โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอชทีทีพี

ดัชนี เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

33 ความสัมพันธ์: ชั้นโปรแกรมประยุกต์ชื่อโดเมนชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนภาษาพีเอชพีมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพีรายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพีวิมวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อะแพชี ทอมแคตอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์จีซิปทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)แบบจำลองโอเอสไอโพรโทคอลสแตกโลเคิลโฮสต์โครงการจาการ์ตาโซปเวิลด์ไวด์เว็บเว็บเบราว์เซอร์เว็บเพจเว็บเพจสถิตเว็บเซอร์วิซเอชทีทีพีเอสเอฟทีพีเอกสารเว็บเอแจ็กซ์เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์เอเอสพีดอตเน็ตXMLHttpRequest

ชั้นโปรแกรมประยุกต์

Application layer หรือ ชั้นโปรแกรมประยุกต์ เป็นชั้นลำดับที่ 7 จาก 7 ชั้น ใน OSI Model.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและชั้นโปรแกรมประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อโดเมน

ื่อโดเมน (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบโดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึงเลขที่อยู่ไอพี ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งอาจใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนได้ ชื่อโดเมนเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่เล็กถือว่าเหมือนกัน 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและชื่อโดเมน · ดูเพิ่มเติม »

ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต

รโทคอลอินเทอร์เน็ต เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง วันที่ ปริมาณ เวลา ระยะเวลา เส้นทาง ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ในการขอดูข้อมูลของผู้กระทำผิด โดยผู้ให้บริการนั้น ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เสมอ ไม่ว่าผู้ใช้บริการจะเสียเงินใช้หรือไม่ก็ตาม เหตุที่ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ก็เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเพราะระบบที่ดีจะต้องมีการจัดเก็บที่ดีอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และยังสามารถตรวจสอบระบบว่ามีความบกพร่องเพียงใดเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลต่างๆที่สำคัญมีการวิเคราะห์และวางแผนปรับปรุงระบบอยู่เสมออีกทั้งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาว่าให้มีการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้หากไม่ปฏิบัติจะต้องรับโทษทางกฎหมายและที่สำคัญเพื่อที่จะใช้ข้อมูลที่ได้มาเป็นหลักฐาน แกะรอย สืบหา ออกหมาย เอาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต่อไป.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่

ปรียบเทียบระหว่างการเชื่อมต่อหลายครั้ง กับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ (HTTP persistent connection) คือแนวคิดของการใช้การเชื่อมต่อบนเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) อันเดียวกันในการส่งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับของเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (HTTP) ซึ่งปกติจะเป็นการเปิดการเชื่อมต่อใหม่ทุกครั้งเมื่อการรับส่งข้อความกันหนึ่งคู.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและการเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน (chunked transfer encoding) เป็นวิธีหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เอชทีทีพี ในการส่งถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมประยุกต์ของเครื่องลูกข่าย (ซึ่งมักจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์) ปกติแล้วข้อมูลที่ได้รับจากข้อความตอบรับเอชทีทีพีจะถูกส่งมาเป็นข้อมูลชิ้นเดียว ซึ่งขนาดของเนื้อหานั้นได้แสดงไว้ในส่วนหัว Content-Length ขนาดของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเครื่องลูกข่ายจำเป็นต้องทราบว่า เมื่อไรข้อความตอบรับจะสิ้นสุดและเมื่อไรข้อความถัดไปจะตามมา และด้วยการใช้การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน ข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกย่อย ๆ และถูกส่งออกไปเป็นหนึ่งหรือหลาย "ชิ้นส่วน" (chunk) ดังนั้นเครื่องแม่ข่ายอาจเริ่มส่งข้อมูลก่อนที่มันจะทราบว่าขนาดรวมทั้งหมดของเนื้อหาเป็นเท่าใด บ่อยครั้งที่ขนาดของบล็อกจะเท่ากันหมด แต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งเครื่องให้บริการเอชทีทีพีใช้การบีบอัดข้อมูล (gzip หรือ deflate) เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการส่งถ่ายข้อมูล แม้ว่าการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนสามารถใช้ได้กับทรัพยากรที่บีบอัดเพื่อลดปริมาณชิ้นส่วนที่ส่ง แต่หลังจากแบ่งแล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการบีบอัดในตัวเองก็จะไม่มีประโยชน์อะไร แถมยังทำให้เซิร์ฟเวอร์เสียเวลาในการบีบอัดอย่างเต็มที่ แล้วข้อมูลบีบอัดที่ออกมาจึงค่อยถูกตัดแบ่งตามแผน ส่วนกรณีที่มีการตัดแบ่งเป็นชิ้นส่วนก่อนแล้วค่อยนำไปบีบอัด มีข้อดีตรงที่สามารถบีบอัดได้ทันทีในขณะที่ข้อมูลกำลังส่ง เพราะข้อมูลที่นำมาบีบอัดมีขนาดเล็ก แต่ก็มีข้อเสียคือไม่สามารถทราบถึงขนาดข้อมูลสุดท้ายที่บีบอัดแล้วได้โดยง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและภาษาพีเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี

ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างในเทลเน็ต บรรทัดแรกของสีน้ำเงินคือรหัสสถานภาพ ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรหัสสถานภาพในการตอบรับเอชทีทีพีจากเครื่องให้บริการ ซึ่งมีทั้งรหัสที่กำหนดโดยมาตรฐานอินเทอร์เน็ตของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และกำหนดโดยเอกสารขอความเห็น (RFC) เอกสารลักษณะเฉพาะอื่น ๆ และรหัสที่มีการใช้งานโดยทั่วไปเพิ่มเข้ามา ตัวเลขแรกของรหัสสถานภาพ (หลักร้อย) เป็นตัวระบุประเภทของการตอบรับหนึ่งในห้าประเภท ซึ่งเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีสามารถรับรู้ประเภททั้งห้านี้ได้เป็นอย่างน้อย อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิสเซส (IIS) ของไมโครซอฟท์ใช้รหัสย่อยเป็นทศนิยมเพิ่มเติมเพื่อแสดงข้อมูลให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่นำมาแสดงไว้ในนี้ วลีเหตุผลที่อยู่ถัดจากรหัสสถานภาพเป็นตัวอย่างมาตรฐาน ซึ่งสามารถเขียนหรือแปลให้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ ถ้าหากรหัสสถานภาพใดไม่มีการระบุหมายเหตุ แสดงว่ารหัสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTTP/1.1.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและรายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพี

วนหัวของเอชทีทีพี เป็นส่วนประกอบหลักของการร้องขอบนเอชทีทีพี และเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการตอบรับเอชทีทีพีด้วย ส่วนหัวเหล่านี้เป็นการกำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของข้อมูลที่ร้องขอ หรือข้อมูลที่ถูกจัดสรรให้ ส่วนหัวของเอชทีทีพีแยกออกจากส่วนของเนื้อหาด้วยบรรทัดว่างหนึ่งบรรทัด ข้อมูลส่วนหัวอาจเป็นสายอักขระที่แทบจะไม่มีกฎเกณฑ์ แต่ก็มีส่วนหัวบางตัวที่เป็นที่ยอมรับและเข้าใจโดยทั่วไป.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและรายชื่อส่วนหัวของเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

วิม

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง command line interface และ graphical user interface โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ อะมีกา เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี..

ใหม่!!: เอชทีทีพีและวิม · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์

วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger หรือ WLM) เป็นโปรแกรมประเภทเมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นฟรีแวร์ จากไมโครซอฟท์ สำหรับวินโดวส์ เอกซ์พี วินโดวส์ วิสตา และวินโดวส์โมบาย ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้จักกันในชื่อของ "เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์" (MSN Messenger) และยังเป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศไทย ผู้ใช้มักยังเรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" ตามชื่อเก่า วินโดวส์ไลฟ์เมสเซนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของชุดบริการออนไลน์วินโดวส์ไลฟ์ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็กพี ขึ้นไป รุ่นเสถียรล่าสุดคือ 14.0.8117.416 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นรุ่นที่รองรับทั้งหมด 34 ภาษา และเป็นรุ่นแรกที่รองรับการแสดงผลภาษาไทย ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์อยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยส่งข้อความโดยเฉลี่ย 70 ล้านข้อความต่อวัน หรือประมาณ 2.2 พันล้านข้อความต่อเดือน ในวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: เอชทีทีพีและวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี ทอมแคต

อะแพชี ทอมแคต (Apache Tomcat) เป็นโปรแกรมบรรจุเว็บ (web container) ที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี ทอมแคตใช้ข้อกำหนดของเซิร์ฟเลตและเจเอสพีจากซันไมโครซิสเต็มส์มาเป็นต้นแบบในการทำงาน ซึ่งกำหนดสภาพแวดล้อมสำหรับโค้ดจาวาเพื่อทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนั้นทอมแคตได้เพิ่มเครื่องมือสำหรับการจัดการการตั้งค่าที่เก็บในรูปแบบแฟ้มเอกซ์เอ็มแอล และมีโปรแกรม HTTP เซิร์ฟเวอร์อยู่ในตัวเอง อะแพชี ทอมแคต เคยเป็นโครงการย่อยของโครงการจาการ์ตา แต่ปัจจุบันได้แยกตัวออกมาเป็นโครงการหลักของมูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและอะแพชี ทอมแคต · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์

อะพาเช่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache HTTP Server) คือซอฟต์แวร์สำหรับเปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์บนโพรโทคอล HTTP โดยสามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ ที่มาของชื่อ Apache มาจากกลุ่มคนที่ช่วยสร้างแพตช์ไฟล์สำหรับโครงการ NCSA httpd 1.3 ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของชื่อ A PAtCHy server และในอีกความหมายหนึ่งยังกล่าวถึงเผ่าอะแพชีหรืออาปาเช่ ซึ่งเป็นเผ่าอินเดียนแดงที่มีความสามารถในการรบสูง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จีซิป

ีซิป (gzip) เป็นโปรแกรมบีบอัดข้อมูล เขียนโดย ฌอน-ลูป เกลลี (Jean-loup Gailly) และ มาร์ค แอดเลอร์ (Mark Adler) เวอร์ชันแรก 0.1 เผยแพร่เมื่อ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: เอชทีทีพีและจีซิป · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอลสแตก

โพรโทคอลสแตก (Protocol stack) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้ชุดโพรโทคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้งานได้จริง ชุดโพรโทคอลและโพรโทคอลสแตกมักใช้แทนกันได้ แต่ถ้าหากจะกล่าวให้แม่นยำแล้วชุดโพรโทคอลคือนิยาม และโพรโทคอลสแตกคือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ได้จริงตามนิยาม โพรโทคอลแต่ละตัวในชุดโพรโทคอลหนึ่งมักออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์เดียว การทำให้เป็นโมดูลแบบนี้ทำให้การออกแบบและการทดสอบง่ายขึ้น เนื่องจากว่าส่วนมากแล้วแต่ละโมดูลติดต่อกับโมดูลอื่นๆ อีกสองโมดูล ซึ่งสามารถจินตนาการให้เป็นสแตกได้ โดยโมดูลที่อยู่ด้านล่างของสแตกจัดการกับการสื่อสารในระดับล่างเช่นการตอบโต้กับฮาร์ดแวร์ ชั้นที่สูงขึ้นมาก็เพิ่มลักษณะเด่นขึ้นมากขึ้น โดยอาศัยชั้นที่อยู่ล่างกว่าจัดการการสื่อสารในระดับต่ำให้ โปรแกรมประยุกต์มักติดแต่เฉพาะชั้นบนสุดของโพรโทคอลสแตก ดูเพิ่มในแบบจำลองโอเอสไอ โพรโทคอลสแตกที่ใช้กันทั่วไปมีลักษณะด้านล่าง หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์ หมวดหมู่:โพรโทคอลเครือข่าย.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโพรโทคอลสแตก · ดูเพิ่มเติม »

โลเคิลโฮสต์

ลเคิลโฮสต์ (localhost แปลตามศัพท์ว่า แม่ข่ายเฉพาะที่) ในเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงชื่อแม่ข่ายมาตรฐานที่กำหนดให้กับตำแหน่งของส่วนต่อประสานเครือข่ายวงย้อนกลับ (loopback) เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังโลเคิลโฮสต์ พวกเขาจะได้รับข้อมูลของตัวเองกลับมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวมันเอง กลไกนี้มีประโยชน์สำหรับโปรแกรมเมอร์เพื่อทดสอบระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้โลเคิลโฮสต์ก็เป็นชื่อที่สงวนไว้สำหรับโดเมนระดับบนสุด (.localhost) ซึ่งสำรองไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับการนิยามที่แคบกว่าของชื่อแม่ข่าย โลเคิลโฮสต์ที่เป็นชื่อแม่ข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สามารถแปลงเป็นเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ในรูปของบล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 หรือตามปกติใช้ 127.0.0.1 และเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ก็คือ::1 โลเคิลโฮสต์ถูกระบุให้ใช้เป็นชื่อแม่ข่ายของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ ถ้ามิได้กำหนดไว้ให้เป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น ระบบหนึ่งกำลังทำงานเป็นเครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีและมีเว็บเบราว์เซอร์ติดตั้งอยู่ในระบบนั้นด้วย ถ้าระบุยูอาร์แอล http://localhost ให้กับเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงโฮมเพจของเว็บไซต์ที่ได้ติดตั้งลงในเครื่องนั้น ๆ เอง แสดงว่าเครื่องแม่ข่ายได้ถูกกำหนดค่าเพื่อให้บริการส่วนต่อประสานวงย้อนกลับด้วย การใช้ส่วนต่อประสานวงย้อนกลับก็ยังเลี่ยงการใช้งานฮาร์ดแวร์เครือข่าย การเชื่อมต่อบริการเครือข่ายที่ให้บริการบนเครื่องตัวมันเองเช่นเซิร์ฟเวอร์เกมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ที่อยู่วงย้อนกลับ จะเป็นภาระให้แก่ทรัพยากรเครือข่ายน้อยกว่า เอกสารมาตรฐานอินเทอร์เน็ตชุด STD-2 (เช่น RFC 1700) ที่กำหนดโดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (ไออีทีเอฟ) ได้สงวนบล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 ไว้สำหรับใช้งานวงย้อนกลับ นั่นคือตั้งแต่ 127.0.0.0 จนถึง 127.255.255.255 จนกระทั่งข้อกำหนดนี้ถูกปรับปรุงแยกออกมาโดยองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (ไอเอเอ็นเอ) ผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การ เอกสารของไออีทีเอฟซึ่งออกมาภายหลังว่าด้วย การใช้งานพิเศษของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (RFC 3330) ก็ได้อธิบายถึงวิธีใช้บล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 สำหรับวงย้อนกลับ เอกสารดังกล่าวจึงทำให้ข้อกำหนดของนายทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (อาร์ไออาร์) หรือไอเอเอ็นเอตกไป และในท้ายที่สุด RFC 3330 ก็ถูกแทนที่ด้วยข้อกำหนดใหม่ RFC 5735 สำหรับการสื่อสารแบบไอพีรุ่น 4 ส่วนต่อประสานวงย้อนกลับเสมือนของระบบคอมพิวเตอร์ตามปกติถูกกำหนดให้กับเลขที่อยู่ 127.0.0.1 ด้วยตัวพรางเครือข่ายย่อย 255.0.0.0 สิ่งนี้บรรจุอยู่ในตารางการจัดเส้นทางของระบบเฉพาะที่ด้วยรายการที่ทำให้กลุ่มข้อมูลที่ส่งมาจากเลขที่อยู่ใด ๆ ในบล็อก 127.0.0.0/8 จะถูกจัดเส้นทางภายในไปยังอุปกรณ์เครือข่ายวงย้อนกลับ โดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ (เช่นลินุกซ์หรือวินโดวส์) และกลไกการจัดเส้นทางที่ได้ติดตั้ง ในทางตรงข้าม ส่วนเติมหน้าของการจัดเส้นทางวงย้อนกลับ::1/128 ของการสื่อสารแบบไอพีรุ่น 6 ประกอบด้วยเลขที่อยู่::1 เพียงเลขเดียว (รูปเต็มคือ 0:0:0:0:0:0:0:1 ซึ่งบิตนัยสำคัญน้อยสุดเป็นหนึ่ง และบิตที่เหลือทั้งหมดเป็นศูนย์) ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้เป็นเลขที่อยู่วงย้อนกลับโดยชัดแจ้ง แต่ถึงกระนั้นผู้ดูแลแม่ข่ายอาจกำหนดเลขที่อยู่เพิ่มเติมให้กับส่วนต่อประสานวงย้อนกลับตามความจำเป็นได้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโลเคิลโฮสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจาการ์ตา

รงการจาการ์ตา หรือ อะแพชี จาการ์ตา (Jakarta project หรือ Apache Jakarta) เป็นโครงการสำหรับสร้างและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบนแพลตฟอร์มจาวา โครงการนี้เป็นศูนย์รวมของโครงการย่อยอื่นๆ ภายใต้มูลนิธิซอฟต์แวร์อะแพชี (Apache Software Foundation) และผลิตภัณฑ์ของโครงการจาการ์ตาทั้งหมดได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะด้วยสัญญาอนุญาตอะแพชี (Apache License) ชื่อของโครงการจาการ์ตาไม่ได้เลียนแบบมาจากเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย หรือสปีชีส์ของผีเสื้อสีน้ำเงินที่ชื่อจาการ์ตา แต่มาจากชื่อของห้องประชุมในบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่ซึ่งนำมาสู่การอภิปรายเพื่อให้เกิดโครงการนี้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโครงการจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

โซป

ซป (SOAP: Simple Object Access protocol โพรโทคอลเข้าถึงอ็อบเจกต์อย่างง่าย) เว็บเซอร์วิซเป็นลักษณะในรูปแบบของการออกแบบโมเดลสื่อสาร ในลักษณะของการกระจาย,การติดต่อสื่อสารที่เป็นตัวกลาง โดยโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารคือ SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นโพรโทคอลในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นโพรโทคอลการสื่อสาร ในระดับ Application Layer หรือในระดับ แอปพลิเคชันโดยอาศัยผ่านอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล อย่างเช่น HTTP, SMTP, FTP โพรโทคอลพัฒนารากฐานมาจาก XML โดยมาตรฐานของ SOAP ปัจจุบันอยู่เวอร์ชัน 1.2 เอกสารสามารถดูได้ที่ W3C 220px หมวดหมู่:เว็บเซอร์วิซ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและโซป · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บเพจ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจสถิต

เว็บเพจสถิต: ถูกส่งออกมาเหมือนกับที่เก็บบันทึกไว้ เว็บเพจสถิต หรือ สแตติกเว็บเพจ (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งออกมาเหมือนกับที่เก็บบันทึกไว้ ซึ่งตรงข้ามกับเว็บเพจพลวัตที่สร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน เว็บเพจสถิตมักจะเป็นเอกสารเอชทีเอ็มแอลที่เก็บบันทึกเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบแฟ้ม และถูกจัดเตรียมให้ใช้งานได้ด้วยเว็บเซิร์ฟเวอร์บนเอชทีทีพี (ถึงกระนั้นก็ตาม ยูอาร์แอลที่ลงท้ายด้วย ".html" ก็ไม่ได้เป็นเว็บเพจสถิตเสมอไป) อย่างไรก็ดี การตีความหมายศัพท์อย่างหลวม ๆ รวมไปถึงเว็บเพจที่เก็บบันทึกในฐานข้อมูล และเว็บเพจต่าง ๆ ที่จัดรูปแบบโดยใช้แม่แบบและให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ ตราบเท่าที่เว็บเพจนั้นไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและนำเสนออย่างที่เก็บบันทึกโดยพื้นฐาน เว็บเพจสถิตเหมาะสำหรับเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องอัปเดตหรืออัปเดตเพียงนาน ๆ ครั้ง อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาเว็บเพจสถิตในฐานะแฟ้มข้อมูลจำนวนมหาศาลไม่อาจปฏิบัติได้หากปราศจากเครื่องมืออัตโนมัติ การทำให้เป็นส่วนบุคคลหรือความสามารถในการโต้ตอบต้องทำงานด้านไคลเอนต์ ซึ่งก็มีข้อจำกัดของมัน หมวดหมู่:การพัฒนาเว็บ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บเพจสถิต · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซอร์วิซ

มาตรฐานที่ใช้งาน เว็บเซอร์วิซ (web service บริการบนเว็บ) คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเอกซ์เอ็มแอล เว็บเซอร์วิซมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ เช่น WSDL ระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานสื่อสารโต้ตอบกับเว็บเซอร์วิซตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยการส่งสาสน์ตามอินเตอร์เฟสของเว็บเซอร์วิซนั้น โดยที่สาสน์ดังกล่าวอาจแนบไว้ในซอง SOAPหรือส่งตามอินเตอร์เฟสในแนวทางของ REST สาสน์เหล่านี้ปกติแล้วถูกส่งโดยอาศัย HTTP และใช้ XML ร่วมกับมาตรฐานเกี่ยวกับเว็บอื่นๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เขียนโดยภาษาต่างๆ และทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆกันสามารถใช้เว็บเซอร์วิซเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ในลักษณะเดียวกับการสื่อสารระหว่างโปรเซส (Inter-process communication) บนเครื่องเดียวกัน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่ต่างกันนี้ (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง โปรแกรมที่เขียนโดยภาษาจาวา และโปรแกรมที่เขียนโดยภาษาไพทอน หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนไมโครซอฟท์วินโดวส์และโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนลินุกซ์) เกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้มาตรฐานเปิด โดย OASIS และ W3C เป็นคณะกรรมการหลักในการรับผิดชอบมาตรฐานและสถาปัตยกรรมของเว็บเซอร์วิซ.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเว็บเซอร์วิซ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพีเอส

alt.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอชทีทีพีเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอฟทีพี

อฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอฟทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารเว็บ

อกสารเว็บ เป็นเอกสารในมโนทัศน์ที่คล้ายกับเว็บเพจ แต่ก็ยังสอดคล้องกับนิยามที่กว้างขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) ดังต่อไปนี้ ศัพท์ "เอกสารเว็บ" ถูกใช้เป็นศัพท์ที่มีความหมายคลุมเครือในแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แต่นิยามของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมด้านบนสามารถใช้อธิบายได้ทั้งหมด การวิจัยในสาขา "การค้นคืนเอกสารเว็บ" (web document retrieval) และ "การวิเคราะห์เอกสารเว็บ" (web document analysis) เมื่อไม่นานมานี้ ได้รื้อฟื้นความสนใจเรื่องการทำความเข้าใจวิธีใช้ศัพท์ให้ถูกต้อง ความคิดหลักก็คือ ทรัพยากรเบื้องหลังทรัพยากรเดียวในระบบเอชทีทีพี อาจมีการแทนหลายชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปิดเผยได้โดยกลไกบางอย่างอาทิ การเจรจาเนื้อหา (content negotiation).

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอกสารเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เอแจ็กซ์

อแจ็กซ์ (AJAX: Asynchronous JavaScript and XML) เป็นกลุ่มของเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม เอแจ็กซ์นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นเทคนิคที่ได้ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่มีอยู่แล้วรวมกันดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอแจ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์

อ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ (MSN Messenger) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์จากไมโครซอฟท์ และเป็นเมสเซนเจอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย มักถูกเรียกสั้นๆว่า "เอ็มเอสเอ็น"หรือ"เอ็ม" เอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์มักถูกเข้าใจว่าเป็นบริการดอตเน็ตเมสเซนเจอร์ (.NET Messenger Service - โพรโทคอลและเซิร์ฟเวอร์ที่อนุญาตให้ระบบจัดการได้) มากกว่าจะเป็นเพียงตัวไคลเอนต.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอ็มเอสเอ็นเมสเซนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสพีดอตเน็ต

ลโก้ ASP.NET เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET) คือเทคโนโลยีสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชัน และเว็บเซอร์วิซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ASP.NET เป็นรุ่นถัดจาก Active Server Pages (ASP) แม้ว่า ASP.NET นั้นจะใช้ชื่อเดิมจาก ASP แต่ทั้งสองเทคโนโลยีนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยไมโครซอฟท์นั้นได้สร้าง ASP.NET ขึ้นมาใหม่หมดบนฐานจากCommon Language Runtime (CLR) ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกใช้ภาษาใดก็ได้ที่รองรับโดยดอตเน็ตเฟรมเวิร์กเช่น C# และ VB.NET เป็นต้น ปัจจุบันรุ่นล่าสุดคือ ASP.NET 2.0 ซึ่งรวมอยู่ใน.NET Framework 2.0.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและเอเอสพีดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

XMLHttpRequest

XMLHttpRequest (XHR) เป็นเอพีไอที่สามารถเรียกใช้ได้จาก จาวาสคริปต์ เจสคริปต์ วีบีสคริปต์ และภาษาสคริปต์อื่นๆ ในการแลกเปลี่ยน และปรับรูปแบบ XML จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ HTTP ซึ่งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ (Client-Side) กับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side) XMLHttpRequest นั้นถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิค AJAX.

ใหม่!!: เอชทีทีพีและXMLHttpRequest · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HTTPHttpHyperText Transfer ProtocolHypertext Transfer Protocolเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »