โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคคะวะซะกิ

ดัชนี โรคคะวะซะกิ

รคคะวะซะกิ (川崎病; Kawasaki disease) หรือ กลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลือง (Mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS, MLNS หรือ MCLNS) เป็นโรคที่พบในเด็กญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยนายโทมิซากุ คะวะซะกิ (ชื่ออื่น: Tomisaku Kawazaki) เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยส่วยใหญ่จะพบในเด็ก อาการที่พบของโรคที่ประกอบด้วยอาการมีไข้สูง (fever) เกิดจากหลอดเลือดแดงอักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง (peeling of the palm) และเยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ ตาแดง (congested conjuctiva) และ ภาวะเส้นโลหิตแดงหัวใจโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตไว้ (coronary anuerysm) เป็นโรคที่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อัตราชายต่อหญิง 1.5: 1 พบในเด็กเล็กประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 2 ปี ร้อยละ 80 อายุน้อยกว่า 4 ปี พบได้ทุกเชื้อชาติในโลกแต่พบมากโดยเฉพาะในเด็กญี่ปุ่นมากกว่าชาติอื่น.

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2510กลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสันกลุ่มอาการผิวหนังลอกจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัสกล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบการอักเสบหลอดเลือดโป่งพองหัวใจถูกบีบรัดหัวใจเต้นผิดจังหวะผิวหนังต่อมน้ำเหลืองโรคหัดโรคฉี่หนูไข้ไข้ดำแดงเกล็ดเลือดเยื่อตาอักเสบ

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสัน

กลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome (SJS), Erythema multiforme major (EM major)) เป็นโรคที่มีผลมาจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อยา การติดเชื้อ การเจ็บป่วย ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย เกิดการตายของเซลล์เยื่อบุผิวทำให้แยกลอกออกจากชั้นหนังแท้ ผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้มีทั้งที่ทราบสาเหตุและไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดในปริมาณใกล้เคียงกัน สามารถพบได้ในทุกวัย ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาไวเกินต่อสิ่งกระตุ้นที่มีการตอบสนองไปยังชั้นผิวเยื่อเมือก.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและกลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการผิวหนังลอกจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส

กลุ่มอาการผิวหนังลอกจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcal scalded skin syndrome, pemphigus neonatorum, Ritter's disease, localized bullous impetigo) เป็นโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและกลุ่มอาการผิวหนังลอกจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดโป่งพอง

รคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดโป่งออกมีเลือดเข้าไปบรรจุอยู่เฉพาะตำแหน่ง มาจากภาษากรีก ἀνεύρυσμα - aneurusma การพองออก ภาวะนี้มักพบได้ที่หลอดเลือดแดงที่ฐานของสมองบริเวณวงกลมวิลลิส (หลอดเลือดสมองโป่งพอง) และเอออร์ตาโป่งพองที่พบในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขนส่งเลือดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อขนาดของหลอดเลือดโป่งพองใหญ่ขึ้นจะมีความเสี่ยงจะแตกมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรงซึ่งถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดโป่งพองอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรืออาจเกิดจากโรคซึ่งเป็นผลทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและหลอดเลือดโป่งพอง · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจถูกบีบรัด

หัวใจถูกบีบรัด (cardiac tamponade, pericardial tamponade) เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งมีของเหลวคั่งอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ หากมีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นจนทำให้หัวใจไม่สามารถขยายตัวเพื่อเติมเลือดเข้าห้องหัวใจได้จะทำให้หัวใจมีปริมาตรเลือดหัวใจบีบต่อครั้ง (stroke volume) ลดลง ทำให้เกิดการสูบฉีดเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เกิดภาวะช็อค และทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะหัวใจถูกบีบรัดเกิดขึ้นเมื่อเกิดมีของเหลวขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเร็วเกินกว่าที่ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะขยายได้ทัน หากปริมาณของของเหลวเพิ่มขึ้นช้าๆ (เช่นในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย) ถุงเยื่อหุ้มหัวใจจะสามารถขยายขนาดเพื่อรองรับของเหลวได้ก่อนที่จะเกิดภาวะบีบรัด แต่ถ้าของเหลวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เช่นในอุบัติเหตุหรือการฉีกขาดของหัวใจ) ปริมาณของเหลวเพียง 100 มิลลิลิตรก็สามารถทำให้เกิดภาวะบีบรัดได้.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและหัวใจถูกบีบรัด · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลือง หรือ ปุ่มน้ำเหลือง.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและต่อมน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและโรคหัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคฉี่หนู

รคฉี่หนู, ไข้ฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (leptospirosis) เป็นโรครับจากสัตว์ชนิดหนึ่ง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและโรคฉี่หนู · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้ดำแดง

้ดำแดง (scarlet fever) เป็นโรคที่เกิดจากสารพิษ exotoxin ซึ่งสร้างโดยเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes มีอาการเช่น เจ็บคอ มีไข้ ลิ้นสีแดงสดคล้ายลูกสตรอวเบอรรี่ มีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นต้น โรคนี้วินิจฉัยจากการดูผลตรวจทางคลินิก.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและไข้ดำแดง · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือด

กล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) โดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น เกล็ดเลือดไหลเวียนเป็นเซลล์นิวเคลียสเดี่ยวMichelson, Platelets, 2013, p. 3 ในสเมียร์เลือดที่ย้อมแล้ว เกล็ดเลือดปรากฏเป็นจุดสีม่วงเข้ม ประมาณ 20% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง สเมียร์ใช้พิจารณาขนาด รูปทรง จำนวนและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด สัดส่วนของเกล็โเลือดต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่สุขภาพดีอยู่ระหว่าง 1:10 ถึง 1:20 หน้าที่หลักของเกล็ดเลือด คือ การมีส่วนในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการหยุดการตกเลือด ณ จุดที่เนื้อเยื่อบุโพรงฉีกขาด พวกมันจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion) ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation) ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation) การก่อก้อน (clot) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) นี้สัมพันธ์กับการปลุกฤทธิ์การจับลิ่มของเลือดเป็นลำดับ (coagulation cascade) โดยมีผลลัพธ์ทำให้เกิดการพอกพูน (deposition) และการเชื่อมกันของไฟบริน (การห้ามเลือดทุติยภูมิ) กระบวนการเหล่านี้อาจซ้อนทับกันได้ สเปกตรัมมีตั้งแต่มีก้อนเกล็ดเลือดเป็นหลัก หรือ "ลิ่มขาว" ไปจนถึงมีก้อนไฟบรินเป็นหลัก หรือ "ลิ่มแดง" หรือแบบผสมที่ตรงแบบกว่า ผลลัพธ์คือ ก้อน บางคนอาจเพิ่มการหดตัวของก้อนและการยับยั้งเกล็ดเลือดในเวลาต่อมาเป็นขั้นที่สี่และห้าเพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์ และบ้างว่าขั้นที่หกเป็นการซ่อมบาดแผล ภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดจากมีการผลิตเกล็ดเลือดลดลงหรือมีการทำลายมากขึ้น ภาวะเกล็ดเลือดมากอาจเป็นแต่กำเนิด แบบปฏิกิริยา (ต่อไซโทไคน์) หรือเนื่องจากการผลิตที่ไม่มีการควบคุม อาจเป็นโรคเนื้องอกไมอิโลโปรลิเฟอเรตีฟ (myeloprolerative neoplasm) อย่างหนึ่งหรือเนื้องอกของมัยอีลอยด์อื่นบางอย่าง นอกจากนี้ ยังมีภาวะเกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ (thrombocytopathy) เกล็ดเลือดปกติสามารถสนองต่อความปกติบนผนังหลอดเลือดมากกว่าการตกเลือด ทำให้มีการยึดเกาะ/การปลุกฤทธิ์ที่ไม่เหมาะสมและภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดในภาวะที่หลอดเลือดมิได้ฉีกขาด ภาวะนี้มีกลไกแตกต่างจากก้อนปกติ ตัวอย่าง คือ การขยายก้อนไฟบรินจากภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด การขยายของพลาก (plaque) หลอดเลือดแดงที่ไม่เสถียรหรือแตก ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงมีลิ่มเลือด และภาวะหลอดเลือดระบบไหลเวียนขนาดเล็กมีลิ่มเลือด (microcirculatory thrombosis) ลิ่มหลอดเลือดแดงอาจอุดกั้นการไหลของเลือดบางส่วน ทำให้มีการขาดเลือดเฉพาะที่ใต้ต่อจุดอุดตัน หรืออุดกั้นสมบูรณ์ ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อใต้ต่อจุดอุดตัน.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและเกล็ดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตาอักเสบ

เยื่อตาอักเสบ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตาแดง คือการอักเสบของเยื่อตา (เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการคือมีเส้นเลือดฝอยปรากฏชัดเป็นส่วนมากในนัยน์ตา อาจมีการระคายเคืองและตาแฉะร่วมด้วย โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสมักเกิดในช่วง? -โรคตาแดงมักเกิดในช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัสมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ในฤดูฝนจะพบผู้ติดเชื้อโรคตาแดงเป็นจำนวนมาก หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรค.

ใหม่!!: โรคคะวะซะกิและเยื่อตาอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kawasaki diseaseMucocutaneous lymph node syndromeกลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลืองโรคคาวาซากิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »