โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ดัชนี ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกันTabbernee, Prophets and Gravestones, p. 98 note 1.

28 ความสัมพันธ์: การประกาศเป็นนักบุญมุขนายกศาสนาคริสต์ยุคแรกศาสนาคริสต์ตะวันออกศีลอนุกรมสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 1สังสารวัฏออกัสตินแห่งฮิปโปออริเจนออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียอิกเนเชียสแห่งแอนติออกอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อีซีโดโรแห่งเซบียาจอห์น คริสซอสตอมคริสตจักรคริสต์ศาสนิกชนตรีเอกภาพซิริลแห่งอะเล็กซานเดรียนอกรีตนักบุญเจอโรมนิกายลูเทอแรนแอมโบรสแห่งมิลานแองกลิคันคอมมิวเนียนโรมันคาทอลิกเทววิทยาเซนต์

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1

มเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 หรือ นักบุญเกรกอรีผู้ยิ่งใหญ่ (Gregory I หรือ Saint Gregory I the Great) ประสูติราวปึ ค.ศ. 540 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 604 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 590 ถึง..

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 1

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 1 (Clement I) ทรงดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งโรมตั้งแต่ ค.ศ. 88 ถึง ค.ศ. 97 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 1 คลเมนต์ที่ 1 หมวดหมู่:นักบุญชาวโรมัน หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หมวดหมู่:ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร หมวดหมู่:มรณสักขีในศาสนาคริสต์ หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยการถ่วงน้ำ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สังสารวัฏ

วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเก.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและสังสารวัฏ · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและออกัสตินแห่งฮิปโป · ดูเพิ่มเติม »

ออริเจน

ออริเจน (Origen; Ὠριγένης, Ōrigénēs) เป็นนักพรตและนักเทววิทยาชาวอะเล็กซานเดรีย ผู้มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผลงานของเขาแสดงถึงการวิจารณ์ตัวบท นัยวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล อรรถปริวรรตศาสตร์ ปรัชญา และการใช้ชีวิตทางศาสนา และถือเป็นผู้มีอิทธิพลต่อมากที่สุดต่อวิถีพรตนิยมในศาสนาคริสต์ยุคแรก ออริเจนไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญอย่างปิตาจารย์ท่านอื่น ๆ เพราะคำสอนบางอย่างของเขาขัดกับคำสอนของเปาโลอัครทูตและยอห์นอัครทูต เช่น สอนว่าวิญญาณมีอยู่ก่อนการปฏิสนธิ สิ่งสร้างทั้งหมด (อาจรวมถึงปีศาจ) จะคืนดีกับพระเป็นเจ้าในวาระสุดท้าย พระเจ้าพระบุตรมีสถานะต่ำกว่าพระเจ้าพระบิดา เป็นต้น ซึ่งคำสอนเหล่านี้ศาสนาคริสต์กระแสหลักไม่ยอมรั.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและออริเจน · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย (Ἀθανάσιος Ἀλεξανδρείας; Athanasius of Alexandria) บาทหลวงชาวโรมันแอฟริกัน ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรียตั้งแต..

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

อิกเนเชียสแห่งแอนติออก

นักบุญอิกเนเชียสแห่งแอนติออก (St.) บาทหลวงชาวซีเรีย ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งแอนติออกราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคริสตจักรให้เป็นระบบ ทั้งในด้านเทววิทยา คริสตจักรวิทยา พิธีศักดิ์สิทธิ์ และบทบาทหน้าที่ของมุขนายก.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและอิกเนเชียสแห่งแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีซีโดโรแห่งเซบียา

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา (San Isidoro de Sevilla; ค.ศ. 560 – 4 เมษายน ค.ศ. 636) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ได้รับแต่งตั้งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งเซบียา ได้ผลิตตำราวิชาการทางศาสนาไว้มากมายจนต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักเรียนนักศึกษ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและอีซีโดโรแห่งเซบียา · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น คริสซอสตอม

นักบุญจอห์น คริสซอสตอม (Ἰωάννης ὁ Χρυσόστομος, John Chrysostom; ราว ค.ศ. 347 - 14 กันยายน ค.ศ. 407) เป็นอาร์ชบิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลและเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมมีชื่อเสียงว่าเป็นนักเทศน์และนักปาฐกถาผู้มีฝีปากดี ในการประกาศต่อต้านของการใช้อำนาจในทางที่ผิดของทั้งผู้นำทางการเมืองและทางศาสนา, "คริสต์ศาสนพิธีฉบับนักบุญจอห์น คริสซอสตอม" และ หลักการปฏิบัติทางศาสนา หลังจากการเสียชีวิตของแล้วนักบุญจอห์นก็ได้รับนามสกุลเป็นภาษากรีกว่า "Chrysostomos" ที่แปลว่า "วจนะน้ำผึ้ง" ที่แผลงมาเป็นภาษาอังกฤษว่า "Chrysostom" ชาวโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นคาทอลิกถือว่าจอห์น คริสซอสตอมเป็นนักบุญและเป็นหนึ่งในไฮเออราร์คผู้ศักดิ์สิทธิ์สามองค์ ร่วมกับ นักบุญเบซิลแห่งเซซาเรียและนักบุญเกรกอรีแห่งนาเซียนซัส นิกายออร์ทอดอกซ์และนิกายโรมันคาทอลิกถือว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร ส่วนคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่าเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและจอห์น คริสซอสตอม · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย (Cyril of Alexandriaˈ) บาทหลวงชาวอียิปต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย และได้รับยกย่องเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรภายหลังถึงแก่มรณกรรม ท่านเป็นนักเทววิทยาที่โดดเด่น จนมีบทบาทสำคัญในการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 431) เพื่อรับรองหลักความเชื่อเรื่องพระมารดาพระเจ้.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

นอกรีต

การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส นอกรีต (heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรั.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและนอกรีต · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรม

นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและนักบุญเจอโรม · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แอมโบรสแห่งมิลาน

นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน (Ambrose of Milan; Ambrosius; Ambrogio) (ราว ค.ศ. 337 ถึง ค.ศ. 340-344 เมษายน ค.ศ. 397) เป็นบาทหลวงชาวโรมันดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งมิลาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในคริสตจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 4 นักบุญแอมโบรสเป็นหนึ่งในสี่คนแรกของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและแอมโบรสแห่งมิลาน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคันคอมมิวเนียน

แองกลิคันคอมมิวเนียน (Anglican Communion) เป็นองค์การระหว่างประเทศของคริสตจักรระดับชาติและระดับภูมิภาคที่ถือนิกายแองกลิคัน มีการร่วมสมานฉันท์กับคริสตจักรแห่งอังกฤษในฐานะเป็นคริสตจักรแม่ในคอมมิวเนียน มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธานไพรเมต การร่วมสมานฉันท์ในที่นี้หมายถึงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดหลักความเชื่อ และชาวแองกลิคันทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรใด ๆ ในคอมมิวเนียนได้ สมาชิกของแองกลิคันคอมมิวเนียนในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 80 ล้านคนทั่วโลก นับว่าเป็นนิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และแม้จะอยู่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนด้วยกันก็ไม่ใช่ทุกคริสตจักรในคอมมิวเนียนนี้ที่ใช้ชื่อแองกลิคัน เช่น คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ คริสตจักรสกอตติชอีปิสโคปัล คริสตจักรอีปิสโคปัล (สหรัฐ) เป็นต้น บางคริสตจักรก็เรียกตนแองว่าแองกลิคันเพราะถือว่าสืบสายมาจากคริสตจักรในอังกฤษ เช่น คริสตจักรแองกลิคันแห่งแคนาดา แต่ละคริสตจักรมีสิทธฺิ์กำหนดหลักความเชื่อ แนวพิธีกรรม และกระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นของตนเอง แต่โดยมากจะถือตามคริสตจักรแห่งอังกฤษ ทุกคริสตจักรมีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มีไพรเมตเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประมุขทางศาสนาของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในคริสตจักรอื่น ๆ คงเป็นที่ยอมรับเฉพาะในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในบรรดาไพรเมตในนิกายแองกลิคันจึงถือว่าอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็น บุคคลอันดับหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่าเทียมกัน (Primus inter pares) ชาวแองกลิคันถือว่าแองกลิคันคอมมิวเนียนเป็นคริสตจักรที่เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต มีทั้งความเป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนิกชนบางคนจึงถือว่าแองกลิคันเป็นนิกายคาทอลิกที่ไม่ยอมรับพระสันตะปาปา หรือเป็นนิกายโปรเตสแตนต์แบบหนึ่งแม้จะไม่มีนักเทววิทยาโดดเด่นอย่างคริสตจักรอื่น เช่น มาร์ติน ลูเทอร์ จอห์น น็อกซ์ ฌ็อง กาลแว็ง ฮุลดริช สวิงลีย์ หรือจอห์น เวสลีย์ สำนักงานแองกลิคันคอมมิวเนียนมีเลขาธิการคือศาสนาจารย์ แคนันเคนเนท เคียรันเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและแองกลิคันคอมมิวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »