โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ดัชนี สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี..

97 ความสัมพันธ์: บังทองบิฮูหยินบิต๊กช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีพ.ศ. 2534พ.ศ. 2537พ.ศ. 2538พ.ศ. 2551กวนอูกองซุนจ้านกำฮูหยินกุยแกมีเดีย ออฟ มีเดียส์มณฑลเสฉวนม้าเจ๊กม้าเฉียวยุทธการที่กัวต๋อยุทธการที่หับป๋ายุทธการที่ผาแดงยุทธการที่ทุ่งพกบ๋องยุทธการที่เขาเตงกุนสันลกซุนลิยูลิซกลิโป้ล่อกวนตงวิดีโอวุยก๊กวีซีดีสามก๊กสิบขันทีสุมาสูสุมาอี้สุมาเอี๋ยนสุมาเจียวสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีนสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสอุยกายอ้วนสุดอ้วนเสี้ยวอ้องอุ้นจกหยงจักรพรรดิเว่ยหมิงจิวยี่จิวท่ายจูกัดเหลียงจูล่งจ๊กก๊กถัง กั๋วเฉียง...ขันทีดีวีดีคำสาบานในสวนท้องอปั้นง่อก๊กตันกุ๋ยตันก๋งตันฮกตันเต๋งตั๋งโต๊ะซุน ยั่นจุนซุนกวนซุนฮกซุนฮูหยินซุนเกี๋ยนซุนเขียนซุนเซ็กประเทศจีนประเทศไทยแฮหัวตุ้นโลซกโฮเฮาโจสิดโจผีโจโฉไทสูจู้เบ้งเฮ็กเกียงอุยเกงจิ๋วเลียวฮัวเล่าปี่เล่าเสี้ยนเอ็มวีทีวีเทียเภาเคาทูเงียมหงันเตียวสงเตียวหุยเตียวเลี้ยวเตียวเสี้ยนเตียวเจียวเต๊งหงวนเปาสิ้นเนินหงส์ร่วง15 กุมภาพันธ์15 มีนาคม24 เมษายน ขยายดัชนี (47 มากกว่า) »

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และบังทอง · ดูเพิ่มเติม »

บิฮูหยิน

ูหยิน (Lady Mi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ภรรยาคนที่สองของเล่าปี่ เป็นน้องสาวของบิต๊กและบิฮอง ขุนนางของโตเกี๋ยม ซึ่งต่อมาก็ได้รับใช้เล่าปี่หลังจากโตเกี๋ยมเสียชีวิตแล้ว.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และบิฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

บิต๊ก

ต๊ก (Mi Zhu) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก เป็นทั้งที่ปรึกษาและพี่ภรรยาของเล่าปี่ เป็นพี่ชายของบิฮองซึ่งต่อมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสียชีวิตของกวนอู เดิมเป็นขุนนางของโตเกี๋ยม เจ้าเมืองชีจิ๋ว เมื่อโตเกี๋ยมตายจึงอยู่รับใช้เล่าปี่ต่อไป.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และบิต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และพ.ศ. 2537 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และกองซุนจ้าน · ดูเพิ่มเติม »

กำฮูหยิน

กำฮูหยิน (เสียชีวิตราวปี ค.ศ. 210) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากานฟูเหยิน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นภรรยาหลวงของเล่าปี่ จักรพรรดิและผู้สถาปนาจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และกำฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

กุยแก

กุยแก (Guo Jia) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ยอดกุนซือแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน เอี๋ยงตี๋ (เมืองอวี๋ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ชื่อรองฟ่งเสี้ยว เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำที่ใช้คนไม่เป็น กุยแกจึงมาอยู่กับโจโฉในวัยเพียง 27 ปี ด้วยการแนะนำของซุนฮก กุยแกเป็นนักวางแผนคนสำคัญ เป็นผู้สรุปข้อดี 10 ประการของโจโฉ และสรุปข้อด้อย 10 ประการของอ้วนเสี้ยวเปรียบเทียบให้โจโฉฟัง ซึ่งเป็นแรงดลใจให้โจโฉทำสงครามแตกหักกับอ้วนเสี้ยว แม้จะมีกำลังคนน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวถึง 10:1 แต่โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้ กุยแกเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อาจเทียบได้กับขงเบ้งของเล่าปี่ ทว่าทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ประชันฝีมือกัน เพราะกุยแกเสียชีวิตเสียก่อน ด้วยป่วยตายที่เมืองลกเอี๋ยงในวัยเพียง 38 ปี ระหว่างที่โจโฉทำสงครามติดตามอ้วนซง และอ้วนถำ บุตรชายของอ้วนเสี้ยว ที่หนีไป ภายหลังอ้วนเสี้ยวตายไปแล้ว ก่อนตาย กุยแกได้เขียนจดหมายถึงโจโฉว่า ไม่จำเป็นต้องไล่ติดตามคนทั้ง 2 ไปไกล เพราะไม่นานทั้ง 2 จะแตกกันเองและจะมีผู้จัดการให้ในที่สุด ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงดังคำของกุยแก เพราะเมื่ออ้วนซงและอ้วนฮีหนีไปอยู่กับกองซุนข้อง กองซุนข้องระแวงคนทั้ง 2 อยู่แล้ว จึงฆ่าและตัดหัวมามอบให้แก่โจโฉ เมื่อกุยแกตาย โจโฉร่ำไห้อาลัยมาก รำพึงรำพันว่า กุยแกตายแต่ยังหนุ่ม เหมือนสวรรค์กลั่นแกล้งตน และอีกครั้งหลังพ่ายแพ้ย่อยยับจากศึกเซ็กเพ็ก โจโฉรำพันว่า ถ้ากุยแกยังอยู่จะต้องห้ามปรามตน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และกุยแก · ดูเพิ่มเติม »

มีเดีย ออฟ มีเดียส์

ริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) หรือในสายธุรกิจด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันคือ บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์, สื่อบันเทิง, สื่อสิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ 22 เมษายน..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และมีเดีย ออฟ มีเดียส์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเฉียว

ม้าเฉียว (Ma Chao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เชี่ยวชาญในการขี่ม้ามาก เป็น 1 ใน 5 ขุนพลพยัคฆ์แห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองว่า เหมิงฉี เกิดที่มณฑลซานซี เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง มีความแค้นต่อโจโฉมาก เนื่องจากม้าเท้งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมลงชื่อกำจัดโจโฉตามหนังสือเลือดของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นบุคคลที่โจโฉระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าจะตลบหลังตีเมืองลกเอี๋ยง ตอนตนออกไปทำศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงทำอุบายขอโองการฮ่องเต้แต่งตั้งตำแหน่งแม่ทัพปราบทักษิณ ให้ม้าเท้งเข้ามาเมืองฮูโต๋รับตำแหน่งแล้วจะจับฆ่า แต่ม้าเท้งซ้อนแผนไว้ ผลสุดท้ายแผนแตกจึงถูกโจโฉจับฆ่าตายทั้งตัวและน้องชาย ม้าต้าย ญาติผู้น้องเป็นผู้เดียวที่หลบหนีมาได้ จึงรีบไปบอกม้าเฉียว ม้าเฉียวแค้นมากประกาศจะตามล้างโจโฉให้ได้ จึงรวบรวมทัพของตนผสมกับชนเผ่าเกี๋ยงบุกตีโจโฉ ทำให้โจโฉต้องเตลิดหนีด้วยการตัดหนวดทิ้ง และถอดเสื้อคลุมทิ้ง แต่โจหองเข้ามาขวาง จึงหลบหนีไปได้หวุดหวิด โจโฉได้กล่าวว่า ม้าเฉียวเก่งกล้าไม่แพ้ลิโป้ในอดีต จากนั้นม้าเฉียวจึงไปร่วมกับหันซุยทำศึกกับโจโฉ แต่ด้วยอุบายของโจโฉ ที่รอให้น้ำแข็งที่เกาะกุมกำแพงเมืองหนาแน่น และทำให้ม้าเฉียวระแวงหันซุย จึงชนะในที่สุด ม้าเฉียวจึงต้องร่อนเร่พเนจรและได้เข้าร่วมกับเตียวล่อ ได้เข้ารบกับจ๊กก๊ก โดยประลองฝีมือกับเตียวหุย รบถึงกัน 100 เพลง ก็ไม่มีใครแพ้-ชนะ เนื่องจากฝีมือสูสีกันมาก ด้วยอุบายของขงเบ้ง ทำให้ได้ม้าเฉียวมาอยู่กับฝ่ายจ๊กก๊ก เมื่อครั้งที่เล่าปี่ยกทัพเข้าตีเซงโต๋ในเสฉวนของเล่าเจี้ยง ขงเบ้งได้ให้ม้าเฉียวเป็นทัพหน้า เพียงแค่ได้ยินชื่อของม้าเฉียว ทหารของเล่าเจี้ยงก็ยอมแพ้ไม่ต้องรบทันที เพราะนับถือม้าเฉียวมากดุจเทพเจ้าแห่งสงคราม ม้าเฉียวเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ขณะตามขงเบ้งลงใต้ปราบเบ้งเฮ็กด้วยวัยเพียง 45 ปี (แต่ตามประวัติศาตร์จริง ม้าเฉียวตายด้วยโรคภัยก่อนขงเบ้ง1ปี).

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และม้าเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่กัวต๋อ

ึกกัวต๋อ (官渡之戰, Battle of Guandu) เกิดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงโหในปี ค.ศ. 200 เป็นศึกที่โจโฉได้ชัยชนะต่ออ้วนเสี้ยว จุดตัดสินผลการรบของศึกนี้อยู่ที่การลอบโจมตีทัพขนเสบียงของอ้วนเสี้ยวที่อัวเจ๋า ทำให้ทัพอ้วนเสี้ยวขาดเสบียงและเกิดความระส่ำระสายไปทั้งกองทัพ จากแผนการของเขาฮิว ซึ่งเดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่มาอยู่ข้างโจโฉ เพราะคาดการณ์ว่าอ้วนเสี้ยวต่อไปจะพ่ายแพ้แน่ ทั้ง ๆ ที่เริ่มต้นกองทัพของอ้วนเสี้ยวมีมากกว่าโจโฉถึง 10:1 แต่โจโฉนำทัพอย่างใจเย็นค่อย ๆ รุกคืบ และฝ่ายอ้วนเสี้ยวก็โลเลไม่ยอมทำศึกแตกหัก จึงต้องประสบความพ่ายแพ้ในที่สุด ภายหลังศึกนี้ อ้วนเสี้ยวเสียใจมาก อีกทั้งลูกชาย 2 คน คือ อ้วนซีกับอ้วนถำก็บาดหมางถึงขนาดฆ่ากัน จนต้องกระอักเลือดชีวิตในเวลาต่อมาไม่นาน ศึกนี้นำมาสู่การล่มสลายของตระกูลอ้วน เมื่อบุคคลสำคัญ ๆ ในตระกูลได้ล้มตายหมดสิ้น อีกทั้งเป็นศึกที่โจโฉได้สร้างชื่อเสียงไว้มาก และทำให้ได้ครองอำนาจใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในดินแดนภาคเหนือของจีน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโจโฉใช้เวลาทำศึกครั้งนี้นานถึง 7 ปี ในสามก๊ก เริ่มแรกจากที่เล่าปี่ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ในพระราชวัง จากที่มีความดีความชอบในการปราบตั๋งโต๊ะและลิโป้ พระองค์ทรงให้ตรวจพงศาวลี พบว่าเล่าปี่สืบสายเชื้อสายมาจากตงสานเชงอ๋องจริง จึงให้ความเคารพเล่าปี่และทรงเรียกเล่าปี่ว่า พระเจ้าอา และเชื้อเชิญให้ไปปรึกษาราชการเป็นการส่วนพระองค์ ทำให้โจโฉเกิดความระแวงในตัวเล่าปี่ อีกทั้งในเวลาเดียวกันนั้น ตังสินร่วมมือกับเกียดเป๋งหมายจะลอบฆ่าโจโฉ แต่ไม่สำเร็จ โจโฉยิ่งเพิ่มความระแวงในตัวผู้ที่อยู่ตรงกันข้าม เล่าปี่จึงตัดสินใจหนีออกจากเมืองไปเข้าร่วมกับอ้วนเสี้ยว เพื่อชักชวนให้ปราบโจโฉ โจโฉได้ทำการฝังศพอ้วนเสี้ยวอย่างสมเกียรติ และได้ซื้อใจราษฎรด้วยการงดภาษีถึง 1 ปี และต่อมาได้ร่างโคลงถึงการรบในครั้งนี้ด้วย ที่เขาจรดทะเลเช่นเดียวกับฮั่นอู่ตี้ อดีตฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ในราชวงศ์ฮั่นเคยกระทำ หลังจากชนะศึกที่นี่เช่นกัน สำหรับฝ่ายเล่าปี่ นี่เป็นศึกอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ทำให้เล่าปี่แตกหักกับฝ่ายโจโฉอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนับต่อจากนี้ทั้งคู่จะขับเขี่ยวกันไปตลอ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และยุทธการที่กัวต๋อ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่หับป๋า

ึกหับป๋า (The Battle of Hefei; ปี ค.ศ. 215) เป็นสงครามที่มีชื่อและมีความสำคัญมากอีกสงครามหนึ่งในสมัยสามก๊ก เป็นการรบกันระหว่างฝ่ายง่อที่มีจำนวนทหารมากกว่าฝ่ายวุยที่รักษาการณ์ที่หับป๋าหลายเท่า แต่กลับเป็นฝ่ายง่อที่พ่ายแพ้และถูกกดดันให้ถอยทัพกลับ ซึ่งถือว่าเป็นศึกที่สำคัญมากต่อฝ่ายวุย เพราะถ้าวุยพลาดเสียหับป๋าให้กับฝ่ายง่อ ก็เท่ากับว่าซุนกวนและกองทัพง่อสามารถเดินทัพอย่างสะดวกเข้าสู่ใจกลางของก๊กวุยและเมืองหลวงได้ ผลจากสงครามครั้งนี้นั้นทำให้ ฝ่ายวุยมั่นคงปลอดภัยที่สามารถรักษาหับป๋าซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่ดินแดนวุยได้ ถ้าฝ่ายง่อได้ชัยชนะในครั้งนี้ การที่ซุนกวนจะยกทัพเข้าบุกถึงเมืองหลวงก็มีความเป็นไปได้ เพราะว่าโจโฉได้นำทัพส่วนใหญ่ไปบุกยึดฮันต๋ง เหลือทหารไว้เฝ้าเมืองหลวงไม่มาก อย่างไรก็ดี เรื่องความสามารถของซุนกวนนั้น ในประวัติของเตียวเลี้ยวบอกไว้ว่าซุนกวนเกรงกลัวไม่กล้ามาสู้กับเขา แต่หลาย ๆ บันทึกว่าไว้ว่าซุนกวนนั้นมีความสามารถเรื่องขี่ม้า ยิงธนู กล้าหาญและมีความเป็นนักรบ เสียแต่ว่าซุนกวนไม่มีประวัติความสำเร็จในการนำทัพโจมตีเลย มีเพียงความสามารถในการป้องกันทัพโจโฉจำนวนมากที่บุกมาโจมตีทางปากแม่น้ำยี่สูก่อนหน้าศึกนี้ ซุนกวนนำทัพป้องกันได้เป็นอย่างดี จนโจโฉยังชมเชยว่า ถ้ามีบุตรต้องมีให้ได้อย่างซุนกวน เป็นครั้งสุดท้ายของโจโฉที่บุกง่อก๊กและยิ่งไม่มีโอกาสที่จะกรีฑาทัพบุกง่อก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และยุทธการที่หับป๋า · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ทุ่งพกบ๋อง

ึกทุ่งพกบ๋อง หรือ ศึกเนินพกบ๋อง (The Battle of Bowang, 博望之戰) เป็นการศึกใน วรรณกรรมเรื่องสามก๊ก เมื่อ ค.ศ. 202 และเป็นการศึกครั้งแรกของขงเบ้งที่แสดงฝีมือให้เห็นประจักษ์ ทุ่งพกบ๋อง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) เป็นช่องเขาหลังเมืองซินเอี๋ย เป็นช่องทางหนึ่งที่จะเข้าเมืองได้ เป็นทางแคบ ทางซ้ายเป็นเขา ชื่อ เขาอีสัน ทางขวาเป็นป่าชื่อ ป่าอันหลิม เมื่อแฮหัวตุ้นยกทัพเรือนแสนมาหมายจะขยี้เมืองซินเอี๋ย และตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองเพียง 40 ลี้ ขงเบ้งได้รับกระบี่อาญาสิทธิ์จากเล่าปี่ ให้บัญชาการทัพได้เต็มที่ ขงเบ้งได้มอบหมายให้เล่าปี่และจูล่งยกทัพไปสู้กับแฮหัวตุ้นซึ่ง ๆ หน้า แต่ต้องแสร้งแพ้เพื่อล่อให้แฮหัวตุ้นยกทัพตามเข้ามาในทุ่งพกบ๋อง เพื่อที่กวนอูและเตียวหุยที่ซ่อนทัพในป่าและเขาด้านข้างใช้ไฟเผาทั้งเป็นตามแผน โดยแต่แรกนั้น กวนอูและเตียวหุยไม่เชื่อมั่นในตัวขงเบ้ง แต่เมื่อแผนการนี้สำเร็จ ทหารของแฮหัวตุ้นเสียชีวิตในการนี้หลายหมื่นคน กวนอูและเตียวหุยก็ได้ให้ความมั่นใจและศรัทธาในตัวขงเบ้ง และหลังจากนั้นไม่นาน โจโฉก็ยกทัพหลวงมาเองเพื่อที่จะแก้แค้นในการศึกนี้ โดยให้โจหยินเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกไปที่เมืองซินเอี๋ย ซึ่งขงเบ้งก็ใช้อุบายทำให้เมืองซินเอี๋ยเป็นเมืองร้าง และใช้ไฟเผาทัพของโจโฉอีกครั้ง เมื่อทหารที่หนีรอดมาได้ก็ถูกน้ำซัดอีกครั้ง จากกวนอูที่ทลายเขื่อนกั้นแม่น้ำแปะโห ศึกนี้เรียกกันว่า ไฟเผาซินเอี๋ย การศึก 2 ครั้งนี้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้ประจักษ์ว่า ขงเบ้ง เป็นแม่ทัพที่เหนือแม่ทัพคนอื่น ๆ เพราะสามารถใช้พลังธรรมชาติ อันได้แก่ ไฟและน้ำ มาเป็นประโยชน์ในการทำลายทัพเรือนแสนได้ โดยไม่ต้องสูญเสียทหารฝ่ายตนมากนัก และอีกครั้งที่ขงเบ้งใช้เงื่อนไขของพลังธรรมชาติ คือ หมอกและลม คราวศึกเซ็กเพ็ก ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนี้ จึงเป็นที่มาของฉายา "ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร".

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และยุทธการที่ทุ่งพกบ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เขาเตงกุนสัน

ึกเขาเตงกุนสัน เป็นสงครามที่เกิดเมื่อช่วงประมาณ ค.ศ. 219 (พ.ศ. 762) เป็นสงครามระหว่าง วุยก๊ก ของ โจโฉ ที่นำทัพโดย แฮหัวเอี๋ยน และ จ๊กก๊ก ของ พระเจ้าเล่าปี่ ที่นำทัพโดย จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) และผลของสงครามครั้งนี้วุยก๊กก็ต้องสูญเสียแฮหัวเอี๋ยนที่ถูกฆ่าโดย ฮองตง ชัยชนะของศึกเขาเตงกุนสันของฝ่ายเล่าปี่ ทำให้ยึดเมืองฮันต๋งและตั้งตนเป็นอ๋องได้สำเร็.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และยุทธการที่เขาเตงกุนสัน · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลิยู

ลิยู (Li Ru) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการของตั๋งโต๊ะและยังเป็นบุตรเขยของตั๋งโต๊ะด้วย เป็นคนที่สนับสนุนให้ตั๋งโต๊ะคิดการปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้และตั้งพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน ลิยูยังเป็นผู้วางยาพิษสังหารหองจูเปียนและนางโฮเฮา และเป็นผู้แนะนำให้ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงมาที่เตียงฮัน เพื่อหนีกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง ต่อมา อ้องอุ้นใช้อุบายห่วงโซ่ โดยให้นางเตียวเสียนไปทำให้ตั๋งโต๊ะกับลิโป้ผู้เป็นบุตรเลี้ยงของตั๋งโต๊ะผิดใจกัน ลิยูเคยแนะนำให้ตั๋งโต๊ะยกนางเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้เพื่อยุติความบาดหมาง แต่ตั๋งโต๊ะไม่ยอม เมื่อตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดยลิโป้ ลิยูและครอบครัวก็ถูกลิโป้จับมาประหารสิ้น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และลิยู · ดูเพิ่มเติม »

ลิซก

รูปลิซกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ลิซก (Li Su) เป็นเสนาธิการคนสำคัญของตั๋งโต๊ะเป็นคนที่มีวาทะศิลป์เป็นเลิศ เมื่อตั๋งโต๊ะคิดปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้ และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคน โดยเฉพาะเต๊งหงวน เจ้าเมืองเกงจิ๋ว หลายวันต่อมาเต๊งหงวนได้ยกทัพมารบกับตั๋งโต๊ะ เต๊งหงวนมีลิโป้เป็นลูกบุญธรรมและองครักษ์ ลิโป้มีฝีมือเก่งกาจสามารถตีทัพตั๋งโต๊ะจนต้องถอยกลับค่ายไป ตั๋งโต๊ะอยากได้ลิโป้เป็นขุนพลของตน ลิซกซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกับลิโป้จึงอาสาไปเกลี้ยกล่อมลิโป้ โดยขอม้าเซ็กเธาว์และสมบัติจากตั๋งโต๊ะ เพื่อไปมัดใจลิโป้ ลิซกเกลี้ยกล่อมลิโป้ได้สำเร็จและยุให้ลิโป้สังหารเต๊งหงวนเสีย เมื่อมีลิโป้อยู่ข้างกาย ตั๋งโต๊ะจึงไม่กลัวใครอีกต่อไป กระทำการปลดหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ ลิซกได้ความชอบใหญ่หลวงในการเกลี้ยกล่อมลิโป้ แต่ไม่ได้บำเหน็จรางวัลอันใดจากตั๋งโต๊ะเลย จึงนึกน้อยใจอยู.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และลิซก · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

ล่อกวนตง

หลัว กวั้นจง ตามสำเนียงกลาง หรือ ล่อกวนตง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นปราชญ์และนักประพันธ์ชาวจีน มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (ค.ศ. 1330-ค.ศ. 1400) หรือยุคปลายของราชวงศ์หยวน ต่อถึงต้นราชวงศ์หมิง ล่อกวนตงเป็นผู้แต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก และได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรับปรุงเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งนับเป็น 2 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน (อีกสองเรื่องคือ ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง) ชีวประวัติของล่อกวนตงไม่ใคร่แน่ชัด แต่มีการยืนยันว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิงจริง นักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อ เจียจงหมิง (賈仲明) บันทึกไว้ว่าเคยพบกับล่อกวนตงในราวปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และล่อกวนตง · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอ

ระบบวิดีโอแบบที่นิยมทั่วโลก สีเขียวแสดงถึงประเทศที่ใช้ระบบ NTSC สีเหลือง PAL และสีส้ม SECAM วิดีโอ (video) หรือ วีดิทัศน์ หรือมักสะกดผิดว่า วีดีโอ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิงในบ้าน ใช้ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ มีระบบหลักๆ คือ NTSC PAL และ SECAM.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และวิดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วีซีดี

ตัวอย่างแผ่นวีซีดี วีซีดี หรือ วิดีโอซีดี (VCD หรือ Video CD) เป็นรูปแบบมาตรฐานในการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวลงในแผ่นซีดี รูปลักษณ์ของแผ่นวีซีดีเหมือนกับแผ่นซีดี สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เครื่องเล่นดีวีดี (DVD) เป็นต้น รูปแบบวีซีดีมาตรฐานถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดย บริษัท โซนี่ บริษัท ฟิลิปส์ บริษัท มัทซูชิตะ และ บริษัท เจวีซี ซึ่งได้อ้างอิงไว้ในหนังสือชื่อ ไวต์บุ๊ก (White Book) ธุรกิจวีซีดีเจริญรุ่งเรืองมากในแถบเอเชีย เพราะว่าเครื่องเล่นนั้นมีราคาถูก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และวีซีดี · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

สุมาสู

มเด็จพระจักรพรรดิจิ่งตี้ สุมาสู(ซือหม่าซือ)เป็นตัวละครหนึ่งในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสุมาสู · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเอี๋ยน

ระเจ้าจิ้นอู่ (ค.ศ. 236 – 17 พฤษภาคม ค.ศ. 290) ชื่อตัวว่า ซือหม่า หยัน (司馬炎) ตามสำเนียงกลาง หรือ สุมาเอี๋ยน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน และชื่อรองว่า อันชื่อ (安世) เป็นหลานชายของซือหม่า อี้ (司馬懿) และเป็นบุตรชายของซือหม่า เจา (司馬昭) หลังบีบให้เฉา ฮ่วน (曹奐) กษัตริย์แห่งรัฐเว่ย์ (魏) สละราชสมบัติ ซือหม่า หยัน ได้เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จิ้น เสวยราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสุมาเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเจียว

มเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ หรือ สุมาเจียว (สำเนียงกลางเรียกว่า "ซือหม่าเจา") เป็นโอรสองค์ที่สองของสุมาอี้ มีฉายาว่า จื่อส้าง เป็นคนเหี้ยม ฉลาดแกมโกง มีความทะเยอทะยานอยู่เป็นนิจ หลังจากสุมาอี้ตาย พระเจ้าโจฮองแต่งตั้งให้เป็นเพียวฉีส้างเจียงจวิน (สามก๊กไทยเรียกว่า เตียวกี๋เซียงจงกุ๋น สามก๊กอังกฤษแปลว่า นายพลทหารม้า) เมื่อสุมาสูผู้เป็นพี่ชายถึงแก่กรรม สุมาเจียวที่อยู่เมืองฮูโต๋ เกรงว่าพระเจ้าโจมอจะตั้งคนอื่นขึ้นควบคุมประเทศ จึงเคลื่อนทัพไฟตั้งใกล้ลกเอี๋ยง พระเจ้าโจมอกลัวว่าสุมาเจียวจะโค่นราชบัลลังก์ จึงมอบอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินให้สุมาเจียว และพระราชทานยศ "ต้าเจียงจวิน" พอได้อำนาจในแผ่นดิน สุมาเจียวคิดแย่งพระราชสมบัติของพระเจ้าโจมอ แต่ถูกจูกัดเอี๋ยน ผู้บัญชาการทหารที่ห้วยหลำขัดขวางจนเกิดสงคราม จูกัดเอี๋ยนถูกฆ่าตายพร้อมทั้งตระกูล ต่อพระเจ้าโจมอทรงมีความรู้สึกกดดันที่อยู่ภายใต้อำนาจสุมาเจียวจึงแต่งกลอนเพื่อระบายความในใจออกมาแต่กลอนนี้กับหลุดไปถึงหูสุมาเจียว ทำให้เกิดความโมโหจึงบุกเข้าไปด่าทอพระเจ้าโจมอในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชบริพารและออกจากท้องพระโรงโดยไม่ทูลลา พระเจ้าโจมอก็พิโรธจึงคิดจะกำจัดสุมาเจียว แต่สุมาเจียวรู้ตัวจึงให้พรรคพวกฆ่าพระเจ้าโจมอเสียโดยให้เซงเจ (เฉิงจี้) เป็นคนกำจัด เมื่อพระเจ้าโจมอสิ้นพระชนม์ก็ได้แสร้งทำเป็นร้องไห้ต่อศพพระเจ้าโจมอว่าตนยังจงรักภักกีต่อพระเจ้าโจมอและประหารเซงเจในข้อหาลอบปลงพระชนม์เพื่อไม่ให้ใครครหานินทาตนว่าเป็นโจรกบฏชิงราชสมบัติ แล้วยกโจฮวน หลานโจโฉขึ้นเสวยราชย์สืบไป หลังจากนั้น สุมาเจียวไปอำนวยการรบกับจ๊กก๊ก จับตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้ จึงได้รวมอาณาจักรจ๊กก๊กไว้ในราชอาณาจักรวุยก๊ก ต่อมาคิดแย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวน จึงตั้งตัวเป็นจีนอ๋อง ภายหลังเสียชีวิตด้วยการหัวเราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนต่อมาสุมาเอี๋ยนได้แย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวนสำเร็จและสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้มีนามว่า พระเจ้าจิ้นหวู่แห่งราชวงศ์จิ้น และได้แต่งตั้งสุมาเจียว ผู้เป็นบิดาให้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ในที.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสุมาเจียว · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน

นีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน China Central Television: CCTV 中国中央电视台) เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์รายใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนทั้งหมด 20 ช่องรายการ และสามารถเข้าถึงผู้ชมประมาณ 1,000 ล้านคน รูปแบบรายการส่วนมากจะผสมผสานกัน ประกอบด้วย สารคดีโทรทัศน์, ละครเบาสมอง, บันเทิง, กีฬา, ละครชุด ที่ส่วนมากจะเป็นแนวชีวิต และแนวประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ รวมถึงรายการบันเทิง สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักงานโฆษกรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

นีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ อีทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มีคำขวัญประจำสถานีว่า บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้ และ เพื่อนเรียนรู้ตลอดชีวิต.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส · ดูเพิ่มเติม »

อุยกาย

อุยกาย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ หวงก้าย (ตามสำเนียงจีนกลาง) (Huang Gai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก ชื่อรอง กงฟู่ รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 สมัย ตั้งแต่สมัยของซุนเกี๋ยนแต่ครั้งศึกโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กในสมัยศึกปราบตั๋งโต๊ะและศึกปราบลิโป้ และซุนกวนในศึกเซ็กเพ็ก จนได้ชื่อว่า "แม่ทัพสามแผ่นดิน".

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอุยกาย · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนสุด

อ้วนสุด (Yuan Shu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก น้องชายของอ้วนเสี้ยว อ้วนสุดเป็นคนที่นิสัยเหมือนกับอ้วนเสี้ยวญาติผู้พี่ คือ โลเลเหลาะแหละ ชอบแต่คนประจบสอพลอ ซ้ำยังมีความละโมบโลภมากกว่า เมื่อซุนเซ็กนำตราหยกมาจำนำเพื่อยืมทหาร จึงยึดเป็นของตนเอง ก่อนจะสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า "ต๋องซือ" ในการปราบตั๋งโต๊ะร่วมกับหลายเมือง อ้วนสุดเกรงว่าซุนเกี๋ยนจะนำทัพเข้าตีเข้าเมืองลกเอี๋ยงได้ จะได้ความดีความชอบ จึงแกล้งไม่ส่งเสบียงให้ เป็นต้นเหตุให้กองทัพของเมืองเตียงสาต้องแพ้ ทั้ง ๆ ที่กำลังจะได้ชัยชนะอยู่แล้ว.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอ้วนสุด · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอ้องอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

จกหยง

จกหยง (Lady Zhurong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นภรรยาของเบ้งเฮ็ก เธอเป็นพี่สาวของตั้วไหล 'จกหยง'เป็นผู้หญิงที่มีฝีมือการรบเก่งกล้าไม่แพ้ชาย ครั้งหนึ่งนางจกหยงอาสาเบ้งเฮ็กออกรบกับขงเบ้ง และสามารถจับตัวเตียวหงีกับม้าตงได้ ขงเบ้งจึงใช้อุบายจับตัวนางจกหยงได้ และใช้นางมาแลกตัวกับมาตงและเตียวหงี จกหยง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจกหยง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจิวยี่ · ดูเพิ่มเติม »

จิวท่าย

วท่าย (Zhou Tai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก เริ่มรับใช้ราชการเป็นองครักษ์ให้กับซุนเซ็ก ภายหลังซุนกวนชอบใจในบุคลิกจึงขอให้จิวท่ายมารับใช้ตนเอง จิวท่ายมีชื่อเสียงในการรับใช้ป้องกันซุนกวนหลายครั้ง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจิวท่าย · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ถัง กั๋วเฉียง

กบท ขงเบ้ง ถัง กั๋วเฉียง (Tang Guoqiang, จีน: 唐国强, พินอิน: Táng Guóqiáng) นักแสดงชาวจีน ผู้รู้จักบทบาทดีจากการรับบท ขงเบ้ง ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 ในครอบครัวที่เป็นแพทย์ ที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในปี ค.ศ. 1970 หลังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ถัง กั๋วเฉียง มีบทบาทที่รู้จักดีจากการรับบทเป็น ขงเบ้ง จากสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV และจากการรับทเป็น จักรพรรดิหย่งเจิ้น, จักรพรรดิหลี่ซื่อหมิน และ รับบท เหมาเจ๋อตุง หลายต่อหลายครั้ง เช่น The Founding Of A Republic ในปี ค.ศ. 2009 เป็นต้น ชีวิตส่วนตัว เคยผ่านการสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง โดยมีลูกสาวเกิดกับภรรยาคนแรก และลูกชายกับภรรยาคนที่สอง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และถัง กั๋วเฉียง · ดูเพิ่มเติม »

ขันที

หลี่เสียน ค.ศ. 706 ขันที คือ ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ (ฮกเกี้ยน:太監,ไท้ก่ำ) ในภาษาละตินและอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่า ก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทาง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และขันที · ดูเพิ่มเติม »

ดีวีดี

right ดีวีดี (Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 1.32 MB/s เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และดีวีดี · ดูเพิ่มเติม »

คำสาบานในสวนท้อ

ล่าปี่ กวนอู เตียวหุยทำพิธีสาบานตนในสวนท้อ คำสาบานในสวนท้อ (Oath of the Peach Garden) ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ประพันธ์โดยหลอ กว้านจง ได้กล่าวถึงคำสาบานในสวนท้อ ซึ่งเป็นการกล่าวร่วมสัตย์สาบานตนเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดระหว่างเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ภายหลังจากได้อ่านประกาศจากทางวังหลวง เพื่อรับสมัครอาสาจากชาวเมืองเป็นจำนวนมาก ในการร่วมกับทหารหลวงออกปราบปรามกบฏโจรโพกผ้าเหลืองที่นำโดยเตียวก๊ก ภายหลังจากเกิดความอดยากและการถูกกดขี่ข่มเหงจากเหล่าขุนนาง ออกปล้นสะดมเข่นฆ่าราษฏร สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้แก่ราชสำนักและราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และคำสาบานในสวนท้อ · ดูเพิ่มเติม »

งอปั้น

งอปั้น (Hu Ban, ? — ?) ตัวละครใน วรรณกรรมจีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวจริงเป็นขุนศึกแห่งจ๊กก๊กแต่เดิมเป็นขุนพลของวุยก๊ก รักษาการอยู่ที่เมืองเอี๋ยงหยงกับ อองเซ็ก เมื่ออองเซ็กถูกสังหารงอปั้นจึงตัดสินมารับใช้จ๊กก๊กโดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ กวนอู.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และงอปั้น · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตันกุ๋ย

ตันกุ๋ย (Chen Gui) ตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก มีชื่อรองว่า Hanyu เป็นขุนนางที่รับใช้ ลิโป้ ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่ง โจโฉ ได้ติดต่อให้ตันกุ๋ยและ ตันเต๋ง ผู้เป็นบุตรชายเป็นไส้ศึกคอยรายงานความเคลื่อนไหวภายในกองทัพของลิโป้และในเมือง ชีจิ๋ว จนกระทั่งสบโอกาสโจโฉจึงสามารถตีเมืองชีจิ๋วแตกและสามารถจับลิโป้ได้สำเร็.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และตันกุ๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ตันก๋ง

ฉิน กง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ตันก๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ตาย ค.ศ. 198) ชื่อรองว่า กงไถ (公臺) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รับใช้ขุนศึกเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ต่อมาเป็นที่ปรึกษาของขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) หลังจากเฉา เชา พิชิตลฺหวี่ ปู้ ในยุทธการเซี่ยพี (下邳之戰) แล้ว ก็ประหารเฉิน กง พร้อมกับลฺหวี่ ปู้ ในนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก (三國演義) เฉิน กง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฮั่น แต่เลื่อมใสเฉา เชา ที่คิดกำจัดทรราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) จึงละทิ้งราชการออกติดตามเฉา เชา แต่เมื่อเห็นเฉา เชา สังหารลฺหวี่ ปั๋วเชอ/ลิแปะเฉีย (呂伯奢) ทั้งตระกูลด้วยความเข้าใจผิด เฉิน กง จึงผละหนีจากเฉา เชา ไปเข้ากับลฺหวี่ ปู้ ท้ายที่สุดก็ถูกเฉา เชา ประหารพร้อมลฺหวี่ ปู้ เช่นเดียวกับในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และตันก๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และตันฮก · ดูเพิ่มเติม »

ตันเต๋ง

ตันเต๋ง (Chen Deng) เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการแห่งชีจิ๋ว ผู้คิดอุบายให้โจโฉในการจับตัวลิโป้.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และตันเต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ซุน ยั่นจุน

ในบทของเล่าปี่ ซุน ยั่นจุน เป็นนักแสดงชาวจีน เกิดที่เทียนจิน ในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุน ยั่นจุน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮก

ซุนฮก (Xun Yu; 荀彧) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยว แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวใช้คนไม่เป็น จึงมาอยู่รับใช้โจโฉ คอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่โจโฉยังเริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้เป็นมหาอุปราชแห่งองค์ฮ่องเต้ ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนโจโฉสามารถรวบรวมส่วนหนึ่งของจีนได้สำเร็จ ต่อมา โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยก๋ง แต่ซุนฮกไม่เห็นด้วย เพราะซุนฮกสำนึกว่าตนต้องจงรักภักดีต่อราชวงศ์ฮั่น จึงคัดค้านโจโฉ ทำให้โจโฉไม่พอใจ ปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนฮก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนฮูหยิน

ซุนฮูหยิน หรือเดิมชื่อ ซุนซ่างเซียง เป็นธิดาเพียงคนเดียวของซุนเกี๋ยนและนางง่อก๊กไท่ เป็นพระราชกนิษฐาต่างพระมารดาของพระเจ้าซุนกวน เมื่อยังเยาว์วัยชอบฝึกฝนอาวุธ เป็นลูกสาวที่ง่อก๊กไท่ไทเฮารักมาก เมื่อจิวยี่คิดยึดเมืองเกงจิ๋ว ได้คิดอุบายลวงเล่าปี่มาแต่งงานกับซุนฮูหยินและจับเล่าปี่เป็นตัวประกันแลกกับเกงจิ๋ว แต่ขงเบ้งแก้ลำจิวยี่ได้ เล่าปี่จึงได้นางซุนฮูหยินนเป็นภรรยา ตัวเล่าปี่เองก็ไม่ต้องถูกจับ เกงจิ๋วก็ปลอดภัย ทั้งจิวยี่ก็กระอักเลือดด้วยความแค้นจนสลบไป ต่อมา เล่าปี่ไปตีเสฉวนโดยทิ้งนางซุนฮูหยินไว้ที่เกงจิ๋ว ซุนกวนใช้จิวเสี้ยนไปลวงนางซุนฮูหยินว่าแม่ป่วยหนักมาก ให้กลับกังตั๋งไปเยี่ยมแม่และให้เอาอาเต๊าบุตรชายของเล่าปี่ไปด้วย ซุนฮูหยินจึงพาอาเต๊าขึ้นเรือไปกังตั๋ง แต่จูล่งและเตียวหุยมานำตัวอาเต๊าคืน นางซุนฮูหยินจึงเดินทางไปกังตั๋งเพียงผู้เดียว ต่อมาจึงรู้ภายหลังว่าถูกหลอก พระเจ้าซุนกวนได้สั่งให้กักตัวนางไว้ ต่อมา พระเจ้าเล่าปี่สวรรคต พระนางซุนฮูหยินรู้ข่าวจึงเสียพระทัยเป็นอันมาก พระนางจึงกระโดดน้ำสิ้นพระชนม์ตามพระเจ้าเล่าปี่ไป.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกี๋ยน

ระเจ้าซุนเกี๋ยน (Sun Jian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น ซุนเกี๋ยนไต่เต้าจากตำแหน่งขุนนางต่ำต้อยจนเป็นเจ้าเมืองเตียงสา เข้าร่วมกับกองทัพ 18 หัวเมืองตะวันออกต้านตั๋งโต๊ะในฐานะลูกน้องของอ้วนสุด สามารถเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะจนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "พยัคฆ์แดนใต้" และกำลังจะยึดเมืองลกเอี๋ยง แต่อ้วนสุดเกิดอิจฉาริษยาที่ซุนเกี๋ยนได้ชัยชนะและถ้าหากยึดเมืองลกเอี๋ยงได้ ซุนเกี๋ยนก็จะได้รับความดีความชอบไป จึงตัดสินใจแกล้งไม่ส่งเสบียงให้แก่ทัพของซุนเกี๋ยน จนในที่สุดซุนเกี๋ยนรบพ่ายแพ้และไปเอาเรื่องกับอ้วนสุด แต่อ้วนสุดกลับเอาตัวรอดได้ด้วยการโยนความผิดและประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ส่งเสบียงไป ต่อมาหลังจากตั๋งโต๊ะเผาเมืองหนีไปยังเตียงฮัน ซุนเกี๋ยนลาดตระเวณทั่วเมืองจนกระทั่งได้พบกับตราหยกแผ่นดินโดยบังเอิญในศพหญิงรับใช้ในวังที่กระโดดบ่อน้ำตาย ลูกน้องและคนของซุนเกี๋ยนจึงสรรเสริญว่า ซุนเกี๋ยนเป็นผู้มีบุญต่อไปจะได้เป็นฮ่องเต้ ทำให้ซุนเกี๋ยนตัดสินใจออกจากกองทัพ 18 หัวเมืองเพื่อไปตั้งตนเป็นใหญ่แต่อ้วนเสี้ยวรู้เข้าจึงบีบให้ส่งตราหยกมา แต่ซุนเกี๋ยนกลับไม่ยอมให้และตีจากไป อ้วนเสี้ยวได้ส่งเล่าเปียวไปชิงตราหยกกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นซุนเกี๋ยนและเล่าเปียวก็เป็นศัตรูกัน เวลาต่อมาซุนเกี๋ยนได้คิดที่จะสถาปนาเมืองกังตั๋งให้ขึ้นมาเข้มแข็งบ้าง ซึ่งต่อมาถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการตั้งตัวของง่อก๊ก โดยซุนเซ็กและซุนกวน บุตรชายทั้ง 2 หลังจากนั้นอ้วนสุดมีคำสั่งให้ซุนเกี๋ยนโจมตีเมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว แต่ซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบในระหว่างไล่โจมตีหองจอ ลูกน้องของเล่าเปียว ภายหลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ แล้วทรงสถาปนาตำแหน่งซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นจักรพรรดิด้ว.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนเกี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเขียน

ซุนเขียน (Sun Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเสนาธิการคนสำคัญของจ๊กก๊ก เดิมรับราชการอยู่กับโตเกี๋ยม เมื่อโตเกี๋ยมใกล้ตาย ได้ฝากฝังเมืองชีจิ๋วให้กับเล่าปี่ และแนะนำซุนเขียนให้คอยช่วยเหลือเล่าปี่ในการปกครอง ซุนเขียนได้รับใช้ติดตามเล่าปี่มาเป็นเวลาช้านาน เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญในช่วงก่อร่างสร้างตัวของเล่าปี่ เป็นคนที่แนะนำให้เล่าปี่ไปพึ่งเล่าเปียว เมื่อคราวแตกทัพหนีโจโฉ และเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ทูตให้เล่าปี่หลายครั้ง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเซ็ก

ระเจ้าซุนเซ็ก (จีนตัวเต็ม: 孫策 จีนตัวย่อ: 孙策 พินอิน: Sūn Cè สำเนียงจีนกลาง ซุนฉี) หรือ เตียงสาหวนอ๋อง (長沙桓王) ค.ศ. 174–ค.ศ. 200 เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กของประเทศจีน ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของซุนเกี๋ยน ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับอ้วนสุด และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับจิวยี่เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง ซุนเซ็กเป็นนักรบที่มีจิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวใคร จนได้ฉายาว่า "ฌ้อปาอ๋องน้อย" นับถือและชอบคบหากับผู้มีความสามารถ มีอุปนิสัยใช้คนอย่างไม่สงสัย ถ้าสงสัยไม่ใช้ สามารถเอาชนะใจไทสูจู้ด้วยการสู้รบกันตัวต่อตัวเป็นเวลานาน ซุนเซ็กมักไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทหารติดตาม จึงถูกปองร้ายด้วยเกาทันฑ์อาบยาพิษ โดยหมอบอกว่าห้ามโกรธเป็นเวลาร้อยวัน แต่สุดท้ายซุนเซ็กก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยอายุเพียง 26 ปี ภายหลังซุนกวนน้องชายคนรอง ได้ขึ้นปกครองแทนกลายเป็นผู้นำของง่อก๊ก ซึ่งก่อนเสียซุนเซ็กได้สั่งเสียซุนกวนว่า "การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่" ภรรยาของซุนเซ็กคือ นางไต้เกี้ยวธิดาของเกี้ยวกงผู้เฒ่าแห่งเมืองกังตั๋ง พี่สาวของนางเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่ หลังสิ้นพระชนม์พระเจ้าซุนกวนทรงสถาปนาตำแหน่งให้ซุนเซ็กผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กด้ว.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และซุนเซ็ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวตุ้น

แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun) เป็นนายพลภายใต้ทัพวุยก๊กของโจโฉในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน แฮหัวตุ้นยังเป็นญาติกับโจโฉโดยแต่เดิมโจโฉนามสกุล "แฮหัว" แต่ได้เปลี่ยนตามพ่อบุญธรรมเป็นสามสกุล "โจ" แฮหัวตุ้นเป็นแม่ทัพมือขวาและยังเป็นลูกพี่ลูกน้องที่โจโฉให้ความไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง และเขาก็เป็นคนที่อยู่กับโจโฉมาตั้งแรกเริ่มที่โจโฉเริ่มก่อการจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเขาได้โจโฉขยายอำนาจในการต่อสู้กับ เล่าปี่ ซุนกวน และ ลิโป้ แฮหัวตุ้นสูญเสียดวงตาข้างซ้ายในศึกเสียวพ่าย ในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และแฮหัวตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

โลซก

ลซก (Lu Su) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เสนาธิการของง่อก๊ก มีชื่อรองว่า จื้อจิง (ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อซุนกวนส่งตัวไปเกงจิ๋วเพื่อคาราวะศพเล่าเปียวที่เพิ่งเสียชีวิตไม่นาน ขณะนั้นเล่าปี่กำลังลำบากเนื่องจากหาเมืองอาศัยไม่ได้ เพราะถูกรุกรานอย่างหนักจากโจโฉ ขงเบ้งจึงว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้ความช่วยเหลือจากซุนกวน โดยจะชักชวนซุนกวนให้ร่วมรบกับโจโฉ อันเป็นที่มาของศึกเซ็กเพ็กอันลือลั่น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโลซก · ดูเพิ่มเติม »

โฮเฮา

มเด็จพระจักรพรรดินีเหอ (Empress He (Ling)) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฮองเฮาในพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีพระเชษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือโฮจิ๋น ดำรงตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่ปรึกษา มีพระราชบุตรชื่อหองจูเปียน ภายหลังจากพระเจ้าฮั่นเลนเต้เสด็จสวรรคต โฮจิ๋นได้แต่งตั้งหองจูเปียนขึ้นเป็นพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ โฮเฮาซึ่งเป็นพระมารดาจึงมีฐานะตามตำแหน่งเป็นไทเฮาแห่งราชวงศ์ฮั่น ต่อมาตั๋งโต๊ะสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ และควบคุมตัวหองจูเปียน โฮเฮาและพระสนมไปคุมขังและลอบสังหารด้วยการนำไปมัดจนถึงแก่ความตายในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโฮเฮา · ดูเพิ่มเติม »

โจสิด

(Cao Zhi) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775 บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโจสิด · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโจผี · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

ไทสูจู้

ทสูจู้ (Taishi Ci) มีชื่อเสียงจากการชิงฎีกาของศัตรูนายตัวเองทำให้ต้องหลบหนี ช่วยส่งสารให้กับขงหยงเพื่อของความช่วยเหลือจากเล่าปี่ ขี่ม้ายิงธนูฝ่าโจรผ้าเหลือง หลังจากนั้นมารับใช้เล่าอิ้ว เล่าอิ้วแต่งตั้งเป็นคนตรวจตรากองทัพ ในการลาดตระเวนครั้งหนึ่ง พบกับซุนเซ็กโดยบังเอิญ ไทสูจู้ควบม้าเข้าใส่โจมตีทันที ทั้งสองสู้กันไม่รู้แพ้ชนะ ภายหลังเล่าอิ้วพ่ายแพ้ ซุนเซ็กจับตัวไทสูจู้ได้ และปล่อยตัวเขาไปให้ไปดูลาดเลาลูกน้องของเล่าอิ้ว ทั้งที่ลูกน้องซุนเซ็กหลายคนคัดค้าน แต่ไทสูจู้ก็กลับมาหาซุนเซ็ก จนเป็นที่มาของคำว่า "ใช้ไม่ระแวง ระแวงไม่ใช้" ภายหลังเกิดสงครามที่หับป๋า ไทสูจู้อาสาลอบเข้าโจมตีเมืองตอนกลางคืน แต่เตียวเลี้ยวรู้ทันแผนการนี้ จึงสั่งทหารรุมยิงลูกธนูมากมายใส่เขาจนเสียชีวิต.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และไทสูจู้ · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เกงจิ๋ว

กงจิ๋ว หรือ จังหวัดเกง หรือ จิ้งโจว (Jingzhou, Jing Province; 荆州; พินอิน: Jīngzhōu) เป็น 1 ใน 9 จังหวัดหรือมณฑลของประวัติศาสตร์จีนในอดีต โดยเป็นเขตการปกครองในช่วงของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ก่อน ค.ศ. 141– ค.ศ. 87) ของราชวงศ์ฮั่น เป็นเมืองที่ติดกับแม่น้ำแยงซี ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในยุคสามก๊ก และปรากฏในวรรณกรรมสามก๊ก.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เลียวฮัว

ลียวฮัว (Liao Hua) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยนโดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเลียวฮัว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเสี้ยน

ระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ หลิวส้าน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเซี่ยวหวย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดของยุคสามก๊ก ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชสกุลเล.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเล่าเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มวีทีวี

อ็มวีทีวี (MVTV)ปัจจุบันมีมีผู้ชมในระบบ C-Band ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้บริการกว่า 800,000 ใบ และกลุ่มผู้ที่รับสัญญาณดาวเทียมระบบ C-BAND ผ่านดาวเทียม Thaicom 2/5 ที่อยู่ภายนอกประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียกว่า 20 ประเทศ และผู้ชมในระบบเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนเคเบิลโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการกว่า 450 ราย และจำนวนผู้รับชมประกว่า 2,855,300 หลังคาเรือน และระบบ ดาวเทียม KU-BAND เฉพาะจานดาวเทียม ดีทีวี เท่านั้น และ เคเบิลท้องถิ่นประเทศไท.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเอ็มวีทีวี · ดูเพิ่มเติม »

เทียเภา

ทียเภา (Cheng Pu) เป็นหนึ่งในสี่ทหารเอกของซุนเกี๋ยน หลังจากซุนเกี๋ยนตาย ก็รับใช้ซุนเซ็กต่อ ช่วยซุนเซ็กในการยึดดินแดนง่อ มีผลงานในการรบมากมาย และมีนิสัยดีงาม.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเทียเภา · ดูเพิ่มเติม »

เคาทู

ทู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก มีร่างกายใหญ่โต ชำนาญการใช้ทวน เป็นคนซี่อสัตย์และเคร่งครัด เมื่อเตียนอุยนำกำลังไปปราบโจรโพกผ้าเหลือง ได้เห็นเคาทูจับโจรเอาไว้หมดแล้ว เตียนอุยบอกเคาทูให้ส่งโจรมา แต่เคาทูไม่ยอมจึงได้สู้กัน เตียนอุยกลับไปรายงานโจโฉว่าเคาทูมีพละกำลังแข็งแรงมากโจโฉชอบใจจึงเกลี่ยกล่อมให้มาช่วยราชการ เคาทูเคยปกป้องโจโฉไว้หลายครั้ง ในสงครามพายัพได้เป็นองครักษ์แก่โจโฉได้สู้กับม้าเฉียวที่แค้นเพราะโจโฉสังหารม้าเท้งพ่อของตนไป ม้าเฉียวจึงบุกโจมตี ครั้นโจโฉถูกซุ่มโจมตีคิดจะหนีไปทางเรือ เคาทูก็อุ้มโจโฉแล้วกระโจนลงเรือทันทีแต่ข้าศึกยังยิงเกาทันฑ์ใส่ เคาทูจึงใช้มือซ้ายปัดป้องมิให้โดนโจโฉจนตัวเองบาดเจ็บ เป็นที่สรรเสริญนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเคาทู · ดูเพิ่มเติม »

เงียมหงัน

งียมหงัน (Yan Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้าเมืองปากุ๋น หลังจากที่เล่าปี่และบังทองเดินไปเพื่อยึดเสฉวนของเล่าเจี้ยง บังทองถูกธนูรุมยิงตายที่เนินหงส์ร่วงแล้ว เล่าปี่จำต้องถอยทัพไปที่ด่านโปยสิก๋วน และรีบส่งหนังสือไปยังขงเบ้ง ให้ขงเบ้งยกทัพมาช่วย ขงเบ้งกับเตียวหุยทำสัญญาเดินทางแข่งกันไปให้ถึงเสฉวน โดยขงเบ้งเดินไปทางเรือพร้อมกับจูล่ง และเตียวหุยเดินไปทางบก และให้กวนอูรักษาเมืองเกงจิ๋วไว้ ก่อนออกเดินทางเตียวหุยทำสัญญาไว้กับขงเบ้งว่า จะรักษาวินัยทหาร โดยตนจะไม่กินเหล้าและไม่เฆี่ยนตีทหารด้วยอารมณ์ด้วย ปรากฏว่า เตียวหุยสามารถรักษาระเบียบวินัยกองทัพไว้ได้อย่างดี สามารถชนะใจประชาชนและเอาชนะเมืองต่าง ๆ ได้โดยดี แต่ติดอยู่กับเมืองปากุ๋นของเงียมหงัน ที่ตีเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที เงียมหงันแม้จะอายุมากถึง 60 ปีแล้ว แต่ชำนาญการใช้ธนูและป้องกันเมืองไว้ได้อย่างดี เงียมหงันได้ประกาศไว้ว่า "ทหารเสฉวนยอมหัวขาด ไม่มีทหารยอมแพ้" เตียวหุยเข้าตีเท่าไหร่ก็ไม่สามารถหักตีเข้าไปได้ เงียมหงันก็สั่งให้รักษาเมืองไว้อย่างเดียว ไม่ต้องยกออกไปรบ เตียวหุยคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไร จึงโมโหกินเหล้าแล้วเฆี่ยนตีทหารอีก ขณะที่เฆี่ยนตีอยู่นั้น เตียวหุยคิดอุบายขึ้นได้ จึงแสร้งหลอกว่า ตนกินเหล้าเมามายแล้วเฆี่ยนตีทหารอีกเพื่อลวงเงียมหงัน และให้ทหารกองลาดตระเวณทำทีสำรวจเส้นทางเพื่อดูว่ามีทางไหนที่จะเล็ดรอดเมืองปากุ๋นไปได้ไหม ในที่สุดก็พบเส้นทางเล็ก ๆ สายหนึ่ง เตียวหุยสั่งให้เดินทางออกตอนตี 3 เงียมหงันซึ่งส่งสายลับเข้าไปปะปนในกองทัพเตียวหุยรายงานเช่นนั้น จึงจะยกทัพตามตีตลบหลังเตียวหุยตามเวลานั้น แต่กลับโดนกลอุบายของเตียวหุยจนเสียท่าถูกจับเป็นเชลย เมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือเตียวหุย เตียวหุยได้ตัดสินใจที่จะประหารเงียมหงันซึ่งเงียมหงันได้ยินดีที่จะตาย และกล่าวว่า "ท่านจงประหารเร็วเถิด เสฉวนมีแต่แม่ทัพที่หัวขาด แต่ไม่มีแม่ทัพที่ยอมแพ้" เมื่อเตียวหุยได้ยินเช่นนั้นก็คิดว่าแม่ทัพคนนี้มีความจงรักภักดีอย่างหนักแน่นมั่นคง มิย่อท้อเมื่อเผชิญความตายจึงนับถือน้ำใจ และแก้มัดออกพร้อมกล่าวขอโทษเงียมหงันที่ตนล่วงเกิน เงียมหงันเห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นคำนับเตียวหุย และอาสาเป็นกองหน้า สำหรับเดินทัพต่อไป เมือไปถึงด่านใดตำบลใด นายด่านทั้งปวงก็ออกมายอมเข้าด้วย เพราะเงียมหงันเป็นทัพหน้า และได้ไปสมทบกับทัพเล่าปี่ ก่อนขงเบ้ง ซึ่งมาทางน้ำเสียอีก ต่อมา เมื่อเล่าปี่ บุกเมืองฮันต๋ง ทางด่านแฮบังก๋วนก็ถูกบุกโจมตีโดย โจหอง และเตียวคับ ฝ่ายฮักจุ้นกับเบ้งตัด ซึ่งรักษา แฮบังก๋วนอยู่นั้นเห็นจะเหลือกำลัง จึงส่งสาส์นไปขอกำลังเสริมจากเล่าปี่ เล่าปี่จึงส่งฮองตงและเงียมหงันไปช่วย เมื่อมาถึง เบ้งตัด และฮักจุ้น ก็ดูถูก2เฒ่านี้เป็นอันมาก ฮองตงจึงให้เงียมหงันซุ่มกำลังอยู่หลังค่ายเตียวคับ เมื่อเห็นฮองตงออกรบเมื่อไร ก็ให้ตีกระ หนาบเข้ามา หลังจากนั้นฮองตงได้ออกไปร้องท้าทายเตียวคับ เตียวคับจึงพาทหารออกจากค่ายเงียมหงันเห็นว่าได้ทีจึงคุมทหาร ออกมา ฆ่าทหารเตียวคับล้มตายเป็นอันมาก ต่อมา เงียมหงันก็แนะนำฮองตงให้ตัดเสบียงศัตรูที่เทียนตองสัน ฮองตงจึงทำกลอุบายแกล้งถอยหนีเพื่อให้ข้าศึกเอา อาวุธ และเสบียงมารวมกันไว้ และปล้นค่ายของเตียวคับ โดยให้เงียมหงันซุ่มทหารอยู่หลังค่ายตีทหารเตียวคับ แตกไป หลังจากน้น เมื่อขงเบ้งจะบุกขึ้นเหนือ ขงเบ้งแต่งตั้งเงียมหงันเป็นที่ปรึกษาทางการทหาร เงียมหงัน ได้แก่ตาย ในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสง

รูปเตียวสงจากเกม ''Romance Of The Three Kingdoms XI'' เตียวสง (Zhang Song; จีนตัวเต็ม: 張松; จีนตัวย่อ: 张松) (? — ค.ศ. 213) ไม่ทราบว่าเป็นชาวเมืองใด มีฉายาว่า หย่งเหนียน ร่างเตี้ย ไม่ถึง 5 ฟุต หน้าฝากโหนก ศีรษะรี จมูกเฟ็ด ฟันเสี้ยม แต่สติปัญญาไหวพริบดี เล่ห์เหลี่ยมจัด ความจำดีมาก อะไรที่ผ่านสายตาแล้วจำได้หมด รับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ผู้ครองแคว้นเอกจิว (เสฉวน) เล่าเจี้ยงเกรงเตียวฬ่อ เจ้าเมืองอันต๋ง ซึ่งเป็นคู่อริจะยกทัพมาโจมตี จึงให้เตียวสงเป็นทูตไปเจรจาขอกำลังจากโจโฉ เตียวสงไปแสดงความเปรื่องปราดกับโจโฉจนเกินตัว คืออ่านตำราพิชัยสงครามที่โจโฉแต่งเพียงเที่ยวเดียวก็จำได้หมด แล้วบอกว่าหนังสืออย่างนี้เหมือนเด็ก ๆ ในเสฉวนอ่านเล่นทั้งเมืองเพราะเป็นคำโบราณที่ผู้มีปัญญาแต่งไว้ พลางสาธยายข้อความในหนังสือของโจโฉ มิได้วิปลาสสักข้อ โจโฉถูกลบเหลี่ยมเช่นนั้นก็โกรธ ขับเตียวสงออกไปจากเมืองไป เตียวสงจึงไปหาเล่าปี่ โดยได้รับการรับรองเป็นอันดี จนเตียวสงหลงใหล เลยคิดทรยศต่อนาย ต้องการให้เล่าปี่ไปปกครองแคว้นเอกจิวแทนเล่าเจี้ยง ถึงกับมอบแผนที่ยุทธศาสตร์และให้ความลับต่าง ๆ แก่เล่าปี่ด้วย เมื่อเตียวเสียวกลับมาถึงเอกจิวแล้ว ก็ได้จูงใจให้เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่มาอยู่เอกจิว และคุ้มครองให้พ้นจากการรุกรานของเตียวฬ่อ พอเล่าปี่ยาตราทัพเข้ามาแล้ว ความลับจึงแตกขึ้น โดยเตียวซก พี่ชายของเตียวสงจับจดหมายลับที่เตียวสงติดต่อให้เล่าปี่ได้ ก็นำความไปแจ้งแก่เล่าเจี้ยง เตียวสงกับบุตรภรรยาจึงถูกประหารชีวิต แต่ในที่สุดเล่าปี่ก็ยึดแคว้นเอกจิว และเล่าเจี้ยงถูกปลดจากตำแหน่งไป.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวสง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเลี้ยว

ตียวเลี้ยว (Zhang Liao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบแห่งราชวงศ์โจว จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัว โดยเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้นไม่ช้าไม่นาน ซุนกวนตั้งท่าจะรุกรานวุยก๊กอีก พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว ครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้น ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อาจกล่าวได้ว่านายพลเตียว “ทำแฮตทริก” ชนะง่อก๊กได้ถึงสามครั้ง ซึ่งคงมีนายทหารน้อยคนในแผ่นดินที่จะทำได้เช่นนี้ จากนั้นไม่นาน เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง เป็นการ "ป่วยตาย" ไม่ได้โดนเกาทัณฑ์ยิงในการรบเหมือนที่วรรณกรรมหลอกว้านจงเล่าไว้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่ไม่ได้มีดีแค่ฝีมือรบ แต่ยังเปี่ยมไปด้วยสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ให้เป็น “หมายเลขหนึ่ง” ในบรรดา “ห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก” ร่วมด้วย เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และ อิกิ๋ม ด้วยความที่อยู่วุยก๊ก ซึ่งมักถูกมองเป็น “ก๊กผู้ร้าย” ทำให้เตียวเลี้ยวไม่ได้รับการยกย่องและเป็นที่จดจำของผู้อ่านวรรณกรรมมากเท่ากับทหารเอกฝ่ายจ๊กอย่าง กวนอู เตียวหุย หรือจูล่ง ทั้งๆ ที่ “มือปราบกังตั๋ง” อย่างเขา ยิ่งใหญ่เกรียงไกรไม่แพ้นักรบคนไหนในแผ่นดินเล.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวเลี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเจียว

ตียวเจียว (Zhang Zhao) เป็นตัวละครใน วรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก เสนาธิการของ ซุนกวน ชื่อรอง จื่อปู้ เป็นชาวเมืองเผิงเฉิง ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรู้กว้างขวางคงแก่เรียนรับราชการมาตั้งแต่ซุนเซ็กและเป็นผู้ช่วยซุนเซ็กสร้างแคว้นกังตั๋งก่อนตายซุนเซ็กได้มอบให้เตียวเจียวดูแลซุนกวนซึ่งอายุยังน้อย เมื่อโจโฉนำทัพมาตั้งที่ริมแม่น้ำแยงซีเกียงตรงข้ามกับกังตั๋ง เพื่อเตรียมทำศึกกับกังตั๋ง เตียวเจียวได้หว่านล้อมให้ซุนกวนยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ แต่ขงเบ้งได้หว่านล้อมจิวยี่ให้สู้ศึกจนกระทั่งเอาชนะโจโฉในศึกผาแดงได้.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวเจียว · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งหงวน

ต๊งหงวน (Ding Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเต๊งจิ๋ว มีลูกเลี้ยงและองครักษ์คนหนึ่งชื่อลิโป้ เต๊งหงวนเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่ง ที่โฮจิ๋นเรียกตัวมาเพื่อกำจัด 10 ขันที หลังจากโฮจิ๋นถูก 10 ขันทีสังหาร และ 10 ขันทีถูกกำจัดจนสิ้น ตั๋งโต๊ะ เจ้าเมืองซีหลงได้เข้ามากุมอำนาจในเมืองหลวง และเสนอเหล่าขุนนางให้ปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ และสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน แต่เหล่าขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เต๊งหงวนเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นด่าตั๋งโต๊ะว่าเป็นกบฏ แต่ตั๋งโต๊ะไม่กล้าจัดการกับเต๊งหงวน เพราะมีลิโป้ยืนถือทวนอยู่ข้างหลัง ตั๋งโต๊ะได้ออกอุบายให้ลิโป้มาอยู่ข้างตน โดยให้คนนำทรัพย์สินเงินทองไปซื้อตัวลิโป้ และสั่งให้ลิโป้ไปฆ่าเต๊งหงวน เต๊งหงวนถูกลิโป้สังหารในปี..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเต๊งหงวน · ดูเพิ่มเติม »

เปาสิ้น

ปาสิ้น (Bao Xin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีน้องชายชื่อเปาต๋ง เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะเริ่มเข้ามามีอำนาจในเมืองหลวง เปาสิ้นคิดอ่านเห็นว่า หากนานไปตั๋งโต๊ะต้องคิดเหิมเกริมเป็นแน่แท้ จึงปรึกษาอ้วนเสี้ยวเพื่อหาทางกำจัดตั๋งโต๊ะ แต่อ้วนเสี้ยวยังมิเห็นด้วย อ้วนเสี้ยวว่าแผ่นดินเพิ่งสงบ ยังมิควรก่อการใดๆให้วุ่นวายอีก เปาสิ้นจึงไปปรึกษาอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นก็คิดอ่านเช่นเดียวกันกับอ้วนเสี้ยว อ้องอุ้นว่าจะทำการใดต้องคิดตรองดูให้ดีก่อน เปาสิ้นน้อยใจ พาพรรคพวกออกไปอยู่ป่า ภายหลังครั้งรวบรวมกองกำลังพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะ เปาสิ้นก็ได้นำทัพมาร่วมด้วย ครั้งนั้นเปาสิ้นสั่งให้เปาต๋งนำทหารม้า 5,000 นายบุกตีด่านกิสุยก๋วน แต่แตกพ่ายแก่ทัพของฮัวหยง เปาต๋งเสียชีวิตในการรบ ภายหลังเปาสิ้นเข้าเป็นขุนพลใต้สังกัดของแฮหัวตุ้น ปีหนึ่งโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาดหนักในหลายพื้นที่ โจโฉส่งทัพไปปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง เปาสิ้นก็เข้าร่วมการรบด้วย แต่เสียชีวิตในการรบ รูปเปาสิ้นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเปาสิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เนินหงส์ร่วง

ลและสุสานของบังทอง ในปัจจุบัน เนินหงส์ร่วง (Valley of the Fallen Phoenix) เป็นชื่อสถานที่ที่บังทอง เสนาธิการกองทัพของเล่าปี่ถูกซุ่มยิงด้วยเกาทัณฑ์มากมายจนเสียชีวิต เป็นช่องเขาที่แยกเข้าเมืองลกเสีย เมืองหน้าด่านของมณฑลเสฉวน ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียก "ลกห้องโห" ปัจจุบันนี้อยู่ในแขวงหลิวเจียง เมืองเต๋อหยาง มณฑลเสฉวน และมีศาลและสุสานของบังทองตั้งอยู่ และกลายเป็นหนึ่งในหกสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับความคุ้มครองในระดับชาติของจีน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเนินหงส์ร่วง · ดูเพิ่มเติม »

15 กุมภาพันธ์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 46 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 319 วันในปีนั้น (320 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และ15 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

15 มีนาคม

วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันที่ 74 ของปี (วันที่ 75 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 291 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และ15 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 เมษายน

วันที่ 24 เมษายน เป็นวันที่ 114 ของปี (วันที่ 115 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 251 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และ24 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Romance of the Three Kingdoms (TV series)สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ ค.ศ. 1994)สามก๊ก (ละครโทรทัศน์)สามก๊ก ฉบับละครโทรทัศน์สามก๊กฉบับละครโทรทัศน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »