โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ดัชนี เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

45 ความสัมพันธ์: ชาวกาตาลาพ.ศ. 2357พ.ศ. 2422พร็อสแปร์ เมรีเมการ์กาซอนมหาวิหารแซ็ง-เดอนีมหาวิหารเวเซอแลมง-แซ็ง-มีแชลสมัยกลางสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลุยส์ ซัลลิแวนหีบวัตถุมงคลอันตอนี เกาดีอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสจอห์น รัสคินจักรพรรดินโปเลียนที่ 3จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งตูลูซประเทศฝรั่งเศสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอิตาลีปราสาทปารีสปืนใหญ่ป้อมสนามนวยุคนิยมนวศิลป์แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์แซ็งต์-ชาแปลโบสถ์คริสต์โลซานเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตีเอกอลเดโบซาร์เครื่องยอดหลังคา17 กันยายน27 มกราคม

ชาวกาตาลา

วกาตาลา (català) หรือ ชาวกาตาลัน (catalán) คือกลุ่มชาติพันธุ์โรมานซ์ (Romance) ซึ่งพูดภาษากาตาลา หรือมีเชื้อชาติกาตาลาผสมผสานอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกาตาลุญญา สเปน, กาตาลุญญาดัลนอร์ต (กาตาลุญญาเหนือ) ในฝรั่งเศส และประเทศอันดอร์รา โดยคนกาตาลาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและชาวกาตาลา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2357

ทธศักราช 2357 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1814.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและพ.ศ. 2357 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2422

ทธศักราช 2422 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1879.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและพ.ศ. 2422 · ดูเพิ่มเติม »

พร็อสแปร์ เมรีเม

พร็อสแปร์ เมรีเม พร็อสแปร์ เมรีเม (Prosper Mérimée,; 28 กันยายน ค.ศ. 1803 - 23 กันยายน ค.ศ. 1870) นักเขียนบทละคร นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักเขียนเรื่องสั้นชาวฝรั่งเศส ผลงานสำคัญที่ทำให้เมรีเมเป็นที่รู้จักกันดีคือนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง “คาร์เมน” ที่ฌอร์ฌ บีแซนำไปเขียนเป็นอุปรากร ในวัยหนุ่ม เมรีเมศึกษาด้านกฎหมายและภาษาในยุโรปหลายภาษา อาทิ กรีก สเปน รัสเซีย ความเชี่ยวชาญด้านภาษาทำให้เขาเป็นผู้ริเริ่มแปลงานวรรณกรรมของรัสเซียเป็นภาษาฝรั่งเศสไว้จำนวนมาก หมวดหมู่:นักเขียนนวนิยายชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักเขียนเรื่องสั้นชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักแปลชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและพร็อสแปร์ เมรีเม · ดูเพิ่มเติม »

การ์กาซอน

การ์กาซอน (Carcassonne) เป็นเมืองที่มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นล็องก์ด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองการ์กาซอนแยกออกเป็นสองส่วน “Cité de Carcassonne” ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของการ์กาซอนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “การ์กัส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและการ์กาซอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (Basilique Saint-Denis) เดิมเป็นแอบบีย์ชื่อ อารามแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส ต่อมาถูกยกสถานะขึ้นเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-เดอนีในปี ค.ศ. 1966 มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดนิสผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อธิการซูว์เฌสร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่แท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีย์อื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อม.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและมหาวิหารแซ็ง-เดอนี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเวเซอแล

มหาวิหารนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาแห่งเวเซอแล (Basilique Sainte-Marie-Madeleine de Vézelay) เป็นบาซิลิกา ในอดีตเดิมเป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกตินและอารามกลูว์นี (Cluniac) ตั้งอยู่ที่เวเซอแล จังหวัดอียอน แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส ตัวสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยการตกแต่งที่ซับซ้อนด้วยรูปสลักเสลาด้านหน้า, เหนือประตูทางเข้า และหัวเสาที่ถือกันว่าเป็นงานฝีมือชั้นเอกของสถาปัตยกรรมและศิลปะโรมาเนสก์ของบูร์กอญ แม้ว่าบางส่วนของงานศิลปะจะถูกทำลายไปในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มหาวิหารเวเซอแลและเนินในบริเวณเวเซอแล ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและมหาวิหารเวเซอแล · ดูเพิ่มเติม »

มง-แซ็ง-มีแชล

มง-แซ็ง-มีแชล (Mont-Saint-Michel) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดม็องช์ แคว้นบัส-นอร์ม็องดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและมง-แซ็ง-มีแชล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

สะพานพระราม 8 วิหารยูนิตี (Unity Temple) โดย แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ ปี ค.ศ. 1906 ตึกเกอเธนนุมที่ 2 ใกล้เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกแบบโดย รูดอล์ฟ สไตน์เนอร์ ตึกบัทโล (Casa Batllo) โดยแอนโทนี กอดี สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับลักษณะที่เรียกว่า “สมัยใหม่” ซึ่งมิได้หมายถึงวิวัฒนาการล่าสุดของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มิใช่สถาปัตยกรรมร่วมสมัยแต่เป็นคำที่ใช้บรรยายสิ่งก่อสร้างที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันตามคำจำกัดความ ซึ่งโดยทั่วไปคือรูปทรงจะเกลี้ยงเกลาและปราศจากการตกแต่ง ลักษณะนี้เริ่มใช้กันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่โดยทั่วไปแล้วลักษณะเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันก็ยังสรุปกันไม่ได้และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ สิ่งก่อสร้างตามแบบสมัยไหม่ที่ว่านี้มิได้เริ่มสร้างกันอย่างจริงจังจนกระทั่งครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ในชื่อหนังสือโดย ออตโต วากเนอร.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

งครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ซัลลิแวน

หลุยส์ ซุลลิแวน หลุยส์ เฮนรี่ ซัลลิแวน (Louis Henri Sullivan) (3 กันยายน พ.ศ. 2399 - 12 เมษายน พ.ศ. 2467) สถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งถูกขนานนามให้เป็น "บิดาแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่" (Father of modernism) เป็นผู้บุกเบิกการออกแบบอาคารสูงสมัยใหม่ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อสถาปนิกรุ่นหลัง และเป็นนักวิจารณ์แห่งสำนักชิคาโก้ (Chicago School) เขาเป็นอาจารย์ของ แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชื่อดังอีกคนหนึ่งของอเมริกา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากบอสตัน.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและหลุยส์ ซัลลิแวน · ดูเพิ่มเติม »

หีบวัตถุมงคล

นักบุญทอรินัส กนิษกะ, เปชวาร์, ปากีสถาน, ในปัจจุบันอยู่ที่มัณฑะเลย์, พม่า เครื่องบรรจุวัตถุมงคลที่เซวิลล์ หีบวัตถุมงคล (Reliquary) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “หีบสักการะ” หรือคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “châsse” ที่แปลว่า “หีบ” คือตู้ที่ใช้บรรจุวัตถุมงคล ที่อาจจะเป็นชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญเช่นกระดูก ชิ้นเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนักบุญ หรือ บุคคลสำคัญทางศาสนา ความแท้ของสิ่งของดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็ระบุว่าต้องการเอกสารที่พิสูจน์ประวัติความเป็นเจ้าของ.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและหีบวัตถุมงคล · ดูเพิ่มเติม »

อันตอนี เกาดี

อันตอนี เกาดี อี กูร์แน็ต (Antoni Gaudí i Cornet; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1852-10 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นสถาปนิกชาวคาตาลัน ประเทศสเปน ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวในแบบโมเดิร์นนิสโม (อาร์ตนูโว) และมีชื่อเสียงเรื่องงานออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง ตัวอย่างเช่น ซากราดาฟามีเลี.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและอันตอนี เกาดี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า แม่พระ (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก อาสนวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำล.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น รัสคิน

“จอห์น รัสคิน” ค.ศ. 1894 โดยช่างภาพเฟรดเดอริค ฮอลล์เยอร์ (Frederick Hollyer) จอห์น รัสคิน (ภาษาอังกฤษ: John Ruskin) (8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819 – 20 มกราคม ค.ศ. 1900) เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และนักคิดทางสังคมวิทยาชาวอังกฤษ นอกจากนั้นก็ยังเป็นนักประพันธ์, กวี และจิตรกร บทความเกี่ยวกับศิลปะและสถาปัตยกรรมเป็นข้อเขียนที่มีอิทธิพลต่อสมัยวิคตอเรียและสมัยเอ็ดเวิร.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและจอห์น รัสคิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis-Napoléon Bonaparte ลุย-นาโปเลยง โบนาปัทร์) ชื่อเกิดว่า ชาล-ลุย นโปเลียน โบนาปัทร์ (Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (Deuxième Empire français) เป็นจักรวรรดิปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 และที่ 3.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ตูลูซ

ตูลูซ (Toulouse) เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่ง.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปืนใหญ่

ปืนใหญ่ หมายถึง อาวุธปืนที่มีความกว้างปากลำกล้องตั้งแต่ 20 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยมีระยะยิงกลางถึงไกล มีอำนาจทำลายล้างสูง ใช้การยิงหัวกระสุนด้วยแรงดันจากการเผาไหม้ดินส่งกระสุนให้เกิดก๊าซจนเคลื่อนที่ออกไป โดยสามารถทำการยิงได้ทั้งแนววิถีราบหรือวิถีโค้ง โดยภายในหัวกระสุนจะบรรจุวัตถุระเบิดและตัวจุดชนวน เมื่อหัวกระสุนตกกระทบเป้าหมายจะเกิดการระเบิดสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและปืนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

นวยุคนิยม

ก้าอี้วาสซิลี (Wassily) ผลงานของมาร์แซล บรอยเยอร์ นวยุคนิยม, นวนิยม, ทันสมัยนิยม หรือ สมัยใหม่นิยม (modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและนวยุคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

นวศิลป์

นวศิลป์ หรือ อาร์นูโว ("ศิลปะใหม่") รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ยูเกินท์ชตีล ("แบบอย่างของวารสารศิลปะที่มีชื่อว่ายูเกินท์") เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง..

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและนวศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 — 9 เมษายน พ.ศ. 2502) สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ เกิดที่ เมืองริชแลนด์เซนเตอร์ ใน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมทั้งที่เรียนไม่จบ เขาอาศัยและตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโอกพาร์ก บริเวณชานเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่รวบรวมบ้านพักที่เขาออกแบบไว้กว่า 50 หลังรวมทั้งตัวสำนักงานและบ้านพักของเขาด้วย ผลงานการออกแบบในช่วงแรกของไรต์มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "Prairie Houses" ไรต์มีผลงานทั้งหมด 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งต์-ชาแปล

แซ็งต์-ชาแปล (La Sainte-Chapelle, The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โลซาน

ลซาน (Lausanne) เป็นเมืองในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ผู้คนในเมืองใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวา โดยติดกับเมืองเอวีย็อง-เล-แบ็งของประเทศฝรั่งเศส โลซานเป็นเมืองหลวงของรัฐโว และตั้งอยู่ห่างจากเมืองเจนีวาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 60 กิโลเมตร มีประชากร 135,629 คน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558) Université de Lausanne และ École Polytechnique Fédérale de Lausanne เป็นสองมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและโลซาน · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เอกอลเดโบซาร์

อกอลเดโบซาร์ เอกอลเดโบซาร์ หรือ โรงเรียนวิจิตรศิลป์ (École des Beaux-Arts, School of Fine Arts) หมายถึงโรงเรียนศิลปะต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในประเทศฝรั่งเศส ที่สำคัญที่สุดคือ "โรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ" (École Nationale Supérieure des Beaux-Arts) ที่ตั้งอยู่บนฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแซนจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประวัติของสถาบันยืนยาวมากว่า 350 ปี ฝึกศิลปินผู้ไปมีชื่อเสียงในยุโรปเป็นจำนวนมาก ลักษณะของวิจิตรศิลป์จำลองมาจากศิลปะคลาสสิกที่พยายามอนุรักษ์รูปทรงแบบอุดมคติเพื่อถ่ายทอดลักษณะที่ว่านี้ให้แก่ศิลปินรุ่นต่อไป.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและเอกอลเดโบซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอดหลังคา

รื่องยอดหลังคา (flèche) คือส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างหรือส่วนประกอบของของคริสต์ศาสนสถานที่มีลักษณะเป็นยอดแหลมที่มักจะตั้งบนหลังคาหรือสันของสิ่งก่อสร้าง หรือบนจุดตัดของมหาวิหาร ในภาษาอังกฤษหมายถึงยอดแหลมที่เป็นโครงไม้คลุมด้วยตะกั่ว เครื่องยอดหลังคามักจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่บางครั้งก็มีขนาดใหญ่เช่นเครื่องยอดหลังคาของมหาวิหารอาเมียงหรือของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส “flèche” มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า “ลูกศร”.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและเครื่องยอดหลังคา · ดูเพิ่มเติม »

17 กันยายน

วันที่ 17 กันยายน เป็นวันที่ 260 ของปี (วันที่ 261 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 105 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและ17 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

27 มกราคม

วันที่ 27 มกราคม เป็นวันที่ 27 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 338 วันในปีนั้น (339 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกและ27 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eugene Viollet-le-DucEugène Emmanuel Viollet-le-DucEugène Viollet-le-DucViollet le DucViollet-le-Ducวียอเลต์-เลอ-ดุคเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุกเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »