โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาโรฮีนจา

ดัชนี ภาษาโรฮีนจา

ษาโรฮีนจา (โรฮีนจา: Ruáingga) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมุสลิมโรฮีนจา มีผู้พูดทั้งหมด 1,500,000 คน พบในพม่า 1,000,000 คน (พ.ศ. 2549) ในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า พบในบังกลาเทศ 200,000 คน (พ.ศ. 2549) และอาจจะมีในมาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย และไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน สาขาอินโด-อารยันตะวันออก สาขาย่อยเบงกาลี-อัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาจิตตะกองในบังกลาเทศ มีคำยืมจากภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษมาก เดิมชาวโรฮีนจาอพยพจากบังกลาเทศเข้าไปอยู่ในพม่า และปัจจุบันมีผู้อพยพส่วนหนึ่งอพยพกลับไปสู่บังกลาเทศ แต่ถูกผลักดันให้กลับไปสู่พม.

20 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านภาษาพม่าภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาอูรดูภาษาจิตตะกองภาษาเบงกาลีภาษาเปอร์เซียยะไข่รัฐยะไข่อักษรพม่าอักษรละตินอักษรอาหรับอักษรอูรดูจิตตะกองประเทศบังกลาเทศประเทศพม่าประเทศอังกฤษโรฮีนจา

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจิตตะกอง

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาจิตตะกอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ ยะไข่, อะระกัน หรือ ระขึน (ရခိုင်လူမျိုး; IPA:; Rakhine) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หลักกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อาศัยในรัฐยะไข่ ชาวยะไข่ถือเป็นชาวพม่าพื้นถิ่นในรัฐยะไข่กลุ่มหนึ่ง ภาษาพูดของชาวยะไข่นั้นถือเป็นสำเนียงหนึ่งในภาษาพม่า และยังมีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณหลงเหลืออยู่ อันมีเสียงบางเสียงซึ่งในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งไม่มีใช้แล้ว เช่น เสียง ร โดยภาษายะไข่นั้นยังรักษาเสียง ร ไว้ได้ครบแทบทุกตำแหน่ง หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร ร จึงควรดูที่การออกเสียงของภาษายะไข่ ทั้งนี้เนื่องจากยะไข่ห่างไกลศูนย์กลางจากพม่า โดยมีเทือกเขาอาระกันโยมาขวางกั้นอยู่ อีกทั้งยะไข่เองก็เคยมีอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็นอาณาจักรอยู่ร่วมหลายร้อยปี ภายหลังจากการมาของอังกฤษ ยะไข่ถูกมองว่าต่างจากชาวพม่าทั่วไป ดินแดนยะไข่จึงถูกกำหนดเป็นรัฐหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยในพม.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับเขตการปกครอง สำหรับชาติพันธุ์ ดูที่ ยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ รัฐยะไข่ (ရခိုင်ပြည်နယ်, สำเนียงยะไข่ ระไข่ง์ เปร่เหน่, สำเนียงพม่า ยะไข่ง์ ปหฺยี่แหฺน่) ชื่อเดิม รัฐอาระกัน (Arakan) เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศพม.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและรัฐยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพม่า

ตัวพยัญชนะพม่า ตั้งแต่ กะ ถึง อะ (ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) ก,ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ส, ห, ฬ, อ อักษรพม่า (မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและอักษรพม่า · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอูรดู

อักษรอูรดู เป็นระบบการเขียนที่เขียนจากขวาไปซ้าย ใช้เขียนภาษาอูรดู โดยปรับปรุงมาจากอักษรเปอร์เซีย ที่พัฒนามาจากอักษรอาหรับ มีอักษร 38 ตัว อักษรอูรดูจะนิยมเขียนแบบ นาสตาลิกในขณะที่ อักษรอาหรับโดยทั่วไปจะเขียนแบบ นาสค์ โดยทั่วไป การถอดอักษรอูรดูมาเป็นอักษรโรมัน จะขาดหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆที่เขียนด้วยอักษรละติน สถาบันภาษาแห่งชาติ แห่ง ปากีสถาน ได้พัฒนาระบบสำหรับเสียงที่ไม่พบในภาษาอังกฤษ แต่จะเหมาะสมกับผู้ที่รู้ภาษาอูรดู ภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซียมากกว่า ประเทศที่มีผู้พูดภาษาอูรดูได้แก่: อัฟกานิสถาน, บาห์เรน, บังกลาเทศ, บอตสวานา, ฟิจิ, เยอรมัน, กายอานา, อินเดีย, มาลาวี, มอริเชียส, เนปาล, นอร์เวย์, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, แอฟริกาใต้, ไทย, สหรัฐอาหรับ, สหราชอาณาจักรและแซมเบี.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและอักษรอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

จิตตะกอง

ตตะกอง (จิตตะกอง, চট্টগ্রাম, Chôţţogram, Chittagong) เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม และเมืองท่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบังกลาเทศ เป็นเมืองหลวงของแคว้นชื่อเดียวกัน เป็นเมืองท่าทางทะเลที่คับคั่งที่สุดในบังกลาเทศ มีประชากรมากกว่า 5.5 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ จิตตะกองเป็นเมืองที่มีมรดกที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งอิสลาม ฮินดู และพุทธ เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือชาวโปรตุเกสเข้าครอบครองโดยสุลต่านเบงกอลใน..

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและจิตตะกอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรฮีนจา

รฮีนจา (ရိုဟင်ဂျာ โรฮีนจา; โรฮีนจา: Ruáingga รูไอง์กา; রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514 ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: ภาษาโรฮีนจาและโรฮีนจา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาโรฮิงยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »