โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบาหวาน

ดัชนี เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

23 ความสัมพันธ์: กะเพราภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวานมะระยาว่านหางจระเข้สหประชาชาติหญ้าหวานอินซูลินองค์การอนามัยโลกผักจินดาผู้ป่วยความดันเลือดตับอ่อนตำลึงแพทย์โภชนาการโรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคจอตาเหตุเบาหวานไตวายเบาหวานชนิดที่ 2เจี๋ยวกู่หลาน

กะเพรา

กะเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 เซนติเมตร นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว.

ใหม่!!: เบาหวานและกะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน

วะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน..

ใหม่!!: เบาหวานและภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

มะระ

มะระ หรือ ผักไห่ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Momordica charantia สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜).

ใหม่!!: เบาหวานและมะระ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: เบาหวานและยา · ดูเพิ่มเติม »

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ.

ใหม่!!: เบาหวานและว่านหางจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เบาหวานและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าหวาน

หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร (0 แคลอรี/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นต้น มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดยชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น หญ้าหวานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 และปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้มีการใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภค หญ้าหวานจึงจัดอยู่ในพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เบาหวานและหญ้าหวาน · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

ใหม่!!: เบาหวานและอินซูลิน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: เบาหวานและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ผักจินดา

ผักจินดา หรือ ผักเชียงดา เป็นไม้เถาเลื้อยพบได้ในประเทศแถบทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ในประเทศไทยนิยมนำมารับประทานเป็นผักหรือใช้ปรุงอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งสองชนิดได้ข้อมูลของ ผักเชียงดา “เชียงดา” ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษา “เบาหวาน” ผักเชียงดาผักสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน.

ใหม่!!: เบาหวานและผักจินดา · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ป่วย

แพทย์กำลังวัดความดันเลือดให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วย, ผู้รับการรักษา, คนไข้ หมายถึงผู้ที่เข้ารับบริการสุขภาพรูปแบบใด ๆ จากแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ สัตวแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางครั้งอาจไม่ต้องก็ได้ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:การพยาบาล หมวดหมู่:มนุษย์.

ใหม่!!: เบาหวานและผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ใหม่!!: เบาหวานและความดันเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: เบาหวานและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ตำลึง

ตำลึง ((L.) Voigt) เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน).

ใหม่!!: เบาหวานและตำลึง · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: เบาหวานและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

โภชนาการ

ีระมิดอาหารซึ่งเผยแพร่ในปี 2548 เพื่อแนะนำปริมาณการบริโภคอาหาร โภชนาการเป็นการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร และการย่อยเพื่อให้ร่างกายดูดซึม การทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง นักกำหนดอาหารเป็นวิชาชีพสาธารณสุขผู้มีความชำนาญพิเศษในโภชนาการมนุษย์ การวางแผนมื้ออาหาร เศรษฐศาสตร์และการเตรียม พวกเขาได้รับการฝึกเพื่อให้คำแนะนำทางอาหารที่ปลอดภัยและอิงหลักฐาน และการจัดการต่อปัจเจกบุคคล ตลอดจนสถาบัน นักโภชนาการคลินิกเป็นวิชาชีพสาธารณสุขซึ่งมุ่งเจาะจงต่อบทบาทของโภชนาการในโรคเรื้อรัง ซึ่งรวมการป้องกันหรือการรักษาโรคที่เป็นไปได้โดยการจัดการกับการพร่องสารอาหารก่อนพึ่งยา อาหารไม่ดีอาจมีผลทำร้ายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความพร่อง เช่น ลักปิดลักเปิด, สภาพที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น โรคอ้วน และโรคเมทาบอลิก และโรคทั่วร่างกายเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวานและกระดูกพรุน.

ใหม่!!: เบาหวานและโภชนาการ · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: เบาหวานและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: เบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: เบาหวานและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคจอตาเหตุเบาหวาน

จอตาเสื่อมจากเบาหวาน (diabetic retinopathy) หรือเรียก โรคตาเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายต่อจอตาเนื่องจากโรคเบาหวาน สุดท้ายสามารถนำไปสู่ตาบอดได้ โรคนี้เป็นอาการแสดงทางตาของโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคทั่วกาย เกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ 80 แม้มีสถิติเหล่านี้ แต่งานวิจัยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยใหม่อย่างน้อยร้อยละ 90 สามารถลดได้หากมีการรักษาและเฝ้าสังเกตอย่างเหมาะสมและระวังระไว ยิ่งบุคคลนั้นเป็นเบาหวานนานเท่าใด ยิ่งมีโอกาสเกิดจอตาเสื่อมจากเบาหวานมากขึ้นเท่านั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการตาบอดในผู้อายุระหว่าง 20 ถึง 64 ปี หมวดหมู่:เบาหวาน หมวดหมู่:ตาบอด หมวดหมู่:โรคของคอรอยด์และจอตา.

ใหม่!!: เบาหวานและโรคจอตาเหตุเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

ใหม่!!: เบาหวานและไตวาย · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวานชนิดที่ 2

หวานชนิดที่ 2 เป็นความผิดปกติของเมแทบอลิซึมระยะยาวซึ่งมีลักษณะคือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด การดื้ออินซูลิน และการขาดอินซูลินโดยสัมพัทธ์ อาการโดยทั่วไปได้แก่ กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะมากและน้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการหิวบ่อย รู้สึกเหนื่อย และปวดไม่หาย อาการมักมาอย่างช้า ๆ ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวานซึ่งอาจเป็นเหตุให้ตาบอด ไตวายและมีการไหลเวียนโลหิตในแขนขาน้อยซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะออก อาจเกิดภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง (hyperosmolar hyperglycemic state) ทว่า ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis) พบไม่บ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานแห่งครรภ์เป็นหลัก ในเบาหวานชนิดที่ 1 มีระดับอินซูลินทั้งหมดลดลงเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเสียเซลล์บีตาที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหตุภาวะภูมิต้านตนเอง การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้โดยการตรวจเลือด เช่น ระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร การทดสอบความทนกลูโคสทางปากหรือฮีโมโกลบินไกลเคต (glycated hemoglobin, A1C) เบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้ส่วนหนึ่งโดยการรักษาน้ำหนักให้ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การรักษามีการออกกำลังกายและเปลี่ยนแปลงอาหาร หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างเพียงพอ ตรงแบบแนะนำให้ยาเมตฟอร์มิน (metformin) หลายคนอาจลงเอยด้วยการฉีดอินซูลิน ในผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ทว่า อาจไม่จำเป็นในรายที่รับประทานยา การผ่าตัดโรคอ้วน (bariatric surgery) มักทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นในผู้ป่วยอ้วน อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี 2503 ในทำนองเดียวกับโรคอ้วน ในปี 2558 มีประชากรประมาณ 392 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับประมาณ 30 ล้านคนในปี 2528 ตรงแบบโรคเริ่มในวัยกลางคนหรือสูงอายุ แม้อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 กำลังเพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว เบาหวานชนิดที่ 2 สัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพสั้นลงสิบปี.

ใหม่!!: เบาหวานและเบาหวานชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เจี๋ยวกู่หลาน

ี๋ยวกู่หลาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynostemma pentaphyllum (Thunb.); ชื่ออื่น: ชาสตูล เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ เซียนเฉ่า) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ส่วนที่ใช้เป็นยา คือต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน เริ่มด้วยในปี 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพร ตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาจึงกลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา และศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีน thumb สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์แผนไทย ใช้ส่วนที่เป็นก้านตากแห้งบดละเอียดเช่นกัน แก้อ่อนเพลีย แก้แผลอักเสบ ช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย การขยายพันธุ์ สามารถกระทำได้โดยการเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพื.

ใหม่!!: เบาหวานและเจี๋ยวกู่หลาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DiabetesDiabetes mellitusโรคเบาหวานโรคเบาหวานประเภทที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »