โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มุขนายกมหานคร

ดัชนี มุขนายกมหานคร

มุขนายกมหานครแห่งศาสนจักรรัสเซียออร์โธด็อกซ์ ณ กรุงมอสโก ตามการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลในคริสตจักร สมณศักดิ์มุขนายกมหานคร (Metropolitan bishop;Metropolitan) หมายถึงอัครมุขนายกหรือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่เป็นมหานคร (มหานครคือมณฑลของโรมัน ภาคคริสตจักร หรือเมืองหลวงของแคว้น) ก่อนที่จะมีสมณศักดิ์ชั้นอัครบิดร ในคริสตจักรตะวันออกถือว่ามุขนายกมหานครเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะปกครองคณะมุขนายก และได้รับเอกสิทธิ์พิเศษหลายประการตามกฎหมายศาสนจักรและประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ สมณศักดิ์นี้เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างการบริหารคริสตจักรยุคแรกยึดตามแบบของจักรวรรดิโรมัน กล่าวคือในเมืองหรืออาณาเขตหนึ่ง ๆ จะมีการบริหารโดยประมุขสูงสุดคนเดียวคือมุขนายก และมุขนายกประจำเมืองหลวงของมณฑล (ต่อมาคือมุขนายกมหานคร) จะมีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำเมืองรองซึ่งต่อมาเรียกว่าปริมุขนายก"metropolitan." Cross, F. L., ed.

20 ความสัมพันธ์: พระสันตะปาปากฎหมายศาสนจักรการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลภาคคริสตจักรมหานครมุขมณฑลมุขนายกประจำมุขมณฑลมณฑลของโรมันศาสนาคริสต์ยุคแรกศาสนาคริสต์ตะวันออกอัครบิดรอัครมุขนายกจักรวรรดิโรมันคริสตจักรคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ปริมุขมณฑลโรมันคาทอลิกเมืองหลวงเอกสิทธิ์เขตมิสซังกรุงเทพฯ

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายศาสนจักร

กฎหมายศาสนจักร (Canon law, from Catholic Encyclopedia) เป็นคำที่หมายถึงกฎหมายทางการปกครองภายในองค์การคริสเตียนรวมถึงบรรดาสมาชิก โดยเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และแองกลิคัน กฎที่ใช้ในการปกครองเป็นกฎที่ได้รับการอนุมัติ หรือตีความหมายเมื่อมีข้อขัดแย้งซึ่งแต่ละคริสตจักรก็จะมองกันคนละแง่ ตามปกติแล้วการอนุมัติก็จะทำโดยสภาสังคายนาสากลก่อนที่จะนำไปปฏิบัติในคริสตจักรโดยทั่วไป.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและกฎหมายศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล · ดูเพิ่มเติม »

ภาคคริสตจักร

ริสตจักร (ecclesiastical province) หรือ แขวงฝ่ายพระศาสนจักร เป็นเขตปกครองของศาสนาคริสต์ พบในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และคริสตจักรตะวันออก.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและภาคคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

มหานคร

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย จัดเป็นมหานครเมืองหนึ่งของโลก มหานคร เป็นนครขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีประชากรมากกว่าห้าแสนคนในเขตนครและอย่างน้อยหนึ่งล้านคนในเขตปริมณฑล (urban agglomeration) เมืองใหญ่ที่อยู่ในเขต urban agglomeration แต่ไม่ได้เป็นแกนกลางของเขตนั้น โดยทั่วไปจะไม่นับว่าเป็นมหานคร แต่เป็นส่วนหนึ่งของมัน มหานครนั้นโดยปกติจะเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ของประเทศหรือภูมิภาค และเป็นศูนย์คมนาคมเชื่อมต่อสำคัญระดับภูมิภาคหรือนานาชาต.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกประจำมุขมณฑล

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบันhttp://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2010/santacruz2010/index.html ฉลองโบสถ์ซางตาครู้ส.เรียกข้อมูลวันที่ 13 ธ.ค. 2554 มุขนายกประจำมุขมณฑล (diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและมุขนายกประจำมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลของโรมัน

มณฑล (province; provincia, พหูพจน์: provinciae) เป็นเขตการปกครองระดับพื้นฐาน ในสมัยโรมันโบราณ มาจนกระทั่งถึงสมัยจตุราธิปไตย (ราว ค.ศ. 296) เมื่อกลายเป็นหน่วยเขตการปกครองระดับสูงสุดของจักรวรรดิโรมันนอกคาบสมุทรอิตาลี คำว่า "province" ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าจังหวัดมีรากมาจากคำว่า "provincia" ในภาษาละตินที่ชาวโรมันใช้สื่อสาร จังหวัดโดยทั่วไปจะปกครองโดยนักการเมืองระดับสมาชิกวุฒิสภาที่เดิมมักจะเป็นอดีตกงสุลหรืออดีตพรีเตอร์ (Praetor) มีข้อยกเว้นในมณฑลอียิปต์ (จักรพรรดิเอากุสตุสทรงผนวกดินแดนนี้เข้ากับจักรวรรดิหลังจากคลีโอพัตราเสด็จสวรรคต) ที่จะมีข้าหลวงระดับ Equestrian order เป็นผู้ปกครองเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพยายามลดความทะเยอทะยานของกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาลง ข้อยกเว้นนี้เป็นกรณีพิเศษที่ไม่ขัดกับกฎหมายโรมัน เพราะตามประเพณีของกษัตริย์เฮเลนนิสติก ถือว่าอียิปต์เป็นอสังหาริมทรัพย์ส่วนพระองค์ของจักรพรรดิเอากุสต.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและมณฑลของโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดร

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและอัครบิดร · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปริมุขมณฑล

ปริมุขมณฑล (suffragan diocese) เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของมุขนายกประจำมุขมณฑลของตนเท่านั้น แต่อยู่ในความดูแลของมุขนายกมหานครด้วย มุขนายกมหานครเป็นอัครมุขนายกที่ปกครองอัครมุขมณฑลที่ตนเองประจำการอยู่ ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมุขนายกมหานครไม่มีสิทธิ์แทรกแซงการบริหารในปริมุขมณฑล แต่มีหน้าที่เป็นประธานในในที่ประชุมภาคคริสตจักรซึ่งประกอบด้วยหลายอัครมุขมณฑลและปริมุขมณฑล เมื่อผู้นำปริมุขมณฑลว่างลงมุขนายกมหานครจึงจะมีสิทธิ์รักษาการณ์แทน ทั้งนี้มุขนายกที่ปกครองปริมุขมณฑลจะเรียกว่าปริมุขนายก (suffragan bishop) ในประเทศไทยมีปริมุขมณฑล เช่น เขตมิสซังสุราษฎร์ธานีเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและปริมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เอกสิทธิ์

เอกสิทธ์ หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้มีความชอบธรรมในการอ้างสิทธิดังกล่าวเหนือบุคคลอื่น เช่น เอกสิทธิ์การทูต เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา เอกสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้แก่ เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 ได้กำหนดให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ ได้แก่ เอกสิทธิ์ในการแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือทางแพ่งต่อบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภา เอกสิทธิ์นี้ให้แก่สมาชิกรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกคนใดฟ้องร้อง การอภิปรายในการประชุมสภาที่สมาชิกสภาแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือมีความผิดฐานหมื่นประมาท ก็ไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หมวดหมู่:กฎหมาย.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและเอกสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: มุขนายกมหานครและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »