เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เว็บแบนเนอร์

ดัชนี เว็บแบนเนอร์

ว็บแบนเนอร์ (web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์ ตัวอย่างเว็บแบนเนอร์ทั่วไป ขนาด 468×60 พิกเซล เว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server) เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์ โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ เช่น ไพรว็อกซี (Provoxy).

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์พิกเซลพิง (รูปแบบไฟล์)การโฆษณาสื่อประสมอัตราส่วนอัตราส่วนลักษณะอินเทอร์เน็ตจาวาจาวาสคริปต์ป้ายโฆษณาแบนด์วิดท์แฟลชไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์ไฮเปอร์ลิงก์เวิลด์ไวด์เว็บเว็บเบราว์เซอร์เว็บเพจเจเพ็กGIF

  2. การตลาดบนอินเทอร์เน็ต
  3. การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต

พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์

ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ (proxy server) หรือเรียกโดยย่อว่า พร็อกซี คือเซิร์ฟเวอร์ (ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมประยุกต์) ที่ทำงานโดยการเป็นตัวกลางในการหาข้อมูลตามคำขอของเครื่องลูกข่ายจากเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ กล่าวคือเครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อไปที่ พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอใช้งานบางบริการ เช่น ไฟล์ การเชื่อมต่อ เว็บเพจ หรือทรัพยากรต่าง ๆ จากเซิร์ฟเวอร์อื่น จากนั้น พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะทำการคัดกรองด้วยกฎที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น คัดกรองจาก หมายเลขไอพี, Protocol หลังจากนั้นถ้าการขอผ่านการคัดกรอง พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์จะจัดหาข้อมูลตามคำร้องขอจากเซิร์ฟเวอร์อื่นแทนเครื่องลูก....

ดู เว็บแบนเนอร์และพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์

พิกเซล

มื่อขยายรายละเอียดภาพจะเห็น พิกเซลของภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้ จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอ.

ดู เว็บแบนเนอร์และพิกเซล

พิง (รูปแบบไฟล์)

PNG ของโลโก้วิกิพีเดีย ภาพกราฟิกส์เครือข่ายใช้ได้หลายระบบ หรือ พิง (Portable Network Graphics: PNG) เป็นรูปแบบแฟ้มภาพที่พัฒนาขึ้นมาทดแทนรูปแบบแฟ้มแบบ GIF เพื่อแก้ปัญหาด้านสิทธิบัตร PNG ออกเสียงว่า ปิง แต่ไม่สะกดว่า ping เนื่องจากซ้ำกับโปรแกรมทางเครือข่ายที่ชื่อเดียวกัน ปัจจุบันมาตรฐานของ PNG คือรุ่น 1.2 โดยได้รับการอนุมัติเป็นมาตรฐานของทั้ง W3C และ ISO/IEC เรียบร้อยแล้ว ไลบรารีสำหรับ PNG คือ libpng ซึ่งเขียนด้วยภาษาซี ปัจจุบัน PNG สนับสนุนโดยเว็บเบราว์เซอร์เกือบทุกตัว แต่มีปัญหาด้านการแสดงผลใน อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ เวอร์ชัน 6 ซึ่งไม่สนับสนุนคุณสมบัติ alpha-channel.

ดู เว็บแบนเนอร์และพิง (รูปแบบไฟล์)

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ดู เว็บแบนเนอร์และการโฆษณา

สื่อประสม

การใช้เลเซอร์ช่วยในการสร้างความบันเทิง สื่อประสม หรือ สื่อหลายแบบ (multimedia) เป็นการใช้สื่อในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว สำหรับให้ข้อมูลความรู้หรือให้ความสำราญต่อผู้ชม ปัจจุบันความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เอื้อให้นักออกแบบสื่อ มัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อต่างๆ ให้มารวมกันบนระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ สามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้พัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและ บันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญต่างๆ เพื่อ ให้ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน.

ดู เว็บแบนเนอร์และสื่อประสม

อัตราส่วน

อัตราส่วนความยาวต่อความสูงของจอมอนิเตอร์โดยทั่วไป อัตราส่วน (อังกฤษ: ratio, IPA: เรโช) คือปริมาณอย่างหนึ่งที่แสดงถึงจำนวนหรือขนาดตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีกปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน อัตราส่วนจะเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย หากอัตราส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณที่อยู่ในมิติเดียวกัน และเมื่อปริมาณสองอย่างที่เปรียบเทียบกันเป็นคนละชนิดกัน หน่วยของอัตราส่วนจะเป็นหน่วยแรก "ต่อ" หน่วยที่สอง ตัวอย่างเช่น ความเร็วสามารถแสดงได้ในหน่วย "กิโลเมตรต่อชั่วโมง" เป็นต้น ถ้าหน่วยที่สองเป็นหน่วยวัดเวลา เราจะเรียกอัตราส่วนชนิดนี้ว่า อัตรา (rate) ทั้งเศษส่วนและอัตราร้อยละเป็นอัตราส่วนที่นำเอาไปใช้เฉพาะทาง เศษส่วนเป็นปริมาณส่วนหนึ่งที่เทียบกับปริมาณทั้งหมด ในขณะที่อัตราร้อยละจะแบ่งปริมาณทั้งหมดออกเป็น 100 ส่วน นอกจากนั้น อัตราส่วนอาจสามารถเปรียบเทียบปริมาณได้มากกว่าสองอย่างซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่นสูตรอาหาร หรือการผสมสารเคมี เป็นต้น อัตราส่วน 2:3 (สองต่อสาม) หมายความว่าปริมาณทั้งหมดประกอบขึ้นจากวัตถุแรก 2 ส่วนและวัตถุหลังอีก 3 ส่วน ดังนั้นปริมาณวัตถุจะมีทั้งหมด 5 ส่วน หรืออธิบายให้เจาะจงกว่านี้ ถ้าในตะกร้ามีแอปเปิล 2 ผลและส้ม 3 ผล เรากล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างแอปเปิลกับส้มคือ 2:3 ถ้าหากเพิ่มแอปเปิลอีก 2 ผลและส้มอีก 3 ผลลงในตะกร้าใบเดิม ทำให้ในตะกร้ามีแอปเปิล 4 ผลกับส้ม 6 ผล เป็นอัตราส่วน 4:6 ซึ่งก็ยังเทียบเท่ากันกับ 2:3 (แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนก็สามารถลดทอนได้เหมือนกับเศษส่วน) ซึ่งในกรณีนี้ หรือ 40% ของผลไม้ทั้งหมดคือแอปเปิล และ หรือ 60% ของผลไม้ทั้งหมดคือส้ม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัตราส่วน 2:3 ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับเศษส่วน ในทางวิทยาศาสตร์ อัตราส่วนของปริมาณทางกายภาพมักจะถูกทำให้เป็นจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง เช่นอัตราส่วนของ 2\pi เมตรต่อ 1 เมตร (อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมีของรูปวงกลม) เท่ากับจำนวนจริง 2\pi ด้วยเหตุจากนิยามของการวัดที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเป็นการประมาณอัตราส่วนระหว่างปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน ในทางพีชคณิต ปริมาณสองชนิดที่มีอัตราส่วนเป็นค่าคงตัว คือความสัมพันธ์เชิงเส้นชนิดพิเศษเรียกว่า สัดส่วน (proportionality) หมวดหมู่:คณิตศาสตร์มูลฐาน หมวดหมู่:พีชคณิต.

ดู เว็บแบนเนอร์และอัตราส่วน

อัตราส่วนลักษณะ

อัตราส่วนลักษณะ (aspect ratio) อาจเรียกว่า อัตราส่วนภาพ หรือ อัตราส่วนจอภาพ คืออัตราส่วนของความสูงต่อความกว้างหรือความกว้างต่อความสูงของภาพโดยให้ขนาดที่ใหญ่กว่านำหน้าเสมอซึ่งจะมีอยู่หลายขนาดเช่น ภาพที่มีความสูง 1 ส่วนและกว้าง 1 ส่วนจะมีอัตราส่วนลักษณะจะเป็น 1:1 ภาพที่ได้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภาพที่มีความสูง 4 ส่วนและความกว้าง 3 ส่วนจะมีอัตราส่วนลักษณะเป็น 4:3 ภาพจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภาพที่มีความสูง 110 ส่วนและความกว้าง 137 ส่วน อัตราส่วนลักษณะจะเป็น 1.25:1 หรือ 5:4 ขนาดภาพลักษณะนี้เราจะพบได้จากการชมภาพยนตร์หรือที่เรียกว่าภาพแบบ Widescreen (ค่า Resolution ของภาพแบบ Widescreen จะมีตัวอักษร W นำหน้าเช่น WVGA.

ดู เว็บแบนเนอร์และอัตราส่วนลักษณะ

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ดู เว็บแบนเนอร์และอินเทอร์เน็ต

จาวา

วา (Java) อาจหมายถึง.

ดู เว็บแบนเนอร์และจาวา

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ดู เว็บแบนเนอร์และจาวาสคริปต์

ป้ายโฆษณา

ป้ายโฆษณา ป้ายโฆษณา หรือ แผงโฆษณา (billboard หรือในสหราชอาณาจักรหรือส่วนอื่นของโลกเรียก hoarding) เป็นสิ่งก่อสร้างกลางแจ้งขนาดใหญ่สำหรับโฆษณา โดยทั่วไปจะตั้งอยู่บริเวณที่มีการสัญจรคับคั่ง เช่นถนนที่มีการจราจรแออัด ป้ายโฆษณานี้จะแสดงโฆษณาสำหรับผู้คนและผู้ขับรถ โดยปกติแล้วจะแสดงสโลแกนและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ป้ายโฆษณาตั้งอยู่ในที่สูงที่สามารถเห็นได้โดยกลุ่มเป้าหมาย ป้ายโฆษณาขนาดใหญสุด ตั้งอยู่บริเวณสำคัญ บนถนนสายสำคัญ ทางด่วน หรือบริเวณสำคัญ และให้ผู้บริโภคที่มีอยู่คับคั่งเห็น (ส่วนมากเป็นบริเวณการจราจรแออัด) หมวดหมู่:การโฆษณา หมวดหมู่:อุปกรณ์ประดับถนน หมวดหมู่:การส่งเสริมและการสื่อสารการตลาด.

ดู เว็บแบนเนอร์และป้ายโฆษณา

แบนด์วิดท์

แบนด์วิดท์ (bandwidth) อาจหมายถึง.

ดู เว็บแบนเนอร์และแบนด์วิดท์

แฟลช

แฟลช อาจหมายถึง.

ดู เว็บแบนเนอร์และแฟลช

ไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์

มโครซอฟท์ซิลเวอร์ไลท์ (Microsoft Silverlight) เป็นโปรแกรมเสริมสำหรับโปรแกรมค้นดูเว็บ เบื้องต้นถูกออกเผยแพร่เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมเว็บที่อาจมีส่วนประกอบอย่าง แอนิเมชัน ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ การใส่ภาพยนตร์และเสียง เป็นต้น ต่อมาได้ถูกปรับปรุงให้ใช้ได้กับชุดเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ และสนับสนุนบางส่วนของ ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก เพื่อให้สามารถไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเว็บที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโปรแกรมที่ถูกใช้งานบนคอมพิวเตอร์ (Rich Internet application) หรือโปรแกรมทางธุรกิจทั่วไป (Line of business Application) เป็นคู่แข่งของผลิตภัณฑ์อย่าง Adobe Flash, JavaFX และ Apple QuickTime เดิมนั้น Silverlight ถูกพัฒนาใต้รหัส Windows Presentation Foundation/Everywhere (WPF/E) ปัจจุบันออกรุ่น 1.0 เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 โดยทำงานได้บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ Mac OS X ส่วนลินุกซ์นั้นมีโครงการโอเพนซอร์สอย่าง Moonlight กำลังพัฒนาอยู่ ในรุ่นถัดไป Silverlight 2.0 (ถูกแนะนำต่อสาธารณชนเมือ 19 ตุลาคม 2008) สนับสนุนบางส่วนของ ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก นักพัฒนาสามารถใช้ภาษาบนดอตเน็ตในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้นอกเหนือไปจากจาวาสคริปต์ที่ใช้ใน Silverlight 1.0 Silverlight 3.0 ถูกแนะนำต่อสาธารณชนในงาน MIX09 ได้เพิ่มเติมส่วนสำคัญเช่น Navigation เฟรมเวิร์ก, Controls สำคัญๆเช่น DataGrid, ความสามารถในการใช้งานข้างนอก โปรแกรมค้นดูเว็บ เพื่อให้เหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมทางธุรกิจทั่วไป Silverlight 4.0 ถูกแนะนำต่อสาธารณชนในงานเปิดตัว Visual Studio 2010 นอกจาก Controls ใหม่ๆที่ถูกเพิ่มเติมแล้วยังถูกปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานร่วมกับ เครื่องพิมพ์ คลิปบอร์ด เว็บแคมและไมโครโฟน.

ดู เว็บแบนเนอร์และไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์

ไฮเปอร์ลิงก์

การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้พัฒนาเว็บก็ได้.

ดู เว็บแบนเนอร์และไฮเปอร์ลิงก์

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ดู เว็บแบนเนอร์และเวิลด์ไวด์เว็บ

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ.

ดู เว็บแบนเนอร์และเว็บเบราว์เซอร์

เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

ดู เว็บแบนเนอร์และเว็บเพจ

เจเพ็ก

(JPEG) คือรูปแบบการบีบอัดแฟ้มภาพแบบสูญเสีย โดยยังให้เสียความละเอียดน้อยที่สุด รูปแบบแฟ้มสำหรับวิธีการนี้ได้แก.jpeg,.jpg,.jpe,.jfif,.jfi (อาจจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้) รูปแบบแฟ้ม JPEG นี้ เป็นรูปแบบแฟ้มที่ใช้กันในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนรูปภาพบนเวิลด์ไวด์เว็บมากที่สุด โดยเฉพาะภาพถ่าย เนื่องจากสามารถเก็บความละเอียดสูงได้โดยใช้ขนาดไฟล์ที่เล็ก สามารถเก็บภาพสีได้หลากหลายระดับความแม่นยำของสี(Bit Depth) ความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ของแฟ้ม JPEG นั้นเกิดจากการใช้เทคนิคการย่อขนาดภาพแบบการบีบอัดคงข้อมูลหลัก (Lossy Compression) หรือการบีบอัดแบบมีความสูญเสียทำให้ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่าง ๆ เนื่องจากจะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าการเก็บในรูปแบบอื่น อย่าง PNG หรือ GIF การบีบอัดของ JPEG นั้นจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า DCT (Discrete Cosine Transform) ซึ่งเป็นการแปลงค่าความสว่างของภาพให้อยู่ในรูปแบบเชิงความถี่ (Frequency Domain) ทำให้สามารถเลือกแทนค่าของสัมประสิทธิ์หรือในที่นี้คือแอมพลิจูดของค่าความถี่ต่างๆ ได้โดยอาศัยตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ต่างกันได้ การที่สามารถลดนัยสำคัญของค่าตัวเลขลงไปได้ทำให้สามารถลดขนาดของหน่วยความจำหรือขนาดไฟล์ที่ใช้เก็บตามไปได้ ชื่อ JPEG เดิมย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน JPEG, JPEG 2000, และ JPEG XR.

ดู เว็บแบนเนอร์และเจเพ็ก

GIF

ตัวอย่างภาพแอนิเมชันในลักษณะของแฟ้ม GIF สังเกตสีจะมีสีไม่ต่อเนื่อง GIF (ออกเสียง "จิฟ" หรือ "กิฟ" มาจาก Graphics Interchange Format) เป็นรูปแบบแฟ้มภาพและแฟ้มภาพเคลื่อนไหว รูปแบบ GIF ถูกออกแบบโดย Compuserve ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายข่าวสารแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนกราฟิกในรูปแบบบิตแมป ภาพแบบGIF มีข้อจำกัดอยู่ตรงด้านแผงสีแบบ Index ภาพสีแบบ 24bit (RGB) ไม่สามารถใช้ได้ แผงสีสามารถบรรจุได้ 2-256 สี ซึ่งสร้างจากข้อมูลสี 24 บิท แฟ้มแบบ GIF โดยใช้การบีบขนาด LZW แบบประยุกต์ ทำให้เปลืองพื้นที่ความจุน้อยกว่า สำหรับการออกเสียงคำว่า GIF มีการโต้เถียงกันหลายที่ ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ โดยทางผู้ผลิตได้สรุปวิธีอ่านของตัวเองไว้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิทธิบัตรของแฟ้มแบบ GIF ซึ่งจดโดย Unisys ทำให้มีการสร้างรูปแบบแฟ้มภาพชนิดใหม่ที่ชื่อว่า PNG (Portable Network Graphics) ขึ้นมาทดแทน อย่างไรก็ตามสิทธิบัตรของ GIF หมดอายุแล้วเมื่อ ค.ศ.

ดู เว็บแบนเนอร์และGIF

ดูเพิ่มเติม

การตลาดบนอินเทอร์เน็ต

การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต