โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

ดัชนี จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis-Napoléon Bonaparte ลุย-นาโปเลยง โบนาปัทร์) ชื่อเกิดว่า ชาล-ลุย นโปเลียน โบนาปัทร์ (Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง..

34 ความสัมพันธ์: ชาตินิยมพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสการตรวจพิจารณามาร์แซย์รัฐสันตะปาปารัฐประหารตัวเองราชวงศ์โบนาปาร์ตรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสรายนามประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสลียงวิกตอร์ อูโกสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียสงครามไครเมียหลุยส์ โบนาปาร์ตออทโท ฟอน บิสมาร์คอำนาจอธิปไตยของปวงชนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งทัณฑนิคมคลองสุเอซประมุขแห่งรัฐประธานาธิบดีฝรั่งเศสประเทศอังกฤษปรัสเซียปารีสนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสแฮมป์เชอร์โรมันคาทอลิกเออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสเจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมารแห่งฝรั่งเศสเคนต์

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Louis-Philippe Ier; Louis-Philippe of France) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2316 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2393) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวฝรั่งเศส (King of the French) ตั้งแต่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2373 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 รวม 18 ปี ต่อจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักของประชาชนในนาม "พระมหากษัตริย์แห่งเดือนกรกฎาคม" โดยพระองค์ก็ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1830 และเสด็จไปลี้ภัยที่ประเทศอังกฤษจนสิ้นพระชนม์ชีพ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งฝรั่งเศส (ถ้าไม่นับรวมจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะจักรพรรดิ).

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิจารณา

การตรวจพิจารณา (censorship) คือ การระงับหรือทำลายซึ่งถ้อยคำหรือวัตถุแห่งการติดต่อสื่อสารอันได้รับการพิจารณาโดยผู้ตรวจแล้วว่า ผิดศีลธรรม ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่พึงประสงค์ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เป็นหัวข้ออ่อนไหว หรือสร้างความลำบากให้แก่รัฐบาลหรือองค์การสื่อสาร.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และการตรวจพิจารณา · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซย์

มาร์แซย์ (Marseille) หรือ มาร์เซยอ (Marselha) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,516,340 คน (ปี 2542) เมืองมาร์แซย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และมาร์แซย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสันตะปาปา

รัฐสันตะปาปา (Papal States; Pontifical States; Stati Pontificii) หรือ รัฐคริสตจักร (State(s) of the Church; Stato Ecclesiastico; Stato della Chiesa; Stati della Chiesa') “รัฐสันตะปาปา” เป็นหนึ่งในรัฐทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 จนกระทั่งอิตาลีรวมตัวกันเป็นประเทศเดียวกันในปี ค.ศ. 1861 โดยการนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย (หลังจากนั้นรัฐพระสันตะปาปาก็ยังมีอยู่จนปี ค.ศ. 1870) รัฐสันตะปาปาเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของพระสันตะปาปา ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมบริเวณประเทศอิตาลีสมัยใหม่ที่รวมทั้งโรมันยา, มาร์เก, อุมเบรีย และลาซีโอ อำนาจในการปกครองนี้เรียกว่า อำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา (Temporal power) ที่ตรงข้ามกับอำนาจทางศาสนา “Papal States” มักจะเป็นคำที่นิยมมากกว่า ส่วน “Papal State” มักจะใช้กับนครรัฐวาติกันซึ่งเป็นอาณาบริเวณภายในตัวกรุงโรม นครรัฐวาติกันก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และรัฐสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารตัวเอง

รัฐประหารตัวเอง (self-coup หรือ autocoup) เป็นรัฐประหารแบบหนึ่งซึ่งผู้นำประเทศ แม้เข้าสู่อำนาจโดยชอบ กลับหันไปใช้วิถีทางอันมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจพิเศษที่ไม่อาจมีได้ในสถานการณ์ปรกติ เป็นต้นว่า ยกเลิกรัฐธรรมนูญ แล้วอ้างอำนาจเผด็จการ.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และรัฐประหารตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โบนาปาร์ต

ราชวงศ์โบนาปาร์ต (Maison de Bonaparte, House of Bonaparte) เป็นราชวงศ์สุดท้าย ที่ปกครองฝรั่งเศส สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1804 โดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และราชวงศ์นี้ในรัชสมัยจักรพรรดินโปเลียนได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่หลังจากที่พ่ายแพ้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี ค.ศ. 1815 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ โดยก่อนหน้านั้นประเทศใกล้เคียงก็ได้มีสมาชิกราชสกุลโบนาปาร์ตไปปกครอง แต่หลังจากนโปเลียนลงจากราชบัลลังก์ กษัตริย์ในประเทศที่มีเชื้อพระวงศ์โบนาปาร์ตปกครองก็สละราชสมบัติและถูกเนรเทศไปจนหมดสิ้น หลังจากนโปเลียนถูกเนรเทศไปเกาะเอลบาได้ไม่นานก็ทรงรวบรวมกำลังทหารขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมกับหนีออกจากเกาะเอลบาและกลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ปกครองได้เพียง 100 วันก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติอีกครั้งและถูกส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา และสวรรคตที่เกาะนี้เมื่อปี ค.ศ. 1821 หลังจากนั้นราชสกุลโบนาปาร์ตก็เงียบหายไปจนถึงปี ค.ศ. 1848 หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต พระราชนัดดาในพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ก็ได้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรก ต่อมาหลังจากดำรงตำแหน่ง ครบ 4 ปี ก็ประกาศสถาปนาตนเองขึ้นเป็น จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1852และครองราชย์อยู่ 18 ปีก็สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1870 เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โบนาปาร์ตและสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมายาวนาน.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และราชวงศ์โบนาปาร์ต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และรายนามประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ลียง

ลียง (Lyon) เป็นเมืองอยู่ทางตะวันออกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโรน และเมืองหลวงของแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ตั้งอยู่ระหว่างปารีสกับมาร์แซย์ โดยอยู่ห่างจากปารีส 470 กิโลเมตร, ห่างจากมาร์แซย์ 320 กิโลเมตร, ห่างจากเจนีวา 160 กิโลเมตร, ห่างจากตูริน 280 กิโลเมตร และห่างจากมิลาน 450 กิโลเมตร ประชากรเมืองลียงมีชื่อว่า ลียงเน่ส์ ลียงเป็นเมืองสำคัญทางธุรกิจ มีประชากร 472,305 คน เป็นเมืองใหญ่อันดับสามของฝรั่งเศสรองจากปารีสและมาร์แซย์ ลียงมีชื่อเสียงในด้านของสถาปัตยกรรมและสถานที่ต่างๆทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการทอผ้าไหมโบราณ และได้รับขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1998 ในคริสศรรษวรรษที่ 20 ลียงมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านอาหารจนกลายเป็นศูนย์กลางทางโภชนาการที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ลียงยังมีส่วนสำคัญกับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ โดยเป็นบ้านเกิดของพี่น้องลูมิแยร์ (โอกุสต์ ลูมิแยร์ และหลุยส์ ลูแมร์) ผู้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพยนตร์ในลียง ทุกวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปีจะมีเทศการ Fête des Lumières หรือเทศกาลแห่งแสงสว่าง โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน ทำให้ลียงได้รับการขนานนามว่าเป็น เมืองหลวงแห่งแสงสว่าง ในด้านเศรษฐกิจ ลียงเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ของการธนาคาร อุตสาหกรรมเคมี ยาปฏิชีวนะและอุตสาหกรรมชีวภาพต่างๆ ลียงยังมีอุตสาหกรรมด้านซอฟแวร์ซึ่งมุ่งเน้นไปทางด้านวิดีโอเกมส์โดยเฉพาะ ในเมืองยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใญ่ของ Interpol Euronews และ International Agency of Research on Cancer โดยลียงเป็นเมืองที่ได้รับการจัดอันดับ (โดย Mercer) คุณภาพชีวิตประชากรอยู่ที่อันดับ 39 ของโลก (2015).

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และลียง · ดูเพิ่มเติม »

วิกตอร์ อูโก

วิกตอร์-มารี อูโก (Victor-Marie Hugo; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 — 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักประพันธ์ ศิลปิน รัฐบุรุษ และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมยุคโรแมนติกในประเทศฝรั่งเศส ชื่อเสียงของอูโกทางด้านงานวรรณกรรมในประเทศฝรั่งเศสมาจากงานกวีนิพนธ์และบทละคร ส่วนงานนวนิยายเป็นที่รู้จักรองลงมา ในบรรดางาน กวีนิพนธ์ของเขา Les Contemplations และ La Légende des siècles จัดเป็นงานที่โดดเด่นและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บางครั้งอูโกได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ขณะที่เขาเป็นที่รู้จักภายนอกประเทศจากผลงานนวนิยาย เรื่อง Les Misérables (เหยื่ออธรรม) และ Notre-Dame de Paris (ฉบับแปลภาษาอังกฤษเรียกว่า The Hunchback of Notre Dame หรือ คนค่อมแห่งน็อทเทรอะ-ดาม).

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และวิกตอร์ อูโก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2

รณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 (Deuxième République France) คือประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848 ถึงการรัฐประหารในปี 1851 โดยหลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตเพื่อก่อตั้งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ตลอดช่วงเวลาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 มีประมุขแห่งรัฐเพียงคนเดียวคือประธานาธิบดีหลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2413 ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายใน พ.ศ. 2483 จากการรุกรานของนาซีเยอรมัน ทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ยุคนี้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 เป็นต้นมา หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

งครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไครเมีย

งครามไครเมีย (Crimean War, ตุลาคม ค.ศ. 1853 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1856)Kinglake (1863:354)Sweetman (2001:7) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิรัสเซียฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรอันประกอบด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิออตโตมัน และราชอาณาจักรซาร์ดิเนียอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันอันยาวนานระหว่างมหาอำนาจยุโรปเพื่อมีอิทธิพลเหนือดินแดนของออตโตมันที่เสื่อมอำนาจลง สงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคาบสมุทรไครเมีย แต่ยังมีการทัพขนาดเล็กในอนาโตเลียตะวันตก คอเคซัส ทะเลบอลติก มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลขาว สงครามไครเมียเป็นที่รู้จักกันเนื่องด้วยข้อผิดพลาดทางพลาธิการและยุทธวิธีระหว่างการทัพทางบกของทั้งสองฝ่าย ส่วนกองทัพเรือนั้น การทัพฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จในการทำลายเรือส่วนใหญ่ของกองทัพเรือรัสเซียในทะเลดำ แม้กระนั้น บางครั้งสงครามดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสงคราม "สมัยใหม่" ครั้งแรก ๆ เพราะมัน "ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคซึ่งส่งผลกระทบต่อเส้นทางสงครามในอนาคต" ซึ่งรวมไปถึงการใช้ทางรถไฟและโทรเลขในทางยุทธวิธีเป็นครั้งแรกด้วยRoyle.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และสงครามไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ โบนาปาร์ต

หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis Napoléon Bonaparte) หรือชื่อเกิดคือ ลุยจี บูโอนาปาร์เต (Luigi Buonaparte) เป็นขุนนางแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสและเป็นกษัตริย์แห่งฮอลแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และหลุยส์ โบนาปาร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตยของปวงชน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People or Popular Sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกๆคนภายในรัฐ จึงทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าอธิปไตยของมหาชน (popular sovereignty) ซึ่งก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่เน้นให้เห็นถึงรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่มีความโยงใยกับประชาชนจำนวนมากในสังคมในระบอบประชาธิปไตย หรือ ก็คือแนวคิดที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงประชามหาชน” (power belongs to the people) (Kurian, 2011: 1580-1581).

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และอำนาจอธิปไตยของปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (Deuxième Empire français) เป็นจักรวรรดิปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 และที่ 3.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทัณฑนิคม

ทัณฑนิคม (penal colony) หมายถึงถิ่นฐานซึ่งใช้สำหรับเนรเทศนักโทษและแยกพวกเขาจากประชากรส่วนใหญ่โดยการส่งตัวนักโทษเหล่านี้ไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเกาะหรือดินแดนอาณานิคมที่อยู่ไกลออกไป คำดังกล่าวมักหมายถึงประชาคมนักโทษซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโทษหรือผู้ว่าการซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด ในทางประวัติศาสตร์ ทัณฑนิคมมักจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการใช้แรงงานนักโทษในดินแดนของรัฐ (หรือส่วนใหญ่คืออาณานิคม) ซึ่งเศรษฐกิจอย่างไม่พัฒนา และมีขนาดใหญ่กว่า "ฟาร์มในคุก" อย่างมาก ในทางปฏิบัติแล้ว ทัณฑนิคมมีความเหนือกว่าประชาคมทาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ มักจะใช้ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนอื่น ๆ ของโลกเป็นทัณฑนิยมสำหรับโทษที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอยู่ในฐานะความจำยอม การผูกมัดหรือการจัดการที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และทัณฑนิคม · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุเอซ

ลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 101 ไมล์ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ ปัจจุบัน สามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. ไม่มีประตูกั้นน้ำเพราะทะเลทั้ง 2 แห่งมีระดับเดียวกัน คลองสุเอซเริ่มสร้างในเดือนเมษายน ปี 1859 แล้วเสร็จในเดิอนพฤศจิกายน ปี 1869 เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลกเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา คลองสุเอซช่วยให้การเดินทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียสั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรือไม่ต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ก่อนการสร้างคลองนั้น ใช้การขนถ่ายสินค้าทางบกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง คลองสุเอซแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเหนือและส่วนใต้ โดยมีทะเลสาบเกรตบิตเตอร์ (Great Bitter) เป็นจุดกลาง.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และคลองสุเอซ · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาแลเดอเลลีเซมาแล้ว รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ แอมานุแอล มาครง ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และประธานาธิบดีฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร โดยรวมถึงหน้าที่การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ เพื่อให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง โดยจะถูกสอดส่องดูแลในระบบสภาโดยศาลปกครองสูงสุด (Conseil d'État) ซึ่งบางครั้งนายกรัฐมนตรีพึงรับคำปรึกษาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส

มเด็จพระจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโค (ยูเจนี แห่งฝรั่งเศส) (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463) (Eugénie de Montijo) ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย และเป็นพระชายาในสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ประสูติ ณ แคว้นเกรนาดา, สเปน พระองค์จึงทรงเป็นชาวสเปนโดยกำเนิด มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือมกุฎราชกุมารนโปเลียน ยูเจนีแห่งฝรั่งเศส รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2414 จากการปฏิวัติ ทำให้ระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศสสิ้นสุดลงเป็นครั้งที่ 3 หลังจากประเทศต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายในการปกครองระหว่างระบบสาธารณรัฐกับระบอบกษัตริย์จากการปฏิวัติฝรั่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และเออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมารแห่งฝรั่งเศส

้าชายนโปเลียน พระราชกุมาร (Napoléon, Prince Imperial) หรือ นโปเลียนที่ 4 เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในจักรพรรดินโปเลียนที่ 3กับจักรพรรดินียูเจนีแห่งมอนติโจ หลังจากพระราชบิดาถูกถอดจากราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1870 ก็ได้พาพระราชวงศ์โบนาปาร์ตลี้ภัยไปประทับอยู่ในอังกฤษโดยอยู่ภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และตัวพระองค์เข้ารับราชการทหารในกองทัพอังกฤษ ภายหลังจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สวรรคตในปี ค.ศ. 1873 พระองค์ก็เป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส พระองค์พระราชสมภพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1856 โดยมีพระยศว่า เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมาร แต่หลังระบอบกษัตริย์ลูกล้มล้างใน ค.ศ. 1870 พระยศของพระองค์จึงเหลือแค่ หลุยส์-นโปเลียน พระราชกุมาร แต่พวกโบนาปาร์ตนิยมมักจะเรียกพระองค์ว่า นโปเลียนที่ 4 พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนสยามประเทศเป็นการส่วนพระองค์ใน ค.ศ. 1873 แม้ หลุยส์-นโปเลียน พระราชกุมาร จะทรงรับราชการทหารอยู่ในกองทัพอังกฤษแต่พระนางเจ้าวิกตอเรียไม่ทรงอนุญาตให้เข้าร่วมปฏิบัติการสู้รบใดๆ ถึงกระนั้น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1879 ขณะพระองค์เข้าเวรอยู่ในค่ายทหาร ณ ราชอาณาจักรซูลู (แอฟริกาใต้ในปัจจุบัน) ทันใดนั้นก็ต้องเผชิญหน้ากับหน่วยสอดแนมของซูลูโดยบังเอิญ หลุยส์-นโปเลียนหนีไม่ทันจึงเข้าต่อสู้และเสด็จสวรรคตในวัยเพียง 23 พรรษา เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้อภิเษกสมรสและไม่มีรัชทายาท ทำให้ราชวงศ์โบนาบาร์ตสายหลุยส์ โบนาปาร์ต ต้องสิ้นสุดที่พระองค์ และสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตกไปอยู่กับสายเจโรม โบนาปาร์ต พระอนุชาองค์สุดท้องของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ขึ้นอ้างสิทธิ์แทน.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และเจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมารแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: จักรพรรดินโปเลียนที่ 3และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Napoleon IIINapoleon III of Franceสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ตหลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตพระเจ้านโปเลียนที่ 3นโปเลียนที่ 3นโปเลียนที่สาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »