สารบัญ
27 ความสัมพันธ์: กระทรวงเกษตรสหรัฐกรดอะมิโนจำเป็นภูมิแพ้อาหารมนุษย์วิตามินสหภาพยุโรปสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสแกนดิเนเวียหมาจิ้งจอกจูลคอเลสเตอรอลคาเวียร์ประเทศนอร์เวย์ปลานกกระจอกเทศนกกระทาแคลอรีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองโปรตีนไก่ไข่ขาวไข่แดงเบาหวานเป็ด
กระทรวงเกษตรสหรัฐ
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture; ย่อ: USDA) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและการดำเนินงานของรัฐบาลกลางนโยบายเกี่ยวกับการทำฟาร์มเกษตรป่าไม้และอาหาร.
ดู ไข่ (อาหาร)และกระทรวงเกษตรสหรัฐ
กรดอะมิโนจำเป็น
กรดอะมิโนจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับมาจากอาหาร กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มีด้วยกัน 8 ชนิด ได้แก่ ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน และวาลีน แต่เด็กต้องการกรดอะมิโนอีกสองชนิด คือ อาร์จีนีนและฮีสทิดีน หากจำชื่อกรดอะมิโนเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษแล้ว จะมีวิธีการจำโดยใช้คำว่า "Private Tim Hall" ซึ่งย่อเหลือเป็น PVT TIM HALL: กรดอะมิโนแต่ละชนิดมีความจำเป็นในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนชนิดหนึ่งจำเป็นในสุนัข แต่อาจไม่จำเป็นในแมว ดังนั้น ในอาหารสุนัขจะมีการผสมกรดอะมิโนชนิดนี้ลงไป แต่ในอาหารแมว จะไม่มีการผสมลงไป ความแตกต่างระหว่างกรดอะมิโนที่จำเป็นกับกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ในบางครั้ง ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนที่ประกอบด้วยกำมะถัน ได้แก่ เมไทโอนีนและโฮโมซิสทิอีน สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้แต่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ได้ ซิสทิอีนไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง แต่สามารถเปลี่ยนมาจากโฮโมซิสทิอีนได้ เป็นต้น หมวดหมู่:โภชนาการ หมวดหมู่:กรดอะมิโน หมวดหมู่:การเผาผลาญไนโตรเจน หมวดหมู่:สารอาหารจำเป็น.
ดู ไข่ (อาหาร)และกรดอะมิโนจำเป็น
ภูมิแพ้อาหาร
ูมิแพ้อาหารเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติต่ออาหาร อาการและอาการแสดงมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง อาจมีคัน ลิ้นบวม อาเจียน อาการท้องร่วง ลมพิษ หายใจลำบากหรือความดันเลือดต่ำ ตรงแบบเกิดไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมงหลังสัมผัส เมื่ออาการรุนแรง เรียก แอนาฟิแล็กซิส ความไม่ทนอาหารและอาหารเป็นพิษเป็นอีกภาวะต่างหาก อาาหรทั่วไปที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารมีนมวัว ถั่วลิสง ไข่ หอย ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut) ข้าวสาลี ข้าวเจ้าและผลไม้ พบภูมิแพ้ชนิดใดบ่อยที่สุดขึ้นอยู่กับประเทศ ปัจจัยเสี่ยงมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การขาดวิตามินดี โรคอ้วนและระดับความสะอาดสูง ภูมิแพ้เกิดเมื่ออิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกาะกับโมเลกุลอาหาร ปกติโปรตีนในอาหารที่เป็นปัญหา เหตุนี้กระตุ้นการหลั่งสารเคมีอักเสบ เช่น ฮิสตามีน การวินิจฉัยปกติอาศัยประวัติการแพทย์ การเลี่ยงอาหารที่สงสัย (elimination diet) การทดสอบแทงผิวหนัง (skin prick test) การทดสอบเลือดหาแอนติบอดี IgE ที่จำเพาะกับอาหาร หรือการกระตุ้นให้ปรากฏโดยอาหารทางปาก (oral food challenge) การสัมผัสสารที่อาจก่อภูมิแพ้ในช่วงต้นของชีวิตอาจช่วยป้องกัน การรักษามีการเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารและมีแผนหากเกิดการสัมผัสเป็นหลัก แผนดังกล่าวอาจรวมการให้อะดรีนาลิน (อีพิเนฟริน และการสวมเครื่องเพชรพลอยเตือนทางการแพทย์) ประโยชน์ของการรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกันสารก่อภูมิแพ้ (allergen immunotherapy) สำหรับภูมิแพ้อาหารยังไม่ชัดเจน และในปี 2558 ยังไม่แนะนำ ภูมิแพ้อาหารบางชนิดหายไปเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมภูมิแพ้นม ไข่และถั่วเหลือง ส่วนภูมิแพ้บางชนิด เช่น ภูมิแพ้ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวและหอยตรงแบบไม่หาย ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากร 4% ถึง 8% มีภูมิแพ้อาหารอย่างน้อยหนึ่งชนิด พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่และดูมีความถี่เพิ่มขึ้น เด็กชายปรากฏว่าพบบ่อยว่าเด็กหญิง ภูมิแพ้บางชนิดมักพบในอายุน้อย ส่วนภูมิแพ้บางชนิดตรงแบบเกิดในอายุมาก ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรสัดส่วนใหญ่เชื่อว่าตนมีภูมิแพ้อาหารทั้งที่ความจริงไม่มี.
มนุษย์
มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..
วิตามิน
วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).
สหภาพยุโรป
หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.
ดู ไข่ (อาหาร)และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
สัตว์ปีก
ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.
สัตว์เลื้อยคลาน
ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.
ดู ไข่ (อาหาร)และสัตว์เลื้อยคลาน
สแกนดิเนเวีย
แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.
หมาจิ้งจอก
หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..
จูล
ูล (joule; สัญลักษณ์ J) เป็นหน่วยเอสไอ ของ พลังงาน, หรือ งาน ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ที่ชื่อ เจมส์ เพรสคอตต์ จูล (James Prescott Joule-พ.ศ.
คอเลสเตอรอล
อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.
คาเวียร์
ปลาสเตอร์เจียนเบลูกา (''Huso huso''), คาเวียร์สีส้ม (ล่าง) มาจาก เวอจีน่า คาเวียร์ (caviar) เป็นไข่ปลาที่ผ่านการปรุงรสโดยไข่มาจากปลาหลากหลายประเภท โดยส่วนมากนิยมนำมาจากไข่ปลาสเตอร์เจียน คาเวียร์ได้มีการโฆษณาและได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก คำว่า คาเวียร์ มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า خاگآور (Khag-avar) ซึ่งมีความหมายว่า "ไข่ปลาที่ปรุงรส" โดยในแถบเปอร์เซียจะใช้หมายถึงปลาสเตอร์เจียน การรับประทานคาเวียร์ นิยมจะตักไข่ปลาด้วยช้อนคันเล็ก ๆ ทาลงบนขนมปังแล้วรับประทาน ในปัจจุบัน คาเวียร์ที่มีชื่อเสียงจะมาจากทะเลสาบแคสเปียน ในแถบอาเซอร์ไบจาน, อิหร่าน และรัสเซีย คาเวียร์มีหลายประเภทและหลายสี โดยคาเวียร์สีทองที่มาจากปลาสเตอร์เลต (Sterlet, ชื่อวิทยาศาสตร์: Acipenser ruthenus) เป็นคาเวียร์ที่หายาก นิยมรับประทานกันในหมู่กษัตริย์และบุคคลชั้นสูง โดยในปัจจุบันคาเวียร์ชนิดนี้แทบจะหาไม่ได้เนื่องจากมีการล่ามากจนเกินไป จนทำให้ปลาชนิดนี้แทบจะสูญพันธุ์ ในสมัยอดีต เมื่อเด็กป่วยเป็นหวัด แม่ที่ฐานะดีจะให้ลูกกินคาเวียร์จนหายเป็นปกติ ชนชั้นสูงในรัสเซียก็นิยมกินคาเวียร์ เพราะเชื่อว่าเป็นอาหารอายุวัฒนะ และชาวโรมันนิยมบริโภคคาเวียร์เป็นยา เมื่อครั้งพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย เสด็จเยือนฝรั่งเศส พระองค์พระราชทานคาเวียร์เป็นราชบรรณาการแด่จักรพรรดินโปเลียน เพราะในฝรั่งเศสคาเวียร์เป็นของหายาก และเมื่อจักรพรรดินโปเลียนทรงปราชัยในสงครามกับรัสเซีย ความนิยมกินคาเวียร์ก็ได้แพร่เข้าสู่ยุโรปโดยใช้เส้นทางจากรัสเซียผ่านเมืองฮัมบูร์ก ในเยอรมนี โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อว่ามีปลาสเตอร์เจียนชุกชุม คือทะเลสาบแคสเปียน ในอดีตเคยอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ชาวประมงรัสเซียได้จับกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้ปลาลดจำนวนลงมาก รัฐบาลสหภาพโซเวียตจึงต้องออกกฎหมายห้ามจับโดยเด็ดขาด และส่งเฮลิคอปเตอร์ออกตรวจจับผู้ที่จับปลาที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าพบว่าชาวประมงคนใดจับปลาสเตอร์เจียนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกส่งไปลงโทษจับปลาที่ไซบีเรีย แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ชาวประมงรัสเซียก็ได้ออกมาจับปลาสเตอร์เจียนอีก และถือว่าโชคดีถ้าใครจับปลาสเตอร์เจียนที่มีไข่ได้ เพราะปลาหนึ่งตัวอาจมีไข่ในท้องถึง 50 กิโลกรัม เพียงพอจะทำให้คนที่จับมีฐานะขึ้นมาได้ และนอกจากจะขายไข่ได้ในราคาดีแล้ว เนื้อปลาเองก็อาจขายได้ราคางามถึงปอนด์ละ 900 ดอลลาร์ขึ้นไปด้วย ในเวลาต่อมา เหตุเพราะปลาสเตอร์เจียนถูกจับไปเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้นรัฐบาลรัสเซียจึงจัดตั้งศูนย์เลี้ยงปลาสเตอร์เจียนขึ้นที่เมืองอัสตราคัน ส่วนที่คาซัคสถานนั้นก็มีศูนย์ประมงซึ่งมีบริษัทคาเวียร์ เฮ้าส์ & พรีเมียร์ เป็นผู้ดูแล โดยมีปลาสเตอร์เจียนเลี้ยงมากถึง 160,000 ตัว สำหรับประเทศอิหร่านนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ.
ประเทศนอร์เวย์
นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.
ดู ไข่ (อาหาร)และประเทศนอร์เวย์
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.
นกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริก.
นกกระทา
นกกระทาดงแข้งเขียว (''Arborophila chloropus'') เป็นหนึ่งในนกกระทาที่พบได้ในประเทศไทย (ตัวในรูปพบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) นกกระทา หรือ นกคุ่ม เป็นชื่อสามัญของนกในอันดับไก่ (Galliformes) หลายชนิด นกกระทา โดยมากจะเป็นไก่ขนาดเล็ก ตัวป้อมสั้นอ้วน สีสันไม่สวยงาม ตามลำตัวมักมีลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น ทำให้บินได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ เหมือนไก่ จึงมักหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน นกกระทา กระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั้งโลกเก่า (ยุโรป, เอเชีย, แอฟริกา) และโลกใหม่ (อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ออสเตรเลีย) เป็นนกที่มนุษย์นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร มีบางส่วนที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกกระทาญี่ปุ่น (Coturnix japonica) ที่แต่เดิมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องคล้ายนกเขา แต่ต่อมาได้มีการพัฒนามาเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่ ซึ่งนกกระทาที่นิยมบริโภคกันในประเทศไทยก็เป็นนกกระทาชนิดนี้ ส่วนวิธี การเลี้ยงนกกระทาไข่ เป็นสัตว์เศรฐกิจตัวหนึ่งในปัจจุบัน.
แคลอรี
แคลอรี (Calorie) เป็นหน่วยวัดพลังงานอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการวัดหน่วยพลังงานมักใช้หน่วย "จูล" ซึ่งเป็นมาตราเอสไอสำหรับการวัดพลังงาน ส่วนแคลอรีมักใช้ในการวัดหน่วยพลังงานอาหาร ผู้บัญญัติหน่วยแคลอรีเป็นคนแรกคือ ศาสตราจารย์นิโคลัส เคลเมนต์ (Nicolas Clément) เมื่อปี..
โรคระบบหัวใจหลอดเลือด
รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.
ดู ไข่ (อาหาร)และโรคระบบหัวใจหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง
รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.
ดู ไข่ (อาหาร)และโรคหลอดเลือดสมอง
โปรตีน
3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..
ไก่
ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน ไก่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา เสียงร้องดัง ต๊อก ต๊อก.
ไข่ขาว
วล้อมรอบไข่แดง ไข่ขาว ใช้เรียกของเหลวใสในไข่ที่ล้อมรอบไข่แดง ไข่ขาวชั้นนอกส่วนในมีลักษณะใสและโปร่งแสง ล้อมรอบไข่ขาวชั้นนอกส่วนข้นที่มีลักษณะข้นและหนืดกว่า ลักษณะที่เป็นเมือกของไข่ขาวข้นเกิดจากคาร์โบไฮเดรทโมเลกุลใหญ่ โดยธรรมชาติ ไข่ขาวมีหน้าที่ปกป้องไข่แดง ช่วยพยุงให้ไข่แดงอยู่คงที่ รองรับแรงกระเทีอนไม่ให้ไข่แดงแตกตัว และยังช่วยเสริมอาหารให้ตัวอ่อนที่กำลังเติบโตด้ว.
ไข่แดง
แดงลอยอยู่ในไข่ขาว ไข่แดง เป็นส่วนประกอบของไข่ โดยอยู่ภายในเปลือกไข่ ประกอบด้วยสารอาหารไว้ใช้เลี้ยงตัวอ่อน เมื่อรวมกับไข่ขาวจะเป็นเซลล์เดียวจนกว่าจะมีการปฏิสน.
เบาหวาน
รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.
เป็ด
ป็ด เป็นสัตว์ปีกในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐาน.