โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าโปรส

ดัชนี พระเจ้าโปรส

ปรส หรือ โปรัส (पोरस Porasa) หรือ ปุรูวาส (पुरूवास Purūvāsa) เป็นกษัตริย์แห่งเปารพ (Pauravas) ซึ่งมีดินแดนอยู่ในอนุทวีปอินเดียกินอาณาบริเวณระหว่างแม่น้ำเฌลัมกับแม่น้ำจนาพ ท้องที่ซึ่งปัจจุบันคือปัญจาบ โปรสกระทำศึกกับอเล็กซานเดอร์มหาราชในยุทธการที่ไฮดัสเปส (Battle of the Hydaspes) ซึ่งเชื่อว่า ปัจจุบันคือเมือง Mong ในปากีสถาน เอกสารกรีกระบุว่า อเล็กซานเดอร์ประทับใจในโปรสมาก เมื่ออเล็กซานเดอร์ปราบโปรสได้แล้ว ก็โปรดให้โปรสครองบัลลังก์ดังเดิม แต่ในฐานะเจ้าประเทศราช เรียก เซแทร็ป (satrap) ทั้งโปรดให้โปรสมีอำนาจเหนือดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ขยายไปจนถึงแม่น้ำบีอาส เมื่ออเล็กซานเดอร์ถูกลอบปลงพระชนม์ใน 323 ปีก่อนคริสตกาล แล้วโปรสก็ถูก ยูดีมัส (Eudemus) นายทหารคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ ลอบสังหารในระหว่าง 321 ถึง 315 ปีก่อนคริสตกาล.

13 ความสัมพันธ์: บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ภูมิภาคปัญจาบศาสนาฮินดูอนุทวีปอินเดียอเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบอเล็กซานเดอร์มหาราชแม่น้ำบีอาสแม่น้ำจนาพแม่น้ำเฌลัมแอร์เรียนโปรุส ศึกสองราชันย์เซแทร็ปเปารพ

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

ณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบัน คือ จังหวัดสระแก้ว) มีชื่อเล่นว่า "ท็อป" เข้าสู่วงการด้วยการถ่ายแบบ และแสดงเป็นตัวประกอบ ก่อนจะมารับบทนำจากการแนะนำของ คมน์ อรรฆเดช ในเรื่อง "ตำรวจเหล็ก" คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนักแสดงใหม่ด้วยกันทั้งคู่ และมีชื่อเสียงโด่งดังมาจากละครโทรทัศน์ เรื่อง "แผลเก่า" ทางช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยรับบทเป็น "ไอ้ขวัญ" แสดงคู่กับชุติมา นัยนา จากนั้นจึงมีผลงานที่เป็นที่รู้จักอีกคือเรื่อง "เหตุเกิดที่ สน." เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยรับบทเป็น หมวดปลิว นายตำรวจประจำ สน.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคปัญจาบ

thumb ปัญจาบ (Punjab; ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ, پنجاب) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน และทางเหนือของประเทศอินเดีย ทางฝั่งปากีสถานประกอบด้วยแคว้นปัญจาบและบางส่วนของดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด ทางฝั่งอินเดียประกอบด้วยรัฐปัญจาบ บางส่วนของรัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ‎ รัฐฉัตตีสครห์‎ จังหวัดชัมมู และบางส่วนของดินแดนนครหลวงเดลี ชื่อปัญจาบมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า (ดินแดนแห่ง) แม่น้ำห้าสาย ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสิน.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและภูมิภาคปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ

ฉากการสู้รบระหว่างกองทัพมาซิโดเนีย กับกองทัพอินเดีย ของพระเจ้าเปารวะ ได้ถ่ายทำที่สวนพฤกษศาสตร์ พุแค จังหวัดสระบุรี อันเป็นสถานที่ถ่ายทำเดียวกับฉากยุทธหัตถีในภาพยนตร์ไทยเรื่อง สุริโยไท ผลงานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและอเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำบีอาส

แผนที่แม่น้ำบีอาส แม่น้ำบีอาส (Beas River; ब्यास; ਬਿਆਸ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์) แม่น้ำบีอาสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตมัณฑี (Mandi) และเข้าเขตกางครา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาศิวาลิกในเมืองโหศยารปุระ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์กับเมืองกปูรถลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสตลุชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกปูรถลา แม่น้ำบีอาสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ในพระเวทเรียกแม่น้ำบีอาสว่า "อรชิกิยา" (Arjikiya) อินเดียโบราณเรียก "วิปาศา" (Vipasha) และกรีกโบราณเรียก "ฮิฟาซิส" (Hyphasis) ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช หลังการต่อต้านของกองทหาร พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงกำหนดให้แม่น้ำสายนี้เป็นพรมแดนด้านตะวันออกสุดของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงสั่งให้สร้างแท่นบูชาสิบสองแห่งเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจ ช่วงศตวรรษที่ 20 แม่น้ำบีอาสมีบทบาทในด้านการชลประทานและการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ มีการสร้างเขื่อนสองแห่งคือเขื่อนพอง (Pong Dam) และเขื่อนแพนโดห์ (Pandoh Dam) เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและแม่น้ำบีอาส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจนาพ

แผนที่แม่น้ำจนาพ แม่น้ำจนาพ (चंद्रभाग/अक्सिनी; ਚਨਾਬ; चनाब; چناب; Chenab) เป็นแม่น้ำสายหลักในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นหนึ่งใน ปัญจนทีหรือแม่น้ำ 5 สายของภูมิภาคปัญจาบ มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยในรัฐหิมาจัลประเทศของอินเดีย ไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือแล้วไปทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านรัฐชัมมูและกัศมีร์และตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของแคว้นปัญจาบของประเทศปากีสถาน จากนั้นรวมกับแม่น้ำสตลุชเป็นแม่น้ำปัญจนัท.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและแม่น้ำจนาพ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเฌลัม

แผนที่แม่น้ำเฌลัม แม่น้ำเฌลัม (Jhelum River, Jehlam River; ਜੇਹਲਮ) เป็นแม่น้ำสายหลักในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 725 กิโลเมตร (450 ไมล์) แม่น้ำเฌลัมเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภูมิภาคปัญจาบ มีต้นน้ำอยู่ที่บ่อน้ำพุเวรีนาค ตีนเขาปีร์ปัญชัล (Pir Panjal) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ไหลผ่านเมืองศรีนครและทะเลสาบวูลาร์ ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำคุนฮาร์ในหุบเขาคากาน แม่น้ำสายนี้ไหลเข้าแคว้นปัญจาบในปากีสถานที่เขตเฌลัมและไหลผ่านที่ราบปัญจาบไปรวมกับแม่น้ำจนาพที่เขตฌังค์ (Jhang) ชื่อสันสกฤตของแม่น้ำเฌลัมคือ "วิตัสตา" (Vitasta) ซึ่งตามตำนานเป็นพระนามที่พระศิวะประทานให้พระปารวตีหลังลงมาจุติเป็นแม่น้ำเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามคำร้องขอของฤๅษีกัศยป ชื่อนี้ยังปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทหลายครั้ง ในภาษากรีกโบราณเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "ฮือดัสเปส" หรือ "ไฮแดสพีส" (Hydaspes) โดยในเทพปกรณัมกรีกกล่าวว่า ไฮแดสพีสเป็นบุตรของธอมัส เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับอิเล็กตรา หนึ่งในกลุ่มไพลยาดีส มีพี่น้องคือไอริสและฮาร์พี แม่น้ำเฌลัมเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและกองทัพข้ามแม่น้ำแห่งนี้เพื่อทำศึกกับพระเจ้าโปรสในยุทธการที่แม่น้ำไฮแดสพีส (Battle of the Hydaspes) ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและแม่น้ำเฌลัม · ดูเพิ่มเติม »

แอร์เรียน

แอร์เรียนแห่งนิโคเมเดีย (Arrian of Nicomedia), ลูกิอุส ฟลาวิอุส อาร์ริอานุส (Lvcivs Flavivs Arrianvs) หรือ อาร์เรียโนส (Ἀρριανός; ราว ค.ศ. 86 – หลังจาก ค.ศ. 146) เป็นนักประวัติศาสตร์ ข้าราชการ นักการทหาร นักปรัชญาชาวโรมันเชื้อสายกรีกของกรีกในสมัยโรมันและไบแซนไทน์ แอร์เรียนก็เช่นเดียวกับนักเขียนอื่นในสมัยโซฟิสติกที่ 2 (Second Sophistic) ที่เขียนโดยใช้ภาษากรีกแอตทิกา (Attic Greek) งานเขียนของแอร์เรียนเป็นงานเขียนตามปรัชญาของเอพิกทีทัส (Epictetus) ที่รวมทั้ง การเดินทัพของอเล็กซานเดอร์ (Anabasis Alexandri) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายละเอียดในการการรณรงค์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช และ อินดิกา (Indica) ที่บรรยายการเดินทางของเนอาร์คัส (Nearchus) จากอินเดียติดตามการพิชิตของอเล็กซานเดอร์ และงานเขียนสั้น ๆ อื่น ๆ งานเขียนของแอร์เรียนถือกันว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดการรณรงค์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชและเป็นผู้ริเริ่มการเขียนประวัติศาสตร์จากมุมมองของการยุทธการคนแรกคนหนึ่ง แอร์เรียนเป็นคนละคนกับผู้นำทางการทหารและนักเขียนชาวเอเธนส์ชื่อคเซโนพอน (Ξενοφῶν) จากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่เขียนหนังสือชื่อเดียวกันคือ การเดินทัพ (Anabasis).

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและแอร์เรียน · ดูเพิ่มเติม »

โปรุส ศึกสองราชันย์

ปรุส ศึกสองราชันย์ หรือชื่อเดิมว่า ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์ (Porus) ละครโทรทัศน์ฟอร์มยักษ์แห่งปี ค.ศ. 2017 จากประเทศอินเดียที่ใช้ทุนสร้างมหาศาลกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้าโปรุส และ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยมีจุดสำคัญอยู่ที่ สงครามครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่ยกทัพไปสู้กับ พระเจ้าโปรุส แห่งเปารวะ นำแสดงโดย ลักช์ ลาลวานี, โรหิต ปุโรหิต, รตี ปันเดย์, อทิตยา เรทิจ, สุหนี ธันกี ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์–วันพฤหัสบดี เวลา 21:45 - 22:30 น. และวันศุกร์ เวลา 22:00 - 22:30 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและโปรุส ศึกสองราชันย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซแทร็ป

ซแทร็ป หรือ ซาแทร็ป (satrap) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองหัวเมืองในสมัยจักรวรรดิมีดิซ (Medes) และอะคีเมนิด (Achaemenid) รวมถึงจักรวรรดิอื่น ๆ ที่สืบทอดกันมา เช่น แซสซานิด (Sassanid) และเฮลเลนิสต์ (Hellenist) ในวรรณกรรมปัจจุบัน คำนี้มักใช้เรียกเจ้าประเทศราช หรือเจ้าเมืองขึ้น.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและเซแทร็ป · ดูเพิ่มเติม »

เปารพ

ปารพ, เปารัพ, หรือ เปารวะ (पौरव Paurava; Pauravas) เป็นราชอาณาจักรโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ตั้งอยู่อย่างน้อยใน 892–322 ปีก่อนคริสตกาล เรื่องราวของเปารพนั้นมีบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์และศาสนาของฮินดูซึ่งเก่าแก่ถึง 820 ปีก่อนคริสตกาล โปรสครองบัลลังก์แห่งเปารพอยู่ในคราวที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรุกรานอนุทวีปอินเดีย เชื่อกันว่า อเล็กซานเดอร์ปราบโปรสได้ในยุทธการที่ไฮดัสเปส (Battle of the Hydaspes) แล้วโปรดให้โปรสครองบัลลังก์ดังเดิม แต่ในฐานะเจ้าประเทศราช เรียก เซแทร็ป (satrap) ครั้น 322 ปีก่อนคริสตกาล จันทรคุปตเมารยะพิชิตดินแดนเปารพได้และก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: พระเจ้าโปรสและเปารพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PorosPorusพระเจ้าโปรัสพระเจ้าโปรุสโปรสโปรัสโปรุส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »