สารบัญ
พยัญชนะ
พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.
ดู ฮและพยัญชนะ
อ
อ เป็นอักษรไทย จำพวกพยัญชนะ อยู่ในลำดับ ที่ 43 ถัดจาก ฬ และก่อนถึง ฮ มักจะเรียกกันว่า อ อ่าง ในการจัดหมู่อักษร นับเป็นอักษรกลาง ในไตรยางศ์ ผันได้ครบ 5 เสียง และเติม วรรณยุกต์ได้ทั้ง 4 รูป อักษร อ เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /ʔ/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะกด โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ.
ดู ฮและอ
อักษรไทย
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.
ดู ฮและอักษรไทย
ไตรยางศ์
ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.
ดู ฮและไตรยางศ์