โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก vs. เอียวสิ้ว

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน. อียวสิ้ว (Yang Xiu; 杨修) ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉแห่งวุยก๊ก เขาเป็นชาวเมืองหัวะอิน มณฑลส่านซี มีชื่อรองว่า เต๊อะจู่ เป็นบุตรชายของเอียวปิด เป็นผู้มีรูปร่างหน้าเกลี้ยงเกลา คิ้วและนัยน์ตาเล็ก ฉลาดเฉียวมากปัญญา แต่ชอบใช้ปัญญามากกว่าสติ อันเป็นที่มาของจุดจบชีวิต รับราชการกับโจโฉในตำแหน่งผู้ตรวจบัญชีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่รู้เท่าทันโจโฉตลอดเวลา จึงเป็นที่ระแวงของโจโฉ เอียวสิ้วมักคบหากับโจสิด บุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเฉลียวฉลาดเช่นกัน จึงมักเป็นที่ไม่พอใจแก่โจโฉ และโจโฉก็ได้เตือนโจสิดเสมอ ๆ ถึงเรื่องเอียวสิ้ว เมื่อโจโฉติดพันการรบกับขงเบ้งที่ทุ่งหันซุย และกำลังจะถอนทัพกลับ แต่ก็ยังมิได้ตัดสินใจเด็ดขาดและบอกแก่ใคร ตกกลางคืน แฮหัวตุ้นเข้ามาถามโจโฉในที่พักว่า คืนนี้จะให้ขานรหัสว่าอะไร โจโฉขณะรับประทานอาหารอยู่ ได้ใช้ตะเกียบคีบซี่โครงไก่อยู่พอดี จึงตอบไปว่า ซี่โครงไก่ เมื่อรู้กันในกองทัพว่า รหัสคืนนี้คือ ซี่โครงไก่ เอียวสิ้วจึงบอกให้แฮหัวตุ้นสั่งการแก่ทหารทั้งปวงให้เก็บข้าวของ เพราะโจโฉตัดสินใจถอนทัพแล้ว แฮหัวตุ้นสงสัยว่าท่านทราบได้อย่างไร เอียวสิ้วจึงตอบคลายสงสัยทั้งหมดว่า เพราะซี่โครงไก่ไม่มีเนื้อก็จริง แต่ทิ้งไปก็เสียดายรสชาติ เหมือนท่านโจโฉขณะนี้จะถอนทัพกลับไปก็เสียดาย แต่อยู่ไปก็ไม่ชนะ เมื่อโจโฉรู้ว่าทหารทั้งหมดเก็บข้าวของโดยที่ตนไม่ได้ออกคำสั่ง ว่ามาจากเอียวสิ้ว ก็โมโห และสั่งประหารชีวิตเอียวสิ้วทันที แม้จะไม่เต็มใจนัก โดยอ้างว่า เอียวสิ้วทำให้ทหารเสียขวัญ ก่อนตายเอียวสิ้วเสียใจที่โจโฉทำอย่างนี้กับตน แต่ก็ได้กล่าวเตือนสติโจโฉว่า ต่อไปนี้ท่านอย่าได้ทำการใด ๆ ที่เป็นการฝืนตนเองอีก โจโฉจึงต้องแสดงให้ทหารเห็นว่า ตนมิได้เสียขวัญ ออกนำทัพด้วยตนเอง ปรากฏว่าต้องอุบายของขงเบ้งจนกองทัพพ่ายแพ้และโจโฉก็ถูกฮองตงยิงธนูถูกปาก พลัดตกจากหลังม้า ฟันหักไป 3 ซี่ ปากคอบวมเป่ง เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด จากนั้นโจโฉก็ต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับเมืองลกเอี๊ยง ในช่วงนั้นเขาก็ได้นึกถึงเอียวสิ้วและสำนึกว่าเอียวสิ้วคาดการณ์ถูกต้องจริงๆ โจโฉได้จัดพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติเพื่อทดแทนคุณความดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุคสามก๊กวุยก๊กฮองตงจูกัดเหลียงแฮหัวตุ้นโจสิดโจโฉ

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ยุคสามก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวุยก๊ก · วุยก๊กและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองตง · ฮองตงและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จูกัดเหลียงและเอียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวตุ้น

แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun) เป็นนายพลภายใต้ทัพวุยก๊กของโจโฉในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน แฮหัวตุ้นยังเป็นญาติกับโจโฉโดยแต่เดิมโจโฉนามสกุล "แฮหัว" แต่ได้เปลี่ยนตามพ่อบุญธรรมเป็นสามสกุล "โจ" แฮหัวตุ้นเป็นแม่ทัพมือขวาและยังเป็นลูกพี่ลูกน้องที่โจโฉให้ความไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง และเขาก็เป็นคนที่อยู่กับโจโฉมาตั้งแรกเริ่มที่โจโฉเริ่มก่อการจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเขาได้โจโฉขยายอำนาจในการต่อสู้กับ เล่าปี่ ซุนกวน และ ลิโป้ แฮหัวตุ้นสูญเสียดวงตาข้างซ้ายในศึกเสียวพ่าย ในปี..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวตุ้น · เอียวสิ้วและแฮหัวตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โจสิด

(Cao Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775 บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจสิด · เอียวสิ้วและโจสิด · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจโฉ · เอียวสิ้วและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอียวสิ้ว มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 1.76% = 7 / (382 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเอียวสิ้ว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »