โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

ดัชนี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

72 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2458พ.ศ. 2469พ.ศ. 2472พ.ศ. 2481พ.ศ. 2483พ.ศ. 2490พ.ศ. 2514พ.ศ. 2515พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพฤษภาคมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)ภูเขาทองรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดชัยชนะสงครามวัดมังกรกมลาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหารวัดคณิกาผลวัดโสมนัสราชวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารวงเวียน 22 กรกฎาคมสะพานมหาดไทยอุทิศสะพานผ่านฟ้าลีลาศสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์สะพานเหล็กสะพานเทวกรรมรังรักษ์สนามมวยราชดำเนินอำเภอจังหวัดพระนครจังหวัดธนบุรีธันวาคมถนนถนนบริพัตรถนนบำรุงเมืองถนนพระรามที่ 4ถนนพลับพลาไชยถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนวรจักรถนนหลวงถนนหลานหลวงถนนดำรงรักษ์ถนนนครสวรรค์ถนนเยาวราชถนนเสือป่า...ถนนเจริญกรุงคลองมหานาคคลองรอบกรุงคลองผดุงกรุงเกษมคลองถมตลาดนางเลิ้งตลาดโบ๊เบ๊ตำบลแยกกษัตริย์ศึกแยกยุคล 2แยกหมอมีแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)แขวงโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์โรงเรียนเทพศิรินทร์เขตพระนครเขตสัมพันธวงศ์เขตดุสิตเขตปทุมวัน1 เมษายน15 ตุลาคม21 ตุลาคม ขยายดัชนี (22 มากกว่า) »

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2515

ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพ.ศ. 2515 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (Ministry of Social Development and Human Security) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (Ministry of Tourism and Sports) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬ.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

กระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและกระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาทอง

ูเขาทอง สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและภูเขาทอง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดชัยชนะสงคราม

วัดชัยชนะสงคราม เดิมชื่อ "วัดตึก" สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ชัยชนะสงคราม.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดชัยชนะสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดมังกรกมลาวาส

"ซำป้อหุกโจ้ว" ชื่อเรียกสามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่, สำเนียงกวางตุ้ง: หล่งลิ่นจี๋, สำเนียงฮากกา: หลุ่งเหลี่ยนซื้อ) เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดมังกรกมลาวาส · ดูเพิ่มเติม »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วัดสระเกศ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดคณิกาผล

วัดคณิกาผล เป็นวัดไทยในพุทธศาสนามหานิกาย ประเภทวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ถนนพลับพลาไชย แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ตรงกันข้ามกับสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงนางหนึ่งชื่อ แฟง มักเรียกกันว่า ยายแฟง เป็นเจ้าสำนักโสเภณีชื่อ "โรงยายแฟง" อยู่ที่ตรอกเต๊า ถนนเยาวราช มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงชวนหญิงโสเภณีในสำนักของนางเอารายได้จากการค้าประเวณีมาลงขันกันสร้างวัดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดคณิกาผล · ดูเพิ่มเติม »

วัดโสมนัสราชวรวิหาร

วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร หรือ วัดโสมนัสวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีภาพจิตกรรฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่รัชการที่ 4 โปรดให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็ก (เจดีย์มอญ) อีกองค์ที่มีลักษณะสวยงามเช่นเดียวกับปรินิพพานสถูปในอินเดีย และหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร และที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีการสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ภายในวัด อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนพระปริยัติธรรม (ตึกสาลักษณาลัย) ซึ่งเป็นตึกเก่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจกรมทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวั.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดโสมนัสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อยูในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) อยู่รวมกับ "โรงเรียนเทพศิรินทร์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชนมายุครบ 25 พรรษาพอดี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ วันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียน 22 กรกฎาคม

วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุเกิดจากถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและวงเวียน 22 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมหาดไทยอุทิศ

นมหาดไทยอุทิศ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สะพานร้องไห้ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นสะพานของถนนบริพัตร ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน สะพานมหาดไทยอุทิศตั้งอยู่ใกล้เคียงกับภูเขาทอง วัดสระเกศและป้อมมหากาฬ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยร่วมกับข้าราชการของกระทรวงทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมเงินได้ 41,241 บาท 61 สตางค์ มอบให้กรมสุขาภิบาลเป็นผู้สร้าง สิ้นค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น 57,053 บาท 29 สตางค์ ส่วนที่เกินโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลออกเงินสมทบ การก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้นเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่รวมของถนนหลายสาย แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานมหาดไทยอุทิศและโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลทำหุ่นจำลองตัวสะพพานไปตั้งถวายตัวในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ประติมากรรมนูนต่ำรูปสตรีอุ้มเด็ก หรือแม่อุ้มลูกร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อ "สะพานร้องไห้" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดสะพานด้วยพระองค์เองในคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน สะพานมหาดไทยอุทิศยังเป็นสะพานที่เป็นโบราณสถานที่สามารถให้รถวิ่งข้ามได้เพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้มีการขยายพื้นที่ของสะพานออก จึงยังคงสภาพเดิมตั้งแต่แรกสร้างไว้ได้มากถึงร้อยละ 90.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสะพานมหาดไทยอุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสะพานผ่านฟ้าลีลาศ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์

นจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานขาว เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมระหว่างถนนหลานหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กับแขวงคลองมหานาคและแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หลังจากพื้นที่พระนครและประชาชนริมคลองมีการขยายตัวขึ้น โดยการสร้างขึ้นมาทั้งหมดห้าแห่ง และมีการพระราชทานนามอันเป็นมงคลที่คล้องจองกันทั้งหมด คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทวดาเนรมิตร" และในส่วนของสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์มีความหมายว่า "สะพานที่พระพรหมเป็นผู้สรรค์สร้าง" ได้รับการบูรณะเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเหล็ก

นดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง ของกรุงเทพมหานคร บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต" ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท ในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคังมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงกลางปีค่อนไปทางปลายปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสะพานเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเทวกรรมรังรักษ์

นเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาคและแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสะพานเทวกรรมรังรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สนามมวยราชดำเนิน

้านหน้าเวที ในเวลากลางคืน สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (Rajadamnern Stadium) เวทีมวยระดับมาตรฐานหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สนามมวยราชดำเนินก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเสร็จสิ้นหลังสงครามสงบแล้ว ในปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสนามมวยราชดำเนิน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอ

อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและอำเภอ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนคร

รถรางในจังหวัดพระนครก่อนที่จะถูกยกเลิกไป อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในอดีต ตราประจำจังหวัดพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีขึ้นในช่วง..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและจังหวัดพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดธนบุรี

ตราประจำจังหวัดธนบุรี จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและจังหวัดธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ถนน

นน เป็นทางสัญจรทางบกระหว่างสถานที่สองแห่ง ที่ได้รับการปูพื้นผิว หรือได้รับการปรับปรุงเพื่อให้การเดินทางทางเท้าหรือยานพาหนะต่าง ๆ รวมถึงม้า เกวียน จักรยาน และยานยนต์ ถนนประกอบด้วยหนึ่งหรือสองช่องทาง ได้แก่ ทิศเดียวกัน กับทิศสวนทางกัน โดยแต่ละฝั่งมีช่องจราจรตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป และบางครั้งอาจมีทางเท้า ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวมอาจเรียกว่าถนนสาธาณะ หรือทางหลวง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนบริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนบำรุงเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส. เอ. บี.) และตัดกับถนนหลวง (ทางแยกวรจักร) ก่อนจะสิ้นสุดลงที่ถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) โดยเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงบ้านบาตรกับแขวงป้อมปราบและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจักรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า ทรงสอบถามเรื่องการตัดถนนวรจักรจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิมยศ 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ นามถนนวรจักรมาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมช) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 และเป็นต้นราชสกุลปราโมช ปัจจุบัน รอบ ๆ ถนนวรจักรเป็นแหล่งรวมร้านค้าขายอะไหล่รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ และจักรยาน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลองถมด้ว.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนวรจักร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลานหลวง

นนหลานหลวง (Thanon Lan Luang) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเป็นเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผ่านแยกผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านถนนจักรพรรดิพงศ์ ที่แยกหลานหลวง จากนั้นตัดกับถนนพะเนียง และตัดกับถนนกรุงเกษมที่แยกสะพานขาว ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ จากนั้นตัดกับถนนลูกหลวงที่เชิงสะพาน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกยมราช จุดตัดกับถนนเพชรบุรีและถนนสวรรคโลก ที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,550 เมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสนามควาย" หรือ "ถนนสนามกระบือ" เนื่องจากเมื่อแรกสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นเขตนอกพระนคร ใช้เป็นที่สำหรับเลี้ยงควายหลวง เรียกกันในสมัยนั้นว่า "สนามควาย" ต่อมาจึงเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "สนามกระบือ" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเป็นคูเมืองชั้นนอก เป็นเหตุให้มีการขยายอาณาเขตพระนครออกไป สนามกระบือจึงมีความเจริญขึ้น เกิดมีเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชน จึงเกิดชื่อเรียกถนนเส้นนี้ขึ้นตามนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ในราว..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนหลานหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดำรงรักษ์

นนดำรงรักษ์ (Thanon Damrong Rak) หรือ ซอยดำรงรักษ์ เป็นถนนเส้นหนึ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในพื้นที่แขวงวัดโสมนัส จากนั้นผ่านหน้าวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และตัดผ่านถนนจักรพรรดิพงษ์ บริเวณเชิงสะพานนริศดำรัส ที่พื้นที่แขวงบ้านบาตร และไปสิ้นสุดลงที่บริเวณตลาดโบ๊เบ๊ ที่จุดตัดกับถนนกรุงเกษม ในพื้นที่แขวงคลองมหาน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนดำรงรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครสวรรค์

นนนครสวรรค์ (Thanon Nakhon Sawan) เป็นถนนสายหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศจากส่วนปลายของถนนราชดำเนินกลาง ทอดผ่านแยกจักรพรรดิพงษ์ ผ่านแยกเทวกรรมข้ามสะพานเทวกรรมรังรักษ์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และไปสิ้นสุดลงที่แยกนางเลิ้ง จุดตัดกับถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง พื้นที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1.31 กิโลเมตร ถนนนครสวรรค์เดิมมีชื่อว่า "ถนนตลาด" สร้างขึ้นมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นถนนนครสวรรค์ดังในปัจจุบัน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเสือป่า

นนเสือป่า (Thanon Sueapa) เป็นถนนในท้องที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยแยกจากถนนเจริญกรุงที่แยกเสือป่าไปออกถนนหลวงที่แยกโรงพยาบาลกลาง ถนนเสือป่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2464 เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ที่ตำบลตรอกเต้าหู้ ตอนริมถนนเจริญกรุง ท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2464 ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนเสียหายมาก เพราะพื้นที่ในละแวกดังกล่าวมีบ้านเรือนปลูกสร้างเบียดเสียด และไม่มีถนนใหญ่ไม่เพียงพอให้ป้องกันอันตรายได้ทันท่วงที อีกทั้งยังไม่สะอาด เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ราษฎร กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าควรตัดถนนผ่านละแวกนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการสัญจรไปมา และเพื่อบำรุงความสะอาดเรียบร้อย ตลอดจนสามารถช่วยเหลือป้องกันอันตรายในเวลาที่มีเหตุเกิดขึ้น ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลตัดถนนเสือป่า ถนนยมราชสุขุม ถนนเจ้าคำรพ และถนนศรีธรรมาธิราช รวมทั้งขยายตรอกเต้าหู้ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปบรรจบกับถนนยมราชสุขุม และโปรดเกล้าฯ ให้ถมคูแยกจากคลองจักรวรรดิที่ถมแล้วไปเชื่อมกับตรอกเต้าหู้ด้วย โดยถนนเสือป่าตัดตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปออกถนนหลวงข้างโรงพยาบาลกลาง ขนาดกว้าง 10 วา เพื่อเป็นทางเชื่อมกับถนนราชวงศ์ เมื่อมหาอำมาตย์นายกเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลขอรับพระราชทานนามถนน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราชจดนามสถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียงถนน หรือนามบุคคลสำคัญผู้อยู่ใกล้หรือเกี่ยวข้องเพื่อจะได้ทรงถือเป็นเกณฑ์ในการพระราชทานชื่อและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนเสือป่า" เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2464 เพื่อเป็นการระลึกถึงกิจการเสือป่าของพระองค์ ปัจจุบัน ถนนเสือป่าเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีต่าง ๆ เช่นเดียวกับคลองถมที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะซองและปลอกหุ้มโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำหน่ายทั้งขายปลีกและขายส่ง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนเสือป่า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองมหานาค

ลองมหานาค ช่วงสะพานมหาดไทยอุทิศ คลองมหานาค เป็นคลองขุดสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่แยกมาจากคลองรอบกรุง ในอดีตใช้เป็นสถานที่สำหรับให้ชาวพระนครมาเล่นเพลงสักวากันในช่วงน้ำหลาก ต่อมาได้มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายคลองสายอื่นสำหรับขนส่งกำลังพลและเสบียงช่วงอานัมสยามยุท.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและคลองมหานาค · ดูเพิ่มเติม »

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและคลองรอบกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและคลองผดุงกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

คลองถม

ลองถม เป็นแหล่งขายของมือสองและของเก่า รวมทั้งอุปกรณ์รถยนต์ประดับยนต์ รวมไปถึงของจิปาถะ เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนวรจักรและถนนเจริญกรุงกับเยาวราชมาแต่โบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมคลองถมนั้นเรียกกันว่า คลองสำเพ็ง โดยมีปลายคลองด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนปลายคลองอีกด้านออกสู่คลองมหานาค เมื่อมีการตัดถนนเพิ่มขึ้น และทางการได้ลดจำนวนคลองลง ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จากนั้นก็ได้มีการสร้างถนนขึ้นบริเวณคลองนี้ ตอนแรกก็ถมกันด้วยขยะทั่วไป ต่อมาก็แปรสภาพมาเป็นถนน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นมาแต่เดิม เรียกกันติดปากเรื่อยมากันว่า "คลองถม" จนถึงทุกวันนี้ คลองถม ถือเป็นแหล่งขายของมือสอง อุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนถึงของจิปาถะเป็นเวลายาวนานจนเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์จะมีทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อคับคั่ง จนเกิดเป็นปัญหาการจราจร จนกระทั่งหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบสังคม จึงมีนโยบายให้ผู้ค้าคลองถมเลิกขาย โดยจะหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและคลองถม · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดนางเลิ้ง

ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “นางเลิ้ง” สถานที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ชมภาพยนตร์จากทุกชาติทั้งไทย, จีน อินเดีย, ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300–400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ ปัจจุบัน ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหารนานาชนิด เช่น ขนมหวาน และที่ขึ้นชื่ออย่างมาก คือ กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ที่มีขายกันหลายรายริมถนนรอบด้านจนเป็นที่เลื่องชื่อ ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2552 ตลาดนางเลิ้งเป็นแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมด้วย มีผู้เสียชีวิต 2 คนเป็นบุคคลในชุมชน จากการออกมาปกป้องชุมชนแห่งนี้.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและตลาดนางเลิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดโบ๊เบ๊

ทางเข้าตลาดโบ๊เบ๊สะพาน 4 ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับมัสยิดมหานาค ตลาดโบ๊เบ๊ หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า โบ๊เบ๊ (Bo-Be Market, Bo-Be) เป็นตลาดแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ระหว่างแยกกษัตริย์ศึก (ยศเส) กับแยกสะพานขาว โดยเลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษมตัดกับคลองมหานาค เป็นตลาดที่เป็นที่รู้จักกันดีจากการเป็นตลาดขายส่งเสื้อผ้าราคาถูก ตลาดโบ๊เบ๊ เดิมเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นราว..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและตลาดโบ๊เบ๊ · ดูเพิ่มเติม »

ตำบล

ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและตำบล · ดูเพิ่มเติม »

แยกกษัตริย์ศึก

แยกกษัตริย์ศึก (Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระราม 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระราม 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

แยกยุคล 2

แยกยุคล 2 (Yukol Song Junction) หรือที่รู้จักกันในนาม สามแยกยุคล หรือ สามแยกสวนมะลิ เป็นทางสามแยกจุดตัดถนนบำรุงเมือง และถนนยุคล 2 ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในย่านสวนมะล.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกยุคล 2 · ดูเพิ่มเติม »

แยกหมอมี

แยกหมอมี (Mo Mi Intersection) หรือที่นิยมเรียกว่า สามแยก หรือ สามแยกถนนเจริญกรุง เป็นห้าแยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 4, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสถานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เรียกว่า "ตำบลสามแยก" ต่อมาในปลายปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกหมอมี · ดูเพิ่มเติม »

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกนพวงศ์ (Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์ สะพานนพวงศ์ โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงศ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

แขวง

แขวง เป็นชื่อเรียกของเขตการปกครอง โดยในประเทศลาวและประเทศพม่านั้น "แขวง" จะมีอำนาจปกครองในระดับเดียวกับจังหวัดของประเทศไท.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์

รงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนหญิงล้วน สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ภายหลังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์สิ้นพระชนม์ โดยบรรดาทายาทของพระองค์ได้บริจาคตำหนักส่วนพระองค์ และที่ดินข้างเคียงเพื่อตั้งเป็นโรงเรียนสตรีและรับโรงเรียนไว้ในอุปการะ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้เป็นพระนัดดา ทรงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนว่า “สายปัญญา” ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนสายปัญญา ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปัจจุบันโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีอายุ ปี เปิดรับสอนเฉพาะนักเรียนหญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งอยู่บนถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 0.6 ตารางวา มีอาคารเรียน 4 หลัง มี 53 ห้องเรียน 53  ห้องเรียน แบ่งตามแผนการจัดชั้นเรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายดังนี้ 6-6-8/11-12-10 มีครูทั้งหมด 108 คน มีนักเรียนในปีการศึกษา 2557 รวมทั้งสิ้น 2,641 คน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเทพศิรินทร์

รงเรียนเทพศิรินทร์ (Debsirin School, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนรัฐบาลชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งอยู่ เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเทพศิรินทร์ อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นใน 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันโรงเรียนเทพศิรินทร์มีอายุ ปี นอกจากนี้โรงเรียนเทพศิรินทร์ยังประกอบด้วย โรงเรียนเครือข่ายที่มีคำนำหน้าว่า "เทพศิรินทร์" อีก 10 แห่ง โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้ารับการศึกษา คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 นอกจากนี้ยังมีนักเรียนเก่าที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมากมาย อาทิ นายกรัฐมนตรีไทย 4 คน รวมถึง นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งมาเลเซี.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและโรงเรียนเทพศิรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

15 ตุลาคม

วันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 288 ของปี (วันที่ 289 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 77 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและ15 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 ตุลาคม

วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันที่ 294 ของปี (วันที่ 295 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 71 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและ21 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตป้อมปราบฯ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »