โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จู้อิน

ดัชนี จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

44 ความสัมพันธ์: ชุดตัวอักษรฟุริงะนะพ.ศ. 2455พ.ศ. 2456พ.ศ. 2471พ.ศ. 2473พยัญชนะพินอินพจนานุกรมกลุ่มภาษาจีนกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาภาษาญี่ปุ่นภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานภาษาอตายัลภาษาจีนกลางภาษาแคะภาษาไปวันภาษาเตายูนิโคดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวรรณยุกต์สระสัทอักษรสากลอักษรอักษรละตินอักษรจีนอัปโหลดและดาวน์โหลดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคันจิตัวยกและตัวห้อยตัวเลขโรมันซอฟต์แวร์ประถมศึกษาประเทศจีนประเทศไต้หวันนิรุกติศาสตร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไทป์เฟซเมษายนเวด-ไจลส์เครื่องหมายเสริมสัทอักษร11 กรกฎาคม23 พฤศจิกายน

ชุดตัวอักษร

ตัวอักษร (alphabet) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึง เซตของอักขระและตัวเลขที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่าศูนย์และมีจำนวนจำกัด โดยปกติแล้วชุดตัวอักษรมักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ \Sigma.

ใหม่!!: จู้อินและชุดตัวอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ฟุริงะนะ

ฟูริงานะ คือ คานะตัวเล็ก ๆ ที่เอาไว้ช่วยบอกคำอ่านของคันจิในภาษาญี่ปุ่น ในข้อความตามแนวนอน ฟูริงานะจะวางอยู่บนคันจิ ในข้อความตามแนวตั้ง ฟูริงานะจะอยู่ทางขวาของคันจิดังรูปข้างล่าง ฟูริงานะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โยมิงานะ (読み仮名) หรือ รูบิ (ルビ) ในภาษาญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จู้อินและฟุริงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จู้อินและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2456

ทธศักราช 2456 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1913 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จู้อินและพ.ศ. 2456 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2471

ทธศักราช 2471 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1928 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จู้อินและพ.ศ. 2471 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จู้อินและพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: จู้อินและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: จู้อินและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

ใหม่!!: จู้อินและพจนานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: จู้อินและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา (Formosan language) เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองในไต้หวันซึ่งมีจำนวน 2% ของประชากรบนเกาะไต้หวัน แต่มีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ยังพูดภาษาดั้งเดิมของตน จากภาษาพื้นเมืองทั้งหมด 26 ภาษา เป็นภาษาตายแล้ว 10 ภาษา ที่เหลืออีก 4-5 ภาษาเป็นภาษาที่ใกล้ตายZeitoun, Elizabeth & Ching-Hua Yu.

ใหม่!!: จู้อินและกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: จู้อินและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).

ใหม่!!: จู้อินและภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอตายัล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จู้อินและภาษาอตายัล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: จู้อินและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแคะ

300px ภาษาแคะ ภาษาฮักกา หรือ เค่อเจียฮว่า คือหนึ่งในภาษาของตระกูลกลุ่มภาษาจีน มีผู้พูด 34 ล้านคน เป็นภาษาของชาวฮั่น ที่มีบรรพบุรุษอยู่ในมณฑลเหอหนานและส่านซี ทางเหนือของจีนเมื่อกว่า 2,700 ปีที่แล้วต่อมาชาวแคะอพยพไปทางใต้เข้าสู่มณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยนและไปเป็นชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก.

ใหม่!!: จู้อินและภาษาแคะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไปวัน

ภาษาไปวัน เป็นภาษาพื้นเมืองของไต้หวัน พูดโดยชาวไปวัน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน สาขาเกาะฟอร์โมซา มีผู้พูดราว 66,000 คน ปไวัน.

ใหม่!!: จู้อินและภาษาไปวัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตา

ษาเตาหรือภาษายามิเป็นภาษากลุ่มบาตานิกพูดโดยชาวเตาในไต้หวัน เป็นภาษาเดียวในไต้หวันที่ไม่อยู่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา แต่มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ร่วมกับภาษาอีวาตันที่พูดในเกาะบาตาเนส ทางตอนเหนือของฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จู้อินและภาษาเตา · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: จู้อินและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: จู้อินและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในเรขาคณิตระนาบ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และมุมภายในทุกมุมมีขนาดเท่ากัน ทำให้มุมแต่ละมุมเป็นมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามารถจัดได้ว่าเป็น รูปสี่เหลี่ยมปรกติ, รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก, รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว, รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ รูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวเท่ากันและตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดกึ่งกลาง ถ้าเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวเท่ากัน แสดงว่ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านละ a หน่วย เท่ากับ a×a.

ใหม่!!: จู้อินและรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: จู้อินและวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จู้อินและสระ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: จู้อินและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: จู้อินและอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: จู้อินและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: จู้อินและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อัปโหลดและดาวน์โหลด

ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (download, ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์ การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:คำศัพท์ de:Herunterladen es:Descargar (archivos) ru:Скачивание.

ใหม่!!: จู้อินและอัปโหลดและดาวน์โหลด · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

ใหม่!!: จู้อินและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

ใหม่!!: จู้อินและคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวยกและตัวห้อย

ตัวยกและตัวห้อย 4 ตำแหน่ง ตัวยก หรือ ดรรชนีบน (superscript) คืออักขระใดๆ ที่เขียนในระดับสูงกว่าระดับบรรทัดปกติ ตัวห้อย หรือ ดรรชนีล่าง (subscript) คืออักขระใดๆ ที่เขียนในระดับต่ำกว่าระดับบรรทัดปกติ ทั้งตัวยกและตัวห้อยจะถูกเขียนให้มีขนาดเล็กกว่าปกติเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้กับสูตรคณิตศาสตร์หรือสูตรเคมี พบได้น้อยกับข้อความทั่วไป.

ใหม่!!: จู้อินและตัวยกและตัวห้อย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขโรมัน

ลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กันดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้ในระบบเลขโรมันปัจจุบัน แต่ปรากฏอยู่ในรหัสยูนิโคด ดังนี้.

ใหม่!!: จู้อินและตัวเลขโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: จู้อินและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประถมศึกษา

ประถมศึกษา (ย่อว่า ป.; elementary education; primary education) เป็นลำดับการศึกษาขั้นที่ 2 ถัดจากการศึกษาปฐมวัย และแบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 3 เรียกว่าประถมศึกษาตอนต้น (มักเรียกโดยย่อว่า ป.ต้น) เทียบเท่ากับ grade 1-3 และช่วงประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่าประถมศึกษาตอนปลาย (มักเรียกโดยว่า ป.ปลาย) เทียบเท่ากับ grade 4-6.

ใหม่!!: จู้อินและประถมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: จู้อินและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: จู้อินและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

นิรุกติศาสตร์

นิรุกติศาสตร์ เป็นศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology ในภาษาอังกฤษ นิยามที่ตรงที่สุดของคำนี้ ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:นิรุกติศาสตร์.

ใหม่!!: จู้อินและนิรุกติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..

ใหม่!!: จู้อินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: จู้อินและไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน

มษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา) ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ชื่อในภาษาอังกฤษ "April" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แอปปรีริส ("aprilis") และ แอปเปรีเร ("aperire") หมายถึง "กางออก" ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 2 ของปี และมี 29 วัน จากนั้นจูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรก ทำให้เดือนเมษายนขยับไปเป็นเดือนที่ 4 ของปี และมี 30 วัน.

ใหม่!!: จู้อินและเมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เวด-ไจลส์

วด-ไจลส์ (Wade-Giles) หรือ เวยถัวหม่าพินอิน บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า เวด เป็นระบบถอดอักษรแบบถ่ายเสียงภาษาจีนกลางด้วยตัวอักษรโรมันใช้กันในปักกิ่ง พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย ทอมัส เวด (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ในพจนานุกรมจีน-อังกฤษของ เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: จู้อินและเวด-ไจลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รื่องหมายเสริมสัทอักษร เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับอักษรโรมัน ซึ่งมีอยู่ในแป้นพิมพ์ ซึ่งได้แก่ เกรฟ และดับเบิลเกรฟ.

ใหม่!!: จู้อินและเครื่องหมายเสริมสัทอักษร · ดูเพิ่มเติม »

11 กรกฎาคม

วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ 192 ของปี (วันที่ 193 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 173 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จู้อินและ11 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤศจิกายน

วันที่ 23 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 327 ของปี (วันที่ 328 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 38 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จู้อินและ23 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BopomofoMPS IMandarin Phonetic Symbols IZhuyinระบบจู้อินจู้อิน ฝูฮ่าวจู้อินฝูฮ่าวจู้อินฝูเฮ่าปอพอมอฟอปัวพัวมัวฟัวโปโพโมโฟ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »