โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

ดัชนี สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

สะพานพระราม 8 วิหารยูนิตี (Unity Temple) โดย แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ ปี ค.ศ. 1906 ตึกเกอเธนนุมที่ 2 ใกล้เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกแบบโดย รูดอล์ฟ สไตน์เนอร์ ตึกบัทโล (Casa Batllo) โดยแอนโทนี กอดี สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับลักษณะที่เรียกว่า “สมัยใหม่” ซึ่งมิได้หมายถึงวิวัฒนาการล่าสุดของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มิใช่สถาปัตยกรรมร่วมสมัยแต่เป็นคำที่ใช้บรรยายสิ่งก่อสร้างที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันตามคำจำกัดความ ซึ่งโดยทั่วไปคือรูปทรงจะเกลี้ยงเกลาและปราศจากการตกแต่ง ลักษณะนี้เริ่มใช้กันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่โดยทั่วไปแล้วลักษณะเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันก็ยังสรุปกันไม่ได้และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ สิ่งก่อสร้างตามแบบสมัยไหม่ที่ว่านี้มิได้เริ่มสร้างกันอย่างจริงจังจนกระทั่งครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ในชื่อหนังสือโดย ออตโต วากเนอร.

44 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ชาร์ล เรนนี แม็กอินทอชบาร์เซโลนาชิคาโกกลาสโกว์การปฏิวัติอุตสาหกรรมการเมืองมิวนิกยุคเรืองปัญญาวัสดุก่อสร้างวัฒนธรรมวิศวกรรมศาสตร์สมัยวิกตอเรียสมัยเอ็ดเวิร์ดสหรัฐสังคมวิทยาสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปนิกสงครามโลกครั้งที่สองหลุยส์ ซัลลิแวนหัตถกรรมอันตอนี เกาดีอาคารอิฐจังหวัดสมุทรปราการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคริสต์ศตวรรษที่ 18คอนกรีตตึกระฟ้าประเทศบราซิลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอังกฤษประเทศเนเธอร์แลนด์นวยุคนิยมนวศิลป์นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์แก้วแมนเชสเตอร์โจเซฟ แพกซ์ตันไอ. เอ็ม. เพเวียนนาเหล็กเหล็กกล้า

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล เรนนี แม็กอินทอช

ร์ล เรนนี แม็กอินทอช ชาร์ล เรนนี แม็กอินทอช (Charles Rennie Mackintosh) (7 มิถุนายน ค.ศ. 1868 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1928) เป็นสถาปนิกชาวสก็อตแลนด์ นักออกแบบ นักวาดสีน้ำและประติมากร และเป็นคนสนับสนุนคนสำคัญของศิลปะอาร์ตนูโวในสหราชอาณาจักร เขาถือได้ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการออกแบบในยุโรป.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และชาร์ล เรนนี แม็กอินทอช · ดูเพิ่มเติม »

บาร์เซโลนา

ร์เซโลนา (Barcelona) หรือ บาร์ซาโลนา (Barcelona) เป็นเมืองหลักของแคว้นกาตาลุญญา และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองทั้งในด้านขนาดและประชากรของประเทศสเปน มีประชากรในตัวเมือง 1,620,943 คน แต่ถ้านับปริมณฑลโดยรอบอาจมากกว่า 4 ล้านคน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรีย ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษา คือ ภาษากาตาลาและภาษาสเปน บาร์เซโลนาเป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นอาณานิคมของโรมันมาก่อน เคยถูกยึดครองโดยชาติต่าง ๆ หลายครั้ง รวมทั้งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2183 บาร์เซโลนาเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวยามราตรีที่รื่นเริงสนุกสนาน บาร์เซโลนามีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สำคัญมากมาย อาคารแบบนวศิลป์ที่ดูแปลกประหลาดออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปนชื่ออันตอนี เกาดี นับเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2535 บาร์เซโลนาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 และเมื่อ พ.ศ. 2431 เคยเป็นที่จัดงานแสดงสินค้าโลก (World's Fair) บาร์เซโลนามีสโมสรกีฬาที่สำคัญคือ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและแอร์ราเซเด อัสปัญญอล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และบาร์เซโลนา · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

กลาสโกว์

กลาสโกว์ กลาสโกว์ (Glasgow; แกลิก: Glaschu; สกอต: Glesca หรือ Glasgae) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำไคลด์ ชาวกลาสโกว์รู้จักกันในชื่อ กลาสวีเจียนส์ (Glaswegians) นอกจากนี้กลาสวีเจียนส์ยังเป็นชื่อสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "Glasgow Patter" เมืองกลาสโกว์นั้นถือเป็นเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองและล้ำหน้ามากที่สุดเมืองหนึ่ง ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 16 เมืองกลาสโกว์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเป็นเมืองท่าใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นในศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเหล็ก การต่อเรือ และยานยนต์ได้เติบโตขึ้นจนเป็นผลทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามา ในที่สุด กลาสโกว์กลายเป็นเมืองที่สามของยุโรปที่มีจำนวนประชากรเกินหนึ่งล้านคน รองจากลอนดอนและปารีส และกลายเป็นเมืองสำคัญอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน ในปัจจุบัน เมืองกลาสโกว์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการค้า ขายปลีก วิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่อเรือ ของสก็อตแลนด์ นอกจากนั้นทางด้านต่างๆเช่นการเงินการธนาคาร กลาสโกว์เป็นเมืองทางการเงิน (Financial Centre) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของ UK โดยมี International Financial District (IFSD) ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทเงินทุนและธนาคารมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 8 ใน 10 แห่งของบริษัทประกันภัยใน UK มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองกลาสโกว์ บริษัททางการเงินขนาดใหญ่ของโลกเช่น เจพี มอร์แกน แบงค์บาร์เคล และมอร์แกน สแตนเลย์ ต่างก็มีสาขาตั้งอยู่ในบริเวณนี้ กลาสโกว์ยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากความหลากหลายของกิจกรรมที่สามารถหาทำได้ในเมืองใหญ่แห่งนี้ เช่น ช้อบปิ้ง sightseeing งานเทศกาล พิพิธภัณฑ์ ดูหนังฟังเพลง ด้วยความสวยงามของสถาปัตยกรรมบวกกับการที่มีศิลปินมากมายทำให้ในปี 1990 เมืองแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น เมืองแห่งสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของยุโรป (Europe’s City of Architecture & Culture) แหล่ง ช็อบปิ้งในกลาสโกว์นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เมืองกลาสโกว์มีมหาวิทยาลัยสามแห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ และ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ คาเลโดเนียน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และวัสดุก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยวิกตอเรีย

มัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิกตอเรีย (Victorian era) ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสมัยวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเอ็ดเวิร์ด

มัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian era หรือ Edwardian period) เป็นระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1901 ถึงปี ค.ศ. 1910 ในสหราชอาณาจักรที่ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1901 การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดพระราชโอรสของพระองค์เป็นการเริ่มคริสต์ศตวรรษใหม่และการสิ้นสุดของสมัยวิคตอเรีย ขณะที่พระราชินีนาถวิกตอเรียทรงหันหลังให้กับสังคม พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำในหมู่ชนชั้นสูงในด้านแฟชั่นและสไตล์ที่มีอิทธิพลต่อศิลปะและแฟชั่นไปถึงผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความที่โปรดการท่องเที่ยว สมัยนี้เป็นสมัยของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อชนบางชั้นในสังคมที่ไม่มีสิทธิมีเสียงในอดีตเช่นชนชั้นแรงงานและสตรีเริ่มจะมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น “สมัยเอ็ดเวิร์ด” มักจะยืดออกไปหลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในปี ค.ศ. 1910 จนไปถึงปีที่เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิกล่มในปี ค.ศ. 1912, ปีที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1914 หรือจนไปถึงปี ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เมื่อสงครามสงบลงวิถีชีวิตของสมัยเอ็ดเวิร์ดที่เป็นสมัยของความไม่สมดุลในทางอำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจก็กลายเป็นสิ่งล้าหมัยในสายตาของผู้ที่ประสบความทุกข์ยากจากสงครามและสิ่งแวดล้อมและผู้ที่ได้รับความรู้มากขึ้นจากสื่อมวลชนถึงความไม่ยุติธรรมอันเกิดจากการแบ่งชั้นวรรณ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสมัยเอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ซัลลิแวน

หลุยส์ ซุลลิแวน หลุยส์ เฮนรี่ ซัลลิแวน (Louis Henri Sullivan) (3 กันยายน พ.ศ. 2399 - 12 เมษายน พ.ศ. 2467) สถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งถูกขนานนามให้เป็น "บิดาแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่" (Father of modernism) เป็นผู้บุกเบิกการออกแบบอาคารสูงสมัยใหม่ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อสถาปนิกรุ่นหลัง และเป็นนักวิจารณ์แห่งสำนักชิคาโก้ (Chicago School) เขาเป็นอาจารย์ของ แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชื่อดังอีกคนหนึ่งของอเมริกา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากบอสตัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และหลุยส์ ซัลลิแวน · ดูเพิ่มเติม »

หัตถกรรม

หัตถกรรม หัตถกรรม (Handicraft) คือ งานช่างที่ทำด้วยมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ อาศัยทักษะและเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและศาสนา สามารถนำมากับไข่ตุ๋ได้อร่อยมากในชีวิตประจำวันได้ ผลิตขี้ภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก หรือผลิตด้วยเครื่องจักร ไม่เรียกว่าหัตถกรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และหัตถกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อันตอนี เกาดี

อันตอนี เกาดี อี กูร์แน็ต (Antoni Gaudí i Cornet; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1852-10 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นสถาปนิกชาวคาตาลัน ประเทศสเปน ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวในแบบโมเดิร์นนิสโม (อาร์ตนูโว) และมีชื่อเสียงเรื่องงานออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง ตัวอย่างเช่น ซากราดาฟามีเลี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และอันตอนี เกาดี · ดูเพิ่มเติม »

อาคาร

ูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคาร เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ ในรูปของโรง เรือน ร้าน หรือรูปแบบอย่างอื่นสำหรับใช้สอย แต่ในกฎหมายควบคุมอาคารได้รวม เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ท่อ ป้ายและอื่นๆ ไว้ในนิยามคำว่าอาคารด้วยด้วยเหตุผลในการบังคับใช้ อาคารมักมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมมากกว่าหนึ่งอย่างและปกติจะตั้งอยู่บนพื้นดิน อาคารสามารถเป็นได้ตั้งแต่บ้านที่พักอาศัยที่มีโครงสร้างเรียบง่ายจนถึงตึกระฟ้า อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานที่มีโครงสร้างซับซ้อน ตลอดจนโรงซ่อมเครื่องบินที่มีช่วงเสามากกว่า 100 เมตร อาคารขนาดใหญ่สมัยใหม่จะมีส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้อาคารใช้งานได้เรียกว่าระบบอาคารนับตั้งแต่ระบบขนส่งภายในอาคารได้แก่ บันไดเลื่อน และ ลิฟต์ ไปจนถึงระบบไฟฟ้า ประปา ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ปกติ อาคาร จะถูกจัดไว้ในหมวดสิ่งก่อสร้างด้วยเหตุผลด้านการบังคับใช้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และอาคาร · ดูเพิ่มเติม »

อิฐ

การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสม ดินเหนียว แกลบ ทราย และน้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์ แล้วนำเข้าเตาเผาสำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น นอกจากนี้อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน และทนความชื้นได้สูง อิฐโปร่ง หรืออิฐกลวง เป็นวัสดุก่อที่มีส่วนผสมในการผลิต เช่นเดียวกับอิฐสามัญ แต่ภายในจะเจาะรู หรือทำช่องภายในให้กลวง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา กำแพงก่อด้วยอิฐมอญ อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และอิฐ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และจังหวัดสมุทรปราการ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น สนามบิน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทพรัตน และ ทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของ ประเทศไทย แทน ท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินใน ทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็น หนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกและใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำ 109 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) Suvarnabhumi Airport.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

ตึกระฟ้า

ูร์จคาลิฟา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตึกระฟ้า (skyscraper) ในยุโรปจะหมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจากผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์ ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกคือ ตึกบูร์จคาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความสูงทั้งสิ้น 828 เมตร (2,717 ฟุต) มีจำนวน 163 ชั้น โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และตึกระฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นวยุคนิยม

ก้าอี้วาสซิลี (Wassily) ผลงานของมาร์แซล บรอยเยอร์ นวยุคนิยม, นวนิยม, ทันสมัยนิยม หรือ สมัยใหม่นิยม (modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และนวยุคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

นวศิลป์

นวศิลป์ หรือ อาร์นูโว ("ศิลปะใหม่") รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ยูเกินท์ชตีล ("แบบอย่างของวารสารศิลปะที่มีชื่อว่ายูเกินท์") เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และนวศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่

ทางเข้านิทรรศการในคริสตัลพาเลซ นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Exhibition) เป็นงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และอุตสาหกรรมจากทั่วโลก นิทรรศการนี้จัดในปี พ.ศ. 2394 ในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย โดยเจ้าชายอัลเบิรต์พระสวามีของพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นต้นคิดงานนิทรรศการนี้ขึ้นมา นิทรรศการ จัดขึ้นในคริสตัลพาเลซ ที่ไฮด์ปาร์ค ลอนดอน การก่อสร้างใช้เวลา 15 เดือน งานในครั้งนี้ทำให้ประเทศอังกฤษได้รับงบประมาณถึง 186,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และมีผู้เข้าชมไม่ต่ำกว่าหกล้านคน นิทรรศการ จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และอุตสาหกรรม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 — 9 เมษายน พ.ศ. 2502) สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ เกิดที่ เมืองริชแลนด์เซนเตอร์ ใน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมทั้งที่เรียนไม่จบ เขาอาศัยและตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโอกพาร์ก บริเวณชานเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่รวบรวมบ้านพักที่เขาออกแบบไว้กว่า 50 หลังรวมทั้งตัวสำนักงานและบ้านพักของเขาด้วย ผลงานการออกแบบในช่วงแรกของไรต์มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "Prairie Houses" ไรต์มีผลงานทั้งหมด 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

แมนเชสเตอร์

แมนเชสเตอร์ (Manchester) เป็นนครและโบโรฮ์มหานคร ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีประชากรในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และแมนเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ แพกซ์ตัน

ซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน (Sir Joseph Paxton; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2346 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2408) นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิกชาวอังกฤษ เกิดใกล้เมืองวอเบิร์น เบดฟอร์ดไชร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรของชาวน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และโจเซฟ แพกซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

ไอ. เอ็ม. เพ

อ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และไอ. เอ็ม. เพ · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เหล็กกล้า

นเหล็ก สายเคเบิลที่ทำจากเหล็กกล้า เหล็กกล้า (steel) คือ เหล็ก (สัญลักษณ์ทางเคมี: Fe) ที่ผ่านกรรมวิธีเพิ่มสารอื่นๆเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กให้ดีขึ้น เป็นโลหะผสมที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.2 – 2.04% โดยน้ำหนักขึ้นกับคุณภาพ คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุนของเหล็กแต่ก็มีการใช้ธาตุอื่นๆ เช่น แมงกานีส โครเมียม วานาเดียม และทังสเตน คาร์บอนและธาตุอื่นๆเป็นตัวทำให้แข็ง การเปลี่ยนปริมาณธาตุที่ผสมในโลหะผสมที่พบในเหล็กกล้า มีส่วนในการควบคุมคุณภาพทั้งด้านความแข็ง การรีดเป็นแผ่นได้ และความตึงของเหล็กกล้าที่ได้ เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนมากขึ้นจะแข็งแกร่งและมีความแข็งมากกว่าเหล็ก แต่จะเปราะ ค่าสูงสุดในการละลายของคาร์บอนในเหล็กเป็น 2.14% โดยน้ำหนัก เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 1149 องศาเซลเซียสในการอบใช้อุณหภูมิประมาณ950 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้หรือหรืออุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเกิดลักษณะเป็นซีเมนต์ โลหะผสมที่มีคาร์บอนมากจะเป็นเหล็กที่มีความแข็งมาก เพราะมีจุดหลอมเหลวต่ำ และมีความแข็ง เหล็กกล้าต่างจากเหล็กบริสุทธิ์ที่มีอะตอมของธาตุอื่นน้อยมาก แต่มีกากแร่ 1-3% โดยน้ำหนักในรูปของอนุภาคอยู่ในทิศทางหนึ่ง ซึ่งมีความทนทานกว่าเหล็กกล้า และโค้งงอง่ายกว่าแบ่งเป็น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Modern architectureModernist architecture

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »