โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไตรยางศ์

ดัชนี ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

54 ความสัมพันธ์: พยัญชนะพระโหราธิบดีภาษาสันสกฤตภาษาไทยวรรณยุกต์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชอักษรนำอักษรไทยอาณาจักรอยุธยาจินดามณี... ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

ช (ช้าง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 10 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฉ (ฉิ่ง) และก่อนหน้า ซ (โซ่) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ช ช้าง” อักษร ช เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t͡ɕʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /t͡ʃ/, /ʃ/ หรืออื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และช · ดูเพิ่มเติม »

(ใบไม้) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 26 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก น (หนู) และก่อนหน้า ป (ปลา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “บ ใบไม้” อักษร บ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /b/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ บ เพียงตัวเดียว หรือเติมไม้เอกด้วย สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ, บ่ อ่านว่า บอ, บ่อ แปลว่า "ไม่" เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และบ · ดูเพิ่มเติม »

ฟ (ฟัน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 31 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก พ (พาน) และก่อนหน้า ภ (สำเภา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฟ ฟัน” อักษร ฟ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /f/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /f/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หรือ /v/ ในตำแหน่งพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฎ (ชฎา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 14 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ญ (หญิง) และก่อนหน้า ฏ (ปฏัก) ออกเสียงอย่าง ด (เด็ก) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฎ ชฎา” อักษร ฎ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /d/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฎ อยู่คำเดียวคือ ฎีกา นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต ฎ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ ฏ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฎ · ดูเพิ่มเติม »

พ (พาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 30 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฝ (ฝา) และก่อนหน้า ฟ (ฟัน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “พ พาน” อักษร พ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และพ · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระโหราธิบดี

ระโหราธิบดี เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในแวดวงวรรณกรรมในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ทั้งนี้ "พระโหราธิบดี" มิใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ พระโหราธิบดี เป็นตำแหน่งอธิบดีแห่งโหร หรือโหรหลวงประจำราชสำนัก อีกทั้งยังเป็นผู้ควบคุมหรือเป็นหัวหน้าการประกอบพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์อีกด้วย ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่เป็นผู้รู้หนังสือรวมถึงรอบรู้สรรพวิทยาต่าง ๆ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระโหราธิบดีท่านนี้เป็นชาวเมืองพิจิตร นับถือกันว่าทำนายแม่นยำ เคยทายจำนวนหนูที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองครอบไว้อย่างถูกต้อง และเคยทายว่าไฟจะไหม้ในพระราชวังในสามวันสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเชื่อจึงเสด็จไปอยู่นอกวังและปรากฏเป็นจริงดังทำนายเกิดฟ้าผ่าต้องหลังคาพระมหาปราสาททำให้ไฟไหม้ลามไปเป็นอันมาจริง ๆ พระโหราธิบดีเป็นที่รู้จักกันในฐานะของการเป็นผู้ประพันธ์ จินดามณี ในปี..

ใหม่!!: ไตรยางศ์และพระโหราธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ก (ไก่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 1 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับก่อนหน้า ข (ไข่) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ก ไก่" อักษร ก เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /k/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น สามารถควบกับอักษร ร ล ว ได้ เมื่อเป็นตัวสะกด นับเป็นตัวสะกดแม่กก และนับเป็นตัวแทนของตัวสะกดแม่กกด้วย ในหนังสือโบราณ มีการใช้ "ก หัน" คือ อักษร ก สองตัว แทนไม้หันอากาศและตัว ก สะกด ดังนี้ รกก (รัก), หกก (หัก) อักษร ก นี้ เทียบได้กับอักษรในระบบอักษรอื่นๆ ของอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายระบบ เช่น ระบบอักษรเทวนาครี ระบบอักษรมอญพม่า ระบบอักษรขอม เป็นต้น โดยอักษร ก ถือเป็นพยัญชนะตัวแรกเสมอ ก เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้ไต่คู้ โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ ก็ (อ่านว่า เก้าะ) เป็นคำสันธานแปลว่า แล้ว, จึง, ย่อม.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และก · ดูเพิ่มเติม »

ญ (หญิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 13 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฌ (เฌอ) และก่อนหน้า ฎ (ชฎา) ออกเสียงอย่าง ย (ยักษ์) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น และออกเสียงอย่าง น (หนู) เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ญ หญิง” อักษร ญ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง แต่นิยมตัดเชิงออกเป็น เมื่อเขียนคำที่มีสระอุ หรือสระอู เช่น กตัญญู อักษร ญ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /j/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ (เดิมออกเสียง /ɲ/ ทั้งสองอย่างแต่แปรเปลี่ยนไป) กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /ɲ/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น España เอสปาญ.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และญ · ดูเพิ่มเติม »

ฏ (ปฏัก) เป็นพยัญชนะตัวที่ 15 ในลำดับพยัญชนะไทย จัดเป็นพวกอักษรกลาง เมื่อเป็นพยัญชนะต้น มีลักษณะการออกเสียง เช่นเดียวกับ ต (เต่า) เมื่อเป็นพยัญชนะตัวสะกด จัดอยู่ในแม่กด ใช้เฉพาะในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต อักษร ฏ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบัน ฏ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ) ฏ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ ฎ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฏ · ดูเพิ่มเติม »

(ฐาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 16 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฏ (ปฏัก) และก่อนหน้า ฑ (มนโฑ) ออกเสียงอย่าง ถ (ถุง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ใระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฐ ฐาน” (บางคนก็เรียกว่า ฐ สัณฐาน) อักษร ฐ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง แต่นิยมตัดเชิงออกเป็น เมื่อเขียนคำที่มีสระอุ หรือสระอู อักษร ฐ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฝ (ฝา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 29 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ผ (ผึ้ง) แ ฝก่อนหน้า พ (พาน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฝ ฝา” อักษร ฝ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /f/ และพยัญชนะสะกด ให้เสีบง /p̚/ (ในทางทฤษฎี) พจนานุกรมบางเล่มใช้ ฝ ถอดเสียง v ในคำศัพท์ที่มาจากภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่าง f, w และ v หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฝ · ดูเพิ่มเติม »

ภ (สำเภา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 32 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฟ (ฟัน) และก่อนหน้า ม (ม้า) ออกเสียงอย่าง พ (พาน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ภ สำเภา” อักษร ภ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และภ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ม (ม้า) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 33 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ภ (สำเภา) และก่อนหน้า ย (ยักษ์) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ม ม้า” อักษร ม เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /m/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /m/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และม · ดูเพิ่มเติม »

(ยักษ์) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 34 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ม (ม้า) และก่อนหน้า ร (เรือ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ย ยักษ์” อักษร ย เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /j/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /j/ รูปสระ ตัวยอ (ย) ยังสามารถใช้ประสมรูปสระ เอียะ และ เอี.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และย · ดูเพิ่มเติม »

ร (เรือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 35 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ย (ยักษ์) และก่อนหน้า ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ร เรือ” อักษร ร เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /r/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และร · ดูเพิ่มเติม »

ล (ลิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 36 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ร (เรือ) และก่อนหน้า ว (แหวน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ล ลิง” อักษร ล เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ พยัญชนะตัวสะกด ให้เสียง /n/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /l/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และล · ดูเพิ่มเติม »

ว (แหวน) เป็นพยัญชนะตัวที่ 37 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ล (ลิง) และก่อนหน้า ศ (ศาลา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ว แหวน” อักษร ว เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /w/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /w/ รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็นสระอัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระอัวะ และ อัว.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และว · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศ (ศาลา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 38 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ว (แหวน) และก่อนหน้า ษ (ฤๅษี) ออกเสียงอย่าง ส (เสือ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ศ ศาลา" (บางคนก็เรียกว่า ศ คอ เนื่องจากมีรูปร่างคล้าย ค) อักษร ศ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะส.ะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และศ · ดูเพิ่มเติม »

ษ (ฤๅษี) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 39 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ศ (ศาลา) และก่อนหน้า ส (เสือ) ออกเสียงอย่าง ส (เสือ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ษ ฤๅษี” (บางคนก็เรียกว่า ษ บอ เนื่องจากมีรูปร่างคล้าย บ) อักษร ษ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และษ · ดูเพิ่มเติม »

ส (เสือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 40 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ษ (ฤๅษี) และก่อนหน้า ห (หีบ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ส เสือ" อักษร ส เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /s/ หรือ /z/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. 2174/2175 - 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอ.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ห (หีบ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 41 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ส (เสือ) และก่อนหน้า ฬ (จุฬา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ห หีบ” อักษร ห เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /h/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และห · ดูเพิ่มเติม »

ฬ (จุฬา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ห (หีบ) และก่อนหน้า อ (อ่าง) ออกเสียงอย่าง ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฬ จุฬา" อักษร ฬ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีเท่านั้น (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ เช่น กีฬา นาฬิกา กาฬ วาฬ) คำโบราณที่เคยใช้ ฬ ก็เปลี่ยนไปใช้ ล แทนเช่น.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฬ · ดูเพิ่มเติม »

อ เป็นอักษรไทย จำพวกพยัญชนะ อยู่ในลำดับ ที่ 43 ถัดจาก ฬ และก่อนถึง ฮ มักจะเรียกกันว่า อ อ่าง ในการจัดหมู่อักษร นับเป็นอักษรกลาง ในไตรยางศ์ ผันได้ครบ 5 เสียง และเติม วรรณยุกต์ได้ทั้ง 4 รูป อักษร อ เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /ʔ/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะกด โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และอ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรนำ

อักษรนำ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเรียงกัน และผสมในสระเดียวกัน อักษรนำ คล้ายคลึงกับคำควบกล้ำ แต่คำควบกล้ำแท้จะประสานเสียงที่ออกสนิทกว่าอักษรนำ ในขณะที่คำควบกล้ำไม่แท้จะไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำหรือเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นเล.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และอักษรนำ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

(นกฮูก) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 44 และเป็นอักษรตัวสุดท้ายในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก อ (อ่าง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฮ นกฮูก" อักษร ฮ เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /h/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะก.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฮ · ดูเพิ่มเติม »

(เฌอ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 12 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับหลังจาก ซ โซ่ และก่อนหน้า ญ หญิง ออกเสียงอย่าง ช ช้าง จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฌ เฌอ" บางคนเรียก "ฌ กะเฌอ" ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า "กระเชอ" นั้นสะกดด้วย ช ช้าง หมายถึง ภาชนะสานแบบหนึ่ง ดังที่ใช้ว่า "กระเชอก้นรั่ว" ส่วน "เฌอ" ที่ใช้ ฌ เฌอ แปลว่า ต้นไม้ เป็นคำมาจากภาษาเขมร ฌ เฌอ ใช้เขียนคำไม่กี่คำ โดยเฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ส่วนในภาษาไทยนั้น ก็มีคำที่ใช้ ฌ เฌอ ทั้งที่เป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายไม่มากนัก คำที่ใช้ ฌ เฌอ ในปัจจุบันมีดังนี้เป็นต้น ฌาน, ฌาปน-, เฌอ, เฌอเอม ฯลฯ อักษร ฌ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t͡ɕʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ (ในทางทฤษฎี) กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /ʃ/ หรือ /ʒ/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะก.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฌ · ดูเพิ่มเติม »

ผ (ผึ้ง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 28 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ป (ปลา) และก่อนหน้า ฝ (ฝา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ผ ผึ้ง” อักษร ผ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ (ในทางทฤษฎี).

ใหม่!!: ไตรยางศ์และผ · ดูเพิ่มเติม »

ฃ (ขวด) เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ข (ไข่) และก่อนหน้า ๒ค (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูงในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฃ ขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน-) เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ สามารถใช้เป็นพยัญชนะสะกดในมาตรากกได้ ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ซึ่งเดิมทีนั้น ได้มีการคาดกันว่าเสียงของ ฃ นั้นมีความแตกต่างจากเสียง ข แต่กลับเพี้ยนไป ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่ อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยาดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบเดียวกันกับอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ ทั้งสิ้น จึงให้เหตุผลว่า อักษร ฃ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. 1826 และก็ได้เติมพยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย เพื่อใช้แทนเสียงที่ภาษาในสมัยนั้นมีอยู่ให้ครบถ้วน หรือไม่ก็คาดว่า ฃ ได้รับการดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤตนั่นเอง นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมืองมาลา คำจันทร.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฃ · ดูเพิ่มเติม »

จ (จาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 8 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ง (งู) และก่อนหน้า ฉ (ฉิ่ง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “จ จาน” อักษร จ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t͡ɕ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และจ · ดูเพิ่มเติม »

จินดามณี

นดามณี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และจินดามณี · ดูเพิ่มเติม »

ธ (ธง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 24 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ท (ทหาร) และก่อนหน้า น (หนู) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ธ ธง" อักษร ธ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /θ/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด อักษร ธ ของไทยสามารถเทียบได้กับอักษรอื่นๆ ในระบบอินเดีย ซึ่งนิยมถอดด้วยอักษรโรมันเป็น "dh" ตามเสียงเดิมในหลายภาษาของอินเดีย ซึ่งเป็นเสียงก้อง เสียดแทรก อักษร ธ นั้นส่วนใหญ่พบในคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ธวัช ธนู มัธยม หรือคำทับศัพท์ภาษายุโรปที่ใช้อักษร th ดังนั้นบางคนจึงนิยมใช้ ธ ถอดเสียง th ในคำศัพท์ที่มาจากภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่าง t และ th ธ เพียงตัวเดียว สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ อ่านว่า ทะ แปลว่า "ท่าน" เป็นคำสรรพนาม หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และธ · ดูเพิ่มเติม »

(ถุง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 22 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ต (เต่า) และก่อนหน้า ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ถ ถุง” อักษร ถ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และถ · ดูเพิ่มเติม »

ท (ทหาร) เป็นพยัญชนะตัวที่ 23 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ถ (ถุง) และก่อนหน้า ธ (ธง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ท ทหาร” อักษร ท เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และท · ดูเพิ่มเติม »

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฑ · ดูเพิ่มเติม »

ฒ (ผู้เฒ่า) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 18 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฑ (มณโฑ) และก่อนหน้า ณ (เณร) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฒ ผู้เฒ่า” อักษร ฒ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฒ อยู่คำเดียวคือ เฒ่า นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฒ · ดูเพิ่มเติม »

(ไข่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 2 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ก (ไก่) และก่อนหน้า ฃ (ขวด) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ข ไข่” อักษร ข เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และข · ดูเพิ่มเติม »

ณ (เณร) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 19 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฒ (ผู้เฒ่า) และก่อนหน้า ด (เด็ก) ออกเสียงอย่าง น (หนู) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ณ เณร” อักษร ณ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /n/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ณ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ณ (ที่), ณรงค์ (ตัดมาจาก รณรงค์), เณร, เณรหน้าไฟ, เณรหางนาค นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และณ · ดูเพิ่มเติม »

(เด็ก) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 20 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ณ (เณร) และก่อนหน้า ต (เต่า) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลางในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ด เด็ก” ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด อักษร ด เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /d/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /d/ หรือ /ð/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น the เดอะ,.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และด · ดูเพิ่มเติม »

(ควาย) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 4 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฃ (ขวด) และก่อนหน้า ฅ (คน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ค ควาย” อักษร ค เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และค · ดูเพิ่มเติม »

(ระฆัง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 6 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฅ (คน) และก่อนหน้า ง (งู) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฆ ระฆัง” อักษร ฆ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ ฆ มักไม่ถูกใช้เป็นอักษรสำหรับหัวข้อลำดับ เช่นว่า ก..

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฆ · ดูเพิ่มเติม »

ง (งู) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 7 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฆ (ระฆัง) และก่อนหน้า จ (จาน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ง งู” อักษร ง เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /ŋ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /ŋ/.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และง · ดูเพิ่มเติม »

ต (เต่า) เป็นพยัญชนะตัวที่ 21 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ด (เด็ก) และก่อนหน้า ถ (ถุง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ต เต่า” อักษร ต เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และต · ดูเพิ่มเติม »

ฅ (คน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ค (ควาย) และก่อนหน้า ฆ (ระฆัง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า “ฅ คน” อักษรเป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในบันเทิงคดีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่ อักษร ฅ นี้เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทดั้งเดิม ในชุดอักษรสำหรับภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ มักจะไม่มีตัวอักษร ฅ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฃ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่มีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด).

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฅ · ดูเพิ่มเติม »

ฉ (ฉิ่ง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 9 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก จ (จาน) และก่อนหน้า ช (ช้าง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฉ ฉิ่ง” อักษร ฉ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t͡ɕʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ (ในทางทฤษฎี) ฉ เพียงตัวเดียว สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ อ่านว่า ฉอ, ฉ้อ, ฉะ แปลว่า "หก" เป็นปัจจัยประกอบคำบาลี หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และฉ · ดูเพิ่มเติม »

ซ (โซ่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 11 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ช (ช้าง) และก่อนหน้า ฌ (เฌอ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ซ โซ่” อักษร ซ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /s/ หรือ /z/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และซ · ดูเพิ่มเติม »

ป (ปลา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 27 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก บ (ใบไม้) และก่อนหน้า ผ (ผึ้ง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ป ปลา” อักษร ป เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /p/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และป · ดูเพิ่มเติม »

น (หนู) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 25 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ธ (ธง) และก่อนหน้า บ (ใบไม้) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “น หนู” อักษร น เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /n/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ไตรยางศ์และน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อักษรสามหมู่ไตรยางค์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »