โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะฟรันซิสกัน

ดัชนี คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

29 ความสัมพันธ์: บริจิตแห่งสวีเดนบาทหลวงชีวิตอารามวาสีฟรังซิสแห่งอัสซีซีพ.ศ. 1752กลาราแห่งอัสซีซีสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 4สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14อัคราธิการอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสทอมัส มอร์คริสตจักรคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิสคณะกลาริสคณะภราดาน้อยกาปูชินคณะนักบวชภิกขาจารคณะนักบวชคาทอลิกประเทศอิตาลีนักพรตหญิงแมกซิมิเลียน คอลบีแองกลิคันแอนโทนีแห่งปาดัวโบนาเวนตูราโรมโรมันคาทอลิกไฟรเออร์เขตมิสซังกรุงเทพฯ

บริจิตแห่งสวีเดน

นักบุญบริจิตแห่งสวีเดน (Bridget of Sweden; Saint Birgitta; Santa Brigida; St.) เมื่อแรกเกิดชื่อ Birgitta Birgersdottir เป็นนักบวชคาทอลิกในคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส เกิดราว..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและบริจิตแห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ฟรังซิสแห่งอัสซีซี

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 148 (Saint Francis of Assisi) มีนามเดิมว่า ฟรันเชสโก ดี ปีเอโตร ดี แบร์นาร์โดเน เป็นไฟรเออร์และนักเทศน์ในนิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ก่อตั้งคณะฟรันซิสกัน คณะกลาริส และคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส แม้นักบุญฟรังซิสจะไม่ใช่บาทหลวง แต่ถือเป็นศาสนบุคคลที่ไดัรับการเคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์Brady, Ignatius Charles.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1752

ทธศักราช 1752 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและพ.ศ. 1752 · ดูเพิ่มเติม »

กลาราแห่งอัสซีซี

นักบุญกลาราแห่งอัสซีซี (Clara Assisiensis) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ร่วมก่อตั้งคณะกลาริส ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและกลาราแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 (Sixtus IV) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1471 ถึง ค.ศ. 1484 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1957 ซิกส์ตุสที่ 4 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ตระกูลเดลลาโรเวเร หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลีกูเรีย.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 (อังกฤษ: Sixtus V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1585 ถึง ค.ศ. 1590 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2063 ซิกส์ตุสที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 4

thumb สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 4 (อังกฤษ: Nicholas IV) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1288 ถึง ค.ศ. 1292 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 นิโคลัสที่ 4 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14

สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 14 (Clement XIV) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1774 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2248 คลีเมนต์ที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

ระนางอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส (Isabel de Aragão, Rainha de Portugal; Isabel de Aragón, Reina de Portugal) ชาวโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญเอลิซาเบธแห่งโปรตุเกส (St. Elizabeth of Portugal) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าเปโดรที่ 3 แห่งอารากอน ทรงถูกส่งมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าดีนีชแห่งโปรตุเกสเมื่อพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา พระนางมีความศรัทธาต่อนิกายโรมันคาทอลิกอย่างแรงกล้า ทรงทำวัตรทุกวัน ถือการอดอาหาร และร่วมพิธีมิสซาวันละสองครั้ง ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพพระนางทรงเข้าเป็นสมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิสตราบจนสวรรคตในวันที่ 4 กรกฎาคม..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและอีซาเบลแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส มอร์

ทอมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและทอมัส มอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส

ณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส, สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557 (Third Order of Saint Francis) หรือคณะฟรันซิสกันชั้นสาม คือกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่เป็นสมาชิกคณะฟรันซิสกัน แต่ไม่ได้ถือคำปฏิญาณอย่างสง่า (solemn vows) การเรียกว่าคณะชั้นสามนั้นเพื่อให้ต่างจากคณะภราดาน้อยซึ่งเป็นคณะฟรันซินกันชั้นหนึ่ง และคณะกลาริสซึ่งเป็นคณะฟรันซิสกันชั้นสอง ในปัจจุบันมีคณะฟรันซิสกันชั้นสามอยู่หลายคณะ กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ละคณะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส · ดูเพิ่มเติม »

คณะกลาริส

ณะพัวร์แคลร์ส (Order of Poor Clares) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า คณะกลาริส (Clarisse) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประเภทคณะนักบวชอารามิก ก่อตั้งโดยนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีและนักบุญกลาราแห่งอัสซีซี นักบวชในคณะนี้เน้นการดำเนินชีวิตแบบยากจน เน้นการสวดภาวน.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคณะกลาริส · ดูเพิ่มเติม »

คณะภราดาน้อยกาปูชิน

ณะภราดาน้อยกาปูชิน (Order of Friars Minor Capuchin) หรือคณะฟรังซิสกันกาปูชิน (Capuchin Franciscans) เรียกโดยย่อว่าคณะกาปูชิน (Capuchins) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกประเภทคณะนักบวชภิกขาจาร และถือเป็นสาขาหนึ่งของคณะฟรันซิสกัน อัคราธิการคนปัจจุบันของคณะคือบาทหลวง Mauro Jöhri.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคณะภราดาน้อยกาปูชิน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชภิกขาจาร

ณะนักบวชภิกขาจาร (mendicant order) คือกลุ่มนักบวชที่ไม่ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ๆ (หรือครอบครองเฉพาะที่จำเป็น) ไม่ว่าเป็นการส่วนตัวหรือในนามองค์กร แต่อาศัยปัจจัยยังชีพจากฆราวาสหรือของที่ถูกทิ้งแล้ว และจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่อาศัยประจำอยู่ที่แห่งใดโดยเฉพาะ นักบวชภิกขาจารในศาสนาพุทธคือพระภิกษุ ในศาสนาคริสต์คือไฟรเออร์ ในศาสนาฮินดูคือสันนยาสิน.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคณะนักบวชภิกขาจาร · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

แมกซิมิเลียน คอลบี

อนุสาวรีย์ของคอลบีแห่งแรก ตั้งอยู่ในโปแลนด์ นักบุญแมกซิมิเลียน มาเรีย คอลบี (Maximilian Maria Kolbe, 8 มกราคม ค.ศ. 1894 - 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941) นักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นไฟรอาร์คณะฟรันซิสกันคอนเวนชวล (Conventual Franciscan) ชาวโปแลนด์ ผู้อาสาตายแทนคนแปลกหน้าที่ชื่อว่า ฟรานซิส กาโยนิเชค ซึ่งเป็นเชลยในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ซึ่งตั้งอยู่ในโปแลนด์ใต้อาณัติเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับการประกาศเป็นนักบุญและมรณสักขีแห่งเมตตาธรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและแมกซิมิเลียน คอลบี · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แอนโทนีแห่งปาดัว

นักบุญแอนโทนี (หรืออันตน) แห่งปาดัว (Anthony of Padua) เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเป็นไฟรอาร์สังกัดคณะฟรันซิสกัน เกิดวันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและแอนโทนีแห่งปาดัว · ดูเพิ่มเติม »

โบนาเวนตูรา

นักบุญโบนาเวนตูรา (San Bonaventura) (ค.ศ. 1221 – 15 กรกฎาคมค.ศ. 1274) เป็นไฟรอาร์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ดำรงตำแหน่งอัคราธิการคนที่ 7 ของคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าคณะฟรันซิสกัน ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลบิชอปแห่งอัลบาโน นอกจากนี้ยังเป็นนักปรัชญาและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยกลาง จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร มีสมญานามว่า “นักปราชญ์ชั้นเสราฟิม”.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและโบนาเวนตูรา · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: คณะฟรันซิสกันและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Franciscan Orderลัทธิฟรานซิสกันฟรันซิสกันฟรานซิสกันคณะภราดาน้อยคณะฟรานซิสกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »