลอ

กวนลอ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าก่วนลู่ (ค.ศ. 209 - ค.ศ. 256) มีชื่อรองว่ากงหมิง (ฺGongming) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองเพงงวนก๋วน มณฑลซานตุง มีชื่อรองกงหมิง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนลอเป็นคนรูปร่างขี้ริ้ว มีความสามารถในการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นิสัยสมถะ รักความสงบไม่หวังผลลาภยศตอบแทน ชื่นชอบสุราเช่นเดียวกับการชอบดูดาว ศึกษาดาราศาสตร์แตกฉาน กวนลอมีนิสัยชอบทำตามใจและอารมณ์ของตนเอง ใจกว้าง ชำนาญการคำนวณเป็นเล.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนลอ · ดูเพิ่มเติม »

กวนสก

กวนสก มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากวนสั่ว (Guan Suo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่สองของกวนอูและเป็นขุนพลของจ๊กก๊ก ชื่อของกวนสกไม่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ปรากฏเฉพาะในนิทานพื้นบ้านและในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนสก · ดูเพิ่มเติม »

กวนหิน

กวนหิน 関興 มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากวนซิง (Guan Xing) มีชื่อรองว่าอันกั๋ว (ฺAnguo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของกวนอู มีฝีมือไม่แพ้กวนอูผู้เป็นบิดา ออกศึกกับพระเจ้าเล่าปี่ครั้งแรกที่ศึกอิเหลง เพื่อแก้แค้นซุนกวนให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกฆ่าตาย กวนหินแสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง แต่ศึกครั้งนี้ พระเจ้าเล่าปี่ต้องพ่ายให้กับสติปัญญาของลกซุน จนต้องถอยทัพไปที่เป๊กเสีย และตรอมพระทัยสวรรคต หลังพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต กวนหินก็คอยช่วยเหลือขงเบ้งในศึกต่าง ๆ หลายครั้ง โดยมักจะได้รับคำสั่งให้ทำงานพร้อมกับเตียวเปา บุตรชายของเตียวหุย จนกระทั่งกวนหินล้มป่วยลงจนเสียชีวิต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนหิน · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

กวนไฮ

กวนไฮ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าก่วนไฮ่ (Guan Hai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นแม่ทัพของกบฏโพกผ้าเหลือง หลังจากที่กบฏโพกผ้าเหลืองในยุคแรกถูกกวาดล้างกวนไฮก็ได้กลายเป็นโจรป่าจนกระทั่งได้มีการฟื้นคืนชีพกบฏโพกผ้าเหลืองขึ้นมาอีกครั้ง ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนไฮ · ดูเพิ่มเติม »

กวนเหล็ง

กวนเหล็ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กวน หนิง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นลูกชายคนโตของกวนเต๋งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าบริเวณใกล้เมืองกิจิ๋ว เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของกวนเป๋ง เมื่อกวนอูได้เดินทางไปตามเล่าปี่ซึ่งกำลังอยู่กับอ้วนเสี้ยวที่เมืองกิจิ๋ว กวนอูได้ให้ซุนเขียนเข้าไปหาเล่าปี่ ส่วนตนเข้าไปขอพักค้างคืนที่บ้านของกวนเต๋ง กวนเต๋งได้ยินชื่อเสียงของกวนอูมานานจึงเรียกกวนเหล็งกับกวนเป๋งผู้บุตรมาคำนับกวนอู ต่อมาเมื่อเล่าปี่ได้เดินทางมาพบกวนอูที่บ้านของกวนเต๋งและจะลาไป กวนเต๋งได้มอบกวนเป๋งให้เป็นบุตรบุญธรรมของกวนอูให้เดินทางติดตามไปด้วยกัน ส่วนกวนเหล็งยังคงอยู่กับกวนเต๋งผู้บิดา ชื่อของกวนเหล็งไม่ปรากฏในจดหมายเหตุสามก๊ก คาดว่าเป็นตัวละครที่ล่อกวนตงสมมติขึ้นในวรรรณกรรมสามก๊ก ในสามก๊กฉบับบรีวิตต์ เทย์เลอร์ ออนไลน์ สะกดชื่อของกวนเหล็งเป็น Guan Neng จากชื่อที่ถูกต้องที่เขียนว่า Guan Ning คาดว่าเพื่อไม่ให้ซ้ำกับชื่อของก่วนหนิง เพื่อนสนิทของฮัวหิม ซึ่งสะกดชื่อว่า Guan Ning เช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนเหล็ง · ดูเพิ่มเติม »

กวนเป๋ง

กวนเป๋ง (เสียชีวิต ค.ศ. 220)บันทึกจือจื้อทงเจี้ยนระบุว่ากวนเป๋งถูกจับและถูกประหารในเดือน 12 ปีที่ 24 ของศักราชเจี้ยนอัน (ค.ศ. 196-220) ในรัชสมัยของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตามเนื้อความในบันทึกจือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 68 ดังนี้: (... 十二月,璋司馬馬忠獲羽及其子平於章鄉,斬之,遂定荊州。) ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกวนเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนก๋ง

กองซุนก๋ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนกง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กเป็นบุตรชายของกองซุนตู้เจ้าเมืองเลียวตั๋ง และเป็นน้องชายของกองซุนของซึ่งต่อมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองเลียวตั๋งต่อจากกองซุนตู้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนก๋ง · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนอวด

กองซุนอวด มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนเยว่ (Gongsun Yue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นน้องชายของกองซุนจ้าน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนอวด · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนจ้าน · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนของ

กองซุนของ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนคาง (Gongsun Kang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นเจ้าเมืองเลียวตั๋ง และเป็นบุตรชายของกองซุนตู้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนของ · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนตู้

แผนที่แสดงอาณาเขตของขุนศึกราชวงศ์ฮั่นในคริสต์ทศวรรษ 190 รวมถึงกองซุนตู้ กองซุนตู้ (เสียชีวิตปี ค.ศ. 204) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนตู้ มีชื่อรองว่าเซิงจี้ (ฺShengji) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพลและขุนศึกในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นเจ้าเมืองเลียวตั๋ง และเป็นบิดาของกองซุนของ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนตู้ · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนเอี๋ยน

กองซุนเอี๋ยน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนยวน (เสียชีวิต ค.ศ. 238) มีชื่อรองว่าเหวินอี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายของกองซุนของ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเลียวตั๋งแทนพ่อที่เสียชีวิต กองซุนเอี๋ยน ยกทัพ 10 หมื่นรุกบุกเข้ามายังตงหงวนเพื่อตีเมืองลกเอี๋ยงของโจยอย โจยอยส่งสุมาอี้ไปกำราบ สุมาอี้ใช้กลยุทธ์จับตัวกองซุนเอี๋ยนได้ แต่ถึงแม้กองซุนเอี๋ยนจะยอมสวามิภักดิ์ แต่สุมาอี้ก็ไม่สนใจแล้งก็สั่งประหารกองซุนเอี๋ยน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกองซุนเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

กัวเต๋า

กัวเต๋า มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากัวถู (Guo Tu) มีชื่อรองว่ากงเจ๋อ (ฺBodian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของอ้วนเสี้ยว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกัวเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

กันหยง

กันหยง หรือ ตันหยง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าเจี่ยนหยง (Jian Yong) มีชื่อรองว่าเสี่ยนเหอ (ฺXianhe) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการของเล่าปี่ รับใช้เล่าปี่ตั้งแต่เริ่มตั้งตัว เป็นคนเฉลียวฉลาด กันหยงผู้นี้เป็นคนแนะนำวิธีหลีกหนีจากอ้วนเสี้ยว ในเวลานั้น เล่าปี่อยู่กับอ้วนเสี้ยว เพราะโจโฉตีเมืองชีจิ๋วของตนแตก โดยอ้างว่าจะไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวให้สวามิภักดิ์ต่ออ้วนเสี้ยว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกันหยง · ดูเพิ่มเติม »

กาอุ้น

กาอุ้น หรือ แกฉง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี่ยชง (Jia Chong) มีชื่อรองว่า กงลวี้ (ฺGonglü) เป็นเสนาธิการแห่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในช่วงหลัง ยุคสามก๊ก กาอุ้นเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกาอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

กาเซี่ยง

กาเซี่ยง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี๋ยสวี่ (Jia Xu) มีชื่อรองว่าเหวินเหอ (ฺWenhe) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของเตียวสิ้ว ได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เสมือนเอาตันแผงและเตียวเหลียงมารวมกัน เป็นที่ปรึกษาที่วางแผนไม่เคยผิดพลาด มีชื่อรองว่า เหวินเหอ เป็นคนมีประสบการณ์สูงและมีสติปัญญาเป็นเลิศ เริ่มแรกเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลิฉุยและกุยกี ด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง สามารถทำให้ลิฉุย กุยกีอยู่บนอำนาจได้นาน แต่ต่อมาเกิดไม่พอใจลิฉุยและกุยกี จึงไปอยู่กับเตียวสิ้ว กาเซี่ยงมีเพื่อนที่เป็นที่ปรึกษาอยู่เตงเชีย คือ เลียวตู้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกาเซี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

กำฮูหยิน

กำฮูหยิน (เสียชีวิตราวปี ค.ศ. 210) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากานฟูเหยิน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นภรรยาหลวงของเล่าปี่ จักรพรรดิและผู้สถาปนาจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกำฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

กำเหลง

กำเหลง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากานหนิง (Gan Ning) มีชื่อรองว่าซิงป้า (ฺXingba) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นแม่ทัพที่อาจหาญ และบ้าบิ่นที่สุดคนหนึ่งในเรื่อง สามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกำเหลง · ดูเพิ่มเติม »

กิมสวน

กิมสวน (เสียชีวิต ค.ศ. 209) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จินเสฺวียน มีชื่อรองว่าเยฺหวียนจี เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนศึกในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นเจ้าเมืองบุเหลงซึ่งเป็นหัวเมืองหนึ่งในแคว้นเกงจิ๋ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกิมสวน · ดูเพิ่มเติม »

กิเหลง

กิเหลง (Ji Ling) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กขุนพลของอ้วนสุด เป็นชาวซานตุง มีอาวุธเป็นง้าว 3 คม หนัก 50 ชั่ง เมื่อเล่าปี่ยกมาตีลำหยง อ้วนสุดได้ให้กิเหลงเป็นแม่ทัพหน้าต้านเล่าปี่ กิเหลงปะทะกับกวนอู รบไม่แพ้ชนะกัน ต่อมาเล่าปี่ถูกลิโป้ยึดเมืองชีจิ๋ว ลิโป้ให้เล่าปี่อยู่เมืองเสียวพ่าย อ้วนสุดได้ให้กิเหลงเป็นแม่ทัพหน้านำทหารสิบหมื่นไปตีเมืองเสียวพ่าย เล่าปี่จึงส่งจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากลิโป้ ลิโป้จึงเรียกทั้งเล่าปี่และกิเหลงมาที่ค่ายของตนและอ้างมติสวรรค์ยิงเกาทัณฑ์ให้โดนปลายทวน โดยนำทวนไปปักที่ประตูค่ายห่างจากจุดที่ลิโป้ยืน 150 ก้าว ถ้ายิงเกาทัณฑ์ไม่โดนปลายทวนให้ทั้งสองทัพทำสงครามกันต่อไปโดยลิโป้ไม่ขอยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป แต่ถ้ายิงถูกปลายทวนทั้งสองฝ่ายต้องเลิกรบกัน ผลปรากฏว่าลิโป้ยิงถูกปลายทวนได้อย่างแม่นยำ ทำให้เล่าปี่รอดจากการโจมตีของกิเหลง ต่อมาเล่าปี่ยกมาตีอ้วนสุดที่กำลังเดินทัพไปหาอ้วนเสี้ยวผู้พี่ อ้วนสุดได้ให้กิเหลงออกรบ กิเหลงรบกับเตียวหุยและถูกเตียวหุยฆ่าต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกิเหลง · ดูเพิ่มเติม »

กุยกี

กุยกี (Guo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลของตั๋งโต๊ะคู่กับลิฉุย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า กุยกี พร้อมกับลิฉุย เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวง (เตียงฮัน) มาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร ต่อมาได้ทูลขอตำแหน่งในเมืองหลวง จึงได้เป็นแม่ทัพหลัง (ส่วนลิฉุยได้เป็นสมุหนายก) เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา รูปกุยกีจากเกม Romance of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกุยกี · ดูเพิ่มเติม »

กุยห้วย

กุยห้วย (Guo Huai) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกุยห้วย · ดูเพิ่มเติม »

กุยฮิวจี๋

กุยฮิวจี๋ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวโยวจือ มีชื่อรองว่าเหยี่ยนฉาง เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนนางของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองลำหยง (南陽 หนานหยาง ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) อัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊ก ได้เขียนกล่าวถึงกุยฮิวจี๋ในฎีกาออกศึก (出師表 ชูชือเปี่ยว) ฉบับแรกในปี ค.ศ. 227 ว่ากุยฮิวจี๋เป็นผู้มีความจงรักภักดีและมีความซื่อสัตย์เป็นอย่างสูง กุยฮิวจี๋ถูกระบุชื่อพร้อมด้วยตังอุ๋นและบิฮุยว่าเป็นขุนนางมีความสามารถที่สามารถให้คำปรึกษาในราชการทั้งใหญ่และน้อยแก่พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกุยฮิวจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

กุยแก

กุยแก (Guo Jia) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ยอดกุนซือแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน เอี๋ยงตี๋ (เมืองอวี๋ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ชื่อรองฟ่งเสี้ยว เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำที่ใช้คนไม่เป็น กุยแกจึงมาอยู่กับโจโฉในวัยเพียง 27 ปี ด้วยการแนะนำของซุนฮก กุยแกเป็นนักวางแผนคนสำคัญ เป็นผู้สรุปข้อดี 10 ประการของโจโฉ และสรุปข้อด้อย 10 ประการของอ้วนเสี้ยวเปรียบเทียบให้โจโฉฟัง ซึ่งเป็นแรงดลใจให้โจโฉทำสงครามแตกหักกับอ้วนเสี้ยว แม้จะมีกำลังคนน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวถึง 10:1 แต่โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้ กุยแกเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อาจเทียบได้กับขงเบ้งของเล่าปี่ ทว่าทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ประชันฝีมือกัน เพราะกุยแกเสียชีวิตเสียก่อน ด้วยป่วยตายที่เมืองลกเอี๋ยงในวัยเพียง 38 ปี ระหว่างที่โจโฉทำสงครามติดตามอ้วนซง และอ้วนถำ บุตรชายของอ้วนเสี้ยว ที่หนีไป ภายหลังอ้วนเสี้ยวตายไปแล้ว ก่อนตาย กุยแกได้เขียนจดหมายถึงโจโฉว่า ไม่จำเป็นต้องไล่ติดตามคนทั้ง 2 ไปไกล เพราะไม่นานทั้ง 2 จะแตกกันเองและจะมีผู้จัดการให้ในที่สุด ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงดังคำของกุยแก เพราะเมื่ออ้วนซงและอ้วนฮีหนีไปอยู่กับกองซุนข้อง กองซุนข้องระแวงคนทั้ง 2 อยู่แล้ว จึงฆ่าและตัดหัวมามอบให้แก่โจโฉ เมื่อกุยแกตาย โจโฉร่ำไห้อาลัยมาก รำพึงรำพันว่า กุยแกตายแต่ยังหนุ่ม เหมือนสวรรค์กลั่นแกล้งตน และอีกครั้งหลังพ่ายแพ้ย่อยยับจากศึกเซ็กเพ็ก โจโฉรำพันว่า ถ้ากุยแกยังอยู่จะต้องห้ามปรามตน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและกุยแก · ดูเพิ่มเติม »

ก๊กเสง

ก๊กเสง หรือ กุยเสง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวเซิ่ง (เสียชีวิต ค.ศ. 189) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีการเรียกชื่อก๊กเสงเป็น 2 ชื่อ คือก๊กเสงและกุยเสง โดยเรียกเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกว่าก๊กเสง ในภายหลังเรียกว่ากุยเสงโดยบอกว่าอยู่นอกกลุ่มสิบขันที ซึ่งเป็นความเข้าใจผ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและก๊กเสง · ดูเพิ่มเติม »

ก๋งเต๋า

ก๋งเต๋า มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กงตู (Gong Du) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพของอ้วนเสี้ยวซึ่งในอดีตเคยเป็นแม่ทัพของ กบฏโพกผ้าเหลือง มาก่อน เมื่อกองทัพกบฏโพกผ้าเหลืองถูกปราบปรามจนราบคาบก๋งเต๋าจึงได้มารับใช้อ้วนเสี้ยวผู้ตรวจการแห่งกิจิ๋วใน ศึกกัวต๋อ ก๋งเต๋าถูกส่งไปช่วย เล่าปี่ ในการโจมตีเมืองยีหลำซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ โจโฉ และได้ปะทะกับ แฮหัวเอี๋ยน แม่ทัพมากฝีมือของโจโฉแต่สู้กันได้ไม่นานก็ถูกแฮหัวเอี๋ยนสังหารเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและก๋งเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ม้าอ้วนยี่

ม้าอ้วนยี่ (Ma Yuanyi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นสมาชิกของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง ลูกน้องของเตียวก๊กหัวหน้าโจรโพกผ้าเหลือง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าอ้วนยี่ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต้าย

ม้าต้าย (Ma Dai; ม้าต้าย (馬岱) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ในอดีตนั้น เขาเป็นทหารเอกรับใช้ผู้เป็นลุง คือ ม้าเท้งและม้าเฉียว บุตรคนโตของม้าเท้ง เมื่อม้าเท้งเข้าเมืองหลวงตามคำเชิญของโจโฉ ม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย เมื่อม้าเท้งถูกจับโดยกลลวงของโจโฉ เขาจึงหนีออกมาจากเมืองหลวง โดยการปลอมตัวได้สำเร็จ ม้าต้ายมีชื่อเสียงโด่งดังจากการสังหารกบฏอุยเอี๋ยน จากการวางแผนของขงเบ้งและเกียงอุย เมื่ออุยเอี๋ยนก่อกบฏ เขาลวงอุยเอี๋ยนโดยการแสร้งทำเป็นเข้าร่วมทัพกบฏ หลังจากนั้นเมื่อได้โอกาส เขาจึงลอบเข้าไปด้านหลังของอุยเอี๋ยนและสังหารเขาเสีย รางวัลที่เขาได้รับสำหรับการที่เขาสังหารอุยเอี๋ยนก็คือบรรดาศักดิ์ที่ริบมาจากอุยเอี๋ยนนั่นเอง หลังจากที่เล่าปี่ ฮ่องเต้แห่งเสฉวนสิ้นพระชนม์ ม้าต้ายนั้นเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มากผู้หนึ่งของขงเบ้งและเขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะสงครามม่านใต้ที่รบกับเบ้งเฮ็กอย่างมาก ไม่แพ้จูล่งและอุยเอี๋ยนเลยทีเดียว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต๋ง

ม้าต๋ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวจริง เดิม ม้าต๋งเป็นนายทหารเล่าเจี้ยง ต่อมาเข้ากับซุนกวน ร่วมรบในศึกกวนอู และเป็นคนสั่งยิงธนูให้ฮองตงเสียชีวิต ซุนกวนเคยจะให้ม้าเซ็กเธาว์ของกวนอูให้ดูแลแต่ถูกปฏิเสธ ภายหลังถูกบิฮอง และเปาสูหยินลอบสังหาร เพื่อต้องการนำหัวกลับมาเข้าจ๊กก๊กเหมือนเดิม ตามประวัติศาสตร์ไม่พบว่าถูกสังหาร แต่พบว่าได้รับใช้ง่อก๊กจนจบชีวิต ม้าต๋ง ม้าต๋ง หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 3 en:Ma Zhong (Han dynasty).

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเลี้ยง

ม้าเลี้ยง (Ma Liang) เป็นชาวเมืองซงหยง ในวัยเด็กมีชื่อเรียก "คนคิ้วขาว" ซึ่งหมายความถึงผู้เก่งที่สุด ภายหลังได้รับใช้เล่าปี่ สร้างความดีความชอบมากมาย เป็นนักการทูตในการเจรจากับซุนกวน ครองสี่หัวเมืองทางใต้ และสามารถเกลี้ยกล่อมสะโมโขให้มาร่วมงานกับตนเอง ม้าเลี้ยง ม้าเลี้ยง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าเลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเท้ง

ม้าเท้ง (Ma Teng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เป็นขุนศึก ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และสามก๊กของจีน ปกครองเมืองเสเหลียง(มลฑลเหลียงโจว) ด้วยกันกับหันซุย น้องร่วมสาบานของเขาม้าเท้งและหันซุย ใช้ความมุมานะพยายามเป็นแรมปี เพื่อที่จะแยกตัวเป็นอิสระจากแผ่นดินส่วนกลาง ม้าเท้งเป็นบิดาของม้าเฉียวและเป็นอาของม้าต้าย ผู้ที่รับใช้ต่อจ๊กก๊กในภายหลัง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าเท้ง · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเฉียว

ม้าเฉียว (Ma Chao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เชี่ยวชาญในการขี่ม้ามาก เป็น 1 ใน 5 ขุนพลพยัคฆ์แห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองว่า เหมิงฉี เกิดที่มณฑลซานซี เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง มีความแค้นต่อโจโฉมาก เนื่องจากม้าเท้งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมลงชื่อกำจัดโจโฉตามหนังสือเลือดของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นบุคคลที่โจโฉระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าจะตลบหลังตีเมืองลกเอี๋ยง ตอนตนออกไปทำศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงทำอุบายขอโองการฮ่องเต้แต่งตั้งตำแหน่งแม่ทัพปราบทักษิณ ให้ม้าเท้งเข้ามาเมืองฮูโต๋รับตำแหน่งแล้วจะจับฆ่า แต่ม้าเท้งซ้อนแผนไว้ ผลสุดท้ายแผนแตกจึงถูกโจโฉจับฆ่าตายทั้งตัวและน้องชาย ม้าต้าย ญาติผู้น้องเป็นผู้เดียวที่หลบหนีมาได้ จึงรีบไปบอกม้าเฉียว ม้าเฉียวแค้นมากประกาศจะตามล้างโจโฉให้ได้ จึงรวบรวมทัพของตนผสมกับชนเผ่าเกี๋ยงบุกตีโจโฉ ทำให้โจโฉต้องเตลิดหนีด้วยการตัดหนวดทิ้ง และถอดเสื้อคลุมทิ้ง แต่โจหองเข้ามาขวาง จึงหลบหนีไปได้หวุดหวิด โจโฉได้กล่าวว่า ม้าเฉียวเก่งกล้าไม่แพ้ลิโป้ในอดีต จากนั้นม้าเฉียวจึงไปร่วมกับหันซุยทำศึกกับโจโฉ แต่ด้วยอุบายของโจโฉ ที่รอให้น้ำแข็งที่เกาะกุมกำแพงเมืองหนาแน่น และทำให้ม้าเฉียวระแวงหันซุย จึงชนะในที่สุด ม้าเฉียวจึงต้องร่อนเร่พเนจรและได้เข้าร่วมกับเตียวล่อ ได้เข้ารบกับจ๊กก๊ก โดยประลองฝีมือกับเตียวหุย รบถึงกัน 100 เพลง ก็ไม่มีใครแพ้-ชนะ เนื่องจากฝีมือสูสีกันมาก ด้วยอุบายของขงเบ้ง ทำให้ได้ม้าเฉียวมาอยู่กับฝ่ายจ๊กก๊ก เมื่อครั้งที่เล่าปี่ยกทัพเข้าตีเซงโต๋ในเสฉวนของเล่าเจี้ยง ขงเบ้งได้ให้ม้าเฉียวเป็นทัพหน้า เพียงแค่ได้ยินชื่อของม้าเฉียว ทหารของเล่าเจี้ยงก็ยอมแพ้ไม่ต้องรบทันที เพราะนับถือม้าเฉียวมากดุจเทพเจ้าแห่งสงคราม ม้าเฉียวเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ขณะตามขงเบ้งลงใต้ปราบเบ้งเฮ็กด้วยวัยเพียง 45 ปี (แต่ตามประวัติศาตร์จริง ม้าเฉียวตายด้วยโรคภัยก่อนขงเบ้ง1ปี).

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและม้าเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

ยำก๋ง

ำก๋ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นนายทหารของกองซุนจ้าน มีบทบาทเมื่อกองซุนจ้านรบกับอ้วนเสี้ยว เพราะอ้วนเสี้ยวฆ่าน้องชายตน กองซุนจ้านให้ยำก๋งนำกองทหารม้าขาวบุกตะลุยเข้าไป แต่พลาดท่ากับซกยี่สมุนขออ้วนเสี้ยวที่ดักรออยู่ สุดท้ายถูกซกยีสังหาร...

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและยำก๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยูสิด

ูสิด (Yu She) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลของอ้วนสุด เจ้าเมืองลำหยง ถูกฮัวหยง ขุนพลของตั๋งโต๊ะสังหาร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและยูสิด · ดูเพิ่มเติม »

ยีเอ๋ง

ีเอ๋ง (Mi Heng) หนึ่งในที่ปรึกษาของโจโฉที่ปากดีอวดเก่งไม่รู้เวลา จึงถูกประหารชีวิต ยี่เอ๋งเป็นชาวเมืองเพงงวนก๋วน ปัจจุบันอยู่ในแขวงชางฮี มณฑลซานตง มีชื่อรองว่า "เจิ้งผิง" (正平) ปรากฏตัวครั้งแรก เมื่อเตียวสิ้วเข้าร่วมกับโจโฉแล้ว โจโฉต้องการทูตไปเจรจาเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเป็นพวกด้วย จึงปรึกษาขงหยงว่าควรตั้งใครเป็นทูตไปเกงจิ๋วดี ขงหยงเสนอยีเอ๋ง บัณฑิตหนุ่มอายุ 20 ปี โจโฉก็เคยได้ยินชื่อยีเอ๋งมาบ้าง จึงเชิญให้ยีเอ๋งมาพบ เมื่อยีเอ๋งมาถึงแล้วได้คำนับโจโฉ แต่โจโฉไม่ยอมคำนับตอบ ด้วยเห็นว่ายีเอ๋งไม่มีท่าทีว่าจะเป็นคนฉลาดเฉลียวสมดังคำเล่าลือ ยีเอ๋งจึงรำพันออกมาว่า ณ ที่นี่กว้างนักแต่หาคนดี ๆ สักคนไม่มี โจโฉจึงถามว่า อันข้าพเจ้านั้นมีผู้ดี ๆ เก่ง ๆ มาร่วมงานมากมาย ไฉนจึงว่าไม่มีคนดีมาร่วมงาน ยีเอ๋งจึงถามว่า บุคคลที่ท่านว่าดี ยกตัวอย่างมาสิ โจโฉจึงตอบไปหลายคนทั้งขุนนางบุ๋นและบู๊ ได้แก่ ซุนฮก, ซุนฮิว, กุยแก, เทียหยก, เตียวเลี้ยว, เคาทู, ลิเตียน, งักจิ้น แต่ยีเอ๋งกลับหัวเราะเยาะพร้อมกล่าวถึงบุคคลที่โจโฉว่ามาแต่ละคนล้วนแต่ไม่ได้เรื่องว่า ซุนฮกเหมาะสำหรับใช้ให้ไปเยี่ยมคนป่วยหรือไปร่วมงานศพเท่านั้น ซุนฮิวนั้นก็เหมาะที่จะเป็นสัปเหร่อมากกว่า กุยแกก็เหมาะสำหรับแต่งโคลงกลอนหรืออ่านหนังสือให้คนไม่รู้หนังสือฟัง ส่วนเทียหยกก็สมควรให้เป็นภารโรง เตียวเลี้ยวก็เหมาะกับหน้าที่ตีเกราะเคาะระฆัง เคาทูก็เหมาะกับการเลี้ยงวัวควาย ลิเตียนก็สมกับงานเดินหนังสือ งักจิ้นดูแล้วก็ไม่น่ามีตำแหน่งเกินกว่าเสมียน และยังเอ่ยถึงบุคคลที่โจโฉไม่ได้กล่าวถึงเพิ่มอีกในแบบเดียวกัน คือ ลิยอย ก็ใช้ได้เพียงแค่คนเช็ดทำความสะอาดอาวุธ หมันทองก็เอาแต่เสพสุรา อิกิ๋มก็เหมาะสำหรับกรรมกรยกของหนัก ซิหลงก็เหมาะกับอาชีพฆ่าหมูขาย ส่วนแฮหัวตุ้นนั่นเล่าแค่รักษาศีรษะตนให้ติดอยู่กับบ่าก็ยากพอแล้ว โจโฉฟังแล้วโมโหยีเอ๋งยิ่งนัก แต่ระงับอารมณ์ไว้ ได้ย้อนถามกลับไปว่า ท่านว่าคนของข้าพเจ้าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วตัวท่านเล่ามีดีอะไรบ้าง ยีเอ๋งตอบไปว่า ข้าพเจ้ามีความรู้ท่วมฟ้า สามารถเพ็ดทูลฮ่องเต้ให้ตั้งอยู่ในธรรมได้ และยังอบรมคนทั้งแผ่นดินได้อีกด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ข้าพเจ้าชักเบื่อที่จะเจรจากับผู้ไร้สติปัญญาเช่นท่านแล้ว เหมือนพูดกับคนที่ไม่รู้ภาษามนุษย์ เตียวเลี้ยวทนไม่ไหวชักกระบี่จะสังหาร แต่โจโฉห้ามไว้ และให้ตำแหน่งยีเอ๋งเป็นคนตีกลองในวัง ซึ่งยีเอ๋งก็ไม่ขัดข้อง ต่อมา โจโฉจัดงานเลี้ยงในวัง มีผู้เข้ามาร่วมงานมากมาย ซึ่งมีการแสดงดนตรีด้วย นักดนตรีแต่ละคนล้วนแต่งกายด้วยอาภรณ์สวยงามทั้งสิ้น แต่ยีเอ๋งกลับสวมเสื้อผ้าขาดวิ่นมาตีกลองเพียงคนเดียว แต่ยีเอ๋งตีกลองได้อย่างไพเราะจับใจมาก ทำเอาแขกในงานซึ้งไปกับเสียงกลองของยีเอ๋ง เพลงนี้มีชื่อว่า "ยูยัง" (余洋) ซึ่งมีลำนำอันไพเราะ ทำให้ได้บรรยากาศริมน้ำ ขณะนั่งตกปลา ที่ต้องนิ่งสงบอยู่กลางเสียงปลาฮุบเบ็ด เสียงใบไผ่และใบวนสีกันเป็นจังหวะ ซึ่งความหมายของชื่อเพลง แปลว่า ตกปลา (ยาขอบตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "เพลงมัสยาหลงเหยื่อ") บางคนถึงกับน้ำตาไหลซาบซึ้ง เมื่อตีจบแล้ว บรรดาแขกไปรุมถามยีเอ๋งว่า เหตุไฉนท่านจึงแต่งกายสกปรกเช่นนี้ โจโฉโมโหจึงตวาดถามไปด้วยเสียงอันดังว่า ทำไมถึงแต่งตัวเช่นนี้ในเขตพระราชฐาน ยีเอ๋งแทนที่จะไปเปลี่ยนเสื้อผ้า กลับประชดถอดเสื้อผ้าออกหมด โจโฉยิ่งโมโหยิ่งขึ้น แต่ยีเอ๋งตอบไปว่า เพราะตัวข้าพเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ ที่แก้ผ้าออกเพื่อที่จะให้ทุกคนเห็นเรือนร่างอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า โจโฉจึงถามย้อนกลับไปว่า เช่นนั้นเรือนร่างใครสกปรก ยีเอ๋งจึงตอบไปว่า ก็ตัวท่านไงเล่า เพราะหูท่านชอบฟังแต่เรื่องปอปั้นเยินยอ จึงถือว่าเป็นหูสกปรก ตาท่านก็ชอบจะเห็นแต่สิ่งสวยงามมดเท็จ จึงถือได้ว่าเป็นตาสกปรก จิตใจท่านก็ยิ่งสกปรกใหญ่ คิดจะเป็นโจรปล้นชิงราชสมบัติ สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ตัวข้าพเจ้าเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ กลับให้มาเป็นคนตีกลอง เช่นนี้หรือจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจโฉจึงคิดจะประหารยีเอ๋งทันที แต่เกรงคนจะครหา จึงส่งยีเอ๋งไปเป็นทูตเจรจากับเล่าเปียว หมายจะให้เล่าเปียวประหารแทน เมื่อไปถึง ยีเอ๋งเปิดฉากเจรจาด้วยการยกตนเองข่ม เล่าเปียวจึงคิดส่งยีเอ๋งไปให้หองจอ เจ้าเมืองกังแหประหารแทน ด้วยการบอกปัดไปว่า ให้ถามเอาจากหองจอ ถ้าหองจอเห็นดีด้วย ข้าพเจ้าก็ยินดี เมื่อไปถึงกังแห หองจอจัดงานเลี้ยงต้อนรับ เมื่อร่ำสุราได้ที่แล้ว ยีเอ๋งก็พูดจาข่มตนและอวดโอ้ตัวเองเสียเกินจริงอีกครั้ง หองจอได้ยินดังนั้นก็คิดว่า สมจริงดังที่โจโฉและหลายคนว่า หองจอแสร้งถามขอความเห็นจากยีเอ๋งว่า อันตัวข้าพเจ้านี้เป็นเจ้าเมือง ท่านเห็นควรหรือไม่ ยีเอ๋งตอบไปว่า ตัวท่านนั้นเหมือนเจว็ดในศาลเจ้า เหมาะให้คนมากราบไหว้รับของเซ่นสรวง ไม่ต้องทำอะไร สติปัญญาก็ไม่มี หองจอเลยสั่งให้นำตัวยีเอ๋งไปประหารทันที เมื่อโจโฉได้ทราบว่ายีเอ๋งโดนประหารไปแล้ว ก็หัวเราะสาแก่ใจ และบอกว่า ไอ้คนปากดีมันโดนประหารเพราะลิ้นมันแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและยีเอ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้น

ราชวงศ์จิ้น (คริสต์ศักราช 265 – คริสต์ศักราช 420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีน สถาปนาในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและราชวงศ์จิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ลกข้อง

ลกข้อง บุตรชายคนรองของลกซุน หลังจากลกซุนเสียชีวิตไป ซุนกวนยังโกรธเคืองเรื่องลกซุน จนเอาเรื่องความผิดของลกซุน มาเอาผิดกับเขา แต่ลกข้องได้ทำการแก้ต่าง เรื่องคดีความของบิดาจนซุนกวนพอใจ หลังจากนั้นได้รับราชการ มีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแม่ทัพที่ป้องกันชายแดนง่อจากวุย ลกข้องมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ กับเอียวเก๋าแม่ทัพฝั่งวุย โดยที่ทั้งสองฝ่ายนั้นเคารพซึ่งกันและกัน ขนาดส่งของขวัญไปเยี่ยมกันและกัน และส่งยาให้เมื่ออีกฝ่ายเจ็บป่วย ต่อมา พระเจ้าซุนโฮคิดว่าลกข้องเป็นไส้ศึกก็เลยสั่งประหารลกข้อง จนลกข้องเสียชีวิตในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลกข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลิบอง

ลิบอง (吕蒙; Lu Meng) เป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญยิ่งของง่อก๊ก มีความเก่งกาจ และเฉลียวฉลาดอย่างมาก ลิบองมีฐานะยากจน เกิดที่เมืองยีหลำแห่งอิจิ๋ว เริ่มต้นโดยไต่เต้าจากการเป็นทหารเลวพร้อมกับตันเติ้ง ผู้เป็นพี่เขย ตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี แต่ได้แสดงความสามารถบ่อยครั้งรวมถึงความใจถึงจนถึงขั้นบ้าระห่ำ จนพี่เขยตกใจ ครั้งหนึ่งได้หุนหันพลันแล่นจนตัดหัวของทหารรุ่นพี่คนหนึ่งที่พูดจาดูถูกปรามาสซึ่งหน้า แล้วหนีคดีความไปซ่อนตัว แต่ถูกซุนเซ็กเกลี้ยกล่อม หลังจากพูดกันไม่กี่คำ ลิบองก็ยอมเข้ากับซุนเซ็ก เมื่อพี่เขยสิ้น ลิบองก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน จนกระทั่งหมดยุคของซุนเซ็ก มาถึงซุนกวนและจิวยี่ รวมถึงโลซก ลิบองได้แสดงฝีมือจนกระทั่งซุนกวนไว้ใจ ให้นำทัพจัดการเรื่องสำคัญต่าง ๆ เมื่อยังหนุ่ม ลิบองแทบไม่มีความรู้ในเรื่องตำรา เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีการศึกษา จนซุนกวนสั่งให้ลิบองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งลิบองได้หันมาศึกษาเล่าเรียน ครั้งหนึ่งโลซกได้ดูหมิ่นความรู้ของลิบอง แต่เมื่อได้เจรจาแล้วพบว่าลิบองมีความคิดที่ลึกซึ้ง มีกลศึกที่แยบคาย จนโลซกต้องเปลี่ยนความคิด สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับลิบอง คือการวางแผนยึดเกงจิ๋วกลับคืน และจับตัวกวนอูได้ จนทำให้กวนอูถูกประหารชีวิตในที่สุด โดยที่แทบจะไม่ต้องสูญเสียไพร่าพลเลย ทำให้ซุนกวนชื่นชมในตัวลิบองมาก แต่ลิบองกลับเสียชีวิต จากโรคภัยหลังจากยึดเกงจิ๋วได้ไม่นาน ในวรรณกรรมเล่าว่าลิบองเสียชีวิตจากการถูกอสุรกายกวนอูที่ตายแล้วเข้าสิง กลางงานเลี้ยงที่ซุนกวนจัดให้เพื่อฉลองชัยชนะ แต่แท้จริงแล้วลิบองเสียชีวิตด้วยโรค ขณะอายุได้ 42 ปี โดยซุนกวนยกตำแหน่งเจ้าเมืองลำกุ๋นและฉานเหลิง พร้อมเงินหนึ่งแสน ทองคำห้าร้อยชั่ง แต่ทว่ายังไม่ทันได้รับก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ก่อนเสีย ลิบองได้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ทางการหน้า 3, ลิบอง ผู้พิชิตโดยไม่ร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิบอง · ดูเพิ่มเติม »

ลิยู

ลิยู (Li Ru) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการของตั๋งโต๊ะและยังเป็นบุตรเขยของตั๋งโต๊ะด้วย เป็นคนที่สนับสนุนให้ตั๋งโต๊ะคิดการปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้และตั้งพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน ลิยูยังเป็นผู้วางยาพิษสังหารหองจูเปียนและนางโฮเฮา และเป็นผู้แนะนำให้ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงมาที่เตียงฮัน เพื่อหนีกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง ต่อมา อ้องอุ้นใช้อุบายห่วงโซ่ โดยให้นางเตียวเสียนไปทำให้ตั๋งโต๊ะกับลิโป้ผู้เป็นบุตรเลี้ยงของตั๋งโต๊ะผิดใจกัน ลิยูเคยแนะนำให้ตั๋งโต๊ะยกนางเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้เพื่อยุติความบาดหมาง แต่ตั๋งโต๊ะไม่ยอม เมื่อตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดยลิโป้ ลิยูและครอบครัวก็ถูกลิโป้จับมาประหารสิ้น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิยู · ดูเพิ่มเติม »

ลิหลิงฉี

ลิ หลิง ฉี เป็นบุตรสาวคนเดียวของลิโป้ (ใน สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)มีการกล่าวถึงแต่ไม่ได้กล่าวชื่อ เพียงแต่กล่าวว่าเป็นบุตรสาวของลิโป้) อายุรุ่นราวคราวเดียวกับบุตรชายของอ้วนสุด เคยถูกทาบทามให้แต่งงานกับลูกชายของอ้วนสุดด้วยเหตุผลทางการเมืองถึง 2 ครั้ง แต่ทุกครั้งจะมีคนคอยขัดขวาง เพราะลิโป้กับอ้วนสุดมีความมักใหญ่ใฝ่สูงทั้งคู่ หากเป็นญาติใกล้ชิดกันแล้ว อาจจะร่วมมือกันสร้างความวุ่นวายเป็นได้ ลิหลิงฉี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิหลิงฉี · ดูเพิ่มเติม »

ลิห้อม

ลิห้อม (Lu Fan) เป็นเสนาธิการคนสำคัญของง่อก๊ก รับใช้ตระกูลซุนตั้งแต่ซุนเซ็กจนถึงซุนกวน เคยเป็นพ่อสื่อในแผนการหมั้นหมายเล่าปี่และนางซุนฮูหยิน เพื่อลวงเล่าปี่มาสังหาร แต่แผนการล้มเหลวเพราะขงเบ้งรู้ทัน สามารถแก้สถานะการได้ สุดท้าย จากแผนลวงสังหารกลายเป็นเรื่องจริง กลายเป็นการแต่งงานกันจริงๆ หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิห้อม · ดูเพิ่มเติม »

ลิอิ๋น

ลิอิ๋น (Li Hui, ? — ค.ศ. 231) ตัวละครที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จากวรรณกรรมเรื่องสามก๊กโดยลิอิ๋นเคยเป็นขุนศึกของเล่าเจี้ยงมาก่อนและได้มาสวามิภักดิ์กับเล่าปี่ก่อนที่เล่าปี่จะเข้ายึดครองเอ๊กจิ๋วหลังจากที่เล่าปี่ได้เข้ายึดครองเอ๊กจิ๋วแล้วลิอิ๋นก็ได้ออกทำศึกหลายครั้งจนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิอิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ลิคี

ลิคีเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวจริง เป็นที่ปรึกษาแห่งจ๊กก๊ก มักจะออกศึกกับขงเบ้งอยู่บ่อยๆ รูปลิคีจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิคี · ดูเพิ่มเติม »

ลิต้าย

ลิต้าย หรือ ลฺหวี่ไต้ (Lü Dai; 161 — 21 ตุลาคม 256) ชื่อรอง ติงกง (Dinggong) ขุนพลแห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ของจีนเขาเริ่มต้นรับราชการในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายใต้ขุนศึก ซุนกวน ซึ่งภายหลังเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งง่อก๊กใน ยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ลิฉุย

ลิฉุย (Li Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายทหารของตั๋งโต๊ะ มีความทะเยอทะยานสูงไม่แพ้เจ้านาย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า ลิฉุยได้ร่วมมือกับกุยกี เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวงมาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิฉุย · ดูเพิ่มเติม »

ลิซก

รูปลิซกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ลิซก (Li Su) เป็นเสนาธิการคนสำคัญของตั๋งโต๊ะเป็นคนที่มีวาทะศิลป์เป็นเลิศ เมื่อตั๋งโต๊ะคิดปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้ และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคน โดยเฉพาะเต๊งหงวน เจ้าเมืองเกงจิ๋ว หลายวันต่อมาเต๊งหงวนได้ยกทัพมารบกับตั๋งโต๊ะ เต๊งหงวนมีลิโป้เป็นลูกบุญธรรมและองครักษ์ ลิโป้มีฝีมือเก่งกาจสามารถตีทัพตั๋งโต๊ะจนต้องถอยกลับค่ายไป ตั๋งโต๊ะอยากได้ลิโป้เป็นขุนพลของตน ลิซกซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกับลิโป้จึงอาสาไปเกลี้ยกล่อมลิโป้ โดยขอม้าเซ็กเธาว์และสมบัติจากตั๋งโต๊ะ เพื่อไปมัดใจลิโป้ ลิซกเกลี้ยกล่อมลิโป้ได้สำเร็จและยุให้ลิโป้สังหารเต๊งหงวนเสีย เมื่อมีลิโป้อยู่ข้างกาย ตั๋งโต๊ะจึงไม่กลัวใครอีกต่อไป กระทำการปลดหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ ลิซกได้ความชอบใหญ่หลวงในการเกลี้ยกล่อมลิโป้ แต่ไม่ได้บำเหน็จรางวัลอันใดจากตั๋งโต๊ะเลย จึงนึกน้อยใจอยู.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิซก · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเงียม

ลิเงียม (Li Yan; ถึงแก่กรรม พ.ศ. 777) ชื่อรอง เจิ้งฟาง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงตาม ประวัติศาสตร์ ขุนพลฝ่าย จ๊กก๊ก แต่เดิมเคยรับใช้เล่าเจี้ยงเป็นคนที่มีความรู้แต่ โลภมากและเห็นแก่ตัวเมื่อ เล่าเจี้ยง สละมณฑลเสฉวนให้เล่าปี่แล้ว ลิเงียมก็ได้มาอยู่กับเล่าปี่ โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคลังเสบียง ในเวลาต่อมา ในสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยน ลิเงียมซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคลังเสบียง ไม่คิดจะส่งเสบียงมาให้ทหารของจ๊กก๊ก ขงเบ้งคิดว่าลิเงียมทรยศจึงได้แจ้งพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ยินดังนั้นก็คิดจะกำจัดลิเงียม แต่บิฮุย ได้บอกแก่พระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า ลิเงียมเป็นคนที่ พระเจ้าเล่าปี่ โปรด อยากใหพระองค์ไว้ชีวิตลิเงียม พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงปลดออกจากตำแหน่งแล้วไล่ลิเงียมออกไปนอกเมือง แล้วลิเงียมก็ตรอมใจตายที่นอกเมืองในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิเงียม · ดูเพิ่มเติม »

ลุดตัดกุด

ลุดตัดกุด (Wu Tugu) เป็นเจ้าเมืองออโกก๊กในดินแดนม่านภายใต้การบัญชาของเบ้งเฮ็ก ทหารออโกก๊กเป็นทหารที่สวมเกราะหวาย ซึ่งเป็นเกราะที่ชุบน้ำมันถึงครึ่งปี ทำให้ฟันแทงไม่เข้าและสามารถลอยน้ำได้ หลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับตัวครั้งที่ 6 แล้วถูกปล่อยไป เบ้งเฮ็กได้ไปร้องขอต่อลุดตัดกุดให้ยกทหารเกราะหวายไปรบกับขงเบ้ง ในศึกแรก กองทัพของขงเบ้งนำโดยจูล่งและอุยเอี๋ยนได้แพ้ทหารเกราะหวายของลุดตัดกุด ขงเบ้งจึงคิดอุบายให้อุยเอี๋ยนไปรบกับลุดตัดกุดและแกล้งแพ้หลายๆครั้งและถอยไปยังหุบเขา ลุดตัดกุดหลงกลเข้าไปในหุบเขาที่ขงเบ้งได้ทิ้งดินระเบิดไว้ แล้วขงเบ้งจึงสั่งให้ทหารจุดเพลิงและทิ้งไปในหุบเขา เกราะหวายเป็นเกราะชุบน้ำมันจึงติดไฟได้ง่าย ทำให้ทหารเกราะถูกเพลิงเผาทั้งเป็นตายสิ้นรวมทั้งลุดตัดกุดด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลุดตัดกุด · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สวินโถ

วินโถ (Xun Yi, ? — ค.ศ. 274) มีชื่อรองว่า จิงเฉียน เป็นขุนนางแห่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในอดีตเคยรับใช้ ราชวงศ์วุย ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก สวินโถเป็นบุตรชายคนที่ 6 ของ ซุนฮก ที่ปรึกษารุ่นแรกของ โจโฉ ผู้ก่อตั้งวุยก๊กในรัชสมัย พระเจ้าโจฮอง จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วุยสวินโถได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชครูหรือพระอาจารย์ของพระเจ้าโจฮอง เมื่อสุมาเอี๋ยนได้ปลด พระเจ้าโจฮวน จักรพรรดิองค์ที่ 5 และองคค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์วุยลงจากราชบัลลังก์ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสวินโถ · ดูเพิ่มเติม »

สะโมโข

มโข (Sha Moke) เป็นหัวหน้าชนเผ่าหนึ่งทางตอนใต้ของเกงจิ๋ว ในยุคสามก๊ก เมื่อเล่าปี่ส่งม้าเลี้ยงไปพัฒนา 4 หัวเมืองทางตอนใต้ของเกงจิ๋ว ซึ่งในบริเวณนั้นมีชนเผ่าของสะโมโขอยู่ ม้าเลี้ยงได้ส่งเสบียงไปให้ชนเผ่าของสะโมโข สะโมโขเห็นว่าม้าเลี้ยงมีความสามารถอีกทั้งมีเมตตากรุณา จึงยอมสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ และได้ส่งเสบียงคืนอีกด้วย ต่อมา พระเจ้าเล่าปี่ยาตราทัพบุกกังตั๋ง เพื่อแก้แค้นให้กวนอูที่ถูกฆ่าตาย พระเจ้าเล่าปี่ให้ม้าเลี้ยงไปขอทหารของสะโมโขซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองลำมันมาช่วย สะโมโขตอบตกลง แล้วร่วมทัพกับพระเจ้าเล่าปี่ ในศึกครั้งนั้นสะโมโขยิงเกาทัณฑ์ถูกกำเหลงบาดเจ็บ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา พระเจ้าเล่าปี่ได้ชัยในตอนต้นศึก แต่เมื่อลกซุนได้มาคุมทัพกังตั๋งรบกับพระเจ้าเล่าปี่ ก็สามารถชนะกองทหารที่มีเป็นจำนวนมากของพระเจ้าเล่าปี่ได้ ส่วนสะโมโขก็ถูกจิวท่ายสังหารในการร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสะโมโข · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

สิบเกง

กง (Gong Jing) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเจ้าเมืองเฉงจิ๋ว เมื่อโจรโพกผ้าเหลืองยกทัพมาล้อมเมืองเฉงจิ๋ว สิบเกงได้ส่งสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากเล่าเอี๋ยน เจ้าเมืองอิวจิ๋ว เล่าเอี๋ยนได้ให้เล่าปี่และเจาเจ้งนำทัพห้าพันนายไปช่วยสิบเกงปราบโจรโพกผ้าเหลืองได้สำเร็.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบเกง · ดูเพิ่มเติม »

สิมโพย

มโพย (Shen Pei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของอ้วนเสี้ยว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิมโพย · ดูเพิ่มเติม »

สุมาสู

มเด็จพระจักรพรรดิจิ่งตี้ สุมาสู(ซือหม่าซือ)เป็นตัวละครหนึ่งในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาสู · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

สุมาฮิว

สุมาฮิว (司馬攸) เป็นหลานชายของสุมาอี้ มีพระบิดาคือ สุมาเจียว และพ่อบุญธรรมคือสุมาสู เป็นน้องชายของสุมาเอี๋ยน สุมาฮิวเป็นตัวละครที่อยู่ในวรรณกรรมประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาฮิว · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเอี๋ยน

ระเจ้าจิ้นอู่ (ค.ศ. 236 – 17 พฤษภาคม ค.ศ. 290) ชื่อตัวว่า ซือหม่า หยัน (司馬炎) ตามสำเนียงกลาง หรือ สุมาเอี๋ยน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน และชื่อรองว่า อันชื่อ (安世) เป็นหลานชายของซือหม่า อี้ (司馬懿) และเป็นบุตรชายของซือหม่า เจา (司馬昭) หลังบีบให้เฉา ฮ่วน (曹奐) กษัตริย์แห่งรัฐเว่ย์ (魏) สละราชสมบัติ ซือหม่า หยัน ได้เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จิ้น เสวยราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเต๊กโช

มาเต๊กโช (Sima Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก นักปราชญ์เต๋าผู้ได้รับการนับถืออย่างมากของนักปราชญ์คนสำคัญ ๆ ในสามก๊ก เช่น จูกัดเหลียง, ชีซีและบังทอง เป็นเพื่อนสนิทกับบังเต็กกง ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของบังทอง เป็นผู้ให้ฉายา "ฮองซู" แก่บังทอง และ "ฮกหลง" แก่ขงเบ้ง เป็นผู้ที่สามารถอ่านผู้คนและสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จนได้ฉายาว่า "ซินแสคันฉ่องวารี" และยังได้สมญานามจากยาขอบว่า "ผู้ชาญอาโปกสิณ" อาศัยในเขตเมืองซงหยง เป็นปราชญ์ที่ยึดติดกับธรรมชาติ ไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาเต๊กโช · ดูเพิ่มเติม »

หมันทอง

หมันทอง หรือ บวนทง (滿寵; Man Chong) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญคนหนึ่งของโจโฉ มีผลงานในการเกลี้ยกล่อมซิหลงให้มารับใช้โจโฉ และการช่วยโจหยินรักษาเมืองอ้วนเสีย หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหมันทอง · ดูเพิ่มเติม »

หวดเจ้ง

หวดเจ้ง (Fa Zheng) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ มีชื่อรองว่าเสี่ยวจื่อ เป็นบุตรของหวดเจิง(ฝ่าเจิง) ปราชญ์แห่งเสฉวน เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและเบ้งตัด เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญู มีความรู้ทางพิชัยสงคราม มีวาทศิลป์เป็นเลิศ เดิมเป็นที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยง ต่อมา ได้ร่วมคิดกับเตียวสงและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ยึดครองเสฉวน ทำให้เล่าปี่ได้เป็นใหญ่ในภาคตะวันตก เมื่อเล่าปี่ยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อยึดฮันต๋ง หวดเจ้งได้เป็นที่ปรึกษาของฮองตงในการตีเขาเตงกุนสันที่มีแฮหัวเอี๋ยนรักษาอยู่ ทำให้ยึดเขาเตงกุนสันและสังหารแฮหัวเอี๋ยนได้ เมื่อเล่าปี่ได้ครอบครองฮันต๋ง หวดเจ้งเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนให้เล่าปี่ตั้งตนเป็นฮันต๋งอ๋อง เมื่อเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋องก็ตั้งหวดเจ้งเป็นราชครู ต่อมา หวดเจ้งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 45 ปี หวดเจ้งเป็นคนที่เล่าปี่ไว้วางใจมาก เมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปง่อก๊กล้างแค้นให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกสังหาร ขงเบ้งและขุนนางคนอื่นทูลคัดค้านไม่ให้พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปตีง่อก๊ก แต่พระเจ้าเล่าปี่ทรงไม่ฟังผู้ใด ขงเบ้งได้รำพึงว่าถ้าหากหวดเจ้งยังอยู่ คงรั้งพระองค์ได้เป็นแน่ รูปหวดเจ้งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ห ห.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวดเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

หวนจง

หวนจง (Huang Chong, ? — ค.ศ. 263) ขุนศึกแห่งจ๊กก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก หวนจงเป็นบุตรชายของ อุยก๋วน อดีตขุนนางของจ๊กก๊กที่ได้ไปรับใช้ วุยก๊ก แต่ยังมีความจงรักภักดีต่อจ๊กก๊กซึ่งหวนจงมีบทบาทสำคัญในช่วงวาระสุดท้ายของจ๊กก๊กเมื่อเขาและ จูกัดเจี๋ยม บุตรชายของ จูกัดเหลียง อดีตอัครมหาเสนาบดีคนแรกแห่งจ๊กก๊กได้ยกทัพไปต้านทานการบุกโจมตีของวุยก๊กที่ด่านกิมก๊กหรือเหมียนจู่แต่ต้านทานไม่ไหวถูกฆ่าตายพร้อมกับจูกัดเจี๋ยมที่เชือดคอตัวเองตายเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวนจง · ดูเพิ่มเติม »

หวนเตียว

หวนเตียว (Fan Chou) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลคนสนิทคนหนึ่งของตั๋งโต๊ะ หลังจากตั๋งโต๊ะเสียชีวิต หวนเตียวร่วมมือกับลิฉุย กุยกี และเตียวเจ เข้ายึดเมืองเตียงฮันและประหารอ้องอุ้น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวนเตียว · ดูเพิ่มเติม »

หองจอ

หองจอ เป็นแม่ทัพของเล่าเปียว มีหน้าที่รักษาปากน้ำกังแฮ เคยถูกซุนเกี๋ยนจับได้ในการรบ ต่อมาซุนเซ็กบุตรชายคนโตของซุนเกี๋ยน ได้ใช้ตัวหองจอแลกกับซุนเกี๋ยนผู้พ่อซึ่งตายในสนามรบ ต่อมาซุนกวน บุตรชายคนรองของซุนเกี๋ยน ยกทัพตีเมืองกังแฮเพื่อแก้แค้นให้พ่อ หองจอถูกกำเหลงฆ่าตายในการรบ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ห หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจอ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเปียน · ดูเพิ่มเติม »

หันซุย

หันซุย (Han Sui) เป็นเจ้าเมืองเปงจิ๋ว เป็นเพื่อนสนิทของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง(พ่อของม้าเฉียว) เคยร่วมรบกับม้าเท้งในการรบกับลิฉุย กุยกี ในการรบครั้งนั้น หันซุยเกือบโดนหวนเตียว ทหารของลิฉุยจับตัวได้ แต่หันซุยได้อ้างความเป็นคนบ้านเดียวกัน หวนเตียวจึงปล่อยหันซุยไป เมื่อม้าเท้งถูกโจโฉประหาร หันซุยได้ร่วมกับม้าเฉียวในการรบกับโจโฉเพื่อแก้แค้นให้ม้าเท้ง ในศึกครั้งนี้ ม้าเฉียวเป็นฝ่ายได้เปรียบหลายครั้ง แต่ต่อมากาเซี่ยงได้เสนออุบายให้โจโฉส่งจดหมายที่ดูเหมือนทำข้อความสำคัญให้ลบเลือนไปส่งไปให้หันซุย ทำให้ม้าเฉียวระแวงในตัวของหันซุยว่าจะสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ หันซุยทนแรงกดดันไม่ไหวจึงคิดจะสวามิภักดิ์ต่อโจโฉจริงๆ ม้าเฉียวได้ทราบดังนั้นจึงวิ่งไปที่ค่ายของหันซุยและตัดแขนข้างซ้ายของหันซุยได้ หันซุยหนีไปพึ่งโจโฉ เมื่อโจโฉตีทัพม้าเฉียวกระจัดกระจายแล้ว หันซุยจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเสเหลียง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ห.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหันซุย · ดูเพิ่มเติม »

หุยง่วนเสียว

หุยง่วนเสียว (Pei Yuanshao,?-200) เป็นบุคคลใน ยุคสามก๊ก หุยง่วนเสียว แต่เดิมเป็นขุนพลของ โจรโพกผ้าเหลือง หลังจากโจรโพกผ้าเหลืองสลายตัวไปได้เป็นโจรป่าอยู่ที่ เขาโงจิวสัน หุยง่วนเสียว ถูกฆ่าโดย จูล่ง เมื่อปี ค.ศ. 200 ระหว่างจะเข้าปล้นทรัพย์ หมวดหมู่:สามก๊ก en:Pei Yuanshao.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหุยง่วนเสียว · ดูเพิ่มเติม »

อองลอง

อองลอง (Wang Lang) มีชื่อรองว่า จิ่งซิง เป็นผู้คงแก่เรียน รับราชการมาตั้งแต่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ราชวงศ์ฮั่น ถึงรัชสมัยพระเจ้าโจยอยแห่งวุยก๊ก เมื่อขงเบ้งบุกวุยก๊กครั้งที่ 1 เมื่อแฮหัวหลิมแตกพ่ายไป โจจิ๋นได้รับการตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับขงเบ้ง อองลองได้ติดตามไปด้วยในตำแหน่งกุนซือ อองลองอาสาจะพูดกับขงเบ้งให้ขงเบ้งยกทัพกลับ วันต่อมา ทัพโจจิ๋นกับขงเบ้งมาประจันหน้ากัน อองลองได้พูดเกลี้ยกล่อมให้ขงเบ้งยกทัพกลับไป แต่ขงเบ้งกลับด่าอองลองถึงความอกตัญญูของอองลองต่อราชวงศ์ฮั่น จนอองลองเจ็บใจตกม้าตาย ขณะอายุได้ 76 ปี แต่ในประวัติศาสตร์มิได้มีการบันทึกถึงการตายของอองลองด้วยคำด่าของขงเบ้งดังกล่าว คาดว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองลอง · ดูเพิ่มเติม »

อองฮู

อองฮู (Wang Fu, ? – พ.ศ. 765) ชื่อรอง กัวฉาน (Guoshan) ขุนนางแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก อองฮูถึงแก่กรรมเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองฮู · ดูเพิ่มเติม »

อองของ

อองของ (Wang Kuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก แต่เดิมอยู่ใต้สังกัด โฮจิ๋น ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองโห้ลาย เป็นหนึ่งในเจ้าเมืองที่ร่วมกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ และเป็นหนึ่งในแปดเจ้าเมืองที่อ้วนเสี้ยวออกคำสั่งให้ไปตีด่านเฮาโลก๋วน ทัพของอองของเป็นทัพแรกที่มาถึงด่านเฮาโลก๋วน อองของสั่งให้ขุนพลของตนเอง หองหยก ออกไปสู้กับลิโป้ แต่ก็ถูกลิโป้สังหารอย่างรวดเร็ว สุดท้ายทัพอองของก็ถูกลิโป้ตีแตกพ่าย ยังดีได้ทัพของเตียวเมา และอ้วนอุ๋ยได้ยกทัพมาช่วยได้ทันเวลา ลิโป้จึงถอนทัพกลับไปตั้งในด่านเฮาโลก๋วน รูปอองของจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองของ · ดูเพิ่มเติม »

อองเป๋ง

อองเป๋ง (Wang Ping) เป็นขุนพลคนหนึ่งของจ๊กก๊ก มีความเฉลียวฉลาด เดิมเป็นนายทหารของฝ่ายโจโฉในสังกัดของซิหลง ต่อมาได้สวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แล้วทำงานรับใช้จ๊กก๊กถึงสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยน อองเป๋งเป็นนายทหารที่ขงเบ้งไว้ใจมากคนหนึ่ง มีบทบาทมากมายในการรบ ได้ติดตามขงเบ้งไปตีเบ้งเฮ็กและตีวุยก๊กหลายครั้ง ครั้งหนึ่งที่สุมาอี้ยกทัพจะตีเกเต๋ง ขงเบ้งให้ม้าเจ็กเป็นแม่ทัพใหญ่ อองเป๋งเป็นแม่ทัพรอง ยกทัพไปรักษาเกเต๋ง โดยกำชับว่าให้ตั้งค่ายที่ช่องเขา แต่เมื่อไปถึงม้าเจ๊กกลับตั้งค่ายบนยอดเขา อองเป๋งทัดทานว่าหากตั้งบนเขาจะถูกล้อมโจมตีได้ง่าย ม้าเจ็กไม่ฟังดึงดันจะไปตั้งบนเขา อองเป๋งจึงยกทัพส่วนหนึ่งไปที่ช่องเขา และก็เป็นดังคาดของอองเป๋ง สุมาอี้ได้ตัดทางน้ำและล้อมเขาไว้ อองเป๋งพยายามเข้าไปช่วย แต่เตียวคับมาสกัดไว้ จึงต้องถอยทัพกลับ ส่วนม้าเจ็กเสียทีสุมาอี้ ต้องเสียเกเต๋ง กลับไปหาขงเบ้งและถูกประหารในเวลาต่อมา หลังขงเบ้งตาย อองเป๋งยังคงรับราชการรับใช้พระเจ้าเล่าเสี้ยน จนกระทั่งป่วยเสียชีวิต รูปอองเป๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

อิกิ๋ม

อิกิ๋ม (Yu Jin; 于禁) เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี เคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่มักอิจฉาผู้อื่นที่ทำงานเกินหน้าเกินตา อิกิ๋มเดิมเป็นโจร ต่อมาเมื่อโจโฉคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ในดินแดนภาคตะวันออก โจโฉได้ค้นหาเหล่าที่ปรึกษาและเหล่าขุนพลมาร่วมงาน อิกิ๋มก็เป็นหนึ่งในขุนพลเหล่านั้น เมื่อโจโฉถูกกองทัพของเตียวสิ้วตีแตก แฮหัวตุ้นแม่ทัพคนหนึ่งของโจโฉได้นำทหารไปปล้นเสบียงชาวบ้าน อิกิ๋มเห็นทนไม่ได้จึงสังหารทหารของแฮหัวตุ้นไปมากมาย จึงทำให้เกิดข่าวลือว่าอิกิ๋มทรยศต่อโจโฉ แต่อิกิ๋มยังไม่เข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ เพราะต้องไปต้านทัพเตียวสิ้วที่ยกตามมา และสามารถตีทัพเตียวสิ้วให้ถอยไปได้ และเข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ โจโฉชื่นชมอิกิ๋มว่าเป็นผู้รอบคอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ส่วนแฮหัวตุ้น โจโฉได้ละเว้นโทษให้ อิกิ๋มเป็นขุนพลที่โจโฉไว้ใจมาก ใช้ให้ไปร่วมทำศึกหลายครั้ง รวมถึงให้เป็นแม่ทัพคุมกองทัพเรือแทนชัวมอ และเตียวอุ๋น ที่ถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตไปในศึกผาแดงด้วยอุบายของจิวยี่ และเป็นผู้สังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ ต่อมาโจโฉตั้งให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่คุมทัพไปช่วยสลายวงล้อมของกวนอูที่เมืองอ้วนเซียที่มีโจหยินรักษาเมืองอยู่ และให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพหน้า บังเต๊กรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ทำให้อิกิ๋มคิดว่าถ้าบังเต๊กสังหารกวนอูได้ ความชอบก็จะตกที่บังเต๊กผู้เดียว จึงตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้งที่บังเต๊กได้เปรียบ ต่อมา อิกิ๋มไปตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ถูกโจมตีได้ง่าย กวนอูจึงสร้างเขื่อนรอให้น้ำหลากแล้วจึงพังเขื่อนให้น้ำท่วมกองทัพของอิกิ๋ม อิกิ๋มถูกกวนอูจับได้แล้วถูกนำไปขังที่เกงจิ๋ว เมื่อซุนกวนยึดเกงจิ๋วได้จึงปล่อยตัวกลับไปวุยก๊ก โจผี (บุตรชายของโจโฉ) ได้ให้วาดรูปอิกิ๋มรอขอชีวิตต่อกวนอูไว้ที่ผนังที่ฝังศพของโจโฉ และให้อิกิ๋มเฝ้าที่ฝังศพนั้น อิกิ๋มมีความละอาย ไม่นานก็ตรอมใจตาย อิกิ๋ม อิกิ์ม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอิกิ๋ม · ดูเพิ่มเติม »

อิเกียด

อิเกียด (Gan Ji) เป็นชาวหลงเสีย (หลังเอ๋ย์) มณฑลซานตุง ตั้งตัวเป็นเต้าหยินผู้วิเศษ เข้าไปหลอกลวงประชาชนในเขตแคว้นกังตั๋ง ซึ่งซุนเซ็กเป็นผู้ปกครอง มีผู้นิยมเลื่อมใสมาก ซุนเซ็กไม่เชื่อถือ และเกรงว่าอิเกียดจะซ่องสุมผู้คนก่อการร้ายเป็นภัยแก่ตน จึงให้ทหารจับตัวไปฆ่าเสีย แล้วเอาศพประจานไว้ ณ ทางสามแพ่ง คืนนั้นซุนเซ็กเห็นรูปอิเกียดเดินกรายแขนเข้ามาตรงหน้า ก็โกรธ ชักกระบี่ออกฟัน แล้วล้มสลบและล้มเจ็บไม่ช้าก็ตายตามอิเกียดไป อิเกียด นักพรตที่เดินทางออกช่วยเหลือผู้คนแถบเมืองกังตั๋ง มีเวทมนตร์วิเศษรักษาคนอื่นได้ ซุนเซ็กที่เป็นหนุ่มแน่นไม่เชื่อเรื่องเวทมนตร์ และไม่อยากให้ประชาชนงมงาย จึงสังหารอิเกียด ต่อมาซุนเซ็กล้มป่วย โดนวิญญาณอิเกียดหลอกหลอนจนตายในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอิเกียด · ดูเพิ่มเติม »

อิเขง

อิเขง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เป็นขุนพลของเมืองกิจิ๋ว ขุนพลอ้วนเสี้ยว ปรากฏตัวครั้งแรกที่ศึกกัวต๋อ อ้วนเสี้ยวส่งไปรักษาเสบียงและอาวุธที่ตำบลอัวเจ๋า เมื่อครั้งนั้นอ้วนเสี้ยวได้ไล่เขาฮิวที่ปรึกษาออกไป เขาฮิวจึงไปหาโจโฉเพราะเป็นเพื่อนเก่ากัน เขาฮิวบอกกับโจโฉว่ามีวิธีทางที่จะล้มอ้วนเสี้ยวได้ จึงแนะนำโจโฉว่า อ้วนเสี้ยวเก็บเสบียงกับอาวุธไว้ที่อัวเจ๋า ต้องไปตีที่นั่นโดยให้ทหารปลอมตัวเป็นทหารของอ้วนเสี้ยวแล้วให้นำไม้ติดไฟไปด้วย โจโฉทำตามวิธีของเขาฮิวให้ทหารปลอมเป็นทหารของอ้วนเสี้ยวแล้วเข้าไปวางเพลิงในค่ายที่ตำบลอัวเจ๋า ซึ่งก่อนหน้านั้น อิเขงได้ดื่มสุรามากๆ จนสลึมสลือ เมาไม่ได้สติ เมื่อทหารฝ่ายอิเขงมาแจ้งอิเขงว่าค่ายถูกวางเพลิง อิเขงก็สร่างเมา แล้วควบม้าคิดจะหนีออกไปจากค่าย แต่ยังไม่ถึงทางออก อิเขงก็โดนไฟคลอกตายอยู่ในค่ายของตนเอง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอิเขง · ดูเพิ่มเติม »

อุยกาย

อุยกาย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ หวงก้าย (ตามสำเนียงจีนกลาง) (Huang Gai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก ชื่อรอง กงฟู่ รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 สมัย ตั้งแต่สมัยของซุนเกี๋ยนแต่ครั้งศึกโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กในสมัยศึกปราบตั๋งโต๊ะและศึกปราบลิโป้ และซุนกวนในศึกเซ็กเพ็ก จนได้ชื่อว่า "แม่ทัพสามแผ่นดิน".

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอุยกาย · ดูเพิ่มเติม »

อุยก๋วน (จ๊กก๊ก)

อุยก๋วน (Huang Quan, ? — ค.ศ. 240) ชื่อรองว่า กงเหิง เป็นขุนศึกแห่งวุยก๊กซึ่งเคยรับใช้ เล่าเจี้ยง และ เล่าปี่ มาก่อน โดยในสมัยที่ยังรับใช้เล่าเจี้ยงอยู่เขาและ อองลุย ขุนนางอีกผู้หนึ่งได้เตือนเล่าเจี้ยงให้ระวังเล่าปี่เอาไว้แต่เล่าเจี้ยงก็ไม่ฟังอองลุยจึงประท้วงด้วยการเอาขาผูกกับเชือกห้อยหัวจากกำแพงเมืองพร้อมกับตัดเชือกที่ขาทำให้อองลุยหัวกระแทกพื้นตายทางด้านของอุยก๋วนได้กระโดดกัดชายเสื้อของเล่าเจี้ยงแบบไม่ปล่อยจนเล่าเจี้ยงทนไม่ไหวสะบัดชายเสื้ออย่างแรงจนฟันของอุยก๋วนหลุดติดชายเสื้อไป 2 ซี่ เมื่อเล่าปี่เข้าปกครองเสฉวนขุนนางคนอื่นต่างไปน้อมคำนับต่อหน้าเล่าปี่ยกเว้นอุยก๋วนและ เล่าป๋า ที่ไม่มาคำนับทหารจึงจะไปจับอุยก๋วนและเล่าป๋าฆ่าเสียแต่เล่าปี่ได้สั่งห้ามทำร้ายทั้งสองโดยเด็ดขาดทำให้ทั้งสองซึ้งใจคำนับต่อหน้าเล่าปี่ เมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปทำ ศึกอิเหลง ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอุยก๋วน (จ๊กก๊ก) · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

อุ๋ยซี

อุ๋ยซี หรือที่รู้จักในชื่อจากนิยายและนิทานพื้นบ้านว่า หวงเยฺว่อิง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ภรรยาของจูกัดเหลียง บุตรสาวของอุยสิง่าน เป็นชาวเมืองซงหยง มณฑลหูเป่ย อุ๋ยซีมีรูปร่างขี้ริ้ว แต่มีความฉลาด ไหวพริบปฏิภาณเป็นเยี่ยม เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ โหราศาสตร์และยุทธศาสตร์ มีบุตรชายกับจูกัดเหลียง 1 คน คือ จูกัดเจี๋ยม ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) อุ๋ยซีเป็นหญิงสาวรูปชั่วตัวดำ หน้าออกฝี มีลักษณะวิปริต ทั้งกายจะหางามสักสิ่งหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีสติปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นดินและอากาศ ขงเบ้งเห็นดังนั้นจึงเลี้ยงเป็นภรรยา ได้บอกศิลปะทั้งปวงให้นางนั้นเป็นอันมาก ครั้งขงเบ้งถึงแก่ความตายก็เป็นม่ายอยู.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอุ๋ยซี · ดูเพิ่มเติม »

อีเจี้ย

อีเจี้ย (Yi Ji) ชื่อรองว่า จีป้อ เป็นเสนาธิการแห่งจ๊กก๊ก อีเจี้ยเกิดที่เมืองซันหยงมีความสามารถในการปุจฉาวิสัชนาและมีความช่ำชองในกฎหมายเคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว มีบทบาทในการมาบอก เล่าปี่ ในงานพืชมงคลให้ระวังตัวเรื่อง ชัวมอ ขุนนางและน้องเมียของเล่าเปียววางแผนลอบสังหารเล่าปี่จนเล่าปี่สามารถหนีรอดกลับไปยัง ซินเอี๋ย อันเป็นเมืองที่มั่นของเล่าปี่จนกระทั่งเล่าเปียวถึงแก่กรรมและ เล่าจ๋อง บุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอีเจี้ย · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนสุด

อ้วนสุด (Yuan Shu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก น้องชายของอ้วนเสี้ยว อ้วนสุดเป็นคนที่นิสัยเหมือนกับอ้วนเสี้ยวญาติผู้พี่ คือ โลเลเหลาะแหละ ชอบแต่คนประจบสอพลอ ซ้ำยังมีความละโมบโลภมากกว่า เมื่อซุนเซ็กนำตราหยกมาจำนำเพื่อยืมทหาร จึงยึดเป็นของตนเอง ก่อนจะสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า "ต๋องซือ" ในการปราบตั๋งโต๊ะร่วมกับหลายเมือง อ้วนสุดเกรงว่าซุนเกี๋ยนจะนำทัพเข้าตีเข้าเมืองลกเอี๋ยงได้ จะได้ความดีความชอบ จึงแกล้งไม่ส่งเสบียงให้ เป็นต้นเหตุให้กองทัพของเมืองเตียงสาต้องแพ้ ทั้ง ๆ ที่กำลังจะได้ชัยชนะอยู่แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนสุด · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนอุ๋ย

อ้วนอุ๋ย (Yuan Yi, ? — ค.ศ. 192) มีชื่อรองว่า Boye เป็นญาติผู้ใหญ่ของ อ้วนเสี้ยว และ อ้วนสุด อ้วนอุ๋ยเคยเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรที่นำโดยอ้วนเสี้ยวในการทำ ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนอุ๋ย · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนฮี

อ้วนฮี เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวจริงในประวัติศาสตร์ เป็นบุตรชายของอ้วนเสี้ยวและนางเล่าชือ มีพี่คืออ้วนถำและน้องคืออ้วนซง เมื่อเสียบิดาและพี่คนโตไป อ้วนฮีได้ร่วมกับอ้วนซงเพื่อรบกับโจโฉเมื่อกองทัพพ่ายแพ้ อ้วนฮีและอ้วนซงได้หนีไปอยู่กับกองซุนของ แต่กองซุนของกลัวว่าโจโฉจะบุกมาตีเมืองของตน กองซุนของ เลยตัดหัวของสองพี่น้องมาให้โจโฉ อ้วนฮีและอ้วนซงจึงต้องจบชีวิตลง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 อ้วนฮี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนฮี · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนถำ

อ้วนถำ Yuan Tan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บุตรชายคนโตของอ้วนเสี้ยว มีฉายาว่า เสียนซือ บิดาให้ไปกินเมืองเซียงจิ๋ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนถำ · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนซง

อ้วนซง Yuan Shang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บุตรคนสุดท้องของอ้วนเสี้ยว เกิดจากนางเล่าซือภรรยาน้อย มีฉายาว่า เสี่ยนฟุ่ อ้วนเสี้ยวรักมาก อยากให้ครองแคว้นกิจิ๋วแทนตน รูปร่างหน้าตาสง่างาม กล้าหาญในการสงคราม แต่ไม่รู้จักพลิกแพลงตัวเองให้เหมาะสมกับกาลเท.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนซง · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้องอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ฮกเฮา

ระนางฮกเฮา (Empress Fu Shou) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี(ฮองเฮา)ในพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ และทรงธิดาของฮกอ้วน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮกเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ฮองสี

องสี (Feng Xu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองสี · ดูเพิ่มเติม »

ฮองฮูสง

องฮูสง (Huangfu Song) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง อันได้แก่ โลติด ฮองฮูสง จูฮี เป็นผู้ที่ปราบทัพ เตียวเหลียง เตียวโป้ ด้วยการใช้ไฟ หลังจาก เตียวก๊ก ตายก็ยังทำลายสุสานและขโมยหัวเตียวก๊กออกมาจากศพ หลังเสร็จศึกปราบโจรโพกผ้าเหลือง ฮองฮูสงก็ได้รับยศเป็นแม่ทัพบัญชาการกลาง ต่อมาเหล่าสิบขันทีได้เรียกให้จ่ายสินบน แต่ฮองฮูสงกลับปฏิเสธ เหล่าสิบขันทีก็ได้ฮองฮูสงปลดจากตำแหน่งลง รูปฮองฮูสงจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองฮูสง · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองตง · ดูเพิ่มเติม »

ฮัวหยง

ัวหยง ในวรรณกรรมจีน อาจหมายถึงตัวละครต่อไปนี้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮัวหยง · ดูเพิ่มเติม »

ฮัวหิม

ัวหิม (Hua Xin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นคนมีควมรู้ความสามารถในการปกครอง แต่มีนิสัยทะเยอทะยาน ประจบสอพลอ แต่เดิมรับราชการอยู่กับซุนเซ็ก แต่ต่อมาก็มาเข้ากับโจโฉ ในวรรณกรรมเป็นผู้บีบบังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติให้โจผี แต่ในประว้ติศาสตร์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ รูปฮัวหิมจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮัวหิม · ดูเพิ่มเติม »

ฮัวโต๋

ัวโต๋ (Hua Tuo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวตำบลเจากุ๋น เมืองไพก๊ก มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่าเหยียนหัวะ มีอาชีพเป็นหมอ ฮัวโต๋เป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านการรักษาโรคอันยอดเยี่ยม วิธีการรักษาคนไข้ด้วยการให้กินยาและผ่าตั.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮัวโต๋ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันฮก

ันฮก (Han Fu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน (เองฉวน) มณฑลเหอหนาน มีฉายาว่าอุ๋นเจ๋ย์ เป็นคนขี้ขลาด ไม่กล้าทำงานใหญ่ๆ ติดสินบนตั๋งโต๊ะจึงได้ครองแคว้นกิจิ๋ว ครั้นหัวเมืองต่างได้ยกทัพมาปราบตั๋งโต๊ะ ณ เมื่อทำการไม่สำเร็จ ก็ถอยทัพกลับ เพราะอ้วนเสี้ยวรู้กำพืดของฮันฮกดี จึงสมคบกับกองซุนจ้าน เจ้าเมืองปักเป๋งจะเข้ามาแย่งเอาแคว้นกิจิ๋ว กองซุนจ้านตกลงด้วย อ้วนเสี้ยวจึงมีจดหมายบอกให้ฮันฮกเป็นเชิงแจ้งให้รู้ว่า กองซุนจ้านปรึกษาจะยกทัพมาตีกิจิ๋ว ฮันฮกตกใจ รีบเชิญอ้วนเสี้ยวเข้ามาอารักขาแคว้นกิจิ๋วทันที อ้วนเสี้ยวก็ได้แคว้นกิจิ๋วโดยไม่ต้องเสียเลือด ส่วนฮันฮกรีบหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองตันลิว และเป็นทุกข์กระวนกระวายใจ กลัวคนนั้นจะทำราย คนนี้จะทำร้าย ในที่สุดเลยต้องฆ่าตัวตาย รูปฮันฮกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮันฮก · ดูเพิ่มเติม »

ฮันต๋ง

ันต๋ง (Han Dang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก รับใช้ตระกูลซุนตั้งแต่รุ่นซุนเกี๋ยน ซุนเซ็ก ถึงซุนกวน เข้ารับราชการกับซุนเกี๋ยนในเวลาไล่เลี่ยกับเทียเภาและอุยกาย มีความสามารถในการรบ ทำศึกมีความชอบหลายครั้ง รวมถึงการมีบทบาทในศึกผาแดงอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮันต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮันเหียน

ันเหียน (Han Xuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเตียงสาและเป็นเจ้านายของฮองตงและอุยเอี๋ยนก่อนที่ทั้งสองจะมาสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮันเหียน · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่นต๋ง

ั่นต๋ง (Han Zhong, ? — ค.ศ. 184) แม่ทัพแห่ง กบฏโพกผ้าเหลือง ฮั่นต๋งและรองแม่ทัพอีก 2 คนคือ ซุนต๋อง (Sun Zhong) และ เตียวฮ่อง (Zhao Hong) ได้เข้ายึดเมืองหว่านเฉิงหรืออ้วนเซียกระทั่งพี่น้องตระกูลเตียวทั้ง 3 คือ เตียวก๊ก เตียวโป้ และ เตียวเหลียง เสียชีวิตหมดฮั่นต๋งจึงได้ขึ้นเป็นผู้นำกบฏโพกผ้าเหลืองแทน ฮั่นต๋งตายด้วยถูกลูกเกาฑัณฑ์ยิงระหว่างการรบกับกองทัพราชสำนักที่นำโดย จูฮี กับกองทัพทหารอาสาที่นำโดย เล่าปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮั่นต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮุยโฮ

ฮุยโฮ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริง มีนิสัยที่เลวทราม หยิ่งทรนง เข้ามาอยู่ในจ๊กก๊กเมื่อสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยนครองราชย์ ฮุยโฮจึงส่งเสริมให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนเอาผิดเกียงอุยโดยการใส่ความสารพัดและยิ่งกว่านั้นยุให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนทำพิธีหมอผีจนละเลยราชการบ้านเมือง เมื่อเตงงายยกทัพบุกจ๊กก๊กและเกลี้ยกล่อมให้หัวเมืองต่างๆที่อยู่ตามทางลัดอิมเป๋งจำนน พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงเรียกฮุยโฮมาปรึกษา แต่ก็หายไปแล้ว หลังจากที่เตงงายยึดเสฉวนได้แล้วจึงสั่งให่ทหารจับตัวฮุยโฮแต่ก็หนีไปอีก เมื่อเกียงอุย จงโฮย เตงงายตายไปแล้ว ฮุยโฮจึงเข้ามารับใช้สุมาเจียวในขณะที่ยังเป็นจิ้นอ๋อง แต่สุมาเจียวเห็นว่าฮุยโฮคนนี้เป็นกาลีต่อบ้านเมือง จะอยู่วุยก๊ก จ๊กก๊กหรือง่อก๊กยังไงก็ล่มสลายแน่ จึงแกล้งทำเป็นใจดีสู้เสือเลี้ยงอาหารให้ฮุยโฮจนฮุยโฮเมาแล้วหลับ หลังจากนั้นสุมาเจียวสั่งให้ทหารตัดแขน ตัดขาฮุยโฮแล้วเอาไปประจานทั่วเมืองเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างแล้วประหารชีวิตฮุยโฮ ฮุยโฮ ฮุยโฮ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮุยโฮ · ดูเพิ่มเติม »

จกหยง

จกหยง (Lady Zhurong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นภรรยาของเบ้งเฮ็ก เธอเป็นพี่สาวของตั้วไหล 'จกหยง'เป็นผู้หญิงที่มีฝีมือการรบเก่งกล้าไม่แพ้ชาย ครั้งหนึ่งนางจกหยงอาสาเบ้งเฮ็กออกรบกับขงเบ้ง และสามารถจับตัวเตียวหงีกับม้าตงได้ ขงเบ้งจึงใช้อุบายจับตัวนางจกหยงได้ และใช้นางมาแลกตัวกับมาตงและเตียวหงี จกหยง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจกหยง · ดูเพิ่มเติม »

จวนจ๋อง

วนจ๋อง (Quan Cong,; 198 — 247 หรือ 249) ชื่อรอง จื่อหฺวัง (Zhihuang) ขุนศึกแห่ง ง่อก๊ก ระหว่าง ยุคสามก๊ก ของจีนเขาเป็นพระราชบุตรเขยของ พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่งง่อก๊กเพราะเขาอภิเษกกับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าซุนกวน องค์หญิง กิมก๋งจู๋ มีชื่อเสียงจากการสกัดทัพของ โจฮิว ไม่ให้บุกเข้ามาในดินแดนกังตั๋งระหว่าง ศึกเซ็กเต๋ง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจวนจ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จองอี้

องอี้ (Zong Yu, ? — ค.ศ. 263) เสนาบดีแห่ง จ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า เต๋อเอี๋ยน (Deyan) เป็นชาวตำบลอันจัง เมืองหนานหยาง (ในสามก๊กเรียก ลำหยง) เป็นคนพูดตรงไปตรงมาและรู้จักชอบพอกับ พระเจ้าซุนกวน มีบทบาทสำคัญเมื่อ ขงเบ้ง ถึงแก่อสัญกรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจองอี้ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหลิง

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจักรพรรดิฮั่นหลิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหฺวัน

ฮั่นหฺวัน (132–168) ชื่อตัวว่า หลิว จื้อ (劉志) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น หลิว จื้อ เป็นเหลนของพระเจ้าฮั่นจาง ในปี 145 พระเจ้าฮั่นชงสิ้นพระชนม์ นางเหลียง น่า (梁妠) พระมารดาพระเจ้าฮั่นชง จึงยกหลิว จวั่น (劉纘) ญาติของพระเจ้าฮั่นชง ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหลียง จี้ (梁冀) พี่ชายของนางเหลียง น่า ได้เป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน และในปี 146 เหลียง จี้ ก็ฆ่าหลิว จวั่น ทิ้ง นางเหลียง น่า จึงยกหลิว จื้อ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดมา ขณะนั้น หลิว จื้อ อายุได้สิบสี่ปี เมื่อเสวยราชย์แล้ว หลิว จื้อ กำจัดอิทธิพลของพี่น้องสกุลเหลียงเป็นผลสำเร็จ โดยได้ความช่วยเหลือจากเหล่าขันที แต่นั้นก็เป็นเหตุให้ขันทีเข้ามาครอบงำกิจการบ้านเมืองแทน ขันทีทั้งหลายฉ้อฉลไม่ต่างจากพี่น้องสกุลเหลียง ราษฎรจึงไม่สิ้นความเดือดร้อน ในปี 166 บัณฑิตจำนวนมากประท้วงต่อต้านรัฐบาล หลิว จื้อ จึงสั่งให้จับผู้ประท้วงทั้งสิ้น ราชวงศ์ฮั่นก็เข้าสู่ความเสื่อมอีกระดับหนึ่ง หลิว จื้อ อยู่ในสมบัติได้ยี่สิบสองปีก็วายชนม์ไปในปี 168 อายุได้สามสิบหก หลิว หง (劉宏) ญาติของหลิว จื้อ ได้เป็นกษัตริย์สืบต่อมา หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจักรพรรดิฮั่นหฺวัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีพาน

ักรพรรดินีพาน หรือ จักรพรรดินีพัว (Empress Pan, ? – ค.ศ. 252) จักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ง่อและเป็นพระพันปีใน พระเจ้าซุนเหลียง จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ง่อพระนางนับเป็นจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวใน พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ง่อโดยพระนางได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีภายหลังจากพระโอรสคือ ซุนเหลียง ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท หลังจากพระเจ้าซุนกวนเสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจักรพรรดินีพาน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

จาง ชุนหัว

งชุนฮัว (张春华 189 - 247) เกิดในปี..189 เป็นชาวเหอเน่ย (河内) เขตผิงเกา (平皋) ปัจจุบันคือจังหวัดเหวินเสี่ยน (温县) มณฑลเหอหน่าน (河南) (เป็นชาวเหอเน่ยเช่นเดียวกับซือหม่าอี้) บิดาชื่อ จางหว่าง (张汪) เป็นขุนนางตำแหน่ง ซู่อี้หลิ่ง (粟邑令) ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์เฉาเว่ย (曹魏) มารดาแซ่ซาน (山氏) เป็นชาวเหอเน่ย,เป็นพี่สาวของบิดา ซานเถา (山涛) ขุนนางตำแหน่ง ซือถู (司徒) ในราชวงศ์จิ้น จางชุนฮัวเป็นภรรยาของซือหม่าอี้ (สุมาอี้司马懿) ขุนนางคนสำคัญในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและราชวงศ์เฉาเว่ย ไม่มีการระบุว่าแต่งงานกันในปีใด ทั้งสองอยู่กินกันมีลูกชาย 3 คน ได้แก่ ซือหม่าซือ (สุมาสู司马师) ซือหม่าเจา (สุมาเจียว司马昭) และซือหม่ากัน (司马干) มีลูกสาว 1 คน คือ หนันหยางกงจู่ (南阳公主) ปี..201 ซือหม่าอี้ (สุมาอี้) ในวัย 22 ปีได้ถูกเฉาเชา (โจโฉ) เรียกตัวให้ไปช่วยงานในราชสำนัก แต่ซือหม่าอี้ไม่อยากไป จึงแกล้งล้มป่วยนอนซมอยู่กับบ้าน วันหนึ่ง ซือหม่าอี้นำตำราออกมาผึ่งแดดที่ด้านนอก แล้วกลับไปนอนในห้อง ต่อมามีฝนตกหนัก ซือหม่าอี้จึงต้องลุกออกจากเตียงวิ่งไปเก็บตำราเข้ามาในห้อง แต่มีสาวใช้นางหนึ่งเห็นเข้าจึงไปแจ้งจางชุนฮัวให้ทราบเรื่อง เวลานั้น จางชุนฮัว เพิ่งมีอายุ 12 ปีกลัวว่าสาวใช้จะนำเรื่องนี้ออกไปบอกให้คนอื่นรู้ จึงสังหารสาวใช้นางนั้นจนตาย เหตุการณ์ในครั้งนี้จึงสร้างความ ‘ประทับใจ’ ให้กับซือหม่าอี้เป็นอย่างมาก ปี..208 จางชุนฮัวอายุ 19 ปีได้คลอดซือหม่าซือ (สุมาสู) ลูกชายคนโตให้กับซือหม่าอี้ ปี..211จางชุนฮัวอายุ 22 ปีได้คลอดซือหม่าเจา (สุมาเจียว) ลูกชายคนที่ 2 ให้กับซือหม่าอี้ ปี..231 จางชุนฮัวอายุ 42 ปีได้คลอดซือหม่ากัน ลูกชายคนที่ 3 ของนาง (แต่เป็นลูกชายคนที่ 6 ของซือหม่าอี้) ส่วนหนันหยางกงจู่ที่เป็นลูกสาว ไม่ได้บันทึกปีเกิดเอาไว้ ได้แต่งงานกับ ซวุ่นยี่ (荀霬) ผู้เป็นหลานชายของ ซวุ่นอวี้ (ซุนฮก 荀彧) และ เฉาเชา (โจโฉ曹操) ทำให้ตระกูลซือหม่าเกี่ยวดองเป็นญาติกับสายตระกูลเฉาของเฉาเชา (โจโฉ) ปี..247 เดือน 4 จางชุนฮัวได้ลาโลกไปเมื่ออายุ 59 ปี มีเรื่องเล่าว่า ก่อนที่จางชุนฮัวจะเสียชีวิต ซือหม่าอี้หลงรักนางป๋อฟู่เหริน (柏夫人) ที่เป็นอนุภรรยาจนหัวปักหัวป้ำ ทำให้จางชุนฮัวไม่มีโอกาสได้เจอหน้าสามี จนกระทั่งวันหนึ่ง ซือหม่าอี้ล้มป่วยลง นางจางชุนฮัวถือโอกาสเข้าไปเยี่ยม แต่ซือหม่าอี้เห็นหน้านางก็ไม่พอใจถึงกับด่าออกมาว่า “ของเก่าของแก่ หน้าตาน่าเกลียด จะมารบกวนข้าทำไม?” จางชุนฮัวถูกด่าก็เสียใจมาก จึงคิดจะฆ่าตัวตายด้วยการอดอาหาร ซือหม่าซือ (สุมาสู) และซือหม่าเจา (สุมาเจียว) ทราบข่าวว่ามารดาไม่ยอมทานข้าวก็ร้อนใจ พยายามเกลี้ยกล่อมเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผล ทั้งสองจึงไปขอร้องบิดา ให้มาขอโทษมารดา ซือหม่าอี้จึงจำใจต้องมาขอโทษนาง แต่พอออกมานอกห้อง ซือหม่าอี้กลับกล่าวว่า “ของเก่าของแก่จะเป็นจะตายยังไงก็ช่าง ที่ข้ามาขอโทษ ข้าแค่ไม่อยากเห็นลูกของข้าต้องเสียใจเท่านั้น” หลังจากนางจางชุนฮัวเสียชีวิต สี่ปีต่อมาวันที่ 7 เดือน 9 ปี..251 ซือหม่าอี้ สามีของนางก็ลาโลกตามไปด้วยวัย 72 ปี ปี..265 เดือน 12 สิบแปดปีหลังจากที่นางจางชุนฮัวเสียชีวิต ซือหม่าเอี๋ยน (สุมาเอี๋ยน司马炎) หลานชายของจางชุนฮัวได้สถาปนาราชวงศ์จิ้น ขึ้นเป็นจักรพรรดิแทนเฉาฮวน (โจฮวน曹奐) แห่งราชวงศ์เว่ย จึงได้มอบบรรดาศักดิ์ย้อนหลังให้กับจางชุนฮัวขึ้นเป็น เซวียนมู่ฮวงโหว (宣穆皇后) และได้ยกย่องนางเป็นผู้ที่มีจริยธรรม ความรู้และสติปัญญาเป็นอย่างสูง ชีวประวัติของจางชุนฮัวหาดูได้จากบันทึกจดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น (晋书) แหล่งอ้างอิง https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%A0%E6%98%A5%E5%8D%8E/4458.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจาง ชุนหัว · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจิวยี่ · ดูเพิ่มเติม »

จิวหอง

วหอง (Zhou Fang, ? — ?) ขุนศึกแห่ง ง่อก๊ก มีชื่อรองว่า จื่อหวี (Ziyu) เป็นชาวตำบลหยินเซิ้น เมืองอู่จวิ้น (ลำกุ๋น) มีบทบาทสำคัญเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจิวหอง · ดูเพิ่มเติม »

จิวท่าย

วท่าย (Zhou Tai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก เริ่มรับใช้ราชการเป็นองครักษ์ให้กับซุนเซ็ก ภายหลังซุนกวนชอบใจในบุคลิกจึงขอให้จิวท่ายมารับใช้ตนเอง จิวท่ายมีชื่อเสียงในการรับใช้ป้องกันซุนกวนหลายครั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจิวท่าย · ดูเพิ่มเติม »

จิวฉอง

จิวฉอง (Zhou Cang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นชาวกวนซี หน้าดำ รูปร่างสูงใหญ่ เคราดก ท่าทางสง่าผ่าเผย บ่าทั้งสองข้างมีกำลังมาก แบกของหนักได้พันชั่ง ว่ายน้ำเก่ง เคยเป็นกำลังโจรโพกผ้าเหลือง ภายหลังเข้าสวามิภักดิ์กับกวนอู เป็นคนสนิทของกวนเป๋งและกวนหิน เมื่อกวนอูตายเพราะโดนลิบองสั่งประหาร จิวฉองรู้ข่าวจึงเสียใจมากแล้วก็กระโดดจากกำแพงลงมาเพื่อฆ่าตัวตายตาม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่รักเจ้านายยิ่งชีพ จิวฉอง จิวฉอง หมวดหมู่:กวนอู.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจิวฉอง · ดูเพิ่มเติม »

จินปิด

นปิด (Qin Mi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้ากรมอาลักษณ์ในจ๊กก๊ก มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น ปรากฏบทบาทในสามก๊กตอนที่ ขงเบ้งส่งเตงจี๋ไปง่อก๊กเพื่อเจรจากับซุนกวนให้เป็นพันธมิตรกันเพื่อต่อต้านโจผีแห่งวุยก๊ก ปรากฏว่าซุนกวนชอบใจในตัวเตงจี๋ และได้ส่งเตียวอุ๋น ทูตฝ่ายง่อก๊กไปยังจ๊กก๊กบ้างเพื่อหยั่งท่าที ในงานเลี้ยงสุราต้อนรับเตียวอุ๋น เตียวอุ๋นได้ตั้งปุจฉาเพื่อลองภูมิและลองเชิงฝ่ายจ๊กก๊ก ปรากฏว่าจินปิด ซึ่งเป็นขุนนางเล็ก ๆ ได้วิสัจฉนาปุจฉาของเตียวอุ๋นจนหมดสิ้น พร้อมได้กล่าวย้ำไปด้วยอีกว่า ความยิ่งใหญ่และชอบธรรมที่แท้จริงในแผ่นดินอยู่ที่จ๊กก๊ก ทำเอาเตียวอุ๋นไม่กล้ากล้าเอ่ยคำใด ๆ ลองเชิงอีก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจินปิด · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดกิ๋น

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดกิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดสู

ูกัดสู (Zhuge Xu, ? — ?) ขุนพลแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก ซึ่งจูกัดสูมิได้มีความเกี่ยวข้องกับ จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง เสนาธิการแห่ง จ๊กก๊ก ใน ยุทธการพิชิตจ๊กก๊ก ของวุยก๊กเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดสู · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดสง

ูกัดสง (Zhuge Shang) ขุนศึกแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของ จูกัดเจี๋ยม เป็นหลานปู่ของ จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง อัครมหาเสนาบดีคนแรกของจ๊กก๊ก จูกัดสงเป็นขุนศึกที่มีความรู้ทางการทหารในช่วงก่อน การล่มสลายของจ๊กก๊ก เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดสง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเก๊ก

จูกัดเก๊ก (Zhuge Ke) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก บุตรชายคนโตของจูกัดกิ๋น ขุนพลเอกแห่งง่อก๊ก มีรูปลักษณ์พิเศษ คือใบหน้าที่ยาว แต่ก็มีเป็นคนมีสติปัญญา ไหวพริบ ทั้งยังมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่า เมื่อครั้งยังเด็ก จูกัดกิ๋น ผู้บิดาได้พาจูกัดเก๊กเข้าเฝ้าพระเจ้าซุนกวนในวังหลวง พระเจ้าซุนกวนทอดพระเนตรเห็นว่า จูกัดเก๊กหน้ายาวเหมือนโล่ จึงได้นำโล่ทองคำหรือลา เข้ามาในงาน แล้วเขียนที่หน้าโล่ว่า "จูกัดเก๊ก" เป็นที่ขบขันของเหล่าขุนนางเป็นอันมาก แต่จูกัดเก๊กมิได้มีอารมณ์โกรธขึ้ง กลับวางท่านิ่งสงบ แล้วเขียนเพิ่มต่อข้อความลงในโล่นั้นว่า "โล่ของจูกัดเก๊ก" หรือ "ลาของจูกัดเก๊ก" เป็นการแสดงถึงสติปัญญา ไหวพริบที่น่าทึ่ง พระเจ้าซุนกวนจึงพระราชทานโล่ หรือลานั้นให้เป็นของจูกัดเก๊ก ทั้งยังโปรดปรานชุบเลี้ยงนับตั้งแต่บัดนั้น แต่ในท่ามกลางความน่ายินดีนั้น จูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดากลับมีความกังวลใจถึงบุตรผู้นี้ และได้กล่าวว่า "บุตรคนนี้จะนำภัยพิบัตมาให้วงศ์ตระกูล" หลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคต ด้วยสติปัญญา ชื่อเสียงเป็นที่นับถือ จูกัดเก๊กก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชควบด้วยตำแหน่งราชครูประจำราชสำนักของพระเจ้าซุนเหลียง ฮ่องเต้องค์ที่สองแห่งง่อก๊ก กองทัพวุยก๊ก ภายใต้การนำของ สุมาเจียว ฉวยโอกาสที่พระเจ้าซุนกวนสวรรรคต อันเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนราชบัลลังก์บุกโจมตีง่อก๊ก จูกัดเก๊กได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ร่วมผสานงานของขุนพลผู้เฒ่าเตงฮอง โจมตีกองทัพวุยก๊กแตกพ่ายกลับไปที่เมืองตังหิน จากนั้นฉวยโอกาสบุกโจมตีเข้าไปในดินแดนวุยก๊ก ประชิดด่านซินเสีย แต่ด้วยความมั่นใจจนเกินไป จนเป็นการตัดสินใจการศึกที่ผิดพลาดของจูกัดเก๊กเอง ทำให้กองทัพง่อก๊กต้องกลอุบายของแม่ทัพวุยก๊กจนต้องพ่ายยับเยินกลับมา เมื่อกลับมาถึงแคว้นพร้อมกับความอัปยศ จูกัดเก๊กโยนความผิด ปัดความรับผิดชอบในการทำศึกพ่ายแพ้ไปที่แม่ทัพนายกอง และที่ปรึกษา ให้พิจารณาสั่งประหารขุนพลไปหลายคน ทั้งยังเข้ากุมอำนาจเด็ดขาด แต่งตั้งญาติพีน้อง คนสนิทเข้ามามีอำนาจในราชสำนัก สร้างความไม่พอใจให้กับเชื้อพระวงศ์ ราชนิกูลของตระกูลซุน และขุนนางทั้งปวง รวมทั้งพระเจ้าซุนเหลียงเป็นอย่างมาก แม่ทัพทหารม้า ซุนจุ๋น และน้องชายซุนหลิม จึงวางแผนลวงจูกัดเก๊กมาสังหารในงานกินเลี้ยงภายในวังหลวงสำเร็จ ซุนจุ๋นประกาศโทษจูกัดเก๊กเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์ ยังผลไปถึงญาติพี่น้องในตระกูลจูกัด ต้องถูกประหารถึงสามชั่วโคตร คำกล่าวของจูกัดกิ๋นจึงปรากฏเป็นจริงอย่างไม่ผิดเพี้ยน สมดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีใครรู้จักบุตรได้ดีเท่ากับบิดา" นั่นเอง จูกัดเก๊ก จูกัดเก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดเก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเอี๋ยน

ูกัดเอี๋ยน (Zhuge Dan, ? — ค.ศ. 258) ชื่อรองว่า กงซิว เป็นขุนศึกแห่งวุยก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก จูกัดเอี๋ยนเกิดที่ตำบลหยังตูเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง อัครมหาเสนาบดีและเสนาธิการแห่ง จ๊กก๊ก แต่จูกัดเอี๋ยนกลับไปรับใช้วุยก๊กจนได้รับพระราชทานยศเป็น เจิ้งตงต้าเจียงจวิน (จอมพลปราบภาคตะวันออก) บัญชาการทหารภาคห้วยหลำ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเจี๋ยม

จูกัดเจี๋ยม เป็นบุตรชายของขงเบ้งหรือ จูกัดเหลียง เกิดจากนางอุ๋ยซี มีความรู้ความสามารถดี เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบวาดรูป พระเจ้าเล่าเสี้ยนเอ็นดูมากถึงกับยกพระราชธิดาเป็นภรรยาด้วย และตั้งให้เป็นสมุหนายก ต่อมาพระเจ้าเล่าเสี้ยนหลงเชื่อคำของขันทีฮุยโฮ จนราชการแผ่นดินแปรปรวน จูกัดเจี๋ยมน้อยใจจึงแกล้งลาป่วย ไม่เข้าเฝ้าเป็นเวลานาน เมื่อเตงงาย แม่ทัพวุยก๊กยกทัพมาโจมตี พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงให้จูกัดเจี๋ยมออกไปรบที่ด่านเกียมก๊กแล้วทำรูปหุ่นขงเบ้ง หลอกทัพวุยก๊กจนเสียขวัญ เตงงายจึงส่งจดหมายไปเกลี้ยกล่อมจูกัดเจี๋ยมให้สวามิภักดิ์ จูกัดเจี๋ยมไม่ยอม ออกสู้รบกับเตงงายถึงขั้นตะลุมบอน แต่ม้าของจูกัดเจี๋ยมถุกเกาทัณฑ์ล้มลง พอทหารของเตงงายกรูเข้ามาจับตัว จูกัดเจี๋ยมเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงเอากระบี่เชือดคอตายอยู่ ณ ที่นั้น หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:จูกัดเหลียง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูกัดเจี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จูหวน

จูหวน (Zhu Huan) ชื่อรองว่า ซิ่วมู่ เป็นบุคคลใน ยุคสามก๊ก โดยเป็นขุนศึกแห่ง ง่อก๊ก ได้เข้ามารับใช้ในสมัยของ ซุนกวน สร้างวีรกรรมไว้ในหลายสงคราม หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูหวน · ดูเพิ่มเติม »

จูอี้

ูอี้ (Zhu Yi, ? — ค.ศ. 257) มีชื่อรองว่า จี้เหวิน เป็นขุนศึกแห่งง่อก๊กและเป็นบุตรชายของ จูหวน เมื่อบิดาถึงแก่กรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูอี้ · ดูเพิ่มเติม »

จูฮี

ูฮี (Zhu Jun) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นแม่ทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง อันได้แก่ โลติด ฮองฮูสง จูฮี หลังเสร็จศึกปราบโจรโพกผ้าเหลืองก็ได้รับการปูนบำเหน็จให้เป็นเจ้าเมืองโห้หลำ ต่อมาเหล่าสิบขันทีก็เรียกให้จ่ายสินบนแต่จูฮีกลับปฏิเสธ ทำให้เหล่าสิบขันทีได้ปลดจูฮีออกจากตำแหน่ง รูปจูฮีจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูฮี · ดูเพิ่มเติม »

จูตี

ูตี (Zhu Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการคนสำคัญแห่งเตียวสิ้ว เป็นชาวอำเภอกู้จัง เมืองตังหยัง มณฑลเจียงซู เริ่มรับราชการกับเตียวสิ้ว และติดตามเตียวสิ้วในศึกปราบโจโฉด้วย เตียวสิ้วไว้ใจจูตี เลยให้ดูแลอ้วนเซี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูตี · ดูเพิ่มเติม »

จูเหียน

ูเหียน (เกิด พ.ศ.725 – พ.ศ.792) เดิมเป็นบุตรของน้องสาวจูตี แต่จูตีไม่มีบุตรจึงรับเขาเป็นบุตรบุญธรรม เป็นเพื่อนกับซุนกวนตั้งแต่เด็ก เรียนหนังสือมาด้วยกัน มีผลงานในการสู้รบหลายครั้ง เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อจากลิบอง เป็นกองหน้าที่เข้าตีเล่าปี่ในศึกอิเหลง ในสามก๊กฉบับพระยาคลังหน จูล่งมาช่วยและฆ่าจูเหียน แต่ในประวัติศาสตร์ จูเหียนไม่ได้ตายในศึกนั้นและมีผลงานมากมายจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นแม่ทัพใหญ่ของง่อ เมื่อจูเหียนถูกเตียวเปาสังหารตาย ซุนกวนร้องไห้เสียใจมาก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจูเหียน · ดูเพิ่มเติม »

จงฮิว

งฮิว (Zhong Yao, ค.ศ. 151 — ค.ศ. 230) มีชื่อรองว่า เหวียนฉาง เป็นขุนนางในสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น ราชครูแห่งวุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก จงฮิวเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจงฮิว · ดูเพิ่มเติม »

จงป้า

งป้า มีชื่อรองว่า เซวียนเกา เป็นบุคคลใน ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจงป้า · ดูเพิ่มเติม »

จงโฮย

งโฮย (Zhong Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊กในยุคปลาย เกิดเมื่อปี ค.ศ. 225 มีชื่อรองว่าซื่อจี้ เป็นลูกชายคนรองของจงฮิว มีพี่ชายอีกคนชื่อว่าจงอี้ เป็นชาวตำบลฉางเช่อ เมืองอิงชวน มณฑลเ หอหนาน เป็นคนมีสติปัญญาและทะเยอทะยาน ได้ช่วยตระกูลสุมายึดอำนาจจากโจซองได้สำเร็จ เมื่อสุมาเจียวคิดตีจ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าเสี้ยน จึงตั้งจงโฮยกับเตงงายขั้นเป็นแม่ทัพ แต่ทั้งสองไม่ถูกกันจึงแยกทัพกันไปตี เตงงายไปทางลัดจึงเข้ายึดราชธานีเฉิงตูได้ก่อน แต่เกียงอุยแม่ทัพใหญ่ฝ่ายจ๊กก๊กได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อจงโฮยและออกอุบายให้ฟ้องสุมาเจียวไปว่า เตงงายเป็นกบฏ สุมาเจียวจึงให้จงโฮยไปปราบเตงงาย เมื่อสำเร็จเกียงอุยจึงยุให้จงโฮยตั้งตัวเป็นใหญ่ในเสฉวน จึงเกิดการรบกับทหารสุมาเจียว ในที่สุดทั้งจงโฮยและเกียงอุยก็ถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. 264.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจงโฮย · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ขับเจ้ง

ับเจ้ง (Xi Zheng, ? — ค.ศ. 278) มีชื่อรองว่า หลิงเซี่ยน เกิดที่เมืองอี๋หยัง (อวี๋เอี้ยง) มณฑลเหอหนาน เป็นเสนาธิการแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก บิดาของขับเจ้งเคยรับใช้ วุยก๊ก และได้มารับใช้ จ๊กก๊ก เมื่อขับเจ้งยังเล็กแต่ก็ตายจากไปเมื่อขับเจ้งยังเด็กทำให้ตัวของขับเจ้งต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อ จ๊กก๊กยอมแพ้ต่อวุยก๊ก ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและขับเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ขงมอ

งมอ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าข่งโจ้ว (เสียชีวิตราวปี พ.ศ. 733) มีชื่อรองว่ากงซฺวี่ เป็นขุนศึกในช่วงปลายสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ต่อมา ตั๋งโต๊ะ ได้แต่งตั้งให้ขงมอเป็นผู้ตรวจการแห่งอิจิ๋วหลังจากนั้นไม่นานขงมอได้เข้าร่วมกองทัพพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะที่มี อ้วนเสี้ยว เป็นผู้นำแต่ขงมอถึงแก่กรรมหลังจากนั้นไม่นานในราวปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและขงมอ · ดูเพิ่มเติม »

ขงสิ้ว

งสิ้ว (Kong Xiu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเป็นขุนพลของเตียวสิ้วเป็นทหารเอกที่สำคัญมากในการรบที่เตงเชียโดยเตียวสิ้วส่งขงสิ้วไปรักษาเมืองเตงเชียเมื่อโจโฉมาตีเมืองเตงเชีย และได้มาเป็นายด่านแรกของด่านทั้ง5 เมื่อกวนอูจะไปหาเล่าปี่ที่โห้ปัก ได้พบกับขงสิ้ว แต่ไม่มีใบผ่าน ขงสิ้วจึงต่อสู้กับกวนอู แล้วก็โดนกวนอูเอาง้าวฟันต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและขงสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

ขงหยง

งหยง หรือ ขงเล่ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ข่งหรง() (ค.ศ. 153 - ค.ศ. 208) มีชื่อรองว่าเหวินจฺวี่ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองซีฟู่ ในเขตแคว้นหลู่โก้วะ (โลก๊ก) อันเป็นที่เกิดของขงจื้อ เป็นเชื้อสายของขงจื้อลำดับที่ 20 มีสติปัญญาเฉียบแหลม เมื่ออายุ 10 ขวบได้ไปหาหลี่อิ๋ง เจ้าเมือง คนเฝ้าประตูไม่ให้เข้า ขงหยงอ้างว่าเป็นเพื่อนสนิทของเจ้าเมืองจึงเข้าได้ เมื่อหลีอิ๋งถามว่า เป็นเพื่อนสนิทมาตั้งแต่ครั้งไหน ขงหยงตอบว่า บรรพบุรุษของข้าพเจ้า (คือขงจื้อ) ได้ไปถามความรู้เกี่ยวกับประเพณี จากบรรพบุรุษของท่าน (คือ เล่าจื๊อ ซึ่งชื่อจริงว่า หลีเอ๋อ) จึงถือว่าสกุลเราสนิทมาหลายชั่วคนแล้ว หลีอิ๋งประหลาดใจในสติปัญญาของเด็กน้อยผู้นี้มาก พอดีเฉินวุ่ย ขุนนางผู้ใหญ่ตำแหน่งต้าจงต้าฟูมาเยี่ยมหลีอิ๋งจึงเล่าให้เฉินวุ่ยฟัง เฉินวุ่ยก็ว่า เด็กฉลาดไม่แน่นักที่โตขึ้นจะฉลาดเสมอไป ขงหยงโต้ว่า ตัวท่านเองก็เป็นเด็กฉลาดมาก่อนไม่ใช้หรือ พูดคำนี้ทั้งหลีอิ๋งกับเฉินวุ่ย ก็หัวเราะขึ้นพร้อมกัน โตขึ้น ขงหยงได้ดำรงตำแหน่งราชการเป็นจงหลังเจี้ยง เจ้าเมื่องปักไฮ ประชาชานิยมรักใคร่มาก ชอบยกคำโบราณมาพูดเสมอว่า “ในห้องพรั่งพร้อมด้วยเพื่อน ในแก้วเอิบอาบด้วนน้ำเหล้า” เป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาศิลปะวรรณคดี และได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งใน 7 ของราชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ ครั้งหนึ่งโจโฉต้องการคนดีมีฝีปากไปเกลี้ยวกล่อมเล่าเปียว ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋ว มีผู้เสนอให้วานขงหยง แต่ขงหยงไม่ยอมรับ แนะนำให้วานยีเอ๋ง ซึ่งเป็นเพื่อนรักไปแทน แต่ยีเอ๋งเป็นปราชญ์ที่พูดมากเกินไป ชอบยกตนข่มท่าน การเกลี้ยกล่อมจึงไม่สำเร็จ เนื่องจากคอยขัดคอโจโฉบ่อย ๆ โจโฉจึงไม่ชอบ ครั้งสุดท้ายขัดคอไม่ให้ยกทัพไปปราบเล่าปี่ อ้างว่าเล่าปี่เป็นเชื้อสายพระเจ้าเหี้ยนเต้ และตั้งหลักมั่นคงที่เกงจิ๋วแล้ว โจโฉโกรธ ให้จับขงหยงประหารชีวิตเสีย ขณะที่บุตรกำลังเล่นหมากรุกกันอยู่คนใช้วิ่งมาบอกข่าว และให้ขอให้หนีไปเสีย บุตรขงหยงคนที่สองตอบว่า “ซึ่งท่านเอ็นดูแก่เรานี้คุณก็หาที่สุดมิได้ แต่ธรรมดานกทั้งปวงซึ่งตกฟองในรัง แม้ว่ารังทำลายแล้ว ฟองนั้นก็ตกแตก มิอาจสามารถตั้งอยู่ได้ และบิดาเราถึงแก่ความตายแล้ว บัดนี้ตัวเราผู้เป็นบุตรหรือจะหนีพ้น” พูดมิทันขาดคำทหารโจโฉก็เข้ามาล้อมเรือนจับบุตรภรรยาขงหยงไปฆ่าเสียสิ้น แล้วโจโฉให้เอาศพขงหยงไปประจานไว้ที่สามแพร่ง รูปขงหยงจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและขงหยง · ดูเพิ่มเติม »

ขงจี

งจี (Kong Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก รับราชการอยู่กับกิมสวนเจ้าเมืองบุเหลง ได้แนะนำให้กิมสวนยอมสวามิภักดิ์ต่อเตียวหุยซึ่งกำลังยกมาตีเมืองบุเหลง ทำให้กิมสวนไม่พอใจสั่งประหารขงจี แต่ขุนนางคนอื่นได้ทัดทานไว้ กิมสวนจึงไว้ชีวิตขงจี กิมสวนยกทัพไปรบกับเตียหุย แล้วเสียทียกทัพกลับเข้าเมือง แต่ขงจีสั่งทหารปิดประตูมิให้กิมสวนเข้าเมืองได้ แล้วใช้เกาทัณฑ์ยิงถูกหน้าผากกิมสวนเสียชีวิต แล้วยอมสวามิภักดิ์ต่อเตียวหุย ต่อมาขงจีจึงได้รับการแต่งตั้งจากเล่าปี่ให้เป็นเจ้าเมืองบุเหลง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและขงจี · ดูเพิ่มเติม »

คว้อเก๋อ

ว้อเก๋อ (Huo Yi; ? — ?, หลัง ค.ศ. 271) ชื่อรอง เช่าเซียน (Shaoxian) ขุนศึกแห่ง จ๊กก๊ก ใน ยุคสามก๊ก พ่อของเขา งักจุ้น รับใช้ พระเจ้าเล่าปี่ ปฐมจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กตั้งแต่ก่อนสถาปนาจ๊กก๊ก รูปภาพ คว้อเก๋อ จากเกมส์ Romance of The three kingdoms XIII เมื่อจ๊กก๊กถูกพิชิตโดย วุยก๊ก ในรัชสมัย พระเจ้าเล่าเสี้ยน เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและคว้อเก๋อ · ดูเพิ่มเติม »

คูเสง

ูเสง (Ou Xing) โจรป่าแห่งเมือง ฉางชา ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แห่ง ยุคสามก๊ก คูเสงได้ร่วมกับโจรป่าคนอื่น ๆ ก่อการกบฏขึ้นที่ฉางชาแต่ก็ถูกปราบโดย ซุนเกี๋ยน เจ้าเมือง เตียงสา หรือ ฉางชา ในปัจจุบันตามคำสั่งของ สิบขันที ซึ่งมีอำนาจในราชสำนักขณะนั้น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและคูเสง · ดูเพิ่มเติม »

งออี้

งออี้ (Wu Yi, ? — ค.ศ. 237) ชื่อรองว่า เป็นขุนศึกแห่งจ๊กก๊กและเป็นพี่ชายของ งอฮูหยิน จักรพรรดินีใน พระเจ้าเล่าปี่ ปฐมจักรพรรดิแห่ง จ๊กก๊ก แต่เดิมงออี้เป็นขุนนางที่รับใช้ เล่าเจี้ยง เมื่อเล่าเจี้ยงประกาศยอมแพ้ต่อเล่าปี่ใน.ศ 215 งออี้จึงได้มารับใช้เล่าปี่สืบต่อมาจนกระทั่งภายหลังเมื่อสามารถปราบกบฏของ อุยเอี๋ยน ลงได้ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงออี้ · ดูเพิ่มเติม »

งอปั้น

งอปั้น (Hu Ban, ? — ?) ตัวละครใน วรรณกรรมจีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวจริงเป็นขุนศึกแห่งจ๊กก๊กแต่เดิมเป็นขุนพลของวุยก๊ก รักษาการอยู่ที่เมืองเอี๋ยงหยงกับ อองเซ็ก เมื่ออองเซ็กถูกสังหารงอปั้นจึงตัดสินมารับใช้จ๊กก๊กโดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ กวนอู.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงอปั้น · ดูเพิ่มเติม »

งักหลิม

งักหลิม (Yue Lin ? — ค.ศ. 257) ขุนศึกแห่งวุยก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายของ งักจิ้น ยอดขุนศึกรุ่นแรกของ โจโฉ ผู้ก่อตั้งวุยก๊ก งักหลิมถึงแก่กรรมเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงักหลิม · ดูเพิ่มเติม »

งักจิ้น

งักจิ้น (Yue Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองหยางผิง เขตเว่ยกว๋อ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองชิงเฟิง มณฑลเหอนาน มีชื่อรองเหวินเชียน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก งักจิ้นเป็นคนรูปร่างเตี้ยและตัวเล็ก แต่จิตใจห้าวหาญ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ รายละเอียดการดำเนินชีวิตของงักจิ้นในตอนต้นของวรรณกรรมสามก๊ก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน มีการกล่าวถึงในตอนได้เข้าร่วมกับกองทัพของโจโฉในตำแหน่งนายทหารชั้นผู้น้อย โดยได้รับมอบหมายให้กลับไปรวบรวมผู้คนจำนวนมากที่บ้านเกิด เพื่อให้เข้าร่วมกับกองทัพในการทำศึกสงคราม งักจิ้นสามารถเกณฑ์ผู้คนจำนวนมากกว่าพันคนในการเข้าร่วมกับกองทัพ จึงได้รับความดีความชอบจากโจโฉด้วยการเลื่อนขั้นจากนายทหารชั้นผู้น้อย เป็นนายทหารระดับนายพัน ภายหลังงักจิ้นได้ช่วยทำศึกออกรบร่วมกับโจโฉหลายต่อหลายครั้ง จนได้เลื่อนยศเป็นเจ๋อชงเจียงจวินหรือนายทหารระดับนายพล และเสียชีวิตในเจี้ยนอันศก ปีที่ 23.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงักจิ้น · ดูเพิ่มเติม »

งักจุ้น

ักจุ้น หรือ ฮั่วจฺวิ้น (Huo Jun; 177 — 216) ชื่อรอง จ้งเหมี่ยว (Zhongmiao) ขุนศึกซึ่งรับใช้ภายใต้การบังคับบัญชาของ เล่าปี่ ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แต่เดิมเคยรับใช้ เล่าเปียว เมื่อเล่าเปียวถึงแก่กรรมในปล..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงักจุ้น · ดูเพิ่มเติม »

งันเหลียง

งันเหลียง (Yan Liang; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงันเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

งำเต๊ก

งำเต๊ก หรือ กำเจ๊ก มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าคั่นเจ๋อ มีชื่อรองว่าเต๋อรุ่น เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงำเต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

งิมหุน

งิมหุน (Cen Hun, ? — ค.ศ. 280) เสนาบดีแห่ง ง่อก๊ก ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก แต่ในสามก๊กฉบับวรรณกรรมของ หลอ กว้านจง ได้กล่าวว่างิมหุนเป็นขันทีคนสนิทของ พระเจ้าซุนโฮ จักรพรรดิองค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ง่อซึ่งคอยยุยงให้พระเจ้าซุนโฮหลงใหลสุรานารีและทำสิ่งไม่ดีมากมายจนลืมราชกิจเฉกเช่นเดียวกับ พระเจ้าเล่าเสี้ยน จักรพรรดิองค์ที่ 2 และองค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์จ๊ก ที่มี ฮุยโฮ เป็นขันทีคนสนิทเมื่อ ง่อก๊กล่มสลาย ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงิมหุน · ดูเพิ่มเติม »

งุยซก

งุยซก (Wei Xu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ทหารของลิโป้ เป็นสหายสนิทของซงเหียนและเฮาเสง ต่อมาร่วมมือกับซงเหียนและเฮาเส็งหักหลังลิโป้ และไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ต่อมา งุยซกและซงเหียนติดตามโจโฉไปทำศึกกับอ้วนเสี้ยว ซงเหียนอาสาออกไปรบกับงันเหลียงทหารเอกของอ้วนเสี้ยว และถูกฆ่าตาย งุยซกจึงอาสาไปรบกับงันเหลียงเพื่อแก้แค้นให้ซงเหียน แต่ก็ถูกงันเหลียงสังหาร หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 งุยซก งุยซก fr:Wei Xu.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและงุยซก · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตังสิด

ตังสิด (Dong Xi) เป็นขุนพลแห่งง่อก๊ก รับราชการมาตั้งแต่สมัยซุนเซ็กถึงซุนกวน เป็นผู้สังหารเงียมแปะฮอ แล้วมาสวามิภักดิ์ต่อซุนเซ็ก ตังสิดเริ่มรับใช้ง่อก๊กในสมัยของซุนเซ็ก เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งมีทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความสำเร็จในการปราบโจรกบฏและช่วยซุนเซ็กยึดครองดินแดนเจียงตง เมื่อครั้งซุนเซ็กเสียชีวิต เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนซุนกวนขึ้นครองอำนาจต่อ ในการศึกกับหองจอ ตังสิดและเล่งทองนำทหารร้อยนายเข้าจัดการแพธนูของหองจอ โดยตังสิดเป็นคนตัดเชือกที่ล่ามแพไว้เอง ในศึกปากแม่น้ำยี่สูกับโจโฉ ตังสิดได้รับมอบหมายให้ดูแลเรือรบห้าชั้น แต่เกิดพายุใหญ่ทำให้เรือพลิกคว่ำ แต่ตังสิดเลือกที่จะไม่ละทิ้งหน้าที่ ทำให้เขาเสียชีวิตจากเรือล่มในครั้งนั้น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตังสิด · ดูเพิ่มเติม »

ตังสิน

ตังสิน (Dong Cheng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก พี่ชายของนางตังกุยหุยซึ่งเป็นพระสนมในพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ดำรงตำแหน่งเป็นนายพลทหารม้า เป็นคนสำคัญคนหนึ่งในการนำพระเจ้าเหี้ยนเต้หนีลิฉุย กุยกีจากเมืองเตียงฮันกลับไปยังลกเอี๋ยง ต่อมาเมื่อโจโฉครองอำนาจ พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องการจะโค่นอำนาจของโจโฉ ก็ใช้มีดกรีดนิ้วเขียนจดหมายลับด้วยเลือด ส่งให้ตังสินช่วยกันหาขุนนางผู้ภักดีมาร่วมกันกำจัดโจโฉเสีย ตังสินก็รวบรวมคนอยู่เรื่อยๆ ต่อมาเคงต๋องคนใช้ใกล้ชิดโกรธที่ถูกตังสินโบยก็นำความไปบอกโจโฉ ตังสินจึงถูกจับประหารชีวิต นางตังกุยหุยน้องสาวของตังสินซึ่งกำลังมีครรภ์อยู่ ก็พลอยถูกรัดคอตายไปด้วย รูปตังสินจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตังสิน · ดูเพิ่มเติม »

ตังไทฮอ

ตังไทฮอ (Empress Dowager Dong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มารดาบุญธรรมของพระเจ้าฮั่นเลนเต้ ต่อมาพระนางได้เลี้ยงดูองค์ชายหองจูเหียบผู้เป็นพระนัดดาที่ประสูติมาจากพระนางอองบีหยินหลังพระนางสิ้นพระชนม์ หลังจากพระเจ้าเลนเต้สวรรคต พระนางต้องการให้องค์ชายหองจูเหียบขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ จึงได้สั่งให้เกียนสิด หนึ่งในสิบขันทีไปสังหารโฮจิ๋นผู้เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮาและเป็นแม่ทัพใหญ่เพื่อกุมอำนาจแต่ล้มเหลว โฮจิ๋นและพระนางโฮเฮากลับชิงสถาปนาองค์ชายหองจูเปียนเป็นฮ่องเต้ไป ทำให้ตังไทฮอไม่พอพระทัย แต่ด้วยคำแนะนำจากสิบขันที จึงได้สถาปนาองค์ชายหองจูเหียบเป็นตันหลิวอ๋องและพระนางก็ออกว่าราชการแทนและให้ตำแหน่งแม่ทัพตังตงผู้เป็นพระอนุชาและคืนตำแหน่งบริหารให้กับสิบขันทีอีกด้วย โฮจิ๋นและพระนางโฮเฮาเห็นว่า ตังไทฮอคิดจะมาแย่งชิงอำนาจจากพวกตน พระนางโฮเฮาได้ตักเตือนแต่ตังไทฮอกลับไม่ฟังแถมยังมีกล่าวตำหนิเสียดสีใส่ ทำให้พระนางโฮเฮาและแม่ทัพโฮจิ๋นร่วมมือกันปลงพระชมน์ด้วยการแต่งตั้งพระบรมราชโองการว่า ตังไทเฮาแต่เป็นชายาอ๋อง เมื่อพระเจ้าเลนเต้ผู้เป็นโอรสบุญธรรมสิ้นแล้ว จึงไม่สิทธิ์อยู่ในพระราชวังและต้องกลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิม หลังจากนั้นเมื่อกลับไปยังบ้านเกิดของพระนาง แม่ทัพโฮจิ๋นได้ส่งคนนำน้ำจัณฑ์ยาพิษไปให้เสวยเป็นเหตุให้ตังไทฮอสวรรคต พระศพก็ได้มาลำเลียงฝังที่พระนครลกเอี้ยงอย่างสมพระเกียรต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตังไทฮอ · ดูเพิ่มเติม »

ตังเจี๋ยว

ตังเจี๋ยว เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งวุยก๊ก มีชื่อรองว่ากงเหยิน เป็นคนพูดจริงทำจริง มีความรู้ความคิดดี เดิมรับราชการอยู่กับอ้วนเสี้ยว เมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้หนีลิฉุย กุยกี กลับมาสู่เมืองลกเอี๋ยงราชธานี จึงได้เข้ามารับราชการอยู่ใกล้ชิด ในตำแหน่งเจียงยี่หลง (ที่ปรึกษา) ต่อมา ตังเจี๋ยวได้เป็นที่ปรึกษาของโจโฉ เป็นคนที่แนะนำโจโฉให้ย้ายราชธานีจากลกเอี๋ยงไปฮูโต๋ โจโฉทำตามและตั้งให้ตังเจี๋ยวเป็นเจ้ามืองลกเอี๋ยงเพื่อฟื้นฟูเมืองขึ้นใหม่ ตังเจี่ยวผู้นี้ยังเป็นผู้แนะนำให้โจโฉตั้งตนเป็นวุยก๋ง ประกอบด้วยราชอิสยาภรณ์ 9 ประการ ต่อมาเสนอให้โจโฉตั้งตนเป็นวุยอ๋อง โจโฉเห็นความดีความชอบของตังเจี๋ยว จึงบำเหน็จรางวัลให้เป็นอันมาก หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตังเจี๋ยว · ดูเพิ่มเติม »

ตันบู

ตันบู (Chen Wu) เป็นแม่ทัพของง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นคนที่หน้าตาดุร้ายน่ากลัวรับใช้ง่อก๊กตั้งแต่อายุ 18 ในสมัยของ ซุนเซ็ก เป็นคนกล้าหาญและมักจะต่อสู้ในแนวหน้าเสมอซุนกวนชื่นชอบเขามากและมักแวะไปเยี่ยมเขาที่บ้านอยู่บ่อ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันบู · ดูเพิ่มเติม »

ตันกุ๋ย

ตันกุ๋ย (Chen Gui) ตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก มีชื่อรองว่า Hanyu เป็นขุนนางที่รับใช้ ลิโป้ ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่ง โจโฉ ได้ติดต่อให้ตันกุ๋ยและ ตันเต๋ง ผู้เป็นบุตรชายเป็นไส้ศึกคอยรายงานความเคลื่อนไหวภายในกองทัพของลิโป้และในเมือง ชีจิ๋ว จนกระทั่งสบโอกาสโจโฉจึงสามารถตีเมืองชีจิ๋วแตกและสามารถจับลิโป้ได้สำเร็.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันกุ๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ตันกุ๋น

ตันกุ๋น (Chen Qun) เป็นเสนาบดีแห่งวุยก๊ก เดิมรับราชการอยู่กับเล่าปี่และลิโป้ที่เมืองชีจิ๋ว แต่ภายหลังที่โจโฉบุกโจมตีชีจิ๋ว ได้เข้าสวามิภักดิ์กับโจโฉ ตันกุ๋นเคยเป็นผู้แนะนำให้โจโฉคิดตั้งตนเป็นฮ่องเต้เสียเอง แต่โจโฉบอกว่าถึงแม้สวรรค์จะลิขิตให้เขามีตำแหน่งสูงกว่า แต่ตัวเขาจะอยู่เป็นแค่วุยอ๋องก็พอใจแล้ว หลังจากโจโฉเสียชีวิต โจผีบุตรชายของโจโฉขึ้นดำรงตำแหน่งวุยอ๋องแทน ตันกุ๋นได้เป็นคนต้นคิดที่บังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติให้กับโจผี และเป็นผู้ร่างสาส์นประกาศสละราชสมบัติ ตันกุ๋นจึงมีส่วนในการสถาปนาอาณาจักรวุย หลังจากการเสียชีวิตของพระเจ้าโจผี พระเจ้าโจยอยขึ้นครองบัลลังก์ ตัวเขา สุมาอี้ กับโจจิ๋น ได้ช่วยรวมกันบริหารประเทศและให้คำแนะนำแก่พระเจ้าโจยอย ตามคำสั่งเสียของพระเจ้าโจผีก่อนสวรรคต เขาได้ร่วมในการปราบกบฏกองซุนเอี๋ยน เขาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 236 ว่ากันว่าเขาอาจจะเป็นบรรพบุรุษของพระถังซัมจั๋ง หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันกุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ตันก๋ง

ฉิน กง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ตันก๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ตาย ค.ศ. 198) ชื่อรองว่า กงไถ (公臺) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รับใช้ขุนศึกเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ต่อมาเป็นที่ปรึกษาของขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) หลังจากเฉา เชา พิชิตลฺหวี่ ปู้ ในยุทธการเซี่ยพี (下邳之戰) แล้ว ก็ประหารเฉิน กง พร้อมกับลฺหวี่ ปู้ ในนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก (三國演義) เฉิน กง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฮั่น แต่เลื่อมใสเฉา เชา ที่คิดกำจัดทรราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) จึงละทิ้งราชการออกติดตามเฉา เชา แต่เมื่อเห็นเฉา เชา สังหารลฺหวี่ ปั๋วเชอ/ลิแปะเฉีย (呂伯奢) ทั้งตระกูลด้วยความเข้าใจผิด เฉิน กง จึงผละหนีจากเฉา เชา ไปเข้ากับลฺหวี่ ปู้ ท้ายที่สุดก็ถูกเฉา เชา ประหารพร้อมลฺหวี่ ปู้ เช่นเดียวกับในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันก๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ตันหลิม

ตันหลิม (Chen Lin, ? — ค.ศ. 217) ชื่อรองว่า ข่งจาง (Kongzhang) เป็นเสนาบดี นักเขียน และกวีแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซึ่งตันหลิมเป็นหนึ่งในเจ็ดกวีที่มีชื่อเสียงที่เรียกกันว่า เจ็ดกวีแห่งยุคเจี้ยนอัน เนื่องจากมีงานเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชน แต่เดิมตันหลิมรับใช้ราชสำนักโดยเป็นปลัดบัญชีให้กับ โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ของ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในตอนเกิดศึกปราบสิบขันทีตันหลิมได้เตือนโฮจิ๋นมิให้เรียก ตั๋งโต๊ะ เข้ามายังพระนคร ลกเอี๋ยง แต่โฮจิ๋นก็ไม่ฟังและเมื่อคราวสิบขันทีได้เขียนจดหมายลวงให้โฮจิ๋นเข้าวังตันหลิมก็ได้เตือนมิให้โฮจิ๋นเข้าวังแต่โฮจิ๋นก็ไม่เชื่อสุดท้ายโฮจิ๋นก็ถูกฆ่าตายเมื่อตั๋งโต๊ะได้ยกทัพเข้าลกเอี๋ยงตันหลิมก็ลาออกจากราชการไปรับใช้ อ้วนเสี้ยว ผู้ตรวจการแห่งกิจิ๋วขุนศึกผู้มีอำนาจทางภาคเหนือในตำแหน่งเลขาธิการทำเนียบ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันหลิม · ดูเพิ่มเติม »

ตันอุ๋น

ตันอุ๋น (Dong Yun, ? – 246) เป็นเสนาบดีแห่งจ๊กก๊ก เป็นสมุหนายกคนที่ 4 แห่งจ๊กก๊ก (คนแรกคือ ขงเบ้ง/คนที่ 2 คือ เจียวอ้วน/คนที่ 3 คือ บิฮุย) เป็นคนอ่อนโยนและยุติธรรม หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันอุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันฮก · ดูเพิ่มเติม »

ตันจิ๋น

ตันจิ๋น (Chen Zhen, ? — ค.ศ. 235) มีขื่อรองว่า เสี้ยวฉี่ (Xiao Qi) เกิดที่เมืองหนานหยางหรือลำหยงเป็นเสนาบดีแห่ง จ๊กก๊ก เมื่อ เล่าปี่ ได้เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วได้แต่งตั้งให้ตันจิ๋นเป็นขุนนางในท้องถิ่นต่อมาเมื่อเล่าปี่เข้ายึดปาสู่และเอ๊กจิ๋วและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าเล่าปี่ปฐมจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กก็ได้แต่งตั้งตันจิ๋นให้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ เมื่อ ซุนกวน ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าซุนกวนปฐมจักรพรรดิแห่งง่อก๊กใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันซิ่ว · ดูเพิ่มเติม »

ตันเตา

ตันเตา (Chen Dao) ขุนพลผ้าเหลือง ฝีมือเป็นรองแค่จูล่ง หลังโจรผ้าเหลือง ราบคาบได้ไปอยู่กับจูล่งกลายเป็นสหายกันไปอยู่รวมกับ เล่าปี่ จึงได้ เลียวฮัว,จิวฉองมาพร้อมกันด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันเตา · ดูเพิ่มเติม »

ตันเต๋ง

ตันเต๋ง (Chen Deng) เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการแห่งชีจิ๋ว ผู้คิดอุบายให้โจโฉในการจับตัวลิโป้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันเต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ตันเซ็ก

ตันเซ็ก (Chen Shi) เป็นขุนพลคนหนึ่งของเล่าปี่ มีความสนิทสนมกับอุยเอี๋ยนเป็นอย่างมาก เป็นอาลักษณ์ในพระเจ้าเล่าเสี้ยนและเป็นพ่อของตันซิ่วผู้เขียนสามก๊กจี่(ซานกว๋อจื้อ)หรือจดหมายเหตุสามก๊กในยุคราชวงศ์จิ้น รัชสมัยพระเจ้าสุมาเอี๋ยน ตันเซ็กเป็นททารในสังกัดของฮองตงในศึกที่รบกับแฮหัวเอี๋ยนที่เขาเตงกุนสัน ตันเซ็กออกรบถูกแฮหัวซงหลานของแฮหัวเอี๋ยนจับได้ ต่อมาฮองตงออกรบจับตัวแฮหัวซงได้ แฮหัวเอี๋ยนได้เจรจาขอแลกตัวเชลยโดยให้ฮองตงนำแฮหัวซงมาแลกกับตันเซ็ก ตันเซ็กได้กลับเข้ากองทัพของตน ส่วนแฮหัวซงถูกฮองตงยิงเกาทัณฑ์เสียชีวิต ทำให้แฮหัวเอี๋ยนโกรธมากรบกับฮองตงจนในที่สุดแฮหัวเอี๋ยนก็ถูกฮองตงฆ่าตาย เมื่อขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กครั้งที่ 4 ขงเบ้งได้ให้อุยเอี๋ยนกับตันเซ็ก ไปตีโจจิ๋นที่รักษาด่านจำก๊ก แต่ทั้งสองไม่เชื่อฟัง อุยเอี๋ยนจึงให้ตันเซ็กไปตีด่านกิก๊กที่สุมาอี้รักษาอยู่แทน ตันเซ็กจึงถูกสุมาอี้ตีแตกพ่าย โชคดีที่อุยเอี๋ยนมาช่วยได้ทัน เมื่อกลับถึงค่าย ขงเบ้งได้พิจาณาโทษให้ตันเซ็กถูกประหาร ส่วนอุยเอี๋ยนยีงไว้ชีวิตเพราะเห็นว่ายังมีประโยชน์อยู่ หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตันเซ็ก · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งห้อง

ตั๋งห้อง (Dong Huang เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรของตั๋งจ้อ พี่ชายตั๋งโต๊ะ เมื่อลิโป้สังหารตั๋งโต๊ะ ตั๋งห้องก็ได้ถูกจับประหารด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตั๋งห้อง · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ต้านท่าย

ต้านท่าย (Chen Tai, ? — ค.ศ. 260) ชื่อรองว่า เซฺวียนป๋อ (Xuanbo) เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก ต้านท่ายเป็นบุตรชายของ ตันกุ๋น (Chen Qun) ที่ปรึกษาของ โจโฉ และเป็นหลานตาของ ซุนฮก (Xun Yu) ที่ปรึกษาอีกคนหนึ่งของโจโฉเพราะตันกุ๋นแต่งงานกับบุตรสาวของซุนฮก เมื่อตันกุ๋นผู้เป็นบิดาซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอาลักษณ์ถึงแก่กรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและต้านท่าย · ดูเพิ่มเติม »

ต๋วนกุย

ต๋วนกุย (Duan Gui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อโฮจิ๋นถูกสิบขันทีสังหาร โจโฉและอ้วนเสี้ยว ลูกน้องของโฮจิ๋นจึงได้นำกำลังทหารกำจัดขันที เตียวเหยียงและต๋วนกุยได้จับพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้และตันลิวอ๋องหนีออกนอกเมือง ต่อมาเห็นว่าจวนตัวจึงทิ้งพระเจ้าเซ่าตี้และตันลิวอ๋อง แล้วหนีไปคนละทิศละทาง ต๋วนกุยหนีจนไปพบกองทัพบินของซึ่งกำลังตามพระเจาเซ่าตี้ บินของเห็นต๋วนกุยจึงถามว่าฮ่องเต้และพระอนุชาอยู่ที่ไหน ต๋วนกุยบอกว่าตนได้ปล่อยทิ้งในป่าแล้ว บินของจึงสังหารต๋วนกุยเสี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและต๋วนกุย · ดูเพิ่มเติม »

ซัวหยง

ซัวหยง ยีหลง หรือ ซัวแก (Cai Yong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นชาวเมืองตันลิว รับราชการในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีบุตรสาวชื่อ ไซ่เหวินจี ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ ขันทีกุมอำนาจการบริหารราชการ ทำให้อาณาประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อนจากการโกงกินของเหล่าขันที บ้านเมืองในยุคนั้นเกิดอาเพศต่างๆมากมาย ซัวหยงได้เขียนจดหมายลับถวายแด่พระเจ้าเลนเต้มีใจความว่า ที่แผ่นดินเกิดอาเพศเป็นเพราะขันทีทั้งสิบกระทำการอันมิชอบ สิบขันทีจึงหาเหตุใส่ร้ายซัวหยง และยุยงพระเจ้าเลนเต้ให้ปลดซัวหยงออกจากราชการ ออกไปอยู่บ้านนอก ต่อมา ตั๋งโต๊ะได้ขึ้นมามีอำนาจในวังหลวง ตั๋งโต๊ะได้บังคับให้ซัวหยงกลับมารับราชการ มิฉะนั้นจะฆ่าเสีย แล้วตั้งให้เป็นสมุหพระราชวัง เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้สังหาร ซัวหยงเป็นขุนนางเพียงคนเดียวที่ไปร้องไห้หน้าศพของตั๋งโต๊ะ อ้องอุ้นโกรธจึงสั่งให้ทหารนำตัวซัวหยงไปทรมานจนต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซัวหยง · ดูเพิ่มเติม »

ซัวเอี๋ยม

ซัวเอี๋ยม มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าไช่ เหยี่ยน (วันเกิดวันตายไม่ปรากฏ) ชื่อรองว่า เหวินจี (文姬) เป็นที่รู้จักในชื่อ ไช่ เหวินจี (蔡文姬) เป็นกวีและคีตกวีหญิงชาวจีนซึ่งมีชีวิตอยู่ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นธิดาของซัวหยง (蔡邕 ไช่ ยง) เดิมนางมีชื่อรองว่า เจาจี (昭姫) แต่เปลี่ยนเป็น เหวินจี ในช่วงราชวงศ์จิ้น เพราะอักษร "เจา" พ้องกับชื่อของซือหม่า เจาหรือสุมาเจียว (司馬昭) บิดาของสุมาเอี๋ยน (司馬炎 ซือหม่า เหยียน) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จิ้น ในช่วงหนึ่งของชีวิต นางถูกชาวซฺยงหนูจับเป็นเชลย และอยู่กับชนเหล่านั้นจนกระทั่ง..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซัวเอี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

ซิหลง

ซิหลง มีชื่อรองว่า กงหมิง เป็นชาวตำบลหยางจวิ้น เมืองเหอตง มณฑลซานซี เกิดในปี..168 เป็นแม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ใช้ขวานใหญ่เป็นอาวุธ เดิมอยู่รับใช้เอียวฮอง เมื่อโจโฉปะทะกับเอียวฮองและหันเซียม ได้ให้เคาทูออกไปรบ เอียวฮองสั่งให้ซิหลงไปสู้ โจโฉเห็นพลังของซิหลง จึงอยากได้มาเป็นขุนพล ต่อมาถูกหมันทองเกลี้ยกล่อมให้อยู่ด้วยโจโฉ โจโฉตั้งให้เป็นนายพัน ซิหลงออกศึกสำคัญให้โจโฉหลายครั้ง ครั้งใหญ่สุดคือการรบกับกวนอูที่เมืองอ้วนเซีย สู้กันถึง 80 เพลง จนกวนอูต้องล่าถอย ชัยชนะครั้งนั้นทำให้ได้เลื่อนขึ้นเป็นนายพล ส่วนเรื่องการตายของเขา บางคนกล่าวไว้ว่า ซิหลงยกทัพพร้อมกับ สุมาอี้ ไปปราบเบ้งตัด ซิหลงถูกเบ้งตัดยิงเกาทัณฑ์โดนหน้าผากเสียชีวิตเมื่อปี..227 ขณะอายุได้ 59 ปี แต่สิ่งที่บางคนกล่าวคือ ซิหลง ป่วยหนักจนเสียชีวิตต่างหาก...

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซิหลง · ดูเพิ่มเติม »

ซินผี

ซินผี (?-?) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงใน ยุคสามก๊ก โดยเป็นที่ปรึกษาของ วุยก๊ก แต่เดิมซินผีเป็นที่ปรึกษาให้กับ อ้วนเสี้ยว ขุนศึกผู้ทรงอิทธิพลทางภาคเหนือแต่หลังจากอ้วนเสี้ยว พ่ายแพ้ต่อ โจโฉ ใน ศึกกัวต๋อ เมื่อปี ค.ศ. 200 ซินผีจึงได้ย้ายมาเป็นที่ปรึกษาให้กับวุยก๊กโดยเป็นที่ปรึก ษาของ โจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของ โจโฉ และจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของ ราชวงศ์วุย คือ พระเจ้าโจยอย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:สามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซินผี · ดูเพิ่มเติม »

ซินเป๋ง

ซินเป๋ง (Xin Ping, ? – ค.ศ. 204) ชื่อรองว่า จงจื่อ เป็นเสนาธิการของ อ้วนเสี้ยว ซินเป๋งแต่เดิมรับใช้ ฮันฮก เจ้าเมืองกิจิ๋วเมื่อฮันฮกถึงแก่กรรมจึงได้มารับใช้อ้วนเสี้ยวโดยทำหน้าที่เป็นปรึกษาให้กับ อ้วนถำ บุตรชายคนโตของอ้วนเสี้ยวต่อมาเมื่ออ้วนเสี้ยวกระอักเลือดตายภายหลัง ยุทธการที่กัวต๋อ โจโฉ ได้ชักชวนให้มารับใช้แต่ซินเป๋งได้ปฏิเสธไปขณะที่ ซินผี ผู้เป็นน้องชายกลับไปรับใช้โจโฉแทนส่วนซินเป๋งยังคงรับใช้อ้วนถำจนถึงแก่กรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซินเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนหลิม

ซุนหลิม (Sun Chen, ค.ศ. 231 – ค.ศ. 258) ชื่อรองว่า จื่อถง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งง่อก๊กในรัชสมัย พระเจ้าซุนเหลียง – พระเจ้าซุนฮิว ซุนหลิมเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนหลิม · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮก

ซุนฮก (Xun Yu; 荀彧) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยว แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวใช้คนไม่เป็น จึงมาอยู่รับใช้โจโฉ คอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่โจโฉยังเริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้เป็นมหาอุปราชแห่งองค์ฮ่องเต้ ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนโจโฉสามารถรวบรวมส่วนหนึ่งของจีนได้สำเร็จ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยก๋ง แต่ซุนฮกไม่เห็นด้วย เพราะซุนฮกสำนึกว่าตนต้องจงรักภักดีต่อราชวงศ์ฮั่น จึงคัดค้านโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจ ปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนฮก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮิว (วุยก๊ก)

ซุนฮิว (Xun You) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เป็นหลานอาของซุนฮก เข้ารับราชการกับโจโฉพร้อมกับซุนฮกผู้อา มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อโจโฉเสมอ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยอ๋อง (ขณะนั้นโจโฉดำรงตำแหน่งวุยก๋ง) ซุนฮิวคัดค้านการตั้งตนเป็นอ๋องของโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจและพูดจาต่อว่าทำให้ซุนฮิว พอกลับถึงบ้านซุนฮิวจึงป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา หมวดหมู่:วุยก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนฮิว (วุยก๊ก) · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮิว (แก้ความกำกวม)

ซุนฮิว เป็นบุคคลในยุคสามก๊ก อาจหมายถึง ถุ้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนฮิว (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮูหยิน

ซุนฮูหยิน หรือเดิมชื่อ ซุนซ่างเซียง เป็นธิดาเพียงคนเดียวของซุนเกี๋ยนและนางง่อก๊กไท่ เป็นพระราชกนิษฐาต่างพระมารดาของพระเจ้าซุนกวน เมื่อยังเยาว์วัยชอบฝึกฝนอาวุธ เป็นลูกสาวที่ง่อก๊กไท่ไทเฮารักมาก เมื่อจิวยี่คิดยึดเมืองเกงจิ๋ว ได้คิดอุบายลวงเล่าปี่มาแต่งงานกับซุนฮูหยินและจับเล่าปี่เป็นตัวประกันแลกกับเกงจิ๋ว แต่ขงเบ้งแก้ลำจิวยี่ได้ เล่าปี่จึงได้นางซุนฮูหยินนเป็นภรรยา ตัวเล่าปี่เองก็ไม่ต้องถูกจับ เกงจิ๋วก็ปลอดภัย ทั้งจิวยี่ก็กระอักเลือดด้วยความแค้นจนสลบไป ต่อมา เล่าปี่ไปตีเสฉวนโดยทิ้งนางซุนฮูหยินไว้ที่เกงจิ๋ว ซุนกวนใช้จิวเสี้ยนไปลวงนางซุนฮูหยินว่าแม่ป่วยหนักมาก ให้กลับกังตั๋งไปเยี่ยมแม่และให้เอาอาเต๊าบุตรชายของเล่าปี่ไปด้วย ซุนฮูหยินจึงพาอาเต๊าขึ้นเรือไปกังตั๋ง แต่จูล่งและเตียวหุยมานำตัวอาเต๊าคืน นางซุนฮูหยินจึงเดินทางไปกังตั๋งเพียงผู้เดียว ต่อมาจึงรู้ภายหลังว่าถูกหลอก พระเจ้าซุนกวนได้สั่งให้กักตัวนางไว้ ต่อมา พระเจ้าเล่าปี่สวรรคต พระนางซุนฮูหยินรู้ข่าวจึงเสียพระทัยเป็นอันมาก พระนางจึงกระโดดน้ำสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าเล่าปี่ไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนจุ๋น

ซุนจุ๋น (ค.ศ. 219 — ค.ศ. 256) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชสมัย พระเจ้าซุนเหลียง จักรพรรดิองค์ที่ 2 และ พระเจ้าซุนฮิว จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่ง ราชวงศ์ง่อ ในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก ซุนจุ๋นเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนจุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ซุนของ

ซุนของ (Sun Kuang, ? – ?) ชื่อรอง Jizuo พระราชอนุชาของ พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ง่อ, ขุนศึกผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนของ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโห

ซุนโห (Sun He, ค.ศ. 224 — ค.ศ. 253) มีพระนามรองว่า จื่อเซี่ยว เป็นรัชทายาทองค์ที่ 2 แห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซุนโหประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนโห · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโฮ

ซุนโฮ (Sun Hao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ที่เป็นทรราชย์มากที่สุดผู้หนึ่งจนอาณาจักรล่มสลาย เป็นราชโอรสในพระเจ้าซุนเหลียง ราชโอรสในพระเจ้าซุนกวน ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยนหลังจากที่กลืนจ๊กก๊กไปแล้ว ก็หมายจะถล่มง่อก๊ก พระเจ้าซุนฮิวตกพระทัยจนประชวรและสิ้นพระชนม์ลง บรรดาขุนนางง่อก๊กครั้นเมื่อถวายพระศพพระเจ้าซุนฮิวเสร็จแล้ว ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรเชิญซุนเปียน ราชบุตรขึ้นครองราชย์สืบไปตามประเพณี แต่บั้นเฮ็กและเตียวเป๋าขุนนางผู้ใหญ่ คัดค้านเพราะมีความเห็นว่า ถ้าเป็นซุนเปียนเกรงว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรทูลเชิญซุนโฮ ผู้เป็นราชนัดดาในพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์จะสมกว่า เพราะมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่า จึงมีพิธีราชาภิเษกขึ้นในวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเก้า เมื่อได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าซุนโฮก็สถาปนาซุนเปียนเป็นเจ้าเจี๋ยงอ๋อง ให้ขุนพลเตงฮองเป็นต้ายสุมา จากนั้นก็ทรงมีพฤติกรรมวิปริต มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงฟังแต่คำของยิมหุน ขันทีในวัง เอียงเหียงและเตียวเป๋าได้เข้าไปทูลห้ามเตือนหลายต่อหลายครั้ง พร้อมกล่าวว่า ถ้าพระองค์ขืนประพฤติองค์เช่นนี้ ไม่ช้าแผ่นดินนี้จะต้องตกเป็นของสุมาเอี๋ยนอย่างแน่นอน พระเจ้าซุนโฮกริ้ว จึงสั่งให้ประหารขุนนางทั้งสอง จากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเพ็ดทูลห้ามปรามอีกเลย วันหนึ่ง พระเจ้าซุนโฮแปรพระราชฐานจากกังตั๋ง ไปประทับอยู่ยังเมืองบู๊เฉียง ก็ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ในการสร้างพระราชวังแห่งใหม่อย่างฟุ่มเฟื่อย จากการขูดรีดภาษีราษฎร พร้อมเสพสมกามากับเด็กสาววัยรุ่นมากมาย ต่อมาได้ทรงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตา โหรทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้า พระเกียรติยศจะขจรขจายไปถึงลกเอี๋ยง พระเจ้าสุมาเอี๋ยนต้องมาสยบกับแทบพระบาท พระเจ้าซุนโฮดีพระทัยนัก จึงฮึกเหิมหมายจะบุกตีนครลกเอี๋ยง จึงเรียกบรรดาขุนนางมาประชุมถึงการบุกไปตีลกเอี๋ยง หอกหยก ขุนนางคนหนึ่งจึงทูลคัดค้านไปพร้อมกับสั่งสอนพระองค์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงราษฎร บ้านเมืองจะดีกว่า พระเจ้าซุนโฮทรงกริ้วไล่หอกหยกออกจากราชการ พร้อมกับดึงดันแต่งตั้งให้ลกข้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพไปประชิดเมืองซงหยง ปากทางเข้าอาณาจักรไต้จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยน จึงมีบัญชาให้เอียวเก๋า เจ้าเมืองซงหยงตั้งพร้อมเตรียมรับศึก เอียวเก๋าเป็นผู้มีเมตตาธรรม ไม่ชอบออกทัพจับศึก จึงคิดผูกไมตรีกับลกข้อง ท้ายที่สุดลกข้องก็ปลาบปลื้มในน้ำใจเอียวเก๋า มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนโฮว่า ทางฝ่ายนี้มิได้คิดร้ายขออย่าได้สู้รบกันเลย พระเจ้าซุนโอก็กริ้ว สั่งปลดลกข้องออกจากตำแหน่ง และยกให้ซุนอี้เป็นแม่ทัพแทน ในเวลานั้น ขุนนางคนใดไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ก็จะถูกปลดหรือถูกประหารชีวิตไปหมดสิ้น ทางฝ่ายเอียวเก๋า เมื่อทราบว่าลกข้องถูกปลดออกจากแม่ทัพใหญ่แล้ว มีหนังสือทูลไปยังพระเจ้าสุมาเอี๋ยน เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะบุกตีง่อก๊ก แต่กาอุ้นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เอียวเก๋าจึงเดินทางกลับลกเอี๋ยง และลาออกจากราชการ ไปพักอาศัยอยู่ยังบ้านเดิม จนกระทั่งสิ้นชีวิต ก่อนสิ้นชีวิตเอียวเก๋าได้กราบทูลว่า บัดนี้เห็นควรแต่งตั้ง เตาอี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ทำการนี้แทน ท้ายที่สุดเตาอี้ก็สามารถเอาชนะง่อก๊กได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 823 แผ่นดินจีนจึงควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หลังจากแตกแยกเป็นสามก๊กนานถึง 60 ปี สำหรับ พระเจ้าซุนโฮ ทอดพระเนตรความพ่ายแพ้ของอาณาจักรพระองค์เองบนกำแพงเมือง และได้ทรงยอมแพ้ ถวายบรรณาการแด่พระเจ้าสุมาเอี๋ยน พระเจ้าสุมาเอี๋ยนก็แต่งตั้งให้เป็นอุ้ยเบ้งเฮา ขุนนางง่อก๊กทั้งหลายก็แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกันไป เป็นอันอวสานของอาณาจักรง่อ หรือ อู๋ ที่ดำรงมานานกว่า 58 ปี (พ.ศ. 765- พ.ศ. 823) หลังจากนั้นอีกต่อมา 4 ปี พระเจ้าซุนโฮก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 43 พรรษา ครองราชย์ได้ 12 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนโฮ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกียว

ซุนเกียว (Sun Jiao, ? — ค.ศ. 219) มีชื่อรองว่า ซู้หล่าง (Shulang) เป็นขุนศึกแห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซุนเกียวเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ ซุนเจ้ง (Sun Jing) น้องชายของ ซุนเกี๋ยน (Sun Jian) ผู้ก่อตั้งง่อก๊กจึงมีศักดิ์เป็นพระภาติยะ (ลูกพี่ลูกน้อง) กับ พระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ง่อ เมื่อคราวที่ซุนกวนมีความประสงค์ที่จะยึดคืนเกงจิ๋ว (Jing Province) จาก จ๊กก๊ก พร้อมกับจับตัว กวนอู ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกี๋ยน

ระเจ้าซุนเกี๋ยน (Sun Jian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น ซุนเกี๋ยนไต่เต้าจากตำแหน่งขุนนางต่ำต้อยจนเป็นเจ้าเมืองเตียงสา เข้าร่วมกับกองทัพ 18 หัวเมืองตะวันออกต้านตั๋งโต๊ะในฐานะลูกน้องของอ้วนสุด สามารถเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะจนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "พยัคฆ์แดนใต้" และกำลังจะยึดเมืองลกเอี๋ยง แต่อ้วนสุดเกิดอิจฉาริษยาที่ซุนเกี๋ยนได้ชัยชนะและถ้าหากยึดเมืองลกเอี๋ยงได้ ซุนเกี๋ยนก็จะได้รับความดีความชอบไป จึงตัดสินใจแกล้งไม่ส่งเสบียงให้แก่ทัพของซุนเกี๋ยน จนในที่สุดซุนเกี๋ยนรบพ่ายแพ้และไปเอาเรื่องกับอ้วนสุด แต่อ้วนสุดกลับเอาตัวรอดได้ด้วยการโยนความผิดและประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ส่งเสบียงไป ต่อมาหลังจากตั๋งโต๊ะเผาเมืองหนีไปยังเตียงฮัน ซุนเกี๋ยนลาดตระเวณทั่วเมืองจนกระทั่งได้พบกับตราหยกแผ่นดินโดยบังเอิญในศพหญิงรับใช้ในวังที่กระโดดบ่อน้ำตาย ลูกน้องและคนของซุนเกี๋ยนจึงสรรเสริญว่า ซุนเกี๋ยนเป็นผู้มีบุญต่อไปจะได้เป็นฮ่องเต้ ทำให้ซุนเกี๋ยนตัดสินใจออกจากกองทัพ 18 หัวเมืองเพื่อไปตั้งตนเป็นใหญ่แต่อ้วนเสี้ยวรู้เข้าจึงบีบให้ส่งตราหยกมา แต่ซุนเกี๋ยนกลับไม่ยอมให้และตีจากไป อ้วนเสี้ยวได้ส่งเล่าเปียวไปชิงตราหยกกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นซุนเกี๋ยนและเล่าเปียวก็เป็นศัตรูกัน เวลาต่อมาซุนเกี๋ยนได้คิดที่จะสถาปนาเมืองกังตั๋งให้ขึ้นมาเข้มแข็งบ้าง ซึ่งต่อมาถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการตั้งตัวของง่อก๊ก โดยซุนเซ็กและซุนกวน บุตรชายทั้ง 2 หลังจากนั้นอ้วนสุดมีคำสั่งให้ซุนเกี๋ยนโจมตีเมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว แต่ซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบในระหว่างไล่โจมตีหองจอ ลูกน้องของเล่าเปียว ภายหลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ แล้วทรงสถาปนาตำแหน่งซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นจักรพรรดิด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเกี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเสียว

ซุนเสียว (Sun Shao; 741 — 784) บุตรบุญธรรมของซุนเซ็ก พ่อของเขาเป็นพี่ชายของซุนเหอ ซุนเซ็กรักเขามากและรับอุปการะเขาเป็นบุตรบุญธรรม ซุนเสียวรับช่วงอำนาจต่อจากซุนเหอ หลังจากซุนเหอโดนลอบสังหาร ซุนกวนประทับใจในความสามารถของเขามาก ในศึกที่โจผีบุกมาตีง่อ ซุนเสียวซุ่มโจมตีทัพของโจผี ทำให้ทัพโจผีแตกพ่ายและสูญเสียทหารมากมายรวมทั้งแม่ทัพชั้นยอดอย่างเตียวเลี้ยว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเสียว · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเหลียง

พระเจ้าซุนเหลียง เป็นพระราชโอรสองค์เล็กในพระเจ้าซุนกวนและครองราชย์ต่อจากซุนกวน ตอนแรกอำนาจตกอยู่กับจูกัดเก๊กจึงให้ซุนจุ้นจัดการสังหารจูกัดเก๊กเสีย เมื่อซุนจุ้นเสียชีวิตอำนาจก็ตกอยู่กับซุนหลิมจึงตั้งใจจะสังหารซุนหลิมเสียแต่ซุนหลิมจับได้เสียก่อนจึงบังคับให้สละราชสมบัติและให้ซุนฮิวโอรสองค์ที่หกของพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์แทนและให้พระเจ้าซุนเหลียงเป็นอ๋อง ต่อมาถูกลดตำแหน่งเป็นพระยาและเนรเทศไปที่ชายแดนจึงตรอมใจและฆ่าตัวตาย หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จักรพรรดิในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเขียน

ซุนเขียน (Sun Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเสนาธิการคนสำคัญของจ๊กก๊ก เดิมรับราชการอยู่กับโตเกี๋ยม เมื่อโตเกี๋ยมใกล้ตาย ได้ฝากฝังเมืองชีจิ๋วให้กับเล่าปี่ และแนะนำซุนเขียนให้คอยช่วยเหลือเล่าปี่ในการปกครอง ซุนเขียนได้รับใช้ติดตามเล่าปี่มาเป็นเวลาช้านาน เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญในช่วงก่อร่างสร้างตัวของเล่าปี่ เป็นคนที่แนะนำให้เล่าปี่ไปพึ่งเล่าเปียว เมื่อคราวแตกทัพหนีโจโฉ และเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ทูตให้เล่าปี่หลายครั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเต๋ง

ซุนเต๋ง (Sun Deng, ค.ศ. 209 — ค.ศ. 241) มีพระนามรองว่า จื่อเกา (Zhigao) เป็นรัชทายาทแห่ง ง่อก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซุนเต๋งประสูติเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเซ็ก

ระเจ้าซุนเซ็ก (จีนตัวเต็ม: 孫策 จีนตัวย่อ: 孙策 พินอิน: Sūn Cè สำเนียงจีนกลาง ซุนฉี) หรือ เตียงสาหวนอ๋อง (長沙桓王) ค.ศ. 174–ค.ศ. 200 เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กของประเทศจีน ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของซุนเกี๋ยน ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับอ้วนสุด และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับจิวยี่เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง ซุนเซ็กเป็นนักรบที่มีจิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวใคร จนได้ฉายาว่า "ฌ้อปาอ๋องน้อย" นับถือและชอบคบหากับผู้มีความสามารถ มีอุปนิสัยใช้คนอย่างไม่สงสัย ถ้าสงสัยไม่ใช้ สามารถเอาชนะใจไทสูจู้ด้วยการสู้รบกันตัวต่อตัวเป็นเวลานาน ซุนเซ็กมักไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทหารติดตาม จึงถูกปองร้ายด้วยเกาทันฑ์อาบยาพิษ โดยหมอบอกว่าห้ามโกรธเป็นเวลาร้อยวัน แต่สุดท้ายซุนเซ็กก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยอายุเพียง 26 ปี ภายหลังซุนกวนน้องชายคนรอง ได้ขึ้นปกครองแทนกลายเป็นผู้นำของง่อก๊ก ซึ่งก่อนเสียซุนเซ็กได้สั่งเสียซุนกวนว่า "การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่" ภรรยาของซุนเซ็กคือ นางไต้เกี้ยวธิดาของเกี้ยวกงผู้เฒ่าแห่งเมืองกังตั๋ง พี่สาวของนางเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่ หลังสิ้นพระชนม์พระเจ้าซุนกวนทรงสถาปนาตำแหน่งให้ซุนเซ็กผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซุนเซ็ก · ดูเพิ่มเติม »

ซีหอง

ซีหอง (Xue Zong) เป็นที่ปรึกษาคนหนึ่งของซุนกวน เคยเจรจาโต้ตอบกับขงเบ้ง เมื่อโจโฉยกทัพใหญ่มาจะตีกังตั๋ง โลซกมาในนามของซุนกวนได้ยืมตัวขงเบ้งจากเล่าปี่เพื่อปรึกษาการศึก ฝ่ายโจโฉได้ส่งหนังสือถึงซุนกวนให้สวามิภักดิ์ มิฉะนั้นจะเข้ายึดกังตั๋ง เตียวเจียวและที่ปรึกษาคนอื่นๆ รวมทั้งซีหอง ได้แนะนำให้ซุนกวนยอมแพ้ แต่โลซกแนะนำเชิญให้ขงเบ้งมาให้คำแนะนำ ซุนกวนจึงให้โลซกเชิญมา โลซกได้พาขงเบ้งมาในที่ประชุมขุนนาง ระหว่างที่รอซุนกวน ขงเบ้งได้เจรจาโต้ตอบกับเตียวเจียว ยีหวน และโปเจ๋าที่โน้มน้าวให้ขงเบ้งแนะนำซุนกวนให้ยอมแพ้ แต่ขงเบ้งก็โต้กลับจนทำให้ทั้งสามเงียบไป ซีหองจึงลุกขึ้นพูดบ้างว่า ท่านรู้หรือไม่ว่าโจโฉเป็นใคร ขงเบ้งตอบว่า โจโฉเป็นโจรราชสมบัติ ท่านจะถามไปไย ซีหองโต้กลับว่า ท่านพูดแบบนี้ก็ไม่ควร บัดนี้ โจโฉมีอำนาจในแผ่นดิน 2 ใน 3 ส่วนแล้ว หากท่านคิดแข็งขืน ก็เหมือนเอาไข่ไปกระทบหิน หาประโยชน์มิได้เลย ขงเบ้งจึงต่อว่าซีหองว่ามิได้กตัญญูต่อแผ่นดิน และได้กล่าวเหตุผลอีกหลายประการจนซีหองเงียบไป จากนั้น ลกเจ๊ก เหยียมจุ้น และเทียตก ก็ได้เจรจาก็ขงเบ้งบ้าง แต่ขงเบ้งก็ตอบด้วยเหตุผลได้ทุกครั้งไป หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซีหอง · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ๋ง

รูปซีเอ๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ซีเอ๋ง (Xu Rong) เป็นนายทหารของตั๋งโต๊ะ มีบทบาทในช่วงสั้นๆ ในตอนที่ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวง โจโฉได้รวบรวมกองทัพพันธมิตรขึ้นมา เพื่อโค่นอำนาจตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะกลัวจึงย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงไปอยู่ที่เตียงฮัน แต่ลิยูได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า กองทัพพันธมิตรต้องตีท้ายทัพ จึงให้ซีเอ๋งนำกองกำลังส่วนหนึ้งไปซุ่มที่ซิงหยาง แล้วก็เป็นดังที่ลิยูคาด โจโฉตีท้ายทัพของตั๋งโต๊ะ ลิโป้จึงยกทัพมาสกัดไว้ ด้วยกำลังที่น้อยกว่าทำให้โจโฉต้องถอยทัพกลับ ระหว่างที่เดินทัพมาถึงซิงหยาง ซีเอ๋งที่ซุ่มอยู่จึงเข้าโจมตีกองทัพของโจโฉทันที โจโฉหนีหัวซุกหัวซุน ซีเอ๋งยิงเกาทัณฑ์ถูกไหล่ของโจโฉ ส่วนม้าก็ถูกทหารของซีเอ๋งใช้หอกแทงล้มลง โจโฉเกือบถูกทหารจับได้ ยังดีที่โจหองมาช่วยไว้ แล้วพาโจโฉหนีไป กองทัพซีเอ๋งจึงยกทัพตามโจโฉและโจหองไปจนเกือบใกล้ถึงตัวทั้งสองแล้ว แต่แฮหัวตุ้นและแฮหัวเอี๋ยนได้นำทัพมาช่วยโจโฉ ซีเอ๋งเข้าประลองทวนกับแฮหัวตุ้น ในที่สุดก็ตายด้วยน้ำมือแฮหัวตุ้น หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซีเอ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ซงเหียน

ซงเหียน เป็นทหารของลิโป้ ต่อมาได้หักหลังลิโป้ และไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ซงเหียนถูกสังหารเมื่อครั้งรบกับงันเหลียง ทหารเอกของอ้วนเสี้ยว หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและซงเหียน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปอเฉียม

ปอเฉียม (Fu Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ปอเฉียม หรือ หูเหยียม เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊ก เป็นบุตรชายของเปาเตียวที่มีฝีมือในเชิงยุทธ์ ร่วมทำศึกสงครามกับง่อก๊กและวุยก๊กหลายต่อหลายครั้ง โดยศึกสุดท้ายได้รักษาด่านแฮบังก๋วน ร่วมกับเจียวสี ต่อต้านการบุกของจงโฮย แต่ เจียวสี เมื่อเห็น ปอเฉียม พลาดท่าถอยกลับเข้าด่าน ได้ปิดประตูด่านยอมแพ้แก่จงโฮย ทำให้ปอเฉียม ตายในที่รบนั้น ปอเฉียม ปอเฉียม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและปอเฉียม · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวหลิม

แฮหัวหลิม เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลแห่งวุยก๊กเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของแฮหัวตุ้นและเป็นพระสหายที่สนิทที่สุดของพระเจ้าโจผี ฮแหัวหลิม ฮแหัวหลิม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวหลิม · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวหุย

แฮหัวหุย (Xiahou Wei ? — ?) มีชื่อรองว่า จี้กวน เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวหุย · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวฮุย

แฮหัวฮุย (Xiahou Hui) มีชื่อรองว่า จื่อกวน (Zhiquan) เป็นขุนพลแห่ง วุยก๊ก แฮหัวฮุยเป็นบุตรชายคนที่ 6 ของ แฮหัวเอี๋ยน ขุนศึกคนสำคัญของ โจโฉ ผู้ก่อตั้งวุยก๊กมีความสามารถในการโต้วาทีตั้งแต่เด็กได้รับตำแหน่ง จอมพลแห่งวุยก๊ก ร่วมกับ แฮหัวโฮ (Xiahou He) ผู้เป็นพี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวฮุย · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวตุ้น

แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun) เป็นนายพลภายใต้ทัพวุยก๊กของโจโฉในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน แฮหัวตุ้นยังเป็นญาติกับโจโฉโดยแต่เดิมโจโฉนามสกุล "แฮหัว" แต่ได้เปลี่ยนตามพ่อบุญธรรมเป็นสามสกุล "โจ" แฮหัวตุ้นเป็นแม่ทัพมือขวาและยังเป็นลูกพี่ลูกน้องที่โจโฉให้ความไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง และเขาก็เป็นคนที่อยู่กับโจโฉมาตั้งแรกเริ่มที่โจโฉเริ่มก่อการจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเขาได้โจโฉขยายอำนาจในการต่อสู้กับ เล่าปี่ ซุนกวน และ ลิโป้ แฮหัวตุ้นสูญเสียดวงตาข้างซ้ายในศึกเสียวพ่าย ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวซง

แฮหัวซง (อังกฤษ:Xiahou Shang,จีนตัวเต็ม:夏侯尚,จีนตัวย่อ:夏侯尚)เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นหลานและบุตรบุญธรรมของแฮหัวเอี๋ยนได้ออกศึกในการต้านกองทัพเล่าปี่ที่นำโดยฮองตง ถูกเกาทัณฑ์ของฮองตงเสียชีวิต ฮแหัวซง ฮแหัวซง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวซง · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวป๋า

แฮหัวป๋า (Xiahou Ba) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของแฮหัวเอี๋ยน มีชื่อรองว่า ชงเฉวียน ห้าวหาญเหมือนบิดา ชำนาญการยิงเกาทัณฑ์บนหลังม้า เป็นที่รักของทหารในบังคับบัญชา แฮหัวป๋าออกศึกหลายครั้งในบังคับบัญชาของสุมาอี้ ภายหลังร่วมกับโจซองคิดโค่นอำนาจสุมาอี้เพื่อรักษาราชบัลลังก์โจฮอง แต่สุมาอี้ล่วงรู้แผนการจึงทำรัฐประหารยึดอำนาจโจซองและจับโจซองและพรรคพวกประหาร ส่วนแฮหัวป๋าหนีไปสวามิภักดิ์ต่อเกียงอุย แฮหัวป๋าได้ออกรบในบังคับบัญชาของเกียงอุยหลายครั้ง เกียงอุยขัดข้องสิ่งใดมักจะถามแฮหัวป๋า ในการรบชิงเมืองเตียงเจี๋ยง แฮหัวป๋าตกในอุบายทิ้งเมืองของเตงงาย จึงยกทัพเข้าไปในเมือง ทหารเตงงายได้ยิงเกาทัณฑ์ ทุ่มก้อนหินถูกแฮหัวป๋าเสียชีวิต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวป๋า · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวโฮ

แฮหัวโฮ (Xiahou He) ขุนศึกแห่งวุยก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก แฮหัวโฮเป็นบุตรชายของ แฮหัวเอี๋ยน ขุนศึกรุ่นก่อตั้งวุยก๊กมีความสามารถในการพูดใน การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง แฮหัวโฮเป็นรองแม่ทัพภายใต้การบังคับบัญชาของ สุมาอี้ ออกรบต่อสู้กับ จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวโฮ · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวเอี๋ยน

แฮหัวเอี๋ยน (Xiahou Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ชื่อรองเหมี่ยวฉาย เป็นน้องของแฮหัวตุ้น มีบุตรชายสี่คนคือแฮหัวป๋า แฮหัวหุย แฮหัวฮุยและแฮหัวโห สวามิภักดิ์กับโจโฉตั้งแต่ตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง เป็นแม่ทัพที่เก่งกล้าและเป็นคนที่โจโฉไว้ใจมากคนหนึ่ง ชำนาญการใช้ธนูอย่างมาก จึงได้ฉายาว่า จอมขมังธนูแห่งวุยก๊ก เมื่อเล่าปี่เตรียมทัพจะตีฮันต๋ง โจโฉได้ส่งแฮหัวเอี๋ยนไปรักษาที่เขาเตงกุนสันอันเป็นชัยภูมิสำคัญเปรียบเหมือนคอหอยของเมืองฮันต๋ง หากเสียเขาเตงกุนสันไปการยกทัพตีฮันต๋งก็จะง่ายดาย แฮหัวเอี๋ยนได้รบกับฮองตงแม่ทัพของเล่าปี่ และถูกสังหารในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวเทียน

แฮหัวเทียน (Xiahou Xuan, ค.ศ. 209 — ค.ศ. 254) มีชื่อรองว่า ไท่ฉู่ (Taichu) ขุนพลแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก แฮหัวเทียนเป็นบุตรชายของ แฮหัวซง (Xiahou Shang) พระญาติและพระสหายสนิทของ พระเจ้าโจผี (Cao Pi) และเป็นพี่ชายของ แฮหัวฮุย (Xiahou Hui) ภรรยาของ สุมาสู (Sima Shi) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งวุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวเทียน · ดูเพิ่มเติม »

แปะเฉีย

แปะเฉีย (Lu Boshe, ? — ค.ศ. 189 หรือ ค.ศ. 190) ตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก เป็นเพื่อนกับ โจโก๋ พ่อของ โจโฉ เมื่อโจโฉหนีการตามล่าจากทหารของ ตั๋งโต๊ะ แปะเฉียจึงให้ที่พักกับโจโฉ และ ตันก๋ง ที่ติดตามโจโฉมาด้วยแต่เพราะความโลภของบ่าวรับใช้ในบ้านที่ต้องการเงินค่าหัวจึงพยายามจะจับโจโฉและตันก๋งส่งเมืองหลวงแต่โจโฉรู้ทันและคิดว่าเป็นแผนของแปะเฉียจึงฆ่าบ่าวและคนในครอบครัวของแปะเฉียจนหมดสิ้นและเมื่อหนีออกมาได้พบกับแปะเฉียโจโฉจึงฆ่าแปะเฉียตายทำให้ตันก๋งไม่พอใจจึงได้แยกตัวออกไปในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแปะเฉีย · ดูเพิ่มเติม »

โกกัน

กกัน (Gao Gan, ? — ค.ศ. 206) ขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก โกกันเป็นหลานชายของ อ้วนเสี้ยว เมื่ออ้วนเสี้ยวได้ก่อตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองในการปราบตั๋งโต๊ะ (Coalition against Dong Zhuo) เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกกัน · ดูเพิ่มเติม »

โกลำ

กลำ (Gao Lan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เดิมเป็นนายทหารของอ้วนเสี้ยวเช่นเดียวกับเตียวคับในศึกกัวต๋อ เมื่อครั้งที่โจโฉนำกำลังทหารเข้าล้อมเผาเมืองอัวเจ๋า ซึ่งเป็นคลังเสบียงของอ้วนเสี้ยวจนวอดวาย อ้วนเสี้ยวจึงใช้แผนการของกัวเต๋าด้วยการส่งเตียวคับและโกลำให้ไปบุกโจมตีค่ายของโจโฉ แต่ถูกทัพของแฮหัวตุ้นตีแตกพ่าย หลังเตียวคับและโกลำแตกพ่ายยับเยิน กัวเต๋าเกรงกลัวความผิด จึงปัดความผิดให้พ้นตัวเองด้วยการใส่ร้ายโกลำและเตียวคับด้วยข้อหาการเป็นไส้ศึก สร้างความโกรธแค้นแก่อ้วนเสี้ยวเป็นอย่างมาก จึงคิดสั่งการให้ทหารจับตัวเตียวคับและโกลำมารับโทษทางวินัยทหาร แต่ทั้งสองคนหลบหนีไปได้จึงไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉในภายหลัง เมื่อครั้งเล่าปี่นำกำลังทหารบุกโจมตีเมืองฮูโต๋ แต่ต้องพ่ายแพ้แตกพ่ายยับเยินกลับจ๊กก๊ก โกลำนำกำลังทหารจำนวนมากติดตามเพื่อสังหารเล่าปี่ แต่ในขณะที่เล่าปี่เกือบพลาดท่าเสียทีโกลำที่ติดตามมาจนเกือบถึงตัว จูล่งได้เข้ามาช่วยไว้ได้ทัน และสังหารโกลำต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกลำ · ดูเพิ่มเติม »

โกะหยง

กะหยง (Gu Yong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เสนาธิการง่อก๊ก มีนิสัยตรงไปตรงมา ยึดมั่นในกฎระเบียบ เคร่งครัดเป็นนิสัย โกะหยงเป็นขุนนาง ที่บริหารบ้านเมืองได้ดีเยี่ยม ตำแหน่งสุดท้ายคือเฉิงเซี่ยง หรือตำแหน่งขุนนางยศสูงที่สุดของฝ่ายง่อ โดยโกะหยงเป็นเฉิงเสี่ยง คนที่สองต่อจากซุนเสียว โกะหยงตายเพราะถูกอาของตนวางยาพิษในอาหารด้วยความอิจฉ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกะหยง · ดูเพิ่มเติม »

โกซุ่น

โกซุ่น หรือ กอสุ้น (Gao Shun) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนพลของลิโป้ เป็นขุนพลกองหน้าให้ลิโป้หลายครั้ง ครั้งหนึ่ง ลิโป้ได้ให้โกซุ่นกับเตียวเลี้ยวล้อมเมืองเสียวพ่ายของเล่าปี่ไว้ โจโฉจึงส่งแฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน ลิเตียน ลิยอยไปช่วยเล่าปี่ โกซุ่นได้รบกับแฮหัวตุ้น และแกล้งแพ้ ให้โจเสงทหารคนสนิทยิงเกาทัณฑ์ถูกลูกตาของแฮหัวตุ้น แฮหัวตุ้นดึงเกาทัณฑ์ออกมาลูกตาได้ติดเกาทัณฑ์มาด้วยจึงกินลูกตานั้นไป และเข้าสังหารโจเสงทำให้ทหารโกซุ่นเสียขวัญ แต่โกซุ่นทำศึกชนะแฮหัวตุ้นได้ จนต้องยกทัพกลับ เมื่อโจโฉยึดเมืองแห้ฝือจับตัวลิโป้ได้ โกซุ่นได้ถูกนำตัวมาไต่สวนด้วย และถูกตัดสินให้ถูกประหาร หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกซุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โกเสียง

กเสียง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าเกาเสียง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพลของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกเสียง · ดูเพิ่มเติม »

โลติด

ลติด (Lu Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง อันได้แก่ โลติด ฮองฮูสง จูฮี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโลติด · ดูเพิ่มเติม »

โลซก

ลซก (Lu Su) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการของง่อก๊ก มีชื่อรองว่า จื้อจิง (ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อซุนกวนส่งตัวไปเกงจิ๋วเพื่อคาราวะศพเล่าเปียวที่เพิ่งเสียชีวิตไม่นาน ขณะนั้นเล่าปี่กำลังลำบากเนื่องจากหาเมืองอาศัยไม่ได้ เพราะถูกรุกรานอย่างหนักจากโจโฉ ขงเบ้งจึงว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้ความช่วยเหลือจากซุนกวน โดยจะชักชวนซุนกวนให้ร่วมรบกับโจโฉ อันเป็นที่มาของศึกเซ็กเพ็กอันลือลั่น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโลซก · ดูเพิ่มเติม »

โฮอั๋น

อั๋น (He Yan, ค.ศ. 195 — ค.ศ. 249) หรือ เหอหยัน มีชื่อรองว่า ผิงฉู่ (Pingshu) เป็นขุนนางและนักปราชญ์แห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก โฮอั๋นเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮอั๋น · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิ๋น

หอ จิ้น หรือสำเนียงแต้จิ๋วว่า โฮจิ๋น (เสียชีวิต 22 กันยายน ค.ศ. 189) มีชื่อรองว่าซุ่ยเกา เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นบุตรคนโตของนางบูยงกุ๋น เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮา ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าเลนเต้ เป็นผู้นำกองทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นได้ตั้งหองจูเปียนโอรสองค์โตของพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮาขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน และคิดกำจัด 10 ขันที และพวกขันทีรู้ตัวก่อนจึงลวงโฮจิ๋นไปฆ่า รูปโฮจิ๋นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โฮงี

งี (He Yi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก แต่เดิมเป็นหนึ่งในสมาชิกของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง ต่อมาภายหลังได้สวามิภักดิ์กับโจโฉ และได้หนีจากกองทัพโจโฉไปแต่ก็ถูกจับโดยเคาทูและถูกโจโฉสั่งประหาร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮงี · ดูเพิ่มเติม »

โฮเฮา

มเด็จพระจักรพรรดินีเหอ (Empress He (Ling)) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาในพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีพระเชษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือโฮจิ๋น ดำรงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ปรึกษา มีพระราชบุตรชื่อหองจูเปียน ภายหลังจากพระเจ้าฮั่นเลนเต้เสด็จสวรรคต โฮจิ๋นได้แต่งตั้งหองจูเปียนขึ้นเป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ โฮเฮาซึ่งเป็นพระมารดาจึงมีฐานะตามตำแหน่งเป็นไทเฮาแห่งราชวงศ์ฮั่น ต่อมาตั๋งโต๊ะสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ และควบคุมตัวหองจูเปียน โฮเฮาและพระสนมไปคุมขังและลอบสังหารด้วยการนำไปมัดจนถึงแก่ความตายในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮเฮา · ดูเพิ่มเติม »

โจมอ

พระเจ้าโจมอ (Cao Mao; พระราชนัดดาในพระเจ้าโจผี ทรงมีฐานันดรศักดิเป็นเกากุ้ยเซียงกงมีฉายาว่า เอี๋ยนซื้อ ครองอยู่ ณเมืองอ้วนเสีย เมื่อสุมาสูถอดพระเจ้าโจฮองออกจากราชสมบัติแล้ว ได้อัญเชิญพระเจ้าโจมอขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อไป เมื่อปี พ.ศ. 797(ค.ศ. 254) ต่อมาสุมาสูสิ้นชีพ สุมาเจียวได้ดำรงตำวแหน่งสมุหนายกกุมอำนาจไว้อีก พระเจ้าโจมออยู่ในราชสมบัตินาน 5 ปี มีความรู้สึกกดดันที่อยู่ภายใต้อำนาจสุมาเจียวจึงแต่งกลอนเพื่อระบายความในใจออกมาแต่กลอนนี้กับหลุดไปถึงหูสุมาเจียว ทำให้เกิดความโมโหจึงบุกเข้าไปด่าทอในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชบริพารและออกจากท้องพระโรงโดยไม่ทูลลา ทำให้พระเจ้าโจมอเกิดความพิโรธและทนการรุกรานของสุมาเจียวไม่ไหว จึงเตรียมการโค่นอำนาจของสุมาเจียวโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านขุนางที่จงรักภักดีเลย ยกทัพทหารประมาณ 300 เศษ จะไปจับสุมาเจียวจึงเกิดการปะทะกับกำลังของสุมาเจียว และถูกเซงเจ (เฉิงจี้) เอาง้าวแทงถูกพระอุระพลัดตกจากราชรถ แล้วเอาง้าวฟันซ้ำ พระเจ้าโจมอก็สิ้นพระชนม์ จโมอ จโมอ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจมอ · ดูเพิ่มเติม »

โจวจื่อ

วจื่อ (Zhou Zhi) ขุนศึกแห่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในช่วงหลัง ยุคสามก๊ก โจวจื่อมีบทบาทในสงคราม การพิชิตง่อก๊ก ภายใต้การบังคับบัญชาของ เตาอี้ (Du Yu) เมื่อโจวจื่อได้นำกองทัพเรือจำนวน 800 ลำเข้าโจมตีกองทัพเรือของง่อก๊กที่เมืองแฮเค้าจนแตกพ่ายไปพร้อมกับสังหารแม่ทัพของง่อก๊กถึง 2 คนคือ ซุนหลิม และ Shen Ying.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจวจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

โจสิด

(Cao Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775 บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจสิด · ดูเพิ่มเติม »

โจหยิน

หยิน (Cao Ren) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เป็นพี่ชายของโจหอง เป็นคนจิตใจกล้าหาญ อารมณ์ร้อนแรง เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย ชำนาญการพิชัยสงคราม เมื่อโจโฉป่าวประกาศระดมพลเพื่อกำจัดตั๋งโต๊ะ โจหองและโจหยินผู้พี่ได้คุมกำลังพันเศษมาเข้าร่วมกับโจโฉที่เมืองตันลิว นับแต่นั้นทั้งสองพี่พี่น้องก็ได้ร่วมมือกับโจโฉตั้งตนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจหยินได้รบให้โจโฉในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่หลายครั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจหยิน · ดูเพิ่มเติม »

โจหอง

หอง (Cao Hong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เป็นน้องชายของโจหยิน มีนิสัยกล้าหาญบ้าบิ่น มีความจงรักภักดี อารมณ์ร้อน เมื่อโจโฉป่าวประกาศระดมพลเพื่อกำจัดตั๋งโต๊ะ โจหองและโจหยินผู้พี่ได้คุมกำลังพันเศษมาเข้าร่วมกับโจโฉที่เมืองตันลิว นับแต่นั้นทั้งสองพี่พี่น้องก็ได้ร่วมมือกับโจโฉตั้งตนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจหองได้รบให้โจโฉในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่หลายครั้ง โจหองเคยช่วยชีวิตโจโฉมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก โจโฉตามตีท้ายทัพตั๋งโต๊ะ แต่เสียที ตัวโจโฉหลบหนี ซีเอ๋งทหารตั๋งโต๊ะยิงเกาทัณฑ์ถูกโจโฉได้รับบาดเจ็บและม้าของโจโฉถูกหอกของข้าศึกล้มลง โจหองได้มาช่วยชีวิตโจโฉไว้ได้ และขอให้โจโฉขึ้นมา แต่โจโฉปฏิเสธ โจหองจึงพูดไว้ว่า "แผ่นดินนี้โจหองตายไม่เป็นไร แต่ท่านตายไม่ได้" ก่อนจะพาหนีมาและพบกับซีเอ๋งที่ดักรออยู่ แต่ แฮหัวตุ้น และ แฮหัวเอี๋ยน สองนายทหารเอกเข้ามาช่วยทันและ แฮหัวตุ้น ก็สังหารซีเอ๋ง ณ ที่นั้น โจโฉจึงรอดตายได้อย่างหวุดหว...

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจหอง · ดูเพิ่มเติม »

โจหิม

โจหิม เป็นตัวละครในวรรรกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่สามของวุยอ๋อง (โจโฉ) มีพี่น้องคือ โจผี โจเจียง และ น้องคือโจสิด เมื่อโจหิมไม่ได้มาร่วมงานศพของโจโฉ โจผีจึงสั่งให้ทหารนำตัวโจหิมมาลงโทษ แต่โจหิมรู้ทันก่อน จึงผูกคอตาย ณ บ้านของตน จโหิม จโหิม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจหิม · ดูเพิ่มเติม »

โจหุ้น

หุ้น (Cao Xun, ค.ศ. 231 — ค.ศ. 244) องค์ชายจาก วุยก๊ก ใน ยุคสามก๊ก เป็นพระโอรสบุญธรรมองค์ใหญ่ใน พระเจ้าโจยอย จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งวุยก๊กและเป็นพระเชษฐาของ พระเจ้าโจฮอง จักรพรรดิองค์ที่ 3 พระเจ้าโจยอยได้สถาปนาโจหุ้นขึ้นเป็น เจ้าชายแห่งฉิน (Prince of Qin) เมื่อวันที่ 23 กันยายน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจหุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โจอั๋นบิ๋น

อันบิ๋น (Cao Anmin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นหลานอาของโจโฉ เป็นผู้แนะนำนางเจ๋าซือ อาสะใภ้ของเตียวสิ้ว ให้โจโฉ โจโฉจึงส่งคนไปรับตัวนางให้เป็นนางบำเรอ เป็นเหตุให้เตียวสิ้วโกรธโจโฉและก่อการกบฏต่อโจโฉ ถึงแม้โจโฉจะรอดชีวิตจากการรบ แต่โจอันบิ๋นได้เสียชีวิตในที่ร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจอั๋นบิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โจฮวน

ระเจ้าโจฮวน (Cáo Huàn) เป็นฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของวุย ก๊ก ซึ่งถูกสุมาเอี๋ยน (Sima Yan) ขับออกจากราชบังลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุยและเปลี่ยนชื่อก๊กจากวุยก๊กเป็นไต้จิ้น โจฮวน ตอนเกิดชื่อ โจฮวง (Cao Huang 曹璜) เป็นบุตรของโจฮู (Cao Yu) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 3 ของโจโฉกับนางฮวนฮูหยิน (บุตรคนโตของโจโฉกับนางฮวนฮูหยินคือโจฉอง ซึ่งได้ชื่อว่ามีสติปัญญาคิดวิธีชั่งน้ำหนักช้างได้ แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก) ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฮวน · ดูเพิ่มเติม »

โจฮอง

พระเจ้าโจฮอง (เฉาฟาง) เป็นพระราชโอรสเลี้ยงในพระเจ้าโจยอย มีฉายาว่าหลันชิง ไม่ทราบว่าเป็นบุตรใครมาแต่เดิม ขึ้นเสวยราชย์ต่อจากพระเจ้าโจยอยเมื่อพระชนมายุ 8 พรรษา โดยมีชื่อโจซอง บุตรโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าโจฮองทรงมีนิสัยดื้อด้าน มัวเมาแต่สุรานารี เมื่อเสวยราชย์ได้ 10 ปี สุมาอี้ทำรัฐประหารฆ่าโจซองเสีย แล้วตั้งตัวเป็นสมุหนายก คุมอำนาจไว้ทั้งหมด ครั้นสุมาอี้สิ้นชีพ สุมาสูยึดอำนาจสืบต่อไปและ รุกรานพระเจ้าโจฮองหนักมือขึ้น พระเจ้าโจฮองทรงพระราชดำริจะโค่นอำนาจของสุมาสู แต่สุมาสูจับแผนการได้ จึงถอดเสียราชบัลลังก์ตั้งให้เป็นฉีอ๋อง (ในสามก๊กไทยเรียกว่าเจอ่อง) ออกไปอยู่เสียหัวเมืองบ้านนอก อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 782 (ค.ศ. 239) ถึง พ.ศ. 797 (ค.ศ. 254) หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฮอง · ดูเพิ่มเติม »

โจฮิว

ว (อังกฤษ:Cao Xiu,จีนตัวเต็ม:曹休,จีนตัวย่อ:曹休; พ.ศ. 717-771) ขุนพลผู้รับใช้ โจโฉ โดยเขามีศักดิ์เป็นหลานของโจโฉ ต่อมาเมื่อโจโฉสิ้นชีพลงในปี..220 (พ.ศ. 763) เขาจึงรับใช้บุตรชายของโจโฉคือโจผีซึ่งต่อมาสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าโจผี ต่อมาเมื่อพระเจ้าโจผีบุกง่อก๊กในปี..222 (พ.ศ. 765) เขาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ในการพิชิตตะวันออก หลังจากพระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์ลงในปี..226 (พ.ศ. 769) เขาก็ยังรับใช้พระเจ้าโจยอยพระราชโอรสในพระเจ้าโจผีสืบต่อมาแต่รับราชการได้อีกเพียง 2 ปีก็ถึงแก่กรรมเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฮิว · ดูเพิ่มเติม »

โจฮู

ู (Cao Yu), ? —..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฮู · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

โจจิ๋น

๋น (Cao Zhen) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊ก เป็นญาติของโจโฉ มีชื่อรองว่าจื่อตัน ซื่อสัตย์สุจริต มีนิสัยกล้าหาญ และเหี้ยมโหด ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทหารในสนามรบอย่างใกล้ชิด บางครั้งค่าใช้จ่ายในกองทัพไม่พอ ก็เอาทรัพย์สินส่วนตัวออกจับจ่ายใช้สอย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ต้าซือหม่า (เสนาบดีว่าการกลาโหม).

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โจจู๋

ู๋ (Zuo Ci) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นชาวเมืองหลูเจียง (โลกั๋ง) มณฑลอันเฮวย (อันฮุย) ฉายาเหลียนฟ่าง ตาเสียข้างหนึ่ง ได้ศึกษาคัมภีร์วิเศษลัทธิเต๋า จากเขางูปีสัน ได้แสดงอิทธิฤทธ์ต่างๆ ให้โจโฉดูที่เงียบกุ๋น และแนะนำให้โจโฉมอบแผ่นดินให้เล่าปี่ดูแลแทน โจโฉโกรธให้ฆ่าแต่กลับไม่ตาย แถมยังแสดงอภินิหารเย้ยโจโฉมากมาย และหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจจู๋ · ดูเพิ่มเติม »

โจงั่ง

โจงั่ง (Cao Ang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก บุตรชายคนโตของโจโฉกับนางเล่าซี โจงั่งได้ติดตามโจโฉไปทำศึกกับเตียวสิ้วที่เมืองอ้วนเซีย เตียวสิ้วได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ โจโฉจึงไปพักแรมในอ้วนเซียแล้วไปหลงนางเจ๋าซือ อาสะใภ้ของเตียวสิ้ว เตียวสิ้วโกรธ จึงวางแผนกำจัด โดยมอมเหล้าเตียนอุย องครักษ์ของโจโฉ แล้วขโมยทวนคู่ของเตียนอุยมา แล้วจึงเข้าโจมตีค่ายของโจโฉทันที โจโฉตกใจจึงหนีออกจากค่าย หนีไปได้สักพัก ม้าของโจโฉถูกข้าศึกยิงที่ลูกตาล้มลงตาย โจงั่งจึงขับม้ามาช่วย มอบม้าให้โจโฉหนีไป ส่วนตนต้านทหารของเตียวสิ้วเพื่อถ่วงเวลาไว้ ในที่สุดโจงั่งก็ถูกทหารเตียวสิ้วทำร้ายจนเสียชีวิต หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 จโงั้ง จโงั่ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจงั่ง · ดูเพิ่มเติม »

โจฉอง

ฉา ชง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจฉอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 196–208) ชื่อรองว่า ชางชู เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้เป็น อายหวัง ("องค์ชายอาย") เป็นบุตรชายคนหนึ่งของเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกชาวจีนซึ่งเถลิงอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและวางรากฐานให้รัฐเว่ย์/วุย (魏) ในสมัยสามก๊ก เฉา ชง มีชื่อเสียงเพราะในวัยเยาว์ได้คิดวิธีชั่งน้ำหนักช้างโดยใช้ทุ่น และเฉา เชา ผู้เป็นบิดา หมายใจจะให้สืบทอดตำแหน่งต่อ ทว่า เฉา ชง เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 12 ปี เนื่องจากด้วยความที่เฉาเชารักมากที่สุดจนเป็นที่อิจฉาของเหล่าพี่ๆ โดยเฉพาะลูกชายคนโต เฉา พี(โจผี) ด้วยความหวังจะสืบทอดต่อจากบิดาแต่กลับลำเอียงยกตำแหน่งให้น้องชายจึงวางแผนลอบสังหารด้วยการปล่อยงูพิษให้กัดจนถึงแก่ความต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฉอง · ดูเพิ่มเติม »

โจซอง

ซอง (Cao Shuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรชายของโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการในวุยก๊ก แต่ถูกสุมาอี้โค่นอำนาจและถูกประหารชีวิตในภายหลัง ในยุคของพระเจ้าโจยอย โจจิ๋นผู้เป็นพ่อได้เป็นแม่ทัพแนวหน้าแต่ด้วยความที่ด้อยสติปัญญาเมื่อเข้ารบกับขงเบ้งทำให้เสียเมืองเฉิงฉาง และเสียทหารไปกว่า 1 แสน โจจิ๋นกลัวความผิดจึงให้โจซองไปถวายบังคมให้พระเจ้าโจยอยทราบในสภาพแขนหัก เมื่อพระเจ้าโจยอยเห็นโจซองในสภาพนั้นเข้าจึงใจอ่อนไม่ออกคำสั่งประหารโจจิ๋นผู้พ่อ ความกตัญญูของโจซองนั้นสูงมาก ในช่วงสุมาอี้ก่อรัฐประหาร โจซองที่อยู่นอกเมืองถึงกลับนึกคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป ฮวนห้อม กุนซือของโจซองที่หลบออกจากเมืองได้มาสมทบกับโจซองและแนะนำให้พาฮ่องเต้ไปยังนครฮูโต๋และรวมรวบกำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏสุมาอี้ให้สิ้นซาก แต่โจซองกลับลังเลเพราะห่วงครอบครัว บรรดาอนุภรรยา และทรัพย์สมบัติมากมายในเมือง แถมจดหมายของสุมาอี้ได้มาถึงมือได้ระบุว่ามิได้เจตนาร้าย ให้ยอมจำนนเสียแต่โดยดี โจซองทบทวนอย่างถี่ถ้วนจึงตัดสินใจยอมจำนน แม้ฮวนห้อมจะเตือนว่าอย่ายอมจำนนเพราะเท่ากับความตายแต่ไม่ฟัง ฮวนห้อมถึงกับตะโกนด่าว่า "โจจิ๋นที่เปี่ยมไปด้วยพละกำลังและสติปัญญา ฉไนกลับมีบุตรชายที่โง่งมเช่นนี้" ผลสุดท้ายแม้โจซองจะยอมจำนนต่อสุมาอี้และคิดว่าจะปลอดภัย แต่หาได้เป็นเช่นไม่ สุมาอี้ได้กุเรื่องว่าโจซองเป็นกบฎจึงถูกประหารชีวิตพร้อมทั้งครอบครัวตระกูล.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจซอง · ดูเพิ่มเติม »

โจซุน

ซุน (Cao Chun), ? —..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจซุน · ดูเพิ่มเติม »

โจป้า

ป้า ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฉา เป้า ตามสำเนียงกลาง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งโตเกี๋ยมผู้ปกครองเมืองชีจิ๋ว โจป้าเป็นพ่อตาของลิโป้ เมื่อคราวเล่าปี่ครองเมืองชีจิ๋วต่อจากโตเกี๋ยม โจโฉได้มีหนังสือรับสั่งให้เล่าปี่นำกำลังทหาร ไปรบกับอ้วนสุดที่เมืองลำหยง เล่าปี่จึงนำกำลังทหารไปตามคำสั่งโจโฉโดยมอบหมายให้เตียวหุยดูแลเมืองชีจิ๋ว ฝ่ายเตียวหุยซึ่งอยู่รักษาเมืองชีจิ๋วตามคำสั่งเล่าปี่ โดยมอบหมายให้ตันเต๋งเป็นผู้ว่าราชการฝ่ายพลเรือน ตนเองเป็นผู้ว่าราชการข้างเหล่าทหาร.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจป้า · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

โจเมา

มา (Zu Mao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลตั้งแต่แรกเริ่มของซุนเกี๋ยน เจ้าเมืองเตียงสา มีบทบาทพร้อมกับ เทียเภา ฮันต๋ง และ อุยกาย ตอนหลังซุนเกี๋ยนเข้าร่วมทัพสิบแปดหัวเมือง แล้วเข้ารบกับ ฮัวหยง แต่ อ้วนสุด ไม่ส่งเสบียงให้ ทำให้กองทัพเสียท่า โจเมาอาสาล่อฮัวหยงออกไป และสุดท้ายก็ถูกฮัวหยงสังหารในที...

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจเมา · ดูเพิ่มเติม »

โจเฮา

ระนางโจเฮา (Empress Cao Jie獻穆皇后)หรือสมเด็จพระจักรพรรดินีโจเซียน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ และพระธิดาในโจโฉ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจเฮา · ดูเพิ่มเติม »

โจเจียง

ียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของโจโฉอันเกิดจากนางเปียนซี หนวดเคราสีเหลือง มีความสามารถในการรบสูง โจโฉให้โจเจียงเป็นเจ้าเมืองเอียนเหลง เมื่อโจโฉตายแล้ว โจผีได้อำนาจต่อ โจเจียงไม่ขัดขวางการขึ้นมามีอำนาจของโจผี จึงได้ครองเมืองเอียนเหลงต่อไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจเจียง · ดูเพิ่มเติม »

โต้สู้

โต้สู้ (Duo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายถ้ำอิมตองสันในดินแดนม่านภายใต้การบัญชาของเบ้งเฮ็ก ภายหลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับครั้งที่ 3 ขงเบ้งได้ปล่อยตัวไป เบ้งฮิวน้องของเบ้งเฮ็ก ได้แนะนำให้ไปตั้งมั่นที่ถ้ำอิมตองสันเพราะโต้สู้นายถ้ำกับเบ้งฮิวสนิทกัน เบ้งเฮ้กได้กระทำตามนั้น โต้สู้ยินดีให้เบ้งเฮ็กตั้งมั่น ทั้งกำชับว่าขงเบ้งไม่มีวันมาถึงที่นี่เพราะทางไปถ้ำอิมตองสันมี 2 ทางโดยทางหนึ่งให้ทหารไปปิดทางไว้แล้ว อีกทางหนึ่งต้องผ่านป่ามรณะที่มีสัตว์ร้ายมาก และน้ำยังเป็นพิษอีกด้วย ซึ่งนอกจากม้าอ้วนแล้วยังไม่มีใครเคยผ่านมาทางนี้โดยยังมีชีวิตรอดอีกเลย แต่ขงเบ้งกลับยกทัพผ่านป่านี้ได้ด้วยความช่วยเหลือของม้าอ้วนเทพารักษ์และเบ้งเจียด พี่ชายของเบ้งเฮ็ก ต่อมาเอียวหองแห่งเขางินติสันที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อขงเบ้งได้แสร้งทำเป็นเข้าร่วมกับเบ้งเฮ็กกับโต้สู้ที่ถ้ำอิมตองสัน และได้จัดงานเลี้ยงฉลอง จากนั้นก็มอมเหล้าเบ้งเฮ้กและโต้สู้จนเมา เอียวหองก็จับทั้งคู่ส่งไปมอบให้กับขงเบ้งได้ในที่สุด แต่โต้สู้ก็ได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับเบ้งเฮ้ก รูปโต้สู้จากเกม Romance of the Three Kingdoms XI ตโสู้ en:List of fictional people of the Three Kingdoms#Chapter 89.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโต้สู้ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกี๋ยม

ตเกี๋ยม (Tao Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองชีจิ๋ว ชื่อรองกงจู่ เป็นคนจิตใจอ่อนโยน เมื่อคราวที่ขบวนของโจโก๋ บิดาของโจโฉผ่านยังเมืองชีจิ๋ว โตเกี๋ยมได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมอบหมายให้เตียวคีเป็นผู้คุ้มกันขบวนรถอีกด้วย แต่หลังจากเตียวคีนำทหารห้าร้อยนายติดตามขบวนรถของโจโก๋ เตียวคีเกิดความโลภด้วยเห็นว่าโจโก๋มีทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก จึงวางแผนฆ่าโจโก๋และปล้นชิงทรัพย์สินและหลบหนีไป เมื่อโจโฉทราบข่าวการเสียชีวิตของบิดา ก็โกรธแค้นโตเกี๋ยมเป็นอย่างยิ่ง เตรียมนำกองกำลังทหารจำนวนมากหมายเข้าตีเมืองชีจิ๋วให้ราบคาบ โตเกี๋ยมจึงปรึกษากับเหล่าขุนนางถึงการนำทัพมาของโจโฉเพื่อหาทางป้องกันเมือง โตเกี๋ยมตั้งใจจะมอบตัวแก่โจโฉเพื่อให้โจโฉฆ่าเสียให้หายโกรธ เนื่องจากตนเองเป็นต้นเหตุให้ราษฏรในเมืองต้องรับความเดือดร้อน แต่บิต๊กได้ไปขอกำลังทหารจากขงหยงและเล่าปี่มาช่วยป้องกันเมืองชีจิ๋ว เล่าปี่เขียนหนังสือให้ม้าใช้นำไปมอบให้แก่โจโฉ พร้อมกับส่งเตียวหุยไปเป็นทูตเพื่อเจรจาของสงบศึก แต่ในขณะเดียวกันลิโป้ก็นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีค่ายทหารของโจโฉที่เมืองกุนจิ๋ว ซึ่งโจโฉมอบหมายให้โจหยินเป็นผู้ดูแลรักษาค่าย ลิโป้ตีค่ายทหารของโจโฉแตก โจหยินที่ดูแลรักษาค่ายทหารกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อลิโป้ ทำให้โจโฉต้องนำกำลังทหารกลับยังค่ายเพื่อช่วยเหลือโจหยิน หลังจากเล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโตเกี๋ยม ซึ่งเห็นว่าเล่าปี่เป็นผู้มีคุณธรรม มีความสามารถและกล้าหาญ สามารถปกครองเมืองชีจิ๋วต่อจากตนได้ จึงเชิญเล่าปี่ให้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน แต่เล่าปี่กลับปฏิเสธพร้อมกับให้เหตุผล ทำให้โตเกี๋ยมผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งล้มป่วยอย่างหนัก จึงขอร้องให้เล่าปี่รับเป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน ก่อนสิ้นใจอย่างสงบด้วยอายุ 62 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโตเกี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

โปไฉ

ปไฉ (Bo Cai, ? — ค.ศ. 184) แม่ทัพของกบฏโพกผ้าเหลืองซึ่งพ่ายแพ้ต่อ จูฮี แม่ทัพที่ราชสำนักส่งมาแต่ขณะหนีการไล่ตามจากกองทัพของจูฮีกลับถูกทหารของ ฮองฮูสง ซึ่งเป็นรองแม่ทัพของจูฮียิงธนูไฟใส่จนตายเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโปไฉ · ดูเพิ่มเติม »

ไทสูจู้

ทสูจู้ (Taishi Ci) มีชื่อเสียงจากการชิงฎีกาของศัตรูนายตัวเองทำให้ต้องหลบหนี ช่วยส่งสารให้กับขงหยงเพื่อของความช่วยเหลือจากเล่าปี่ ขี่ม้ายิงธนูฝ่าโจรผ้าเหลือง หลังจากนั้นมารับใช้เล่าอิ้ว เล่าอิ้วแต่งตั้งเป็นคนตรวจตรากองทัพ ในการลาดตระเวนครั้งหนึ่ง พบกับซุนเซ็กโดยบังเอิญ ไทสูจู้ควบม้าเข้าใส่โจมตีทันที ทั้งสองสู้กันไม่รู้แพ้ชนะ ภายหลังเล่าอิ้วพ่ายแพ้ ซุนเซ็กจับตัวไทสูจู้ได้ และปล่อยตัวเขาไปให้ไปดูลาดเลาลูกน้องของเล่าอิ้ว ทั้งที่ลูกน้องซุนเซ็กหลายคนคัดค้าน แต่ไทสูจู้ก็กลับมาหาซุนเซ็ก จนเป็นที่มาของคำว่า "ใช้ไม่ระแวง ระแวงไม่ใช้" ภายหลังเกิดสงครามที่หับป๋า ไทสูจู้อาสาลอบเข้าโจมตีเมืองตอนกลางคืน แต่เตียวเลี้ยวรู้ทันแผนการนี้ จึงสั่งทหารรุมยิงลูกธนูมากมายใส่เขาจนเสียชีวิต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและไทสูจู้ · ดูเพิ่มเติม »

ไต้เกี้ยว

ไต้เกี้ยว (Da Qiao) เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรีคนโตของเกียวก๊กโล เป็นพี่สาวของเสียวเกี้ยว ทั้งนางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยวได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องความงดงามในดินแดนกังตั๋ง ต่อมาไต้เกี้ยวได้แต่งงานกับซุนเซ็ก ต้ไเกี้ยว ต้ไเกี้ยว เพราะความสวยของนางและน้องสาว (เสียวเกี้ยว) ทำให้โจโฉรบกับซุนกวนที่ผาแดง de:Zwei Qiaos en:Two Qiaos fr:Xiao Qiao id:Da Qiao dan Xiao Qiao ja:小喬 ko:강남이교 koi:Кык Чао vi:Nhị Kiều zh:小乔 zh-classical:小喬 zh-yue:小喬.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและไต้เกี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เชียกง

ียกง หรือ เทียควง (Cheng Kuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เชียกงและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เตียวต๋ง เห้หุย และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเชียกง · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งฮิว

้งฮิว (Meng You) เป็นน้องชายของเบ้งเฮ็ก อ๋องแห่งอาณาจักรม่าน เป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาเบ้งเฮ็กและรบเคียงบ่าเคียงไหล่เบ้งเฮ็ก จึงถูกขงเบ้งจับตัวพร้อมกับเบ้งเฮ็ก แล้วปล่อยไปหลายครั้ง เบ้งฮิวเป็นเพื่อนสนิทของโต้สู้ จึงได้แนะนำให้เบ้งเฮ็กไปขอความช่วยเหลื่อจากโต้สู้ในการรบกับขงเบ้ง แต่เบ้งเฮ็กก็ยังถูกจับได้ ต่อมา เบ้งฮิวได้สวามิภักดิ์ต่อขงเบ้งพร้อมกับเบ้งเฮ็กพี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งฮิว · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งตัด

้งตัด (Meng Da) เป็นขุนนางคนหนึ่งในสามก๊ก มีนิสัยกลับกลอก เป็นคนหลายนาย เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและหวดเจ้ง ตอนแรกเริ่ม เบ้งตัดเป็นขุนนางของเล่าเจี้ยงเจ้าแคว้นเสฉวน ต่อมาเตียวสงคิดจะช่วยเหลือเล่าปี่ยึดครองเสฉวน จึงสมคบกับหวดเจ้งและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ ถึงแม้เตียวสงจะถูกเล่าเจี้ยงสังหารก่อนที่การจะสำเร็จ แต่หวดเจ้งและเบ้งตัดก็ได้ช่วงเหลือเล่าปี่จนได้ขึ้นครองเสฉวนแทนเล่าเจี้ยง ต่อมา เบ้งตัดถูกส่งไปรักษาซ้างหยง (ในสามก๊กฉบับไทยใช้ว่า ซงหยง ซึ่งไปซ้ำกับอีกเมืองหนึ่ง) พร้อมกับเล่าฮอง เมื่อกวนอูเสียทีลิบองต้องเสียเมืองเกงจิ๋ว กวนอูได้ส่งเลียวฮัวไปขอความช่วยเหลือจากเบ้งตัดและเล่าฮอง แต่ทั้งสองไม่ให้ความช่วยเหลือ ต่อมา กวนอูถูกลิบองจับตัวได้และถูกประหาร เบ้งตัดกลัวความผิดที่ตนมีส่วนทำให้กวนอูตายจึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจผี ส่วนเล่าฮองได้กลับมาหาเล่าปี่ และถูกเล่าปี่ประหาร หลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ขงเบ้งได้ออกศึกภาคใต้ปราบเบ้งเฮ็กสำเร็จ จึงยกทัพบุกวุยก๊ก เวลานั้น เบ้งตัดได้เปลี่ยนใจกลับมาสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กโดยส่งจดหมายมาขอสวามิภักดิ์ถึงขงเบ้ง และบอกว่าจะร่วมมือกับขงเบ้งเข้าตีลกเอี๋ยงของพระเจ้าโจยอย เพื่อลบล้างความผิดที่เคยก่อไว้ แต่ซินหงีและซินต๋ำ ขุนนางในเมืองส้างหยงที่จงรักภักดีต่อวุยก๊ก ได้ส่งจดหมายลับถึงสุมาอี้ บอกแผนการของเบ้งตัด สุมาอี้จึงยกทัพไปส้างหยงเพื่อปราบเบ้งตัด ในศึกครั้งนี้ ซิหลงต้องสิ้นชีพในการรบ แต่ในที่สุดเบ้งตัดก็ถูกสังหารโดยซินต๋ำ รูปเบ้งตัดจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเจียด

้งเจียด (Meng Jie) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นพี่ชายของเบ้งเฮ็ก เมื่อครั้งเบ้งเฮ็กกำเริบเสิบสานคิดแข็งเมืองต่อจ๊กก๊ก เบ้งเจียดได้พยายามห้ามปรามแต่ไม่สำเร็จ จึงได้ปลีกตัวไปเป็นนักพรตอาศัยอยู่ในป่าที่มีแม่น้ำที่เต็มไปด้วยพิษด้วยความสงบ เมื่อครั้งที่กองทัพของขงเบ้งหลงทางในป่าได้ไปกินน้ำในแม่น้ำพิษ ทำให้เป็นใบ้พูดไม่ได้ ขงเบ้งได้พบเบ้งเจียด เบ้งเจียดทราบเรื่องก็ได้ช่วยเหลือด้วยการบอกขงเบ้งให้เหล่าทหารที่ถูกพิษให้กินน้ำหลังบ้านตน และบอกว่าให้ขุดน้ำบ่อกิน นอกจากนั้นยังบอกความลับแก่ขงเบ้งที่จะออกจากป่ามรณะที่เต็มไปด้วยลมพิษอย่างปลอดภัยด้วยการคาบใบไม้หอม ที่ชื่อว่า หุ่ยเหียบ เบ้งเจียดยังได้แนะนำเอียวหองแห่งเขางินติสันต่อขงเบ้งเพราะเบ้งเฮ็กกับเอียวหองเป็นคู่อริกันซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจับตัวเบ้งเฮ็ก และแล้วขงเบ้งได้เกลี้ยกล่อมเอียวหองจนยอมสวามิภักดิ์และได้ทำการจับตัวเบ้งเฮ็กและโต้สู้ที่ถ้ำอิมตองสันนำมามอบให้ขงเบ้งได้ในที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งเจียด · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เกียนสิด

กียนสิด หรือ เกนหวน (เสียชีวิต ค.ศ. 189) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี่ยนชั่ว เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้ประชวรหนักใกล้สวรรคต พระองค์ได้เรียกเกียนสิดมาปรึกษาเรื่องรัชทายาท เกียนสิดแนะนำว่าควรให้หองจูเหียบซึ่งเป็นพระโอรสองค์เล็กขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องจากโฮจิ๋น พระปิตุลาของหองจูเปียนพระโอรสองค์โตยังกุมอำนาจทางการทหารอยู่ จึงควรให้สังหารโฮจิ๋นเสีย พระเจ้าเลนเต้ทรงเห็นชอบจึงส่งคนไปเรียกโฮจิ๋นเพื่อลวงสังหาร แต่แผนการของเกียนสิดกลับรั่วไหล โฮจิ๋นทราบความจึงคิดกำจัดเหล่า 10 ขันที ต่อมา พระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นทูลเชิญหองจูเปียขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วให้อ้วนเสี้ยวคุมกองกำลังห้าพันนายออกตามสังหารเกียนสิด เกียนสิดหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ แล้วถูกก๊กเสงซึ่งมีใจพยาบาทเกียนสิดฆ่าตาย เหล่าขันทีที่เหลือ 9 คนได้ตัดศีรษะเกียนสิดมาขอขมาโฮจิ๋น แล้วบอกว่าแผนการสังหารโฮจิ๋นนั้นเป็นความคิดของเกียนสิดแต่เพียงผู้เดียว พวกตนที่เหลือมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ขันทีที่เหลือจึงรอดจากการถูกสังหารของโฮจิ๋น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

เลียวฮัว

ลียวฮัว (Liao Hua) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยนโดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเลียวฮัว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าชุน

ล่าชุน (Liu Xun) ขุนพลแห่ง จ๊กก๊ก และเป็นบุตรชายของ เล่าเจี้ยง เจ้าเมืองเอ๊กจิ๋วในช่วง ยุคสามก๊ก ในช่วง การยึดเอ๊กจิ๋วของเล่าปี่ เล่าเจี้ยงได้มีคำสั่งให้เล่าชุนและ เตียวหยิม ยกกองทัพมาโจมตีกองทัพของเล่าปี่แต่ก็พ่ายแพ้กลับไป ในภายหลังเมื่อเล่าเจี้ยงได้ยอมแพ้ต่อเล่าปี่แล้วเล่าชุนได้ยอมแพ้และรับใช้เล่าปี่ตาม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าชุน · ดูเพิ่มเติม »

เล่ากี๋

ล่ากี๋ (Liu Qi) เป็นบุตรของเล่าเปียว ที่เกิดจากนางต้านซี เล่ากี๋เป็นผู้ที่มีสติปัญญาปานกลาง(พอใช้ได้) แต่มีปัญหาทางด้านสุขภาพอยู่เสมอๆ เล่าเปียวคิดจะยกให้เป็นผู้ครองเมืองเกงจิ๋ว เนื่องจากเป็นบุตรคนโต แต่อำนาจทางทหารอยู่ในมือของฝ่ายนางชัวฮูหยินภรรยาอีกคน ซึ่งนางชัวฮูหยินต้องการให้เล่าจ๋องลูกชายของตนเองครองเมืองเกงจิ๋ว จึงจะหาโอกาสกำจัดเล่ากี๋อยู่เสมอๆ ในช่วงนั้นเล่าเปียวป่วยหนักอยู่ด้วย เล่ากี๋รู้ว่าชัวฮูหยินวางแผนจะทำร้ายอยู่เสมอๆ แต่เล่ากี๋ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ จนวันนึงเล่ากี๋ที่กำลังมืดแปดด้านอยู่ ขงเบ้งกับเล่าปี่ก็มาหา เล่ากี๋จึงได้อ้อนวอนขอให้ขงเบ้งช่วย ซึ่งตอนแรกขงเบ้งก็ปฏิเสธ แต่เล่ากี๋สวมบทเล่าปี่ บีบน้ำตาจะเอากระบี่เชือดคอตาย จนขงเบ้งแนะนำให้เล่ากี๋ขอไปเป็นเจ้าเมืองกังแฮ เพื่อหนีภัย (แต่ความจริงขงเบ้งวางแผนจะยึดเกงจิ๋วอยู่แล้ว เลยให้เล่ากี๋ไปอยู่ที่อื่น เพื่อที่จะได้ตัดอำนาจ) เมื่อเล่าเปียวตาย เล่ากี๋ได้มาเยี่ยม แต่ถูกชัวมอ ชัวฮูหยิน และเล่าจ๋องขัดขวางไม่ยอมให้เข้าพบ เล่ากี๋จึงต้องกลับไปเมืองกังแฮด้วยความชอกช้ำ แต่ภายหลังโจโฉได้ยึดเมืองเกงจิ๋ว เล่าปี่และก๊วนพรรคประชาอุปถัมภ์ได้หนีโจโฉไปได้อย่างทุลักทุเล และก็ได้หนีไปอยู่กับเล่ากี๋ที่เมืองกังแฮ เมื่อชนะโจโฉในศึกเซ็กเพ็กแล้ว ขงเบ้งได้จัดการยึดเกงจิ๋ว ซุนกวนเคืองมาก ส่งทูตไปทวงคืน แต่เล่าปี่ก็ได้ให้เล่ากี๋ปกครองเกงจิ๋ว ทำให้ซุนกวนยังเข้าครองเกงจิ๋วไม่ได้ แต่วันๆเล่ากี๋ก็แทบไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากนอนอยู่บนเตียง เพราะ ปัญหาทางด้านสุขภาพ หลังจากนั้นเล่ากี๋ก็สุขภาพทรุดโทรมด้วยปัญหาสุขภาพ อาการหนักเข้าๆ ก็ได้ป่วยตายในที่สุด เมื่ออายุได้เพียง 20 กว่าๆเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่ากี๋ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าลี

ล่าลี (Liu Li; ? — 244) พระนามรอง เฟิ่งเซี่ยว (Fengxiao) องค์ชายแห่ง จ๊กก๊ก ใน ยุคสามก๊ก ของจีนพระองค์เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าเล่าปี่ ปฐมจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กและเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของ พระเจ้าเล่าเสี้ยน จักรพรรดิองค์ที่ 2 และองค์สุดท้ายของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าลี · ดูเพิ่มเติม »

เล่าหัว

ล่าหัว เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเสนาธิการคนสำคัญของวุยก๊ก เป็นชาวอำเภอเฉินเต๊อะ เมืองไหวยหนาน มณฑลหูเป่ย เป็นเชิ้อพระวงศ์ฮั่น สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าฮั่นกองบู๊ เมื่อโจโฉมีอำนาจในภาคตะวันตก ได้เสาะแสวงหานักปราชญ์มาเป็นพวก กุยแกได้แนะนำเล่าหัวให้แก่โจโฉ โจโฉจึงได้เชิญตัวเล่าหัวมาเป็นที่ปรึกษา เมื่อเล่าหัวได้รับราชการกับโจโฉก็ได้สร้างความชอบมากมาย ได้เป็นทูตไปเกลี้ยกล่อมเตียวสิ้วให้สวามิภักดิ์ และเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องดีดหิน เพื่อนำมาใช้ทำลายทัพข้าศึกในศึกกัวต๋อด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าหัว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าหงี

เล่าหงี (Liu Yu,?-193) เป็น ขุนศึก และ นักการเมือง ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และ ยุคสามก๊ก โดยสืบเชื้อสายจาก หลิวเจียง พระโอรสใน จักรพรรดิฮั่นกวง ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ใน ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เล่าหงีได้เป็นหนึ่งในขุนศึกที่ร่วมรบในศึกครั้งนี้ด้วยในศึกครั้งนี้พวกขุนศึกคนอื่นๆได้ถามเล่าหงีว่าถ้าเสร็จศึกแล้วจะขึ้นเป็นจักรพรรดิหรือไม่ซึ่งเล่าหงีได้ตอบปฏิเสธไป เล่าหงี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 193 โดยถูก กองซุนจ้าน ฆ่าตายระหว่างการรบ รูปเล่าหงีจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:สามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าหงี · ดูเพิ่มเติม »

เล่าอิ้ว

ล่าอิ้ว (Liu Yao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นชาวตำบลโหมวผิง เมืองตงไหล มณฑลซานตง เป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่น มีชื่อรองว่าเจิ้งหลี่ เป็นคนรักความยุติธรรม มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นผู้คงแก่เรียน มีความรู้ความสามารถในการปกครอง ได้ครองแคว้นหยังโจว ภายหลังถูกอ้วนสุดโจมตีขับไล่ สู้ไม่ได้จึงหนีมาอยู่ที่ตำบลฉี่อา พอซุนเซ็กตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในง่อก๊ก ยกทัพมาขับไล่เล่าอิ้วสู้รบกันช้านาน เล่าอิ้วแตกหนีไปอยู่เมืองวี่จาง มณฑลเจียงซี อยู่ตำบลเพิ๋งเจ๋อ จนกระทั่งถึงแก่กรรม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าอิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าฮอง

ล่าฮอง (Liu Feng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลของจ๊กก๊ก เป็นบุตรบุญธรรมของเล่าปี่ เล่าฮองเดิมชื่อเค้าฮอง หลานเล่าปิด ลูกของเค้าล่อ ต่อมาเล่าปี่รับเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากที่เล่าปี่ปราบกบฏเตียวบูกับตันสูน ตามคำขอของเล่าเปียวได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเล่าฮอง กวนอูไม่ค่อยพอใจนักกับการที่เล่าปี่รับเล่าฮอง มาเป็นลูกบุญธรรม กวนอูกล่าวกับเล่าปี่ว่า"บุตรท่านก็มีอยู่ เหตุไฉนจึงจะเอาผู้อื่นมาเป็นเนื้อ เหมือนหนึ่งเลี้ยงลูกปูลูกหอย นานไปจะได้รับความเดือดร้อน" เล่าปี่จึงว่า "ถึงผู้อื่นนอกเนื้อก็จริง แต่เรารักใคร่เสมอบุตร ได้เอามาเลี้ยงไว้ก็จะมีกตัญญูรักใคร่ เห็นจะไม่คิดร้ายต่อเรา" กวนอูได้ฟังดังนั้นก็ขัดใจนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด และเมื่อเล่าปี่ตีเอาเมืองซงหยงได้ เล่าปี่จึงให้เล่าฮองปกครองเมืองซงหยงอยู่กับเบ้งตัด อดีตขุนนางในของเล่าเจี้ยงที่เล่าปี่ไปยึดเมืองมา เมื่อครั้งเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึดในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจ๋อง

ล่าจ๋อง (Liu Cong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าแคว้นเกงจิ๋ว อันเกิดจากนางชัวฮูหยินภรรยาน้อย หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ตามประเพณี ลูกชายคนโตคือเล่ากี๋ควรมีสิทธิ์ในตำแหน่งเจ้าแคว้น แต่ชัวฮูหยินและชัวมอน้องชาย ได้ปลอมแปลงพินัยกรรมของเล่าเปียวว่าให้เล่าจ๋องขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วคนต่อไป เล่าจ๋องจึงได้ครองตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วต่อจากบิดาขณะมีอายุได้ 14 ปี ต่อมา โจโฉยกทัพจะเข้าตีเกงจิ๋ว เล่าจ๋องได้ยอมจำนนต่อโจโฉ โจโฉแต่งตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋ว ระหว่างที่เล่าจ๋องเดินทางไปรับตำแหน่งที่เฉงจิ๋วพร้อมกับนางชัวฮูหยิน อิกิ๋มซึ่งโจโฉสั่งให้นำกำลังไปซุ่มระหว่างทาง ได้นำกำลังออกมาสังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินเสี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าจ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าต้าย

ล่าต้าย (Liu Dai, ? — ค.ศ. 192) มีชื่อรองว่า กงซัน (Gongshan) ตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก เกิดที่เมืองเป็งหงวนเป็นเจ้าเมือง เอียนจิ๋ว (Yan Province) และเป็นพี่ชายของ เล่าอิ้ว เคยเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรของ อ้วนเสี้ยว ในการปราบ ตั๋งโต๊ะ เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าป๋า

ล่าป๋า (Liu Ba, ? — ค.ศ. 222) มีชื่อรองว่า จื่อชู (Zichu) เกิดที่ตำบลเจิ้งหยัง เมืองหลิงหลิง มณฑลหูหนานเป็นเสนาธิการแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก แต่เดิมเล่าป๋ารับใช้ เล่าเจี้ยง เจ้าเมืองเอ๊กจิ๋วเมื่อ เล่าเจี้ยงประกาศยอมแพ้ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าป๋า · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเพ็ก

ล่าเพ็ก (Liu Pi) ตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนอยู่จริงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ฮั่น เป็นทหารเอกของ เล่าปี่ เมื่อเล่าปี่เสีย เมืองยีหลำ ให้กับ โจโฉ ก็ได้หนีมาโดยแตกแยกกับขุนพลและที่ปรึกษาแต่ระหว่างทางพบเล่าเพ็กและ ซุนเขียน เล่าเพ็กได้พาครอบครัวของเล่าปี่หนีมาและบอกให้เล่าปี่เดินทางไปที่อื่น และเล่าปี่ก็เจอกับ โกลำ ขุนพลของโจโฉเล่าเพ็กอาสาออกไปสู้กับโกลำแต่เล่าเพ็กก็ถูกสังหารด้วยฝีมือของโกลำต่อมาโกลำก็ถูก จูล่ง ใช้ ทวน ฟันตายด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเพ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเสี้ยน

ระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ หลิวส้าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเซี่ยวหวย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดของยุคสามก๊ก ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชสกุลเล.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเอี๋ยน

ล่าเอี๋ยน (Liu Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นเชื้อพระวงค์ฮั่นผู้ครองแคว้นเอกจิว (เสฉวน) เป็นบิดาของ เล่าเจี้ยง หลังจากที่เล่าเอี๋ยนตายก็ให้เล่าเจี้ยงเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป รูปเล่าเอี๋ยนจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเจี้ยง

ล่าเจี้ยง (Liu Zhang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเสฉวน เป็นบุตรของเล่าเอียง เล่าเจี้ยงเป็นคนที่โลเลและใช้คนไม่เป็น แต่เล่าเจี้ยงมีเหล่าที่ปรึกษาและขุนพลที่มีฝีมือมากมาย แต่ต่อมา เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และส่งตัวเล่าเจี้ยงไปอยู่ที่เมืองกองอั๋นชายแดนเกงจิ๋ว เมื่อเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึด เล่าเจี้ยงจึงถูกย้ายมาอยู่ที่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเตา

ล่าเตา (Liu Du ? — ?) ขุนนางแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก แต่เดิมเล่าเตารับใช้ เล่าเปียว กระทั่งช่วง ศึกผาแดง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเตา · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเปียว

ล่าเปียว (Liu Biao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเกงจิ๋ว มีบุตร 2 คน คือ เล่ากี๋และเล่าจ๋อง เมื่อซุนเกี๋ยนได้ตราแผ่นดินหยกมาครอบครอง อ้วนเสี้ยวได้สั่งให้เล่าเปียวไปตีซุนเกี๋ยนชิงเอาตราหยกมา ทำให้เล่าเปียวและซุนเกี๋ยนเป็นศัตรูกัน จนกระทั่งซุนเกี๋ยนเสียชีวิต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเปียว · ดูเพิ่มเติม »

เล่งทอง

ล่งทอง (Ling Tong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บุตรของเล่งโฉ เมื่อกำเหลงมาอยู่กับง่อ ทำให้เล่งทองไม่พอใจจนซุนกวนต้องส่งกำเหลงไปประจำยังที่ห่างไกลเพื่อกันสองคนทะเลาะกัน ซึ่งต่อมาได้เกิดศึกที่มีชื่อว่าศึกหับป๋าทหารของงักจิ้นยิงธนูใส่ตาม้าของเล่งทอง ทำให้หกล้มไป แล้วกำเหลงก็มายิงธนูใส่ศัตรูช่วยเล่งทองทำให้ทั้งสองเป็นมิตรกันในที่สุด เล่งทองมีผลงานที่โดดเด่นในการรบหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการช่วยซุนกวนหนีในศึกหับป๋า เมื่อเล่งทองตาย ซุนกวนเสียใจมาก จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ ซึ่งนับว่าเป็นงานศพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หนึ่งในสามของง่อ เทียบเท่ากับของลิบอง และจูเหียน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่งทอง · ดูเพิ่มเติม »

เล่งโฉ

ล่งโฉ (Ling Cao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บิดาของเล่งทอง ถูกกำเหลงสังหารในศึกที่ซุนกวนยกทัพไปตีกังแ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่งโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เสียวเกี้ยว

เสียวเกี้ยว (Xiao Qiao) เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรีคนรองของเกียวก๊กโล เป็นน้องสาวของไต้เกี้ยว ทั้งนางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยวได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องความงดงามในดินแดนกังตั๋ง ต่อมาเสียวเกี้ยวได้แต่งงานกับจิวยี่ พี่น้องสองเกี้ยวเป็นสาเหตุหลักของการรบที่ศึกผาแดง หลังจากที่ขงเบ้ง แกล้งสร้างเรื่องว่าโจโฉต้องการตัวสองพี่น้อง ทางจิวยี่ทราบเข้าได้โมโหและได้ร่วมรบการทางกองทัพของเล่าปี่ หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก fr:Da Qiao id:Da Qiao ja:大喬 zh:大桥.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเสียวเกี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เหลียงซี

หลียงซี (Liang Xu, ? — ?) เสนาบดีแห่งจ๊กก๊กโดยก่อนหน้านั้นได้เคยรับใช้ วุยก๊ก มาก่อน แต่เดิมเหลียงซีรับราชการอยู่ที่เมืองเทียนสุ่ยและเป็นเพื่อนสนิทกับ เกียงอุย เมื่อเกียงอุยได้ยอมแพ้ต่อจ๊กก๊กเขาจึงได้มาติดต่อเหลียงซีให้ยอมแพ้ซึ่งเหลียงซีก็ได้ยอมแพ้ต่อจ๊กก๊กและได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเทียน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเหลียงซี · ดูเพิ่มเติม »

เหาลำ

หาลำ (เสียชีวิต ค.ศ. 172) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า โหฺวหล่าน เป็นขุนนางขันทีผู้รับราชการในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 168–189) ในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน เหาลำปรากฏเป็นตัวละครในช่วงต้นของวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก โดยระบุว่าเหาลำเป็นหนึ่งในสิบขันที แม้ว่าตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้วเทาเจียดไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเหาลำ · ดูเพิ่มเติม »

เห้หุย

ห้หุย (Xia Yun) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เห้หุยและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เตียวต๋ง เชียกง และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเห้หุย · ดูเพิ่มเติม »

เอียวสิ้ว

อียวสิ้ว (Yang Xiu; 杨修) ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉแห่งวุยก๊ก เขาเป็นชาวเมืองหัวะอิน มณฑลส่านซี มีชื่อรองว่า เต๊อะจู่ เป็นบุตรชายของเอียวปิด เป็นผู้มีรูปร่างหน้าเกลี้ยงเกลา คิ้วและนัยน์ตาเล็ก ฉลาดเฉียวมากปัญญา แต่ชอบใช้ปัญญามากกว่าสติ อันเป็นที่มาของจุดจบชีวิต รับราชการกับโจโฉในตำแหน่งผู้ตรวจบัญชีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่รู้เท่าทันโจโฉตลอดเวลา จึงเป็นที่ระแวงของโจโฉ เอียวสิ้วมักคบหากับโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเฉลียวฉลาดเช่นกัน จึงมักเป็นที่ไม่พอใจแก่โจโฉ และโจโฉก็ได้เตือนโจสิดเสมอ ๆ ถึงเรื่องเอียวสิ้ว เมื่อโจโฉติดพันการรบกับขงเบ้งที่ทุ่งหันซุย และกำลังจะถอนทัพกลับ แต่ก็ยังมิได้ตัดสินใจเด็ดขาดและบอกแก่ใคร ตกกลางคืน แฮหัวตุ้นเข้ามาถามโจโฉในที่พักว่า คืนนี้จะให้ขานรหัสว่าอะไร โจโฉขณะรับประทานอาหารอยู่ ได้ใช้ตะเกียบคีบซี่โครงไก่อยู่พอดี จึงตอบไปว่า ซี่โครงไก่ เมื่อรู้กันในกองทัพว่า รหัสคืนนี้คือ ซี่โครงไก่ เอียวสิ้วจึงบอกให้แฮหัวตุ้นสั่งการแก่ทหารทั้งปวงให้เก็บข้าวของ เพราะโจโฉตัดสินใจถอนทัพแล้ว แฮหัวตุ้นสงสัยว่าท่านทราบได้อย่างไร เอียวสิ้วจึงตอบคลายสงสัยทั้งหมดว่า เพราะซี่โครงไก่ไม่มีเนื้อก็จริง แต่ทิ้งไปก็เสียดายรสชาติ เหมือนท่านโจโฉขณะนี้จะถอนทัพกลับไปก็เสียดาย แต่อยู่ไปก็ไม่ชนะ เมื่อโจโฉรู้ว่าทหารทั้งหมดเก็บข้าวของโดยที่ตนไม่ได้ออกคำสั่ง ว่ามาจากเอียวสิ้ว ก็โมโห และสั่งประหารชีวิตเอียวสิ้วทันที แม้จะไม่เต็มใจนัก โดยอ้างว่า เอียวสิ้วทำให้ทหารเสียขวัญ ก่อนตายเอียวสิ้วเสียใจที่โจโฉทำอย่างนี้กับตน แต่ก็ได้กล่าวเตือนสติโจโฉว่า ต่อไปนี้ท่านอย่าได้ทำการใด ๆ ที่เป็นการฝืนตนเองอีก โจโฉจึงต้องแสดงให้ทหารเห็นว่า ตนมิได้เสียขวัญ ออกนำทัพด้วยตนเอง ปรากฏว่าต้องอุบายของขงเบ้งจนกองทัพพ่ายแพ้และโจโฉก็ถูกฮองตงยิงธนูถูกปาก พลัดตกจากหลังม้า ฟันหักไป 3 ซี่ ปากคอบวมเป่ง เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด จากนั้นโจโฉก็ต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับเมืองลกเอี๊ยง ในช่วงนั้นเขาก็ได้นึกถึงเอียวสิ้วและสำนึกว่าเอียวสิ้วคาดการณ์ถูกต้องจริงๆ โจโฉได้จัดพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติเพื่อทดแทนคุณความดี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เอียวหงี

อียวหงี (Yang Yi, ? — ค.ศ. 235) ชื่อรองว่า เว่ยกง เป็นเสนาธิการแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก เอียวหงีเกิดที่ เสียนหยาง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวหงี · ดูเพิ่มเติม »

เอียวเก๋า

อียวเก๋า (ค.ศ. 221 - ค.ศ. 278) มีชื่อรองว่า จูจื่อ เป็นแม่ทัพแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกซึ่งในอดีตเคยรับใช้ วุยก๊ก มาก่อน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวเก๋า · ดูเพิ่มเติม »

เอียนสี

อียนสี (Zhen Ji) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาแห่งวุยก๊ก มีชีวิตอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียนสี · ดูเพิ่มเติม »

เฮกเจียว

กเจียว (Hao Zhao) ชื่อรอง ป๋อเตา ขุนพลแห่ง วุยก๊ก ใน ยุคสามก๊ก ของจีนเป็นชาวเมือง ไท่หยวน มณฑลซานซี เป็นที่รู้จักจากชัยชนะในสงคราม การล้อมที่ตันฉอง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเฮกเจียว · ดูเพิ่มเติม »

เฮาเสง

เฮาเสง(侯成)เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เดิมเป็นนายกองม้ารับใช้ลิโป้ภายหลังได้ร่วมมือกับซงเหียนและงุยซกหักหลังลิโป้และไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ฮเาเสง ฮเาเสง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเฮาเสง · ดูเพิ่มเติม »

เฮาเฉีย

ฉีย (Hu Che'er) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลคนหนึ่งของเตียวสิ้ว ในศึกของโจโฉและเตียวสิ้วครั้งแรก เมื่อโจโฉยกทัพมาตีอ้วนเซีย เตียวสิ้วเจ้าเมืองอ้วนเซียได้ยอมสวามิภักดิ์โดยดี โจโฉได้เข้าไปอาศัยในเมืองอ้วนเซีย แต่ไปหลงนางเจ๋าซือผู้เป็นอาสะใภ้ของเตียวสิ้ว เตียวสิ้วโกรธมาก แต่ยังทำอะไรมิได้เพราะโจโฉมีเตียนอุยเป็นองครักษ์คู่กาย เฮาเฉียจึงเสนอวิธีให้มอมเหล้าเตียนอุยและขโมยทวนคู่ของเตียนอุยมา และเฮาเฉียคนนี้เองเป็นผู้เป็นผู้ไปขโมยทวนคู่ของเตียนอุยและขณะที่เตียนอุยเมาเหล้าไม่ได้สติ ทำให้เตียวสิ้วสามารถกำจัดเตียนอุยลงได้ และทำให้ทัพโจโฉถูกตีแตกต้องถอยกลับฮูโต๋ และโจโฉต้องเสียลูกชายและหลานชายไป แต่หลังจากศึกครั้งนั้น เฮาเฉียก็ไม่ถูกกล่าวถึงในสามก๊กอีกเล.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเฮาเฉีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮียงทง

ียงทง (Xiang Chong, ? — ค.ศ. 240) ขุนศึกแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก เฮียงทงเริ่มรับราชการในรัชสมัย พระเจ้าเล่าปี่ ก่อนจะถูกฆ่าตายโดยชนเผ่าป่าเถื่อนระหว่างยกทัพไปปราบชนเผ่าป่าเถื่อนในรัชสมัย พระเจ้าเล่าเสี้ยน เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเฮียงทง · ดูเพิ่มเติม »

เจาเจ้ง

้ง (Zou Jing) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นแม่ทัพของเล่าเอี๋ยน เจ้าเมืองอิวจิ๋ว ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเจาเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เจียวอ้วน

ียวอ้วน (Jiang Wan) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า กงเหยี่ยน เป็นชาวบ้านเซียงเซียง เมืองหลิงหลิง มณฑลหูหนาน เป็นคนซื่อสัตย์ เมตตากรุณา ขงเบ้งมีความเชื่อถือในตัวเจียวอ้วนมาก เมื่อออกศึกก็มักจะให้เจียวอ้วนดูแลในแนวหลัง เมื่อขงเบ้งใกล้จะตายได้มอบหมายให้เจียวอ้วนดำรงตำแหน่งสมุหนายกแทนตนสืบต่อไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเจียวอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

เจียวจิ๋ว

ียวจิ๋ว (Qiao Zhou, ? — ค.ศ. 270) มีชื่อรองว่า หย่งหนาน เกิดที่เมืองปาซีเป็นขุนนางแห่งจ๊กก๊กใน ยุคสามก๊ก เจียวจิ๋วเคยรับใช้ เล่าเจี้ยง มาก่อนในฐานะที่ปรึกษามีความรู้ทางโหราศาสตร์เคยทำนายว่าเสฉวนจะต้องเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เมื่อเล่าเจี้ยงยอมแพ้ต่อ เล่าปี่ จึงได้มารับใช้เล่าปี่จนกระทั่งเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิเจียวจิ๋วจึงได้เป็นขุนนางแห่งจ๊กก๊กรับใช้ พระเจ้าเล่าปี่ จนกระทั่งถึงรัชสมัย พระเจ้าเล่าเสี้ยน ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเจียวจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เจียวขิม

เจียวขิม (Jiang Qin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งง่อก๊ก เป็นชาวเมืองฉิวฉุน มีชื่อรองว่า กงอี๋ เป็นคนรอบคอบซื่อตรง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ช่ำชองการรบทางเรือ เจียวขิมเดิมเป็นโจรร่วมกับจิวท่าย ต่อมาทั้งสองได้ร่วมมือกับซุนเซ็กก่อตั้งแคว้นกังตั๋ง เจียวขิมได้ทำการรบมีความชอบหลายครั้ง ซุนกวนจึงตั้งให้เป็นตั้งโค้วเจียงจวิน (นายพล)เจียวขิมถึงแก่กรรมระหว่างยกกองเรือรบกลับจากอำเภอเหมี่ยน จีเยวขิม จีเยมขิม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเจียวขิม · ดูเพิ่มเติม »

เทาเจียด

ทาเจียด (เสียชีวิต ค.ศ. 181) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เฉาเจี๋ย มีชื่อรองว่าฮั่นเฟิง เป็นขุนนางขันทีในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และขึ้นมามีอำนาจในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 168–189) เทาเจียดมีส่วนร่วมในการต่อสู้ชิงอำนาจกับขุนนางฝ่ายตรงข้ามที่นำโดยเตาบูและตันผวนในรัชสมัยพระเจ้าหวนเต้ (ฮั่นหฺวันตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 146-168) ต่อต้นรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ เทาเจียดปรากฏชื่อในช่วงต้นของวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก โดยระบุว่าเทาเจียดเป็นหนึ่งในสิบขันที แม้ว่าตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้วเทาเจียดไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทาเจียด · ดูเพิ่มเติม »

เทียบู

ทียบู (Cheng Wu, ค.ศ. 201 – ?) เสนาธิการแห่งวุยก๊ก เทียบูเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทียบู · ดูเพิ่มเติม »

เทียหยก

เทียหยก (Cheng Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่โจโฉหลายครั้ง เป็นผู้ใช้อุบายดึงตัวชีซีจากเล่าปี่ และเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเรือเสบียงของอุยกายที่มาสวามิภักดิ์มีพิรุธ ซึ่งความจริงเป็นเรือเชื้อเพลิงของอุยกายที่ใช้เอาทัพเรือโจโฉตามอุบายของจิวยี่ ทีเยเภา ทีเยเภา.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทียหยก · ดูเพิ่มเติม »

เทียอ้วนจี้

เทียอ้วนจี้ (Cheng Yuanzhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นหัวหน้ากองโจรของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง เทียอ้วนจี้ได้นำกองโจร 50,000 นาย ยกไปตีเมืองอิวจิ๋ว เล่าเอี๋ยนเจ้าเมืองจึงให้เล่าปี่ พร้อมด้วยกวนอู เตียวหุย ยกกองทหาร 500 ไปปราบโจร กงอกำลังทั้งสองยกไปประจันหน้ากันที่เขาไทเหียงสัน กวนอูได้เข้าต่อสู้กับเทียอ้วนจี้ และสามารถสังหารเทียอ้วนจี้ได้ในง้าวเดียว ส่วนกองโจรเมื่อนายตายก็หมดกำลังใจรบจึงถูกกองทหารของเล่าปี่ตีแตกพ่าย ทีเยอ้วนจี้ ทีเยอ้วนจี้ en:List of fictional people of the Three Kingdoms#Chapter 1.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทียอ้วนจี้ · ดูเพิ่มเติม »

เทียเภา

ทียเภา (Cheng Pu) เป็นหนึ่งในสี่ทหารเอกของซุนเกี๋ยน หลังจากซุนเกี๋ยนตาย ก็รับใช้ซุนเซ็กต่อ ช่วยซุนเซ็กในการยึดดินแดนง่อ มีผลงานในการรบมากมาย และมีนิสัยดีงาม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทียเภา · ดูเพิ่มเติม »

เขาฮิว

ว (Xu You) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเขาฮิว · ดูเพิ่มเติม »

เขาเฉียว

ฉียว (ค.ศ. 150 - ค.ศ. 195) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าสฺวี่เช่า มีชื่อรองว่าจื่อเจียง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นข้าราชการและนักดูลักษณะคนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเขาเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

เคาทู

ทู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก มีร่างกายใหญ่โต ชำนาญการใช้ทวน เป็นคนซี่อสัตย์และเคร่งครัด เมื่อเตียนอุยนำกำลังไปปราบโจรโพกผ้าเหลือง ได้เห็นเคาทูจับโจรเอาไว้หมดแล้ว เตียนอุยบอกเคาทูให้ส่งโจรมา แต่เคาทูไม่ยอมจึงได้สู้กัน เตียนอุยกลับไปรายงานโจโฉว่าเคาทูมีพละกำลังแข็งแรงมากโจโฉชอบใจจึงเกลี่ยกล่อมให้มาช่วยราชการ เคาทูเคยปกป้องโจโฉไว้หลายครั้ง ในสงครามพายัพได้เป็นองครักษ์แก่โจโฉได้สู้กับม้าเฉียวที่แค้นเพราะโจโฉสังหารม้าเท้งพ่อของตนไป ม้าเฉียวจึงบุกโจมตี ครั้นโจโฉถูกซุ่มโจมตีคิดจะหนีไปทางเรือ เคาทูก็อุ้มโจโฉแล้วกระโจนลงเรือทันทีแต่ข้าศึกยังยิงเกาทันฑ์ใส่ เคาทูจึงใช้มือซ้ายปัดป้องมิให้โดนโจโฉจนตัวเองบาดเจ็บ เป็นที่สรรเสริญนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเคาทู · ดูเพิ่มเติม »

เคาเจ้ง

้ง (Xu Jing, ? — ค.ศ. 222) มีชื่อรองว่า เหวินซิ่ว เป็นเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก เคาเจ้งเกิดที่เมืองยีหลำเป็นญาติกับ เขาเฉียว หมอดูชื่อดังที่เคยทำนายโชคชะตาให้กับ โจโฉ ทำให้มีความสามารถในการทำนายดวงชะตาและทำนายลักษณะของคนต่อมาได้เข้ามารับใช้ เล่าเจี้ยง ในตำแหน่งที่ปรึกษา ต่อมาเมื่อเล่าเจี้ยงได้ยอมแพ้ต่อ เล่าปี่ ทำให้เคาเจ้งได้เข้ามารับใช้เล่าปี่ในตำแหน่งที่ปรึกษาจากนั้นใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเคาเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เงียมหงัน

งียมหงัน (Yan Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้าเมืองปากุ๋น หลังจากที่เล่าปี่และบังทองเดินไปเพื่อยึดเสฉวนของเล่าเจี้ยง บังทองถูกธนูรุมยิงตายที่เนินหงส์ร่วงแล้ว เล่าปี่จำต้องถอยทัพไปที่ด่านโปยสิก๋วน และรีบส่งหนังสือไปยังขงเบ้ง ให้ขงเบ้งยกทัพมาช่วย ขงเบ้งกับเตียวหุยทำสัญญาเดินทางแข่งกันไปให้ถึงเสฉวน โดยขงเบ้งเดินไปทางเรือพร้อมกับจูล่ง และเตียวหุยเดินไปทางบก และให้กวนอูรักษาเมืองเกงจิ๋วไว้ ก่อนออกเดินทางเตียวหุยทำสัญญาไว้กับขงเบ้งว่า จะรักษาวินัยทหาร โดยตนจะไม่กินเหล้าและไม่เฆี่ยนตีทหารด้วยอารมณ์ด้วย ปรากฏว่า เตียวหุยสามารถรักษาระเบียบวินัยกองทัพไว้ได้อย่างดี สามารถชนะใจประชาชนและเอาชนะเมืองต่าง ๆ ได้โดยดี แต่ติดอยู่กับเมืองปากุ๋นของเงียมหงัน ที่ตีเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที เงียมหงันแม้จะอายุมากถึง 60 ปีแล้ว แต่ชำนาญการใช้ธนูและป้องกันเมืองไว้ได้อย่างดี เงียมหงันได้ประกาศไว้ว่า "ทหารเสฉวนยอมหัวขาด ไม่มีทหารยอมแพ้" เตียวหุยเข้าตีเท่าไหร่ก็ไม่สามารถหักตีเข้าไปได้ เงียมหงันก็สั่งให้รักษาเมืองไว้อย่างเดียว ไม่ต้องยกออกไปรบ เตียวหุยคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไร จึงโมโหกินเหล้าแล้วเฆี่ยนตีทหารอีก ขณะที่เฆี่ยนตีอยู่นั้น เตียวหุยคิดอุบายขึ้นได้ จึงแสร้งหลอกว่า ตนกินเหล้าเมามายแล้วเฆี่ยนตีทหารอีกเพื่อลวงเงียมหงัน และให้ทหารกองลาดตระเวณทำทีสำรวจเส้นทางเพื่อดูว่ามีทางไหนที่จะเล็ดรอดเมืองปากุ๋นไปได้ไหม ในที่สุดก็พบเส้นทางเล็ก ๆ สายหนึ่ง เตียวหุยสั่งให้เดินทางออกตอนตี 3 เงียมหงันซึ่งส่งสายลับเข้าไปปะปนในกองทัพเตียวหุยรายงานเช่นนั้น จึงจะยกทัพตามตีตลบหลังเตียวหุยตามเวลานั้น แต่กลับโดนกลอุบายของเตียวหุยจนเสียท่าถูกจับเป็นเชลย เมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือเตียวหุย เตียวหุยได้ตัดสินใจที่จะประหารเงียมหงันซึ่งเงียมหงันได้ยินดีที่จะตาย และกล่าวว่า "ท่านจงประหารเร็วเถิด เสฉวนมีแต่แม่ทัพที่หัวขาด แต่ไม่มีแม่ทัพที่ยอมแพ้" เมื่อเตียวหุยได้ยินเช่นนั้นก็คิดว่าแม่ทัพคนนี้มีความจงรักภักดีอย่างหนักแน่นมั่นคง มิย่อท้อเมื่อเผชิญความตายจึงนับถือน้ำใจ และแก้มัดออกพร้อมกล่าวขอโทษเงียมหงันที่ตนล่วงเกิน เงียมหงันเห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นคำนับเตียวหุย และอาสาเป็นกองหน้า สำหรับเดินทัพต่อไป เมือไปถึงด่านใดตำบลใด นายด่านทั้งปวงก็ออกมายอมเข้าด้วย เพราะเงียมหงันเป็นทัพหน้า และได้ไปสมทบกับทัพเล่าปี่ ก่อนขงเบ้ง ซึ่งมาทางน้ำเสียอีก ต่อมา เมื่อเล่าปี่ บุกเมืองฮันต๋ง ทางด่านแฮบังก๋วนก็ถูกบุกโจมตีโดย โจหอง และเตียวคับ ฝ่ายฮักจุ้นกับเบ้งตัด ซึ่งรักษา แฮบังก๋วนอยู่นั้นเห็นจะเหลือกำลัง จึงส่งสาส์นไปขอกำลังเสริมจากเล่าปี่ เล่าปี่จึงส่งฮองตงและเงียมหงันไปช่วย เมื่อมาถึง เบ้งตัด และฮักจุ้น ก็ดูถูก2เฒ่านี้เป็นอันมาก ฮองตงจึงให้เงียมหงันซุ่มกำลังอยู่หลังค่ายเตียวคับ เมื่อเห็นฮองตงออกรบเมื่อไร ก็ให้ตีกระ หนาบเข้ามา หลังจากนั้นฮองตงได้ออกไปร้องท้าทายเตียวคับ เตียวคับจึงพาทหารออกจากค่ายเงียมหงันเห็นว่าได้ทีจึงคุมทหาร ออกมา ฆ่าทหารเตียวคับล้มตายเป็นอันมาก ต่อมา เงียมหงันก็แนะนำฮองตงให้ตัดเสบียงศัตรูที่เทียนตองสัน ฮองตงจึงทำกลอุบายแกล้งถอยหนีเพื่อให้ข้าศึกเอา อาวุธ และเสบียงมารวมกันไว้ และปล้นค่ายของเตียวคับ โดยให้เงียมหงันซุ่มทหารอยู่หลังค่ายตีทหารเตียวคับ แตกไป หลังจากน้น เมื่อขงเบ้งจะบุกขึ้นเหนือ ขงเบ้งแต่งตั้งเงียมหงันเป็นที่ปรึกษาทางการทหาร เงียมหงัน ได้แก่ตาย ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

เงียมแปะฮอ

เงียมแปะฮอ (Yan Baihu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเจ้าเมืองต๋องง่อ ในยุคสามก๊ก และตั้งตนเป็นอ๋องแห่งต๋องง่อ เมื่อซุนเซ็กทำการรวบรวมกังตั๋ง ได้ทำการตีเงียมแปะฮอที่ต๋องง่อ เงียมแปะฮอสู้ไม่ได้ จึงไปขอร้องอ่องหลองให้มาช่วยรบ แต่อ่องหลองก็แพ้ยับเยิน เงียมแปะฮอจึงหนีไปที่ตำบลอิข้อง ต่อมาได้ถูกตังสิดสังหาร งีเยมแปะฮอ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเงียมแปะฮอ · ดูเพิ่มเติม »

เตาอี้

ตาอี้ (Du Yu, ค.ศ. 222 — ค.ศ. 285) มีชื่อรองว่า หยวนไข เป็นขุนศึกแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกและเป็นแม่ทัพใหญ่ในการพิชิต ง่อก๊ก เตาอี้เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวก๊ก

เตียวก๊ก (Zhang Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและหัวหน้ากลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง เป็นชาวเมืองกิลกกุ๋น เตียวก๊กเดิมเป็นแค่สามัญชน เคยสอบเข้ารับราชการแต่ไม่ผ่าน จึงได้กลับบ้านเกิด เที่ยวหาสมุนไพร จนมาพบเซียนคนหนึ่ง เซียนคนนั้นได้ให้ตำราไทแผงเยาสุดให้แก่เตียวก๊ก เตียวก๊กได้ศึกษาตำรานั้นแล้วนำความรู้มาใช้รักษาโรคให้แก่ชาวบ้าน เป็นที่เลื่อมใสแก่ชาวบ้านในหลายเมืองเป็นอย่างมาก ต่อมาเตียวก๊กจึงรวบรวมผู้คนได้ 5 แสนคนแล้วตั้งเป็นกองทัพขึ้น เป้าหมายคือการล้มล้างราชบัลลังก์ฮั่น และให้ตนเป็นผู้นำแทน ทหารในกองทัพนี้ล้วนโพกผ้าเหลืองกันทุกคน จึงถูกเรียกว่า โจรโพกผ้าเหลือง แต่การใหญ่ยังไม่สำเร็จ เตียวก๊กก็ป่วยตายเสียหาย ในเวลาต่อมากองทัพโจรโพกผ้าเหลืองจึงถูกกำจัดหมดสิ้น จากที่เตียวก๊กก่อตั้งกองทัพโจรโพกผ้าเหลืองนี้เอง ทำให้เหล่าขุนศึกต่างๆพากันสั่งสมกำลัง และทำการแย่งชิงอาณาเขตและอำนาจกัน ทำให้แผ่นดินจีนเกิดแยกเป็นสามก๊กในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวก๊ก ตีเยวก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เตียวล่อ

ตียวฬ่อ (Zhang Lu; 张鲁) เป็นเจ้านครฮันต๋ง และเป็นศัตรูคู่แค้นกับตระกูลของ เล่าเจี้ยง เมื่อครั้งเล่าปี่บุกตีเสฉวนของเล่าเจี้ยงด้วยอุบายอันแยบยลของขงเบ้งทำให้เล่าเจี้ยงต้องละทั้งความเป็นศัตรูและเข้าเป็นพวกกับเตียวล่อในตอนนั้นพวกม้าเฉียวที่หนีกองทัพของโจโฉก็ได้เข้ามาพึ่งกับเตียวล่อ เตียวล่อจึงให้ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยง แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อขงเบ้งเห็นม้าเฉียวเป็นคนมีความสามารถและเป็นศัตรูกับโจโฉ จึงวางแผนให้ม้าเฉียวมาเป็นพวกและก็สามารถยึดเสฉวนได้ โจโฉกลัวว่าหากเล่าปี่ยึดเสฉวนได้จะขยายอำนาจไปยึดเมืองฮันต๋งต่อ โจโฉจึงยกทัพมาที่ฮันต๋ง เตียวล่อรู้ดีว่ากองทัพของตนไม่มีทางสู้กับโจโฉได้ แต่เหมือนสวรรค์บันดาลเมื่อ บังเต๊ก ทหารเอกของม้าเฉียวยังอยู่ เพราะตอนที่ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยงตอนนั้นบังเต๊กป่วยจึงไม่ได้ไปด้วย เตียวล่อจึงให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพไปรบกับโจโฉ แต่ก็ถูกกลลวงของโจโฉจึงต้องเป็นพวกกับโจโฉ เตียวโอย น้องชายจึงอาสาไปรบแทนแต่ก็ถูกเคาทูฆ่าตายในสนามรบ เตียวล่อหมดทางสู้จึงยอมจำนนต่อโจโฉ นครฮันต๋งจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของโจโฉแต่สุดท้ายเมืองฮันต๋งก็ถูกเล่าปี่ยึดไปได้ด้วยกลยุทธ์อันล้ำลึกของขงเบ้ง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวล่อ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสิ้ว

เตียวสิ้ว (Zhang Xiu) เป็นหลานของเตียวเจ เตียวสิ้วเป็นเจ้าเมือง 4 หัวเมืองได้แก่ เกียมแฮ อันจงก๋วน เตงเชีย และ อ้วนเซีย มีกาเซี่ยงเป็นที่ปรึกษา และได้ส่งเตียวต๊กลูกชายของตนไปดูแลเมืองเตงเชียแทนตน โดยมีเลียวตู้เป็นที่ปรึกษา อยู่ที่เมืองเตงเชียด้วย ขณะที่โจโฉชอบบุกมาที่เมืองเตงเชียอยู่เรื่อยก็เลยให้เลียวตู้ช่วยป้องกันเมือง เตงเชียและสามารถป้องกันเมืองเตงเชียไว้ได้ในที่สุดโจโฉก็จัดทัพไปบุกเมืองเตงเชียอีกเลียวตู้รายงานให้เตียวสิ้วว่าการรบกับโจโฉหลายครั้งไม่ดี และแนะนำให้เตียวสิ้วเป็นพันธมิตรกับโจโฉ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวสิ้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสง

รูปเตียวสงจากเกม ''Romance Of The Three Kingdoms XI'' เตียวสง (Zhang Song; จีนตัวเต็ม: 張松; จีนตัวย่อ: 张松) (? — ค.ศ. 213) ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองใด มีฉายาว่า หย่งเหนียน ร่างเตี้ย ไม่ถึง 5 ฟุต หน้าฝากโหนก ศีรษะรี จมูกเฟ็ด ฟันเสี้ยม แต่สติปัญญาไหวพริบดี เล่ห์เหลี่ยมจัด ความจำดีมาก อะไรที่ผ่านสายตาแล้วจำได้หมด รับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ผู้ครองแคว้นเอกจิว (เสฉวน) เล่าเจี้ยงเกรงเตียวฬ่อ เจ้าเมืองอันต๋ง ซึ่งเป็นคู่อริจะยกทัพมาโจมตี จึงให้เตียวสงเป็นทูตไปเจรจาขอกำลังจากโจโฉ เตียวสงไปแสดงความเปรื่องปราดกับโจโฉจนเกินตัว คืออ่านตำราพิชัยสงครามที่โจโฉแต่งเพียงเที่ยวเดียวก็จำได้หมด แล้วบอกว่าหนังสืออย่างนี้เหมือนเด็ก ๆ ในเสฉวนอ่านเล่นทั้งเมืองเพราะเป็นคำโบราณที่ผู้มีปัญญาแต่งไว้ พลางสาธยายข้อความในหนังสือของโจโฉ มิได้วิปลาสสักข้อ โจโฉถูกลบเหลี่ยมเช่นนั้นก็โกรธ ขับเตียวสงออกไปจากเมืองไป เตียวสงจึงไปหาเล่าปี่ โดยได้รับการรับรองเป็นอันดี จนเตียวสงหลงใหล เลยคิดทรยศต่อนาย ต้องการให้เล่าปี่ไปปกครองแคว้นเอกจิวแทนเล่าเจี้ยง ถึงกับมอบแผนที่ยุทธศาสตร์และให้ความลับต่าง ๆ แก่เล่าปี่ด้วย เมื่อเตียวเสียวกลับมาถึงเอกจิวแล้ว ก็ได้จูงใจให้เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่มาอยู่เอกจิว และคุ้มครองให้พ้นจากการรุกรานของเตียวฬ่อ พอเล่าปี่ยาตราทัพเข้ามาแล้ว ความลับจึงแตกขึ้น โดยเตียวซก พี่ชายของเตียวสงจับจดหมายลับที่เตียวสงติดต่อให้เล่าปี่ได้ ก็นำความไปแจ้งแก่เล่าเจี้ยง เตียวสงกับบุตรภรรยาจึงถูกประหารชีวิต แต่ในที่สุดเล่าปี่ก็ยึดแคว้นเอกจิว และเล่าเจี้ยงถูกปลดจากตำแหน่งไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวสง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหยิม

เตียวหยิม (Zhang Ren) เป็นขุนพลเอกของเล่าเจี้ยง เป็นผู้รอบคอบ จงรักภักดีต่อนาย และมีไหวพริบเป็นเลิศ เมื่อเล่าปี่ยกทัพยึดด่านแฮบังก๋วน เตรียมเข้ายึดเสฉวน เล่าเจี้ยงได้ให้เตียวหยิม เล่ากุ๋ย เหลงเปา เตงเหียน ไปรักษาเมืองลกเสียเพื่อสกัดเล่าปี่มิให้เข้าเสฉวน เล่าปี่ซึ่งมีบังทองเป็นที่ปรึกษา (ขณะนั้นขงเบ้งอยู่รักษาเกงจิ๋ว) มีชัยเหนือกองทัพของเล่าเจี้ยงหลายครั้ง สามารถสังหารเตงเหียนและประหารเหลงเปา ต่อมา จึงนำทัพเข้ายึดลกเสียโดยแบ่งเป็น 2 ทาง เล่าปี่ไปทางใหญ่ บังทองไปทางลัด(ลกห้องโห เนินหงส์ร่วง) ฝ่ายเตียวหยิมคาดว่าทัพของเล่าปี่ไปทางลัด จึงได้นำกำลังไปซุ่มที่ทางลัด เห็นบังทองขี่ม้าขาวนำทัพมา จึงสั่งให้ทหารระดมยิงเกาทัณฑ์ไปที่คนที่ขี่ม้าขาว โดยเข้าใจว่าเป็นเล่าปี่ (เล่าปี่มีม้าสีขาวชื่อเต็กเลา ซึ่งต่อมาได้มอบให้บังทองในการนำทัพเข้าทางเนินลกห้องโห) บังทองต้องเกาทัณฑ์เสียชีวิต ต่อมาเล่าปี่จึงได้เรียกตัวขงเบ้งมาช่วยในการศึก จนสามารถจับตัวเตียวหยิมได้ เล่าปี่พยายามเกลี้ยกล่อมเตียวหยิม แต่เตียวหยิมเป็นคนที่จงรักภักดีต่อเล่าเจี้ยงจึงไม่ยอมอยู่ด้วยเล่าปี่ เล่าปี่สั่งประหารเตียวหยิม และสรรเสริญคุณงามความดีของเตียวหยิม พร้อมจัดงานศพให้เป็นอย่างดี รูปเตียวหยิมจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ต.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวหยิม · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหลำ

ตียวหลำ (Zhang Nan, ? — ค.ศ. 222) ชื่อรองว่า เหวินจิ้น เป็นขุนศึกแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก เตียวหลำเกิดที่แคว้นเกงจิ๋วต่อมาได้เข้ามารับใช้ เล่าปี่ เมื่อคราวเล่าปี่เข้ายึดเกงจิ๋วและได้ตามไปรับใช้เมื่อเล่าปี่เข้ายึดแคว้นเอ๊กจิ๋วจนกระทั่งถูกฆ่าตายในสนามรบใน ศึกอิเหลง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวหลำ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหงี

ตียวหงี เป็นนายทหารของจ๊กก๊กในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน เป็นบุคคลสำคัญในปราบปรามอนารยชนซึ่งกบฏต่อจ๊กก๊ก ถูกสังหารเมื่อครั้ง เกียงอุย นำทัพจ๊กตีทัพวุยก๊ก ขณะที่พยายามขัดขวางข้าศึกไม่ให้ขับไล่ตามเกียงอ.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวหงี · ดูเพิ่มเติม »

เตียวอุ๋น

ตียวอุ๋น (Zhang Yun, ? — ?) ขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว เมื่อ โจโฉ ยกกองทัพลงใต้ทางฝ่ายเกงจิ๋วซึ่งในขณะนั้นปกครองโดย เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวที่ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นไม่นานก็เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงได้ยอมแพ้ต่อโจโฉเตียวอุ๋นจึงได้มารับใช้วุยก๊กสืบต่อมาซึ่งเตียวอุ๋นถึงแก่กรรมเมื่อใดไม่มีหลักฐาน แต่สามก๊กฉบับวรรณกรรมของ ล่อกวนตง ได้กล่าวไว้ว่าก่อนเกิด ศึกผาแดง ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวอุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

เตียวฮอง

เตียวฮอง (Zhang Hu) เป็นหนึ่งในตัวละครจาก สามก๊ก เป็นบุตรชายของ เตียวเลี้ยว ขุนพลคนสำคัญแห่ง วุยก๊ก เมื่อบิดาถึงแก่อสัญกรรมเขาจึงได้เข้ารับราชการสืบต่อจากบิดาโดยมีบทบาทสำคัญครั้งแรกเมื่อคราว ขงเบ้ง บุกโจมตีวุยก๊กซึ่งตัวของเตียวฮองนั้นได้นำทหารออกรบจนได้ชัยชนะ หลังจากนั้นเมื่อ สุมาอี้ ได้นำทัพบุกโจมตีก๊กของ กองซุนเอี๋ยน เตียวฮองก็ได้เป็นหนึ่งในแม่ทัพที่ได้ข้าร่วมสงครามครั้งนี้ เตียวฮองถึงแก่อสัญกรรมเมื่อใดไม่ปรากฏ หมวดหมู่:สามก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:บุคคลไม่ทราบปีที่เกิด.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวฮ่อง

ตียวฮ่อง (Zhao Hong, ? — ค.ศ. 184) แม่ทัพของ กบฏโพกผ้าเหลือง ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวฮ่อง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวคับ

ตียวคับ ยอดขุนพลแห่งวุยก๊ก ก่อนหน้าจะมาอยู่กับโจโฉ เคยเป็นทหารเอกของอ้วนเสี้ยว แต่ว่าขุนนางของอ้วนเสี้ยวแย่งความดีความชอบกัน จึงทำให้เตียวคับหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ทำสงครามมีความดีความชอบมากมาย ตอนที่โจโฉเรืองอำนาจ เตียวคับเคยรบกับเตียวหุยแม้ทัพของเตียวคับจะพ่ายแพ้ แต่ในการสู้ตัวต่อตัวกับเตียวหุยกลับสูสี สมัยพระเจ้าโจยอย ตอนขงเบ้งยกทัพบุกกีสาน เตียวคับหลงกลขงเบ้งโดนล้อมแต่ก็สามารถตีฝ่าม้าต้าย กับ อุยเอี๋ยน หนีกลับค่ายไปได้ แม้เตียวคับจะมีฝีมือกล้าแข็งแต่ก็ต้องมาตายด้วยกลของขงเบ้งโดนเกาทัณฑ์รุมยิงในช่องเขาเสียชีวิตกลางสนามรบ ในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บุคคลที่ยึดด่านเกเต๋งที่ม้าเจ็กคุมอยู่นั้น จนทำให้ขงเบ้งต้องแก้สถานการณ์ด้วยการขึ้นไปดีดพิณบนกำแพงเมือง มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็นเตียวคั.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวคับ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวต๋ง

ตียวต๋ง (Zhao Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เตียวต๋งและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เชียกง เห้หุย และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวโป้ (โจรโพกผ้าเหลือง)

เตียวโป้ (Zhang Bao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นหนึ่งในแกนนำของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง เป็นน้องชายคนรองของเตียวก๊ก ได้รับการแต่งตั้งจากพี่ชายให้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน เคยเผชิญหน้ากับเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ในการรบครั้งหนึ่ง เตียวโป้ได้เสกหุ่นฟางให้เป็นทหารเข้าโจมตีกองทัพของเล่าปี่จนต้องหนีแตกไป ในการรบครั้งต่อไป เล่าปี่ใช้อุบายสาดเลือดสัตว์ใส่หุ่นฟาง เพื่อสลายมนต์ของเตียวโป้ เตียวโป้จึงหนีเข้าเมืองไม่ยอมออกมารบอีก ต่อมา ลูกน้องของเตียวโป้ได้ทรยศสังหารเตียวโป้และออกมาสวามิภักดิ์กับทางการ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวโป้ ตีเยวโป้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวโป้ (โจรโพกผ้าเหลือง) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น)

ตียวโป้ (Qiao Mao, ? — ค.ศ. 190) ตัวละครที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก เป็นเจ้าเมืองตองกุ๋น เป็นหลานของ เกียวก๊กโล จึงมีศักดิ์เป็นญาติกับสองสาวงามแห่ง กังตั๋ง คือ ไต้เกี้ยว และ เสียวเกี้ยว เตียวโป้ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ อ้วนเสี้ยว และเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 16 เมืองใน ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเมา

ตียวเมา (Zhang Miao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นเจ้าเมืองตันลิว ครั้งระดมพลกองกำลังพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะ เตียวเมาก็ได้ส่งกองกำลังไปร่วมรบด้วย แต่เดิมเตียวเมานั้นเป็นเพื่อนสนิทกับโจโฉ แต่เมื่อครั้งโจโฉยกทัพบุกตีแคว้นชีจิ๋วของโตเกี๋ยม ตันก๋งก็แอบติดต่อชักชวนเตียวเมาให้ร่วมมือกับลิโป้ช่วยกันบุกตียึดแคว้นกุนจิ๋วของโจโฉเสีย โจโฉทราบข่าวก็ยกทัพกลับมายึดแคว้นกุนจิ๋วคืน ทั้งยังตีเมืองตันลิวของเตียวเมาแตกด้วย ทัพเตียวเมาแตกพ่ายจะหนีไปพึ่งอ้วนสุด แต่สุดท้ายก็โดนลูกน้องสังหารตายระหว่างทาง รูปเตียวเมาจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเมา · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเลี้ยว

ตียวเลี้ยว (Zhang Liao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบแห่งราชวงศ์โจว จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัว โดยเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้นไม่ช้าไม่นาน ซุนกวนตั้งท่าจะรุกรานวุยก๊กอีก พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว ครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้น ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อาจกล่าวได้ว่านายพลเตียว “ทำแฮตทริก” ชนะง่อก๊กได้ถึงสามครั้ง ซึ่งคงมีนายทหารน้อยคนในแผ่นดินที่จะทำได้เช่นนี้ จากนั้นไม่นาน เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง เป็นการ "ป่วยตาย" ไม่ได้โดนเกาทัณฑ์ยิงในการรบเหมือนที่วรรณกรรมหลอกว้านจงเล่าไว้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่ไม่ได้มีดีแค่ฝีมือรบ แต่ยังเปี่ยมไปด้วยสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ให้เป็น “หมายเลขหนึ่ง” ในบรรดา “ห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก” ร่วมด้วย เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และ อิกิ๋ม ด้วยความที่อยู่วุยก๊ก ซึ่งมักถูกมองเป็น “ก๊กผู้ร้าย” ทำให้เตียวเลี้ยวไม่ได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำของผู้อ่านวรรณกรรมมากเท่ากับทหารเอกฝ่ายจ๊กอย่าง กวนอู เตียวหุย หรือจูล่ง ทั้งๆ ที่ “มือปราบกังตั๋ง” อย่างเขา ยิ่งใหญ่เกรียงไกรไม่แพ้นักรบคนไหนในแผ่นดินเล.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเลี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหยียง

ตียวเหยียง (Zhang Rang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นหัวหน้าของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่พระเจ้าเลนเต้ไว้วางพระทัยมากถึงขนาดที่พระองค์ทรงเรียกเตียวเหยียงว่าเป็นพ่อบุญธรรม.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหยียง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหลียง

ตียวเหลียง หรือ จาง เหลียง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหลียง (โจรโพกผ้าเหลือง)

เตียวเหลียง (Zhang Liang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นหนึ่งในแกนนำของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง เป็นน้องชายคนสุดท้องของเตียวก๊ก ได้รับการแต่งตั้งจากพี่ชายให้เป็นเจ้าพระยามนุษย์ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวเหลียง ตีเยวเหลียง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหลียง (โจรโพกผ้าเหลือง) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหียน

เตียวเหียน (Zhang Hong) เป็นที่ปรึกษาของซุนเซ็ก รับราชการพร้อมกับ เตียวเจียว เตียวเจียวและเตียวเหียนเป็น 2 ปราชญ์แซ่เตียวที่ทรงปัญญาในกังตั๋ง เป็นชาวเมืองกองเหล็ง (กฺวั่งหลิง) มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่า จื่อกาง เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถมาก ไม่เห็นแก่ลาภยศ ประพันธ์บทกวี่ไว้สิบกว่าบท เขียนอรรถาธิบายคัมภีร์อี้จิง คำประพันธ์ยุคฮั่น หลี่จี้ จ่อซื้อ ชุนซิว มีชื่อเสียงโด่งดังจิวยี่เป็นผู้แนะนำซุนเซ็กให้เชิญเตียวเหียนกับเตียวเจียวมาเป็นที่ปรึกษา ตอนแรกซุนเซ็กส่งของกำนัลและจดหมายไปเชิญ บุคคลทั้งสองไม่ยอมมา ซุนเซ็กต้องไปเชิญเองจึงยอมรับ เตียวเหียนได้รับแต่งตั้งให้เป็นชันเหมาเจิ้งหยี่ (เสนาธิการทหาร) ถ้าเตียวเหียนออกศึก เตียวเจียวจะควบคุมการบริหารอยู่ในเมือง ถ้าเตียวเจียวออกศึก เตียวเหียนก็จะอยู่ในเมือง เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา เมื่อซุนเซ็กเป็นใหญ่ขึ้นในกังตั๋ง ได้ให้เตียวเหียน ไปทูลพระเจ้าเหี้ยนเต้ที่ราชธานีฮูโต๋ โจโฉเห็นเตียวเหียนเป็นหัวแรงสำคัญของซุนเซ็ก ก็กักตัวไว้ ไม่ยอมให้กลับ พอซุนเซ็กตายแล้ว โจโฉยอมให้เตียวเหียนกลับมาช่วยซุนกวน โดยเชื่อว่าจะภักดีต่อโจโฉ เตียวเหียนรับราชการอยู่กับซุนกวน จนกระทั้งป่วยมาก จนต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ก่อนจะตายได้มีหนังสือแนะนำให้ซุนกวนย้ายเมืองหลวงของกังตั๋งจากลำซี มาตั้งที่เบาะเหลง (นานกิง) ซึ่งซุนกวนก็ได้ปฏิบัติตาม หมวดหมู่:ง่อก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหียน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเอี๋ยน

ตียวเอี๋ยน (Zhang Yan, ? — ?) แท่ทัพแห่งวุยก๊ก อดีตหัวหน้าโจรป่าแห่งภูเขาไท่หางและอดีตแม่ทัพแห่ง กบฏโพกผ้าเหลือง ในตอนแรกเตียวเอี๋ยนใช้ชื่อว่า ฉู่เอี๋ยน ต่อมาเมื่อกบฏโพกผ้าเหลืองถูกปราบจนราบคาบฉู่เอี๋ยนจึงได้มาอยู่กับ Zhang Niujue หัวหน้าโจรแห่งเขาไท่หางเมื่อหัวหน้าโจรสิ้นบุญฉู่เอี๋ยนจึงได้ขึ้นเป็นหัวหน้าโจรแทนพร้อมกับเปลี่ยนชื่อสกุลเป็น เตียว เพื่อระลึกถึงอดีตหัวหน้าโจร ใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเอ๊ก

ตียวเอ๊ก (Zhang Yi, ? — ค.ศ. 264) มีชื่อรองว่า ป้อกง เป็นขุนศึกแห่งจ๊กก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เตียวเอ๊กเกิดที่ตำบลอู่หยัง เมืองเจียนอุ๋ยเป็นทายาทที่สืบเชื้อสายจาก เตียวเหลียง ที่ปรึกษาคนสำคัญของ จักรพรรดิฮั่นเกา ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีความสามารถทางทหารได้รับพระราชทานยศเป็น ต้าเจียงจวิน (จอมพล) แรกเริ่มเดิมที เตียวเอ็กรับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยงแห่งเอ็กจิ๋วแต่หลังจากเล่าปีเข้ายึดครองเอ็กจิ๋วแล้วเขาก็ได้เข้าร่วมกับเล่าปี่ เขาได้เข้าต่อสู้เพื่อจ๊กก๊กหลายครั้ง เช่นศึกชิงฮันต๋ง ศึกอิเหลง และติดตามขงเบ้งบุกขึ้นปราบวุยก๊กที่ภาคเหนือ เมื่อ ขงเบ้ง อัครมหาเสนาบดีและสมุหนายกแห่งจ๊กก๊กถึงแก่กรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเอ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเจ (ฮั่นตะวันออก)

ตียวเจ (Zhang Ji, ? — ค.ศ. 196) ขุนพลของ ตั๋งโต๊ะ (Dong Zhuo) ในช่วงต้นของ ยุคสามก๊ก เตียวเจภายหลังจากที่ตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดย ลิโป้ (Lü Bü) ได้จับมือกับอดีตขุนพลของตั๋งโต๊ะอีก 3 คนคือ ลิฉุย (Li Jue), กุยกี (Guo Si) และ หวนเตียว (Fan Chou) บุกเข้ายึด พระนครฉางอัน (Chang an) สังหาร อ้องอุ้น (Wang Yun) และพยายามสังหารลิโป้แต่ลิโป้รู้ตัวและพา เตียวเสี้ยน (Diao Chan) หนีออกจากฉางอันไปได้ทำให้ขุนพลทั้ง 4 เข้าควบคุม จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน (Emperor Han Xian) หรือ พระเจ้าเหี้ยนเต้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเจ (ฮั่นตะวันออก) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเจียว

ตียวเจียว (Zhang Zhao) เป็นตัวละครใน วรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก เสนาธิการของ ซุนกวน ชื่อรอง จื่อปู้ เป็นชาวเมืองเผิงเฉิง ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรู้กว้างขวางคงแก่เรียนรับราชการมาตั้งแต่ซุนเซ็กและเป็นผู้ช่วยซุนเซ็กสร้างแคว้นกังตั๋งก่อนตายซุนเซ็กได้มอบให้เตียวเจียวดูแลซุนกวนซึ่งอายุยังน้อย เมื่อโจโฉนำทัพมาตั้งที่ริมแม่น้ำแยงซีเกียงตรงข้ามกับกังตั๋ง เพื่อเตรียมทำศึกกับกังตั๋ง เตียวเจียวได้หว่านล้อมให้ซุนกวนยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ แต่ขงเบ้งได้หว่านล้อมจิวยี่ให้สู้ศึกจนกระทั่งเอาชนะโจโฉในศึกผาแดงได้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเจียว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเค้า

เตียวเค้า (Zhang Ti) (ค.ศ. 236 -ค.ศ. 280) อัครมหาเสนาบดีคนสุดท้ายแห่ง ราชวงศ์ง่อ ในช่วงรัชสมัย พระเจ้าซุนโฮ ในช่วง การรุกรานของราชวงศ์จิ้น เตียวเค้าพร้อมกับเหล่าขุนศึกได้ออกรบต้านทานทัพของราชวงศ์จิ้นที่นำโดย กาอุ้น อย่างกล้าหาญจนกระทั่งตายในที่รบเมื่อปี ค.ศ. 280 หลังจากนั้นได้ไม่นานพระเจ้าซุนโฮก็ประกาศยอมแพ้.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเค้า · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเปา

ตียวเปา (Zhang Bao) เป็นบุตรชายคนโตของเตียวหุย อายุมากกว่ากวนหิน (บุตรชายกวนอู) 1 ปี เตียวเปาเป็นนักรบที่มีฝีมือไม่แพ้พ่อ ออกศึกกับพระเจ้าเล่าปี่ครั้งแรกที่ศึกอิเหลง (ออกศึกพร้อมกับกวนหิน) เพื่อแก้แค้นซุนกวนให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกฆ่าตาย เตียวเปาแสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง แต่ศึกครั้งนี้ พระเจ้าเล่าปี่ต้องพ่ายให้กับสติปัญญาของลกซุน จนต้องถอยทัพไปที่เป๊กเสีย และตรอมพระทัยสวรรคต หลังพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต เตียวเปาก็คอยช่วยเหลือขงเบ้งในศึกต่างๆ หลายครั้ง โดยมักจะได้รับคำสั่งให้ทำงานพร้อมกับกวนหิน ต่อมา เตียวเปาป่วยหนัก ในขณะที่ขงเบ้งไปตีวุยกก๊ก ในระหว่างที่กำลังได้ชัยสุมาอี้ ขงเบ้งกลับได้รับข่าวร้ายว่าเตียวเปาเสียชีวิตแล้ว ขงเบ้งเสียใจมากจนล้มป่วยต้องถอยทัพกลับไป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเปา · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเป๋า

ตียวเป๋า (Zhang Bu, ? — ค.ศ. 264) ขุนศึกแห่งง่อก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เตียวเป๋ามีส่วนสำคัญในการโค่นล้ม ซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่กุมอำนาจในราชสำนักและสถาปนา ซุนโฮ ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับ เตงฮอง ขุนศึกชั้นผู้ใหญ่ที่รับใช้ง่อก๊กมาถึง 4 สมัยแต่เตียวเป๋ากลับถูกพระเจ้าซุนโฮประหารชีวิตด้วยพระองค์เองเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเป๋า · ดูเพิ่มเติม »

เตียนห้อง

ตียนห้อง (Tian Feng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการของอ้วนเสี้ยว มีความคิดความอ่านดี แต่เลือกนายผิด ในช่วงที่โจโฉยกทัพกำลังมาตีเล่าปี่ที่ชีจิ๋ว เล่าปี่ส่งจดหมายถึงอ้วนเสี้ยวให้ช่วยตีฮูโต๋เพื่อทำให้โจโฉห่วงหน้าพะวงหลัง แต่อ้วนเสี้ยวอ้างว่าอ้วนซงบุตรคนเล็กของตนป่วยไม่มีจิตใจจะทำสงคราม เตียนห้องพยายามชี้ข้อดีของการบุกตี แต่อ้วนเสี้ยวไม่ฟัง ต่อมา อ้วนเสี้ยวคิดยกทัพตีโจโฉ เตียนห้องมาห้ามแล้วว่าครั้งก่อนที่ฮูโต๋ว่างเปล่ากลับไม่เข้าตี มาตีเมื่อโจโฉมีกำลังพร้อมสรรพต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน อ้วนเสี้ยวโกรธกล่าวหาว่าเตียนห้องพูดทำลายขวัญกองทัพ แล้วให้นำตัวไปขัง ต่อมา อ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้โจโฉราบคาบในศึกกัวต๋อสมดังคาดของเตียนห้อง อ้วนเสี้ยวคิดถ้าปล่อยเตียนห้องออกจากห้องขัง เตียนห้องต้องเยาะเย้ยตนแน่ จึงส่งคนไปสังหารเตียนห้อง แต่เตียนห้องรู้ชะตาตนเองดี จึงได้ปลิดชีวิตตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียนห้อง · ดูเพิ่มเติม »

เตียนอุย

ตียนอุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ชาวเมืองตันลิว เป็นองครักษ์คนสำคัญของโจโฉ เป็นคนรูปร่างใหญ่ ใช้ทวนคู่เป็นอาวุธ มีพลังแข็งแกร่ง เข้ามารับราชการกับโจโฉโดยการแนะนำของแฮหัวตุ้นในช่วงที่โจโฉมีอำนาจในภาคตะวันออก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียนอุย · ดูเพิ่มเติม »

เตียนเอี๋ยง

เตียวเอี๋ยง (Zhang Yang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้าเมืองเสียงต๋ง เป็นหนึ่งในเจ้าเมืองที่ร่วมกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ และเป็นหนึ่งในแปดเจ้าเมืองที่อ้วนเสี้ยวออกคำสั่งให้ไปตีด่านเฮาโลก๋วน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวเอี๋ยง.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียนเอี๋ยง · ดูเพิ่มเติม »

เตงหงี

ตงหงี (Ding Yi, ? — ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เจิ้งหลี่ เป็นที่ปรึกษาของ โจสิด บุตรชายของ โจโฉ ผู้ก่อตั้ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก เตงหงีเกิดที่ตำบลเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นนิวาสถานเดิมของ หลิวปัง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฮั่นเกา ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยเตงหงีได้เข้ามารับใช้วุยก๊กและเกือบจะได้แต่งงานกับบุตรสาวคนหนึ่งของโจโฉแต่กลับถูก โจผี บุตรชายคนที่ 2 ของโจโฉขัดขวางเนื่องจากโจผีเห็นว่าเตงหงีตาบอดข้างหนึ่งไม่คู่ควรและให้แต่งงานกับ แฮหัวหลิม บุตรชายคนที่ 2 ของ แฮหัวตุ้น ขุนศึกคนสำคัญของโจโฉแทนทำให้เตงหงีไม่พอใจและได้เป็นที่ปรึกษาให้กับบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉคือโจสิด เมื่อโจโฉได้ขึ้นเป็น วุยอ๋อง และใกล้จะเสียชีวิตได้เตรียมการแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งเตงหงีจึงเสนอชื่อโจสิดแต่โจโฉปฏิเสธและแต่งตั้งโจผีขึ้นเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งแทนเมื่อโจโฉถึงแก่อสัญกรรมใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงหงี · ดูเพิ่มเติม »

เตงฮอง

ตงฮอง (Ding Feng) เป็นแม่ทัพแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองโลกั๋ง มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับชีเซ่ง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) สมัยยังหนุ่มเขามีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในกองทัพอยู่เรื่อย ๆ ว่าเป็นคนที่กล้าหาญที่สุดในกองทัพ เตงฮองมีความดีความชอบมากมายในศึกหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือการต่อต้านการโจมตีของ จูกัดเอี๋ยนแห่งวุยก๊ก หลังจากซุนฮิวขึ้นเป็นฮ่องเต้ต่อจากซุนเหลียง เตงฮองได้ช่วยซุนฮิวสังหารซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการที่คุกคามฮ่องเต้ ทำให้เขาได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ รูปเตงฮองจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เตงจี๋

ตงจี๋ (Deng Zhi; 鄧芝) ทูตลิ้นทองของฝ่ายจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า โป๊ะโหมว เป็นชาวเมืองซินเอี๋ย เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีของราชวงศ์ฮั่น และหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นล่มสลายได้ย้ายไปอยู่ที่เสฉวน อาศัยอยู่ที่เซ็งโต๋ แรกทีเดียวมีหน้าที่เป็นขุนนางเล็ก ๆ คอยรับใช้ในในราชสำนัก ต่อมาได้สร้างชื่อเสียงด้วยวาทะศิลป์และความเฉลียวฉลาด พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงได้แต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้น เมื่อโจผีขึ้นครองราชย์แทนโจโฉแล้ว ได้ยกกองทัพทั้งหมด 4 สาย และอีกหนึ่งสายโดยส่งจดหมายไปขอความร่วมมือกับซุนกวน ให้ง่อก๊กยกไปตีจ๊ก๊กพร้อมกันตามคำแนะนำของสุมาอี้รวมทั้งหมดเป็น 5 สาย พระเจ้าเล่าเสี้ยนซึ่งเพิ่งครองราชย์ใหม่ ๆ ไม่รู้จะจัดการกับปัญหาอย่างไร เพราขงเบ้งก็ไม่ออกว่าราชการโดยอ้างว่า ป่วย บรรดาขุนนางทั้งหลายรุดไปเยี่ยม แต่ขงเบ้งก็ไม่เปิดบ้านพบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนต้องเสด็จไปเอง เมื่อได้สนทนาไปแล้ว ขงเบ้งบอกว่าทัพ 4 สายของโจผี ตนได้สลายไปแล้วด้วยแผนของตน ขาดแต่ทัพของง่อก๊กเท่านั้น ที่ยังขาดคนที่เหมาะสมเป็นทูตไปเจรจากับซุนกวน เกลี้ยกล่อมให้ซุนกวนเปลี่ยนใจมาเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊กดังเดิม เมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ยินดังนั้นก็คลายพระทัย และเสด็จกลับ แต่ขงเบ้งก็ยังไม่ยอมให้เหล่าขุนนางเข้าพบอีก มีแต่เตงจี๋คนเดียวที่หัวเราะอยู่ข้างนอกเพราะรู้ถึงใจขงเบ้ง ขงเบ้งเห็นเช่นนั้น จึงให้เตงจี๋เข้าพบคนเดียวเท่านั้น เมื่อได้สนทนากับเตงจี๋ ขงเบ้งถามเตงจี๋ว่า สถานการณ์เช่นนี้ท่านเห็นเป็นอย่างไร เตงจี๋ตอบว่า ควรเป็นพันธมิตรกับซุนกวนเพื่อต่อต้านวุยก๊กที่เข้มแข็งกว่า ขงเบ้งเห็นด้วยเพราะตรงกับความคิดตน และบอกว่า ท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นทูตครั้งนี้ เมื่อเตงจี๋เดินทางไปถึงง่อก๊ก ฝ่ายซุนกวนไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ได้ตั้งหม้อน้ำเดือดใบใหญ่ไว้หน้าท้องพระโรงเพื่อขู่เตงจี๋ เตงจี๋คาราวะซุนกวน แต่ไม่ก้มกราบ เตียวเจียวถามว่า ไฉนท่านจึงไม่ก้มกราบ เตงจี๋ตอบว่า ทูตของก๊กที่ใหญ่กว่าไม่ต้องกราบเจ้าก๊กที่เล็กกว่าหรอก บรรดาขุนนางง่อก๊กไม่พอใจ เตงจี๋จึงพูดว่า เรามาดี เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีร้ายต่อการณ์ครั้งนี้ แต่ท่านไม่จริงใจต่อข้าพเจ้า ตั้งหม้อเดือดไว้จะต้มข้าพเจ้า เช่นนั้นข้าพเจ้าสู้ลงไปต้มให้สุกสมใจท่านดีกว่า ว่าแล้วเตงจี๋ก็จะวิ่งลงหม้อ ซุนกวนตกใจได้ห้ามปรามไว้ เตงจี๋หัวเราะ และสั่งให้เตงจี๋ไปเจรจากับตนเป็นการส่วนตัวหลังท้องพระโรง เมื่อได้เจรจากันแล้วเตงจี๋ชี้ให้เห็นว่า จ๊กก๊กกับง่อก๊กอ่อนกว่าควรจะรวมมือกันเพื่อต่อต้านวุยก๊กที่แข็งกว่า ถ้าจ๊กก๊กล่มสลาย ง่อก๊กก็อยู่ไม่ได้ และถ้าง่อก๊กล่มสลาย จ๊กก๊กก็อยู่ไม่ได้อีกเช่นกัน ซุนกวนได้ยินดังนั้นจึงชอบใจมาก ยกย่องเตงจี๋ว่าเป็นทูตลิ้นทอง และตกลงเป็นสัมพันธมิตรกับจ๊กก๊ก รูปเตงจี๋จากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

เตงงาย

ตงงาย (Deng Ai) เป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊ก ในยุคสามก๊กตอนปลาย มีชื่อรองว่าซื่อไจ่ เป็นชาวตำบลจี๋หยาง มณฑลเหอหนาน เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี ชำนาญพิชัยสงคราม สุมาอี้เห็นปัญญาดีจึงเอาตัวมาส่งเสริม เมื่อเกียงอุย ขุนพลจ๊กก๊ก ลูกศิษย์ขงเบ้ง ยกทัพมาตีวุยก๊ก เตงงายก็สามารถยันทัพเกียงอุยไว้ได้ทุกครั้ง ในกาลนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนปกครองจ๊กก๊ก ทรงลุ่มหลงสุรานารี ทำให้บ้านเมืองแหลกเหลว สุมาเจียวจึงให้เตงงายและจงโฮยยกทัพเข้าตีจ๊กก๊ก เตงงายเดินทัพลัดเลาะมาทางด่านอิมเป๋งและสามารถยึดเสฉวนได้ในที่สุด เตงงายถือว่าเป็นผู้พิชิตจ๊กก๊ก มีความดีความชอบใหญ่หลวง แต่สุมาเจียวกลับระแวงเตงงาย จึงให้จงโฮยกับอุยก๋วนปราบเตงงายและจับตัวส่งไปเมืองหลวง ระหว่างทางก็ให้สังหารเตงงายกับเตงต๋งผู้บุตรเสี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงงาย · ดูเพิ่มเติม »

เตงต๋ง

เตงต๋ง เป็นบุตรชายของเตงงาย ยอดขุนพลของวุยก๊ก หน้านวลเหมือนทาแป้ง ริมฝีปากเหมือนทาชาด เตงต๋งมีความชำนาญในการใช้ทวน ได้เคยประฝีมือกับเกียงอุย แม่ทัพของจ๊กก๊กมาแล้ว เกียงอุยสู้ไม่ได้ นึกในใจว่า"เจ้าหนุ่มคนนี้มีฝีมือเข้มแข็งอยู่" เตงต๋งออกรบกับจกก๊กภายใต้บังคับบัญชาของบิดาของตนเสมอ ครั้งสำคัญที่สุดคือการเข้าตีเสฉวนของจกก๊กผ่านทางด่านอิมเป๋ง ข้ามภูเขามอเทียนเนีย เตงต๋งได้รับคำสั่งให้คุมทหารห้าพันคน นำทางให้ทหารผ่านไปทางลัด ทหารทำทางต้องประสบกับความยากลำบากแสนสาหัส แต่เตงต๋งก็ทำงานได้สำเร็จ และกองทัพของเตงงายก็สามารถเข้ายึดราชธานีเฉิงตูได้อย่างง่ายดาย หลังจากยึดแคว้นจกก๊กได้แล้ว เตงต๋งถูกสุมาเจียวสั่งจับพร้อมกับบิดาด้วยสงสัยว่าจะแข็งเมือง และถูกฆ่าตายระหว่างทางพร้อมกับบิดา รูปเตงต๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เตงเมา

เตงเมา (Deng Mao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นสมาชิกของกลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง แม่ทัพรองของเทียอ้วนจี้ เทียอ้วนจี้และเตงเมาได้นำกองโจร 50,000 นาย ยกไปตีเมืองอิวจิ๋ว เล่าเอี๋ยนเจ้าเมืองจึงให้เล่าปี่ พร้อมด้วยกวนอู เตียวหุย ยกกองทหาร 500 ไปปราบโจร กงอกำลังทั้งสองยกไปประจันหน้ากันที่เขาไทเหียงสัน เตียวหุยได้เข้าต่อสู้กับเตงเมา และสามารถสังหารเตงเมาได้ ส่วนเทียอ้วนจี้ถูกกวนอูสังหาร ส่วนกองโจรเมื่อนายตายก็หมดกำลังใจรบจึงถูกกองทหารของเล่าปี่ตีแตกพ่าย ตเงเมา en:List of fictional people of the Three Kingdoms#Chapter 1.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงเมา · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งหงวน

ต๊งหงวน (Ding Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเต๊งจิ๋ว มีลูกเลี้ยงและองครักษ์คนหนึ่งชื่อลิโป้ เต๊งหงวนเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่ง ที่โฮจิ๋นเรียกตัวมาเพื่อกำจัด 10 ขันที หลังจากโฮจิ๋นถูก 10 ขันทีสังหาร และ 10 ขันทีถูกกำจัดจนสิ้น ตั๋งโต๊ะ เจ้าเมืองซีหลงได้เข้ามากุมอำนาจในเมืองหลวง และเสนอเหล่าขุนนางให้ปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ และสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน แต่เหล่าขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เต๊งหงวนเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นด่าตั๋งโต๊ะว่าเป็นกบฏ แต่ตั๋งโต๊ะไม่กล้าจัดการกับเต๊งหงวน เพราะมีลิโป้ยืนถือทวนอยู่ข้างหลัง ตั๋งโต๊ะได้ออกอุบายให้ลิโป้มาอยู่ข้างตน โดยให้คนนำทรัพย์สินเงินทองไปซื้อตัวลิโป้ และสั่งให้ลิโป้ไปฆ่าเต๊งหงวน เต๊งหงวนถูกลิโป้สังหารในปี..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเต๊งหงวน · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งไก๋

นศึกในช่วง ค.ศ. 194 เต๊งไก๋ (Tian Kai, ?— ค.ศ. 199) ผู้ตรวจการแห่งเฉงจิ๋วซึ่งรับใช้ กองซุนจ้าน ขุนศึกที่มีชื่อเสียงแห่ง ยุคสามก๊ก ในช่วงปลายยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เมื่ออ้วนเสี้ยวได้ก่อตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองเพื่อปราบตั๋งโต๊ะที่เข้ายึดอำนาจจากราชสำนักฮั่นซึ่งกองซุนจ้านก็เป็นหนึ่งในแม่ทัพใหญ่ที่ได้เข้าร่วมเต๊งไก๋จึงได้ติดตามกองซุนจ้านเข้าทำศึกในครั้งนี้ด้วย หลังจากที่กองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองได้สลายตัวไปใน..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเต๊งไก๋ · ดูเพิ่มเติม »

เปาสิ้น

ปาสิ้น (Bao Xin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีน้องชายชื่อเปาต๋ง เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะเริ่มเข้ามามีอำนาจในเมืองหลวง เปาสิ้นคิดอ่านเห็นว่า หากนานไปตั๋งโต๊ะต้องคิดเหิมเกริมเป็นแน่แท้ จึงปรึกษาอ้วนเสี้ยวเพื่อหาทางกำจัดตั๋งโต๊ะ แต่อ้วนเสี้ยวยังมิเห็นด้วย อ้วนเสี้ยวว่าแผ่นดินเพิ่งสงบ ยังมิควรก่อการใดๆให้วุ่นวายอีก เปาสิ้นจึงไปปรึกษาอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นก็คิดอ่านเช่นเดียวกันกับอ้วนเสี้ยว อ้องอุ้นว่าจะทำการใดต้องคิดตรองดูให้ดีก่อน เปาสิ้นน้อยใจ พาพรรคพวกออกไปอยู่ป่า ภายหลังครั้งรวบรวมกองกำลังพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะ เปาสิ้นก็ได้นำทัพมาร่วมด้วย ครั้งนั้นเปาสิ้นสั่งให้เปาต๋งนำทหารม้า 5,000 นายบุกตีด่านกิสุยก๋วน แต่แตกพ่ายแก่ทัพของฮัวหยง เปาต๋งเสียชีวิตในการรบ ภายหลังเปาสิ้นเข้าเป็นขุนพลใต้สังกัดของแฮหัวตุ้น ปีหนึ่งโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาดหนักในหลายพื้นที่ โจโฉส่งทัพไปปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง เปาสิ้นก็เข้าร่วมการรบด้วย แต่เสียชีวิตในการรบ รูปเปาสิ้นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปาสิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เปาสูหยิน

เปาสูหยิน (Fu Shiren) เป็นหนึ่งในตัวละครจาก สามก๊ก โดยเป็นแม่ทัพใต้บัญชาของกวนอู ต่อมาได้ร่วมมือกับบิฮอง น้องชายของบิต๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ ทรยศกวนอูไปสวามิภักดิ์กับซุนกวน ทำให้กวนอูกับกวนเป๋ง ลูกบุญธรรมถูกจับประหารชีวิตในที่สุด ต่อมาเปาสูหยินได้กลับมาสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แต่เล่าปี่ไม่ยอมและจับเปาสูหยินกับบิฮองประหารชีวิตเพื่อล้างแค้นแทนกวนอูและกวนเป๋ง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ป.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปาสูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

เปาจิด

ปาจิด (Bu Zhi) เป็นบัณฑิตหนึ่งในที่ปรึกษาของซุนกวน ก่อนจะเริ่มศึกเซ็กเพ็ก เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ปรึกษาที่สนับสนุนให้ ซุนกวน จำนนต่อโจโฉ ในขณะที่ฝ่ายกองทัพ ต้องการที่จะสู้ หลังจากนั้นเมื่อ ขงเบ้งเดินทางเพื่อเจรจาชักชวนให้ ซุนกวน ทำศึก และทำสงครามวาทะกับเหล่าที่ปรึกษาของง่อ เปาจิดก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และระหว่างการบุกวุยก๊กของกวนอู เขาเป็นคนคาดการณ์ การเคลื่อนไหวของกวนอูและโจหยิน ทำให้ง่อก๊กได้เกงจิ๋วคืนมา นอกจากนี้ ยังเป็นผู้เสนอแผนให้ส่งหัวของ ฮอมเกียงและเตียวตัด คนที่ฆ่าเตียวหุย เพื่อสงบศึกกับเล่าปี.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปาจิด · ดูเพิ่มเติม »

เปาต๋ง

ปาต๋ง (Bao Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นน้องชายและขุนพลคนสนิทของเปาสิ้น เจ้าเมืองเจปัก เปาสิ้นได้เข้าร่วมกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อล้มล้างตั๋งโต๊ะในปี พ.ศ. 732 โดยซุนเกี๋ยนเจ้าเมืองเตียงสาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทัพหน้าในการตีด่านกิสุยก๋วน อันเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองหลวงลกเอี๋ยง เปาสิ้นคิดริษยาเกรงว่าซุนเกี๋ยนจะได้รับความชอบแต่เพียงผู้เดียว จึงให้เปาต๋งคุมทหารห้าหมื่นนายยกไปทางลัด เพื่อตีด่านกิสุยก๋วนตัดหน้าซุนเกี๋ยน แต่เปาต๋งก็ถูกฮัวหยงขุนพลของตั๋งโต๊ะสังหาร ส่วนทหารเจปักทั้งห้าหมื่นนายก็ถูกตีแตก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปาต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เปาเตียว

ปาเตียว (Fu Rong, ? — ค.ศ. 222) ขุนศึกแห่ง จ๊กก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ใน ศึกอิเหลง เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปาเตียว · ดูเพิ่มเติม »

เปียนสี

ปียนสี (Empress Dowager Bian) ภรรยาของโจโฉและเป็นพระราชมารดาของ พระเจ้าเว่ยเหวิน หรือ พระเจ้าโจผี ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์วุย นางเปียนสีเกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปียนสี · ดูเพิ่มเติม »

เปี๋ยนฮี

ปี๋ยนฮี (Bian Xi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเป็นขุนพลผู้รักษาด่านกิสุยก๋วน.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเปี๋ยนฮี · ดูเพิ่มเติม »

เป้า ซานเหนียง

เป้า ซานเหนียง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นลูกสะใภ้ของกวนอู และเป็นภรรยาของกวนสก เป้า ซานเหนียง นักรบสาวสวยผู้ที่จะยอมแต่งงานกับบุรุษที่สามารถเอาชนะตนได้เท่านั้น ความรักของทั้งสองจึงกลายมาเป็นตำนานและเป็นเรื่องที่ชาวจีนนำมาแสดงละครกันมากเรื่องหนึ่ง หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเป้า ซานเหนียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อตัวละครในสามก๊กตัวละครในสามก๊ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »