โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอชทีทีพี

ดัชนี เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

29 ความสัมพันธ์: บัฟเฟอร์ข้อมูลช่องว่างพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนยูอาร์แอลสารสนเทศสื่อผสมอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตบอตอีเมลทีซีพีทีแอลเอสข้อมูลเมทาคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไฟล์คอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกตเวย์เวิลด์ไวด์เว็บเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมเว็บครอว์เลอร์เว็บแบนเนอร์เว็บไซต์เว็บเบราว์เซอร์เอชทีทีพีคุกกี้เอชทีเอ็มแอลเครื่องลูกข่ายเซิร์ฟเวอร์

บัฟเฟอร์ข้อมูล

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) หรือที่พักข้อมูล เป็นพื้นที่บนหน่วยความจำใช้สำหรับเก็บข้อมูลชั่วคราวขณะถูกย้ายจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง โดยปกติ ข้อมูลถูกเก็บในบัฟเฟอร์หลังจากรับมาจากอุปกรณ์นำเข้า (เช่น ไมโครโฟน) หรือก่อนถูกส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก (เช่น ลำโพง) อย่างไรก็ตาม บัฟเฟอร์อาจถูกใช้ขณะย้ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบได้กับบัฟเฟอร์ในทางโทรคมนาคม บัฟเฟอร์สามารถใช้ในบริเวณหน่วยความจำที่กำหนดไว้ในฮาร์ดแวร์ หรือโดยใช้บัฟเฟอร์ข้อมูลเสมือนในซอฟต์แวร์ โดยชี้ที่ตำแหน่งในหน่วยความจำก็ได้ ในทุกกรณีนั้น ข้อมูลที่ถูกเก็บในบัฟเฟอร์ข้อมูลจะถูกเก็บในสื่อกลางเก็บข้อมูลด้วย บัฟเฟอร์ส่วนใหญ่ถูกใช้งานในซอฟต์แวร์ซึ่งมักใช้แรมที่เร็วกว่าเก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์มักถูกใช้เมื่อมีความแตกต่างระหว่างอัตราการรับข้อมูลและอัตราการประมวลผล หรือในกรณีที่อัตราต่าง ๆ นี้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น สปูเลอร์ของเครื่องพิมพ์ หรือในสื่อวิดีโอออนไลน์แบบส่งต่อเนื่อง บัฟเฟอร์หนึ่งมักปรับการตั้งเวลาโดยใช้อัลกอริทึมแถวคอย (หรือเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)) พร้อมกับเขียนข้อมูลลงแถวคอยที่อัตราหนึ่ง และอ่านข้อมูลที่อีกอัตราหนึ่ง หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและบัฟเฟอร์ข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

ช่องว่าง

องว่าง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและช่องว่าง · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์

ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ (proxy server) หรือเรียกโดยย่อว่า พร็อกซี คือเซิร์ฟเวอร์ (ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมประยุกต์) ที่ทำงานโดยการเป็นตัวกลางในการหาข้อมูลตามคำขอของเครื่องลูกข่ายจากเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ กล่าวคือเครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อไปที่ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอใช้งานบางบริการ เช่น ไฟล์ การเชื่อมต่อ เว็บเพจ หรือทรัพยากรต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์อื่น จากนั้น พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะทำการคัดกรองด้วยกฎที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น คัดกรองจาก หมายเลขไอพี, Protocol หลังจากนั้นถ้าการขอผ่านการคัดกรอง พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะจัดหาข้อมูลตามคำร้องขอจากเซิร์ฟเวอร์อื่นแทนเครื่องลูก....

ใหม่!!: เอชทีทีพีและพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน (chunked transfer encoding) เป็นวิธีหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เอชทีทีพี ในการส่งถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมประยุกต์ของเครื่องลูกข่าย (ซึ่งมักจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์) ปกติแล้วข้อมูลที่ได้รับจากข้อความตอบรับเอชทีทีพีจะถูกส่งมาเป็นข้อมูลชิ้นเดียว ซึ่งขนาดของเนื้อหานั้นได้แสดงไว้ในส่วนหัว Content-Length ขนาดของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเครื่องลูกข่ายจำเป็นต้องทราบว่า เมื่อไรข้อความตอบรับจะสิ้นสุดและเมื่อไรข้อความถัดไปจะตามมา และด้วยการใช้การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน ข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกย่อย ๆ และถูกส่งออกไปเป็นหนึ่งหรือหลาย "ชิ้นส่วน" (chunk) ดังนั้นเครื่องแม่ข่ายอาจเริ่มส่งข้อมูลก่อนที่มันจะทราบว่าขนาดรวมทั้งหมดของเนื้อหาเป็นเท่าใด บ่อยครั้งที่ขนาดของบล็อกจะเท่ากันหมด แต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งเครื่องให้บริการเอชทีทีพีใช้การบีบอัดข้อมูล (gzip หรือ deflate) เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการส่งถ่ายข้อมูล แม้ว่าการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนสามารถใช้ได้กับทรัพยากรที่บีบอัดเพื่อลดปริมาณชิ้นส่วนที่ส่ง แต่หลังจากแบ่งแล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการบีบอัดในตัวเองก็จะไม่มีประโยชน์อะไร แถมยังทำให้เซิร์ฟเวอร์เสียเวลาในการบีบอัดอย่างเต็มที่ แล้วข้อมูลบีบอัดที่ออกมาจึงค่อยถูกตัดแบ่งตามแผน ส่วนกรณีที่มีการตัดแบ่งเป็นชิ้นส่วนก่อนแล้วค่อยนำไปบีบอัด มีข้อดีตรงที่สามารถบีบอัดได้ทันทีในขณะที่ข้อมูลกำลังส่ง เพราะข้อมูลที่นำมาบีบอัดมีขนาดเล็ก แต่ก็มีข้อเสียคือไม่สามารถทราบถึงขนาดข้อมูลสุดท้ายที่บีบอัดแล้วได้โดยง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน · ดูเพิ่มเติม »

ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและยูอาร์แอล · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศ

รสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อผสม

"นักบุญฟรังซิสกับนิมิต" ภายในโบสถ์น้อยหนึ่งในภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์ตา สื่อผสม (mixed media) เป็นวิจิตรศิลป์ ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อ หรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมารวมกันขึ้นไปมาสร้างเป็นงานชิ้นเดียวกัน โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกัน มานำจุดเด่นของแต่ละสื่อมาใช้ร่วมกัน เช่น การสร้างภาพชุดชีวิตของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีตามโบสถ์น้อยต่าง ๆ ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งพีดมอนต์และลอมบาร์ดีทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีที่ใช้ทั้งประติมากรรมและจิตรกรรมมาผสมผสานเข้าเป็นการงานชิ้นเดียวกัน ที่ทำให้เป็นงานที่มีลักษณะเป็นสามมิติ หมวดหมู่:ศิลปร่วมสมัย.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและสื่อผสม · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตบอต

บอต (bot) หรือ อินเทอร์เน็ตบอต (Internet bot) คือโปรแกรมอัตโนมัติสำหรับทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งบอตย่อมาจากคำว่าโรบอต (robot) แปลว่าหุ่นยนต์ บอตที่นิยมใช้ในอินเทอร์เน็ต สำหรับการเก็บข้อมูลจากเว็บเพจ เรียก เว็บครอว์เลอร์ (web crawler) หรือ สไปเดอร์ (spider) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของเว็บนั้นมาทำการวิเคราะห์ เช่น กูเกิลบอต (GoogleBot) เก็บข้อมูลจากเว็บต่างๆ แล้วมาทำดัชนีของเว็บเพื่อใช้ในเสิร์ชเอนจิน บอตในไออาร์ซีหรือในเมสเซนเจอร์ เป็นโปรแกรมอัตโนมัติที่ตอบคำถามของผู้ใช้ต่างๆ โดยบอตประเภทนี้จะนำคำถามของผู้ใช้มาประมวลผลตามเงื่อนไข และเมื่อพบคำตอบที่น่าจะเกี่ยวข้องจะส่งคำตอบกลับไป หรือถ้าไม่พบคำตอบจะส่งข้อความว่า ไม่เข้าใจในคำถามให้ถามคำถามใหม่ บอตประเภทนี้สามารถตอบคำถามได้หลายประเภท รวมถึงการค้นหา ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รายงานสภาพภูมิอากาศปัจจุบัน ผลการแข่งขันกีฬา เป็นต้น หมวดหมู่:บอต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและอินเทอร์เน็ตบอต · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: เอชทีทีพีและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ทีซีพี

เกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล หรือ ทีซีพี (Transmission Control Protocol: TCP) เป็นหนึ่งในโพรโทคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน้าที่หลักของทีซีพี คือ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างแม่ข่ายถึงเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยตัวโพรโทคอลจะรับประกันความถูกต้อง และลำดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นทีซีพียังช่วยจำแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทำงานอยู่บนแม่ข่ายเดียวกันให้ถูกต้องด้วย งานหลักที่สำคัญของทีซีพีอีกงานหนึ่งคือ เป็นโพรโทคอลที่ขั้นกลางระหว่างแอปพลิเคชันและเครือข่ายไอพี ทำให้แอปพลิเคชันจากแม่ข่ายหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลออกยังอีกแม่ข่ายหนึ่งผ่านเครือข่ายเปรียบเสมือนมีท่อส่งข้อมูลระหว่างกัน ทีซีพี เป็นโพรโทคอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกของอินเทอร์เน็ต มีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ใช้โพรโทคอลทีซีพีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและทีซีพี · ดูเพิ่มเติม »

ทีแอลเอส

วามมั่นคงของชั้นขนส่ง หรือ ทีแอลเอส (Transport Layer Security: TLS) หรือชื่อเดิม ชั้นซ็อกเก็ตปลอดภัย หรือ เอสเอสแอล (Secure Sockets Layer: SSL) เป็นโพรโทคอลที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลที่ส่งในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเพจ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา และอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูล มีข้อแตกต่างในรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง SSL 3.0 และ TLS 1.0 เพียงเล็กน้อย ดังนั้นตัวย่อ SSL จะหมายถึงโพรโทคอลทั้งคู่ ในกรณีที่ไม่ระบุว่าตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและทีแอลเอส · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูลเมทา

้อมูลเมทา(metadata) หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ถูกจัดทำขึ้นอย่างมีโครงสร้างเพื่อใช้ในการบรรยายทรัพยากรสารสนเทศ ในด้านลักษณะเนื้อหา และบริบทที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ลักษณะทางกายภาพและการผลิตทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ (Relation) ระหว่างองค์ประกอบที่ใช้ในการบรรยายทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองการทำงาน คือ การสืบค้น และการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดสิทธิในการใช้ การกำหนดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การสงวนรักษ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและข้อมูลเมทา · ดูเพิ่มเติม »

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต

ตราสัญลักษณ์ของ IETF คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต หรือ ไออีทีเอฟ (Internet Engineering Task Force: IETF) เป็นองค์กรของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานโพรโทคอลสำหรับการทำงานของอินเทอร์เน็ต เช่น TCP/IP โดย IETF อยู่ในการควบคุมของ Internet Society ซึ่งสมาชิกของ IETF จะถอนตัวจากสมาชิกภาพทั้งส่วนบุคคล และองค์กรจาก Internet Society มาตรฐานที่กำหนดเป็นรูปแบบของ Request for Comment หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ประวัติอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์คอมพิวเตอร์

ฟล์ (file) หรือ แฟ้ม ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มระเบียนสารสนเทศใด ๆ หรือทรัพยากรสำหรับเก็บบันทึกสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโดยปกติจะอยู่บนหน่วยเก็บบันทึกถาวรบางชนิด ซึ่งไฟล์นั้นคงทนถาวรในแง่ว่า ยังคงใช้งานได้สำหรับโปรแกรมอื่นหลังจากโปรแกรมปัจจุบันใช้งานเสร็จสิ้น ไฟล์คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นของทันสมัยคู่กับเอกสารกระดาษ ซึ่งแต่เดิมจะถูกเก็บไว้ในตู้แฟ้มเอกสารของสำนักงานและห้องสมุด จึงเป็นที่มาของคำนี้ ไฟล์อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น แฟ้มข้อมูล, แฟ้มอิเล็กทรอนิกส์, แฟ้มคอมพิวเตอร์, แฟ้มดิจิทัล, ไฟล์ข้อมูล, ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์, ไฟล์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ไฟล์, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและไฟล์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกตเวย์

กตเวย์ (Gateway หรือ gateway) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเกตเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม

วิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม หรือ ดับเบิลยูทรีซี (World Wide Web Consortium: W3C) คือองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่จัดระบบมาตรฐานที่ใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW หรือ W3) โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะเป็นแกนนำทางด้านพัฒนาโพรโทคอล และวิธีการใช้งานสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บทั้งหมด นอกจากนี้ทาง W3C มีการบริการทางการศึกษา การพัฒนาซอฟต์แวร์ และเปิดให้ใช้ฟอรัมในการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเว็บ เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม นำโดย ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม · ดูเพิ่มเติม »

เว็บครอว์เลอร์

ว็บครอว์เลอร์ (Web Crawler) เป็นบอตอินเทอร์เน็ตที่ทำงานท่องไปบนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยปกติแล้วมีจุดประสงค์เพื่อทำการจัดทำดัชนีเว็บ เว็บครอว์เลอร์อาจเรียกว่าเว็บสไปเดอร์ (web spider) มด (ant) ตัวจัดทำดัชนีอัตโนมัติ (automatic indexer) ในโปรแกรม FOAF มีชื่อเรียกว่า Web scutter เสิร์ชเอนจินและบางเว็บไซต์ใช้เว็บครอว์เลอร์ในการปรับปรุงเนื้อหาเว็บหรือดัชนีของเนื้อหาเว็บอื่น ๆ ตัวเว็บครอว์เลอร์นั้นสามารถคัดลอกหน้าที่มันผ่านเข้าไปประมวลผล เพื่อที่การค้นหาเว็บด้วยเสิร์ชเอนจินหลังจากนั้นจะสามารถใช้ดัชนีเข้ามาช่วยทำให้ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บครอว์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บแบนเนอร์

ว็บแบนเนอร์ (web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์ ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซล เว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server) เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์ โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ เช่น ไพรว็อกซี (Provoxy).

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บแบนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพีคุกกี้

อชทีทีพีคุกกี้ (HTTP cookie) นิยมเรียกว่า เว็บคุกกี้ หรือ คุกกี้ หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังเว็บเบราว์เซอร์ และถูกส่งกลับมายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกๆครั้งที่เว็บเบราว์เซอร์ร้องขอข้อมูล โดยปกติแล้วคุกกี้จะถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กๆไว้ที่เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถจดจำสถานะการใช้งานของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างการใช้งานคุกกี้เช่น ใช้เพื่อจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้ เวลาที่ผู้ใช้เข้าเว็บครั้งล่าสุด ข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ ข้อมูลในคุกกี้เหล่านี้ ทำให้เว็บไซต์สามารถที่จะจดจำผู้ใช้ได้ แต่ไม่สามารถส่งคำสั่งมาประมวลผล หรือส่งไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านคุกกี้ได้ และมีเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่สร้างคุกกี้นั้นๆ เท่านั้นจึงจะสามารถอ่านค่าของคุกกี้ดังกล่าวได้ คุกกี้เป็นมาตรฐาน ออกเมื่อ กุมภาพัน..

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอชทีทีพีคุกกี้ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย หรือ ไคลเอนต์ (client) เป็นระบบหรือแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ได้ คำว่าไคลเอนต์เริ่มมีการใช้เรียกถึงคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในตัวเองได้ แต่สามารถใช้งานโปรแกรมนั้นผ่านทางระบบเครือข่าย หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเครื่องลูกข่าย · ดูเพิ่มเติม »

เซิร์ฟเวอร์

รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HTTPHttpHyperText Transfer ProtocolHypertext Transfer Protocolเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »