เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บัฟเฟอร์ข้อมูล

ดัชนี บัฟเฟอร์ข้อมูล

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) หรือที่พักข้อมูล เป็นพื้นที่บนหน่วยความจำใช้สำหรับเก็บข้อมูลชั่วคราวขณะถูกย้ายจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง โดยปกติ ข้อมูลถูกเก็บในบัฟเฟอร์หลังจากรับมาจากอุปกรณ์นำเข้า (เช่น ไมโครโฟน) หรือก่อนถูกส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก (เช่น ลำโพง) อย่างไรก็ตาม บัฟเฟอร์อาจถูกใช้ขณะย้ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบได้กับบัฟเฟอร์ในทางโทรคมนาคม บัฟเฟอร์สามารถใช้ในบริเวณหน่วยความจำที่กำหนดไว้ในฮาร์ดแวร์ หรือโดยใช้บัฟเฟอร์ข้อมูลเสมือนในซอฟต์แวร์ โดยชี้ที่ตำแหน่งในหน่วยความจำก็ได้ ในทุกกรณีนั้น ข้อมูลที่ถูกเก็บในบัฟเฟอร์ข้อมูลจะถูกเก็บในสื่อกลางเก็บข้อมูลด้วย บัฟเฟอร์ส่วนใหญ่ถูกใช้งานในซอฟต์แวร์ซึ่งมักใช้แรมที่เร็วกว่าเก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์มักถูกใช้เมื่อมีความแตกต่างระหว่างอัตราการรับข้อมูลและอัตราการประมวลผล หรือในกรณีที่อัตราต่าง ๆ นี้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น สปูเลอร์ของเครื่องพิมพ์ หรือในสื่อวิดีโอออนไลน์แบบส่งต่อเนื่อง บัฟเฟอร์หนึ่งมักปรับการตั้งเวลาโดยใช้อัลกอริทึมแถวคอย (หรือเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)) พร้อมกับเขียนข้อมูลลงแถวคอยที่อัตราหนึ่ง และอ่านข้อมูลที่อีกอัตราหนึ่ง หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: วิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อแบบส่งต่อเนื่องฮาร์ดดิสก์ซอฟต์แวร์แรมแถวคอย

  2. หน่วยความจำคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและวิทยาการคอมพิวเตอร์

สื่อแบบส่งต่อเนื่อง

การแพร่ภาพกระจายเสียงทางเว็บกำลังส่งข้อมูลต่อเนื่องผ่านตัวเล่นสื่อแบบหนึ่ง สื่อแบบส่งต่อเนื่อง (streaming media) เป็นสื่อประสมที่ผู้ใช้ขั้นปลายได้รับตามลำดับอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ให้บริการกำลังส่งมอบเนื้อหาทั้งหมดไปให้ ตัวเล่นสื่อลูกข่ายอาจเริ่มเล่นข้อมูล (เช่น ภาพยนตร์) ก่อนที่ไฟล์เนื้อหาจะถูกส่งมาทั้งหมดก็ได้ การรับ-ส่งสื่อแบบต่อเนื่องเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรับชมนอกเหนือจากการดาวน์โหลดสู่อุปกรณ์ส่วนบุคคล คำกริยา stream ในภาษาอังกฤษหมายถึงกระบวนการส่งมอบเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว ศัพท์นี้จึงสื่อถึงวิธีการส่งสื่อมากกว่าจะสื่อถึงลักษณะของตัวสื่อเอง การจำแนกวิธีส่งสื่อออกจากตัวสื่อที่ถูกส่งนั้นใช้โดยเฉพาะกับเครือข่ายโทรคมนาคม เนื่องจากระบบการส่งมอบข้อมูลโดยทั่วไปมีทั้งระบบที่ส่งต่อเนื่องในตัว (เช่น วิทยุ, โทรทัศน์) และระบบที่ไม่สามารถส่งต่อเนื่องได้ในตัว (เช่น หนังสือ, ตลับวีดิทัศน์, แผ่นซีดีเสียง) ตัวอย่างเช่น ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ดนตรีลิฟต์ (elevator music) เป็นหนึ่งในบรรดาสื่อแบบส่งต่อเนื่องยุคแรกสุดที่เป็นที่นิยมกัน แต่ทุกวันนี้ โทรทัศน์อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นรูปแบบสามัญรูปแบบหนึ่งของสื่อแบบส่งต่อเนื่องไปแล้ว ศัพท์ "สื่อแบบส่งต่อเนื่อง" สามารถใช้กับสื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากวีดิทัศน์และข้อมูลเสียง เช่น คำบรรยายแบบซ่อนได้สด, ทิกเกอร์เทป และข้อความสด (real-time text) ซึ่งเราถือว่าทั้งหมดเป็น "ข้อความแบบส่งต่อเนื่อง" อนึ่ง วลี "แบบส่งต่อเนื่อง" ได้รับการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องจากเป็นคำอธิบายที่ดีกว่าสำหรับวีดิทัศน์ตามคำขอบนเครือข่ายไอพี โดยในขณะนั้นวีดิทัศน์รูปแบบดังกล่าวมักถูกเรียกว่า "วีดิทัศน์แบบเก็บข้อมูลแล้วส่งต่อ" (store and forward video) ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่อาจทำให้เข้าใจผิดได้ การส่งต่อเนื่องสด (live streaming) ซึ่งสื่อถึงการส่งมอบเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ตตามเวลาจริงนั้นจำเป็นต้องใช้สื่อต้นทางรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (เช่น กล้องวีดิทัศน์, ตัวต่อประสานเสียง, ซอฟต์แวร์จับภาพหน้าจอ), ตัวเข้ารหัสเพื่อแปลงเนื้อหาเป็นดิจิทัล, ตัวจัดพิมพ์สื่อ และเครือข่ายการส่งมอบเนื้อหา (content delivery network) เพื่อแจกจ่ายและส่งเนื้อหา ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการส่งต่อเนื่องสด เช่น เฟซบุ๊กไลฟ์, บีโกไลฟ์ เป็นต้น.

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและสื่อแบบส่งต่อเนื่อง

ฮาร์ดดิสก์

ร์ดดิสก์ชนิดต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA), แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์ SSD โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ.

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและฮาร์ดดิสก์

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและซอฟต์แวร์

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและแรม

แถวคอย

แถวคอย หรือ คิว เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล การดำเนินการในแถวคอยจะแบ่งเป็น การเพิ่มข้อมูลไปที่ส่วนหลังสุดของแถวคอย และการดึงข้อมูลออกจากส่วนหน้าสุดของแถวคอย เข้าออกในลักษณะการเข้าก่อนออกก่อน (First In First Out: FIFO) ในโครงสร้างข้อมูลลักษณะเข้าก่อนออกก่อนนี้ ข้อมูลแรกสุดที่ถูกเพิ่มเข้าไปในแถวคอยจะเป็นข้อมูลแรกที่ถูกดึงออก ซึ่งก็เท่ากับว่า ความจำเป็นที่ว่า เมื่อมีข้อมูลหนึ่งถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว ข้อมูลที่ถูกเพิ่มก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะต้องถูกดึงออกก่อนที่ข้อมูลใหม่จะถูกใช้งาน คล้ายกับการเข้าแถวซื้อของในชีวิตประจำวัน แถวคอยจัดเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิแถวคอยในการทำงานของเครือข่าย การออกแบบการทำงานระบบท่อ (pipeline) เป็นต้น.

ดู บัฟเฟอร์ข้อมูลและแถวคอย

ดูเพิ่มเติม

หน่วยความจำคอมพิวเตอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ที่พักข้อมูล