โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มุขนายก

ดัชนี มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

65 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสบาทหลวงพ.ศ. 2553พระสันตะปาปาพระคาร์ดินัลพระเยซูกฎหมายศาสนจักรกรมการศาสนาการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลภาคคริสตจักรมิชชันนารีมุขมณฑลมุขนายกมุขนายกกิตติคุณมุขนายกมหานครมุขนายกรองมุขนายกผู้ช่วยมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขนายกเกียรตินามมีชัย กิจบุญชูวีระ อาภรณ์รัตน์ศาสนาจารย์ศาสนาคริสต์ยุคแรกศีลศักดิ์สิทธิ์ศีลอนุกรมสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12สารานุกรมบริตานิกาสำนักงานราชบัณฑิตยสภาออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อัครบิดรอัครมุขนายกอัครทูตอุปมุขนายกอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ดีกันคริสตจักรคริสต์ศาสนิกชนคณะนักบวชคาทอลิกปริมุขมณฑลนักบวชนิกายลูเทอแรนแองกลิคันโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกโรมันคาทอลิกในประเทศไทยโปรเตสแตนต์โปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช...เอกอัครสมณทูตเขตมิสซังกรุงเทพฯเขตมิสซังราชบุรีเขตมิสซังสุราษฎร์ธานีเขตมิสซังอุบลราชธานีเขตมิสซังอุดรธานีเขตมิสซังจันทบุรีเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงเขตมิสซังนครราชสีมาเขตมิสซังนครสวรรค์เขตมิสซังเชียงรายเขตมิสซังเชียงใหม่เขตผู้แทนพระสันตะปาปา1 กันยายน5 ตุลาคม ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: มุขนายกและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: มุขนายกและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: มุขนายกและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: มุขนายกและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: มุขนายกและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: มุขนายกและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: มุขนายกและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

กรมการศาสนา

กรมการศาสนา (Department of Religious Affairs) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่การดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุงส่งเสริมและให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ที่ทางราชการรับรอง (ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์) ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม.

ใหม่!!: มุขนายกและกรมการศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: มุขนายกและการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล · ดูเพิ่มเติม »

ภาคคริสตจักร

ริสตจักร (ecclesiastical province) หรือ แขวงฝ่ายพระศาสนจักร เป็นเขตปกครองของศาสนาคริสต์ พบในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และคริสตจักรตะวันออก.

ใหม่!!: มุขนายกและภาคคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: มุขนายกและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกกิตติคุณ

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก มุขนายกกิตติคุณ (bishop emeritus) หรือ พระสังฆราชกิตติคุณ หมายถึง มุขนายกที่ได้รับอนุมัติจากพระสันตะปาปาให้ลาออกจากตำแหน่ง กรณีเป็นอัครมุขนายกที่ลาออกเรียกว่าอัครมุขนายกกิตติคุณ เนื่องจากมุขนายกกิตติคุณพ้นจากอำนาจในการบริหารมุขมณฑลแล้ว ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรจึงถือว่ามุขนายกกิตติคุณเป็นมุขนายกเกียรตินามประเภทหนึ่ง.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกกิตติคุณ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกมหานคร

มุขนายกมหานครแห่งศาสนจักรรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ณ กรุงมอสโก ตามการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลในคริสตจักร สมณศักดิ์มุขนายกมหานคร (Metropolitan bishop;Metropolitan) หมายถึงอัครมุขนายกหรือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่เป็นมหานคร (มหานครคือมณฑลของโรมัน ภาคคริสตจักร หรือเมืองหลวงของแคว้น) ก่อนที่จะมีสมณศักดิ์ชั้นอัครบิดร ในคริสตจักรตะวันออกถือว่ามุขนายกมหานครเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะปกครองคณะมุขนายก และได้รับเอกสิทธิ์พิเศษหลายประการตามกฎหมายศาสนจักรและประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหารคริสตจักรยุคแรกยึดตามแบบของจักรวรรดิโรมัน กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่ง ๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่าปริมุขนายก"metropolitan." Cross, F. L., ed.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกรอง

มุขนายกรอง (coadjutor bishop) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก หรือบิชอปโคแอดจูเตอร์ (bishop coadjutor) ในแองกลิคันคอมมิวเนียน เป็นตำแหน่งผู้ช่วยมุขนายกประจำมุขมณฑลในการบริหารมุขมณฑล คล้ายกับเป็นมุขนายกร่วมกันปกครองมุขมณฑลนั้น มุขนายกรองจึงมีตำแหน่งเป็นอุปมุขนายกประจำมุขมณฑลด้วย (แต่มีอำนาจหน้าที่มากกว่าอุปมุขนายกทั่วไปที่ไม่ได้เป็นมุขนายกรอง) เมื่อมุขนายกประจำมุขมณฑลพ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยการเกษียณอายุ ถูกถอดจากตำแหน่ง หรือถึงแก่กรรม มุขนายกรองจะสืบตำแหน่งมุขนายกประจำมุขมณฑลต่อทันที.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกรอง · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกผู้ช่วย

มุขนายกผู้ช่วย (Auxiliary bishop) หรือทับศัพท์ว่าอ็อกซิเลียรีบิชอป ชาวคาทอลิกเรียกว่าพระสังฆราชผู้ช่วย เป็นสมณศักดิ์ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก หมายถึงมุขนายกที่พระสันตะปาปาแต่งตั้งเป็นการเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นผู้ช่วยของมุขนายกประจำมุขมณฑลที่แต่งตั้งไปก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากมุขนายกประจำมุขมณฑลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ หรือมุขมณฑลนั้นมีขนาดใหญ่มากจนมุขนายกประจำมุขมณฑลเพียงท่านเดียวไม่อาจปกครองได้ทั่วถึง หรือมุขมณฑลนั้นสัมพันธ์กับราชสำนักซึ่งต้องการให้มุขนายกประจำมุขมณฑลเข้าเฝ้าอยู่นาน ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมุขนายกโดยปกติต้องมีอาณาเขตในปกครองเรียกว่า episcopal see ดังนั้นมุขนายกผู้ช่วยจึงไม่ใช่มุขนายกประจำมุขมณฑล แต่มีสถานะเป็นมุขนายกเกียรตินามเท่านั้น กฎหมายศาสนจักรยังกำหนดให้มุขนายกประจำมุขมณฑลแต่งตั้งมุขนายกผู้ช่วยนั้น (ซึ่งพระสันตะปาปาแต่งตั้งไว้) เป็นอุปมุขนายกหรือผู้ช่วยมุขนายกประจำมุขมณฑลของตนด้ว.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกผู้ช่วย · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกประจำมุขมณฑล

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบันhttp://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2010/santacruz2010/index.html ฉลองโบสถ์ซางตาครู้ส.เรียกข้อมูลวันที่ 13 ธ.ค. 2554 มุขนายกประจำมุขมณฑล (diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกประจำมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกเกียรตินาม

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกเกียรตินาม (Titular bishop) หรือทับศัพท์ว่าทิทิวลาร์บิชอป ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระสังฆราชเกียรตินาม คือบาทหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นมุขนายก แต่ไม่มีมุขมณฑลปกครองเพราะมุขมณฑลที่ได้รับดูแลนั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มุขนายกและมุขนายกเกียรตินาม · ดูเพิ่มเติม »

มีชัย กิจบุญชู

ระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยองค์แรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ.

ใหม่!!: มุขนายกและมีชัย กิจบุญชู · ดูเพิ่มเติม »

วีระ อาภรณ์รัตน์

ระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นบาทหลวงประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่สืบต่อจากพระคุณเจ้ายอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ได้รับการอภิเษกเป็นประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่โดยพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: มุขนายกและวีระ อาภรณ์รัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาจารย์

นาจารย์ (ordained minister; minister) เขียนย่อว.

ใหม่!!: มุขนายกและศาสนาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: มุขนายกและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: มุขนายกและศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: มุขนายกและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12

มเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 (Pius Papa XII) พระสันตะปาปาพระองค์ที่ 260 พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1939 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีพระนามเดิมว่า เอวเจนีโอ มาเรีย จูเซปเป โจวันนี ปาเชลลี ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกรมการคริสตจักรวิสามัญ เอกอัครสมณทูตประจำประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1917 - 1929) และพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐ ในช่วงนี้พระองค์ได้แสดงพระปรีชาสามารถในการทำสนธิสัญญากับชาติยุโรปและละตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความตกลง ไรช์คอนคอร์ดัท กับรัฐบาลนาซีเยอรมนี เพื่อปกป้องคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศเยอรมนีเวลานั้น และการที่พระองค์ไม่เอ่ยถึงชะตากรรมของชาวยิวต่อสาธารณชน ก็ทำให้พระองค์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่นอกจากนั้นเบื้องหลัง พระสันตปาปาได้มีส่วนรู้ร่วมเห็นกับการลอบสังหารฮิตเลอร์ของเหล่าผู้บัญชาการระดับสูงเยอรมันที่มีความเกลียดต่อฮิตเลอร์ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ได้ให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาว่าจะเป็นผู้ประสานงานกับอังกฤษให้ยอมรับรัฐบาลชุดใหม่หลังนาซีถูกโค่นล้ม เนื่องจากความหวังที่จะหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าของนาซีในทวีปยุโรป การกระทำของพระองค์นั้นเกือบจะตกเป็นเป้าหมายของนาซี เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง พระองค์เน้นพระกรณียกิจด้านการส่งเสริมสันติภาพและการปรองดอง รวมทั้งใช้มาตรการที่อ่อนโยนต่อประเทศฝ่ายอักษะ ในสมณสมัยของพระองค์เป็นช่วงที่มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงในประเทศค่ายตะวันออก ในด้านบทบาททางการเมืองในประเทศอิตาลี พระองค์มีส่วนสำคัญในการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี และให้ตัดขาดผู้สนับสนุนพรรคนี้ออกจากศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที 12 ยังใช้สิทธิ์การไม่ผิดพลั้งโดยอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปาเพื่อประกาศในสมณธรรมนูญ Munificentissimus Deus ปี..

ใหม่!!: มุขนายกและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: มุขนายกและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: มุขนายกและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: มุขนายกและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดร

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.

ใหม่!!: มุขนายกและอัครบิดร · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: มุขนายกและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: มุขนายกและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อุปมุขนายก

อุปมุขนายก (Vicar general) หรือวิคาร์เจนรัล คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า "อุปสังฆราช" เป็นตำแหน่งผู็ช่วยมุขนายกในการปกครองมุขมณฑล ตำแหน่งนี้มีใช้ในบางนิกาย เช่น โรมันคาทอลิก แองกลิคัน ถ้าเป็นนิกายออร์ทอดอกซ์เรียกว่าโปรโตซินเซลลุส (protosyncellus).

ใหม่!!: มุขนายกและอุปมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: มุขนายกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397 ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Jean-Baptiste Pallegoix.) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน.

ใหม่!!: มุขนายกและฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว · ดูเพิ่มเติม »

จำเนียร สันติสุขนิรันดร์

thumbnail พระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2485) เป็นบาทหลวงชาวนครพนม อดีตประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เช่น อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เป็นต้น.

ใหม่!!: มุขนายกและจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีกัน

ันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี ดีกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201 (deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร.

ใหม่!!: มุขนายกและดีกัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: มุขนายกและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: มุขนายกและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: มุขนายกและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ปริมุขมณฑล

ปริมุขมณฑล (suffragan diocese) เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของมุขนายกประจำมุขมณฑลของตนเท่านั้น แต่อยู่ในความดูแลของมุขนายกมหานครด้วย มุขนายกมหานครเป็นอัครมุขนายกที่ปกครองอัครมุขมณฑลที่ตนเองประจำการอยู่ ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมุขนายกมหานครไม่มีสิทธิ์แทรกแซงการบริหารในปริมุขมณฑล แต่มีหน้าที่เป็นประธานในในที่ประชุมภาคคริสตจักรซึ่งประกอบด้วยหลายอัครมุขมณฑลและปริมุขมณฑล เมื่อผู้นำปริมุขมณฑลว่างลงมุขนายกมหานครจึงจะมีสิทธิ์รักษาการณ์แทน ทั้งนี้มุขนายกที่ปกครองปริมุขมณฑลจะเรียกว่าปริมุขนายก (suffragan bishop) ในประเทศไทยมีปริมุขมณฑล เช่น เขตมิสซังสุราษฎร์ธานีเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ.

ใหม่!!: มุขนายกและปริมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: มุขนายกและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: มุขนายกและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: มุขนายกและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: มุขนายกและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มุขนายกและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: มุขนายกและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: มุขนายกและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์ในประเทศไทย

ริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในปี..

ใหม่!!: มุขนายกและโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช

ระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยองค์ที่สอง ชาวกรุงเทพมหานคร เคยดำรงตำแหน่งมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกนครสวรรค์ ต่อมาได้เข้ารับตำแหน่งอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ สืบต่อจากพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม..

ใหม่!!: มุขนายกและเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครสมณทูต

อาร์ชบิชอป โจวันนี ดานีเอลโล (Giovanni d’Aniello) อดีตเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาวhttp://haab.catholic.or.th/photo/ambassador/jovanne.html แต่งตั้งสมณทูตองค์ใหม่ เอกอัครสมณทูต (nuncio; apostolic nuncio) เรียกโดยย่อว่าพระสมณทูต.

ใหม่!!: มุขนายกและเอกอัครสมณทูต · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังราชบุรี

อาณาเขตของเขตมิสซังราชบุรี เขตมิสซังราชบุรี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลราชบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักมิสซังคาทอลิกราชบุรี ตั้งอยู่ที่ 31/2-4.สมบูรณ์กุล อ.เมือง.ราชบุรี 70000 มีพระคุณเจ้ายอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี

อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอล หลังเดิม เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย โดยแยกออกมาจากเขตมิสซังราชบุรี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังอุบลราชธานี

อาณาเขตของเขตมิสซังอุบลราชธานี เขตมิสซังอุบลราชธานี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลอุบลราชธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ สำนักมิสซังคาทอลิกอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ 498.ชยางกูร อ.เมือง.อุบลราชธานี 34000 มีมุขนายกฟิลิป บรรจง ไชยรา เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังอุดรธานี

ตในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานี เขตมิสซังอุดรธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบึงกาฬ มุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน คือ มุขนายกยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย สำนักมิสซังคาทอลิกอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ 129/18 ม.1.นิตโย ต.หมากแข้ง อ.เมือง.อุดรธานี 41000.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังอุดรธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังจันทบุรี

อาณาเขตมัสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี เขตมิสซังจันทบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (เว้น อ.บ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มี "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล" หรือโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีเป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีองค์ปัจจุบันคือ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงศ์ จรัสศรี สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 21/3 ม. 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

อาณาเขตของมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง หรืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑล และโบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เป็นรองอาสนวิหาร สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกส์ท่าแร่-หนองแสงตั้งอยู่ที่ 362 หมู่ 2 สกล-อุดร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง.สกลนคร 47000 ปัจจุบันมีพระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นอัครมุขนายก.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังนครราชสีมา

ตมิสซังนครราชสีมา หรือสังฆมณฑลนครราชสีมา เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักมิสซังคาทอลิกนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ 387 สุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 มุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบันคือ มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุท.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังนครสวรรค์

ตมิสซังนครสวรรค์ ชาวคาทอลิกเรียงว่าสังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นมุขมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำนักมิสซังคาทอลิกนครสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ 69/39.ดาวดึงส์ อ.เมือง.นครสวรรค์ 60000 มีมุขนายกยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังเชียงราย

ตมิสซังเชียงราย หรือ สังฆมณฑลเชียงราย เป็นมุขมณฑลล่าสุดของศาสนจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไท.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังเชียงใหม่

อาณาเขตมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ก่อนตั้งมิสซังเชียงรายในวันที่ 25เมษายน พ.ศ. 2561 เขตมิสซังเชียงใหม่ หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมือง.เชียงใหม่ 50100.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตมิสซังเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: มุขนายกและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

1 กันยายน

วันที่ 1 กันยายน เป็นวันที่ 244 ของปี (วันที่ 245 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 121 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มุขนายกและ1 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

5 ตุลาคม

วันที่ 5 ตุลาคม เป็นวันที่ 278 ของปี (วันที่ 279 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 87 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มุขนายกและ5 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บิชอป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »