โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บาทหลวง

ดัชนี บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

36 ความสัมพันธ์: บาทหลวงพระสันตะปาปาพระเยซูพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554กฎหมายศาสนจักรการบวชมุขมณฑลมุขนายกมหานครมุขนายกประจำมุขมณฑลศาสนาคริสต์ศีลศักดิ์สิทธิ์ศีลอนุกรมสยามสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอัครมุขนายกอัคราธิการอัครทูตอธิการอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยผู้รับใช้พระเป็นเจ้าจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1ดีกันคริสตจักรคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์คริสตจักรละตินคณะนักบวชคาทอลิกประเทศโปรตุเกสปริมุขมณฑลนักบวชนักพรตหญิงแองกลิคันคอมมิวเนียนโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์เคลอจีเซมินารี

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: บาทหลวงและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: บาทหลวงและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: บาทหลวงและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: บาทหลวงและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: บาทหลวงและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

การบวช

การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช (ordinand).

ใหม่!!: บาทหลวงและการบวช · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: บาทหลวงและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกมหานคร

มุขนายกมหานครแห่งศาสนจักรรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ณ กรุงมอสโก ตามการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลในคริสตจักร สมณศักดิ์มุขนายกมหานคร (Metropolitan bishop;Metropolitan) หมายถึงอัครมุขนายกหรือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่เป็นมหานคร (มหานครคือมณฑลของโรมัน ภาคคริสตจักร หรือเมืองหลวงของแคว้น) ก่อนที่จะมีสมณศักดิ์ชั้นอัครบิดร ในคริสตจักรตะวันออกถือว่ามุขนายกมหานครเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะปกครองคณะมุขนายก และได้รับเอกสิทธิ์พิเศษหลายประการตามกฎหมายศาสนจักรและประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหารคริสตจักรยุคแรกยึดตามแบบของจักรวรรดิโรมัน กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่ง ๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่าปริมุขนายก"metropolitan." Cross, F. L., ed.

ใหม่!!: บาทหลวงและมุขนายกมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกประจำมุขมณฑล

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบันhttp://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2010/santacruz2010/index.html ฉลองโบสถ์ซางตาครู้ส.เรียกข้อมูลวันที่ 13 ธ.ค. 2554 มุขนายกประจำมุขมณฑล (diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง.

ใหม่!!: บาทหลวงและมุขนายกประจำมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: บาทหลวงและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: บาทหลวงและศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: บาทหลวงและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: บาทหลวงและสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: บาทหลวงและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: บาทหลวงและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: บาทหลวงและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: บาทหลวงและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อธิการ

อธิการ (authority; superior) มาจากคำในภาษาบาลี "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้านการปกครอง พบทั้งในศาสนจักร และการทหาร.

ใหม่!!: บาทหลวงและอธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: บาทหลวงและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย

งของคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก ประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ระหว่างเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2544 คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม..1999 โดยได้รับการอนุมัติจากอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก (อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงขณะนั้น) โดยบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไท.

ใหม่!!: บาทหลวงและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า

ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า หรือ ผู้รับใช้ของพระเจ้า เป็นสมัญญานามที่ใช้กับศาสนิกชนบางคนในศาสนาเทวนิยม ใช้เพื่อแสดงว่าบุคคลนั้นศรัทธาอย่างแรงกล้า ในคริสตจักรโรมันคาทอลิกใช้คำนี้ในความหมายเฉพาะลงไปอีก คือหมายถึงบุคคลที่อยู่ในกระบวนการชั้นแรกก่อนการประกาศเป็นนักบุญ ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คำนี้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ใกล้เคียงกับคำว่า อับดุลลอฮ์ (عبد الله บ่าวของอัลลอฮ์) ในภาษาอาหรับ และ โอบาดีห์ ในภาษาฮีบรู.

ใหม่!!: บาทหลวงและผู้รับใช้พระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1

หมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 (The First Epistle of Peter) เป็นหนังสือเล่มที่ 21 ของคัมภีร์ไบเบิลพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด แต่แรกหนังสือเล่มนี้เป็นจดหมายซึ่งระบุว่าผู้เขียนคือซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในจดหมายที่มีการอ้างถึงข้อความในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมหลายข้อ มีการใช้คำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับพระวรสาร และมีคำกล่าวของอัครทูตเปโตรอยู่หลายตอนแล้ว ก็เป็นข้อสนับสนุนว่าอัครทูตเปโตรได้เขียนจดหมายนี้เอง จดหมายฉบับนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

ใหม่!!: บาทหลวงและจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ดีกัน

ันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี ดีกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201 (deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร.

ใหม่!!: บาทหลวงและดีกัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: บาทหลวงและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..

ใหม่!!: บาทหลวงและคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรละติน

ริสตจักรละติน หรือ พระศาสนจักรละติน (Latin Church) คือคริสตจักรโรมันคาทอลิกเฉพาะถิ่นที่ใช้จารีตพิธีกรรมละติน มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับแต่สมัยอัครทูต และเป็นคริสตจักรหลักและดั้งเดิมในศาสนาคริสต์ตะวันตก ในปี..

ใหม่!!: บาทหลวงและคริสตจักรละติน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: บาทหลวงและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: บาทหลวงและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ปริมุขมณฑล

ปริมุขมณฑล (suffragan diocese) เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของมุขนายกประจำมุขมณฑลของตนเท่านั้น แต่อยู่ในความดูแลของมุขนายกมหานครด้วย มุขนายกมหานครเป็นอัครมุขนายกที่ปกครองอัครมุขมณฑลที่ตนเองประจำการอยู่ ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมุขนายกมหานครไม่มีสิทธิ์แทรกแซงการบริหารในปริมุขมณฑล แต่มีหน้าที่เป็นประธานในในที่ประชุมภาคคริสตจักรซึ่งประกอบด้วยหลายอัครมุขมณฑลและปริมุขมณฑล เมื่อผู้นำปริมุขมณฑลว่างลงมุขนายกมหานครจึงจะมีสิทธิ์รักษาการณ์แทน ทั้งนี้มุขนายกที่ปกครองปริมุขมณฑลจะเรียกว่าปริมุขนายก (suffragan bishop) ในประเทศไทยมีปริมุขมณฑล เช่น เขตมิสซังสุราษฎร์ธานีเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ.

ใหม่!!: บาทหลวงและปริมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: บาทหลวงและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: บาทหลวงและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคันคอมมิวเนียน

แองกลิคันคอมมิวเนียน (Anglican Communion) เป็นองค์การระหว่างประเทศของคริสตจักรระดับชาติและระดับภูมิภาคที่ถือนิกายแองกลิคัน มีการร่วมสมานฉันท์กับคริสตจักรแห่งอังกฤษในฐานะเป็นคริสตจักรแม่ในคอมมิวเนียน มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธานไพรเมต การร่วมสมานฉันท์ในที่นี้หมายถึงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดหลักความเชื่อ และชาวแองกลิคันทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรใด ๆ ในคอมมิวเนียนได้ สมาชิกของแองกลิคันคอมมิวเนียนในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 80 ล้านคนทั่วโลก นับว่าเป็นนิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และแม้จะอยู่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนด้วยกันก็ไม่ใช่ทุกคริสตจักรในคอมมิวเนียนนี้ที่ใช้ชื่อแองกลิคัน เช่น คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ คริสตจักรสกอตติชอีปิสโคปัล คริสตจักรอีปิสโคปัล (สหรัฐ) เป็นต้น บางคริสตจักรก็เรียกตนแองว่าแองกลิคันเพราะถือว่าสืบสายมาจากคริสตจักรในอังกฤษ เช่น คริสตจักรแองกลิคันแห่งแคนาดา แต่ละคริสตจักรมีสิทธฺิ์กำหนดหลักความเชื่อ แนวพิธีกรรม และกระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นของตนเอง แต่โดยมากจะถือตามคริสตจักรแห่งอังกฤษ ทุกคริสตจักรมีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มีไพรเมตเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประมุขทางศาสนาของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในคริสตจักรอื่น ๆ คงเป็นที่ยอมรับเฉพาะในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในบรรดาไพรเมตในนิกายแองกลิคันจึงถือว่าอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็น บุคคลอันดับหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่าเทียมกัน (Primus inter pares) ชาวแองกลิคันถือว่าแองกลิคันคอมมิวเนียนเป็นคริสตจักรที่เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต มีทั้งความเป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนิกชนบางคนจึงถือว่าแองกลิคันเป็นนิกายคาทอลิกที่ไม่ยอมรับพระสันตะปาปา หรือเป็นนิกายโปรเตสแตนต์แบบหนึ่งแม้จะไม่มีนักเทววิทยาโดดเด่นอย่างคริสตจักรอื่น เช่น มาร์ติน ลูเทอร์ จอห์น น็อกซ์ ฌ็อง กาลแว็ง ฮุลดริช สวิงลีย์ หรือจอห์น เวสลีย์ สำนักงานแองกลิคันคอมมิวเนียนมีเลขาธิการคือศาสนาจารย์ แคนันเคนเนท เคียรันเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: บาทหลวงและแองกลิคันคอมมิวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: บาทหลวงและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: บาทหลวงและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลอจี

ลอจี เคลอจี (clergy อ่านว่า เคลอ-จี) คือ ผู้ได้รับศีลบวช ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่านักบวช รูปเอกพจน์เรียกว่าเคลริก (cleric) ศาสนาคริสต์เริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงศาสนบุคคลที่ได้รับศีลบวช ได้แก่ ดีกัน บาทหลวง และบิชอป ในปัจจุบันหมายถึง บุคคลในศาสนาใด ๆ ที่ผ่านพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับใช้ศาสน.

ใหม่!!: บาทหลวงและเคลอจี · ดูเพิ่มเติม »

เซมินารี

ซมินารี.

ใหม่!!: บาทหลวงและเซมินารี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »