โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูส

ดัชนี ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

61 ความสัมพันธ์: กระทิงกระเพาะอาหารกลุ่มดาวนายพรานกลุ่มดาวแพะทะเลมอยเรมอนสเตอร์มิวส์มีทิสยอดเขาโอลิมปัสยูโรปารุกขเทวดาลีโตอะพอลโลอะธีนาอัสทราเอียอาร์ทิมิสอินทรีอีออสอีเลียดฮิฟีสตัสฮีบี (เทพปกรณัม)ฮีราจักรราศีจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)ทาไลอาทีมิสท้องฟ้าดาวยูเรนัสดิมีเทอร์คาริทีสซีมีลีนิมฟ์แพนแอมฟิไทรทีแอรีสแอโฟรไดทีโพไซดอนโอ๊กโครนัสไกอาไมอาไมนอสไม้ต้นไอโอไททันไดอะไนซัสไดโอนีไซคลอปส์เพอร์ซิอัสเพอร์เซฟะนี...เรียเหยี่ยวเฮราคลีสเฮสเตียเฮอร์มีสเฮดีสเฮเลนแห่งทรอยเทพปกรณัมกรีกเทวสภาโอลิมปัสเซเทอร์เนเมซิส ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: ซูสและกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: ซูสและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนายพราน

กลุ่มดาวนายพราน (Orion) เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเสียง คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า การที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และอาจเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวบนท้องฟ้า ดาวสามดวงที่ประกอบกันเป็น "เข็มขัดของนายพราน" เป็นดาวที่มีความสว่างปานกลางแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในซีกโลกเหนือจะสามารถมองเห็นกลุ่มดาวนี้ได้ตั้งแต่ช่วงเย็นของเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมกราคม จากนั้นจะสามารถเห็นได้ในช่วงเช้ามืดตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเทียบกับกลุ่มดาวข้างเคียงสามารถจินตนาการออกมาเป็นภาพได้ดังนี้: นายพรานโอไรอันยืนอยู่ข้างแม่น้ำเอริดานัส มีหมาล่าเนื้อสองตัวอยู่เคียงข้างคือ คานิสใหญ่และคานิสเล็ก เขากำลังสู้กับวัวเทารัส โดยมีเหยื่ออื่นอยู่ข้างๆ อีกเช่น ลีปัสกระต่ายป่า กลุ่มดาวนายพรานมีดาวไรเจลเป็นดาวสว่างที่สุด แต่ดาวที่มีชื่อเสียงคือดาวบีเทลจุส ดาวยักษ์แดงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามดวงของดาวสามเหลี่ยมฤดูหนาว (คือดาวบีเทลจุส ดาวซิริอุส และดาวโปรซิออน) เราสามารถใช้กลุ่มดาวนายพรานสำหรับการชี้ดาวต่างๆ ได้มากมาย เช่น ลากจากดาวอัลนิลัม ไป ดาวเมสสา จะชี้ตรงทิศเหนือ ใต้กลุ่มดาวนายพรานเป็นกลุ่มดาวกระต่ายป่า ดาวไรเจลอยู่ติดกับกลุ่มดาวแม่น้ำที่มีดาวอะเคอร์นาเป็นดาวเด่น (ไม่ได้อยู่ติดกัน) เข็มขัดนายพรานชี้ไปที่ดาวตาวัว (อัลดิบารัน) และถ้าลากจากไรเจลผ่านบีเทลจุสจะได้ดาวคาสเตอร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ซูสและกลุ่มดาวนายพราน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแพะทะเล

กลุ่มดาวแพะทะเล หรือ กลุ่มดาวมกร (♑) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี กลุ่มดาวนี้อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ กลุ่มดาวแพะทะเลเป็นกลุ่มดาวหนึ่งในรายชื่อ 48 กลุ่มดาวของทอเลมี ล้อมรอบด้วย กลุ่มดาวนกอินทรี กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ กลุ่มดาวปลาใต้ และ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแพะทะเล.

ใหม่!!: ซูสและกลุ่มดาวแพะทะเล · ดูเพิ่มเติม »

มอยเร

ทพีมอยเร (Μοῖραι, Moirae หรือ Moerae หรือ The Fates) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีก บุตรีแห่งเทพซุสและเทพีเทมิส เป็นเทพีสามองค์ที่เป็นบุคลาธิษฐานของพรหมลิขิต ที่เทียบเท่ากับเทพีพาร์เซ (Parcae) ในตำนานเทพเจ้าโรมัน หรือเทพีนอร์นส์ (Norns) ในในตำนานเทพเจ้าเยอรมัน คำว่า “Μoira” ในภาษากรีก แปลตรงตัวว่าส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อขยายส่วนออกไปแล้วก็เป็นชีวิตหรือพรหมลิขิต เทพีมอยเรควบคุมยานด้ายแห่งโชคชะตาของชีวิตของมนุษย์เดินดินทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย โคลโท (Clotho) มีหน้าที่ปั่นเส้นด้ายแห่งชีวิต (กำเนิดชีวิต) แลกคีลิศ (Lachesis) มีหน้าที่เป็นผู้ทอดเส้นด้าย (จากวัยเด็กไปถึงวัยชรา) อโทรพอส (Atropos) มีหน้าที่ตัดเส้นด้าย (หมดเวลาบนโลก).

ใหม่!!: ซูสและมอยเร · ดูเพิ่มเติม »

มอนสเตอร์

มอนสเตอร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซูสและมอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิวส์

"โลงศพมิวส์" แสดงรูปปั้นนูนสูงของมิวส์ทั้งเก้านาง ทำจากหินอ่อนในต้อนศตวรรษที่ 2 โดย Ostienese - ''Louvre'' มิวส์ (Muses) เป็นเทพธิดาผู้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่กวี เป็นผู้ขับร้องบทเพลงแสนไพเราะที่แม้เทพเจ้าก็ต้องเงี่ยโสตสดับฟัง พวกนางเป็นธิดาของซุสกับนิโมซิเน มีอยู่ทั้งหมด 9 นาง คือ.

ใหม่!!: ซูสและมิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

มีทิส

มีทิส (Metis) เป็นนางนิมฟ์ที่ดูแลซูสตั้งแต่ซูสยังเด็ก หลังจากที่พระนางเรีย ชายาของโครนัส (เทพไททัน) ได้ลักลอบนำซูสไปทิ้งไว้บนเกาะแล้วให้เหล่านิมฟ์ต่าง ๆ ช่วยกันดูแล เมื่อซูสโตขึ้น เขาก็ได้ครองรักกับมีทิส และมีทิสนี่เองคือบุคคลที่ปรุงน้ำยาสมุนไพรที่โครนัสดื่มแล้วสำรอกพี่ ๆ ของซูสออกมาจากท้อง แต่เนื่องจากหลังจากที่โครนัสพ่ายแพ้แก่ซูส เขาได้สาปแช่งก่อนจะหนีไปว่า ลูกของซูสที่เกิดจากนางมีทิสจะเป็นผู้สังหารซูส ซูสเกิดความหวาดกลัวจึงจับมีทิสกลืนลงท้อง เมื่อครบ 9 เดือน ซูสก็ปวดเศียรเป็นอย่างมาก ทันใดนั้นเทพีอะธีนาก็กำเนิดขึ้นโดยการแหกเศียรของซูสออกมา (บางตำนานว่าฮิฟีสตัส เทพแห่งการช่าง เป็นผู้ใช้อาวุธจามเศียรซูส อะทีนาจึงได้ออกมา) หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซูสและมีทิส · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาโอลิมปัส

อดเขาโอลิมปัส ยอดเขาโอลิมปัส (Mount Olympus, Όλυμπος โอลิมโปส) เป็นยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศกรีซ มีความสูง 2,917 เมตร อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โฮเมอร์บรรยายในมหากาพย์ โอดีสซี ว่าภูเขานี้ปลอดพายุ และ อากาศสดใส ซึ่งก็เป็นจริงในบางครั้งบริเวณยอดเขา แต่ส่วนล่างลงมาล้อมรอบไปด้วยเม.

ใหม่!!: ซูสและยอดเขาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา

ูโรปาและซูส ผลงานของอันโตนีโอ มาร์ซีอาเล การ์รัชชี (Antonio Marziale Carracci) ยูโรปา (Europa) เป็นชายาอีกองค์หนึ่งของเทพเจ้าซูส ยูโรปาเป็นนิทัศนุทาหรณ์แห่งนิสัยเจ้าชู้ของซูสซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้า อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่แสดงมูลที่มาของชื่อทวีปยุโรปด้วยในตัว ยูโรปาเป็นพระธิดาของท้าวอะจีนอร์ (Agenor) เจ้ากรุงฟินิเชีย ซึ่งเป็นบุตรของเทพโพไซดอนกับนางลิบเบีย นอกจากยูโรปาแล้ว ท้าวอะจีนอร์ยังมีโอรส-ธิดาอีก 3 องค์ เรียงตามลำดับคือ แคดมัส (Cadmus), ฟีนิกซ์ (Phoenix) และซิลิกซ์ (Cilix) วันหนึ่งขณะยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่งแห่งหนึ่ง และกำลังร่าเริงอยู่กับเหล่าบริวารและนางกำนัล พลันนั้น นางก็แลเห็นโคเผือกตัวผู้ตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามเจริญตา กอปรด้วยท่าทางละม่อมดุจชวนให้ลูบไล้ เมื่อโคเดินเข้าไปใกล้ ยูโรปาก็มีใจเบิกบานยินดี จึงเดินเข้าไปลูบโลมแต่โดยเบาและเอาช่อดอกไม้ทุ่งทอดให้ ฝ่ายโคก็น้อมตัวลงเชิญให้นางขึ้นนั่งหลัง พอยูโรปาขึ้นนั่งพลางร้องเรียกให้เหล่าบริวารให้ขึ้นนั่งบ้าง โคนั้นก็วิ่งหนีจนพ้นเขตท้องทุ่ง และมุ่งหน้าพานางออกสู่ชายทะเลโดยด่วน มิทันที่ใครจะทำตามเสียงนางเรียกนั้นได้ เมื่อถึงริมทะเล แทนที่จะหยุดวิ่งหรือนำยูโรปาลงไปจากหลัง โคกลับกระโจนทะยานล่องละลิ่วไปบนพื้นน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยปลาโลมาดำผุดดำว่าย เหล่าอัปสรนีเรียดก็ผุดขึ้นเรียงรายรับแน่นขนัด ท้องทะเลสงบสงัดปราศจากคลื่น ส่วนไทรทัน (Triton) พนักงานแตรก็เป่าสังข์เสียงครื้นครั่นดังสนั่น ตลอดจนเทพโพไซดอนเจ้าสมุทรก็พลันผุดเป็นมัคคุเทศก์เข้าเคียงคลอชะลอเลื่อน ทั้งนี้เพราะโคนั้นหาใช่โคไม่ได้เป็นใครมาจากไหน แต่ที่แท้ก็คือเทพซูส ราชาแห่งเทพเจ้านั่นเองที่จำแลงมาเพื่อให้ยูโรปาหลงรัก ชื่อยูโรปา (Europa) ยังเป็นต้นกำเนิดของชื่อทวีปยุโรป (Europe) ในปัจจุบัน และเรื่องราวของนางยูโรปากับโคจำแลงนั้น ยังเป็นต้นกำเนิดของจักรราศีพฤษภอีกด้ว.

ใหม่!!: ซูสและยูโรปา · ดูเพิ่มเติม »

รุกขเทวดา

รุกขเทวดาตามคติพม่า รุกขเทวดา (รุกฺขเทวตา) คือเทวดาที่สิงสถิตอยู่ตามไม้ต้น คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาถือว่ารุกขเทวดาอยู่จำพวกเดียวกับพระภูมิ และเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา ส่วน นางไม้ เป็นผีผู้หญิงที่สิงสถิตตามต้นไม้ใหญ่ ศาสนาพุทธถือว่านางไม้เป็นคนธรรพ์ที่ถือกำเนิดอยู่ภายในต้นไม้ และต่างจากรุกขเทวดาตรงที่ เมื่อต้นไม้ที่สิงสถิตนั้นล้มลง รุกขเทวดาจะย้ายไปอาศัยต้นไม้อื่นต่อ แต่นางไม้ยังคงสถิตในต้นไม้นั้นเรื่อยไปแม้ไม้นั้นจะถูกแปรรูปแล้วก็ตาม นางไม้ตามความเชื่อของไทย จัดเป็นสตรีสาวสวย ไว้ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉวียงบ่า นุ่งผ้าจีบงดงาม แต่นางไม้ในความเชื่อของชาวตะวันตก หรือที่เรียกว่า "นิมฟ์" มักจะไม่นุ่งห่มเสื้อผ้าอาภรณ์ อาจจะเป็นในแง่ของผีที่ไม่มีความก้าวหน้าด้านการแต่งตัวเคยแต่งกายอย่างไรก็แต่งเช่นนั้น ไม่สวมเสื้อหรือรองเท้า แต่จะสวมหมวกหรือมงกุฎอยู่เสมอไม่ถอดออก.

ใหม่!!: ซูสและรุกขเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

ลีโต

ทพีลีโต Λητώ; Lētṓ เป็นธิดาแห่งเทพไททัน เซอัส (Coeus) และฟีบี (Phoebe) ในเทพปกรณัมกรีก เทพซูสได้นางเป็นชายาอีกองค์ เมื่อเทพีเฮรารู้เข้าจึงกริ้วมาก จึงไล่ลีโตไปจากโอลิมปัส และยังสาปแช่งว่า ใครก็ตามที่ให้ที่พักแก่นาง ขอให้ประสบความอดอยาก จนถึงแก่ความตาย แล้วยังให้งูยักษ์ไพธอน ไล่ทำร้ายนางอีกด้วย แต่เนื่องด้วยว่า เทพีลีโตเป็นเทพี จึงไม่ตาย แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับบาดเจ็บ เทพซุสที่เฝ้ามองอยู่เกิดความสงสารมาก จึงให้เทพโพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล ช่วยเหลือ โพไซดอนพานางไปยังเกาะดีลอส ซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของโพไซดอน นางประทับอยู่ที่เกาะนี้จนให้กำเนิดบุตรฝาแฝด คือ เทพอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ และเทพีฝาแฝดผู้พี่ เทพีอาร์เทมิส เทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาเทพอพอลโล ได้กำจัดงูไพธอนจนถึงแก่ความตาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว.

ใหม่!!: ซูสและลีโต · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: ซูสและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ใหม่!!: ซูสและอะธีนา · ดูเพิ่มเติม »

อัสทราเอีย

ทพีอัสทราเอีย ที่เป็นตัวแทนประจำราศีกันย์ เทพีอัสทราเอีย (Astraea) เป็นเทพีในตำนานเทพปกรณัมกรีกที่ได้รับการบรรยายว่าเป็นเทพีแห่งความยุติธรรม เทพีที่รักความสงบ เป็นบุตรีของซูสและเธมิส ทำให้รู้จักกันในเรื่องของพรหมจรรย์และความไร้เดียงสา จนเชื่อมโยงไปถึงความยุติธรรมและความสงบสุขของมนุษย์ อัสทราเอียเป็นหญิงพรหมจารีที่ลงมาจากสวรรค์ พร้อมน้องสาวชื่อว่า พูดิซิเตรีย ทั้งคู่ไร้เดียงสา ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เธอปรารถนาให้โลกร่มเย็น ไม่เบียดเบียนกันและกัน แต่มนุษย์กลับรบราฆ่าฟันกัน ขโมยข้าวของ กดขี่ข่มเหง น้องสาวของเธอทนไม่ไหว จึงกลับสู่สวรรค์ แต่เธอยังเชื่อว่าความยุติธรรมบนโลกยังไม่สูญหายไป เธอทนไม่ได้จึงหนีเข้าไปอยู่ในป่ากับผู้ติดตามไปจำนวนหนึ่ง จนในที่สุด ต้องหนีกลับสวรรค์ เมื่อเข้าสู่ยุคทองแดง ความยุติธรรมหมดลงบนโลกมนุษย์ เธอจึงบดรวงข้าว แล้วหว่านเมล็ดข้าว ไปรอบฟ้า กลายเป็นทางช้างเผือกที่สวยงาม ร่มเย็น และสันติสุข โดยจะปรากฏให้เห็นเฉพาะ คนที่รักและใฝ่หาสันติภาพ กับความยุติธรรมเท่านั้น และเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติ บางตำนานอียิปส์กล่าวถึงเทพีไอซิส(Isis)ที่เจอปีศาจพายุไต้ฝุ่นตามรำควญ เธอจึงใช้เมล็ดรวงข้าว โปยใส่ปีศาจ จึงกลายเป็นกลุ่มดาวหญิงสาว และเป็นตำนานที่เล่าขานกันมาในเรื่องราศีกันย์ในเวลาอันช้านาน.

ใหม่!!: ซูสและอัสทราเอีย · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: ซูสและอาร์ทิมิส · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: ซูสและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

อีออส

ทพธิดาอีออส เป็นชื่อในตำนานเทพปกรณัมโรมัน ผู้เป็นซึ่งเทพีแห่งรุ่งอรุณอันเก่าแก่ของตำนานปกรณัมกรีก หรือเรียกว่า “ออโรร่า” คำว่าออโรร่าในภาษาละตินมีความหมายว่า รุ่งอรุณ ซึ่งเทพธิดาอีออส หรือ เทพีออโรร่าจะมาปรากฏตัวใหม่ทุกๆวันในยามเช้า มักเป็นช่วงเวลารุ่งสาง โบยบินข้ามท้องฟ้าเพื่อเป็นการประกาศการมาของยามเช้า เธอเป็นเทพีที่ใกล้ชิดกับเทพอพอลโลมากที่สุด หน้าที่ที่เธอทำเป็นประจำนั่นคือ เปิดประตูให้ราชรถทองคำของอพอลโลในยามเช้าและไขแสงเงินแสงทองเพื่อเป็นสัญญาณเบิกทาง ตามตำนานว่ากันว่าแสงสีชมพูที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้าเมื่อฟ้าเริ่มสางนั้นคือนิ้วของอีออส และแสงสีทองในยามเช้าคือเส้นผมของอีออสนั่นเอง ครอบครัวของเทพีอีออส เทพีอีออสนั้นเป็นลูกของเธอิอาและไฮเปอร์ริออน ซึ่งเป็นไททันเทพเจ้ารุ่นดึกดำบรรพ์ เทพีอีออสมีพี่น้องอยู่สองคน คนแรกชื่อเฮลิออส เป็นเทพแห่งสุริยันหรือดวงอาทิตย์และคนที่สองชื่อเซเลเน่เป็นเทพธิดาจันทรา ทั้งสามพี่น้องจะมีเทียมรถม้าเป็นยานพาหนะในการเดินทาไปยังที่ต่างๆ  และเทพีอีออสก็ยังมีพระสวามีอยู่หลายองค์เช่นกันไม่ว่าจะเป็นไทโธนอสเจ้าชายแห่งกรุงทอย โอรสของท้าวเลือมมิดอนแห่งกรุงทอย และเซฟฟลัสโอรสของเจ้าผู้ครองแคว้นเธสสะลี  ลูกของเทพีอีออส 4 องค์ จะไปประจำอยู่ ณ ทิศสี่ทิศ ได้แก่ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก.

ใหม่!!: ซูสและอีออส · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: ซูสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

ฮิฟีสตัส

ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.

ใหม่!!: ซูสและฮิฟีสตัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีบี (เทพปกรณัม)

ทพีฮีบี ฮีบี (Hebe; Ήβη) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีกที่เทียบเท่ากับจูเวนทัสในตำนานเทพเจ้าโรมัน เทพีฮีบีเป็นเทพีแห่งความเยาว์วัยผู้เป็นบุตรีของเทพซูสและเทพีฮีรา ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ถวายพระสุทธารส (cupbearer) สำหรับเทพและเทพีแห่งยอดเขาโอลิมปัส คู่กับแกนีมีด จนกระทั่งแต่งงานกับเฮราคลี.

ใหม่!!: ซูสและฮีบี (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: ซูสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: ซูสและจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน.

ใหม่!!: ซูสและจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ทาไลอา

็อง-มาร์ก นาตีเย ทาไลอา (Thalia; Θάλεια) เป็นเทพีองค์หนึ่งในสามองค์ในกลุ่มเทพีชาริทีสในตำนานเทพเจ้ากรีกที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Three Graces" (ไตรเทพี) เทพีทาไลอาเป็นธิดาของซูสและยูรีโนมี (Eurynome) และเป็นเทพีแห่งแรงบันดาลใจของเรื่องชวนหัวและกวีนิพนธ์เชิงอุดมคตินิยม "Θάλεια" แผลงมาจากภาษากรีก "θάλλειν" ที่แปลว่าบาน เทพีทาไลอาปรากฏเป็นหนึ่งในสามเทพีในรายละเอียดของภาพ "ฤดูใบไม้ผลิ" โดยซันโดร บอตตีเชลลี.

ใหม่!!: ซูสและทาไลอา · ดูเพิ่มเติม »

ทีมิส

ทีมิส ทีมิส (Themis) เป็นเทพีในกลุ่มไททันตามเทพปกรณัมกรีกซึ่งได้รับการพรรณนาว่าสามารถ "ให้คำปรึกษาที่ดี" และเป็นบุคคลาธิษฐานของความสงบเรียบร้อย กฎหมาย และจารีตประเพณี คำว่า "Themis" แปลว่า "กฎสวรรค์" (divine law) ตรงกันข้ามกับกฎที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีความหมายตามตัวว่า "อันซึ่งประดิษฐานไว้" (that which is put in place) มาจากคำกิริยา "τίθημι" แปลว่า "วาง" หรือ "ตั้ง" (to put) ตามความเชื่อของกรีก ทีมิสเป็นผู้จัดระบบ "กิจการสังคมของมนุษย์โดยเฉพาะการมาชุมนุมกัน" ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาคลาสสิกโมเสส ไอ. ฟินลีย์ (Moses I. Finley) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า "Themis" ซึ่งเป็นคำที่ใช้โดยโฮเมอร์ในศตวรรษที่ 8 ว่าเป็นคำที่ทำให้เกิดความมีระเบียบของสังคมในยุคมืดกรีก (Greek Dark Ages) ในศตวรรษที่ 10 และ 9 ก่อนคริสต์ศักราช: "ทีมิส" เป็นคำที่แปลไม่ได้ คือสิ่งที่ได้รับการประทานจากพระเจ้าและเป็นสัญลักษณ์ของความมีวัฒนธรรม บางครั้งหมายถึงวัฒนธรรมอันถูกต้อง, กระบวนการอันเหมาะสม, ความมีระบบของสังคม และบางครั้งก็เพียงพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น (เช่นที่เห็นได้จากนิมิตร้าย (omen) เป็นต้น) ที่แทบจะไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ฟินลีย์กล่าวต่อไปว่า "ทีมิส" ปรากฏในประเพณี ธรรมเนียมพื้นบ้าน หรือ "mores" ที่ไม่ว่าจะใช้คำใดก็ตามต่างก็หมายถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสิ่งที่กระทำหรือไม่กระทำ โลกของโอดีสซุซเป็นโลกที่มีความเชื่อที่วิวัฒนาการมาแล้วอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งใดที่เหมาะและที่ควร".

ใหม่!!: ซูสและทีมิส · ดูเพิ่มเติม »

ท้องฟ้า

ท้องฟ้าและกลุ่มเมฆ ท้องฟ้าตอนพระอาทิตย์ตก ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลง เครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่น สำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่าง ๆ และดวงจันทร์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ซูสและท้องฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: ซูสและดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดิมีเทอร์

ในศาสนาและตำนานกรีกโบราณ ดิมีเทอร์ (Demeter, /dɨˈmiːtɚ/; Δημήτηρ) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ผู้ดูแลธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ของปฐพี ชื่อลัทธิบูชาของพระนางรวมถึงซิโต (Σιτώ) "สตรีแห่งธัญพืช" ในฐานะผู้ประทานอาหารหรือธัญพืช และเธสมอฟอรอส (θεσμός "thesmos": ระเบียบสวรรค์, กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร; "phoros": ผู้ให้, ผู้ถือ) "ผู้ประทานกฎหมาย" โดยเป็นเครื่องหมายการดำรงอยู่ของสังคมเกษตรกรรมอารยะThemis was an ancient Greek goddess, embodiment of divine order, law.

ใหม่!!: ซูสและดิมีเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาริทีส

ประติมากรรม “ไตรเทพี”ค.ศ. 1825 คาริทีส หรือ ไตรเทพี (Charites) ตามตำนานเทพเจ้ากรีก “Charis” (Χάρις หรือ คาริส) เป็นเทพีองค์หนึ่งในบรรดา “Charites” (Χάρις หรือ “Graces” หรือคาริทีส) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความมีเสน่ห์, ความงาม, ธรรมชาติ, การสร้างสรรค์ และ การเจริญพันธุ์ จำนวนเทพีคาริทีสเดิมมีด้วยกันสามองค์ตั้งแต่องค์ที่มีอาวุโสที่สุดเทพีอกลาเอีย (Aglaea หรือ ความงาม), เทพียูโฟรเซเน (Euphrosyne หรือ ความร่าเริง) และองค์ที่อาวุโสน้อยที่สุดเทพีธาเลีย (Thalia หรือ ความสนุก) ตำนานเทพเจ้าโรมันเรียกกันว่า “กราทิเอ” (Gratiae) หรือเทพีแห่งความสง่างาม (Grace) คาริทีสมักจะถือกันว่าเป็นธิดาของซูสและยูรีโนเม (Eurynome) แต่บางครั้งก็กล่าวว่าเป็นธิดาของไดโอนิซัสและแอฟรอไดที หรือธิดาของเทพเฮลิออสและเทพีเอเกิล โฮเมอร์บรรยายว่าเทพีชาริทีสเป็นผู้ติดตามคนหนึ่งของแอฟรอไดที.

ใหม่!!: ซูสและคาริทีส · ดูเพิ่มเติม »

ซีมีลี

ซูสและซีมีลี โดยกุสตาฟ มอโร ซีมีลี (Semele) ในตำนานเทพเจ้ากรีก ซีมีลีเป็นธิดาของแคดมุสและฮาร์โมเนีย เป็นมนุษย์ที่มีความสง่างามมากจึงเป็นที่ถูกใจของเทพซูส แต่เทพซูสกลัวว่านางเฮรา มเหสีเอกของตนจะจับได้ จึงกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามและได้มีความสัมพันธ์กันและได้นางซีมีลีมาเป็นชายาอีกองค์ ต่อมานางเฮราได้พบเข้า จึงแปลงกายเป็นหญิงชราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของนางซีมีลี และได้สอบถามว่าใครคือพ่อของลูกในท้องของนางซีมีลี นางซีมีลีจึงบอกว่าเป็นเทพซูสแห่งเขาโอลิมปัส นางเฮราจึงคิดกลอุบายให้นางซีมีลีไปสัญญาต่อแม่น้ำสติ๊กซ์ เมื่อเทพซูสได้ทราบเรื่องแล้วจึงไม่อาจจะขัดขืนได้จึงแปลงกายกลับ จึงทำให้รัศมีที่เจิดจ้าทำให้นางซีมีลีถูกแสงรัศมีเผาจนหมด ส่วนเทพซูสนั้นรีบเก็บครรภ์ของนางซีมีลีไว้ที่ต้นขา เนื่องจากกลัวว่านางเฮราจะจับได้ ต่อมาซูสได้ตั้งชื่อบุตรว่าไดโอไนซูส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นหรือไวน์ หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซูสและซีมีลี · ดูเพิ่มเติม »

นิมฟ์

''เฮรัสและนิมฟ์'' โดย จอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์, ค.ศ. 1896 ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก นิมฟ์ (nymph) คือสตรีที่เป็นร่างตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นร่างที่ยึดติดกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือเป็นผู้ติดตามของเหล่าทวยเทพ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่าซาไทร์ (satyr) ตัณหาจัด วอลเตอร์ เบอร์เคิร์ต (Walter Burkert) กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าแม่น้ำคือเทพเจ้า และน้ำพุคือนิมฟ์นั้น ไม่ได้เป็นแค่ความนึกคิดของนักกวี หากแต่ยังเป็นถึงความเชื่อและพิธีกรรมอีกด้วย การบูชาเทพเจ้าเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่เพียงสถานที่หนึ่งที่ใดที่พวกเขาไม่สามารถแยกออกจากสถานที่แห่งนั้นได้" นิมฟ์นับเป็นบุคคลาธิษฐานของการสรรสร้างของธรรมชาติ ซึ่งบ่อยครั้งมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ.

ใหม่!!: ซูสและนิมฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

แพน

แพน อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ซูสและแพน · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิไทรที

แอมฟิไทรที (Amphitrite; Ἀμφιτρίτη) เป็นนีริอิด นางเป็นบุตรสาวของนิริอัสและดอริส เป็นเทพีแห่งท้องทะเล ชายาของโพไซดอน เนื่องจากโพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้ท้องสมุทร มีบุตรด้วยกัน 1 พระองค์ คือ ไทรทัน ซึ่งเป็นผู้แจ้งข่าวแห่งท้องทะเล หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซูสและแอมฟิไทรที · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: ซูสและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ซูสและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: ซูสและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โอ๊ก

อ๊ก (oak) หรือ ก่อ เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มในสกุล Quercus (ภาษาละติน "oak tree") มี 600 สปีชีส์ โอ๊กอาจจะหมายถึงพืชบางชนิดในสกุล Lithocarpusด้วย พืชสกุลนี้เป็นพืชพื้นเมืองในซีกโลกเหนือ แพร่กระจายตั้งแต่เขตที่อากาศหนาวเย็นไปจนถึงเขตร้อนในเอเชียและอเมริก.

ใหม่!!: ซูสและโอ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: ซูสและโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

ไกอา

กอา พระแม่ธรณีในเทพปกรณัมของกรีก ไกอา หรือ เกอา (Gaia; จากภาษากรีกโบราณ: Γαîα; ภาษากรีกปัจจุบัน: Γῆ; หมายความว่า พื้นดิน หรือพื้นโลก) หรือ จีอา (Gaea) เป็นเทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra).

ใหม่!!: ซูสและไกอา · ดูเพิ่มเติม »

ไมอา

มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).

ใหม่!!: ซูสและไมอา · ดูเพิ่มเติม »

ไมนอส

มนอส (Minos, Μίνως) เป็นพระมหากษัตริย์เกาะครีตพระองค์แรก พระโอรสแห่งซูสและยูโรปา ทุกเก้าปี พระองค์ทรงให้พระเจ้าเอจยูส (Aegeus) ทรงเลือกเด็กหนุ่มและเด็กสาวอย่างละเจ็ดคนส่งไปยังวงกตสิ่งประดิษฐ์ของเดดาลัส ให้ถูกมิโนทอร์กิน นักโบราณคดี อาเธอร์ เอฟแวนส์ (Arthur Evans) ตั้งชื่ออารยธรรมไมนวนครีตตามพระนามพระองค์ พระองค์มีมเหสีพระนามว่า พาซีฟาอี (Pasiphaë) (บ้างก็ว่าพระนาม ครีต).

ใหม่!!: ซูสและไมนอส · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: ซูสและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอ

อโอ (Io, Ἰώ) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ซูสและไอโอ · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน

ททัน (Titan) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซูสและไททัน · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ใหม่!!: ซูสและไดอะไนซัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอนี

อนี (Διώνη) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 เป็นชื่อจากไททัน ไดโอนีของเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซูสและไดโอนี · ดูเพิ่มเติม »

ไซคลอปส์

ไซคลอปส์ ไซคลอปส์ (กรีก: Κύκλωψ; ละติน: Cyclops หรือ Kyklops) หรือ อสูรตาเดียว เป็นสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก ชื่อไซคลอปส์ถูกใช้ระบุถึงยักษ์ตาเดียวสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นลูกของเจ้านภา อูรานอสและพระแม่ธรณี ไกอา ซึ่งไซครอปส์จำพวกนี้มีเด่นๆ 3 ตน คือ อาจีรอส บรอนทีส และสเตอร์โรพีท มักจะถือค้อนอันใหญ่ มีพลังแห่งสายฟ้า และมีฝีมือในด้านช่างเหล็ก ไซคลอปส์กลุ่มนี้ถูกยูเรนัสกักขังไว้ในทาทารัส จนกระทั่งซุสปลดปล่อยออกมาหลังจากที่โค่นโครนัสผู้เป็นบิดา ซึ่งไซคลอปส์ได้ตอบแทนโดยตีอาวุธต่างๆให้เหล่าเทพ ได้แก่ สายฟ้าให้แก่ ซุส สามง่าม ให้แก่ โพไซดอน หมวกล่องหน ให้แก่ ฮาเดส และเหล่าไซคลอปส์ได้เป็นลูกมือของเทพแห่งช่างเหล็กเฮฟเฟสตุสในเวลาต่อมา จนกระทั่งถูกอพอลโลสังหารเพื่อล้างแค้นให้แอสคิวลาปิอัสที่ถูกซุสใช้สายฟ้าฟาด ไซคลอปส์กลุ่มที่สองเป็นลูกหลานของโพไซดอนและพรายน้ำโทซา ไซคลอปส์กลุ่มนี้กินมนุษย์เป็นอาหาร โดยมีบทบาทในเรื่องโอดิสซีย์ ไซคลอปส์มีความนิยมมากเหมือนกัน เช่นไซคลอปส์ในการ์ตูน ไซคลอปส์ในเกม หรือในนวนิยาย หมวดหมู่:สัตว์ประหลาด.

ใหม่!!: ซูสและไซคลอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัส

อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.

ใหม่!!: ซูสและเพอร์ซิอัส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์เซฟะนี

ในเทพปกรณัมกรีก เพอร์เซฟะนี (Persephone /pərˈsɛfəniː/; Περσεφόνη) หรือเรียก คอรี (Kore /ˈkɔəriː/; "หญิงโสด") เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์ และราชินีแห่งโลกบาดาล โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกบาดาลผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิดผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์ เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัวMartin Nilsson (1967).

ใหม่!!: ซูสและเพอร์เซฟะนี · ดูเพิ่มเติม »

เรีย

รีย เรีย หรือ เรอา (Rhea) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า "เทพมารดา" รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 อง.

ใหม่!!: ซูสและเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: ซูสและเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: ซูสและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮสเตีย

ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: ซูสและเฮสเตีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ใหม่!!: ซูสและเฮอร์มีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: ซูสและเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งทรอย

เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซูสและเฮเลนแห่งทรอย · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ซูสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทวสภาโอลิมปัส

ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.

ใหม่!!: ซูสและเทวสภาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

เซเทอร์

เซเทอร์กำลังใช้องคชาตยกจอกไวน์ เซเทอร์ (satyr) ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นมนุษย์ในวัยหนุ่ม มักมีหูเป็นหูม้า มีเขาเล็กเหมือนแพะ มีขาเป็นแพะ มักท่องเที่ยวในป่าและภูเขา บางตำราบอกว่าเป็นเทพารักษ์ อีกทั้งยังเป็นผู้ติดตามของเทพแพน (Pan) และเทพไดโอไนซัสอีกด้วย ในเทพปกรณัม เซเทอร์ เกี่ยวข้องกับพลังทางเพศของเพศชายและผลงานศิลปกรรมกรีก-โรมันมักสร้างภาพของเซเทอร์ให้มีอวัยวะเพศที่ตั้งชูชัน หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมกรีก หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: ซูสและเซเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนเมซิส

นเมซิส ฝีมือTattarescu Gheorghe เนเมซิส (Nemesis) เป็นเทพีแห่งการล้างแค้น ความผิด และกรรมชั่ว ความผิดทั้งหลายสมควรต้องได้รับโทษตอบแทน จึงจะชอบด้วยความยุติธรรม ชาวกรีกและโรมันคิดเช่นนี้ และเห็นว่าความพยาบาทหรือการล้างแค้นอันชอบธรรมก็เป็นกิจที่เทพเจ้าพึงบำเพ็ญต่อมนุษย์เช่นกัน เขาจึงแต่งตั้งเทพีแห่งความพยาบาทหรือการสนองกรรมขึ้นโดยมีนามว่า "เนเมซิส" เนเมซิสเป็นเทพีสาวที่ออกมาลงโทษคนที่ทำผิดศีลธรรมทำกรรมชั่ว คนที่หยิ่งผยอง หรือคนที่ปฏิเสธพรของเทพเจ้า หรือไม่ก็คนที่เห็นแก่ตัวไม่ยอมเอื้อเฟื้อแก่คนอื่น แต่จะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่คนดีและผู้ทรงคุณธรรมทั่วไป และคนที่ต้องการล้างแค้นจึงจะมาให้เทพีเทเมซิสช่วยล้างแค้นให้ด้วย เนเมซิสเป็นลูกสาวของ นิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งรัตติกาล หรือราตรีเขาว่ากันว่าบิดาของเธอคือ โอเชียนัส (Oceanus) เนเมซิสนั้นได้ชื่อว่าสวยพอ ๆ กับ อโฟรไดท์ (Aphrodite) เทพีแห่งความงามและความรัก ความสวยของเธอไปเข้าตาของจอมเทพซุส (Zeus) เข้า แต่เนเมซิสไม่อยากจะไปยุ่งเกี่ยวกับซุส เธอก็เลยแปลงร่างหนีทุกครั้งที่เธอเห็น ซุสเข้ามาใกล้ บางตำราก็บอกว่าสุดท้ายเธอแปลงร่างเป็นห่าน แต่ซุส รู้ทันแปลงร่างเป็นหงส์และจับคู่กับเธอ เนเมซิสวางไข่ไว้ในกอหญ้า 1 ฟอง คนเลี้ยงแกะมาพบไข่ฟองนี้เข้าจึงนำไปถวายพระนางลีดา (Leda) พระองค์เก็บไข่ฟองนั้นเอาไว้ในกล่อง และเมื่อเด็กน้อยฟักออกมาจากไข่ นางลีดาก็ให้ชื่อว่า"เฮเลน"และเลี้ยงดูเด็กคนนั้นเหมือนเป็นบุตรีของตนเอง หนูน้อยเฮเลนคนนี้เมื่อโตขึ้นมาก็คือแม่สาวที่ทำให้เกิดสงครามกรุงทรอย (Trojan War) ขึ้น บางตำรากล่าวว่า ซุสหลงรักเนเมซิส แต่เมื่อเนเมซิสไม่ยอม พระองค์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากอโฟรไดท์ ให้อโฟรไดท์แปลงร่างเป็นนกอินทรีเข้าโจมตีตัวเองที่แปลงร่างเป็นหงส์ หงส์ปลอมก็ทำเป็นบินร่อแร่มาหา เนเมซิสใจดีอุ้มหงส์เจ้าเล่ห์เอาไว้ พอเนเมซิสหลับ ซุสในร่างหงส์ก็มีความสัมพันธ์กับเธอ พอเนเมซิสคลอดก็คลอดลูกออกมาเป็นไข่ เทพเฮอร์มีส (Hermes) ก็รีบมาเอาไข่นั้นไปที่เมืองสปาร์ตา (Sparta) แล้วโยนไข่ฟองนั้นไปที่ตักของพระนางลีดา แล้วเฮเลน ก็กระโดดออกมาจากไข่ใบนั้นนั่นเอง (แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่าเฮเลนเป็นพระธิดาของพระนางลีดาเอง) แต่บางตำรากล่าวถึงเนเมซิสแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง คือบอกว่า รูปลักษณะของเทพีองค์นี้เป็นหญิงที่มีหน้าตาแสดงความเหี้ยมเกรียม ถืองาและล้อเกวียณ บางทีก็มีปีกด้วย แสดงว่าองค์เทพีเนเมซิสจะตามตอบแทนผู้ทำความผิดไปทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างไม่ลดละ ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือบก ดังที่งาและล้อเกวียณเป็นเครื่องหมายแสดงอยู่ ที่กรุงโรมมีรูปอนุสาวรีย์ของเทพีเนเมซิสประดิษฐานอยู่ในรัฐสภาทีเดียว เมื่อจะประกาศเมื่อจะประกาศศึกต่อศัตรู จะมีพิธีบวงสรวงพระนางก่อน เพื่อให้เป็นที่ปรากฏว่า พวกเขาทำศึกโดยเหตุผลอันชอบธรรมที่สุดเสมอ.

ใหม่!!: ซูสและเนเมซิส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Zeusซีอุสซุสเทพซุสเทพซูสเซอุส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »