เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย

ดัชนี อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย (Ἀθανάσιος Ἀλεξανδρείας; Athanasius of Alexandria) บาทหลวงชาวโรมันแอฟริกัน ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรียตั้งแต..

สารบัญ

  1. 25 ความสัมพันธ์: บาทหลวงชีวิตอารามวาสีพระเยซูพระเจ้าพระบุตรลัทธิเอเรียสศาสนาคริสต์ตะวันออกศาสนาคริสต์ตะวันตกศีลอนุกรมสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อะเล็กซานเดรียอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียอัครมุขนายกอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จักรวรรดิโรมันธรรมสักขีดีกันคอปติกออร์ทอดอกซ์ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรนักปราชญ์แห่งคริสตจักรแอฟริกา (มณฑลของโรมัน)แอนโทนีอธิการโรมันคาทอลิกเทววิทยาศาสนาคริสต์เซนต์

  2. นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 4
  3. นักปราชญ์แห่งคริสตจักร
  4. บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 290
  5. ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร
  6. อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและบาทหลวง

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและชีวิตอารามวาสี

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและพระเยซู

พระเจ้าพระบุตร

ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ถือว่าพระเจ้าพระบุตร (God the Son) คือพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ โดยเชื่อว่าพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าในสารัตถะเดียว แต่ต่างบุคคลกัน และเชื่อว่าพระเจ้าพระบุตรก็คือพระเยซู ตามความเชื่อนี้ พระเจ้าพระบุตรดำรงอยู่มาก่อนที่จะรับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซู และเป็นพระเป็นเจ้าที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำว่า "พระเจ้าพระบุตร" จึงเน้นถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ต่างจากคำว่า พระบุตรของพระเจ้า ที่เน้นความเป็นมนุษย์มากกว.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและพระเจ้าพระบุตร

ลัทธิเอเรียส

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเผาหนังสือของลัทธิเอเรียส ลัทธิเอเรียส (Arianism) เป็นแนวคำสอนทางเทววิทยาของเอเรียส (ราว ค.ศ.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและลัทธิเอเรียส

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและศาสนาคริสต์ตะวันออก

ศาสนาคริสต์ตะวันตก

นาคริสต์ตะวันตกหมายถึงกลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก คริสตจักรแองกลิคัน และคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีคุณสมบัติร่วมกันย้อนได้ถึงสมัยกลาง คำนี้ใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาคริสต์ตะวันออก ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่แล้วพบได้ในทวีปยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ บางส่วนของยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย รวมเป็น 90% ของประชาคมชาวคริสต์ทั่วโลก คริสตจักรโรมันคาทอลิกเองมีผู้นับถือมากกว่าครึ่งหนึ่ง.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและศาสนาคริสต์ตะวันตก

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและศีลอนุกรม

สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง

ังคายนาไนเซียครั้งที่ 1 สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง (First Council of Nicaea) เป็นสภาสังคายนาสากลครั้งแรกในศาสนาคริสต์ โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชทรงเรียกประชุมบรรดามุขนายกทั่วจักรวรรดิโรมันมาประชุมกันที่เมืองไนเซีย เพื่อหาข้อสรุปความเชื่อเกี่ยวกับสถานะของพระบุตร และความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรกับพระบิดา, pp.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

อะเล็กซานเดรีย

อะเล็กซานเดรีย หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอัสกันดะริย์ยะ (Alexandria; الإسكندرية; Αλεξάνδρεια; คอปติก: Ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและอะเล็กซานเดรีย

อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย

อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย (Patriarch of Alexandria) คือประมุขฝ่ายคริสตจักรในเมืองอะเล็กซานเดรีย (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอียิปต์) นับเป็น 1 ใน 3 ตำแหน่งประมุขฝ่ายคริสตจักรที่เก่าแก่ที่สุด (อีก 2 ตำแหน่งคือ อัครบิดรแห่งโรมและอัครบิดรแห่งแอนติออก) โดยเฮราคลัส อัครบิดรองค์ที่ 13 แห่งอะเล็กซานเดรียเป็นบุคคลแรกที่ได้รับสมัญญานามว่า "พระสันตะปาปา" (ส่วนอัครบิดรแห่งโรมเริ่มใช้สมัญญานี้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6).

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและอัครมุขนายก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและจักรวรรดิโรมัน

ธรรมสักขี

รรมสักขี (confessor) ในศาสนาคริสต์ใช้หมายถึง ผู้ยืนยันความเชื่อ หรือบาทหลวงผู้อภัยบาป.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและธรรมสักขี

ดีกัน

ันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี ดีกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201 (deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและดีกัน

คอปติกออร์ทอดอกซ์

วิหารของศาสนาคริสต์คอปติกในอียิปต์ พระเยซูในศิลปะคอปติก คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรีย (คอปติก: Ϯⲉⲕ̀ⲕⲗⲏⲥⲓⲁ ̀ⲛⲣⲉⲙ̀ⲛⲭⲏⲙⲓ ̀ⲛⲟⲣⲑⲟⲇⲟⲝⲟⲥ ti.eklyseya en.remenkimi en.orthodoxos ente alexandhrias; Coptic Orthodox Church of Alexandria) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์และภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นส่วนหนึ่งของนิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ซึ่งแยกออกมาจากนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลังการสังคายนาแห่งแคลซีดันในปี..

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและคอปติกออร์ทอดอกซ์

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกันTabbernee, Prophets and Gravestones, p.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร

แอฟริกา (มณฑลของโรมัน)

ักรวรรดิโรมันในรัชสมัยจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงที่ตั้งของจังหวัดแอฟริกาโพรคอนซูลาริส (แอลจีเรียตะวันออก ตูนิเซีย และตริโปลิเตเนีย) แอฟริกา หรือ อาฟรีกา (อังกฤษ, Africa) เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่ชาวโรมันสามารถเอาชนะคาร์เทจได้ในสงครามพิวนิกครั้งที่ 3 จังหวัดแอฟริกาประกอบด้วยดินแดนที่ในปัจจุบันคือทางตอนเหนือของตูนิเซีย ตะวันออกเฉียงเหนือของแอลจีเรีย และริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตกของลิเบีย ในเวลาต่อมา ชาวอาหรับก็เรียกบริเวณที่เคยเป็นจังหวัดนี้ว่า "อิฟริกียะห์" ซึ่งมาจากคำว่าแอฟริกานั่นเอง.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและแอฟริกา (มณฑลของโรมัน)

แอนโทนีอธิการ

นักบุญแอนโทนี (หรืออันตน) อธิการ (St.) เกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 251 และถึงแก่มรณกรรมประมาณปี ค.ศ. 356 หรือที่รู้จักกันว่าแอนโทนีผู้ยิ่งใหญ่ (Anthony the Great) แอนโทนีแห่งอียิปต์ (Anthony of Egypt) แอนโทนีแห่งทะเลทราย (Anthony of the Desert) แอนโทนีแองคอไรต์ (Anthony the Anchorite) คุณพ่ออันโตนีอุส (Abba Antonius) และบิดาแห่งนักพรตทั้งปวง (Father of All Monks) นักบุญแอนโทนีอธิการเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ชาวอียิปต์ ที่เป็นผู้นำของนักพรตในศาสนาคริสต์ที่ใช้ชีวิตอย่างสันโดษในทะเลทราย (ปิตาจารย์ทะเลทราย) ในประเทศอียิปต์ ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย และเป็นอธิการอารามอะเล็กซานเดรีย ชีวประวัติของนักบุญแอนโทนีเขียนโดยนักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งช่วยเผยแพร่การใช้ชีวิตอารามวาสีแบบนักบุญแอนโทนีไปยังยุโรปตะวันตกโดยแปลเป็นภาษาละติน ซึ่งยึดถือคติความสันโดษและยากจนเป็นหลักในการขัดเกลาตนเอง และเป็นต้นแบบนักพรตคาทอลิกในยุโรปในเวลาต่อมา นักบุญแอนโทนีอธิการเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้ป่วยโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคงูสวัด ฉะนั้นบางทีที่ประเทศอิตาลีหรือประเทศมอลตาจึงเรียกโรคนี้ว่า “ไฟแอนโทนี” (Anthony's fire) หมวดหมู่:นักบุญชาวโรมัน หมวดหมู่:นักบุญชาวอียิปต์ หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 4 หมวดหมู่:นักบุญในตำนานทอง.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและแอนโทนีอธิการ

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและโรมันคาทอลิก

เทววิทยาศาสนาคริสต์

ทววิทยาศาสนาคริสต์ (Christian theology) คริสต์เทววิทยา หรือศาสนศาสตร์ คือเทววิทยาที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ใช้เหตุผลทางการวิจัยและการถกเพื่อทำความเข้าใจ อธิบาย ทดสอบ วิจารณ์ประเด็น ป้องกันและเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อศาสนาคริสต์ เพื่อเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับประเพณีหรือความเชื่อถืออื่น ๆ และเพื่อป้องกัน กล่าวโต้ต่อนักวิจารณ์ ช่วยในการปฏิรูปศาสนา มีความเข้าใจในคริสต์ศาสนาพอที่จะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นมาทำความเข้าใจในสถานะการณ์ปัจจุบันตามความจำเป็น, เทววิทยาศาสนาคริสต์เผยแพร่เข้ามาในวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมยุโรปก่อนสมัยใหม่ ความเกี่ยวพันกันระหว่างปรัชญาสองอย่างนี้ทำให้ผู้ต้องการทำความความเข้าใจในเทววิทยาศาสนาคริสต์จำเป็นต้องเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยในขณะเดียวกัน.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและเทววิทยาศาสนาคริสต์

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ดู อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียและเซนต์

ดูเพิ่มเติม

นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 4

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 290

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย