โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก vs. เบ้งตัด

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน. ้งตัด (Meng Da) เป็นขุนนางคนหนึ่งในสามก๊ก มีนิสัยกลับกลอก เป็นคนหลายนาย เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและหวดเจ้ง ตอนแรกเริ่ม เบ้งตัดเป็นขุนนางของเล่าเจี้ยงเจ้าแคว้นเสฉวน ต่อมาเตียวสงคิดจะช่วยเหลือเล่าปี่ยึดครองเสฉวน จึงสมคบกับหวดเจ้งและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ ถึงแม้เตียวสงจะถูกเล่าเจี้ยงสังหารก่อนที่การจะสำเร็จ แต่หวดเจ้งและเบ้งตัดก็ได้ช่วงเหลือเล่าปี่จนได้ขึ้นครองเสฉวนแทนเล่าเจี้ยง ต่อมา เบ้งตัดถูกส่งไปรักษาซ้างหยง (ในสามก๊กฉบับไทยใช้ว่า ซงหยง ซึ่งไปซ้ำกับอีกเมืองหนึ่ง) พร้อมกับเล่าฮอง เมื่อกวนอูเสียทีลิบองต้องเสียเมืองเกงจิ๋ว กวนอูได้ส่งเลียวฮัวไปขอความช่วยเหลือจากเบ้งตัดและเล่าฮอง แต่ทั้งสองไม่ให้ความช่วยเหลือ ต่อมา กวนอูถูกลิบองจับตัวได้และถูกประหาร เบ้งตัดกลัวความผิดที่ตนมีส่วนทำให้กวนอูตายจึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจผี ส่วนเล่าฮองได้กลับมาหาเล่าปี่ และถูกเล่าปี่ประหาร หลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ขงเบ้งได้ออกศึกภาคใต้ปราบเบ้งเฮ็กสำเร็จ จึงยกทัพบุกวุยก๊ก เวลานั้น เบ้งตัดได้เปลี่ยนใจกลับมาสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กโดยส่งจดหมายมาขอสวามิภักดิ์ถึงขงเบ้ง และบอกว่าจะร่วมมือกับขงเบ้งเข้าตีลกเอี๋ยงของพระเจ้าโจยอย เพื่อลบล้างความผิดที่เคยก่อไว้ แต่ซินหงีและซินต๋ำ ขุนนางในเมืองส้างหยงที่จงรักภักดีต่อวุยก๊ก ได้ส่งจดหมายลับถึงสุมาอี้ บอกแผนการของเบ้งตัด สุมาอี้จึงยกทัพไปส้างหยงเพื่อปราบเบ้งตัด ในศึกครั้งนี้ ซิหลงต้องสิ้นชีพในการรบ แต่ในที่สุดเบ้งตัดก็ถูกสังหารโดยซินต๋ำ รูปเบ้งตัดจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กวนอูลิบองวุยก๊กสามก๊กสุมาอี้หวดเจ้งจักรพรรดิเว่ยหมิงจูกัดเหลียงจ๊กก๊กโจผีเบ้งเฮ็กเลียวฮัวเล่าฮองเล่าปี่เล่าเสี้ยนเล่าเจี้ยงเตียวสง

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กวนอูและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · กวนอูและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

ลิบอง

ลิบอง (吕蒙; Lu Meng) เป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญยิ่งของง่อก๊ก มีความเก่งกาจ และเฉลียวฉลาดอย่างมาก ลิบองมีฐานะยากจน เกิดที่เมืองยีหลำแห่งอิจิ๋ว เริ่มต้นโดยไต่เต้าจากการเป็นทหารเลวพร้อมกับตันเติ้ง ผู้เป็นพี่เขย ตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี แต่ได้แสดงความสามารถบ่อยครั้งรวมถึงความใจถึงจนถึงขั้นบ้าระห่ำ จนพี่เขยตกใจ ครั้งหนึ่งได้หุนหันพลันแล่นจนตัดหัวของทหารรุ่นพี่คนหนึ่งที่พูดจาดูถูกปรามาสซึ่งหน้า แล้วหนีคดีความไปซ่อนตัว แต่ถูกซุนเซ็กเกลี้ยกล่อม หลังจากพูดกันไม่กี่คำ ลิบองก็ยอมเข้ากับซุนเซ็ก เมื่อพี่เขยสิ้น ลิบองก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน จนกระทั่งหมดยุคของซุนเซ็ก มาถึงซุนกวนและจิวยี่ รวมถึงโลซก ลิบองได้แสดงฝีมือจนกระทั่งซุนกวนไว้ใจ ให้นำทัพจัดการเรื่องสำคัญต่าง ๆ เมื่อยังหนุ่ม ลิบองแทบไม่มีความรู้ในเรื่องตำรา เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีการศึกษา จนซุนกวนสั่งให้ลิบองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งลิบองได้หันมาศึกษาเล่าเรียน ครั้งหนึ่งโลซกได้ดูหมิ่นความรู้ของลิบอง แต่เมื่อได้เจรจาแล้วพบว่าลิบองมีความคิดที่ลึกซึ้ง มีกลศึกที่แยบคาย จนโลซกต้องเปลี่ยนความคิด สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับลิบอง คือการวางแผนยึดเกงจิ๋วกลับคืน และจับตัวกวนอูได้ จนทำให้กวนอูถูกประหารชีวิตในที่สุด โดยที่แทบจะไม่ต้องสูญเสียไพร่าพลเลย ทำให้ซุนกวนชื่นชมในตัวลิบองมาก แต่ลิบองกลับเสียชีวิต จากโรคภัยหลังจากยึดเกงจิ๋วได้ไม่นาน ในวรรณกรรมเล่าว่าลิบองเสียชีวิตจากการถูกอสุรกายกวนอูที่ตายแล้วเข้าสิง กลางงานเลี้ยงที่ซุนกวนจัดให้เพื่อฉลองชัยชนะ แต่แท้จริงแล้วลิบองเสียชีวิตด้วยโรค ขณะอายุได้ 42 ปี โดยซุนกวนยกตำแหน่งเจ้าเมืองลำกุ๋นและฉานเหลิง พร้อมเงินหนึ่งแสน ทองคำห้าร้อยชั่ง แต่ทว่ายังไม่ทันได้รับก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ก่อนเสีย ลิบองได้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ทางการหน้า 3, ลิบอง ผู้พิชิตโดยไม่ร.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิบอง · ลิบองและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวุยก๊ก · วุยก๊กและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · สามก๊กและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาอี้ · สุมาอี้และเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

หวดเจ้ง

หวดเจ้ง (Fa Zheng) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ มีชื่อรองว่าเสี่ยวจื่อ เป็นบุตรของหวดเจิง(ฝ่าเจิง) ปราชญ์แห่งเสฉวน เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและเบ้งตัด เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญู มีความรู้ทางพิชัยสงคราม มีวาทศิลป์เป็นเลิศ เดิมเป็นที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยง ต่อมา ได้ร่วมคิดกับเตียวสงและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ยึดครองเสฉวน ทำให้เล่าปี่ได้เป็นใหญ่ในภาคตะวันตก เมื่อเล่าปี่ยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อยึดฮันต๋ง หวดเจ้งได้เป็นที่ปรึกษาของฮองตงในการตีเขาเตงกุนสันที่มีแฮหัวเอี๋ยนรักษาอยู่ ทำให้ยึดเขาเตงกุนสันและสังหารแฮหัวเอี๋ยนได้ เมื่อเล่าปี่ได้ครอบครองฮันต๋ง หวดเจ้งเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนให้เล่าปี่ตั้งตนเป็นฮันต๋งอ๋อง เมื่อเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋องก็ตั้งหวดเจ้งเป็นราชครู ต่อมา หวดเจ้งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 45 ปี หวดเจ้งเป็นคนที่เล่าปี่ไว้วางใจมาก เมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปง่อก๊กล้างแค้นให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกสังหาร ขงเบ้งและขุนนางคนอื่นทูลคัดค้านไม่ให้พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปตีง่อก๊ก แต่พระเจ้าเล่าปี่ทรงไม่ฟังผู้ใด ขงเบ้งได้รำพึงว่าถ้าหากหวดเจ้งยังอยู่ คงรั้งพระองค์ได้เป็นแน่ รูปหวดเจ้งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ห ห.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวดเจ้ง · หวดเจ้งและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จักรพรรดิเว่ยหมิงและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จูกัดเหลียงและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

จ๊กก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จ๊กก๊กและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจผี · เบ้งตัดและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งเฮ็ก · เบ้งตัดและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เลียวฮัว

ลียวฮัว (Liao Hua) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยนโดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเลียวฮัว · เบ้งตัดและเลียวฮัว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าฮอง

ล่าฮอง (Liu Feng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลของจ๊กก๊ก เป็นบุตรบุญธรรมของเล่าปี่ เล่าฮองเดิมชื่อเค้าฮอง หลานเล่าปิด ลูกของเค้าล่อ ต่อมาเล่าปี่รับเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากที่เล่าปี่ปราบกบฏเตียวบูกับตันสูน ตามคำขอของเล่าเปียวได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเล่าฮอง กวนอูไม่ค่อยพอใจนักกับการที่เล่าปี่รับเล่าฮอง มาเป็นลูกบุญธรรม กวนอูกล่าวกับเล่าปี่ว่า"บุตรท่านก็มีอยู่ เหตุไฉนจึงจะเอาผู้อื่นมาเป็นเนื้อ เหมือนหนึ่งเลี้ยงลูกปูลูกหอย นานไปจะได้รับความเดือดร้อน" เล่าปี่จึงว่า "ถึงผู้อื่นนอกเนื้อก็จริง แต่เรารักใคร่เสมอบุตร ได้เอามาเลี้ยงไว้ก็จะมีกตัญญูรักใคร่ เห็นจะไม่คิดร้ายต่อเรา" กวนอูได้ฟังดังนั้นก็ขัดใจนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด และเมื่อเล่าปี่ตีเอาเมืองซงหยงได้ เล่าปี่จึงให้เล่าฮองปกครองเมืองซงหยงอยู่กับเบ้งตัด อดีตขุนนางในของเล่าเจี้ยงที่เล่าปี่ไปยึดเมืองมา เมื่อครั้งเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึดในปี..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าฮอง · เบ้งตัดและเล่าฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าปี่ · เบ้งตัดและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเสี้ยน

ระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ หลิวส้าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเซี่ยวหวย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดของยุคสามก๊ก ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชสกุลเล.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเสี้ยน · เบ้งตัดและเล่าเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเจี้ยง

ล่าเจี้ยง (Liu Zhang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเสฉวน เป็นบุตรของเล่าเอียง เล่าเจี้ยงเป็นคนที่โลเลและใช้คนไม่เป็น แต่เล่าเจี้ยงมีเหล่าที่ปรึกษาและขุนพลที่มีฝีมือมากมาย แต่ต่อมา เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และส่งตัวเล่าเจี้ยงไปอยู่ที่เมืองกองอั๋นชายแดนเกงจิ๋ว เมื่อเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึด เล่าเจี้ยงจึงถูกย้ายมาอยู่ที่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิตในปี..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าเจี้ยง · เบ้งตัดและเล่าเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสง

รูปเตียวสงจากเกม ''Romance Of The Three Kingdoms XI'' เตียวสง (Zhang Song; จีนตัวเต็ม: 張松; จีนตัวย่อ: 张松) (? — ค.ศ. 213) ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองใด มีฉายาว่า หย่งเหนียน ร่างเตี้ย ไม่ถึง 5 ฟุต หน้าฝากโหนก ศีรษะรี จมูกเฟ็ด ฟันเสี้ยม แต่สติปัญญาไหวพริบดี เล่ห์เหลี่ยมจัด ความจำดีมาก อะไรที่ผ่านสายตาแล้วจำได้หมด รับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ผู้ครองแคว้นเอกจิว (เสฉวน) เล่าเจี้ยงเกรงเตียวฬ่อ เจ้าเมืองอันต๋ง ซึ่งเป็นคู่อริจะยกทัพมาโจมตี จึงให้เตียวสงเป็นทูตไปเจรจาขอกำลังจากโจโฉ เตียวสงไปแสดงความเปรื่องปราดกับโจโฉจนเกินตัว คืออ่านตำราพิชัยสงครามที่โจโฉแต่งเพียงเที่ยวเดียวก็จำได้หมด แล้วบอกว่าหนังสืออย่างนี้เหมือนเด็ก ๆ ในเสฉวนอ่านเล่นทั้งเมืองเพราะเป็นคำโบราณที่ผู้มีปัญญาแต่งไว้ พลางสาธยายข้อความในหนังสือของโจโฉ มิได้วิปลาสสักข้อ โจโฉถูกลบเหลี่ยมเช่นนั้นก็โกรธ ขับเตียวสงออกไปจากเมืองไป เตียวสงจึงไปหาเล่าปี่ โดยได้รับการรับรองเป็นอันดี จนเตียวสงหลงใหล เลยคิดทรยศต่อนาย ต้องการให้เล่าปี่ไปปกครองแคว้นเอกจิวแทนเล่าเจี้ยง ถึงกับมอบแผนที่ยุทธศาสตร์และให้ความลับต่าง ๆ แก่เล่าปี่ด้วย เมื่อเตียวเสียวกลับมาถึงเอกจิวแล้ว ก็ได้จูงใจให้เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่มาอยู่เอกจิว และคุ้มครองให้พ้นจากการรุกรานของเตียวฬ่อ พอเล่าปี่ยาตราทัพเข้ามาแล้ว ความลับจึงแตกขึ้น โดยเตียวซก พี่ชายของเตียวสงจับจดหมายลับที่เตียวสงติดต่อให้เล่าปี่ได้ ก็นำความไปแจ้งแก่เล่าเจี้ยง เตียวสงกับบุตรภรรยาจึงถูกประหารชีวิต แต่ในที่สุดเล่าปี่ก็ยึดแคว้นเอกจิว และเล่าเจี้ยงถูกปลดจากตำแหน่งไป.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวสง · เตียวสงและเบ้งตัด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ความสัมพันธ์ขณะที่ เบ้งตัด มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 4.24% = 17 / (382 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเบ้งตัด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »