โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นักบุญนิโคลัส

ดัชนี นักบุญนิโคลัส

นักบุญนิโคลัส หรือ เซนต์นิโคลัส (Saint Nicholas) เป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงที่สุดองค์หนึ่งในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และโรมันคาทอลิก ดำรงตำแหน่งมุขนายกแห่งมิราในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตำนานเกี่ยวกับท่านเป็นต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องซานตาคลอสที่แพร่หลายในปัจจุบัน.

16 ความสัมพันธ์: บารีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมันมุขนายกลิเชียสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งสารานุกรมคาทอลิกอานาโตเลียอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จักรพรรดิดิออเกลติอานุสจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชคริสต์ศตวรรษที่ 4ซานตาคลอสประเทศอิตาลีปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)โรมันคาทอลิกเซนต์

บารี

รี (Bari) เป็นเมืองหลักของแคว้นปุลยา บนชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ประเทศอิตาลี เป็นเมืองสำคัญอันดับ 2 ในด้านเมืองเศรษฐกิจบนแผ่นดินใหญ่ทางใต้ของอิตาลี รองจากเมืองเนเปิลส์ เมืองมีประชากรราว 326,799 คน (ค.ศ. 2015) บนพื้นที่ ขณะที่เขตเมืองมีประชากร 700,000 คน เขตมหานครมีประชากร 1.3 ล้านคน บารีแบ่งพื้นที่เมืองเป็น 4 ส่วน ทางเหนือมีเมืองเก่าบนคาบสมุทร ตั้งอยู่ระหว่างท่าเรือทันสมัย 2 แห่ง มีมหาวิหารนักบุตรนิโคลัส, มหาวิหารซานซาบีโน (1035–1171) และปราสาทโฮเอินชเตาเฟิน ที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ในปัจจุบันเป็นย่านกลางคืนที่สำคัญ ทางทิศใต้มีค่ายทหารมูรัต (สร้างโดยฌออากีม มูว์รา) ตรงกลางของเมืองบารีเป็นที่พักอาศัยสมัยใหม่ สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 ตรงเขตชานเมืองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในคริสต์ทศวรรษ 1990 เมืองยังได้พัฒนาสนามบินที่ตั้งชื่อตามสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 โดยสนามบินชื่อ สนามบินการอล วอยตือวา ที่เชื่อมต่อกับหลายเมืองในยุโรป.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและบารี · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน

ริสต์ศาสนิกชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในสามร้อยปีแรกของศาสนาคริสต์ยุคแรกนับเป็นสมัยของการเบียดเบียนโดยน้ำมือของทางการโรมัน คริสต์ศาสนิกชนถูกทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นช่วง ๆ นอกจากนั้นในบางครั้งก็ยังมีการเบียดเบียนไปทั่วทั้งจักรวรรดิโดยคำสั่งโดยตรงจากรัฐบาลกลางในกรุงโรม การถูกทำร้ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับมรณสักขี (martyr) และมีผลต่อประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนาและเทววิทยาคริสเตียนในด้านการวิวัฒนาการของความศรัทธาในศาสนา นอกจากนั้นแล้วการเบียดเบียนยังมีผลให้เกิดลัทธิบูชานักบุญซึ่งกลับทำให้การเผยแพร่คริสต์ศาสนาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ลิเชีย

ลิเชีย (ภาษาลิเชีย: Trm̃mis; Λυκία;Lycia) เป็นภูมิภาคในอานาโตเลียที่ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่จังหวัดอันทาลยา และ จังหวัดมูกลาทางฝั่งทะเลตอนใต้ของตุรกี ลิเชียเป็นสหพันธ์ของเมืองโบราณในบริเวณดังกล่าว ที่ต่อมาเป็นจังหวัดของจักรวรรดิโรมัน สหพันธ์ลิเชียเป็นสหพันธ์แรกของโลกที่ก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ที่ต่อมามามิอิทธิพลต่อเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง

ังคายนาไนเซียครั้งที่ 1 สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง (First Council of Nicaea) เป็นสภาสังคายนาสากลครั้งแรกในศาสนาคริสต์ โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชทรงเรียกประชุมบรรดามุขนายกทั่วจักรวรรดิโรมันมาประชุมกันที่เมืองไนเซีย เพื่อหาข้อสรุปความเชื่อเกี่ยวกับสถานะของพระบุตร และความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรกับพระบิดา, pp.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมคาทอลิก

รานุกรมคาทอลิก (Catholic Encyclopedia) หรือ สารานุกรมคาทอลิกเก่า (Old Catholic Encyclopedia) คือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เล่มแรกพิมพ์ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและสารานุกรมคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิดิออเกลติอานุส

ออเกลติอานุส (Gaius Aurelius Valerius Diocletianus; ภาษาอังกฤษ: Diocletian; ภาษากรีก: Διοκλής) (ราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244 - เสียชีวิต 3 ธันวาคม ค.ศ. 311) เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 284 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ด้วยพระองค์เอง และระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 305 ในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันออก และร่วมกับแม็กซิเมียนในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันตก ดิออเกลติอานุสเป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและจักรพรรดิดิออเกลติอานุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 4

ริสต์ศตวรรษที่ 4 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 301 ถึง ค.ศ. 400.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและคริสต์ศตวรรษที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ซานตาคลอส

ลักษณ์สมัยใหม่ของซานตาคลอส วาดโดยโทมัส แนสต์ ร่วมกับคลีเมนต์ คลาร์ก มัวร์ใน ค.ศ. 1881 ซานตาคลอส (Santa Claus) หรือรู้จักกันในชื่อ นักบุญนิโคลัส, ฟาเธอร์คริสต์มาส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ซานตา" (สนฺต ศานฺต) เป็นบุคคลที่มีจุดกำเนิดทางตำนาน เทพปกรณัม ประวัติศาสตร์และตำนานพื้นบ้าน ตามวัฒนธรรมตะวันตกหลายประเทศ กล่าวกันว่าเขาเป็นผู้นำของขวัญไปยังบ้านของเด็กดีในช่วงเย็นและข้ามคืนวันคริสต์มาสอีฟ วันที่ 24 ธันวาคม ภาพลักษณ์สมัยใหม่ถูกดัดแปลงมาจากภาพลักษณ์ซินเทอร์กลาส (Sinterklass) แบบดัตช์ ซึ่งอาจมีพื้นฐานมาจากเรื่องเล่าชีวประวัตินักบุญเกี่ยวกับบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้ให้ของขวัญชื่อนักบุญนิโคลัส อีกทอดหนึ่ง เรื่องเล่าที่แทบไม่ต่างกันยังปรากฏในตำนานพื้นบ้านกรีกและไบแซนไทน์ คือ บาซิลแห่งซีซาเรีย วันสมโภชของบาซิลในวันที่ 1 มกราคมนั้น ถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการแลกของขวัญในกรีซ โดยทั่วไปซานตาคลอสถูกพรรณนาว่าเป็นชายเคราขาวร่างท้วมผู้ร่าเริงสนุกสนาน สวมโค้ดสีแดงกับคอเสื้อสีขาว กางเกงขายาวสีแดง เข็มขัดและรองเท้าหนังสีดำ (ภาพของเขามักไม่ค่อยมีเคราโดยไม่มีหนวด) ภาพลักษณ์นี้ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอิทธิพลอย่างสำคัญของกวี "การมาเยี่ยมจากนักบุญนิโคลัส" ของคลีเมนต์ คลาร์ก มัวร์ ใน..1823 และของนักเขียนภาพล้อเลียนและนักวาดการ์ตูนการเมือง โทมัส แนสต์ ภาพลักษณ์นี้ถูกรักษาและเสริมแต่งผ่านเพลง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือเด็กและภาพยนตร์ การพรรณนาซานตาคลอสในอเมริกาเหนือดังที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ต่อมาได้มีอิทธิพลต่อความเข้าใจสมัยใหม่ของฟาเธอร์คริสต์มาส ซินเตอร์กลาสและนักบุญนิโคลัสในวัฒนธรรมยุโรป ตามความเชื่อซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงคริสต์ศักราช 1820 ซานตาคลอสอาศัยที่ขั้วโลกเหนือ พร้อมกับเอลฟ์มีเวทมนตร์จำนวนมากและกวางเรนเดียร์เหาะเก้าตัว (แต่เดิมมีแปด) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ในแนวคิดซึ่งทำให้ได้รับความนิยมโดยเพลง "ซานตาคลอสกำลังมาเมือง" ใน..

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและซานตาคลอส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: นักบุญนิโคลัสและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »