โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตสัมพันธวงศ์

ดัชนี เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

54 ความสัมพันธ์: บางกอกริเวอร์พาร์คพ.ศ. 2435พ.ศ. 2475พ.ศ. 2515พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพฤษภาคมกรมเจ้าท่ากรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครริเวอร์ซิตีวัดบพิตรพิมุขวรวิหารวัดชัยชนะสงครามวัดบำเพ็ญจีนพรตวัดกันมาตุยารามวัดสัมพันธวงศารามวรวิหารวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารวัดปทุมคงคาราชวรวิหารวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหารวงเวียนโอเดียนศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะสะพานเหล็กสำเพ็งธันวาคมถนนบริพัตรถนนพระรามที่ 4ถนนมังกรถนนราชวงศ์ถนนลำพูนไชยถนนผดุงด้าวถนนจักรวรรดิ์ถนนทรงวาดถนนตรีมิตรถนนแปลงนามถนนเยาวราชถนนเจริญกรุงคลองรอบกรุงคลองผดุงกรุงเกษมคลองถมตรุษจีนตำบลแม่น้ำเจ้าพระยาแขวงแขวงตลาดน้อยโบสถ์กาลหว่าร์โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยเทศกาลกินเจเทศกาลไหว้พระจันทร์...เขตบางรักเขตพระนครเขตคลองสานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

บางกอกริเวอร์พาร์ค

งกอกริเวอร์พาร์ค (Bangkok River Park) เป็นคอนโดมีเนียมหรูสูง 158 เมตร จำนวน 35 ชั้น 97 ห้อง ตั้งอยู่ 432 ซอยสะพานยาว ถนนทรงวาด แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่เยื้องสะพานพระปกเกล้าเล็กน้อย อาคารได้รับการออกแบบและลงทุนโดย ร.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 อาคารมีจุดเด่นที่สำคัญคือการใช้สีขาวผสานกับสถาปัตยกรรมโรมัน โดยเฉพาะโดมขนาดใหญ่สีขาวบนดาดฟ้า ซึ่งคล้ายกับสเตท ทาวเวอร์ รูปแบบอาคารบางกอกริเวอร์พาร์ค เป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสไตล์โพสต์โมเดิร์น นอกจากนี้ยังเป็นอาคารที่มีความสูงโดดเด่นเหนือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาย่านสัมพันธวงศ์อีกด้วย ปัจจุบันอาคารยังคงเปิดเช่าและขาย โดยแต่ละยูนิต (280 ตารางเมตร) ตามราคาประเมิน สูงกว่า 26 ล้านบาท.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และบางกอกริเวอร์พาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2515

ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพ.ศ. 2515 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กรมเจ้าท่า

กรมเจ้าท่า (Marine Department; เคยใช้ชื่อ: กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี) มีหน้าที่ดูแลพื้นน้ำและการเดินทางทางน้ำ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 1278 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และกรมเจ้าท่า · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ

วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ริเวอร์ซิตี

งหลักภายในอาคารริเวอร์ซิตี้ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ (River City Bangkok Shopping Center) เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และริเวอร์ซิตี · ดูเพิ่มเติม »

วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร เดิมมีชื่อว่าวัดเชิงเลน มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข พระราชนัดดาซึ่งถ้าหากพูดตามประสาชาวบ้านก็คือ เป็นหลานน้าของรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงแด่รัชกาลที่ ๑ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบพิตรพิมุข เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระองค์นี้ ไฟล์:พระสัมพุทธบพิตร พระประธานในพระอ.jpg|พระสัมพุทธบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ ไฟล์:พระเจดีย์ วัดบพิตรพิมุข Pagoda.jpg|พระเจดีย์ ไฟล์:พระพุทธรูปปางลีลา Walking Buddha.jpg|พระพุทธรูปปางลีลา หน้าพระอ.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดชัยชนะสงคราม

วัดชัยชนะสงคราม เดิมชื่อ "วัดตึก" สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ชัยชนะสงคราม.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดชัยชนะสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดบำเพ็ญจีนพรต

วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) (永福寺) สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เป็นปฐมสังฆารามฝ่ายมหายานและอนุตตรธรรม จีนนิกาย (นิกายฌาณ สาขาหลินฉี)ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดบำเพ็ญจีนพรต · ดูเพิ่มเติม »

วัดกันมาตุยาราม

ระประธานในอุโบสถ วัดกันมาตุยาราม เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็ก สังกัดธรรมยุตินิกาย ตั้งอยู่ริมถนนมังกร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แวดล้อมด้วยชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดกุศลสมาครของฝ่ายอนัมนิกาย และวัดบำเพ็ญจีนพรตของฝ่ายจีนนิกาย วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดกันมาตุยาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร

วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีนามว่า วัดเกาะ หลักฐานในการสร้างวัดแต่เดิมไม่ปรากฏใครเป็นผู้สร้าง ทราบแต่ว่าเป็นวัดโบราณเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดเกาะ เนื่องจากการที่มีคูคลองล้อมรอบเชื่อมต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ใหม่หลายวัด ในส่วนของวัดเกาะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอ ต้นราชสกุลมนตรีกุล ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดเกาะแก้วลังการาม" ต่อมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง แล้วเปลี่ยนนามวัดใหม่ เป็น วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เช่นในปัจจุบัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯถวายผ้าพระกฐินที่วัดสัมพันธวงศ์วงศารามวรวิหาร รวมถึงวัดปทุมคงคาราม โดยทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งเทียบที่ศาลาท่าน้ำ.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร

วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดจักรวรรดิ หรือ วัดจักรวรรดิราชาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดนางปลื้ม สร้างสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เรียก วัดสามปลื้ม สันนิษฐานว่าคงมาจากผู้หญิงสามนางร่วมกันสร้าง และอาจด้วยเพราะอยู่ใกล้กับสำเพ็ง หรือสามเพ็ง ทำนองเดียวกับวัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ที่อยู่ใกล้กัน เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ประมาณ พ.ศ. 2362 และได้ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า วัดจักรวรรดิราชาวาสเมื่อประมาณ พ.ศ. 2368 ภายในวัดมีศาลและรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาอยู่ด้วย โดยช่างปั้นได้ปั้นจากภาพเขียนรูปปั้นของเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) พระเจ้ากรุงกัมพูชาให้สร้างขึ้นที่เมืองอุดงมีชัย ปัจจุบัน วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร หรือวัดเชิงเลน และเชิงสะพานพระปกเกล้าด้านมุ่งหน้าไปฝั่งธนบุรี จระเข้ขนาดใหญ่ในบ่อเลี้ยงภายในวัด ในวัดแห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกประการคือ มีบ่อเลี้ยงจระเข้ขนาดใหญ่ ซึ่งพระสงฆ์และเด็กวัดช่วยกันดูแล ทั้งนี้เนื่องจากราวปี พ.ศ. 2485 ที่บริเวณวัดที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยามีเรื่องราวของจระเข้กินคนตัวหนึ่งชื่อ "ไอ้บอดวัดสามปลื้ม" เนื่องจากมีตาข้างหนึ่งบอด แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าไอ้บอดวัดสามปลื้มนั้นตายลงเมื่อใด หากแต่ตำนานนี้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่มาของบ่อเลี้ยงจระเข้ภายในวั.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ถนนทรงวาดติดต่อกับถนนสำเพ็ง แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดสำเพ็ง ตามชื่อถนนหน้าวัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา”.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" เข้าใจกันว่า ชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ ในปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนโอเดียน

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และวงเวียนโอเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

้านหน้าศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ (อักษรจีน: 廟尾龍; Leng Buai Ia Shrine) เป็นศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เลขที่ 125 ภายในซอยเจริญกรุง 16 หรือตรอกอิสรานุภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับซอยเยาวราช 6 ในฝั่งถนนเยาวราชได้ เป็นศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีคำจารึกเป็นภาษาจีนในศาลเจ้าว่าสร้างมาตั้งแต..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเหล็ก

นดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง ของกรุงเทพมหานคร บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต" ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท ในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคังมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงกลางปีค่อนไปทางปลายปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และสะพานเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สำเพ็ง

ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน แผนที่ของเขตสัมพันธวงศ์ (สำเพ็งปรากฏอยู่ในชื่อ Wanit 1 Road หรือ Sampheng Road ซึ่งเริ่มมาจากย่านตลาดน้อย ในขณะที่ส่วนที่เป็นย่านการค้าที่คึกคัก จะเริ่มต้นจากบริเวณถนนราชวงศ์ไปจนสิ้นสุดที่ฝั่งถนนจักรเพชร ในเขตพระนคร) สำเพ็ง หรือ สามเพ็ง (อักษรโรมัน: Sampheng) เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช, ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน, พาหุรัดและวังบูรพา ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร ทั้งนี้สำเพ็งในปัจจุบัน รู้จักกันดีในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 และในช่วงระหว่างสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิเรียกว่า ตรอกหัวเม็ด สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง ที่มาของชื่อ "สำเพ็ง" นั้นไม่มีใครทราบว่ามีความหมายว่ากระไร หรือมาจากคำว่าอะไร ได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "สามแพร่ง" หรือมาคำจีนแต้จิ๋วว่า "สามเผง" (อักษรจีน: 三聘; จีนกลางออกเสียง ซั้นผิ่ง) แปลตรงตัวได้ว่า "ศานติทั้งสาม" ซึ่งก็ไม่มีใครทราบความหมายหรือคำแปลที่แท้จริง หรือบ้างก็ว่ามาจากคำว่า "สามปลื้ม" ก็มี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่านสำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของมิชชันนารีที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็งในปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และสำเพ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนบริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมังกร

ป้ายชื่อถนนมังกร ทางฝั่งถนนเยาวราชตัดเข้าย่านสำเพ็ง แผนที่เขตสัมพันธวงศ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนมังกรปรากฏในชื่อ Mangkon Road ถนนมังกร (Thanon Mangkon) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดผ่านถนนสายอื่น ๆ ในลักษณะของซอย ถนนมังกรมีจุดเริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม เลียบคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดผ่านถนนมิตรพันธ์ บริเวณใกล้กับวงเวียน 22 กรกฎาคม จากนั้นตัดผ่านถนนยี่สิบสองกรกฎาคม เลียบข้างวัดพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนไมตรีจิตต์ จากนั้นทอดผ่านถนนพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนเจ้าคำรบ ผ่านวัดคณิกาผล ตัดผ่านถนนยมราชสุขุม ออกถนนเจริญกรุง และผ่านหน้าวัดกันมาตุยาราม ในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ในย่านเยาวราช จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราช ทอดตัดกับตรอกอิสรานุภาพและซอยผลิตผล ที่ย่านสำเพ็ง พื้นที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ไปสิ้นสุดที่ถนนทรงวาด ถนนมังกร โดยเฉพาะในช่วงที่ตัดผ่านถนนเยาวราชและย่านสำเพ็ง เป็นย่านการค้าที่คึกคักมาก มีสินค้านานาชนิดจำหน่าย และเป็นที่ตั้งของห้างทองตั้งโต๊ะกัง ห้างทองหรือร้านค้าทองแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามในรูปแบบจีน-โปรตุเกส และชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ทองคำ อีกทั้งในฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพ สาขาสำเพ็ง ตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่นเดียวกับห้างทองตั้งโต๊ะกัง ซึ่งอาคารทั้งสองได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลำพูนไชย

นนลำพูนไชย ถนนลำพูนไชย เป็นถนนสายสั้น ๆ ในย่านเยาวราช พื้นที่แขวงตลาดน้อยและแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางแยกลำพูนไชยที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญกรุง และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราชบริเวณใกล้กับวงเวียนโอเดียน ถนนลำพูนไชยเป็นที่ตั้งของสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ และเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนลำพูนไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนผดุงด้าว

รรยายกาศของอาหารริมทางในเวลาค่ำคืน ที่ถนนผดุงด้าวช่วงติดกับถนนเยาวราช ถนนผดุงด้าว (Thanon Phadung Dao) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนที่มีความยาวประมาณ 200 เมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุง และถนนเยาวราช เช่นเดียวกับถนนแปลงนาม ที่อยู่ใกล้เคียง และช่วงที่ 2 เป็นช่วงฝั่งถนนเยาวราช ในช่วงนี้มีถนนอีกสายหนึ่งที่ตัดผ่าน คือ ถนนพาดสาย ถนนผดุงด้าวมีชื่อเรียกติดปากว่า ซอยเท็กซัส หรือ ตรอกเท็กซัส อันเนื่องจากที่นี่ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เท็กซัสมาก่อน ถนนผดุงด้าว ได้รับชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อกำหนดให้ชื่อถนน หรือตรอกซอกซอยต่าง ๆ เหล่านี้มีความเป็นสากล และเพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีผู้เสนอทั้งชื่อ "ผดุงด้าว" และ "ผดุงเผ่า" ซึ่งทรงเลือกชื่อ ผดุงด้าว ในอดีต ถนนผดุงด้าวมีความคึกคักอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี โรงภาพยนตร์เท็กซัส เป็นที่รู้จักกันดีจะฉายภาพยนตร์อินเดียที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและกฎหมายอยู่ด้วย นั่นคือ โรงน้ำชาที่มีผู้หญิงขายบริการ และยังเป็นแหล่งที่จำหน่ายหนังสือปกขาว หรือหนังสือลามกอนาจาร แห่งแรกอีกด้วย ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เท็กซัสได้เลิกกิจการไปนานหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นภัตตาคารสุกี้ที่ใช้ชื่อ เท็กซัส เช่นเดียวกับในอดีต นับเป็นภัตตาคารอายุเก่าแก่ยาวนาน และเป็นแห่งแรก ๆ ที่มีจำหน่ายสุกี้ในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีร้านอาหารจำหน่ายเนื้อแพะตุ๋นยาจีน รวมถึงเนื้อจระเข้, หอยทอด และร้านจำหน่ายซีดีเพลงและภาพยนตร์หรืองิ้วของจีน และขนมไหมฟ้า หรือขนมหนวดมังกร อันเป็นขนมของจีนที่หารับประทานได้ยากอีกด้ว.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนผดุงด้าว · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรวรรดิ์

นนจักรวรรดิ์ช่วงแยกวัดตึก ถนนจักรวรรดิ์ (Thanon Chakkrawat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเอส. เอ. บี. (ตรงข้ามถนนวรจักรในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราชที่สี่แยกวัดตึก เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ สิ้นสุดที่ถนนจักรเพชร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2436 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะได้ใช้เดินทางไปมาค้าขายและใช้รถม้าได้โดยสะดวก และพระราชทานชื่อถนนตามชื่อวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม) ซึ่งถนนนี้ตัดผ่าน ปรากฏในเอกสารการก่อสร้างถนนจักรวรรดิ์ว่า แต่เดิมนั้นกำหนดให้ตัดถนนจักรวรรดิ์ไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอนุชิตชาญไชย แต่ครั้งแรกพระอนุชิตชาญไชยไม่เต็มใจ และได้กราบบังคมทูลไม่ตกลงใจเด็ดขาด โดยขออย่าให้ถนนตัดผ่านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย กระทรวงนครบาลจึงแก้ไขแนวถนน ให้ตัดผ่านบ้านของหลวงไมตรีวานิชและบ้านของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ซึ่งทำให้แนวถนนต้องอ้อมมาก ต่อมาพระยาอนุชิตชาญไชยได้กราบบังคมทูลว่า ยินดีให้ตัดถนนผ่านที่ดินได้ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์กราบบังคมทูลว่า การแก้แนวถนนจักรวรรดิ์ให้ไปลงในที่ดินของพระอินทราธิบดีนั้น เจ้าของเต็มใจออกเงินค่าทำถนน และยังซื้อที่ดินผู้อื่นที่ถนนต้องตัดผ่านทั้งหมดถวายด้วย รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินค่าทำถนนอีก นอกจากนี้ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระยาอนุชิตชาญไชยซึ่งไม่เต็มใจแต่แรกนั้นจะยอมเสียเงินค่าทำถนนด้วยหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ให้สร้างถนนจักรวรรดิ์ตามแนวที่แก้ไขใหม่ เพราะเป็นทางที่รัฐบาลได้ประโยชน์ แนวถนนจักรวรรดิ์จึงไปสุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนจักรวรรดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนทรงวาด

อาคารเก่าแก่ริมถนนทรงวาด ถนนทรงวาด (อักษรโรมัน: Thanon Song Wat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช ถนนทรงวาด กำเนิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วาดแนวถนนเส้นนี้ลงบนแผนที่เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ในย่านสำเพ็งหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ถนนทรงวาดมีความยาวทั้งสิ้น 1,196 เมตร กินพื้นที่ตั้งแต่แขวงสัมพันธวงศ์ และแขวงตลาดน้อย การตัดถนนทรงวาดแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเมื่อ..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนทรงวาด · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตรีมิตร

นนตรีมิตร (Thanon Tri Mit) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ และแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มีจุดเริ่มต้นโดยตัดแยกจากถนนทรงวาด บริเวณหน้าวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ไปจรดกับถนนพระราม 4 และถนนเจริญกรุง ที่วงเวียนโอเดียน และทอดผ่านข้างวัดไตรมิตรวิทยาราม ขนานไปกับถนนข้าวหลาม หรือซอยสุกร ในอีกด้าน ไปสิ้นสุดที่แยกไมตรีจิตต์ บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยถนนตรีมิตร ช่วงบริเวณวัดไตรมิตรวิทยารามไปสิ้นสุดที่แยกไมตรีจิตต์ มีชื่อว่า ถนนมิตรภาพไทย-จีน โดยเปลี่ยนชื่อถนนเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนตรีมิตร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแปลงนาม

นนแปลงนาม (Thanon Plaeng Nam) เดิมมีชื่อว่า "ตรอกป่าช้าหมาเน่า" เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ระยะประมาณ 100 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช อยู่ตรงข้ามกับถนนพลับพลาไชย และอยู่ใกล้กับถนนผดุงด้าว หรือซอยเท็กซัส โดยอยู่ก่อนถึงแยกหมอมีจากถนนเจริญกรุง สาเหตุที่เรียกว่า ตรอกป่าช้าหมาเน่า ก็เนื่องมาจาก ในอดีตพื้นที่ของตรอกนี้คือจุดทิ้งขยะของย่านเยาวราช ใครที่ผ่านตรอกนี้ก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหม็นเหมือนกลิ่นหมาเน่าหรือซากศพเน่า ต่อมาได้มีการตัดถนนเยาวราช ทางการได้เข้าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและกำจัดขยะออกไป และเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น ซอยแปลงนาม และปรับปรุงขยายเป็นถนนในเวลาต่อมา บริเวณถนนแปลงนามนี้มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นย่านการค้า ซึ่งในถนนแปลงนามนี้มีของต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อมากมาย เช่น เครื่องดนตรีจีน, ตะเกียงเจ้าพายุและของเก่า, เครื่องครัวจีน ในส่วนของร้านอาหารมีหลายอย่างที่หลากหลาย เช่น รังนกและหูฉลาม, หมูสะเต๊ะ, ข้าวต้มและอาหารตามสั่ง, ข้าวหมูแดง, ขนมจีบ, พระรามลงสรง และเป็นที่ตั้งของวัดมงคลสมาคม (อักษรเวียดนาม: Chùa Hội Khánh; 會慶寺) ศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบอนัมนิก.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนแปลงนาม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และคลองรอบกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และคลองผดุงกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

คลองถม

ลองถม เป็นแหล่งขายของมือสองและของเก่า รวมทั้งอุปกรณ์รถยนต์ประดับยนต์ รวมไปถึงของจิปาถะ เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนวรจักรและถนนเจริญกรุงกับเยาวราชมาแต่โบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมคลองถมนั้นเรียกกันว่า คลองสำเพ็ง โดยมีปลายคลองด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนปลายคลองอีกด้านออกสู่คลองมหานาค เมื่อมีการตัดถนนเพิ่มขึ้น และทางการได้ลดจำนวนคลองลง ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จากนั้นก็ได้มีการสร้างถนนขึ้นบริเวณคลองนี้ ตอนแรกก็ถมกันด้วยขยะทั่วไป ต่อมาก็แปรสภาพมาเป็นถนน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นมาแต่เดิม เรียกกันติดปากเรื่อยมากันว่า "คลองถม" จนถึงทุกวันนี้ คลองถม ถือเป็นแหล่งขายของมือสอง อุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนถึงของจิปาถะเป็นเวลายาวนานจนเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์จะมีทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อคับคั่ง จนเกิดเป็นปัญหาการจราจร จนกระทั่งหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบสังคม จึงมีนโยบายให้ผู้ค้าคลองถมเลิกขาย โดยจะหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และคลองถม · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และตรุษจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำบล

ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และตำบล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แขวง

แขวง เป็นชื่อเรียกของเขตการปกครอง โดยในประเทศลาวและประเทศพม่านั้น "แขวง" จะมีอำนาจปกครองในระดับเดียวกับจังหวัดของประเทศไท.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และแขวง · ดูเพิ่มเติม »

แขวงตลาดน้อย

ทความนี้เป็นแขวงในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในส่วนของตำบลตลาดน้อย จังหวัดสระบุรี ดูที่: อำเภอบ้านหมอ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า "ตั๊กลักเกี้ย" (噠叻仔; ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "น้อย" เป็นท่าเรือและชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโจวซือกง, บ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, กรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และแขวงตลาดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์กาลหว่าร์

กาลหว่าร์ หรือ วัดแม่พระลูกประคำ (Holy Rosary Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงกอทิก ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โบสถ์แห่งนี้ไม่ใช่โบสถ์หลังแรก หากแต่เป็นโบสถ์หลังที่สาม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกทิ้งร้างภายหลังเพลิงไหม้ใหญ่ในปี พ.ศ. 2407 โบสถ์ในปัจจุบันได้สร้างขึ้นโดยคุณพ่อแดซาลส์ ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2434 ปัจจุบันโบสถ์มีอายุรวมแล้ว ปี ถือเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โบสถ์ได้รับการบูรณะใหญ่ในปี พ.ศ. 2500 ในสมัยที่คุณพ่ออาแมสตอย เป็นอธิการโบสถ์ และถือเป็นการฉลองครบ 60 ปีของโบสถ์กาลหว่าร์อีกด้วย การบูรณะครั้งล่าสุดคือในช่วงปี พ.ศ. 2526 - 2532 โดยมีบาทหลวงประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย เป็นอธิการโบสถ์ในขณะนั้น ปัจจุบัน โบสถ์กาลหว่าร์ได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โบสถ์แห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญคือ รูปปั้น 2 รูปซึ่งเป็นสมบัติเก่าแก่ตั้งแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้แก่ "รูปแม่พระลูกประคำ" และ "รูปพระศพของพระเยซูเจ้า" โดยทั้งหมดนี้ยังคงเก็บรักษาและใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาจนถึงปัจจุบันนี้ อธิการโบสถ์องค์ปัจจุบันคือ บาทหลวงไพทูรย์ หอมจิน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และโบสถ์กาลหว่าร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ

ัญลักษณ์มูลนิธิเทียนฟ้า มูลนิธิเทียนฟ้าและศาลเจ้า เทียนฟ้ามูลนิธิ หรือ โรงพยาบาลมูลนิธิเทียนฟ้า (Tien Fah foundation; ตัวเต็ม: 天華醫院; ตัวย่อ: 天华医院; พินอิน: Tiān huá yī yuàn; จีนกลาง: เทียนหัวอีเยียน; จีนแคะ: เทียนฝายีเหย่น; ฮกเกี้ยน: เถี้ยนหัวอี่ก้วน;แต้จิ๋ว: เทียนฮั้วอุยอี้) เป็นโรงพยาบาลและมูลนิธิตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีสถานที่ใกล้เคียงคือ วัดไตรมิตรวิทยาราม วงเวียนโอเดี้ยน เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

รงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย (Trimitwitthayalai School,岱密中学)เป็นโรงเรียนชายล้วน ที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษา ในย่านเยาวราชที่มีประวัติความเป็นมายาวนานแห่งหนึ่งในประเทศไทย เดิมชื่อโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้ เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 661 ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ปัจจุบันโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยมีอายุ 122 ปี เป็นโรงเรียนผู้นำด้านภาษาจีนแห่งแรกของประเทศไทย โดยในปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาต.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลกินเจ

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเทศกาลกินเจ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลไหว้พระจันทร์

ทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (Moon Festival, Mid-Autumn Festival; จีนตัวเต็ม: 中秋節; จีนตัวย่อ: 中秋节; พินอิน: zhōngqiū jié; เวียดนาม: Tết Trung Thu) เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล) ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือเวียดนาม จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้ ที่มาของเทศกาลนี้ เกี่ยวกับเทพปกรณัมจีนที่เล่าถึง เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ที่ชื่อ "ฉางเอ๋อ" (嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงคนรักของโฮวอี้ นักยิงธนูแห่งสวรรค์ ที่ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงจากทั้งหมด 10 ดวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบัญชาสวรรค์ จึงโดนลงทัณฑ์ให้ไปใช้ชีวิตธรรมดาเช่นมนุษย์ทั่วไปบนโลกมนุษย์กับฉางเอ๋อ แต่แล้วโฮวอี้ก็ถูกคนสนิททรยศฆ่าตาย ส่วนฉางเอ๋อนางได้ดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะมีชีวิตอมตะ แล้วเหาะกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งตามลำพังด้วยความเศร้าสร้อย ในยุคของฮั่นเหวินตี้ (漢文帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้ทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบกับฉางเอ๋อกำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในสุบินนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและโปรดให้สุบินนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาฉางเอ๋อที่พระองค์ได้พบเจอมา จนแพร่หลายไปสู่ราษฎรและเป็นประเพณีมา ซึ่งในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสาวจะสวดขอพรจากฉางเอ๋อเพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้มีการก่อกบฏขึ้นของชาวฮั่น ด้วยการแอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการสังหารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเทศกาลไหว้พระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: เขตสัมพันธวงศ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สัมพันธวงศ์อำเภอสัมพันธวงศ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »