โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาชีวเวชศาสตร์

ดัชนี อาชีวเวชศาสตร์

อาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก และวิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกันด้วย แพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเรียกว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร.

14 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าอาชีวอนามัยจิตวิทยาจิตเวชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนิติวิทยาศาสตร์นิติเวชศาสตร์โรคเหตุอาชีพโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเวชศาสตร์ป้องกัน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ.) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย ตาม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี..

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข.) เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และมหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

อาชีวอนามัย

การประเมินและการจัดการความเสี่ยงการสัมผัสซึ่งเกี่ยวข้องกับการคาดคะเน การรับรู้ การประเมิน การควบคุมและยืนยัน อาชีวอนามัย (occupational hygiene หรือ industrial hygiene) เป็นการคาดคะเน การรับรู้ การประเมิน การควบคุมและป้องกันภัยจากงานซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรือมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ดีของคนงาน ภัยหรือสิ่งเร้าความเครียดเหล่านี้มักแบ่งเป็นทางชีววิทยา เคมี กายภาพ การยศาสตร์และจิตสังคม ความเสี่ยงของผลต่อสุขภาพจากสิ่งเร้าความเครียดหนึ่ง ๆ เป็นฟังก์ชันของภัยคูณด้วยการสัมผัสของปัจเจกหรือกลุ่ม สำหรับสารเคมี สามารถเข้าใจภัยได้เป็นโพร์ไฟล์การตอบสนองขนาด (dose response profile) ซึ่งมักยึดตามการศึกษาหรือแบบจำลองทางพิษวิทยา นักอาชีวอนามัยทำงานใกล้ชิดกับนักพิษวิทยาในการทำความเข้าใจภัยทางเคมี นักฟิสิกส์สำหรับภัยทางกายภาพ และแพทย์และนักจุลชีววิทยาสำหรับภัยทางชีวภาพ นักอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์การสัมผัส (exposure science) และการจัดการความเสี่ยงสัมผัส นักอนามัยจะใช้ความเชี่ยวชาญด้านศาสตร์การสัมผัสเพื่อป้องกันคนงาน ผู้บริโภค และชุมชน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของงาน.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

นิติวิทยาศาสตร์

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และนิติวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคเหตุอาชีพ

รคเหตุอาชีพ, โรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน, โรคภัยเนื่องจากอาชีพ, หรือ โรคจากการทำงาน (occupational disease) ได้แก่โรคใดๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรัง) อันมีสาเหตุเนื่องจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ ทั้งนี้ สิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน (occupational hazard) ที่มีลักษณะทำให้เกิดการบาดเจ็บ (trauma) เช่น การตกจากที่สูงของคนงาน จัดเป็นการบาดเจ็บจากการทำงาน (occupational injury)ไม่จัดเป็นโรคเหตุอาชีพ โรคเหตุอาชีพอันเป็นที่รู้จักมาก เป็นต้นว.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และโรคเหตุอาชีพ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

รงพยาบาลมหาราชนครนครราชสีมา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,680 เตียง.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

รงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดในสังกัดสภากาชาดไทย ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

รงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นโรงพยาบาลของรัฐ  ตั้งอยู่เลขที่ 679 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร แต่เดิมชื่อ โรงพยาบาลชานพระนคร ต่อมาได้พระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามว่า โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ป้องกัน

วชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) หรือมาตรการป้องกันโรค (prophylaxis) ประกอบด้วยมาตรการทีี่ใช้สำหรับป้องกันโรค ซึ่งตรงข้ามกับการรักษาโรคHugh R. Leavell and E. Gurney Clark as "the science and art of preventing disease, prolonging life, and promoting physical and mental health and efficiency.

ใหม่!!: อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ป้องกัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »