โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คันจิ

ดัชนี คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

94 ความสัมพันธ์: ชาวญี่ปุ่นชาวฮั่นชาวจีนชินจิไตบุชุของอักษรฟุริงะนะพ.ศ. 1021พ.ศ. 1302พ.ศ. 2489พ.ศ. 2495พ.ศ. 2524พ.ศ. 600พยางค์พินอินกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกลุ่มภาษาจีนกามิกาเซ่การผันคำภาษาบาลีภาษาญี่ปุ่นภาษาสันสกฤตภาษาอู๋ภาษาจีนกลางภาษาไทยภาษาเกาหลีภาษาเวียดนามภาษาเขมรมหาวิทยาลัยวะเซะดะมหาวิทยาลัยโอซากะมหาวิทยาลัยโตเกียวมังงะมันโยงะนะยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ยุคนาระยุคเอะโดะยุคเฮอังระบบการเขียนราชวงศ์หมิงราชวงศ์หลิวซ่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกราชวงศ์ถังราชวงศ์ซ่งวรรณกรรมวัดวีสเตียเรียศาสนาพุทธสหรัฐสงครามโลกครั้งที่สองอะโอะโมะริอักษร...อักษรฮันจาอักษรจีนอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มอักขรวิธีอาณาจักรแพ็กเจฮั่นฮาโกเนะฮิระงะนะจักรพรรดิญี่ปุ่นจักรพรรดิจีนจื๋อโนมทวีปเอเชียคริสต์ศตวรรษที่ 5คริสต์ศตวรรษที่ 6คริสต์ศตวรรษที่ 7คริสต์ศตวรรษที่ 9คะตะกะนะคะนะคันจิคำพ้องรูปคำกริยาคำยืมคำวิเศษณ์คำนามง่อก๊กตัวเลขอารบิกฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)ฉางอานซีอานประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนโรมาจิโอริกามิโอะกุริงะนะโอซากะโจโยกันจิโตเกียวไอกิโดเกาหลีเอเชียตะวันออกเคียวอิกุกันจิเซี่ยงไฮ้เซน ขยายดัชนี (44 มากกว่า) »

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: คันจิและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: คันจิและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คันจิและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

ชินจิไต

นจิไต (ชินจิไต: 新字体; คีวจิไต: 新字體; แปลว่า อักษรแบบใหม่) เป็นรูปแบบของตัวอักษรคันจิที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่การประกาศใช้ชุดอักษรโทโยคันจิ (当用漢字 Tōyō kanji) หรือ "คันจิที่ใช้ทั่วไป" ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ตัวอักษรชินจิไตบางตัวเป็นตัวอักษรเดียวกับอักษรจีนตัวย่อ แต่อักษรชินจิไตจะมีหลักการย่อตัวอักษรที่แคบกว่าอักษรจีนตัวย่อ อย่างไรก็ตาม อักษรคันจิของญี่ปุ่นในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับอักษรจีนตัวเต็มมากกว่า แต่มีจำนวนน้อยกว่าตัวอักษรจีนที่ใช้กันในภาษาจีนในปัจจุบันหลายเท่า เนื่องจากมีคำในภาษาญี่ปุ่นจำนวนมากต้องเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะเท่านั้น เช่น คำง่ายๆ และคำช่วย เป็นต้น และยังมีคำที่ต้องเขียนด้วยอักษรคะตะคะนะ เช่น คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำทับศัพท์ และชื่อสัตว์บางชนิด เป็นต้น อักษรแบบชินจิไต สร้างมาจากการย่อจำนวนขีดของอักษรแบบคีวจิไต (旧字体/舊字體 Kyūjitai) หรืออักษรแบบเก่า ซึ่งเทียบได้กับอักษรจีนตัวเต็ม (ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า “เซจิ” (正字 seiji) แปลว่าอักษรที่ถูกต้อง) หลักการย่อ คือ จะย่อส่วนขวาของอักษรคันจิที่เรียกว่า “ทสึคุริ” (旁 tsukuri) ซึ่งเป็นส่วนบอกเสียงองของคันจิตัวนั้น โดยนำตัวอักษรที่มีเสียงองเดียวกัน แต่มีจำนวนขีดน้อยกว่ามาใส่แทน อีกวิธีหนึ่ง คือ ย่ออักษรส่วนที่เขียนซับซ้อน ด้วยตัวที่เขียนง่ายกว่า (จำนวนขีดน้อยกว่า) การย่อตัวอักษร เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 จนกระทั่งพ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) เป็นมาตรฐานของอักษรคันจิในปัจจุบัน.

ใหม่!!: คันจิและชินจิไต · ดูเพิ่มเติม »

บุชุของอักษร

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คันจิและบุชุของอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ฟุริงะนะ

ฟูริงานะ คือ คานะตัวเล็ก ๆ ที่เอาไว้ช่วยบอกคำอ่านของคันจิในภาษาญี่ปุ่น ในข้อความตามแนวนอน ฟูริงานะจะวางอยู่บนคันจิ ในข้อความตามแนวตั้ง ฟูริงานะจะอยู่ทางขวาของคันจิดังรูปข้างล่าง ฟูริงานะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โยมิงานะ (読み仮名) หรือ รูบิ (ルビ) ในภาษาญี่ปุ่น.

ใหม่!!: คันจิและฟุริงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1021

ทธศักราช 1021 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 1021 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1302

ทธศักราช 1302 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 1302 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 2495 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2524

ทธศักราช 2524 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1981 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 2524 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 600

ทธศักราช 600 ใกล้เคียงกับ คริสต์ศักราช 57.

ใหม่!!: คันจิและพ.ศ. 600 · ดูเพิ่มเติม »

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: คันจิและพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: คันจิและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ำนักงานมมบุโช กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือเรียกโดยย่อว่า มมบุโช หรือ เมกซ์ (MEXT) เป็นกระทรวงหนึ่งในรัฐบาลญี่ปุ่น กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งเป็นครั้งแรกในสมัยเม..

ใหม่!!: คันจิและกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: คันจิและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กามิกาเซ่

กามิกาเซ่ เป็นค่ายเพลงย่อยในสังกัดอาร์เอส ก่อตั้งใน พ.ศ. 2550 จากแนวคิดของสุทธิพงษ์ วัฒนจัง และณรงค์ศักดิ์ ศรีบรรฎาศักดิ์วัชรากรณ์ ที่ต้องการทำค่ายเพลงสำหรับกลุ่มประชากรวัยก่อนวัยรุ่นโดยเฉ.

ใหม่!!: คันจิและกามิกาเซ่ · ดูเพิ่มเติม »

การผันคำ

การผันคำ หรือ การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language).

ใหม่!!: คันจิและการผันคำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: คันจิและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: คันจิและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: คันจิและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอู๋

การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาอู๋ (吳方言 พินอิน wú fāng yán; 吳語 พินอิน wú yǔ) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเจียงซี นครเซี่ยงไฮ้ ทางใต้ของเจียงซู และบางส่วนในอันฮุย เจียงสีและ ฝูเจี้ยน มีผู้พูด 87 ล้านคน (เมื่อปี พ.ศ. 2534) โครงสร้างประโยคส่วนใหญ่เป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา โดยมีโครงสร้างประโยคเช่นนี้มากกว่าภาษาจีนกลาง และภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาอู๋มีหลายสำเนียง โดยสำเนียงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือสำเนียงเซี่ยงไฮ้หรือภาษาเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: คันจิและภาษาอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: คันจิและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: คันจิและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: คันจิและภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: คันจิและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: คันจิและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวะเซะดะ

ในบริเวณมหาวิทยาลัยวะเซะดะ มหาวิทยาลัยวะเซะดะ หรือมักจะเรียกย่อว่า โซได (早大) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเขตชินจูกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น วะเซะดะมีชื่อเสียงในด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและรัฐศาสตร์ และในด้านอื่นหลายด้านซึ่งวะเซะดะมักจะถูกเทียบกับมหาวิทยาลัยเคโอ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกันในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีกีฬาเบสบอลแข่งกันของทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ กับมหาวิทยาลัย Oxford-Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝั่งอังกฤษและที่มีกีฬาพายเรือแข่งกัน มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: คันจิและมหาวิทยาลัยวะเซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโอซากะ

มหาวิทยาลัยโอซากะ หรือย่อว่า ฮันได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่จังหวัดโอซากะ มีพื้นที่แยกออกเป็น 4 วิทยาเขต ใน ซุอิตะ โทะโยะนะกะ มิโน และ นะงะโนะชิมะ มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคือ ฮิเดะกิ ยุกะวะ นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล.

ใหม่!!: คันจิและมหาวิทยาลัยโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: คันจิและมหาวิทยาลัยโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: คันจิและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

มันโยงะนะ

มันโยงะนะ เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีนหรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มันโยงะนะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มันโยชู” อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนาระที่เขียนด้วยระบบมันโยงะน.

ใหม่!!: คันจิและมันโยงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้

ราชวงศ์เว่ยเหนือ (ฟ้า) และ ราชวงศ์หลิวซ่ง (เลือดหมู) ในปี ค.ศ. 440 ราชวงศ์เหนือ-ใต้ในช่วงปี ค.ศ. 560 ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (Northern and Southern dynasties) ยุค สงครามกลางเมือง และยุคแห่งความวุ่นวายทางการเมืองยุคหนึ่งใน ประวัติศาสตร์จีน อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 420 - ค.ศ. 589 ก่อนที่ จักรพรรดิสุยเหวิน ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์สุย จะสามารถพิชิต ราชวงศ์โจวเหนือ และรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 589.

ใหม่!!: คันจิและยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคนาระ

นาระ (ค.ศ. 710 – 794) เมื่อปี..

ใหม่!!: คันจิและยุคนาระ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: คันจิและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: คันจิและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเขียน

ระบบการเขียนในปัจจุบัน ระบบการเขียน (writing system) คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ ระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือ บุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถอ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จำเป็น ต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่างกับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:การเรียงพิมพ์.

ใหม่!!: คันจิและระบบการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: คันจิและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หลิวซ่ง

ราชวงศ์หลิวซ่ง (Liu Song Dynasty, 963 - 1022) หนึ่งในสี่ราชวงศ์แห่ง ยุคราชวงศ์ใต้ ใน ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ ปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. 963 - พ.ศ. 1022 โดยมี จักรพรรดิหลิวซ่งอู่ เป็นปฐมจักรพรรดิ จักรพรรดิราชวงศ์นี้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮั่นโดยสืบสันติวงศ์มาจากฉู่อ๋องเล่าเจี้ยวพระอนุชาของฮั่นโกโจฮ่องเต้ ราชวงศ์หลิวซ่งสถาปนาขึ้นภายหลังการล่มสลายของ ราชวงศ์จิ้นตะวันออก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: คันจิและราชวงศ์หลิวซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: คันจิและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: คันจิและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: คันจิและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: คันจิและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: คันจิและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วีสเตียเรีย

วีสเตียเรีย (Wisteria, Wistaria หรือ Wysteria) เป็นพืชในสกุลไม้ดอก ในพืชวงศ์ถั่ว, พืชที่มีฝักซึ่งเป็นหนึ่งใน10 ของสายพันธุ์ไม้เถาวัลย์ มีต้นกำเนิดทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และจีน เกาหลี และญี่ปุ่น บางสายพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและญี่ปุ่น แต่สำหรับไม้น้ำที่มีชื่อว่า 'water wisteria' ที่จริงแล้วคือพืช Hygrophila difformis ในวงศ์ Acanthaceae.

ใหม่!!: คันจิและวีสเตียเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: คันจิและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: คันจิและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: คันจิและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อะโอะโมะริ

อะโอะโมะริ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คันจิและอะโอะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: คันจิและอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันจา

ำว่า ฮันจา ในภาษาเกาหลี ตัวสีแดงเขียนด้วยตัวอักษรฮันจา และตัวสีน้ำเงินเขียนด้วยฮันกึล ฮันจา (ฮันจา: 漢字, ฮันกึล: 한자) หรือ ฮันมุน บางครั้งเรียกว่า อักษรจีน-เกาหลี หมายถึงอักษรจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาเกาหลี และออกเสียงเป็นภาษาจีนแต่ในสำเนียงของภาษาเกาหลี ตัวอักษรฮันจาไม่เหมือนตัวอักษรคันจิ ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกปรับปรุงและย่อแบบญี่ปุ่นไปหลายตัว ในขณะที่อักษรฮันจาใช้ตัวอักษรจีนตัวเต็ม มีเพียงส่วนน้อยที่ย่อและใช้เหมือนตัวอักษรคัน.

ใหม่!!: คันจิและอักษรฮันจา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: คันจิและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: คันจิและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: คันจิและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: คันจิและอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแพ็กเจ

อาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี:백제, ฮันจา: 百濟; 18 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 660) สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอนจอพระราชโอรสองค์เล็กในจักรพรรดิดงเมียงยองในพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อจักรวรรดิโคกูรยอพยายามจะกลืนอำนาจของอาณาจักรพูยอ พระเจ้าอนจอได้นำกำลังคนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโคกูรยอลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลอำนาจของอาณาจักรมาฮัน โดยข้ามแม่น้ำฮันมา เลือกชัยภูมิอยู่ใกล้ๆกับที่เป็นโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เพื่อตั้งเมืองใหม่ชื่อ วิเรซอง แล้วสถาปนาเป็นอาณาจักรซิปเจหลังสิ้นรัชกาลของพระองค์มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 31 ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายคือพระเจ้าอึยจา ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกองทัพชิลลาและกองทัพถังของจีนในปี ค.ศ. 660 (พ.ศ. 1203) ทำให้อาณาจักรแพ็กเจที่ปกครองมานานถึง 678 ปีก็ถึงกาลอวสาน.

ใหม่!!: คันจิและอาณาจักรแพ็กเจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่น

ั่น ในภาษาจีนอาจหมายถึง.

ใหม่!!: คันจิและฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ฮาโกเนะ

ูเขาไฟฟูจิ มองจากยอดเขาคามิ ในอุทยานแห่งชาติฟูจิ ฮาโกเนะ อิสุ ทะเลสาบอาชิ มองจากรถกระเช้าลอยฟ้า ฮาโกเนะ เป็นเมืองหนึ่งในเขตอาชิงาราชิโมะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณเชิงทิวเขาฮาโกเนะด้านตะวันออก จากการสำรวจในปี 2003 เมืองนี้มีประชากร 14,872 คน และมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 160.22 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 92.82 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คันจิและฮาโกเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิระงะนะ

รางานะ คือ อักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอักษรญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบันควบคู่กับคาตากานะและคันจิ ฮิรางานะและคาตากานะเป็นระบบคานะที่ตัวอักษรหนึ่งตัวแสดงถึงหนึ่งเสียง ในแต่ละ "คานะ" สามารถเป็นได้ทั้งในรูปสระและตัวสะก.

ใหม่!!: คันจิและฮิระงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิญี่ปุ่น

ักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น..

ใหม่!!: คันจิและจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: คันจิและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จื๋อโนม

ื๋อโนม (chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน.

ใหม่!!: คันจิและจื๋อโนม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: คันจิและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 5

ริสต์ศตวรรษที่ 5 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 401 ถึง ค.ศ. 500.

ใหม่!!: คันจิและคริสต์ศตวรรษที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 6

ริสต์ศตวรรษที่ 6 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 501 ถึง ค.ศ. 600.

ใหม่!!: คันจิและคริสต์ศตวรรษที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 7

ริสต์ศตวรรษที่ 7 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 601 ถึง ค.ศ. 700.

ใหม่!!: คันจิและคริสต์ศตวรรษที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 9

ริสต์ศตวรรษที่ 9 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 801 ถึง ค.ศ. 900.

ใหม่!!: คันจิและคริสต์ศตวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

คะตะกะนะ

ตากานะ เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไก.

ใหม่!!: คันจิและคะตะกะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คะนะ

การพัฒนาอักษรคานะจากตัวอักษรจีน คานะ เป็นคำที่ใช้เรียกตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งออกเป็นฮิรางานะและคาตากานะ ซึ่งรวมถึงภาษาระบบเก่า มังโยงานะ คานะหนึ่งตัวอักษรจะมีเสียงเฉพาะของแต่ละตัวอักษร.

ใหม่!!: คันจิและคะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

ใหม่!!: คันจิและคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

คำพ้องรูป

ำพ้องรูป คือคำที่เขียนรูปเดียวกัน แต่มีการสะกดและออกเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปอ่านผิดอยู่เสมอ ๆ และความหมายก็ต่างกันด้ว.

ใหม่!!: คันจิและคำพ้องรูป · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: คันจิและคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำยืม

ำยืม หมายถึงคำที่ยืมมาจากภาษาของผู้ให้ และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้ แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น déjà vu ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้ คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะศัพท์เฉพาะทางเนื่องจากการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่ศาสนา ปรัชญา การค้าขาย ศิลปะ วิทยาการ และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการทูต ภาษาไทยมีคำยืมภาษาต่างประเทศหลายภาษาอาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร กลุ่มภาษาจีน (ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษาจีนกลาง) ภาษามอญ ภาษามลายู ภาษาโปรตุเกส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แม้แต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังปรากฏคำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาปะปน.

ใหม่!!: คันจิและคำยืม · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: คันจิและคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: คันจิและคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: คันจิและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขอารบิก

ลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานพอที่จะสืบประวัติไปได้ ว่า เกิดริเริ่มเป็นกำหนดนับแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน จากนักปราชญ์แห่งอาหรับ ชาวแบกแดด (อิรัก) ชื่อ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ซึ่งมีช่วงชีวิตในประวัติศาสตร์ราว ปี..

ใหม่!!: คันจิและตัวเลขอารบิก · ดูเพิ่มเติม »

ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ว่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์กำชัย ทองหล่อ.

ใหม่!!: คันจิและฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ฉางอาน

ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Chang'an) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย ในยุคนั้นเรียกว่าเมืองต้าซิง เมื่อถึงราชวงศ์ถังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอาน เมืองนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี แต่ความใหญ่โตมโหฬารกลับปรากฏในตอนท้าย เมืองฉางอานในยุคนั้นเมื่อเทียบกับเมืองซีอานในอดีตแล้วยังนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า ถือว่าเป็นเมืองระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ พื้นที่ส่วนหนึ่งของฉางอาน ภายในเมืองฉางอานมีพระราชวังเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่บริหารราชภารแผ่นดิน ทางทิศใต้ของเขตพระราชวังใช้เป็นที่ทำงานของขุนนางทั้งหลาย ถนนหนทางภายในตัวเมืองฉางอานและที่พักอาศัย ถูกออกแบบคล้ายกระดานหมายรุก เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหลายสายภายในเมืองมีความกว้างกว่า 100 เมตร หนึ่งในนั้น ถนน "จูเชว่" ถือได้ว่าเป็นถนนที่กว้างมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิงและชิงก็ได้นำเอาแบบอย่างการสร้างเมืองฉางอานไปใช้ในการสร้างเมืองปักกิ่ง เมืองฉางอานมีส่วนที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย แบ่งเป็นสัดส่วน ภายในส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย มีร้านค้ามากมาย เรียกร้านค้าเหล่านี้ว่า "ห้าง" อาทิ ห้างขายเนื้อ ห้างขายปลา ห้างขายยา ห้างผ้า ห้างเหล็ก ห้างเงินทอง ฯลฯ ว่ากันว่าแค่เพียงส่วนค้าขายทางตะวันออก ก็มีร้านค้ากว่า 200 แห่ง สิ่งของหายากจากทั่วทุกสารทิศ สามารถหาซื้อได้ในเมืองฉางอาน เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง การแข่งขันชนไก่ ชักเย่อ โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น สยาม และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย (อิหร่านปัจจุบัน) กับทาจิกส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม แต่ยังกลายเป็นเมืองระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่งอีกด้ว.

ใหม่!!: คันจิและฉางอาน · ดูเพิ่มเติม »

ซีอาน

ซีอาน หอระฆังกลางเมืองซีอาน วิวซีอาน ซีอาน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: ความสงบสุขทางตะวันตก) เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้อบอุ่น มีฝนตกมาก มีปริมาณฝนเทียบได้ใกล้เคียงกับภูมิภาคด้านใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน ดังนั้น ประชากรที่นี่จึงค่อนข้างมาก ทางตะวันออกของ ซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชื่อ ปั้น-ภอ-ฌุน ได้มีการค้นพบหมู่บ้านที่มีอายุกว่า 6 พันปี ซึ่งมีประชากรประมาณ 500 คน ฮ่องเต้ของราชวงศ์โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของ ซีอาน.

ใหม่!!: คันจิและซีอาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: คันจิและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: คันจิและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

โรมาจิ

รมาจิ เป็นอักษรโรมันที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นใช้ คานะและคันจิเป็นหลัก โรมาจิเป็นวิธีที่นิยมสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นเรียนภาษาญี่ปุ่น และยังเป็นที่นิยมในการพิมพ์ข้อมูลภาษาญี่ปุ่นลงในคอมพิวเตอร์ โดยการพิมพ์บนคีย์บอร์ดเป็นโรมาจิและคอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นภาษาญี่ปุ่นตัวอักษรแบบต่าง ๆ โรมาจิเริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยสงครามโลก ซึ่งเริ่มเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา สำหรับการเขียนและการอ่านโรมาจิ โรมาจิในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ นิฮงชิกิ (日本式) แบบดั้งเดิม, คุงเรชิกิ (訓令式) แบบที่ดัดแปลงจากนิฮงชิกิ และเฮ็ปเบิร์นหรือเฮบงชิกิ (ヘボン式) แบบปรับปรุงพัฒนาตามการออกเสียงจริง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน ตัวอย่างของการทับศัพท์แบบต่าง.

ใหม่!!: คันจิและโรมาจิ · ดูเพิ่มเติม »

โอริกามิ

นกกระเรียนโอริกามิ การพับนกกระเรียน โอริกามิ (จากคำว่า โอริ แปลว่า "การพับ" และ กามิ แปลว่า "กระดาษ") เป็นศิลปะในการพับกระดาษ เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงหรือวัตถุต่างๆ ขึ้นมาจากการพับกระดาษ โดยทั่วไปการพับกระดาษจะเริ่มจากกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจใช้สีเดียวกัน สีต่างกัน หรือกระดาษที่มีลวดลายต่างๆ และทำการพับทบไปจนเป็นรูปร่าง ซึ่งส่วนมากจะไม่มีการตัดกระดาษ สำหรับการประดิษฐ์ที่มีการตัดระหว่างการทำจะเรียกว่า คิริกามิ (切り紙) เชื่อกันว่าการทำโอริกามิมีมาตั้งแต่ยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603-1867).

ใหม่!!: คันจิและโอริกามิ · ดูเพิ่มเติม »

โอะกุริงะนะ

อกูริงานะ คือ คานะที่ต่อท้ายคันจิในภาษาญี่ปุ่น มักใช้ผันคำคุณศัพท์และคำกริยา โอกูริงานะยังใช้บอกกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ปัจจุบันโอกูริงานะเขียนด้วยฮิรางานะ ในอดีตเขียนด้วยคาตากาน.

ใหม่!!: คันจิและโอะกุริงะนะ · ดูเพิ่มเติม »

โอซากะ

อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: คันจิและโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

โจโยกันจิ

กันจิ เป็นตัวอักษรคันจิ 2,136 ตัว (เดิม 1,945) ที่กระทรวงศึกษาของประเทศญี่ปุ่น กำหนดว่าเป็นตัวอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ ประกอบด้ว.

ใหม่!!: คันจิและโจโยกันจิ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: คันจิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ไอกิโด

อกิโด เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่พัฒนาโดยโมะริเฮอิ อุเอะชิบะ เป็นการรวมศิลปะการต่อสู้ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนาไว้ด้วยกัน ไอกิโดมักแปลว่า "หนทางแห่งการรวมพลังงานชีวิต" หรือ "หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน" เป้าหมายของอุเอะชิบะคือสร้างศิลปะที่ผู้ฝึกฝนใช้ป้องกันตัวและป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บด้วย ทักษะไอกิโดประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนทิศทางโมเมนตัมของท่าโจมตีของคู่ต่อสู้ และการทุ่มหรือล็อกข้อต่อที่ยุติทักษะดังกล่าว ไอกิโดแผลงมาจากศิลปะการต่อสู้ชื่อ ไดโตรีว ไอกิจูจุสึ แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ส่วนหนึ่งมาจากที่อุเอะชิบะเข้าไปพัวพันกับศาสนานิกายโอโมะโตะ ในเอกสารของลูกศิษย์ยุคแรกของอุเอะชิบะยังคงใช้คำว่า "ไอกิจูจุสึ" ลูกศิษย์อาวุโสของอุเอะชิบะมีวิธีการฝึกไอกิโดที่แตกต่างกันขึ้นกับช่วงเวลาที่พวกเขาศึกษากับอาจารย์ ปัจจุบันพบไอกิโดทั่วโลกในหลายรูปแบบ โดยมีพิสัยการตีความและการเน้นฝึกฝนที่กว้าง อย่างไรก็ตามพวกเขาต่างแบ่งปันทักษะที่อุเอะชิบะ และเป็นการต่อสู้ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคู่ต่อสู้มากที.

ใหม่!!: คันจิและไอกิโด · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คันจิและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: คันจิและเอเชียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เคียวอิกุกันจิ

ียวอิกุกันจิ เป็นอักษรคันจิซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น กำหนดไว้ว่าเป็นอักษรคันจิที่จำเป็นต้องเรียนในชั้นประถมศึกษา มีทั้งหมด 1,006 ตัว.

ใหม่!!: คันจิและเคียวอิกุกันจิ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: คันจิและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: คันจิและเซน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kanjiอักษรคันจิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »