เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก vs. สิบขันที

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน. ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที มี 32 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กบฏโพกผ้าเหลืองก๊กเสงยุคสามก๊กราชวงศ์ฮั่นลิโป้วรรณกรรมสามก๊กหองจูเหียบหองจูเปียนอองของอ้วนสุดอ้วนเสี้ยวฮองสีจักรพรรดิฮั่นหลิงจักรพรรดิฮั่นหฺวันตั๋งโต๊ะต๋วนกุยประวัติศาสตร์ประเทศจีนโลติดโฮจิ๋นโฮเฮาเชียกงเกียนสิดเหาลำเห้หุยเทาเจียดเตียวก๊กเตียวต๋งเตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น)...เตียวเหยียงเต๊งหงวน ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

กบฏโพกผ้าเหลืองและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · กบฏโพกผ้าเหลืองและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ก๊กเสง

ก๊กเสง หรือ กุยเสง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวเซิ่ง (เสียชีวิต ค.ศ. 189) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีการเรียกชื่อก๊กเสงเป็น 2 ชื่อ คือก๊กเสงและกุยเสง โดยเรียกเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกว่าก๊กเสง ในภายหลังเรียกว่ากุยเสงโดยบอกว่าอยู่นอกกลุ่มสิบขันที ซึ่งเป็นความเข้าใจผ.

ก๊กเสงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ก๊กเสงและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ยุคสามก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ยุคสามก๊กและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ราชวงศ์ฮั่นและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ราชวงศ์ฮั่นและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิโป้ · ลิโป้และสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวรรณกรรม · วรรณกรรมและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · สามก๊กและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ · สิบขันทีและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเปียน · สิบขันทีและหองจูเปียน · ดูเพิ่มเติม »

อองของ

อองของ (Wang Kuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก แต่เดิมอยู่ใต้สังกัด โฮจิ๋น ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองโห้ลาย เป็นหนึ่งในเจ้าเมืองที่ร่วมกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ และเป็นหนึ่งในแปดเจ้าเมืองที่อ้วนเสี้ยวออกคำสั่งให้ไปตีด่านเฮาโลก๋วน ทัพของอองของเป็นทัพแรกที่มาถึงด่านเฮาโลก๋วน อองของสั่งให้ขุนพลของตนเอง หองหยก ออกไปสู้กับลิโป้ แต่ก็ถูกลิโป้สังหารอย่างรวดเร็ว สุดท้ายทัพอองของก็ถูกลิโป้ตีแตกพ่าย ยังดีได้ทัพของเตียวเมา และอ้วนอุ๋ยได้ยกทัพมาช่วยได้ทันเวลา ลิโป้จึงถอนทัพกลับไปตั้งในด่านเฮาโลก๋วน รูปอองของจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองของ · สิบขันทีและอองของ · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนสุด

อ้วนสุด (Yuan Shu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก น้องชายของอ้วนเสี้ยว อ้วนสุดเป็นคนที่นิสัยเหมือนกับอ้วนเสี้ยวญาติผู้พี่ คือ โลเลเหลาะแหละ ชอบแต่คนประจบสอพลอ ซ้ำยังมีความละโมบโลภมากกว่า เมื่อซุนเซ็กนำตราหยกมาจำนำเพื่อยืมทหาร จึงยึดเป็นของตนเอง ก่อนจะสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า "ต๋องซือ" ในการปราบตั๋งโต๊ะร่วมกับหลายเมือง อ้วนสุดเกรงว่าซุนเกี๋ยนจะนำทัพเข้าตีเข้าเมืองลกเอี๋ยงได้ จะได้ความดีความชอบ จึงแกล้งไม่ส่งเสบียงให้ เป็นต้นเหตุให้กองทัพของเมืองเตียงสาต้องแพ้ ทั้ง ๆ ที่กำลังจะได้ชัยชนะอยู่แล้ว.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนสุด · สิบขันทีและอ้วนสุด · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนเสี้ยว · สิบขันทีและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ฮองสี

องสี (Feng Xu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองสี · สิบขันทีและฮองสี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหลิง

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จักรพรรดิฮั่นหลิงและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหฺวัน

ฮั่นหฺวัน (132–168) ชื่อตัวว่า หลิว จื้อ (劉志) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น หลิว จื้อ เป็นเหลนของพระเจ้าฮั่นจาง ในปี 145 พระเจ้าฮั่นชงสิ้นพระชนม์ นางเหลียง น่า (梁妠) พระมารดาพระเจ้าฮั่นชง จึงยกหลิว จวั่น (劉纘) ญาติของพระเจ้าฮั่นชง ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เหลียง จี้ (梁冀) พี่ชายของนางเหลียง น่า ได้เป็นใหญ่ในราชการแผ่นดิน และในปี 146 เหลียง จี้ ก็ฆ่าหลิว จวั่น ทิ้ง นางเหลียง น่า จึงยกหลิว จื้อ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดมา ขณะนั้น หลิว จื้อ อายุได้สิบสี่ปี เมื่อเสวยราชย์แล้ว หลิว จื้อ กำจัดอิทธิพลของพี่น้องสกุลเหลียงเป็นผลสำเร็จ โดยได้ความช่วยเหลือจากเหล่าขันที แต่นั้นก็เป็นเหตุให้ขันทีเข้ามาครอบงำกิจการบ้านเมืองแทน ขันทีทั้งหลายฉ้อฉลไม่ต่างจากพี่น้องสกุลเหลียง ราษฎรจึงไม่สิ้นความเดือดร้อน ในปี 166 บัณฑิตจำนวนมากประท้วงต่อต้านรัฐบาล หลิว จื้อ จึงสั่งให้จับผู้ประท้วงทั้งสิ้น ราชวงศ์ฮั่นก็เข้าสู่ความเสื่อมอีกระดับหนึ่ง หลิว จื้อ อยู่ในสมบัติได้ยี่สิบสองปีก็วายชนม์ไปในปี 168 อายุได้สามสิบหก หลิว หง (劉宏) ญาติของหลิว จื้อ ได้เป็นกษัตริย์สืบต่อมา หมวดหมู่:จักรพรรดิราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์.

จักรพรรดิฮั่นหฺวันและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จักรพรรดิฮั่นหฺวันและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ตั๋งโต๊ะและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ต๋วนกุย

ต๋วนกุย (Duan Gui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อโฮจิ๋นถูกสิบขันทีสังหาร โจโฉและอ้วนเสี้ยว ลูกน้องของโฮจิ๋นจึงได้นำกำลังทหารกำจัดขันที เตียวเหยียงและต๋วนกุยได้จับพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้และตันลิวอ๋องหนีออกนอกเมือง ต่อมาเห็นว่าจวนตัวจึงทิ้งพระเจ้าเซ่าตี้และตันลิวอ๋อง แล้วหนีไปคนละทิศละทาง ต๋วนกุยหนีจนไปพบกองทัพบินของซึ่งกำลังตามพระเจาเซ่าตี้ บินของเห็นต๋วนกุยจึงถามว่าฮ่องเต้และพระอนุชาอยู่ที่ไหน ต๋วนกุยบอกว่าตนได้ปล่อยทิ้งในป่าแล้ว บินของจึงสังหารต๋วนกุยเสี.

ต๋วนกุยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ต๋วนกุยและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ประวัติศาสตร์และรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ประวัติศาสตร์และสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ประเทศจีนและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

โลติด

ลติด (Lu Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง อันได้แก่ โลติด ฮองฮูสง จูฮี.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโลติด · สิบขันทีและโลติด · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิ๋น

หอ จิ้น หรือสำเนียงแต้จิ๋วว่า โฮจิ๋น (เสียชีวิต 22 กันยายน ค.ศ. 189) มีชื่อรองว่าซุ่ยเกา เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นบุตรคนโตของนางบูยงกุ๋น เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮา ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าเลนเต้ เป็นผู้นำกองทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นได้ตั้งหองจูเปียนโอรสองค์โตของพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮาขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน และคิดกำจัด 10 ขันที และพวกขันทีรู้ตัวก่อนจึงลวงโฮจิ๋นไปฆ่า รูปโฮจิ๋นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮจิ๋น · สิบขันทีและโฮจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โฮเฮา

มเด็จพระจักรพรรดินีเหอ (Empress He (Ling)) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาในพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีพระเชษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือโฮจิ๋น ดำรงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ปรึกษา มีพระราชบุตรชื่อหองจูเปียน ภายหลังจากพระเจ้าฮั่นเลนเต้เสด็จสวรรคต โฮจิ๋นได้แต่งตั้งหองจูเปียนขึ้นเป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ โฮเฮาซึ่งเป็นพระมารดาจึงมีฐานะตามตำแหน่งเป็นไทเฮาแห่งราชวงศ์ฮั่น ต่อมาตั๋งโต๊ะสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ และควบคุมตัวหองจูเปียน โฮเฮาและพระสนมไปคุมขังและลอบสังหารด้วยการนำไปมัดจนถึงแก่ความตายในปี..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮเฮา · สิบขันทีและโฮเฮา · ดูเพิ่มเติม »

เชียกง

ียกง หรือ เทียควง (Cheng Kuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เชียกงและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เตียวต๋ง เห้หุย และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเชียกง · สิบขันทีและเชียกง · ดูเพิ่มเติม »

เกียนสิด

กียนสิด หรือ เกนหวน (เสียชีวิต ค.ศ. 189) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี่ยนชั่ว เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้ประชวรหนักใกล้สวรรคต พระองค์ได้เรียกเกียนสิดมาปรึกษาเรื่องรัชทายาท เกียนสิดแนะนำว่าควรให้หองจูเหียบซึ่งเป็นพระโอรสองค์เล็กขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องจากโฮจิ๋น พระปิตุลาของหองจูเปียนพระโอรสองค์โตยังกุมอำนาจทางการทหารอยู่ จึงควรให้สังหารโฮจิ๋นเสีย พระเจ้าเลนเต้ทรงเห็นชอบจึงส่งคนไปเรียกโฮจิ๋นเพื่อลวงสังหาร แต่แผนการของเกียนสิดกลับรั่วไหล โฮจิ๋นทราบความจึงคิดกำจัดเหล่า 10 ขันที ต่อมา พระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นทูลเชิญหองจูเปียขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วให้อ้วนเสี้ยวคุมกองกำลังห้าพันนายออกตามสังหารเกียนสิด เกียนสิดหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ แล้วถูกก๊กเสงซึ่งมีใจพยาบาทเกียนสิดฆ่าตาย เหล่าขันทีที่เหลือ 9 คนได้ตัดศีรษะเกียนสิดมาขอขมาโฮจิ๋น แล้วบอกว่าแผนการสังหารโฮจิ๋นนั้นเป็นความคิดของเกียนสิดแต่เพียงผู้เดียว พวกตนที่เหลือมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ขันทีที่เหลือจึงรอดจากการถูกสังหารของโฮจิ๋น.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเกียนสิด · สิบขันทีและเกียนสิด · ดูเพิ่มเติม »

เหาลำ

หาลำ (เสียชีวิต ค.ศ. 172) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า โหฺวหล่าน เป็นขุนนางขันทีผู้รับราชการในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 168–189) ในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน เหาลำปรากฏเป็นตัวละครในช่วงต้นของวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก โดยระบุว่าเหาลำเป็นหนึ่งในสิบขันที แม้ว่าตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้วเทาเจียดไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเหาลำ · สิบขันทีและเหาลำ · ดูเพิ่มเติม »

เห้หุย

ห้หุย (Xia Yun) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เห้หุยและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เตียวต๋ง เชียกง และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเห้หุย · สิบขันทีและเห้หุย · ดูเพิ่มเติม »

เทาเจียด

ทาเจียด (เสียชีวิต ค.ศ. 181) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เฉาเจี๋ย มีชื่อรองว่าฮั่นเฟิง เป็นขุนนางขันทีในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และขึ้นมามีอำนาจในรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 168–189) เทาเจียดมีส่วนร่วมในการต่อสู้ชิงอำนาจกับขุนนางฝ่ายตรงข้ามที่นำโดยเตาบูและตันผวนในรัชสมัยพระเจ้าหวนเต้ (ฮั่นหฺวันตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 146-168) ต่อต้นรัชสมัยพระเจ้าเลนเต้ เทาเจียดปรากฏชื่อในช่วงต้นของวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก โดยระบุว่าเทาเจียดเป็นหนึ่งในสิบขันที แม้ว่าตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้วเทาเจียดไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเทาเจียด · สิบขันทีและเทาเจียด · ดูเพิ่มเติม »

เตียวก๊ก

เตียวก๊ก (Zhang Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและหัวหน้ากลุ่มโจรโพกผ้าเหลือง เป็นชาวเมืองกิลกกุ๋น เตียวก๊กเดิมเป็นแค่สามัญชน เคยสอบเข้ารับราชการแต่ไม่ผ่าน จึงได้กลับบ้านเกิด เที่ยวหาสมุนไพร จนมาพบเซียนคนหนึ่ง เซียนคนนั้นได้ให้ตำราไทแผงเยาสุดให้แก่เตียวก๊ก เตียวก๊กได้ศึกษาตำรานั้นแล้วนำความรู้มาใช้รักษาโรคให้แก่ชาวบ้าน เป็นที่เลื่อมใสแก่ชาวบ้านในหลายเมืองเป็นอย่างมาก ต่อมาเตียวก๊กจึงรวบรวมผู้คนได้ 5 แสนคนแล้วตั้งเป็นกองทัพขึ้น เป้าหมายคือการล้มล้างราชบัลลังก์ฮั่น และให้ตนเป็นผู้นำแทน ทหารในกองทัพนี้ล้วนโพกผ้าเหลืองกันทุกคน จึงถูกเรียกว่า โจรโพกผ้าเหลือง แต่การใหญ่ยังไม่สำเร็จ เตียวก๊กก็ป่วยตายเสียหาย ในเวลาต่อมากองทัพโจรโพกผ้าเหลืองจึงถูกกำจัดหมดสิ้น จากที่เตียวก๊กก่อตั้งกองทัพโจรโพกผ้าเหลืองนี้เอง ทำให้เหล่าขุนศึกต่างๆพากันสั่งสมกำลัง และทำการแย่งชิงอาณาเขตและอำนาจกัน ทำให้แผ่นดินจีนเกิดแยกเป็นสามก๊กในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวก๊ก ตีเยวก๊ก.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวก๊ก · สิบขันทีและเตียวก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เตียวต๋ง

ตียวต๋ง (Zhao Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นสมาชิกขันทีของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่มีอำนาจมากในรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สววรคต โฮจิ๋น แม่ทัพใหญ่ได้วางแผนกำจัดสิบขันทีโดยขอให้กองกำลังหัวเมืองยกมาเมืองหลวงเพื่อปราบสิบขันที เหล่าสิบขันทีทราบข่าวจึงได้วางแผนลวงโฮจิ๋นมาฆ่าได้สำเร็จ เหล่าทหารของโฮจิ๋นเมื่อรู้ว่าโฮจิ๋นตายแล้ว จึงพังประตูชั้นในแล้วบุกเข้าไปในวัง เตียวต๋งและเพื่อนขันทีอีก 3 คน คือ เชียกง เห้หุย และก๊กเสง รีบหนีเข้าไปในสวนดอกไม้ ทหารโฮจิ๋นจึงตามไปสังหารทั้ง 4 คน แล้วสับศพจนละเอี.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวต๋ง · สิบขันทีและเตียวต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น)

ตียวโป้ (Qiao Mao, ? — ค.ศ. 190) ตัวละครที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก เป็นเจ้าเมืองตองกุ๋น เป็นหลานของ เกียวก๊กโล จึงมีศักดิ์เป็นญาติกับสองสาวงามแห่ง กังตั๋ง คือ ไต้เกี้ยว และ เสียวเกี้ยว เตียวโป้ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ อ้วนเสี้ยว และเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 16 เมืองใน ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เมื่อ..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น) · สิบขันทีและเตียวโป้ (เจ้าเมืองตองกุ๋น) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหยียง

ตียวเหยียง (Zhang Rang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นหัวหน้าของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่พระเจ้าเลนเต้ไว้วางพระทัยมากถึงขนาดที่พระองค์ทรงเรียกเตียวเหยียงว่าเป็นพ่อบุญธรรม.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหยียง · สิบขันทีและเตียวเหยียง · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งหงวน

ต๊งหงวน (Ding Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเต๊งจิ๋ว มีลูกเลี้ยงและองครักษ์คนหนึ่งชื่อลิโป้ เต๊งหงวนเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่ง ที่โฮจิ๋นเรียกตัวมาเพื่อกำจัด 10 ขันที หลังจากโฮจิ๋นถูก 10 ขันทีสังหาร และ 10 ขันทีถูกกำจัดจนสิ้น ตั๋งโต๊ะ เจ้าเมืองซีหลงได้เข้ามากุมอำนาจในเมืองหลวง และเสนอเหล่าขุนนางให้ปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ และสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน แต่เหล่าขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เต๊งหงวนเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นด่าตั๋งโต๊ะว่าเป็นกบฏ แต่ตั๋งโต๊ะไม่กล้าจัดการกับเต๊งหงวน เพราะมีลิโป้ยืนถือทวนอยู่ข้างหลัง ตั๋งโต๊ะได้ออกอุบายให้ลิโป้มาอยู่ข้างตน โดยให้คนนำทรัพย์สินเงินทองไปซื้อตัวลิโป้ และสั่งให้ลิโป้ไปฆ่าเต๊งหงวน เต๊งหงวนถูกลิโป้สังหารในปี..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเต๊งหงวน · สิบขันทีและเต๊งหงวน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ความสัมพันธ์ขณะที่ สิบขันที มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 32, ดัชนี Jaccard คือ 7.48% = 32 / (382 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: