เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง

คณะฟรันซิสกัน vs. อธิการเจ้าคณะแขวง

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ. อธิการเจ้าคณะแขวง (Provincial superior) เรียกโดยย่อว่า เจ้าคณะแขวง (Provincial) คืออธิการชั้นผู้ใหญ่ในคณะนักบวชคาทอลิก มีสถานะต่ำกว่าอัคราธิการซึ่งเป็นอธิการสูงสุดของคณะ เจ้าคณะแขวงมีอำนาจบริหารปกครองนักบวชในคณะของตนที่ประจำอยู่ในแขวงนั้น แขวงนี้มีลักณะคล้ายภาคคริสตจักร ต่างกันที่ภาคคริสตจักรมีมุขนายกมหานครเป็นประมุขและไม่ใช่เขตปกครองคณะนักบวช การที่แบ่งการปกครองคณะนักบวชออกเป็นแขวงต่าง ๆ นั้นมักคำนึงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก และอาจมีพื้นที่ครอบคลุมหลายประเทศ (ที่คณะนักบวชนั้นปฏิบัติศาสนกิจอยู่) ในแต่ละแขวงประกอบด้วยบ้านนักบวชหรืออาราม ซึ่งแต่ละแห่งมีอธิการเป็นหัวหน้า อธิการบ้านจึงทำหน้าที่ภายใต้การควบคุมของอธิการเจ้าคณะแขวงอีกต่อหนึ่ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง

คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อัคราธิการคณะนักบวชคาทอลิก

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

คณะฟรันซิสกันและอัคราธิการ · อธิการเจ้าคณะแขวงและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

คณะนักบวชคาทอลิกและคณะฟรันซิสกัน · คณะนักบวชคาทอลิกและอธิการเจ้าคณะแขวง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง

คณะฟรันซิสกัน มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ อธิการเจ้าคณะแขวง มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.44% = 2 / (29 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คณะฟรันซิสกันและอธิการเจ้าคณะแขวง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: