โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) vs. เงียมหงัน

มพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ เตียวหุย (ซ้าย) เล่าปี่ (กลาง) กวนอู (ขวา) ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทีมงานสร้างภาพยนตร์ชุดนี้มีผู้กับกับระดับยอดเยี่ยมของจีนเป็นผู้กำกับ มีการการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ จากทั่วประเทศ และด้วยความสนับสนุนกล้องของประเทศญี่ปุ่นใช้ในการถ่ายทำ โดยภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้นับว่าเป็นสื่อภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุด ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ได้รับการนำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้ แชนแนล เมื่อต้นปี.. งียมหงัน (Yan Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้าเมืองปากุ๋น หลังจากที่เล่าปี่และบังทองเดินไปเพื่อยึดเสฉวนของเล่าเจี้ยง บังทองถูกธนูรุมยิงตายที่เนินหงส์ร่วงแล้ว เล่าปี่จำต้องถอยทัพไปที่ด่านโปยสิก๋วน และรีบส่งหนังสือไปยังขงเบ้ง ให้ขงเบ้งยกทัพมาช่วย ขงเบ้งกับเตียวหุยทำสัญญาเดินทางแข่งกันไปให้ถึงเสฉวน โดยขงเบ้งเดินไปทางเรือพร้อมกับจูล่ง และเตียวหุยเดินไปทางบก และให้กวนอูรักษาเมืองเกงจิ๋วไว้ ก่อนออกเดินทางเตียวหุยทำสัญญาไว้กับขงเบ้งว่า จะรักษาวินัยทหาร โดยตนจะไม่กินเหล้าและไม่เฆี่ยนตีทหารด้วยอารมณ์ด้วย ปรากฏว่า เตียวหุยสามารถรักษาระเบียบวินัยกองทัพไว้ได้อย่างดี สามารถชนะใจประชาชนและเอาชนะเมืองต่าง ๆ ได้โดยดี แต่ติดอยู่กับเมืองปากุ๋นของเงียมหงัน ที่ตีเท่าไหร่ก็ไม่ได้สักที เงียมหงันแม้จะอายุมากถึง 60 ปีแล้ว แต่ชำนาญการใช้ธนูและป้องกันเมืองไว้ได้อย่างดี เงียมหงันได้ประกาศไว้ว่า "ทหารเสฉวนยอมหัวขาด ไม่มีทหารยอมแพ้" เตียวหุยเข้าตีเท่าไหร่ก็ไม่สามารถหักตีเข้าไปได้ เงียมหงันก็สั่งให้รักษาเมืองไว้อย่างเดียว ไม่ต้องยกออกไปรบ เตียวหุยคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไร จึงโมโหกินเหล้าแล้วเฆี่ยนตีทหารอีก ขณะที่เฆี่ยนตีอยู่นั้น เตียวหุยคิดอุบายขึ้นได้ จึงแสร้งหลอกว่า ตนกินเหล้าเมามายแล้วเฆี่ยนตีทหารอีกเพื่อลวงเงียมหงัน และให้ทหารกองลาดตระเวณทำทีสำรวจเส้นทางเพื่อดูว่ามีทางไหนที่จะเล็ดรอดเมืองปากุ๋นไปได้ไหม ในที่สุดก็พบเส้นทางเล็ก ๆ สายหนึ่ง เตียวหุยสั่งให้เดินทางออกตอนตี 3 เงียมหงันซึ่งส่งสายลับเข้าไปปะปนในกองทัพเตียวหุยรายงานเช่นนั้น จึงจะยกทัพตามตีตลบหลังเตียวหุยตามเวลานั้น แต่กลับโดนกลอุบายของเตียวหุยจนเสียท่าถูกจับเป็นเชลย เมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือเตียวหุย เตียวหุยได้ตัดสินใจที่จะประหารเงียมหงันซึ่งเงียมหงันได้ยินดีที่จะตาย และกล่าวว่า "ท่านจงประหารเร็วเถิด เสฉวนมีแต่แม่ทัพที่หัวขาด แต่ไม่มีแม่ทัพที่ยอมแพ้" เมื่อเตียวหุยได้ยินเช่นนั้นก็คิดว่าแม่ทัพคนนี้มีความจงรักภักดีอย่างหนักแน่นมั่นคง มิย่อท้อเมื่อเผชิญความตายจึงนับถือน้ำใจ และแก้มัดออกพร้อมกล่าวขอโทษเงียมหงันที่ตนล่วงเกิน เงียมหงันเห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นคำนับเตียวหุย และอาสาเป็นกองหน้า สำหรับเดินทัพต่อไป เมือไปถึงด่านใดตำบลใด นายด่านทั้งปวงก็ออกมายอมเข้าด้วย เพราะเงียมหงันเป็นทัพหน้า และได้ไปสมทบกับทัพเล่าปี่ ก่อนขงเบ้ง ซึ่งมาทางน้ำเสียอีก ต่อมา เมื่อเล่าปี่ บุกเมืองฮันต๋ง ทางด่านแฮบังก๋วนก็ถูกบุกโจมตีโดย โจหอง และเตียวคับ ฝ่ายฮักจุ้นกับเบ้งตัด ซึ่งรักษา แฮบังก๋วนอยู่นั้นเห็นจะเหลือกำลัง จึงส่งสาส์นไปขอกำลังเสริมจากเล่าปี่ เล่าปี่จึงส่งฮองตงและเงียมหงันไปช่วย เมื่อมาถึง เบ้งตัด และฮักจุ้น ก็ดูถูก2เฒ่านี้เป็นอันมาก ฮองตงจึงให้เงียมหงันซุ่มกำลังอยู่หลังค่ายเตียวคับ เมื่อเห็นฮองตงออกรบเมื่อไร ก็ให้ตีกระ หนาบเข้ามา หลังจากนั้นฮองตงได้ออกไปร้องท้าทายเตียวคับ เตียวคับจึงพาทหารออกจากค่ายเงียมหงันเห็นว่าได้ทีจึงคุมทหาร ออกมา ฆ่าทหารเตียวคับล้มตายเป็นอันมาก ต่อมา เงียมหงันก็แนะนำฮองตงให้ตัดเสบียงศัตรูที่เทียนตองสัน ฮองตงจึงทำกลอุบายแกล้งถอยหนีเพื่อให้ข้าศึกเอา อาวุธ และเสบียงมารวมกันไว้ และปล้นค่ายของเตียวคับ โดยให้เงียมหงันซุ่มทหารอยู่หลังค่ายตีทหารเตียวคับ แตกไป หลังจากน้น เมื่อขงเบ้งจะบุกขึ้นเหนือ ขงเบ้งแต่งตั้งเงียมหงันเป็นที่ปรึกษาทางการทหาร เงียมหงัน ได้แก่ตาย ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บังทองมณฑลเสฉวนสามก๊กจูกัดเหลียงจูล่งจ๊กก๊กประเทศจีนเล่าปี่เตียวหุยเนินหงส์ร่วง

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

บังทองและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · บังทองและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

มณฑลเสฉวนและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · มณฑลเสฉวนและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

สามก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · สามก๊กและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · จูกัดเหลียงและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

จูล่งและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · จูล่งและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

จ๊กก๊กและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · จ๊กก๊กและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและสามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) · ประเทศจีนและเงียมหงัน · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเล่าปี่ · เงียมหงันและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเตียวหุย · เงียมหงันและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เนินหงส์ร่วง

ลและสุสานของบังทอง ในปัจจุบัน เนินหงส์ร่วง (Valley of the Fallen Phoenix) เป็นชื่อสถานที่ที่บังทอง เสนาธิการกองทัพของเล่าปี่ถูกซุ่มยิงด้วยเกาทัณฑ์มากมายจนเสียชีวิต เป็นช่องเขาที่แยกเข้าเมืองลกเสีย เมืองหน้าด่านของมณฑลเสฉวน ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียก "ลกห้องโห" ปัจจุบันนี้อยู่ในแขวงหลิวเจียง เมืองเต๋อหยาง มณฑลเสฉวน และมีศาลและสุสานของบังทองตั้งอยู่ และกลายเป็นหนึ่งในหกสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับความคุ้มครองในระดับชาติของจีน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม..

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเนินหงส์ร่วง · เงียมหงันและเนินหงส์ร่วง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน

สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มี 97 ความสัมพันธ์ขณะที่ เงียมหงัน มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 8.85% = 10 / (97 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)และเงียมหงัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »