โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวชศาสตร์ป้องกัน

ดัชนี เวชศาสตร์ป้องกัน

วชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) หรือมาตรการป้องกันโรค (prophylaxis) ประกอบด้วยมาตรการทีี่ใช้สำหรับป้องกันโรค ซึ่งตรงข้ามกับการรักษาโรคHugh R. Leavell and E. Gurney Clark as "the science and art of preventing disease, prolonging life, and promoting physical and mental health and efficiency.

16 ความสัมพันธ์: กระดูกเนื้อโปร่งการทดสอบแพปการตรวจทั่วไปภาวะน้ำตาลสูงในเลือดมะเร็งมะเร็งรังไข่มะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมองค์การอนามัยโลกความพิการความดันโลหิตสูงซิฟิลิสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคซึมเศร้าเบาหวานเอชไอวี

กระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและกระดูกเนื้อโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

การทดสอบแพป

กกล้องจุลทรรศน์ในการทดสอบแพป ย้อมสีด้วยสีย้อมแพป แสดงให้เห็นรอยโรคระดับสูงในเซลล์บุผิวแบบสเควมัส (high-grade squamous intraepithelial lesion, HSIL) จะพบว่ามีเซลล์นอกแบบ (atypical) ในมุมล่างซ้ายของภาพ) การทดสอบแพป.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและการทดสอบแพป · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจทั่วไป

การตรวจทั่วไป (general medical examination) เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแบบทั่วไปซึ่งเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่ไม่รู้สึกป่วยมาพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นประจำ โดยทั่วไปมักปีละครั้งหรือถี่น้อยกว่า การตรวจนี้มีอีกหลายชื่อ เช่น การประเมินสุขภาพเป็นคาบ (periodic health evaluation) การตรวจร่างกายประจำปี (annual physical) การตรวจครอบคลุม (comprehensive medical exam) การตรวจสุขภาพทั่วไป (general health check) หรือการตรวจสุขภาพป้องกัน (preventive health examination) หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้ในประชากรทั่วไป คำนี้ปกติไม่รวมการพบเพื่อวัตถุประสงค์การตรวจทารกแรกเกิด การทดสอบแพปเพื่อคัดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการพบเป็นประจำของผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง (เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง) การตรวจทั่วไปปกติมักมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย (อย่างย่อหรือสมบูรณ์) และบางครั้งมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบขั้นสูงบางอย่างเช่น คลื่นเสียงความถี่สูงและการถ่ายภาพรังสีเต้านม.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและการตรวจทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด

วะน้ำตาลสูงในเลือด หรือภาวะกลูโคสสูงในเลือด (hyperglycemia หรือ hyperglycaemia) หมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 11.1 มิลลิโมลต่อลิตร (200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) แต่มักไม่ปรากฏอาการจนค่าสูงกว่า 15–20 มิลลิโมลต่อลิตร (~250–300 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ผู้รับการทดลองที่มีพิสัยต้องกันระหว่าง ~5.6 ถึง ~7 มิลลิโมลต่อเดซิลิตร (100–126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ตามแนวทางของสมาคมเบาหวานอเมริกา ถือว่ามีภาวะน้ำตาลสูงในเลือดเล็กน้อย ส่วนหากมีค่าสูงกว่า 7 มิลลิโมลต่อเดซิลิตร (126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) โดยทั่วไปถือว่าเป็นเบาหวาน สำหรับเบาหวาน ระดับน้ำตาลที่ถือว่ามีภาวะน้ำตาลสูงเกินไปในเลือดแตกต่างกันได้ตามบุคคล ส่วนใหญ่เนื่องจากขีดแบ่งกลูโคสของไต และความทนทานต่อกลูโคสโดยรวม แต่โดยเฉลี่ย ระดับเรื้อรังสูงกว่า 10–12 มิลลิโมลต่อลิตร (180–216 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) จะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะที่สังเกตได้ตามเวลา หมวดหมู่:ความผิดปกติของตับอ่อนไร้ท่อ หมวดหมู่:ภาวะตรวจพบของเลือดทางคลินิกและห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ หมวดหมู่:ความผิดปกติที่ทำให้เกิดการชัก.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและภาวะน้ำตาลสูงในเลือด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่ แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและมะเร็งรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดที่ปากมดลูก เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติและมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือส่วนอื่นของร่างกาย ในระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแล้วอาการที่พบบ่อยคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็อาจไม่มีอาการใดๆ จนลุกลามไปมากแล้วก็ได้ การรักษาส่วนใหญ่อาศัยการผ่าตัดในระยะแรกๆ และการใช้เคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาในระยะที่เป็นมาก การตรวจคัดกรองโดยการใช้การทดสอบแปปสามารถตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์และเนื้อเยื่อปากมดลูกได้.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและมะเร็งปากมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่างขึ้นกับระยะที่เป็น (ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะที่สาม) ระยะแรกผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง ซึ่งจะไม่เจ็บ แต่อาจมีแผลเจ็บขึ้นต่างหากได้ ระยะที่สองมักมีผื่นขึ้นทั่วตัว มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก"สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 10 / เรื่องที่ 2 โรคติดต่อและโรคเขตร้อน / โรคติดต่อทางเพศสัมพัน.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและซิฟิลิส · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease; STD) หรือ กามโรค (Venereal disease; เรียกย่อว่า วีดี) เป็นความเจ็บป่วยซึ่งมีแนวโน้มติดต่อหรือส่งผ่านระหว่างมนุษย์หรือสัตว์โดยการสัมผัสทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเดิมมากขึ้น เพราะผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อและมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการแสดงของโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าหลอดเลือดดำต่อจากผู้ป่วย รวมถึงผ่านการคลอดหรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: เวชศาสตร์ป้องกันและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Prophylaxisมาตรการป้องกันโรค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »