โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ตั๋งโต๊ะ vs. สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน.. มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลิซกลิโป้ล่อกวนตงสามก๊กสิบขันทีอ้วนเสี้ยวอ้องอุ้นซุนเกี๋ยนเตียวเสี้ยนเต๊งหงวน

ลิซก

รูปลิซกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ลิซก (Li Su) เป็นเสนาธิการคนสำคัญของตั๋งโต๊ะเป็นคนที่มีวาทะศิลป์เป็นเลิศ เมื่อตั๋งโต๊ะคิดปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้ และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคน โดยเฉพาะเต๊งหงวน เจ้าเมืองเกงจิ๋ว หลายวันต่อมาเต๊งหงวนได้ยกทัพมารบกับตั๋งโต๊ะ เต๊งหงวนมีลิโป้เป็นลูกบุญธรรมและองครักษ์ ลิโป้มีฝีมือเก่งกาจสามารถตีทัพตั๋งโต๊ะจนต้องถอยกลับค่ายไป ตั๋งโต๊ะอยากได้ลิโป้เป็นขุนพลของตน ลิซกซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกับลิโป้จึงอาสาไปเกลี้ยกล่อมลิโป้ โดยขอม้าเซ็กเธาว์และสมบัติจากตั๋งโต๊ะ เพื่อไปมัดใจลิโป้ ลิซกเกลี้ยกล่อมลิโป้ได้สำเร็จและยุให้ลิโป้สังหารเต๊งหงวนเสีย เมื่อมีลิโป้อยู่ข้างกาย ตั๋งโต๊ะจึงไม่กลัวใครอีกต่อไป กระทำการปลดหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ ลิซกได้ความชอบใหญ่หลวงในการเกลี้ยกล่อมลิโป้ แต่ไม่ได้บำเหน็จรางวัลอันใดจากตั๋งโต๊ะเลย จึงนึกน้อยใจอยู.

ตั๋งโต๊ะและลิซก · ลิซกและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ตั๋งโต๊ะและลิโป้ · ลิโป้และสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

ล่อกวนตง

หลัว กวั้นจง ตามสำเนียงกลาง หรือ ล่อกวนตง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นปราชญ์และนักประพันธ์ชาวจีน มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (ค.ศ. 1330-ค.ศ. 1400) หรือยุคปลายของราชวงศ์หยวน ต่อถึงต้นราชวงศ์หมิง ล่อกวนตงเป็นผู้แต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก และได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรับปรุงเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งนับเป็น 2 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน (อีกสองเรื่องคือ ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง) ชีวประวัติของล่อกวนตงไม่ใคร่แน่ชัด แต่มีการยืนยันว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิงจริง นักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อ เจียจงหมิง (賈仲明) บันทึกไว้ว่าเคยพบกับล่อกวนตงในราวปี..

ตั๋งโต๊ะและล่อกวนตง · ล่อกวนตงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก · สามก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

ตั๋งโต๊ะและสิบขันที · สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ตั๋งโต๊ะและอ้วนเสี้ยว · สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

ตั๋งโต๊ะและอ้องอุ้น · สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และอ้องอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกี๋ยน

ระเจ้าซุนเกี๋ยน (Sun Jian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น ซุนเกี๋ยนไต่เต้าจากตำแหน่งขุนนางต่ำต้อยจนเป็นเจ้าเมืองเตียงสา เข้าร่วมกับกองทัพ 18 หัวเมืองตะวันออกต้านตั๋งโต๊ะในฐานะลูกน้องของอ้วนสุด สามารถเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะจนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "พยัคฆ์แดนใต้" และกำลังจะยึดเมืองลกเอี๋ยง แต่อ้วนสุดเกิดอิจฉาริษยาที่ซุนเกี๋ยนได้ชัยชนะและถ้าหากยึดเมืองลกเอี๋ยงได้ ซุนเกี๋ยนก็จะได้รับความดีความชอบไป จึงตัดสินใจแกล้งไม่ส่งเสบียงให้แก่ทัพของซุนเกี๋ยน จนในที่สุดซุนเกี๋ยนรบพ่ายแพ้และไปเอาเรื่องกับอ้วนสุด แต่อ้วนสุดกลับเอาตัวรอดได้ด้วยการโยนความผิดและประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ส่งเสบียงไป ต่อมาหลังจากตั๋งโต๊ะเผาเมืองหนีไปยังเตียงฮัน ซุนเกี๋ยนลาดตระเวณทั่วเมืองจนกระทั่งได้พบกับตราหยกแผ่นดินโดยบังเอิญในศพหญิงรับใช้ในวังที่กระโดดบ่อน้ำตาย ลูกน้องและคนของซุนเกี๋ยนจึงสรรเสริญว่า ซุนเกี๋ยนเป็นผู้มีบุญต่อไปจะได้เป็นฮ่องเต้ ทำให้ซุนเกี๋ยนตัดสินใจออกจากกองทัพ 18 หัวเมืองเพื่อไปตั้งตนเป็นใหญ่แต่อ้วนเสี้ยวรู้เข้าจึงบีบให้ส่งตราหยกมา แต่ซุนเกี๋ยนกลับไม่ยอมให้และตีจากไป อ้วนเสี้ยวได้ส่งเล่าเปียวไปชิงตราหยกกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นซุนเกี๋ยนและเล่าเปียวก็เป็นศัตรูกัน เวลาต่อมาซุนเกี๋ยนได้คิดที่จะสถาปนาเมืองกังตั๋งให้ขึ้นมาเข้มแข็งบ้าง ซึ่งต่อมาถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการตั้งตัวของง่อก๊ก โดยซุนเซ็กและซุนกวน บุตรชายทั้ง 2 หลังจากนั้นอ้วนสุดมีคำสั่งให้ซุนเกี๋ยนโจมตีเมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว แต่ซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบในระหว่างไล่โจมตีหองจอ ลูกน้องของเล่าเปียว ภายหลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ แล้วทรงสถาปนาตำแหน่งซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นจักรพรรดิด้ว.

ซุนเกี๋ยนและตั๋งโต๊ะ · ซุนเกี๋ยนและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ตั๋งโต๊ะและเตียวเสี้ยน · สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งหงวน

ต๊งหงวน (Ding Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเต๊งจิ๋ว มีลูกเลี้ยงและองครักษ์คนหนึ่งชื่อลิโป้ เต๊งหงวนเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่ง ที่โฮจิ๋นเรียกตัวมาเพื่อกำจัด 10 ขันที หลังจากโฮจิ๋นถูก 10 ขันทีสังหาร และ 10 ขันทีถูกกำจัดจนสิ้น ตั๋งโต๊ะ เจ้าเมืองซีหลงได้เข้ามากุมอำนาจในเมืองหลวง และเสนอเหล่าขุนนางให้ปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ และสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน แต่เหล่าขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เต๊งหงวนเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นด่าตั๋งโต๊ะว่าเป็นกบฏ แต่ตั๋งโต๊ะไม่กล้าจัดการกับเต๊งหงวน เพราะมีลิโป้ยืนถือทวนอยู่ข้างหลัง ตั๋งโต๊ะได้ออกอุบายให้ลิโป้มาอยู่ข้างตน โดยให้คนนำทรัพย์สินเงินทองไปซื้อตัวลิโป้ และสั่งให้ลิโป้ไปฆ่าเต๊งหงวน เต๊งหงวนถูกลิโป้สังหารในปี..

ตั๋งโต๊ะและเต๊งหงวน · สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเต๊งหงวน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ตั๋งโต๊ะ มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มี 97 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 6.99% = 10 / (46 + 97)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »