โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แซ็งต์-ชาแปล

ดัชนี แซ็งต์-ชาแปล

แซ็งต์-ชาแปล (La Sainte-Chapelle, The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก.

33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1791พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลพระทรมานของพระเยซูพระเยซูพระเยซูทรงรับบัพติศมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสการปฏิวัติฝรั่งเศสสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสหีบวัตถุมงคลหน้าต่างกุหลาบอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสอาเมียงอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสผังอาสนวิหารจักรวรรดิละตินจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คอนสแตนติโนเปิลคณะดอมินิกันงานกระจกสีประเทศฝรั่งเศสปารีสปีแยร์เดอมงเตอโรแรยอน็องโบสถ์คริสต์โบสถ์น้อยโรมันคาทอลิกเบญจาคริสต์เรลิกเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปลเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก26 เมษายน

พ.ศ. 1791

ทธศักราช 1791 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพ.ศ. 1791 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

ระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (Château de Saint-Germain-en-Laye) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในจังหวัดอีฟว์ลีนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ในประเทศฝรั่งเศส ราว 19 กิโลเมตรทางตะวันตกของปารีส ในปัจจุบันพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาต.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX, Louis IX) (25 เมษายน ค.ศ. 1214 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270) หรือ นักบุญหลุยส์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาแประหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 นอกจากเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ก็ยังทรงใช้พระนามว่า “หลุยส์ที่ 2 เคานต์แห่งอาร์ตัว” ระหว่างปี ค.ศ. 1226 จนถึงปี ค.ศ. 1237 ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงทำงานร่วมกับรัฐสภาแห่งปารีสในการพยายามปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางด้านกฎหมาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1214 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส และพระนางบล็องช์แห่งคาสตีล พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ ซึ่งทำให้มีสถานที่ต่างๆ มากมายที่ตั้งชื่อตามพระอง.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

หีบวัตถุมงคล

นักบุญทอรินัส กนิษกะ, เปชวาร์, ปากีสถาน, ในปัจจุบันอยู่ที่มัณฑะเลย์, พม่า เครื่องบรรจุวัตถุมงคลที่เซวิลล์ หีบวัตถุมงคล (Reliquary) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “หีบสักการะ” หรือคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “châsse” ที่แปลว่า “หีบ” คือตู้ที่ใช้บรรจุวัตถุมงคล ที่อาจจะเป็นชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญเช่นกระดูก ชิ้นเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนักบุญ หรือ บุคคลสำคัญทางศาสนา ความแท้ของสิ่งของดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็ระบุว่าต้องการเอกสารที่พิสูจน์ประวัติความเป็นเจ้าของ.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและหีบวัตถุมงคล · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า แม่พระ (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก อาสนวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำล.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส · ดูเพิ่มเติม »

อาเมียง

อามีแย็ง หรือ อาเมียง (Amiens) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดซอมในแคว้นปีการ์ดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองอาเมียงตั้งอยู่ทางเหนือของฝรั่งเศส ราว 120 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงปารี.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและอาเมียง · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ตรา "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส" อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส หรือ มอนูว์ม็องอิสตอริก (Monument historique) คือกระบวนการของรัฐในประเทศฝรั่งเศสในการจัดเครือข่ายสิ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ในฐานะที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง, กลุ่มสิ่งก่อสร้าง, หรืออาจจะเป็นประชาคมทั้งประชาคม, สวน, สะพาน หรือ โครงสร้างอื่นๆ เพราะความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม สิ่งที่ได้รับฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" อาจจะเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่มีฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" ก็รวมทั้งหอไอเฟล, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย และแอบบี หรือ คริสต์ศาสนสถาน ที่รวมทั้งมหาวิหารเช่นมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส หรือพระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์ เช่น ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ หลายแห่ง สิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเฉพาะภายนอก หรือ เฉพาะภายใน หรือทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่สิ่งก่อสร้างบางหลังอาจจะได้รับฐานะเฉพาะการตกแต่ง, "อร์นิเจอร์, ห้องเพียงห้องเดียว หรือ แม้แต่เพียงบันได ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับฐานะเพราะการตกแต่งก็ได้แก่ "Deux Garcons" ในแอ็กซ็องพรอว็องส์ที่ผู้อุปถัมภ์รวมทั้งอาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน, เอมีล ซอลา และปอล เซซาน หรือสิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเพราะความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ เช่น ตึก Auberge Ravoux ที่โอแวร์ซูว์รวซ เพราะเป็นสถานที่จิตรกรฟินเซนต์ ฟัน โคคใช้เวลาส่วนใหญ่ในบั้นปลายที่นั่น การระบุความสำคัญของสิ่งก่อสร้างมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อรัฐบาลแต่งตั้งให้อเล็กซองเดรอ เลอนัวร์มีความรับผิดชอบในการระบุและพิทักษ์โครงสร้างที่มีความสำคัญ การจัดแบ่งประเภทจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมี ผู้เป็นผู้ตรวจการทั่วไปของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิละติน

ักรวรรดิละติน หรือ จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Latin Empire หรือ Latin Empire of Constantinople, Imperium Romaniae (จักรวรรดิโรมาเนีย)) เป็นชื่อที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ที่หมายถึงนครรัฐครูเสดที่ก่อตั้งโดยผู้นำต่างๆ ของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จากบริเวณที่ยึดได้จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิละตินก่อตั้งขึ้นหลังการยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลใน..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและจักรวรรดิละติน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์เดอมงเตอโร

ปีแยร์เดอมงเตอโร หรือ ปีแยร์เดอมงเทรย (Pierre de Montereau; Pierre de Montreuil; ค.ศ. 1200 - 17 มีนาคม ค.ศ. 1266) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมกอธิคฝรั่งเศส แต่ประวัติชีวิตและงานแทบจะไม่เป็นที่ทราบ มงเตอโรทำงานอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและปีแยร์เดอมงเตอโร · ดูเพิ่มเติม »

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เบญจาคริสต์

แกรนด์มาสเตอร์ประมุขของอัศวินเซนต์จอห์นนั่งภายใต้เบญจาบนแท่นโดยมีเบาะรองเท้า การใช้เบญจาในขบวนแห่ทางศาสนาในเบลเยียม เบญจา หรือ ผ้าประจำตำแหน่ง หรือ กลด (baldachin, baldaquin) เป็นเครื่องตกแต่งสำหรับแสดงฐานะที่ใช้ติดตั้งเหนือแท่นบูชา บัลลังก์ หรือเก้าอี้ หรือพระแท่นบรรทมหรือเตียง.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและเบญจาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล

รลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล (Relics of Sainte-Chapelle) คือเรลิกที่เป็นของพระเยซูที่ได้มาโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในยุคกลางที่ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอัครมุขมณฑลปารีส เดิมเรลิกหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่ในปัจจุบันเป็นสมบัติของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารี.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก · ดูเพิ่มเติม »

26 เมษายน

วันที่ 26 เมษายน เป็นวันที่ 116 ของปี (วันที่ 117 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 249 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แซ็งต์-ชาแปลและ26 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sainte ChapelleSainte-Chapelleวิหารแซงต์-ชาเปลวิหารแซงต์ชาเปลวิหารแซ็งต์-ชาแปลแซงต์-ชาเปลแซงต์ชาเปล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »