โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ดัชนี กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

6 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจการอักเสบการติดเชื้อภูมิแพ้ยาโรคไลม์ไวรัส

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิแพ้ยา

ูมิแพ้ยา (drug allergy) เป็นภูมิแพ้ต่อยา จัดเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยาอย่างหนึ่ง ควรพบแพทย์ทันทีหากสงสัยปฏิกิริยาภูมิแพ้ ปฏิกิริยาภูมิแพ้จะไม่เกิดหลังการสัมผัสสารใดสารหนึ่งเป็นครั้งแรก การสัมผัสครั้งแรกจะทำให้ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานและเซลล์ลิมโฟไซต์ความจำ (memory lymphocyte) สำหรับสารก่อภูมิต้านทานนั้น ๆ ทว่า ยามักมีสารหลายอย่างรวมทั้งสี ซึ่งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ ทำให้บางทีเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อการได้รับยาชนิดหนึ่งครั้งแรกได้ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีภูมิแพ้ต่อสีย้อมแดงจะแพ้ต่อยาทุกชนิดที่ประกอบด้วยสีย้อมแดงนั้น ภูมิแพ้ยาต่างจากการไม่ทนต่อยา (drug intolerance) ซึ่งเป็นปฏฺกิริยาอย่างอ่อนและไม่ได้เกิดจากภูมิคุ้มกัน และไม่ขึ้นอยู่กับการสัมผัสก่อนหน้านี้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและภูมิแพ้ยา · ดูเพิ่มเติม »

โรคไลม์

รคไลม์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในจีนัส Borrelia อย่างน้อย 3 ชนิด โดยมี Borrelia burgdorferi sensu stricto เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปอเมริกาเหนือ และ Borrelia afzelii กับ Borrelia garinii เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในทวีปยุโรป โรคนี้ตั้งชื่อตามเมืองไลม์และโอลด์ไลม์ รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคไลม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Inflammatory cardiomyopathyMyocarditisภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »