โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) vs. เกงจิ๋ว

มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี.. กงจิ๋ว หรือ จังหวัดเกง หรือ จิ้งโจว (Jingzhou, Jing Province; 荆州; พินอิน: Jīngzhōu) เป็น 1 ใน 9 จังหวัดหรือมณฑลของประวัติศาสตร์จีนในอดีต โดยเป็นเขตการปกครองในช่วงของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ก่อน ค.ศ. 141– ค.ศ. 87) ของราชวงศ์ฮั่น เป็นเมืองที่ติดกับแม่น้ำแยงซี ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในยุคสามก๊ก และปรากฏในวรรณกรรมสามก๊ก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บังทองกวนอูยุทธการที่ผาแดงวุยก๊กสามก๊กสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจิวยี่จูกัดเหลียงง่อก๊กตันฮกซุนกวนโจโฉเล่าปี่

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

บังทองและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · บังทองและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กวนอูและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · กวนอูและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ยุทธการที่ผาแดงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ยุทธการที่ผาแดงและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

วุยก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · วุยก๊กและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

สามก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · สามก๊กและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

จิวยี่และสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · จิวยี่และเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · จูกัดเหลียงและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ง่อก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ง่อก๊กและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ตันฮกและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ตันฮกและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ซุนกวนและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ซุนกวนและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และโจโฉ · เกงจิ๋วและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเล่าปี่ · เกงจิ๋วและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มี 97 ความสัมพันธ์ขณะที่ เกงจิ๋ว มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 10.57% = 13 / (97 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเกงจิ๋ว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »