โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะดอมินิกัน

ดัชนี คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

29 ความสัมพันธ์: ชีวิตอารามวาสีพ.ศ. 2553กาเตรีนาแห่งซีเอนาสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 5สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13หลุยส์ เดอ มงฟอร์อัลแบร์ตุส มาญุสอัคราธิการทอมัส อไควนัสคอนแวนต์คณะชั้นสามของนักบุญดอมินิกคณะฟรันซิสกันคณะออกัสติเนียนคณะคาร์เมไลท์คณะนักบวชภิกขาจารคณะนักบวชคาทอลิกประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีปารีสนักบุญดอมินิกนักพรตหญิงโรมโรซาแห่งลิมาไฟรเออร์25 กรกฎาคม

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

กาเตรีนาแห่งซีเอนา

นักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา (Caterina da Siena) เป็นสมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม..

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและกาเตรีนาแห่งซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 5

มเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 5 (Innocent V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1276.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5

มเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 หรือ นักบุญปิอุสที่ 5 (Pius V; Pius V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1566 ถึง ค.ศ. 1572 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสังคายนาแห่งเทรนต์ การปฏิรูปคาทอลิก และปรับปรุงจารีตโรมันในคริสตจักรละตินให้มีมาตรฐาน ในทางการเมือง พระองค์ได้ขับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ออกจากศาสนจักร เพราะพระนางสนับสนุนให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวออกจากสันตะสำนัก และยังเบียดเบียนคริสตชนคาทอลิกจำนวนมากในอังกฤษ พระองค์ยังร่วมก่อตั้งสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1571) เพื่อต่อต้านทัพมุสลิมของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อสันนิบาตได้รับชัยชนะ พระองค์ได้ยกย่องว่าเป็นผลจากการอธิษฐานของพระนางมารีย์พรหมจารี และตั้งวันฉลองแม่พระแห่งชัยชนะขึ้นเป็นครั้งแรก (ปัจจุบันเรียกว่า "แม่พระแห่งลูกประคำ").

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 (อังกฤษ: Honorius III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1216 ถึง ค.ศ. 1227 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ฮโโนริอุสที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 (Benedict XI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1303 ถึง ค.ศ. 1304 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1783 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บแนดิกต์ที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเวเนโต.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 (Benedict XII) มีพระนามเดิมว่า ปีเอโตร ฟรันเชสโก ออร์ซีนี (Pietro Francesco Orsini) ประสูติวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1724 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1730 รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา เมื่อทรงปฏิญาณตนเป็นไฟรเออร์คณะดอมินิกัน มีพระนามฉายาว่า วินเซนโซ มาเรีย ออร์ซีนี (Vincenzo Maria Orsini) เคยดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งมันเฟรโดเนีย อาร์ชบิชอปแห่งเซเซนา และอาร์ชบิชอปแห่งเบเนเวนโต ก่อนขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา หลังจากสิ้นพระชนม์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้า หมวดหมู่:ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า หมวดหมู่:ตระกูลออร์ซินี หมวดหมู่:พระสันตะปาปาชาวอิตาลี หมวดหมู่:พระสันตะปาปาที่เป็นสมาชิกคณะดอมินิกัน หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นปุลยา.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ เดอ มงฟอร์

นักบุญหลุยส์ มารี กรีญียง เดอ มงฟอร์ (Louis-Marie Grignion de Montfort) เป็นมิชชันนารี นักเทศน์ และบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ผู้ส่งเสริมการอุทิศตนต่อพระนางมารีย์พรหมจารีและสวดสายประคำ ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชคาทอลิก ได้แก่ คณะธรรมทูตพระแม่มารีย์ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล และคณะธิดาปรีชาญาณ.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและหลุยส์ เดอ มงฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ตุส มาญุส

นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุสกีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 609 (Albertus Magnus) หรือนักบุญอัลเบิร์ตผู้ยิ่งใหญ่ (Albert the Great) หรือนักบุญอัลเบิร์ตแห่งโคโลญ (Saint Albert of Cologne) เป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เกิดราวปี ค.ศ. 1193/ค.ศ. 1206 ที่เลาอิงเงิน ดัชชีบาวาเรีย (ประเทศเยอรมนีปัจจุบัน) และถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและอัลแบร์ตุส มาญุส · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส อไควนัส

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและทอมัส อไควนัส · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก

ณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก (Third Order of St.), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2557 หรือคณะดอมินิกันชั้นสาม คือกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่เป็นสมาชิกคณะดอมินิกัน แต่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณอย่างสง่า (solemn vows) การเรียกว่าคณะชั้นสามนั้นเพื่อให้ต่างจากคณะของไฟรเออร์ซึ่งเป็นคณะชั้นหนึ่ง และคณะของนักพรตหญิงซึ่งเป็นคณะชั้นสอง ในปัจจุบันมีคณะดอมินิกันชั้นสามอยู่หลายคณะ กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคณะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์

ณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo; Order of Brothers of The Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) หรือที่มักรู้จักกันในนามคณะคาร์เมไลท์ (Carmelite Order) (บางแห่งเรียกว่า คณะคาร์แมล) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารคณะหนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในยุคแรกนักบวชในคณะนี้เน้นวัตรปฏิบัติอย่างฤๅษี (hermit) คือเก็บตัวภาวนา เพ่งฌาน เกือบตัดขาดจากโลกภายนอก.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะคาร์เมไลท์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชภิกขาจาร

ณะนักบวชภิกขาจาร (mendicant order) คือกลุ่มนักบวชที่ไม่ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ๆ (หรือครอบครองเฉพาะที่จำเป็น) ไม่ว่าเป็นการส่วนตัวหรือในนามองค์กร แต่อาศัยปัจจัยยังชีพจากฆราวาสหรือของที่ถูกทิ้งแล้ว และจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่อาศัยประจำอยู่ที่แห่งใดโดยเฉพาะ นักบวชภิกขาจารในศาสนาพุทธคือพระภิกษุ ในศาสนาคริสต์คือไฟรเออร์ ในศาสนาฮินดูคือสันนยาสิน.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะนักบวชภิกขาจาร · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดอมินิก

นักบุญดอมินิกแห่งออสมา (Saint Dominic of Osma; ค.ศ. 1170 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1221) นักบุญดอมินิกแห่งออสมา หรือ นักบุญดอมินิกแห่งกุซมัน เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้ก่อตั้งคณะดอมินิกัน เชื่อว่าเป็นบุคคลแรกที่นำสายประคำมาใช้ในการสวดภาวนาของชาวคาทอลิก และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักดาราศาสตร.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรซาแห่งลิมา

นักบุญโรซาแห่งลิมา (Santa Rosa de Lima) เป็นชาวสเปนในนิคมกรุงลิมา เขตอุปราชแห่งเปรู ในจักรวรรดิสเปน สมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก มีชื่อเสียงจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเข้มงวด และเป็นคนแรกที่เกิดในทวีปอเมริกาที่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและโรซาแห่งลิมา · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

25 กรกฎาคม

วันที่ 25 กรกฎาคม เป็นวันที่ 206 ของปี (วันที่ 207 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 159 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คณะดอมินิกันและ25 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dominican OrderDominicansOrder of Friars Preachersลัทธิโดมินิกันลัทธิโดมินิคันคณะโดมินิกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »