โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรฮีนจา

ดัชนี โรฮีนจา

รฮีนจา (ရိုဟင်ဂျာ โรฮีนจา; โรฮีนจา: Ruáingga รูไอง์กา; রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514 ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555.

21 ความสัมพันธ์: ภาษาโรฮีนจารัฐยะไข่ศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูสหรัฐสหราชอาณาจักรสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติซุนนีซีเอ็นเอ็นประเทศบังกลาเทศประเทศพม่าประเทศมาเลเซียประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศซาอุดีอาระเบียประเทศปากีสถานประเทศไทยประเทศเนปาลแอนเจลีนา โจลีเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555

ภาษาโรฮีนจา

ษาโรฮีนจา (โรฮีนจา: Ruáingga) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมุสลิมโรฮีนจา มีผู้พูดทั้งหมด 1,500,000 คน พบในพม่า 1,000,000 คน (พ.ศ. 2549) ในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า พบในบังกลาเทศ 200,000 คน (พ.ศ. 2549) และอาจจะมีในมาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย และไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน สาขาอินโด-อารยันตะวันออก สาขาย่อยเบงกาลี-อัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาจิตตะกองในบังกลาเทศ มีคำยืมจากภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษมาก เดิมชาวโรฮีนจาอพยพจากบังกลาเทศเข้าไปอยู่ในพม่า และปัจจุบันมีผู้อพยพส่วนหนึ่งอพยพกลับไปสู่บังกลาเทศ แต่ถูกผลักดันให้กลับไปสู่พม.

ใหม่!!: โรฮีนจาและภาษาโรฮีนจา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับเขตการปกครอง สำหรับชาติพันธุ์ ดูที่ ยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ รัฐยะไข่ (ရခိုင်ပြည်နယ်, สำเนียงยะไข่ ระไข่ง์ เปร่เหน่, สำเนียงพม่า ยะไข่ง์ ปหฺยี่แหฺน่) ชื่อเดิม รัฐอาระกัน (Arakan) เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศพม.

ใหม่!!: โรฮีนจาและรัฐยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: โรฮีนจาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: โรฮีนจาและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โรฮีนจาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: โรฮีนจาและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง

งครามพม่า–อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Burmese War) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับราชวงศ์อลองพญาของพม่า เป็นระยะเวลา 2 ปี ในระหว่าง..

ใหม่!!: โรฮีนจาและสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees, คำย่อ UNHCR) เป็นองค์การที่รับภารกิจหน้าที่จาก UNRRA: United Nations Relief and Rehabilitation Administration ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 8 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภารกิจหลัก คือ การปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศหรือข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง หรือ ประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักงานฯ มีภารกิจหลักคือ เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทางออกที่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยสมัครใจ (voluntary repatriation) การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ (local integration) หรือการไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (third country resettlement) และภารกิจที่ตามมาคือ การปกป้องและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่บุคคลในความห่วงใย (person of concern, POC) กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seeker) ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced person) บุคคลไร้รัฐ (stateless person) และผู้ที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง (returnee) ภารกิจของสำนักงานฯ ในขณะนี้ มักจะอยู่ในประเทศที่ยังคงมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติและประเทศใกล้เคียง เช่น เลบานอน ซูดาน ชาด อิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ยังมีภารกิจครอบคลุมไปถึงผู้ที่หนีภัยจากการประหัตประหาร และผู้ที่พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทยที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานฯ ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2524 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายฟีลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) นักการทูตชาวอิตาลี และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ คนปัจจุบันได้แก่ นาย Carsten Staur เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว.

ใหม่!!: โรฮีนจาและข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: โรฮีนจาและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: โรฮีนจาและซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันออกกลาง กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี 2475 โดย พระเจ้าอิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ประเทศเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลาม ขบวนการศาสนาวะฮาบีย์ภายในนิกายซุนนีย์ถูกเรียกว่า "ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย" บ้างเรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง อัลมัสยิดอัลฮาราม (Al-Masjid al-Haram) ในมักกะฮ์ และอัลมัสยิดอันนาบาวี (Al-Masjid al-Nabawi) ในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี 2553–2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้ว.

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: โรฮีนจาและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แอนเจลีนา โจลี

แอนเจลีนา โจลี (เดิมชื่อ แอนเจลีนา โจลี วอยต์; 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 —) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ 2 รางวัล และรางวัลลูกโลกทองคำ 3 รางวัล โจลีเป็นผู้สนับสนุนทางมนุษยธรรม และเป็นที่รู้จักกันดีในการทำงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในฐานะทูตสันถวไมตรีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เธอได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีเสน่ห์ดึงดูดที่สุดในโลก เช่นเดียวกับสตรีที่ "สวยที่สุด" ในโลก ซึ่งที่ฉายาที่เธอได้รับความสนใจจากสื่ออย่างต่อเนื่อง.

ใหม่!!: โรฮีนจาและแอนเจลีนา โจลี · ดูเพิ่มเติม »

เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555

หตุจลาจลในรั..

ใหม่!!: โรฮีนจาและเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rohingyaชาวมุสลิมโรฮิงยาโรฮิงญาโรฮิงยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »