โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แบดโรมานซ์

ดัชนี แบดโรมานซ์

"แบดโรมานซ์" (Bad Romance) คือซิงเกิลแรกของเลดี้ กาก้า นักร้องสาวชาวอเมริกัน จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ เพลงนี้เป็นผลงานการโปรดิวซ์ของเรดวัน โดยได้แรงบันดาลใจมาจากภาวะจิตบกพร่องที่เธอประสบมาเมื่อปีก่อน ฉบับเดโมของเพลงนี้เกิดการรั่วไหล กาก้าจึงเปิดตัวเพลงดังกล่าว ณ สัปดาห์แฟชั่นฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน ปี 2010 ของ Alexander McQueen เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ตามด้วยการเผยแพร่ภาพปกซิงเกิล.

26 ความสัมพันธ์: ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรบิลบอร์ดบิลบอร์ดฮอต 100พ.ศ. 2552สมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกาองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติชอเมริกันฮอตแดนซ์คลับเพลย์ดนตรีแดนซ์ซิงเกิลซีดีซิงเกิลปาปารัซซี (เพลง)ป็อปแอมะซอน (บริษัท)ไอทูนส์เรดวันเลดีกากาเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010เทเลโฟนเดอะเฟมมอนสเตอร์19 ตุลาคม23 พฤศจิกายน25 ตุลาคม26 ตุลาคม6 ตุลาคม

ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร

ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร (UK Singles Chart) คือชาร์ตที่จัดอันดับซิงเกิลโดยบริษัทดิออฟฟิเชียลยูเคชาร์ตสคอมปานี (The Official UK Charts Company, OCC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมดนตรีของอังกฤษ ชาร์ตรายสัปดาห์จะเริ่มนับจากวันอาทิตย์ จนกระทั่งถึงวันเสาร์ ชาร์ตนี้ออกเผยแพร่ทางนิตยสาร มิวสิกวีค โดยแสดง 75 อันดับแรก และชาร์ตพลัส แสดง 200 อันดับแรก และออกเผยแพร่ชาร์ตออนไลน์ใน 40 อันดับแรกเท่านั้น โดยได้รับความร่วมมือการให้ข้อมูลจากร้านค้าในสหราชอาณาจักรกว่า 6,500 ร้าน รวมถึงร้านทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย โดยซิงเกิลส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรจะออกจำหน่ายในวันจันทร์ ชาร์ตซิงเกิลเต็มรูปแบบ 200 อันดับแรกประกอบไปด้วยยอดขายจากซีดีและยอดการจำหน่ายทางดิจิตอลดาวน์โหลด โดยทั่วไปจะพิจารณากันใน 75 อันดับแรก และออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปเฉพาะใน 40 อันดับแรกทางสถานีวิทยุบีบีซีเรดิโอวันช่วงบ่ายวันอาทิตย์ ชาร์ต 75 อันดับแรกจะเผยแพร่ทางนิตยสาร มิวสิกวีค ในวันจันทร์ และชาร์ตเต็มรูปแบบ 200 อันดับแรกจะตีพิมพ์ใน ชาร์ตสพลัส หนังสือพิมพ์ชาร์ตอิสระ ในวันพุธ หมวดหมู่:อุตสาหกรรมดนตรีสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ชาร์ตเพลงสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

บิลบอร์ด

ลบอร์ด เป็นนิตยสารทางด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลงฉบับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีลักษณะของชาร์ทเพลงและอัลบั้ม ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยนิตยสารฉบับนี้จะมีตารางจัดอันดับเพลงและอัลบั้มยอดนิยมตามแนวเพลงในแต่ละสัปดาห์ แต่ตารางอันดับเพลงซึ่งคนทั่วโลกเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ "Billboard Hot 100" ชาร์ทเพลงอันดับ 1 ของโลก เป็นการจัดอันดับเพลง 100 อันดับ โดยไม่แบ่งประเภทหรือแนวเพลง และอีกตารางคือ "Billboard 200" ซึ่งเป็นการจัดอันดับอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 200 อัลบั้มตามผลสำรว.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และบิลบอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

บิลบอร์ดฮอต 100

ลโก้บิลบอร์ด บิลบอร์ดฮอต 100 (The Billboard Hot 100) เป็นชาร์ตอันดับซิงเกิลในวงการดนตรี ในสหรัฐที่วัดความนิยม ออกเป็นรายสัปดาห์โดยนิตยสารบิลบอร์ด โดยในการจัดอันดับวัดจากยอดการเปิดออกอากาศและยอดขาย โดยยอดขายประจำสัปดาห์นับยอดจากวันศุกร์ถึงวันพฤหัสบดี ขณะที่ยอดการออกอากาศนับจากวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ โดยชาร์ตอย่างเป็นทางการจะออกสู่สาธารณะทุกวันอังคาร ซึ่งหัวตารางของชาร์ตจะเป็นชาร์ตประจำสุดสัปดาห์ของวันเสาร์ถัดไป ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และบิลบอร์ดฮอต 100 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ

มาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (International Federation of the Phonographic Industry (IFPI)) เป็นองค์กรตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร และยังมีสำนักงานท้องถิ่นอยู่ในบรัสเซลส์ ฮ่องกง ไมแอมีและมอสโคว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประชาสัมพันธ์คุณค่ายของดนตรี คุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับผู้ผลิตเพลงและขยายไปถึงการใช้งานทางธุรกิจของดนตรี ให้บริการกับสมาชิก ในเรื่อง การให้คำแนะนำนโยบายกฎหมาย (วิ่งเต้น), การบังคับใช้กฎหมายเรื่องการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์, การฟ้องร้องและงานขึ้นทะเบียน, การวิจัยการตลาดและการสนับสนุนการสื่อสาร.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา

มาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (The Recording Industry Association of America หรือ RIAA) เป็นสมาคมที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบกิจการเพลงในสหรัฐ มีสมาชิกจากทั้งค่ายเพลง ตัวแทนจำหน่าย ที่สมาคมกล่าวว่า "เป็นการรวมผู้สร้าง ผู้ผลิต หรือ/และ แจกจ่ายประมาณ ซึ่งมี 90% ของที่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับเพลง ที่ผลิตและขายในสหรัฐอเมริกา" โดยทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจและศิลปินที่อยู่ใน วงการเพลง สมาคมก่อตั้งในปี 1952 โดยแรกเริ่มเพื่อจัดการ ดูแลด้านเทคนิคของความถี่ในการผลิตแผ่นเสียง ในระหว่างการผลิต จนสมาคมเริ่มพัฒนาเกี่ยวกับมาตรฐานด้านเทคนิค และระบบในอุตสาหกรรมเพลง เช่นเทปแม่เหล็ก (อย่างเทปคาสเซ็ตต์ และเทปดิจิทัล) ซีดี และเทคโนโลยีดิจิทัล.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติช

องค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติช (British Phonographic Industry (BPI)) เป็นองค์กรการค้าด้านสิ่งบันทึกเสียงของบริติช มีสมาชิกเป็นบริษัททางด้านดนตรีนับร้อย รวมถึงค่ายเพลงใหญ่ (วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป, อีเอ็มไอ, โซนีมิวสิกเอนเตอร์เทนเมนต์ และยูนิเวอร์แซลกรุ๊ป) ร่วมด้วยสมาชิกที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตและการจัดจำหน่าย และมีบริษัทค่ายเพลงอิสระอีกนับร้อย องค์กรเป็นตัวแทนดูแลผลประโยชน์ของบริษัทค่ายเพลงบริติชตั้งแต่เริ่มดำเนิการในปี..

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงบริติช · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอตแดนซ์คลับเพลย์

ร์ตฮอตแดนซ์คลับซองส์ของบิลบอร์ด (Billboard's Hot Dance Club Songs chart) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ คลับเพลย์ซิงเกิลส์ (Club Play Singles) หรือเป็นที่รู้จักก่อนหน้าในชื่อ ฮอตแดนซ์คลับเพลย์ (Hot Dance Club Play) และ ฮอตแดนซ์/ดิสโก้ (Hot Dance/Disco) เป็นชาร์ตอันดับซิงเกิลเพลงแดนซ์ ในสหรัฐอเมริกาที่วัดความนิยม ออกเป็นรายสัปดาห์โดยนิตยสารบิลบอร์ด โดยในการจัดอันดับวัดจากยอดการเปิดออกอากาศและยอ.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และฮอตแดนซ์คลับเพลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแดนซ์

ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และดนตรีแดนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิงเกิล

ทกกิงแชนเซส ของเซลีน ดิออน แบบซีดีซิงเกิล ซิงเกิล (Single นิยมอ่านว่า ซิงเกิล) ในทางดนตรีคือการบันทึกอย่างสั้นอย่างน้อย 1 เพลง ซึ่งออกจำหน่ายในรูปแบบที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และซิงเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ซีดีซิงเกิล

ซิงเกิลซีดี (CD single) คือซิงเกิลเพลงในรูปแบบซีดี ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงซีดีขนาด 3 นิ้ว รูปแบบนี้ได้นำมาใช้กลางคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แต่ไม่ได้นำมาใช้กับการตลาดจนกระทั่งในปีคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซิงเกิลของ Dire Straits ในเพลง "Brothers in Arms" (พ.ศ. 2528) เป็นซิงเกิลรูปแบบซีดีซิงเกิลแรก ซึ่งได้ออกจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ซิงเกิลแผ่น 3 นิ้วหรือ 8 เซนติเมตร เริ่มนำมาใช้ในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แต่ประสพความสำเร็จน้อยมากในสหรัฐอเมริกา แต่ประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น เมื่อไม่นานมานี้ยุโรปได้ออกจำหน่ายรูปแบบซีดี 3 นิ้วนี้ โดยใช้ชื่อว่าซีดี "พอกอิท" ("Pock it").

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และซีดีซิงเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ปาปารัซซี (เพลง)

ปาปารัซซี (Paparazzi) เป็นเพลงที่ 5 โดยศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า จากสตูดิโออัลบั้ม เดอะเฟม (2008) เขียนโดย เลดี้ กาก้า และ Rob Fusari, และผลิตโดย Rob Fusari ถูกปล่อยทั่วโลกวันที่ 5 กรกฎาคม 2009.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และปาปารัซซี (เพลง) · ดูเพิ่มเติม »

ป็อป

นตรีป็อป หรือ เพลงป็อป (pop music พอปมิวสิก) เป็นประเภทของเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950S.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และป็อป · ดูเพิ่มเติม »

แอมะซอน (บริษัท)

แอมะซอน.คอม (Amazon.com -) เป็นเว็บไซต์ในลักษณะอีคอมเมิร์ซ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซีแอตเทิล ในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา แอมะซอนเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีขนาดใหญ่กว่าอันดับ 2 ซึ่งคือ สเตเปิลส์ ประมาณสามเท่าตัว เจฟฟ์ เบซอสก่อตั้งแอมะซอนในปี พ.ศ. 2537 และเริ่มเปิดให้บริการออนไลน์ในปี พ.ศ. 2538 โดยเริ่มต้นจากการขายหนังสือออนไลน์ และขยายกิจการทั้งในด้าน วีเอสเอช ดีวีดี ซีดีเพลง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อาหาร ฯลฯ เว็บไซต์แอมะซอนเองยังมีเว็บไซต์ย่อยแยกออกมาสำหรับขายของในประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส จีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากนี้ ประเทศนอกเหนือจากนี้ยังสามารถซื้อของผ่านแอมะซอน โดยการส่งสินค้าข้ามประเทศได้.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และแอมะซอน (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

ไอทูนส์

อทูนส์ (iTunes) ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับฟังเพลงและเปิดไฟล์วิดีโอ (รองรับไฟล์.aac,.mp3,.mp4,.mov,.m4v,.wav,.midi) พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเล่นและจัดเก็บไฟล์เพลง รวมถึงเชื่อมต่อเข้ากับ ไอทูนส์สโตร์ ไอทูนส์ได้รับความนิยมเนื่องจากลักษณะการใช้งานที่เรียบง่าย และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต โดยมีความสามารถอื่นที่สำคัญในการเก็บและการจัดเรียงไฟล์เพลงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทำงานบนระบบปฏิบัติการแม็คโอเอสเท็น วินโดวส์ 2000 วินโดวส์ XP วินโดวส์ วิสตา วินโดวส์ 7 วินโดวส์ 8 วินโดวส์ 8.1 และ วินโดวส์ 10.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และไอทูนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เรดวัน

รดวัน (Nadir Khayat) เกิดวันที่ 9 เมษายน..

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และเรดวัน · ดูเพิ่มเติม »

เลดีกากา

ตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา(accessdate) หรือที่รู้จักในนาม เลดี้ กาก้า (Lady Gaga) เป็นศิลปินเพลงป็อบชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 เริ่มแสดงดนตรีครั้งแรกกับวงร็อกในนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 2003 เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะทิสช์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาได้อยู่ในสังกัดอินเตอร์สโคป และต่อสัญญากับค่ายสตรีมไลน์ ในเครืออินเตอร์สโคปในปี ค.ศ. 2007 เธอเคยเขียนเพลงให้กับศิลปินร่วมสังกัด ทำให้ความสามารถด้านการร้องเพลงของเธอได้รับความสนใจจาก Akon และได้เซ็นสัญญากับ คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน The Fame อัลบั้มแรกของเธอ ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ และสามารถติดชาร์ต 1 ใน 10 อันดับแรกในอีกหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำสถิติขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 2 และขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ ของบิลบอร์ด และอีกสองเพลงเปิดตัว คือ Just Dance และ Poker face ที่กาก้าร่วมแต่งและผลิตกับเรดวัน ก็เป็นที่นิยมและติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศ รวมถึงอันดับต้น ๆ ของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่มากถึง 6 สาขารางวัล และได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิกส์/เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมจากเพลง Poker Face ต้น ค.ศ. 2009 เธอออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในชื่อ The Fame Ball Tour และในปลายปีเดียวกัน เธอได้ประกาศวางจำหน่ายอัลบั้มเสริม The Fame Monster เป็นอัลบั้มต่อจากอัลบั้มเปิดตัว The Fame อัลบั้มนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 6 สาขารางวัล สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งด้วยซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม คือ Bad Romance และได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สอง The Monster Ball Tour ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน กาก้าได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงแนวแกลมร็อก โดยมีศิลปินอย่างเดวิด โบวี และวงควีน รวมทั้งนักร้องเพลงป็อป เช่น มาดอนนา และไมเคิล แจ็กสัน อีกทั้งแฟชั่น ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงและการแสดงของเธอ กาก้าอยู่ในอันดับที่ 73 ของศิลปินยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2000 โดยการจัดลำดับของบิลบอร์ด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ยอดขายอัลบั้มของเธอทะลุ 15 ล้านสำเนา และ 51 ล้านซิงเกิลทั่วโลก นิตยสารไทม์ส จัดลำดับให้เลดี้ กาก้า อยู่ในรายชื่อไทม์ส 100 ที่รวบรวมบุคคลทรงอิทธิพลต่อโลกประจำ..

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และเลดีกากา · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010

อ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010 (2010 MTV Video Music Awards) เป็นงานประกาศผลรางวัลมิวสิกวิดีโอโดยเอ็มทีวี กำหนดจัดในวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2553 ตามเวลาประเทศไทย ณ โนเกีย เธียเตอร์ ลอสแอนเจลิส โดย เลดี้กาก้า ได้รับการเสนอชื่อในผลงานตัวเอง 13 สาขา นับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การจัดงาน.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010 · ดูเพิ่มเติม »

เทเลโฟน

"เทเลโฟน" (Telephone) คือซิงเกิลที่สองของเลดี้ กาก้า ศิลปินชาวอเมริกันจากสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สองของเธอ เดอะเฟมมอนสเตอร์ โดยร่วมงานขับร้องกับบียอนเซ่ โนวส์ นักร้องอารืแอนด์บีชาวอเมริกัน เดิมนั้นกาก้าประพันธ์เพลง "เทเลโฟน" ขึ้นเพื่อให้บริตนีย์ สเปียรส์ หากทว่ามิได้เป็นไปตามแผนการดังกล่าว กาก้าจึงนำเพลงนี้มาขับร้องเพลงเอง โดยร่วมกับบียอเซ่ แรงบันดาลใจหลักของการประพันธ์เพลงนี้คือความกลัวต่อภาวะหายใจไม่ออกของกาก้า เนื้อเพลงเป็นการพรรณนาเกี่ยวกับผู้ร้องเพลงเป็นผู้ที่ชื่นชอบการเต้นในฟลอร์มากกว่าการตอบโทรศัพท์คนที่รัก กาก้าอธิบายว่า telephone ในเนื้อเพลงนั้นเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง ซึ่งคอยบอกให้เธอทำงานหนักขึ้น ดนตรีของบทเพลงประกอบด้วยบริดจ์, เวิร์ส-แรปที่ขยายออก และบทส่งท้ายที่ขาดการเชื่อมต่อกับบทเพลง โนวส์ร่วมขับร้องในส่วนท่อนกลางของเพลง ซึ่งเป็นในช่วงที่บทประพันธ์ต้องขับร้องอย่างรวดเร็วพร้อมเสียงดับเบิลบีตส์ "เทเลโฟน" ได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์แนวร่วมสมัยทั่วไป ซึ่งกล่าวว่าเป็นเพลงที่โดดเด่นจากอัลบั้ม เดอะเฟมมอนสเตอร์ มีคำวิจารณ์ที่เปรียบเทียบเพลงนี้กับ "จัสแดนส์" ซิงเกิลแรกของเธอ ซิงเกิลนี้ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่สองของอัลบั้มและขึ้นชาร์ตดิจิตอลดาวน์โหลดในหลายประเทศ ตามหลังการออกจำหน่ายอัลบั้มในสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ไอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, สวีเดน, ฮังการี และสหราชอาณาจักร กาก้าเคยขับร้องเพลงนี้ในรูปแบบอคูสติกร่วมกับเพลง "แดนส์อินเดอะดาร์ก" ในงานประกาศรางวัลบริตประจำปี ค.ศ. 2010เพื่อรำลึกถึงอเล็กซานเดอร์ แม็กควีน และเพลงนี้ยังอยู่ในรายชื่อเพลงในการจัดคอนเสิร์ตเดอะมอนสเตอร์บอลทัวร์ในยุโรป กาก้าอธิบายมิวสิกวิดีโอว่าจะเป็นเรื่องราวตามต่อจากมิวสิกวิดีโอเพลง "ปาปารัสซี่" ซึ่งถ่ายทำเป็นลักษณะภาพยนตร์สั้น โดยกาก้าจะอยู่ในคุกและได้รับการประกันตัวโดยบียอนเซ่ พวกเธอไปยังร้านอาหารเล็กๆซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ซึ่งทั้งสองได้ฆ่าแขกของร้านทั้งหมด ในตอนจบกาก้าและบียอนเซ่หลบหนีจากตำรวจ และคาราวะต่อเควนติน แทแรนติโนและภาพยนตร์ของเขาเรื่อง คิลบิล ในปี..

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และเทเลโฟน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฟมมอนสเตอร์

อะเฟมมอนสเตอร์ (The Fame Monster) เป็นอีพีลำดับที่สามของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 ในตอนแรก 8 แทร็คจากอัลบั้มนี้ตั้งใจที่จะเป็นเพิ่มลงในอัลบั้มชุดแรก The Fame แต่ต่อมาเธอประกาศว่าเพลงใหม่ทั้งหมดนี้จะถูกวางจำหน่ายแบบอัลบั้มเดี่ยว เนื่องจากการทำเพิ่มเพลงลงอัลบั้มเดิมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และเนื้อหาในอัลบั้มใหม่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากอัลบั้ม The Fame และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพลงจากอัลบั้มแรกมาสนับสนุน 5 สัปดาห์ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 ได้มีการวางจำหน่ายอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ รุ่นดีลักซ์ที่มี 2 ซีดีจากเดอะเฟมมอนสเตอร์และ The Fame ที่มาในรูปแบบโบนัสดิสก์ เดอะเฟมมอนสเตอร์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านมืดของความโด่งดังที่เลดี้กาก้าพบเจอจากประสบการณ์จริงระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตปี 2008-2009 ผ่านคำเปรียบเทียบ "Monster-ปีศาจ" และเปรียบเทียบความรู้สึกต่อเดอะเฟมมอนสเตอร์กับ The Fame ว่าต่างกันเหมือนกับหยินหยาง เธอรบเร้าให้ต้นสังกัดอนุญาตให้เธอถ่ายภาพปกอัลบั้มในสไตล์โกธิคที่มืดหม่น โดยมีเฮดิ ซลิมาน เป็นช่างภาพ เพลงในอัลบั้มได้รับอิทธิพลจากเพลงโกธิคและแฟชั่นโชว์ เพลง Bad Romance, Telephone และ Dance in the Dark ต่างเป็นเพลงที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก บางประเทศอีพีนี้ขึ้นชาร์ตคู่กับอัลบั้ม The Fame ยกเว้นสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่นที่ขึ้นชาร์ตเป็นอัลบั้มเดี่ยวเท่านั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย เยอรมนี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร Bad Romance ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลแรก และสามารถขึ้นชาร์ตอัลบั้มขายดีที่อันดับหนึ่งในประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ติดชาร์ตอันดับที่ 2 ของออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และสวีเดน ซิงเกิลต่อมาคือ Telephone และ Alejandro ก็สามารถติดชาร์ตหนึ่งในสิบอันดับแรกของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2009 4 วันหลังประกาศจำหน่ายอัลบั้มใหม่ เลดี้กาก้าประกาศทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอในชื่อว่า The Monster Ball Tour และจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2011 นี้ เดอะเฟมมอนสเตอร์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่อวอร์ดทั้งสิ้น 6 สาขารางวัล 2 ใน 6 รางวัลที่เข้าชิง ได้แก่รางวัลอัลบั้มแห่งปีและรางวัลอัลบั้มเพลงป็อบยอดเยี่ยม.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และเดอะเฟมมอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

19 ตุลาคม

วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันที่ 292 ของปี (วันที่ 293 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 73 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และ19 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤศจิกายน

วันที่ 23 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 327 ของปี (วันที่ 328 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 38 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และ23 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

25 ตุลาคม

วันที่ 25 ตุลาคม เป็นวันที่ 298 ของปี (วันที่ 299 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 67 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และ25 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 ตุลาคม

วันที่ 26 ตุลาคม เป็นวันที่ 299 ของปี (วันที่ 300 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 66 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และ26 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 ตุลาคม

วันที่ 6 ตุลาคม เป็นวันที่ 279 ของปี (วันที่ 280 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 86 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบดโรมานซ์และ6 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bad Romanceแบดโรมานส์แบดโรแมนซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »