ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู
สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ริชาร์ด สตอลล์แมนลินุกซ์สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูซอฟต์แวร์เสรี
ริชาร์ด สตอลล์แมน
ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.
ริชาร์ด สตอลล์แมนและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ริชาร์ด สตอลล์แมนและอูบุนตู ·
ลินุกซ์
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.
ลินุกซ์และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ลินุกซ์และอูบุนตู ·
สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู
รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (ย่อว่า GFDL) เป็นลักษณะสัญญาอนุญาตชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) สำหรับโครงการกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในปัจจุบันเป็นรุ่น 1.3 และเป็นสัญญาอนุญาตควบคู่กับสัญญาอนุญาต GPL เนื้อหาสัญญาทั้งหมดสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกนู สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู มีลักษณะเปิดกว้าง หรือเรียกว่า copyleft โดยให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดไปใช้ได้ฟรีโดยมีเงื่อนไขว่า ผลงานที่สร้างใหม่ต้องใช้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เช่นกัน ผลงานที่สร้างใหม่นั้นสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ถ้ามีการขายเป็นจำนวนมากจะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมเข้ามา สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ครอบคลุมสำหรับ คู่มือคอมพิวเตอร์ ตำรา และแหล่งอ้างอิงอื่นทั้งในการเรียนการสอนและการทำงาน วิกิพีเดีย และโครงการอื่นของมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของสื่ออื่นที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู.
สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู · สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูและอูบุนตู ·
ซอฟต์แวร์เสรี
ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.
ซอฟต์แวร์เสรีและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ซอฟต์แวร์เสรีและอูบุนตู ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู
การเปรียบเทียบระหว่าง สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู
สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ อูบุนตู มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 10.26% = 4 / (21 + 18)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและอูบุนตู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: