โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

ดัชนี โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

12 ความสัมพันธ์: ภาวะสารไขมันสูงในเลือดระบบไหลเวียนวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์หัวใจหทัยวิทยาความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดแดงแข็งโรคของหลอดเลือดส่วนปลายเดอะ บีเอ็มเจเดอะแลนซิตJAMA

ภาวะสารไขมันสูงในเลือด

ภาวะสารไขมันสูงในเลือด (hyperlipidemia, hyperlipidaemia) หรือภาวะไลโพโปรตีนสูงในเลือด (hyperlipoproteinemia) คือ การมีระดับลิพิดและ/หรือไลโพโปรตีนตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปสูงในเลือดผิดปกติ เป็นภาวะสารไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) ที่พบบ่อยที่สุด ลิพิด (โมเลกุลละลายในไขมัน) ถูกขนส่งในแคปซูลโปรตีน ขนาดของแปคซูลนั้นหรือไลโพโปรตีนจะตัดสินความหนาแน่นของแคปซูล ความหนาแน่นของไลโพโปรตีนและประเภทของอะโพไลโพโปรตีนที่บรรจุในแคปซูลตัดสินจุดหมายของอนุภาคและอิทธิพลของมันในเมแทบอลิซึม ภาวะสารไขมันสูงในเลือดแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดปฐมภูมิปกติเกิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์ (เช่น การกลายพันธุ์ในโปรตีนตัวรับ) ส่วนภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดทุติยภูมิเกิดจากสาเหตุพื้นเดิม เช่น เบาหวาน ความผิดปกติของลิพิดและลิโปโปรตีนพบบ่อยในประชากรทั่วไป และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ดัดแปรได้ของโรคหัวใจหลอดเลือดเนื่องจากอิทธิพลของลิพิดและลิโปโปรตีนต่อโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง นอกเหนือจากนี้ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดบางแบบยังอาจชักนำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หมวดหมู่:ความผิดปกติทางลิพิด.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและภาวะสารไขมันสูงในเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อห.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

หทัยวิทยา

หทัยวิทยา (cardiology) คือ การแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งจะมีทั้งการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defect: CHD) โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ระบบไฟฟ้าของหัวใจ (electrophysiology) แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า นักหทัยวิทยา หรือ หทัยแพทย์ (cardiologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคหัวใ.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและหทัยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย

รคของหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease - PVD) หรือ โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral artery disease - PAD) หมายถึงโรคทั้งหมดที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ในแขนขา โรคของหลอดเลือดส่วนปลายอาจเกิดจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการอักเสบที่ทำให้เกิดการตีบตัน เกิดจากมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดหรือมีลิ่มเลือด โรคนี้อาจทำให้เกิดการขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยมักเป็นที.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแลนซิต

อะแลนซิต (The Lancet) เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปรายสัปดาห์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ที่เก่าแก่ที่สุดและรู้จักกันดีที่สุดวารสารหนึ่ง โดยมีการกล่าวว่า เป็นวารสารการแพทย์ที่มีเกียรติมากที่สุดวารสารหนึ่งของโลก ในปี 2557 เดอะแลนซิต จัดว่ามีอิทธิพลเป็นที่สองในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป โดยมีปัจจัยกระทบที่ 45 ต่อจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่มีปัจจัยกระทบที่ 56 หน้าต่างแบบแลนซิตที่โบสถ์แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร น.ทอมัส เวคลีย์ ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ได้จัดตั้งวารสารขึ้นในปี 2366 (ค.ศ. 1823) โดยตั้งชื่อวารสารตามเครื่องมือผ่าตัดที่เรียกว่า "lancet" (มีดปลายแหลมสองคมขนาดเล็กสำหรับผ่าตัด) และตามชื่อส่วนของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษที่เป็นช่องหน้าต่างโค้งยอดแหลม ซึ่งหมายถึง "แสงสว่างแห่งปัญญา" หรือ "เพื่อให้แสงสว่างเข้ามา" เดอะแลนซิต พิมพ์บทความงานวิจัยดั้งเดิม บทความปริทัศน์ บทความบรรณาธิการ งานปฏิทัศน์หนังสือ การติดต่อทางจดหมาย ข่าว และรายงานเค้ส และมีสำนักพิมพ์แอ็ลเซอเฟียร์เป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2534 หัวหน้าบรรณาธิการคือนายริชาร์ด ฮอร์ตัน ตั้งแต่ปี 2538 วารสารมีสำนักงานบรรณาธิการในนครลอนดอน นิวยอร์ก และปักกิ่ง.

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและเดอะแลนซิต · ดูเพิ่มเติม »

JAMA

JAMA (The Journal of the American Medical Association) เป็นวารสารการแพทย์ ตรวจสอบโดยผู้ชำนาญในระดับเดียวกัน พิมพ์ 48 ครั้งต่อปี ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านของชีวเวชหรือวิทยาศาสตร์ชีวเวช พิมพ์เนื้อหาหลักเป็นงานวิจัยดั้งเดิมหรืองานปริทัศน์ (หรือการทบทวนวรรณกรรม) และเนื้อหารองอื่น ๆ เช่น รายงานสัปดาห์ของความเจ็บป่วยและการตาย (Morbidity and Mortality Weekly Report) เป็นวารสารที่ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: โรคระบบหัวใจหลอดเลือดและJAMA · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โรคหัวใจโรคหัวใจและหลอดเลือด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »