เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก vs. หองจูเหียบ

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน. ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ฮั่นวุยก๊กสามก๊กสิบขันทีหองจูเปียนฮกเฮาจักรพรรดิฮั่นหลิงตันซิ่วตั๋งโต๊ะซุนกวนโจผีโจโฉโจเฮาเล่าปี่

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ราชวงศ์ฮั่นและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ราชวงศ์ฮั่นและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวุยก๊ก · วุยก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · สามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที · สิบขันทีและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเปียน · หองจูเปียนและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ฮกเฮา

ระนางฮกเฮา (Empress Fu Shou) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี(ฮองเฮา)ในพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ และทรงธิดาของฮกอ้วน.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮกเฮา · หองจูเหียบและฮกเฮา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหลิง

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · จักรพรรดิฮั่นหลิงและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

ตันซิ่วและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ตันซิ่วและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ตั๋งโต๊ะและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ซุนกวนและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ซุนกวนและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจผี · หองจูเหียบและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจโฉ · หองจูเหียบและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

โจเฮา

ระนางโจเฮา (Empress Cao Jie獻穆皇后)หรือสมเด็จพระจักรพรรดินีโจเซียน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ และพระธิดาในโจโฉ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจเฮา · หองจูเหียบและโจเฮา · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าปี่ · หองจูเหียบและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ความสัมพันธ์ขณะที่ หองจูเหียบ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 3.40% = 14 / (382 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: