โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌาน ดาร์ก

ดัชนี ฌาน ดาร์ก

น ดาร์ก (IPA) หรือโจนออฟอาร์ก (ราว 6 มกราคม ค.ศ. 1412 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญโยนออฟอาร์ค เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนาที่เกิดทางตะวันออกของฝรั่งเศสและเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมื่ออายุ 19 ปี ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าฌานเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้ฌานเป็น “มรณสักขี”w:fr:Jeanne d'ArcAndrew Ward (2005) ในปี..

102 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดีพ.ศ. 1950พ.ศ. 1955พ.ศ. 1972พ.ศ. 1973พ.ศ. 1974พ.ศ. 1999พ.ศ. 2463พระเจ้าพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษพิธีราชาภิเษกกฎหมายศาสนจักรกฎหมายแซลิกกลีบขมับการล้อมออร์เลอ็องการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีการจาริกแสวงบุญการปฏิวัติฝรั่งเศสการประกาศเป็นบุญราศีการประกาศเป็นนักบุญการเหมารวมฝรั่งเศสเขตวีชีมกุฎราชกุมารมรณสักขีในศาสนาคริสต์มัมมี่มาร์ก ทเวนมาร์กาเรตแห่งแอนติออกมุขนายกยุทธการที่อาแซ็งกูร์ระบอบนาซีรูอ็องลุก แบซงวอลแตร์วัฒนธรรมตะวันตกวัณโรควิลเลียม เชกสเปียร์วิวรณ์สกอชท์เอิร์ธสมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 3สันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศสสงครามร้อยปีสงครามนโปเลียนสงครามโลกครั้งที่สองสนธิสัญญาอารัส (ค.ศ. 1435)อัครทูตสวรรค์มีคาเอล...อารัสอาสนวิหารแร็งส์อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสอิงกริด เบิร์กแมนอนุรักษนิยมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฌ็อง อานูยจริยธรรมจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ดจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จังหวัดลัวร์จูเซปเป แวร์ดีทรัวดยุกแห่งออร์เลอ็องดัชชีเบอร์กันดีคริสต์ตูร์แนประสบการณ์ผิดธรรมดาประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษปัวตีเยปารีสปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกีนักบุญองค์อุปถัมภ์แบล็กเดทแม่น้ำแซนแร็งส์แวร์ม็องดัวแคว้นลอแรนแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียใบปิดโยลันเดอแห่งอารากอนโรมันคาทอลิกโรคลมชักโรคจิตเภทโรคไมเกรนโอแซร์โจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬไฟรเออร์เชลยศึกเรลิกเวอร์จิลเทววิทยาศาสนาคริสต์เซนต์Chevauchée16 พฤษภาคม17 กรกฎาคม23 พฤษภาคม30 พฤษภาคม6 มกราคม7 กรกฎาคม ขยายดัชนี (52 มากกว่า) »

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี

ฟิลลิปเดอะกูด หรือ ฟิลลิปที่ 3 ดยุคแห่งบูร์กอญ ('''Philippe le Bon'''., Philip the Good หรือ Philip III, Duke of Burgundy) (31 กรกฎาคม ค.ศ. 1396 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1467) ฟิลลิปเดอะกูดเป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นบุตรของจอห์นเดอะเฟียร์เลสส์และมาร์กาเร็ตแห่งบาวาเรีย ฟิลลิปเดอะกูดได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งบูร์กอญตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1950

ทธศักราช 1950 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1950 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1955

ทธศักราช 1955 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1955 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1972

ทธศักราช 1972 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1972 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1973

ทธศักราช 1973 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1973 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1974

ทธศักราช 1974 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1974 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1999

ทธศักราช 1999 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 1999 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2463

ทธศักราช 2463 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1920 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพ.ศ. 2463 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Charles VI of France) (3 ธันวาคม ค.ศ. 1368- 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Bien-Aimé” (ผู้เป็นที่รัก) หรือ “le Fol or le Fou” (ผู้เสียพระสติ) พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเป็นสมาชิกในราชวงศ์วาลัวส์ และเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1380 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเมื่อพระชนมายุได้เพียง 11 พรรษาในปี ค.ศ. 1380 ในพิธีบรมราชาภิเษกที่มหาวิหารแรงส์ ต่อมาอีกห้าปีก็ทรงเสกสมรสกับอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียในปี ค.ศ. 1385 และทรงเริ่มปกครองประเทศด้วยพระองค์เองในปี ค.ศ. 1388 หลังจากการปกครองโดยพระปิตุลาฟิลิปเดอะโบลด์ดยุคแห่งเบอร์กันดี (Philip the Bold) ตั้งแต่ขึ้นครองราชสมบัติ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ทรงเริ่มมีพระอาการเหมือนทรงเสียพระสติเป็นพักๆ มาตั้งแต่อายุ 20 พรรษากว่าๆ จนบางครั้งก็ไม่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการปกครองได้ จากการสันนิษฐานจากพระอาการต่างๆ พระองค์อาจจะมีอาการของผู้เป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Charles VII de France; Charles VII of France) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403- 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Victorieux” (ผู้พิชิต) หรือ “le Bien-Servi” (ผู้ได้รับการสนองพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี) พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการคัดค้านโดยฝ่ายอังกฤษที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษที่นำโดยจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ที่ทำการปกครองฝรั่งเศสแทนพระเจ้าเฮนรีอยู่ในปารีสก็อ้างว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสนธิสัญญาตรัวส์ (Treaty of Troyes) แต่พระเจ้าชาร์ลก็ทรงได้เข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เมืองแรงส์ในปี ค.ศ. 1429 ด้วยความช่วยเหลือของโจนออฟอาร์คในการทำสงครามขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 ในปลายรัชสมัยพระองค์ทรงต้องประสบกับความยุ่งยากจากความขัดแย้งกับพระราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ (Henry V of England) (16 กันยายน ค.ศ. 1387 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1422) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (Henry VI of England) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษก

น ดาร์ก'' (''Jeanne d'Arc'') พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอเครื่องราชกกุธภัณฑ์รายการอื่น โดยพิธีการนี้อาจหมายรวมถึง การตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยกษัตริย์ การแสดงคารวะจากคนในบังคับ ของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่น ซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและพิธีราชาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายแซลิก

ระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงแถลงกฎหมายแซลิก ท่ามกลางแม่ทัพนายกองของพระองค์ กฎหมายแซลิก (Lex Salica; Salic law) หรือ ประชุมกฎหมายอนารยชน (Code of the Barbaric Laws) เป็นกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับชนชาติแฟรงค์แซเลียน (Salian Franks) เมื่อต้นยุคกลางระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าโคลวิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยสันนิษฐานกันว่ากฎหมายแซลิกรวบรวมขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 507 ถึงปี ค.ศ. 511.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและกฎหมายแซลิก · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมออร์เลอ็อง

การล้อมออร์เลอ็อง (Siege of Orléans) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปี ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1428 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1429 ที่เมืองออร์เลอ็องในฝรั่งเศส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยจอห์น แทลบอต เอิร์ลแห่งชรูส์บรีที่ 1, ทอมัส มอนทาคิวต์ เอิร์ลแห่งซอลส์บรีที่ 4 และวิลเลียม เดอ ลา โพล ดยุคแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 และฝ่ายราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ที่นำโดยฌ็อง เดอ ดูนัว (Jean de Dunois), ฌีล เดอ แร (Gilles de Rais), โจนออฟอาร์ก และฌ็อง เดอ บร็อส (Jean de Brosse) ผลของการล้อมเมืองครั้งนี้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหาย ฝ่ายอังกฤษมีผู้เสียชีวิต 4,000 คน ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิตกว่า 2000 คน ชัยชนะของฝรั่งเศสในการรักษาเมืองออร์เลอ็องเป็นจุดของความเปลี่ยนแปลงของสงครามร้อยปี และเป็นสงครามใหญ่สงครามแรกที่โจนออฟอาร์กมีบทบาท ชัยชนะทางการทหารครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายฝรั่งเศสหลังจากที่พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างยับเยินในยุทธการอาแฌ็งกูร์ (Battle of Agincourt) ในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการล้อมออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating, มักเรียกสั้นๆว่า การหาอายุคาร์บอน) เป็นวิธีการหาอายุจากธาตุกัมมันตรังสี (radiometric dating) รูปแบบหนึ่งโดยการใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติของ คาร์บอน-14 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสี เพื่อประมาณการอายุของวัสดุคาร์บอน-แบริ่ง ได้ถึงประมาณ 58,000 ถึง 62,000 ปี แบบหยาบ หรือ ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัด การหาอายุคาร์บอนมักนำมาใช้บ่งบอกอายุของคาร์บอนระหว่าง "ช่วงก่อนปัจจุบัน(BP)" กับ "ช่วงปัจจุบัน" ตามที่กำหนดไว้คือปีคริสต์ศักราช 1950 ซึ่งเป็นอายุที่สามารถบ่งชี้ได้เพื่อเทียบกับวันตามปฏิทิน หนึ่งในสิ่งที่ใช้การคำนวณหาอายุของคาร์บอนมากที่สุดคือ การประมาณการอายุของซากสารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ในขณะที่พืชเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์() ในชั้นบรรยากาศ ด้วยการแยกอินทรียวัตถุตามขั้นตอนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเพิ่มปริมาณของ ให้ใกล้เคียงกับระดับของไอโซโทปคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เมื่อพืชตายหรือถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตอื่น(ตัวอย่าง โดยมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ) การสะสมของส่วนประกอบ หยุดตัวลง และวัตถุลดลงตามอัตราเลขชี้กำลังเนื่องจากการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีของ จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนคงเหลือของ ของวัตถุตัวอย่างเมื่อเปรียบเทียบจาก ในชั้นบรรยากาศ ช่วยให้สามารถประเมินอายุของวัตถุตัวอย่างได้ เทคนิคการหาอายุของคาร์บอนนี้ได้รับการพัฒนาโดยWillard Libby และเพื่อนร่วมสถาบันศึกษาของเขาที่มหาวิทยาลัยชิคคาโก้ในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นบุญราศี

็ดบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน เป็นคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้รับการประกาศเป็นบุญราศี การประกาศเป็นบุญราศี (Beatification) คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้ กระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สี่ของการประกาศเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการประกาศเป็นบุญราศี · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและการเหมารวม · ดูเพิ่มเติม »

ฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝรั่งเศสเขตวีชี (La France de Vichy; Vichy France) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 - เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 และเป็นรัฐบาลที่สืบทอดต่อมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐฝรั่งเศส (L'État Français; French State).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและฝรั่งเศสเขตวีชี · ดูเพิ่มเติม »

มกุฎราชกุมาร

มกุฎราชกุมาร (Crown Prince) หรือ มกุฎราชกุมารี (Crown Princess) เป็นพระอิสริยยศของรัชทายาทในบางประเทศ มกุฎราชกุมารจะดำรงพระอิสริยยศนี้ไปจนกว่าพระมหากษัตริย์ จะสวรรคตหรือสละราชสมบัติ ปัจจุบันประเทศที่เรียกรัชทายาทว่ามกุฎราชกุมารมีประเทศไทยและประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สำหรับมกุฎราชกุมารประเทศต่าง ๆ มีดังนี้.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมกุฎราชกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มัมมี่

มัมมี่ มัมมี่ (Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวล.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมัมมี่ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ทเวน

ซามูเอล แลงฮอร์น คลีเมนส์ มาร์ก ทเวน (1909) มาร์ก ทเวน (Mark Twain) เป็นนามปากกาของ ซามูเอล แลงฮอร์น คลีเมนส์ (Samuel Langhorne Clemens; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 - 21 เมษายน ค.ศ. 1910) เป็นนักเขียน นักบรรยาย และนักเขียนเรื่องขบขันชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และยังเป็นคนขับเรือกลไอน้ำ นักขุดทอง และนักหนังสือพิมพ์อีกด้วย ในช่วงสูงสุดของชีวิตเขานั้น เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ (William Faulkner) ได้เขียนเกี่ยวกับ มาร์ก ทเวน ไว้ว่า เป็น "นักเขียนอเมริกันแท้ ๆ คนแรก และพวกเรานับแต่นั้นมาเป็นทายาทของเขา" ผลงานของเขาที่น่าจะเป็นที่คุ้นตาของคนไทย ก็คือ ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย (The Adventures of Tom Sawyer) และ ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย (The Adventures of Huckleberry Finn).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมาร์ก ทเวน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรตแห่งแอนติออก

นักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออก (Margaret of Antioch) หรือนักบุญมาร์กาเรตพรหมจารี (Margaret the Virgina) เป็นนักบุญ พรหมจารี และมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมาร์กาเรตแห่งแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อาแซ็งกูร์

ทธการอาแฌงคูร์ต (Battle of Agincourt) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปีที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415 ที่เมืองอาแฌงคูร์ตทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายอังกฤษที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และฝ่ายฝรั่งเศสที่นำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองกำลังที่เหนือกว่ามากของฝรั่งเศส ชัยชนะของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีเป็นการเริ่มสมัยของสงครามใหม่ เมื่อพระเจ้าเฮนรีทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสหลังจากที่ผลของการเจรจาในการสละสิทธิราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนไม่ประสบผลสำเร็จ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถนำกองทัพด้วยพระองค์เองได้เนื่องจากการประชวร ทางฝ่ายฝรั่งเศสจึงนำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ผู้เป็นข้าหลวงแห่งฝรั่งเศส (Constable of France) และขุนนางกลุ่มอาร์มันญัค (Armagnac party) สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสงครามครั้งนี้ในด้านความก้าวหน้าทางอาวุธที่ทำให้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะคือการใช้ธนูแบบที่เรียกว่า ธนูยาวอังกฤษ ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของกองทัพของสมเด็จพระเจ้าเฮนรี.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและยุทธการที่อาแซ็งกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รูอ็อง

รูอ็อง (Rouen) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน เป็นอดีตเมืองหลวงของนอร์ม็องดีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของแคว้นโอต-นอร์ม็องดี (นอร์ม็องดีบน) เดิมรูอ็องเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดของยุคกลาง ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานที่รับผิดชอบในการเก็บภาษีของนอร์มองดีในยุคกลาง และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์แองโกล-นอร์มันที่ปกครองทั้งอังกฤษและบริเวณส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15 รูอ็องเป็นเมืองที่โจนออฟอาร์กถูกเผาทั้งเป็นในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและรูอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ลุก แบซง

ลุก แบซง (Luc Besson) เกิดเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2502 เป็นทั้งผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและลุก แบซง · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมตะวันตก

วัฒนธรรมตะวันตก หรือคำอื่นที่ใช้แทนกันได้เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก, อารยธรรมตะวันตก, อารยธรรมยุโรป, วัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ เป็นศัพท์ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมถึงมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม คุณธรรม ประเพณี ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาการที่ได้รับจากโลกตะวันตก คำว่า "ตะวันตก" หมายถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวยุโรปด้วย อาทิกลุ่มประเทศในทวีปอเมริการวมไปถึงออสตราเลเซีย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมาจากทวีปยุโรปเท่านั้น หมวดหมู่:Classical studies หมวดหมู่:มานุษยวิทยาวัฒนธรรม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สังคมวิทยา.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและวัฒนธรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวรณ์

อห์นแห่งปัทมอสกำลังเขียนหนังสือวิวรณ์ตามที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า ภาพวาดโดยเฮียโรนิมัส บอส ในศาสนาแบบเทวนิยมและเทววิทยา วิวรณ์ (revelation) หมายถึง การที่สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยความจริงหรือความรู้สำคัญบางประการแก่มนุษย์ หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า "ศรุติ" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ในศาสนาอับราฮัม วิวรณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงและพระญาณสอดส่องของพระเจ้าต่อมนุษย์ ในพันธสัญญาใหม่มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "หนังสือวิวรณ์" เป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงวันสิ้นโลกและการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สกอชท์เอิร์ธ

ระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย กองเรือบินสหรัฐบินเหนือทุ่งบ่อน้ำมันในคูเวตเพื่อจุดไฟเผาบ่อน้ำมันระหว่างทางที่ทหารอิรักที่ถอยทัพใน ค.ศ. 1991 Scorched earth เป็นนโยบายทางการทหารหรือยุทธวิธีในการสงครามเพื่อทำลายทุกสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์แก่ข้าศึกระหว่างที่ข้าศึกกำลังเดินทัพหรือถอยทัพจากบริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะ ความหมายแต่เดิมแล้วหมายถึงการเผาพืชพันธุ์ทางการเกษตรเพื่อตัดแหล่งผลิตอาหารซึ่งคล้ายกับวิธี "Chevauchée" ที่ใช้กันในสมัยกลาง แต่ในสมัยปัจจุบันไม่จำกัดแต่เพียงการทำลายแหล่งผลิตอาหารเท่านั้น แต่รวมทั้งการทำลายที่หลบภัย การคมนาคม การสื่อสารและแหล่งอุตสาหกรรมด้วย วิธีนี้อาจจะทำโดยกองทัพที่อยู่ในดินแดนของข้าศึกหรือจากดินแดนของตนเอง Scorched earth มักจะใช้สับสนกับ “ถางแล้วเผา” (slash and burn) ซึ่งไม่ใช่ยุทธวิธีทางการทหารแต่เป็นวิธีทางการเกษตรกรรม เป็นคำที่มีความหมายคาบเกี่ยว แต่ไม่ใช่วิธีเดียวกันกับการทำลายทรัพยากรของข้าศึก ซึ่งเป็นการทำลายอย่างเจาะจงด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์การเมืองที่ไม่ใช่การทำลายด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการทางทหาร.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสกอชท์เอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 (Callixtus III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1455 ถึง ค.ศ. 1458 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1921 คาลิกซ์ตุสที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นบาเลนเซีย.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสมเด็จพระสันตะปาปากัลลิสตุสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส

วนแห่ของสันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศสในปารีสในปี ค.ศ. 1590 สันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส (French Catholic League หรือ Holy League) เป็นขบวนการที่มีบทบาทสำคัญในสงครามศาสนาของฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นโดยอองรีที่ 1 ดยุคแห่งกีสในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสันนิบาตคาทอลิกฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามร้อยปี

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสงครามร้อยปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาอารัส (ค.ศ. 1435)

นธิสัญญาอารัส หรือ การประชุมใหญ่แห่งอารัส (Congress of Arras หรือ Congress of Arras) เป็นการประชุมทางการทูตที่เกิดขึ้นที่อารัสในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบันในปี ค.ศ. 1435 ระหว่างผู้แทนจากอังกฤษ, ฝรั่งเศส และ เบอร์กันดี การประชุมเกิดขึ้นในตอนปลายของสงครามร้อยปี ทั้งการประชุมและสนธิสัญญาสะท้อนความล้มเหลวของฝ่ายอังกฤษ แต่เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและสนธิสัญญาอารัส (ค.ศ. 1435) · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อัครทูตสวรรค์มีคาเอลพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์, หน้า 2428 (Αρχάγγελος Μιχαήλ) หรือ มีคาเอลหัวหน้าทูตสวรรค์ (Michael the archangel) เป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพของพระเป็นเจ้า ในหนังสือดาเนียล จดหมายของนักบุญยูดา และหนังสือวิวรณ์กล่าวว่าท่านเป็นผู้นำกองทัพพระเจ้าต่อสู้กับทัพของซาตานตอนที่ซาตานก่อกบฏ หนังสือดาเนียลระบุว่ามีคาเอลเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้า ซึ่งปรากฏในนิมิตของดาเนียลผู้เผยพระวจนะว่าได้เข้าไปช่วยกาเบรียลต่อสู้กับทูตสวรรค์ผู้พิทักษ์จักรวรรดิเปอร์เซียที่มีนามว่าโดเบียล นอกจากนี้คัมภีร์ยังระบุว่าท่านเป็นองค์อุปถัมภ์วงศ์วานอิสราเอลและเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้าผู้ปกป้องลูกหลานประชาชนของดาเนียล ในภาษาฮีบรู คำว่า มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า ชาวโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน เรียกท่านว่า”นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์” หรือเรียกง่าย ๆ ว่านักบุญมีคาเอล ชาวออร์ทอดอกซ์เรียกท่านว่า “ทักสิอาร์คอัครทูตสวรรค์มีคาเอล” หรืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล กลุ่มพยานพระยะโฮวา เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์ และนิกายใหม่ ๆ บางนิกายในคริสต์ศาสนามองว่ามีคาเอลคือ “พระคริสต์มีคาเอล” ซึ่งหมายถึงพระคริสต์ในสภาพก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายสอนว่ามีคาเอลที่จริงก็คืออาดัมตามหนังสือปฐมกาลนั่นเองที่ไปเกิดบนสวรรค์ และว่ามีคาเอลคือผู้ช่วยพระเยโฮวาห์ (ซึ่งอ้างว่าคือพระเยซูตอนอยู่บนสวรรค์) สร้างโลกตามการชี้นำของพระเจ้.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอัครทูตสวรรค์มีคาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อารัส

อารัส (Arras) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดปาดกาแลในแคว้นนอร์-ปาดกาแลในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เดิมเป็นศูนย์กลางของบริเวณอาร์ตัว การออกเสียงชื่อเมืองจะออกเสียงอักษร "s" ซึ่งต่างจากการไม่ออกเสียง "s" ในคำฝรั่งเศสส่วนใหญ่ อารัสเป็นที่ตั้งของกาเตดราลนอเทรอดาเมแซ็งวัสต์ดารัส (Cathédrale Notre-Dame-et-Saint-Vaast d'Arras) ที่เดิมเป็นแอบบี.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอารัส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแร็งส์

อาสนวิหารแร็งส์ (Cathédrale de Reims) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งแร็งส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นอาสนวิหารสำคัญของเมืองแร็งส์ จังหวัดมาร์น ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนฐานของวิหารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ไปเมื่อ..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอาสนวิหารแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส หรือ อิซาโบแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Isabeau of Bavaria หรือ Isabeau de Bavière หรือ Isabella of Bavaria-Ingolstadt) (ราว ค.ศ. 1370 - 24 กันยายน ค.ศ. 1435) อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียประสูติราว ค.ศ. 1370 ทรงเป็นบุตรีของสตีเฟนที่ 3 ดยุคแห่งบาวาเรีย และทัดดิอา (Taddea Visconti) ผู้มาจากตระกูลขุนนางวิสคอนติผู้ครองมิลาน อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส หลังจากที่เสกสมรสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1385 แล้วพระองค์ก็ทรงมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในปลายรัชสมัยอันมีวิกฤตการณ์ของพระสวามี อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระมารดาของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีอังกฤษสองพระองค์ -- พระราชินีอิสซาเบลลาในพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และพระราชินีแคทเธอรินในพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

อิงกริด เบิร์กแมน

(29 สิงหาคม ค.ศ. 1915 - 29 สิงหาคม ค.ศ. 1982) เป็นนักแสดงหญิงชาวสวีเดน เจ้าของรางวัลออสการ์ 3 รางวัล รางวัลเอมมี 2 รางวัล รางวัลโทนี่ 1 รางวัล และยังได้รับการจัดอันดับเป็นนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม อันดับที่ 4 ในรอบ 100 ปี โดยสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน (AFI) อิงกริด เกิดที่สต็อกโฮล์ม สวีเดน จากยุสตัส ซามูเอล เบิร์กแมน บิดาชาวสวีเดน และฟรีเดล แอดเลอร์ เบิร์กแมน มารดาชาวเยอรมัน อิงกริดถูกตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน เธอกำพร้ามารดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และกำพร้าบิดาเมื่ออายุ 13 ปี และต้องย้ายไปอยู่กับป้า ซึ่งเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน เธอจึงต้องไปอาศัยกับลุงและป้าอีกคนหนึ่ง อิงกริด เบิร์กแมน เริ่มเข้าสู่วงการเมื่ออายุ 17 ปี โดยเริ่มจากการแสดงละครเวที และรับบทตัวประกอบในภาพยนตร์ ต่อมาเธอได้เซ็นสัญญากับ David O. Selznick ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งชักนำให้เธอมาแสดงภาพยนตร์ฮอลลีวูด ในปี ค.ศ. 1938 อิงกริด เบิร์กแมน แสดงภาพยนตร์อยู่ 3 เรื่อง ประสบความสำเร็จพอสมควร ก่อนจะได้มาร่วมงานกับฮัมฟรีย์ โบการ์ต ในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เรื่อง คาซาบลังกา ในปี ค.ศ. 1942 ปีถัดมาเธอแสดงภาพยนตร์เรื่อง For Whom the Bell Tolls (1943) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งแรก และเธอก็คว้ารางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก Gaslight (1944) ได้ในปีต่อมา อิงกริด เบิร์กแมน ได้แสดงภาพยนตร์ของอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก จำนวน 3 เรื่องคือ Spellbound (1945), Notorious (1946), และ Under Capricorn (1949) และได้ร่วมงานกับแครี แกรนท์ ผู้ซึ่งกลายเป็นเพื่อนสนิทกันมาอีกหลายปี รวมถึงเป็นผู้ขึ้นไปรับรางวัลออสการ์ รางวัลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1956 จากเรื่อง อนาสตาเซีย แทนเธอ ซึ่งไม่ได้ไปร่วมงานในปีนั้น ในปี ค.ศ. 1949 อิงกริด ได้ร่วมงานกับ โรแบร์โต รอสเซลลินี ผู้กำกับชาวอิตาลี ในภาพยนตร์เรื่อง Stromboli จนเกิดความรักและตั้งท้องบุตรชายนอกสมรส จนกลายเป็นข่าวอื้อฉาวในสหรัฐอเมริกา เธอแต่งงานกับรอสเซลลินีในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอิงกริด เบิร์กแมน · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (regent) เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือทรงพระประชวร หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศ หรือทรงบริหารพระราชกิจไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งนี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ยังมีขึ้นได้ในกรณีที่ระบอบพระมหากษัตริย์ยังมิได้มีพระมหากษัตริย์ที่เหมาะสม เช่น เมื่อประเทศฟินแลนด์ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียแล้วมีการสถาปนาราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น แต่ยังไม่มีเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศพระองค์ใดเหมาะสม จึงให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทำหน้าที่ไปพลางก่อน จนรัฐสภาฟินแลนด์เลือกเจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์ แห่งแคว้นเฮสส์จากจักรวรรดิเยอรมันขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฟินแลนด์ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง อานูย

็อง มารี ลูว์เซียง ปีแยร์ อานูย (Jean Marie Lucien Pierre Anouilh) เป็นนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1910 ที่เมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขาชื่อ ฟร็องซัว อานูย (François Anouilh) เป็นช่างตัดเสื้อ แม่ของเขาชื่อ มารี–มากเดอแลน ซูลูว์ (Marie–Magdeleine Soulue) เป็นนักไวโอลิน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและฌ็อง อานูย · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์

อร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw; 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1856 - 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1950) เป็นนักเขียนบทละครชาวไอริช เกิดที่เมืองดับลิน ย้ายมาอยู่กรุงลอนดอนเมื่ออายุได้ 20 ปี และพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษจนตลอดชีวิต เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการประพันธ์เพลงและเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรม ต่อมาจึงหันมาเขียนบทละคร และมีความชำนาญในการประพันธ์บทละครแนวชีวิต ชอว์มีผลงานบทละครมากกว่า 60 เรื่อง ส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่สะท้อนถึงปัญหาสังคม เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด

อห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 หรือ จอห์น แพลนทาเจเน็ท (John of Lancaster, 1st Duke of Bedford หรือ John Plantagenet) (20 มิถุนายน ค.ศ. 1389 - 14 กันยายน ค.ศ. 1435) จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษโดยแมรีแห่งโบฮุนพระชายาองค์แรก ต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในฝรั่งเศสให้แก่หลานสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษผู้เป็นพระราชโอรสของพระเชษฐาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ จอห์นรับราชการเป็นข้าหลวงแห่งนอร์ม็องดีระหว่างปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลัวร์

ลัวร์ (Loire; อาร์ปิตัน: Lêre; Léger) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดลัวร์ตั้งตามชื่อแม่น้ำลัวร์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของประเทศ โดยมีแซ็งเตเตียนเป็นเมืองหลัก.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจังหวัดลัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและจูเซปเป แวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ทรัว

ทรัว (Troyes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอบในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองทรัวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน ราว 150 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของปารีส ผู้อาศัยอยู่ในเมืองทรัวเรียกว่า "Troyens" หรือ "Troyennes".

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและทรัว · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งออร์เลอ็อง

ตราอาร์มของราชวงศ์ออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (Duc d'Orléans, Duke of Orléans) เป็นตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งหนึ่งในบรรดาตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลของฝรั่งเศสที่เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เรียกกันว่าเป็นตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” ตำแหน่งดยุคแห่งออร์เลอองส์เป็นตำแหน่งเฉพาะสำหรับเจ้าชายผู้มีเชื้อสายใกล้ที่สุดกับพระบรมวงศานุวงศ์ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นสายรองจากสายที่เป็นประมุขของราชอาณาจักรเป็นรองก็แต่เพียงผู้เป็นทายาทโดยตรงเท่านั้น ระหว่างสมัยอองเซียง เรฌีมผู้ถือตำแหน่งนี้มักจะมีบทบาททางการเมือง ผู้ได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสจากราชวงศ์ออร์เลอองส์องค์แรกคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้เป็นดยุคแห่งออร์เลอองส์องค์ที่ 5 มีส่วนในการทำลายการปกครองยุคโบราณ ในฐานะหัวหน้าฝ่าย “ออร์เลอองนิสต์” (Orleanist) ที่พาเลส์รอยาลหลุยส์ ฟิลิปป์ท้าทายอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องที่ประทับอยู่ในลูฟร์ แต่ผู้ที่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสก็คือพระโอรสของหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ขึ้นครองราชย์ในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและดยุกแห่งออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเบอร์กันดี

ัชชีเบอร์กันดี (Duchy of Burgundy) เป็นอาณาเขตการปกครองยุคศักดินาในฝรั่งเศสในสมัยกลาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสปัจจุบันที่ใกล้เคียงกับบริเวณบูร์กอญในปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่เป็นอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและดัชชีเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและประสบการณ์ผิดธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปัวตีเย

ปัวตีเย (Poitiers) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในจังหวัดเวียนของแคว้นปัวตู-ชาร็องต์ ใจกลางเมืองเป็นเมืองที่น่าดูที่ยังคงมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะจากสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ ปัวตีเยมีบทบาทสำคัญในประวัติของยุคกลางตอนปล.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและปัวตีเย · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี

ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Пётр Ильи́ч Чайко́вский; Pyotr Ilyich Tchaikovsky) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมืองโวทคินสค์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้ว.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญองค์อุปถัมภ์

นักบุญโยเซฟ องค์อุปถัมภ์คริสตจักรสากล นักบุญองค์อุปถัมภ์ (patron saint) คือนักบุญบนสวรรค์ ซึ่งบางคริสตจักร เช่น อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก หรือออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ นับถือว่าเป็นผู้ที่ได้ใกล้ชิดพระยาห์เวห์และสามารถอ้อนวอนขอพรจากพระองค์เพื่อพระหรรษทานในสิ่งต่าง ๆ แก่คริสต์ศาสนิกชนบนโลก เช่น สถานที่ อาชีพ กลุ่มบุคคล เป็นต้น นักบุญต่าง ๆ มักได้รับยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ในดินแดนที่ท่านเกิดหรือปฏิบัติศาสนกิจ ในบางกรณีสถานที่นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับนักบุญขณะยังมีชีวิต แต่ได้เป็นที่ฝังศพหลังจากมรณกรรมก็ถือว่านักบุญนั้นเป็นองค์อุปถัมภ์เมืองนั้น ในลาตินอเมริกามีหลายเมืองตั้งชื่อตามนักบุญ โดยถือว่านักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนมาถึงเมืองตรงกับวันฉลองนักบุญใด ผู้ค้นพบก็จะตั้งชื่อเมืองตามชื่อนักบุญนั้น ทำให้นักบุญนั้นได้กลายเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์เมืองในเวลาต่อมา นักบุญองค์อุปถัมภ์วิชาชีพมาจากอาชีพที่นักบุญนั้นเคยทำขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเคยแสดงการอัศจรรย์ซึ่งเทียบเทียมได้กับอาชีพนั้น ๆ เช่น นักบุญเวโรนีกาผู้ถวายผ้าคลุมผมของตนให้พระเยซูใช้ซับพระพักตร์ระหว่างเดินทางไปตรึงกางเขน แล้วเกิดปาฏิหาริย์รอยพระพักตร์ปรากฏติดบนผ้าผืนนั้น คริสตจักรจึงยกย่องนักบุญเวโรนีกาเป็นองค์อุปถัมภ์การถ่ายภาพ นิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น เพรสไบทีเรียน ไม่ยอมรับการนับถือหรือให้ความสำคัญกับนักบุญ เพราะถือว่าเข้าข่ายการบูชาเทวรูป.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและนักบุญองค์อุปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแบล็กเดท · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแซน

แม่น้ำแซน (Seine) เป็นแม่น้ำสายหลักทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงปารีสอีกด้วย ซแซน หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแม่น้ำแซน · ดูเพิ่มเติม »

แร็งส์

แร็งส์ (Reims) เป็นเมืองในจังหวัดมาร์นในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองแร็งส์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ราว 129 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของปารีส แร็งส์ก่อตั้งขึ้นโดยกอลและกลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาแร็งส์ก็มามีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแร็ง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

แวร์ม็องดัว

150px อาณาจักรเคานท์แห่งแวรมองดัวส์ (County of Vermandois) เป็นอาณาจักรเคานท์ของฝรั่งเศสที่ปรากฏในสมัยเมโรวิเกียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาจักรก่อตั้งอยู่ในบริเวณแซงต์เควนแตง (St Quentin, Aisne) และเปรอนน์ (Peronne, Somme) โดยมีเปแปงที่ 1 เคานท์แห่งแวรมองดัวส์เป็นเคานท์คนแรกผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาร์เลอมาญ.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแวร์ม็องดัว · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นลอแรน

ลอแรน (Lorraine) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแคว้นลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย (ภาษาอังกฤษ: St. Catherine of Alexandria หรือ St. Catherine of the Wheel หรือ The Great Martyr Saint Catherine; ภาษากรีก: ἡ Ἁγία Αἰκατερίνη ἡ Μεγαλομάρτυς) เป็นนักบุญเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ถือกันว่านักบุญแคเธอรินเป็นมรณสักขีคนสำคัญ และทางศาสนจักรโรมันคาทอลิกนับนักบุญแคเธอรินเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ นักบุญแคเธอรินเป็นนักบุญองค์หนึ่งที่มาปรากฏตัวต่อนักบุญโยนออฟอาร.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ใบปิด

ใบปิด หรือ โปสเตอร์ (poster) คือภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง ใบปิดอาจจะเป็นภาพพิมพ์และภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้เตะตาผู้ดูและสื่อสารข้อมูล ใบปิดอาจจะใช้สอยได้หลายประการแต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์; การโฆษณาชวนเชื่อ; หรือในการสื่อสารของผู้ประท้วงที่ต้องการสื่อสารความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่ ประโยชน์ของใบปิดอาจมีหลายจุดประสงค์ โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นงานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์ และในบางครั้งก็ผลิตมาเพื่อใช้ในการศึกษา หรือเป็นสื่อการสอนต่างๆ นอกจากนั้นใบปิดก็ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญๆหรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์และบริษัทการค้าหรือร้านทางอินเทอร์เน็ต เช่นภาพเขียนของโคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกันโรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe) งานศิลปะการสร้างใบปิดเริ่มเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1890 โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสและเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ศิลปินคนสำคัญที่สุดที่ริเริ่มความนิยมในการสร้างใบปิดก็คืออองรี เดอ ทูลูส-โลเทรค และ จูลส์ เชเรท์ (Jules Chéret) เชเรท์ถือกันว่าเป็นบิดาแห่งการโฆษณาด้วยป้าย คนส่วนใหญ่ที่สะสมใบปิด และใบปิดที่มีชื่อเสียง นักสะสมใบปิดจะเก็บใบปิดเก่าโดยมักจะใส่กรอบรูปและมีแผ่นรองหลังด้วย โดยขนาดใบปิดที่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปอยู่ที่ 24x36 นิ้ว แต่ใบปิดก็มีหลายขนาดหลากหลาย และใบปิดขนาดเล็กที่ไว้โฆษณาจะเรียกว่า แฮนด์บิลล์ หรือ “ใบปลิว” (flyer).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและใบปิด · ดูเพิ่มเติม »

โยลันเดอแห่งอารากอน

ลันเดอแห่งอารากอน (Yolande of Aragon หรือ Jolantha de Aragon หรือ Violant d'Aragó) (11 สิงหาคม ค.ศ. 1384 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1442) โยลันเดอแห่งอารากอนเป็นเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งอารากอนและโยลันเดอแห่งบาร์ โยลันเดอแห่งอารากอนมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิอองชู, ฝรั่งเศส และ อารากอน ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยลันเดออ้างสิทธิในราชบัลลังก์อารากอนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเชษฐภคินีโจน เคานเทสแห่งฟัวซ์พระมเหสีในพระปิตุลาพระเจ้ามาร์ตินที่ 1 แห่งอารากอน แต่บัลลังก์ตกไปเป็นของพระปิตุลาซึ่งอาจจะเป็นเพราะกฎการสืบราชบัลลังก์อาจจะลำเอียงไปทางการมอบสิทธิแก่ทายาทที่เป็นชายก็เป็นได้ แต่พระเจ้ามาร์ตินก็มาสิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาทในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโยลันเดอแห่งอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโรคลมชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคไมเกรน

รคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว (migraine) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง ตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) และกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 72 ชั่วโมง อาการที่สัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งในสามมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึก ภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย เชื่อว่า ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของประสาทควบคุมหลอดเลือด ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ที่เพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในก้านสมอง เริ่มต้น การรักษาแนะนำ คือ ยาระงับปวดธรรมดา เช่น ไอบูโปรเฟนและพาราเซตามอล (หรืออะเซตามิโนเฟน) สำหรับปวดศีรษะ ยาแก้อาเจียนสำหรับคลื่นไส้ และการเลี่ยงตัวกระตุ้น อาจใช้สารเฉพาะเช่น ทริพแทนหรือเออร์โกทามีนในผู้ที่ยาระงับปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล 15% ของประชากรทั่วโลกเคยเป็นไมเกรนครั้งหนึ่งในชีวิต.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโรคไมเกรน · ดูเพิ่มเติม »

โอแซร์

อแซร์ (Auxerre) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี สถานที่ที่น่าสนใจของโอแซร์ก็ได้แก่ตัวเมืองเก่าและมหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งโอแซร์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโอแซร์ · ดูเพิ่มเติม »

โจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ

น ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ (The Messenger: The Story of Joan of Arc, Jeanne d'Arc) ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สงครามสัญชาติฝรั่งเศส นำแสดงโดย มิลา โยโววิช, จอห์น มัลโควิช, เฟย์ ดันนาเวย์, แว็งซอง กาสแซล, เตกี การ์โย และ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน กำกับการแสดงโดย ลุค เบซอง.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและโจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชลยศึก

ลยศึก (prisoner of war) หมายถึง บุคคลที่อยู่ในการคุมขังของฝ่ายข้าศึกระหว่างหรือหลังการขัดกันด้วยอาวุธทันที ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพลรบหรือผู้ที่มิใช่พลรบก็ตาม วลีดังกล่าวมีบันทึกว่าใช้ครั้งแรกประมาณ..

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและเชลยศึก · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยาศาสนาคริสต์

ทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสต์เทววิทยา หรือศาสนศาสตร์ คือเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ใช้เหตุผลทางการวิจัยและการถกเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทดสอบ วิจารณ์ประเด็น ป้องกันและเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อศาสนาคริสต์ เพื่อเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับประเพณีหรือความเชื่อถืออื่น ๆ และเพื่อป้องกัน กล่าวโต้ต่อนักวิจารณ์ ช่วยในการปฏิรูปศาสนา มีความเข้าใจในคริสต์ศาสนาพอที่จะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นมาทำความเข้าใจในสถานะการณ์ปัจจุบันตามความจำเป็น, เทววิทยาศาสนาคริสต์เผยแพร่เข้ามาในวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมยุโรปก่อนสมัยใหม่ ความเกี่ยวพันกันระหว่างปรัชญาสองอย่างนี้ทำให้ผู้ต้องการทำความความเข้าใจในเทววิทยาศาสนาคริสต์จำเป็นต้องเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและเทววิทยาศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

Chevauchée

Chevauchée (ภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า “promenade” หรือ “horse charge” ขึ้นอยู่กับบริบท) เป็นยุทธวิธีที่ใช้ในการสงครามยุคกลางเพื่อทำให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงโดยการก่อความไม่สงบต่างๆ เช่นการปล้นสดมในอาณาบริเวณของศัตรู หรือการเผาเพื่อที่จะบ่อนทำลายผลผลิตในบริเวณที่ก่อกวนซึ่งตรงกันข้ามการใช้วิธีล้อมหรือการต่อสู้ในการเอาชนะเป็นการเด็ดขาด "Chevauchée" อาจจะเป็นวิธีที่เป็นการกดดันให้ฝ่ายศัตรูให้ออกมาต่อสู้ หรือเป็นวิธีข่มอำนาจของรัฐบาลฝ่ายศัตรู ที่ทำให้ผู้อยู่ในอารักขาหมดความเชื่อมั่นและความจงรักภักดีต่อรัฐบาล การใช้วิธีนี้มักจะทำให้เกิดการอพยพใหญ่ๆ เข้าไปอยู่ในเมืองที่มีกำแพงป้องกันหรือในปราสาทที่วิธี “Chevauchée” ไม่มีผล.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและChevauchée · ดูเพิ่มเติม »

16 พฤษภาคม

วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 136 ของปี (วันที่ 137 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 229 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ16 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 กรกฎาคม

วันที่ 17 กรกฎาคม เป็นวันที่ 198 ของปี (วันที่ 199 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 167 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ17 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤษภาคม

วันที่ 23 พฤษภาคม เป็นวันที่ 143 ของปี (วันที่ 144 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 222 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ23 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 พฤษภาคม

วันที่ 30 พฤษภาคม เป็นวันที่ 150 ของปี (วันที่ 151 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 215 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ30 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 มกราคม

วันที่ 6 มกราคม เป็นวันที่ 6 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 359 วันในปีนั้น (360 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ6 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

7 กรกฎาคม

วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันที่ 188 ของปี (วันที่ 189 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 177 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฌาน ดาร์กและ7 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jeanne d'ArcJoan of Arcนักบุญโจนออฟอาร์คโยนออฟอาร์กโยนออฟอาร์คโยนน์ออฟอาร์คโจน ออฟ อาร์กโจน ออฟ อาร์คโจนส์ ออฟ อาร์กโจนออฟอาร์คโจนน์ออฟอาร์ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »