โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อธิการเจ้าคณะแขวง

ดัชนี อธิการเจ้าคณะแขวง

อธิการเจ้าคณะแขวง (Provincial superior) เรียกโดยย่อว่า เจ้าคณะแขวง (Provincial) คืออธิการชั้นผู้ใหญ่ในคณะนักบวชคาทอลิก มีสถานะต่ำกว่าอัคราธิการซึ่งเป็นอธิการสูงสุดของคณะ เจ้าคณะแขวงมีอำนาจบริหารปกครองนักบวชในคณะของตนที่ประจำอยู่ในแขวงนั้น แขวงนี้มีลักณะคล้ายภาคคริสตจักร ต่างกันที่ภาคคริสตจักรมีมุขนายกมหานครเป็นประมุขและไม่ใช่เขตปกครองคณะนักบวช การที่แบ่งการปกครองคณะนักบวชออกเป็นแขวงต่าง ๆ นั้นมักคำนึงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก และอาจมีพื้นที่ครอบคลุมหลายประเทศ (ที่คณะนักบวชนั้นปฏิบัติศาสนกิจอยู่) ในแต่ละแขวงประกอบด้วยบ้านนักบวชหรืออาราม ซึ่งแต่ละแห่งมีอธิการเป็นหัวหน้า อธิการบ้านจึงทำหน้าที่ภายใต้การควบคุมของอธิการเจ้าคณะแขวงอีกต่อหนึ่ง.

16 ความสัมพันธ์: ภาคคริสตจักรมุขนายกมหานครสารานุกรมคาทอลิกอัคราธิการอารามอธิการคณะฟรันซิสกันคณะพระมหาไถ่คณะภราดาลาซาลคณะภราดาเซนต์คาเบรียลคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรคณะอุร์สุลินคณะคามิลเลียนคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกคณะนักบวชคาทอลิกคณะเยสุอิต

ภาคคริสตจักร

ริสตจักร (ecclesiastical province) หรือ แขวงฝ่ายพระศาสนจักร เป็นเขตปกครองของศาสนาคริสต์ พบในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และคริสตจักรตะวันออก.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและภาคคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกมหานคร

มุขนายกมหานครแห่งศาสนจักรรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ณ กรุงมอสโก ตามการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลในคริสตจักร สมณศักดิ์มุขนายกมหานคร (Metropolitan bishop;Metropolitan) หมายถึงอัครมุขนายกหรือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่เป็นมหานคร (มหานครคือมณฑลของโรมัน ภาคคริสตจักร หรือเมืองหลวงของแคว้น) ก่อนที่จะมีสมณศักดิ์ชั้นอัครบิดร ในคริสตจักรตะวันออกถือว่ามุขนายกมหานครเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะปกครองคณะมุขนายก และได้รับเอกสิทธิ์พิเศษหลายประการตามกฎหมายศาสนจักรและประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหารคริสตจักรยุคแรกยึดตามแบบของจักรวรรดิโรมัน กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่ง ๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่าปริมุขนายก"metropolitan." Cross, F. L., ed.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและมุขนายกมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมคาทอลิก

รานุกรมคาทอลิก (Catholic Encyclopedia) หรือ สารานุกรมคาทอลิกเก่า (Old Catholic Encyclopedia) คือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เล่มแรกพิมพ์ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและสารานุกรมคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อธิการ

อธิการ (authority; superior) มาจากคำในภาษาบาลี "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้านการปกครอง พบทั้งในศาสนจักร และการทหาร.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและอธิการ · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะพระมหาไถ่

ณะพระมหาไถ่ (Congregation of the Most Holy Redeemer; Redemtorists) เป็นคณะนักบวชธรรมทูตโรมันคาทอลิกที่นักบุญอัลฟอนโซ มาเรีย เด ลีกูโอรีได้ก่อตั้งขึ้น ณ เมืองสกาลา แคว้นกัมปาเนีย ประเทศอิตาลี ในตอนแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานช่วยเหลือชาวชนบทที่ถูกทอดทิ้งรอบ ๆ เมืองเนเปิลส์ นักบวช (religious) ของคณะนี้มีทั้งบาทหลวงและภราดา ปฏิบัติงานอยู่ใน 77 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะพระมหาไถ่ · ดูเพิ่มเติม »

คณะภราดาลาซาล

ณะภราดาแห่งโรงเรียนคริสตชน (Institute of the Brothers of the Christian Schools) มักรู้จักกันในนาม คณะภราดาลาซาล (La Salle Brothers) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฌ็อง-บาติสต์ เดอ ลา ซาล ก่อตั้งขึ้น เน้นปฏิบัติงานด้านการจัดการศึกษาแก่เยาวชนและเด็กที่ยากจน ปัจจุบันมีภราดาลาซาลอยู่ประมาณ 5,000 คน ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน 80 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะภราดาลาซาล · ดูเพิ่มเติม »

คณะภราดาเซนต์คาเบรียล

ณะภราดาเซนต์คาเบรียล (Frères de Saint-Gabriel, The Montfort Brothers of St.) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกคณะหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา นักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ตเป็นผู้ก่อตั้งคณะ และบาทหลวงกาเบรียล เดแอ เป็นผู้ฟื้นฟูคณะ นักบวชในคณะปฏิญาณตนต่อพระเจ้าเพื่อถือ ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความนบนอบ ทำงานรับใช้พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ด้วยการอุทิศตน เสียสละ รับใช้ผู้อื่นดังพี่น้อง โดยมุ่งที่จะให้บริการศึกษาอบรมที่เป็นความรู้ทางโลกและทางธรรมแก่สังคม คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี สมาชิกประกอบด้วยภราดาที่ทำงานรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านทางการให้การศึกษาแก่เยาวชน และเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคนยากจน ตามจิตตารมณ์ของนักบุญมงฟอร์ต ปัจจุบัน ภราดา John Kallarackal เป็นอัคราธิการ และภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไท.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะภราดาเซนต์คาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

ณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ผู้ก่อตั้งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (Sœurs de Saint-Paul de Chartres) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงที่ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เน้นทำงานด้านการจัดการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่ว.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร · ดูเพิ่มเติม »

คณะอุร์สุลิน

ณะอุร์สุลิน (Ursulines) หมายถึงสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วกลุ่มใด ๆ ก็ตามที่นักบุญอันเจลา เมรีชี ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการจัดการศึกษาแก่เยาวชนหญิง คณะอุร์สุลินที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน (Ursulines of the Roman Union) นอกจากนี้ยังมีคณะของนักบุญอุร์สุลา (Order Sister of st. Ursula; O.S.U) ซึ่งสมาชิกเป็นนักพรตหญิงที่ใช้ชีวิตอารามวาสี.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะอุร์สุลิน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคามิลเลียน

ณะผู้รับใช้ผู้ป่วย (Ordo Clericorum Regularium Ministrantium Infirmis; Order of the Ministers of the Sick) หรือคณะนักบุญคามิลโล (Order of St. Camillus) หรือที่รู้จักในนามคณะคามิลเลียน (Camillians) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญกามิลโล เด เลลลิส ก่อตั้งขึ้น เน้นพันธกิจด้านการพยาบาลผู้ป่ว.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะคามิลเลียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก

ณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก (Salesians of Don Bosco) เรียกโดยย่อว่า คณะซาเลเซียน (Salesian Society) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกชายที่ตั้งโดยนักบุญโจวันนี บอสโก หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "ดอนบอสโก" (คำว่า ดอน ในภาษาอิตาเลียนแปลว่า "คุณพ่อ" ซึ่งใช้เรียกบาทหลวง) สมาชิกของคณะนักบวชนี้ มักเรียกตัวเองว่า "ซาเลเซียน" และใช้คำย่อว่า S.D.B (Salesiani di Don Bosco) โดยชื่อซาเลเซียนนั้นนำมาจากชื่อของนักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: อธิการเจ้าคณะแขวงและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อธิการิณีเจ้าคณะแขวง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »