โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อ้องอุ้น

ดัชนี อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

21 ความสัมพันธ์: กบฏโพกผ้าเหลืองกลศึกสามก๊กกุยกีภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานภาษาจีนมาตรฐานมณฑลชานซีมณฑลเหอหนานยุคสามก๊กราชวงศ์ฮั่นตะวันออกลั่วหยางลิฉุยลิโป้ล่อกวนตงสามก๊กสงครามหองจูเหียบตั๋งโต๊ะโฮจิ๋นโจโฉเตียวเสี้ยนเตียวเหยียง

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและกบฏโพกผ้าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กุยกี

กุยกี (Guo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลของตั๋งโต๊ะคู่กับลิฉุย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า กุยกี พร้อมกับลิฉุย เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวง (เตียงฮัน) มาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร ต่อมาได้ทูลขอตำแหน่งในเมืองหลวง จึงได้เป็นแม่ทัพหลัง (ส่วนลิฉุยได้เป็นสมุหนายก) เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา รูปกุยกีจากเกม Romance of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและกุยกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).

ใหม่!!: อ้องอุ้นและภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนมาตรฐาน

ภาษาจีนมาตรฐาน (Standard Chinese) หรือ ผู่ทงฮฺว่า ("ภาษาสามัญ") เป็นภาษามาตรฐานซึ่งเป็นภาษาราชการเพียงหนึ่งเดียวของทั้งประเทศจีนและประเทศไต้หวัน ทั้งยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการทั้งสี่ของประเทศสิงคโปร์ ภาษาจีนมาตรฐานออกเสียงตามสำเนียงเป่ย์จิง (北京話) ใช้คำศัพท์ตามสำเนียงกลาง และใช้ไวยากรณ์ตามภาษาจีนที่ใช้เขียนในชีวิตประจำวัน (written vernacular Chinese) ภาษาจีนมาตรฐานมีวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีนแบบอื่น ๆ เมื่อเทียบกับภาษาจีนที่ใช้ในตอนใต้แล้ว ภาษาจีนมาตรฐานมีพยัญชนะต้นมากกว่า แต่มีสระ พยัญชนะท้าย และวรรณยุกต์ น้อยกว่า นอกจากนี้ ภาษาจีนมาตรฐานยังเน้นหัวเรื่อง (topic-prominent) และเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ภาษาจีนมาตรฐานนั้นใช้อักษรแบบเต็มหรือแบบย่อเขียนก็ได้ ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันนั้นใช้อักษรพินอินแบบฮั่น หมวดหมู่:ภาษามาตรฐาน หมวดหมู่:ภาษาจีนมาตรฐาน หมวดหมู่:ภาษาไต้หวัน หมวดหมู่:ภาษาจีนในสิงคโปร์.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและภาษาจีนมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและมณฑลเหอหนาน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ลิฉุย

ลิฉุย (Li Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายทหารของตั๋งโต๊ะ มีความทะเยอทะยานสูงไม่แพ้เจ้านาย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า ลิฉุยได้ร่วมมือกับกุยกี เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวงมาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและลิฉุย · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

ล่อกวนตง

หลัว กวั้นจง ตามสำเนียงกลาง หรือ ล่อกวนตง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นปราชญ์และนักประพันธ์ชาวจีน มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (ค.ศ. 1330-ค.ศ. 1400) หรือยุคปลายของราชวงศ์หยวน ต่อถึงต้นราชวงศ์หมิง ล่อกวนตงเป็นผู้แต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก และได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรับปรุงเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งนับเป็น 2 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน (อีกสองเรื่องคือ ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง) ชีวประวัติของล่อกวนตงไม่ใคร่แน่ชัด แต่มีการยืนยันว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิงจริง นักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อ เจียจงหมิง (賈仲明) บันทึกไว้ว่าเคยพบกับล่อกวนตงในราวปี..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและล่อกวนตง · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: อ้องอุ้นและตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิ๋น

หอ จิ้น หรือสำเนียงแต้จิ๋วว่า โฮจิ๋น (เสียชีวิต 22 กันยายน ค.ศ. 189) มีชื่อรองว่าซุ่ยเกา เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นบุตรคนโตของนางบูยงกุ๋น เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮา ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าเลนเต้ เป็นผู้นำกองทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นได้ตั้งหองจูเปียนโอรสองค์โตของพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮาขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน และคิดกำจัด 10 ขันที และพวกขันทีรู้ตัวก่อนจึงลวงโฮจิ๋นไปฆ่า รูปโฮจิ๋นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและโฮจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ใหม่!!: อ้องอุ้นและเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหยียง

ตียวเหยียง (Zhang Rang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นหัวหน้าของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่พระเจ้าเลนเต้ไว้วางพระทัยมากถึงขนาดที่พระองค์ทรงเรียกเตียวเหยียงว่าเป็นพ่อบุญธรรม.

ใหม่!!: อ้องอุ้นและเตียวเหยียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wang Yun (Han dynasty)หวัง ยฺหวิ่นหวังยฺหวิ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »