โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อเล็กซานเดอร์มหาราช

ดัชนี อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

55 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 212พ.ศ. 216พ.ศ. 217พ.ศ. 220พระเจ้าดาไรอัสที่ 3พระเจ้าโปรสพลูทาร์กพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาพีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอากษัตริย์กีฬาโอลิมปิกภาษากรีกรอยเมทริกซ์รัฐปัญจาบราชอาณาจักรมาเกโดนีอารูปขบวนแฟแลงซ์สมัยโบราณสปาร์ตาอารยธรรมเฮลเลนิสต์อาริสโตเติลอาร์ทิมิสอานาโตเลียอีเลียดอคิลลีสอเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาเกโดนีอาฮอปไลต์ฮันนิบาลผู้จัดการจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิไบแซนไทน์จูเลียส ซีซาร์ธีบส์ตักศิลาตุลาคมซูสประเทศราชประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศอินเดียประเทศอียิปต์ประเทศซีเรียแพร์ซโพลิสแม่น้ำสินธุแคว้นมคธแคว้นคันธาระโฮเมอร์เพลโตเมโสโปเตเมียเอฟิซัส...เอเธนส์เฮฟีสเทียนเฮราคลีสเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเปารพ ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

พ.ศ. 212

ทธศักราช 212 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 332.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพ.ศ. 212 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 216

ทธศักราช 216 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพ.ศ. 216 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 217

ทธศักราช 217 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 327.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพ.ศ. 217 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 220

ทธศักราช 220 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพ.ศ. 220 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าดาไรอัสที่ 3

ระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III of Persia, 380 – กรกฎาคม 330 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม อาร์ตาชาตา (Artashata) ตามที่กรีกเรียกก่อนจะเปลี่ยนเป็นดาไรอัสในภายหลัง.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโปรส

ปรส หรือ โปรัส (पोरस Porasa) หรือ ปุรูวาส (पुरूवास Purūvāsa) เป็นกษัตริย์แห่งเปารพ (Pauravas) ซึ่งมีดินแดนอยู่ในอนุทวีปอินเดียกินอาณาบริเวณระหว่างแม่น้ำเฌลัมกับแม่น้ำจนาพ ท้องที่ซึ่งปัจจุบันคือปัญจาบ โปรสกระทำศึกกับอเล็กซานเดอร์มหาราชในยุทธการที่ไฮดัสเปส (Battle of the Hydaspes) ซึ่งเชื่อว่า ปัจจุบันคือเมือง Mong ในปากีสถาน เอกสารกรีกระบุว่า อเล็กซานเดอร์ประทับใจในโปรสมาก เมื่ออเล็กซานเดอร์ปราบโปรสได้แล้ว ก็โปรดให้โปรสครองบัลลังก์ดังเดิม แต่ในฐานะเจ้าประเทศราช เรียก เซแทร็ป (satrap) ทั้งโปรดให้โปรสมีอำนาจเหนือดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ขยายไปจนถึงแม่น้ำบีอาส เมื่ออเล็กซานเดอร์ถูกลอบปลงพระชนม์ใน 323 ปีก่อนคริสตกาล แล้วโปรสก็ถูก ยูดีมัส (Eudemus) นายทหารคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ ลอบสังหารในระหว่าง 321 ถึง 315 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพระเจ้าโปรส · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา

ประติมากรรมเศียรของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Φίλιππος Β' ὁ Μακεδών-มีความหมายว่า- φίλος (phílos) "เพื่อน" + ἵππος (híppos) "ม้า") กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359– 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีพระเนตรที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว เป็นกษัตริย์นักรบแห่งมาเกโดนีอา ที่ทำการรบเอาชนะนครรัฐต่าง ๆ ของกรีซโบราณได้หลายแห่ง ทั้ง ธีบส์, เอเธนส์ หรือสปาร์ตา เมื่อพระองค์ทำการยึดครองนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเสมือนเป็นศูนย์กลางของกรีซโบราณได้แล้ว ทำให้ชาวกรีกในนครรัฐต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชาวมาเกโดนีอาใหม่ จากที่เคยมองว่าเป็นเพียงชนเผ่าที่เหมือนเป็นเผ่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางเหนือของอาณาจักรเท่านั้น เมื่อพระองค์ไม่ได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทำลายอารยธรรมของชาวเอเธนส์ หากแต่พระองค์ได้พยายามเรียนรู้และผสมรวมกันกับอารยธรรมของมาเกโดนีอา และพระองค์ยังได้ส่งเสริมนักวิชาการ นักปราชญ์ชาวเอเธนส์ต่าง ๆ ด้วยว่าจ้างให้ไปเผยแพร่ความรู้ยังมาเกโดนีอา และเป็นอาจารย์สอนวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ชาวมาเกโดนีอา เช่น อริสโตเติล ซึ่งอเล็กซานเดอร์ เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ก็เป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติลด้วยเช่นกัน ในการสงคราม พระองค์ได้ปรับปรุงยุทธวิธีการรบแบบใหม่ ทรงพัฒนากองทัพมาเกโดเนียโบราณขึ้นจนถึงจุดสมบูรณ์แบบ โดยใช้การผสมระหว่างกองทหารราบและกองทหารม้าเข้าไว้ด้วยกัน ใช้อาวุธแบบใหม่ คือ ทวนที่มีความยาวกว่า 5 เมตร โดยการใช้กองทหารตั้งแถวหน้ากระดานเดินบุกขึ้นหน้า และใช้ทวนยาวนี้พุ่งทะลุแทงข้าศึก ซึ่งรูปแบบการรบที่ใช้กันต่อมาอย่างยาวนานของกรีซโบราณ อีกทั้งยังประดิษฐ์หน้าไม้ที่มีอานุภาพยิงได้ระยะไกล และทะลวงเข้าถึงเกราะหรือโล่ของข้าศึกได้อีกด้วย พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีประสงค์ที่จะทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ที่เสมือนเป็นคู่สงครามกับชาวกรีกมาตลอด แต่ประสงค์ของพระองค์มิทันได้เริ่มขึ้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนเมื่อเดือนตุลาคม 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 ปี จากการลอบสังหารด้วยมีดปักเข้าที่พระอุระของมือสังหารที่เดินตามหลังพระองค์ ขณะที่พระองค์อยู่ในงานเฉลิมฉลอง ซึ่งไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมือสังหารได้ถูกสังหารโดยทหารองครักษ์ลงก่อนที่จะไต่สวนใด ๆ ได้มีการสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเป็นการว่าจ้างของกษัตริย์เปอร์เซียด้วยทองคำ เป็นต้น.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

พีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา

ฟิลิปที่ 3 แห่งแมซิดอน (Philip III of Macedon; ราว 359 ปีก่อน ค.ศ. – 25 ธันวาคม 317 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ พีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (Φίλιππος Γ΄ ὁ Ἀρριδαῖος) หรือ ฟิลิปที่ 3 แอร์ริดีอัส (Philip III Arrhidaeus) เป็นกษัตริย์แห่งแมซิโดเนีย (มาเกโดนีอา) ตั้งแต่หลังวันที่ 11 มิถุนายน 323 ปีก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและพีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาโอลิมปิก

กีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeux olympiques, JO) หรือโอลิมปิกส์ (อังกฤษ: Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาว หมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ ซึ่งจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและกีฬาโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

รอยเมทริกซ์

ในพีชคณิตเชิงเส้น รอยเมทริกซ์ หรือ เดือยเมทริกซ์ (ทับศัพท์ว่า เทรซ) คือผลบวกของสมาชิกที่อยู่บนเส้นทแยงมุมของเมทริกซ์จัตุรัส (จากซ้ายบนไปขวาล่าง) นั่นคือ โดยที่ a_ หมายถึงสมาชิกในแถวที่ i และหลักที่ j ของเมทริกซ์ A นอกจากนั้น รอยเมทริกซ์ยังเท่ากับผลบวกของค่าลักษณะเฉพาะ (eigenvalue) อีกด้วย ดังตัวอย่างการหารอยเมทริกซ์ ของเมทริกซ์ต่อไปนี้ 1 & 5 & 3 \\ 0 & 1 & 4 \\ 5 & -3 & -4 \end.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและรอยเมทริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปัญจาบ

ปัญจาบ (Punjab) คือรัฐหนึ่งทางเหนือของอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ จัณฑีครห์ มีประชากรอยู่ประมาณ 24 ล้านคน และรัฐนี้เป็นศูนย์กลางของชาวซิกข์ โดยมีสถานที่สำคัญ คือ สุวรรณวิหารหรือวัดทอง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ ระบบแผนผังเมืองนี้ มีการจัดพื้นที่แยกเป็นเขตที่อยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม เขตธุรกิจที่ชัดเจน แต่ละส่วนไม่ปะปนกัน มีห้างสรรพสินค้า มีร้านขายของ มีร้านสะดวกซื้อ มีสินค้าบางอย่างที่นำเข้ามาจากไทย แต่ราคาแพงมาก ค่าครองชีพสูง เมืองมีการออกแบบที่สวยมาก ถือได้ว่าเป็นเมืองที่สวยอีกเมืองหนึ่งในอินเดีย โดยนักออกแบบผังเมืองชาวต่างชาติ คือ เลอกอร์บูซีเย สถาปนิกชาวสวิส, มาแชย์ นอวิตสกี สถาปนิกชาวโปแลนด์ และแอลเบิร์ต เมเยอร์ นักวางผังเมืองชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและรัฐปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

รูปขบวนแฟแลงซ์

วาดฮอปไลต์กรีกเดินในรูปขบวนแฟแลงซ์ แฟแลงซ์ หรือ ฟาลังซ์ (phalanx; φάλαγξ, พหูพจน์ phalanxes หรือ phalanges, φάλαγγες) เป็นรูปขบวนทหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั่วไปประกอบด้วยทหารราบหนักทั้งหมดที่ถือหอก ไพค์ (pike) ซาริสซา (sarissa) หรืออาวุธที่คล้ายกัน คำนี้เจาะจง (และแต่แรก) ใช้อธิบายการใช้รูปขบวนนี้ในการสงครามกรีกโบราณ แม้นักเขียนกรีกโบราณใช้คำนี้อธิบายรูปขบวนทหารราบใดก็ตามที่เป็นกลุ่ม (massed) ไม่ว่าจะถือยุทธภัณฑ์ใด ในเอกสารกรีกโบราณพูดถึงแฟแลงซ์ว่า อาจเป็นการวางกำลังสำหรับการยุทธ์ การเดิน หรือแม้แต่การตั้งค่าย ฉะนั้นจึงอธิบายกลุ่มทหารราบหรือทหารม้าที่จะจัดวางกำลังเป็นเส้นตรงระหว่างการยุทธ์ ทหารเหล่านี้เดินหน้าเป็นหน่วยเดียวและบดขยี้ข้าศึก คำว่า แฟแลงซ์ มาจากภาษากรีก หมายถึง นิ้ว ในปัจจุบัน คำนี้ไม่ได้ใช้เรียกหน่วยทหารหรือกองพล (เช่น ลีเจียนของโรมันหรือกองพันแบบตะวันตกร่วมสมัย) แต่ใช้เรียกรูปขบวนทั่วไปของทหาร ฉะนั้น แฟแลงซ์จึงไม่มีกำลังรบหรือการประกอบกำลังมาตรฐาน ทว่ารวมเรียกทหารราบทั้งหมดซึ่งวางหรือจะวางกำลังในหน้าที่ในรูปขบวนแฟแลงซ์เดี่ยว ทหารถือหอกจำนวนมากในอดีตสู้รบกันในรูปขบวนที่อาจเรียกได้ว่าคล้ายแฟแลงซ์ คำนี้จึงมีใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปเพื่ออธิบาย "กลุ่มคนที่กำลังยืนหรือกำลังเคลื่อนไปด้านหน้าใกล้กัน".

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและรูปขบวนแฟแลงซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโบราณ

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ สมัยโบราณ (Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมเฮลเลนิสต์

อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (Hellenistic civilization) เป็นจุดสูงสุดของความมีอิทธิพลของอารยธรรมกรีกในโลกยุคโบราณตั้งแต่ราวปี 323 จนถึงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษ (หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษก็เป็นได้) เป็นสมัยที่ตามมาจากสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) และตามมาทันทีด้วยการปกครองของโรมในบริเวณที่เคยปกครองโดยหรือมีอิทธิพลจากกรีซ – แม้ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดีของกรีซจะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมของโรมัน ที่ชนชั้นสูงจะพูดและอ่านภาษากรีกได้ดีพอ ๆ กับภาษาละติน หลังจากชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนกรีกแล้ว ราชอาณาจักรมาซิโดเนียต่าง ๆ ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นทั่วบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกใกล้ และ ตะวันออกกลาง) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา (ส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณ) ซึ่งเป็นผลให้วัฒนธรรมและภาษากรีกเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น และในทางกลับกันอาณาจักรใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่างก็รับวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ตามแต่จะสะดวกและมีประโยชน์ ฉะนั้นอารยธรรมเฮลเลนิสต์จึงเป็นอารยธรรมที่ผสานระหว่างอารยธรรมกรีกกับอารธรรมของตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแยกตัวจากทัศนคติเดิมของกรีกต่ออารธรรมอื่นที่เคยถือว่าอารยธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมกรีกเป็นอารธรรมของ "อนารยชน" แต่การผสานระหว่างอารยธรรมกรีกและอารยธรรมที่ไม่ใช่กรีกจะมากน้อยเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่แนวโน้มของความเห็นที่ตรงกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการปรับรับวัฒนธรรมใหม่เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นส่วนประชากรโดยทั่วไปก็คงอาจจะดำรงชีวิตเช่นที่เคยทำกันม.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอารยธรรมเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอาร์ทิมิส · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอคิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาเกโดนีอา

เหรียญที่ปรากฎพระพักตร์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 4 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาเกโดนีอา (Alexander IV of Macedonia, สิงหาคม 323 – 309 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์แห่ง มาเกโดนีอา และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์อาร์กีแอด โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เดียวใน พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 4 ประสูติเมื่อเดือนสิงหาคม 323 ปีก่อนคริสตกาล ที่ นครบาบิโลเนีย หรือก่อนที่พระราชบิดาคือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะสวรรคตได้ไม่นานโดยประสูติแต่ พระนางโรซานาแห่งแบคเทรีย เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วเหล่าขุนนางข้าราชการเห็นว่าราชบัลลังก์สมควรจะยกให้เจ้าชายฟิลิปโปสผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น พระเจ้าพีลิปโปสที่ 3 แทนเนื่องจากเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ยังทรงพระเยาว์ เมื่อพระเจ้าพีลิปโปสที่ 3 ถูกจับสำเร็จโทษโดยขุนศึกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนาม แคสซานเดอร์ เมื่อ 317 ปีก่อนคริสตกาล เจ้าชายอเล็กซานเดอร์พระชนมายุเพียง 6 พรรษาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาแต่ครองราชบัลลังก์ได้เพียง 8 ปีก็สวรรคตโดยถูกปลงพระชนม์ตามคำสั่งของแคสซานเดอร์เมื่อ 309 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้ราชวงศ์อาร์กีแอดที่อยู่มาอย่างยาวนานกว่า 560 ปีต้องสิ้นสุดลงพร้อมกับการที่แคสซานเดอร์ได้สถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ปกครองมาเกโดนีอา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์มาซิดอน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตขณะทรงพระเยาว์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและอเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

ฮอปไลต์

อปไลต์ (hoplite) เป็นพลเมือง-ทหารของนครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งติดอาวุธด้วยหอกและโล่เป็นหลัก ยุทธวิธีหลัก คือ รูปขบวนแฟแลงซ์ ทหารเหล่านี้เป็นพลเมืองอิสระเป็นหลัก มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรและช่างศิลป์ซึ่งสามารถหาซื้อชุดเกราะและอาวุธสำริดได้ ซึ่งประเมินว่ามีหนึ่งในสามถึงกึ่งหนึ่งของประชากรชายผู้ใหญ่ฉกรรจ์ โดยทั่วไปฮอปไลต์ได้รับการฝึกทหารพื้นฐาน ใน 690 ปีก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮอปไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนิบาล

ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่สอง ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่สอง เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเล.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและฮันนิบาล · ดูเพิ่มเติม »

ผู้จัดการ

ผู้จัดการ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธีบส์

ีบส์ (กรีกโบราณ: Θῆβαι, Thēbai) เป็นที่รู้จักของชาวอียิปต์โบราณว่า วาเซท เป็นเมืองอียิปต์โบราณตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไนล์ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตอนใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซากปรักหักพังของเมืองนี้อยู่ในเมืองลักซอร์ในอียิปต์สมัยปัจจุบีน ธีบส์เป็นเมืองหลักของชาวอียิปต์บน และเป็นเมืองหลวงของอียิปต์ส่วนใหญ่ในช่วงราชอาณาจักรกลางและราชอาณาจักรใหม่ และอยู่ใกล้กับเมืองของชาวนิวเบีย และทะเลทรายทางทิศตะวันออกซึ่งมีทรัพยากรแร่และเส้นทางการค้าที่มีสำคัญ เป็นศูนย์กลางการบูชาและเป็นเมืองที่นับถือมากที่สุดของอียิปต์โบราณในช่วงความมั่งคั่ง พื้นที่ของธีบส์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารที่เมืืองคาร์นักและเมืองลักซอร์ และเมืองที่เหมาะสมตั้งอยู่ และชายฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานขนาดใหญ่และยังคงอยู่ในสมัยปัจจุบันและยังสามารถพบได้.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและธีบส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตักศิลา

ตักศิลา (Taxila; ตัก-กะ-สิ-ลา) หรือ ตักสิลา (Takkaśilā; ตัก-กะ-สิ-ลา) ในภาษาบาลี หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา) ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและตักศิลา · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศราช

"ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง" ที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม ประเทศราช หรือ รัฐบรรณาการ หมายถึง รัฐที่มีประมุขเป็นของตนเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชหรือสามนตราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก ตัวอย่างของประเทศราชได้แก่ เกาหลีภายใต้ราชวงศ์หยวนของจีน (พ.ศ. 1813–1899), กรุงศรีอยุธยาภายใต้พม่า (พ.ศ. 2112–2127), กัมพูชาภายใต้สยาม (ค.ศ. 2337–2427), นครเชียงใหม่ภายใต้สยาม (พ.ศ. 2317–2437).

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศราช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แพร์ซโพลิส

แผนที่แสดงที่ตั้งแพร์ซโพลิส แพร์ซโพลิส (Persepolis) หรือ เปอร์เซโปลิส เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเปอร์เซียโบราณในยุคราชวงศ์อาร์เคเมนิด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองชีราซ จังหวัดฟาร์ส เมืองสำคัญทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ยูเนสโกได้ประกาศให้แพร์ซโพลิสเป็นหนึ่งในมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) หมวดหมู่:มรดกโลกทางวัฒนธรรม หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศอิหร่าน หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:ก่อตั้งในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและแพร์ซโพลิส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสินธุ

วเทียมแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุ (Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและแม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมคธ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและแคว้นมคธ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคันธาระ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นคันธาระ อยู่ในหุบเขาเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาสุไลมานติดพรมแดนของอัฟกานิสถานและมีแม่น้ำสินธุไหลขนาบข้างด้วย ดินแดนนี้ได้รับวัฒนธรรมอินเดียและผสมกับวัฒนธรรมกรีกไซเธียน ปาร์เธียน และกุษาณะ ซึ่งอยู่รอบคันธาระเป็นเหตุให้เกิดศิลปะแบบคันธาระ และภาษาคันธารี ดังนั้นแคว้นนี้จึงถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยโบราณ ซึ่งมีการค้นพบธรรมบทภาษาคันธารีที่ค้นพบใน เมืองโขตาน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีนนอกจากนั้นยังพบคัมภีร์ใบลานและเปลือกไม้ ขณะนี้เก็บไว้ที่ภาควิชาตะวันออกศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย และมีบางส่วนเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส คัมภีร์ที่พบในอัฟกานิสถานว่าด้วยเรื่องปฐมเทศนา คำสวดมนต์ เป็นต้น เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงคาบูล อัฟกานิสถาน จากนั้นตามฝาผนังถ้ำก็มีรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญสมาธิภาวนา ห่มผ้าสีขาวอมเหลืองด้ว.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและแคว้นคันธาระ · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอฟิซัส

อฟิซัส (Ephesus; Ἔφεσος; Efes) เป็นเมืองกรีกโบราณที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียในจังหวัดอิซเมียร์ในประเทศตุรกีปัจจุบัน เอฟิซัสเป็นหนึ่งในสิบสองเมืองของสหพันธ์ไอโอเนีย (Ionian League) ในสมัยกรีกคลาสสิค ในสมัยโรมันเอฟิซัสเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของจักรวรรดิโรมันรองจากโรมที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอยู่เป็นเวลานาน เอฟิซัสมีประชากรกว่า 250,000 คนในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเท่ากับทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของโลกในยุคนั้นด้วย ชื่อเสียงของเมืองมาจากเทวสถานอาร์ทีมิส (สร้างเสร็จราว 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเทวสถานถูกทำลายในปี..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเอฟิซัส · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮฟีสเทียน

ฟีสเทียน (Hephaestion) หรือ แฮไพส์ตีออน (Ἡφαιστίων, Hēphaistíōn) เป็นแม่ทัพชาวมาเกโดนีอา ของกองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราช เขาเป็นเพื่อนสนิทกับอเล็กซานเดอร์มาตั้งแต่เยาว์วัย จนในที่สุด ความสัมพันธ์ของทั้งสองก็ได้พัฒนาเหนือกว่ามิตรภาพระหว่างเพื่อน จนอาจกล่าวได้ว่า เขาคือวิญญาณครึ่งหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ และเป็นบุคคลที่อเล็กซานเดอร์ไว้ใจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยการเสื่อมลงของวัฒนธรรมกรีกและการมีอิทธิพลขึ้นมาของศาสนาคริสต์ซึ่งต่อต้านการรักร่วมเพศ ทำให้ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของทั้งสองว่าเป็น "เพื่อนที่ดีที่สุด" แทนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ วันเกิดที่ชัดเจนของเฮฟีสเทียนนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แทบไม่มีข้อมูลเรื่องประวัติที่มาของเขา แต่นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่า เฮฟีสเทียนซึ่งเป็นเพื่อนตั้งแต่วัยเด็กกับอเล็กซานเดอร์ มีอายุเท่ากับอเล็กซานเดอร์ ทำให้คาดเดาได้ว่า เขาน่าจะเกิดเมื่อ 356 ปีก่อนคริสตกาล และมีเกร็ดเล็กน้อย จากตำนาน Alexander romance ซึ่งได้บันทึกว่า "...วันหนึ่ง เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 15 ชันษา ได้แล่นเรือไปกับสหายแฮไพส์ตีออนจนไปถึงปิซา แล้วจึงลงไปเดินเล่นกับแฮไพส์ตีออน" ซึ่งอายุของอเล็กซานเดอร์ในบันทึกนี้เอง เป็นเบาะแสที่สำคัญต่อการศึกษาที่มาของเฮฟีสเทียน เพราะขณะอเล็กซานเดอร์อายุ 15 ชันษา เขาต้องกำลังศึกษาอยู่ที่มีเอซา ภายใต้การประสาทวิชาโดยอริสโตเติล และด้วยมิตรภาพของทั้งสองที่แน่นแฟ้น ทำให้รู้ได้ว่า เฮฟีสเทียนเป็นหนึ่งในนักเรียนที่นี่เช่นกัน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเฮฟีสเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (Seven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปารพ

ปารพ, เปารัพ, หรือ เปารวะ (पौरव Paurava; Pauravas) เป็นราชอาณาจักรโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ตั้งอยู่อย่างน้อยใน 892–322 ปีก่อนคริสตกาล เรื่องราวของเปารพนั้นมีบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์และศาสนาของฮินดูซึ่งเก่าแก่ถึง 820 ปีก่อนคริสตกาล โปรสครองบัลลังก์แห่งเปารพอยู่ในคราวที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรุกรานอนุทวีปอินเดีย เชื่อกันว่า อเล็กซานเดอร์ปราบโปรสได้ในยุทธการที่ไฮดัสเปส (Battle of the Hydaspes) แล้วโปรดให้โปรสครองบัลลังก์ดังเดิม แต่ในฐานะเจ้าประเทศราช เรียก เซแทร็ป (satrap) ครั้น 322 ปีก่อนคริสตกาล จันทรคุปตเมารยะพิชิตดินแดนเปารพได้และก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: อเล็กซานเดอร์มหาราชและเปารพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alexander the Greatพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »