โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ก

ก (ไก่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 1 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับก่อนหน้า ข (ไข่) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ก ไก่" อักษร ก เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /k/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น สามารถควบกับอักษร ร ล ว ได้ เมื่อเป็นตัวสะกด นับเป็นตัวสะกดแม่กก และนับเป็นตัวแทนของตัวสะกดแม่กกด้วย ในหนังสือโบราณ มีการใช้ "ก หัน" คือ อักษร ก สองตัว แทนไม้หันอากาศและตัว ก สะกด ดังนี้ รกก (รัก), หกก (หัก) อักษร ก นี้ เทียบได้กับอักษรในระบบอักษรอื่นๆ ของอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายระบบ เช่น ระบบอักษรเทวนาครี ระบบอักษรมอญพม่า ระบบอักษรขอม เป็นต้น โดยอักษร ก ถือเป็นพยัญชนะตัวแรกเสมอ ก เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้ไต่คู้ โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ ก็ (อ่านว่า เก้าะ) เป็นคำสันธานแปลว่า แล้ว, จึง, ย่อม.

16 ความสัมพันธ์: พยัญชนะสระสัทศาสตร์สัทอักษรสากลอักษรมอญอักษรปัลลวะอักษรไทยอักษรเทวนาครีอักษรเขมรคำสันธานไม้ไต่คู้ไตรยางศ์

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: กและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ร (เรือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 35 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ย (ยักษ์) และก่อนหน้า ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ร เรือ” อักษร ร เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /r/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระ ออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น.

ใหม่!!: กและร · ดูเพิ่มเติม »

ล (ลิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 36 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ร (เรือ) และก่อนหน้า ว (แหวน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ล ลิง” อักษร ล เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ พยัญชนะตัวสะกด ให้เสียง /n/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /l/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: กและล · ดูเพิ่มเติม »

ว (แหวน) เป็นพยัญชนะตัวที่ 37 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ล (ลิง) และก่อนหน้า ศ (ศาลา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ว แหวน” อักษร ว เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /w/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /w/ รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็นสระอัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระอัวะ และ อัว.

ใหม่!!: กและว · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กและสระ · ดูเพิ่มเติม »

สัทศาสตร์

ัทศาสตร์ (phonetics) เป็นสาขาย่อยของภาษาศาสตร์ที่ประกอบด้วยการศึกษาเสียงพูดของมนุษย์ สัทศาสตร์สนใจคุณสมบัติทางกายภาพของเสียงพูด และกระบวนการผลิตเสียงทางกายภาพ การรับรู้ในแง่ของการได้ยิน และการรับรู้ทางกายภาพ การศึกษาสัทศาสตร์เริ่มเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วในอินเดียโบราณ โดยปาณินิได้อธิบายถึงฐานและกรณ์ในการออกเสียง พยัญชนะในตำราภาษาสันสกฤตของเขา อักษรอินเดียที่ใช้ในปัจจุบันเรียงลำดับตัวอักษรตามการแยกประเภทของปาณิน.

ใหม่!!: กและสัทศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: กและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมอญ

อักษรมอญ เป็นตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ และอักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในอักษรธรรมล้านนาและอักษรธรรมลาว อักษรมอญ เป็นอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรพม่ามาก และสามารถนำไปใช้แทนอักษรพม่าได้ทุกตัว แต่อักษรพม่าไม่สามารถใช้แทนอักษรมอญได้ทุกตัว เพราะอักษรมอญมีตัวอักษรที่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าปกต.

ใหม่!!: กและอักษรมอญ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรปัลลวะ

รึกอักษรปัลลวะที่พบในศรีลังกา อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ มีอายุอยู่ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 14 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายเป็นอักษรทมิฬและอักษรมาลายาลัมในปัจจุบัน อักษรดังกล่าวเคยใช้เขียนภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม โดยเข้าไปแทนที่อักษรแบบเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดจากอักษรพราหมีและยังใช้เขียนภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ ด้วย อักษรปัลลวะเป็นอักษรชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นอักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งอักษรทั้งสามประเภทก็เป็นอักษรต้นแบบให้กับอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: กและอักษรปัลลวะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: กและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: กและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเขมร

ตัวอย่างอักษรเขมรสองแบบ อักษรเขมร (អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว..

ใหม่!!: กและอักษรเขมร · ดูเพิ่มเติม »

(ไข่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 2 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ก (ไก่) และก่อนหน้า ฃ (ขวด) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ข ไข่” อักษร ข เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.

ใหม่!!: กและข · ดูเพิ่มเติม »

คำสันธาน

ในไวยากรณ์ คำสันธาน คือชนิดของคำที่เชื่อมคำ ประโยค วลี หรือประโยคย่อยเข้าด้วยกัน คำสันธานที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเรียกว่า คำเชื่อมสัมพันธสาร (discourse connective) บทนิยามนี้อาจทับซ้อนกับชนิดของคำชนิดอื่น ดังนั้น สิ่งที่ประกอบเป็น "คำสันธาน" จะต้องถูกนิยามขึ้นสำหรับแต่ละภาษา โดยทั่วไป คำสันธานเป็นคำอนุภาคที่ไม่ผันรูป และมันอาจจะวางอยู่ระหว่างประโยคสองประโยคที่เชื่อมกันหรือไม่ก็ได้ บทนิยามของคำสันธานอาจขยายรวมไปถึงวลีสำนวนที่มีลักษณะเป็นหน่วยหนึ่งหน่วยซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน เช่น "as well as" (เช่นเดียวกับ), "provided that" (ในเงื่อนไขที่ว่า, ต่อเมื่อ) หมวดหมู่:ไวยากรณ์ หมวดหมู่:วจีวิภาค.

ใหม่!!: กและคำสันธาน · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ไต่คู้

ม้ไต่คู้ (–็) มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๘) ปกติใช้แทนสระเสียงสั้นลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น เล็ก แป็ก น็อก เป็นต้น อักษรเขมรมีรูปสระที่คล้ายไม้ไต่คู้ เรียกว่า อสฺฎา (แปด) ใช้แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะตัวเดียว.

ใหม่!!: กและไม้ไต่คู้ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: กและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »